อารมณ์ (Emotion)
ธรรมชาติของอารมณ์
ในแต่ละวันบุคคลจะมีอารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาจจะเป็นความพึงพอใจ ความโกรธ ความร่าเริง ความเจ็บปวด ความผิดหวัง เพราะตลอดเวลาที่บุคคล อยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง บุคคลจะอยู่ภายใต้สิ่งเร้า (stimulus) และประสบการณ์ (experience) ที่เขามีอยู่ทำให้อารมณ์แปรเปลี่ยนไปมา ซึ่งอารมณ์ในลักษณะดังกล่าวนี้จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ของบุคคล ดังจะเห็นได้จากกรณีที่คุณพ่อคนหนึ่งกำลังคอยลูกสาวอายุ 15 ปี กลับบ้าน เนื่องจาก ไปงานที่สโมสร ระหว่างนั่งคอยจะเกิดความเป็นห่วง ความกลัวเกิดอันตราย พอได้ยินเสียงโทรศัพท์จึงรีบไปรับ เสียงลูกสาวบอกว่า ประมาณ 20.00 น. จะกลับมาถึงบ้าน พ่อจะรู้สึกสบายใจคลายความห่วงใย แต่เวลาเกือบ 24.00 น. แล้วลูกสาวก็ยังไม่กลับ พ่อรู้สึกหงุดหงิด โกรธ พอได้ยินเสียงกริ่งดัง จึงรีบไปเปิดประตู เห็นลูกสาวกลับมาอารมณ์จะเปลี่ยนไปเป็นดีใจ ความกลัวว่า จะเกิดอันตรายได้หายไป แต่อาจยังโกรธอยู่เพราะกลับดึกมากเกินไป และอาจนอนคิดโกรธตลอดคืนก็ได้
อารมณ์เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายใน เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ และเป็นเหมือนตัวกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ ที่จะนำไปสู่พฤติกรรมนั้น อารมณ์และแรงจูงใจจึงเป็นปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ แรกเริ่มที่มีอารมณ์เกิดขึ้น พฤติกรรมการจูงใจก็จะเกิดตาม ตัวอย่างเช่น เกิดความรู้สึกรักและพึงพอใจจะทำให้เกิดพฤติกรรมทางเพศตามมา ซึ่งอาจเป็นการอยากไปพบหน้าคนที่รัก อยากอยู่ใกล้ อยากพูดคุยด้วย หรืออีกกรณี ขณะที่บุคคลมีความรู้สึกโกรธ พฤติกรรมทางการก้าวร้าว ก็จะตามมา อย่างไรก็ตามการเชื่อมโยงกันดังที่กล่าวคงไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะพฤติกรรมทางเพศ สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอารมณ์ และความก้าวร้าวก็จะเกิดขึ้นได้โดยไม่มีความโกรธ ในทางกลับกันความรักอาจ เกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมทางเพศ และความโกรธก็เกิดขึ้นได้โดยไม่มีความก้าวร้าว หรือบางครั้ง ก็มีอยู่บ่อย ๆ ที่อารมณ์และแรงจูงใจไม่เชื่อมไปด้วยกัน
โดยภาพรวมกล่าวได้ว่า อารมณ์และแรงจูงใจเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาอย่างเด่นชัด สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นอิสระของกันและกัน แต่มีโอกาส ที่จะมาเชื่อมโยงกันได้อย่างใกล้ชิดเสมอ อารมณ์สามารถที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ เหมือนเป็นผู้ที่จูงใจ สามารถที่จะกระตุ้น เมื่อพฤติกรรมการจูงใจมีอุปสรรค
อารมณ์ คืออะไร
อารมณ์ มาจากภาษาอังกฤษ "Emotion" มีความหมายว่าการเกิดการเคลื่อนไหว หรือภาวะที่ตื่นเต้น มันเป็นการยากที่จะบอกว่า อารมณ์คืออะไร แต่มีแนวคิดหนึ่ง ที่ให้ความเข้าใจได้ง่ายกล่าวไว้ว่า อารมณ์เป็นความรู้สึกภายในที่เร้า ให้บุคคลกระทำ หรือเปลี่ยนแปลงภายในตัว ของเขาเอง ซึ่งความรู้สึก เหล่านี้จะเป็นความรู้สึกที่พึงพอใจ ไม่พึงพอใจ หรือรวมกันทั้งสองกรณี อารมณ์เป็นสิ่งที่ไม่คงที่มีการแปรเปลี่ยน อยู่ตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากกรณีที่พ่อกำลังคอยลูกสาวอายุ 15 ปี ที่กล่าวข้างต้น
จากความหมายและธรรมชาติของอารมณ์ ทำให้นักจิตวิทยาทั้งหลายมีความเห็นว่าองค์ประกอบของอารมณ์จะแบ่งออกเป็น 3 อย่าง (Baron, 1989 : 304) ดังนี้
- สภาวะการรู้คิด (cognitive states) เป็นความรู้สึกของผู้ที่กระทำหรือประสบการณ์ต่าง ๆ ของบุคคล อย่างเช่น เราเคยรู้สึกโกรธ ร่าเริง สะอิดสะเอียน เป็นต้น
- ปฏิกิริยาทางสรีระ (physiological reactions) เป็นการเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของเรา เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้นเมื่อรู้สึกตื่นเต้นหรือตกใจ
