การปลูกหญ้า
ขั้นตอนการปลูกหญ้า
การเตรียมดินเพื่อทำสนามหญ้าที่พบเห็นกันโดยทั่วไปมักจะทำอย่างง่าย ๆ คงเห็นมันเพียงต้นหญ้า ปลูกอย่างไรมันก็ต้องขึ้น รดน้ำให้สม่ำเสมอก็ใช้ได้ ตอนแรกหญ้าจะเขียวขจีดี เพราะว่ายังมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์อยู่ ต่อมาอีกไม่กี่เดือน สภาพสนามก็จะเปลี่ยนไป กล่าวคือมีวัชพืชชนิดอื่น ๆ ขึ้นแซมหญ้าที่ปลูก หญ้าบางกลุ่มมีสีเหลืองปนเขียว บางแห่งมีใบที่เหี่ยวเฉามีลักษณะที่ค่อนข้างจะทรุดโทรม ถึงแม้ว่าจะรดน้ำมากสักเพียงใดก็ไม่อาจฟื้นกลับมางอกงามเหมือนดังเดิม
การเตรียมดิน | การปรับปรุงดิน | การปรับพื้นที่
การเตรียมพื้นที่ --> การเตรียมดิน
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นเนื่องจาก การเตรียมดินที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งสามารถแยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
- ในตอนที่เตรียมดินไม่ได้ขุดเอาหัวเหง้า และรากออกให้หมด เมื่อได้รับน้ำวัชพืชเหล่านั้นก็จะแตกหน่อ แตกยอดเจริญออกมา ปะปนกับหญ้าที่ปลูก ทำให้สนามหญ้าขาดความสวยงาม
- สภาพดินเดิมซึ่งแน่นทึบ น้ำไม่สามารถแซกซึมลงไปในดินโดยสะดวกเมื่อรดน้ำมากหรือมีฝนตกชุก น้ำก็จะท่วมขังบริเวณผิวดิน ทำให้รากหญ้าขาดอากาศเพื่อหายใจ ไม่มีพลังในการดูดน้ำ และธาตุอาหารที่ส่งไปเลี้ยงส่วนที่อยู่เหนือผิวดิน ต้นหญ้าก็จะแสดงอาการว่าขาดน้ำ คือ เหี่ยวเฉา
- สภาพดินเดิมแน่นทึบ จะทำให้รากหญ้าชอนไชเพื่อหาน้ำและอาหารได้ด้วยความลำบาก จึงทำให้ต้นหญ้าได้รับน้ำ และอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
- ถ้าดินเดิมมีสภาพเป็นดินทรายจัดซึ่งโดยปกติจะมีธาตุอาหารน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการขอพืช ดินในลักษณะนี้ จะไม่อุ้มน้ำ ไม่อุ้มปุ๋ย ทำให้ต้นหญ้าขาดทั้งน้ำและขาดทั้งปุ๋ย ต้นหญ้ามีสภาพที่แคระแกร็น สีสันไม่เขียวขจี ไม่สวยงามเท่าที่ควร
ดังนั้นการเตรียมดินจะต้องทำอย่างละเอียดรอบครอบมิฉนั้น ผลที่ได้รับขั้นสุดท้ายก็คือ สนามหญ้ามีสภาพที่ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ ยากแก่การแก้ไข ในไม่ช้าก็ต้องรื้อทิ้งและปลูกใหม่ ทำให้ต้องเสียเงินเสียทองอย่างน่าเสียดาย
การเตรียมดินเพื่อปลูกหญ้าก็ควรยึดหลักเดียวกับการปลูกต้นไม้โดยทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ จะต้องเตรียมดินให้โปร่ง มีการระบายน้ำที่ดี อากาศถ่ายเทได้สะดวก ขุดเก็บ ต้น หัว เหง้า และราก ของวัชพืชออกให้หมด เติมปุ๋ยอินทรีในปริมาณที่เพียงพอ ผสมรวมไปกับดิน ปุ๋ยอินทรีนอกจากจะให้อาหารแก่ต้นหญ้าแล้ว หลังจากนั้นก็นำแผ่นพันธุ์มาปลูก ผลที่ได้รับก็คือ ได้สนามหญ้าที่มีต้นหญ้าอยู่อย่างหนาแน่น มีสีเขียวสดใสสม่ำเสมอ ทั้วทั้งสนามในทุกฤดูกาล สร้างความสวยงามและความภาคภูมิใจให้แก่เจ้าของบ้านเป็นอย่างยิ่ง
การเตรียมพื้นที่ --> การปรับปรุงดิน
ถ้าดินในบริเวณนั้นเป็น ดินเหนียวจัด การระบายน้ำไม่ดี การระบายน้ำไม่ดี และการถ่ายเทอากาศภายในดินไม่สะดวก ควรแก้ไขโดย โรยทรายทับดินเดิมให้หนาประมาณ 5 ซม. (ไม่ควรใส่ปุ๋ยคอก เพราะอาจมีเมล็ดพืชอื่น ๆ ติดมาด้วย) ถ้าดินเดิมมีสภาพเป็น กรดจัด ก็นำปูนบดละเอียดโรยลงไปเพื่อแก้ความเป็นกรด หินปูนบดละเอียด 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร แล้วใช่จอบสับย่อยให้เป็นก้อนเล็ก ๆ ลึกประมาณ 15 - 20 เซนติเมตรก็เพราะหญ้าจะมีรากลึกไม่มากนัก คลุกเคล้าผสมต่าง ๆ ให้เข้ากัน เลือกเก็บต้น หัว เหง้า และรากของวัชพืชออกให้หมด
ถ้าดินในบริเวณนั้น เป็นดินทรายจัด ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่อุ้มน้ำ ไม่อุ้มปุ๋ย จะต้องรดน้ำบ่อย พอนานเข้าทราย ก็จะอัดตัวกันแน่น ทำให้ระบายน้ำไม่ดี อากาศในดินทายเทไม่สะดวก ควรแก้ไขโดยนำดินเหนียว ที่ไม่เป็นกรดจัด และไม่มีเศษวัชพืช มาถมทับดินเดิม ให้หนาประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วใช้จอบสับย่อย ให้ดินแตกเป็นก้อนเล็ก ๆ ลึกลงไปประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร คลุกเคล้าส่วนผสมต่าง ๆ ให้เข้ากัน เลือกเก็บ ต้น หัว เหง้าและรากของวัชพืชออกให้หมด
การเตรียมพื้นที่ --> การปรับพื้นที่
สนามหญ้าไม่ว่าจะเป็นบนเนินดินหรือที่ราบจะดูแลสวยงามก็ต่อเมื่อราบเรียบเสมอกัน จึงต้องพยายามปรับ ให้เรียบที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ โดยใช้ไม้กระดานยาวประมาณ 70 - 80 เซนติเมตร ประกอบเป็นคราดไม้มีด้ามยาว เกลี่ยดินให้เรียบทั่วบริเวณ ต่อจากนั้นโรยทรายขี้เป็ด ทับหน้าพอบาง ๆ แล้วโรยปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ย กทม. หรือปุ๋ยหมัก 1 ปุ้งกี้ต่อพื้นที่ 2 ตารางเมตร ให้คราดเกลี่ยให้เรียบอีกครั้งหนึ่ง ก่อนปลูกหญ้าควรพรมน้ำเป็นฝอยให้ดินมีความชื้นพอมาด ๆ อย่าให้แฉะ