- การแสดงออกของพฤติกรรม (expressive bahaviors) เป็นสัญญาณการแสดงออกของสภาวะภายใน เช่น เกิดความพอใจก็จะแสดงการยิ้ม หรือเมื่อโกรธก็อาจกล่าววาจาต่อว่าออกมา หรือแสดงการกระทืบเท้า, ตบตี
องค์ประกอบทั้งสามอารมณ์ : สภาวะการรู้คิด ปฏิกิริยาทางสรีระ และการแสดงออกพฤติกรรม
การจำแนกอารมณ์
อารมณ์มีอยู่มากมายหลายชนิดซึ่งเราอาจเรียกมันว่าอะไรก็ตาม แต่ว่าอารมณ์เหล่านั้น ก็มีความเด่นชัดและเป็นอิสระ นักจิตวิทยาได้จำแนก อารมณ์ โดยคำนึง สิ่งเร้าที่มาเป็นตัวกระตุ้น และรูปแบบการตอบสนองพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งเร้านั้น และส่วนมากมีความเชื่อว่า บุคคลมีอารมณ์พื้นฐานอยู่ 3 ชนิด คือ ความโกรธ (anger) ความกลัว (fear) และความพึงพอใจ (pleasure) (Carlson, 1993 : 400) ส่วนอารมณ์ อื่นๆ เป็นผลที่เกิดจากอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือมากกว่าของ อารมณ์ทั้งสามนี้ ตัวอย่างเช่น
รังเกียจ เดือดดาล เครียดแค้น เป็นรูปแบบของอารมณ์โกรธ
การอิจฉาและความรู้สึกผิดจะอยู่บนพื้นฐานของความกลัว
ความรักและความสุขจะมีพื้นฐานมาจากความรู้สึกพึงพอใจ
ความโศกเศร้าเป็นเสมือนการรวมกันของอารมณ์กลัวและอารมณ์โกรธ
ทุกคนเคยมีอารมณ์โกรธ กลัว และพึงพอใจมาแล้ว แต่ทั้งอารมณ์โกรธ กลัว และพึงพอใจ เกิดมาจากสาเหตุที่แยกออกได้แตกต่างกัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เราจะจัดการหรือควบคุมมัน
ความโกรธ (anger) เป็นอารมณ์ที่ไม่พึงพอใจอย่างแท้จริง มักเกิดขึ้นเนื่องจากถูกขัดขวางไม่ให้ทำกิจกรรมที่ตนต้องการ ในบุคคลแต่ละวัย ความโกรธจะแตกต่างกันไป ในวัยเด็ก เรื่องที่ทำให้โกรธมักจะเป็นกิจกรรมที่เด็กกำลังทำอยู่ หรือการอยากรู้อยากเห็น และการแสดงออก ซึ่งความโกรธ ก็จะแสดงออกในรูปของการก้าวร้าวทางกาย หน้าตาบูดบึ้ง ทุบตีสิ่งของ ต่อยตี ถ้าเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่ความโกรธจะเป็น เรื่องทางสังคมมากขึ้น และการแสดงอารมณ์โกรธจะออกมาในรูปวาจา พูดติติง นินทา พูดจาเสียดสี จะมีวัยรุ่นบางกลุ่มบางพวก ยังชอบใช้การก้าวร้าวทางกาย อีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากได้เรียนรู้หรือได้รับการปลูกฝังในสังคมที่เขาเป็นอยู่
อย่างไรก็ตาม ความโกรธนับว่าเป็นอารมณ์ที่สำคัญยิ่ง เพราะมีพลังที่เชื่องโยงกับพฤติกรรมการจูงใจเป็นอย่างมาก ซึ่งเราจะพบได้เสมอ ในทุกสังคม เมื่อบุคคลมีความโกรธพฤติกรรมการจูงใจ ที่เกิดตามมาก็คือไม่อยากทำกิจกรรมต่าง ๆ
ความกลัว (fear) เป็นอารมณ์ที่แสดงออกถึงความรู้สึกว่าเป็นอันตราย ซึ่งจะมีอยู่มากมายทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น เด็กเล็ก ๆ จะกลัวเสียงดัง กลัวสิ่งแปลกประหลาด ถึงแม้จะเป็นเด็กโตก็ยังกลัว นอกจากนี้ยังกลัวความมืด กลัวคำขู่ กลัวถูกทอดทิ้งตามลำพัง ในเด็ก ตอนปลายเด็ก จะกลัวคำเยาะเย้ยจากเพื่อน กลัวตัวเองจะไม่เท่าเทียมกับเพื่อน
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ จะเกิดความกลัวในทางสังคมมากขึ้น กลัวความผิดหวัง กลัวในความมีบทบาททางเพศ กลัวจะไม่ได้รับการยอมรับ พอเป็นผู้ใหญ่สูงอายุก็จะกลัว ในเรื่องสังขารร่างกาย ตลอดจนความสำเร็จในการงาน
ความพึงพอใจ (pleasure) เป็นอารมณ์ของความรู้สึกที่มีความสุขที่ร่าเริงอย่างมาก เป็นความสำเร็จหรือความสุขสดชื่นเกิดขึ้น เมื่อบุคคลได้รับผลการตอบสนองตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ
การแสดงออกทางอารมณ์
จากภาวะของอารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรม ก็คือภาพที่เกิดขึ้นกับบุคคลอันได้แก่ บุคลิกภาพของเขานั่นเอง ฉะนั้นถ้าบุคคลรู้และ เข้าใจก็จะสามารถ จัดการและควบคุมอารมณ์ได้เพื่อความเหมาะสมของบุคลิกภาพ
การแสดงออกทางอารมณ์จำแนกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
- การแสดงอารมณ์ทางใบหน้า การแสดงความรู้สึกทางใบหน้าจัดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการแสดงออกถึง สภาวะทางอารมณ์ต่าง ๆ ในตัวเราและบุคคลอื่นที่สามารถสังเกตเห็นได้บ่อย ๆ นักสรีรวิทยาประมาณว่า ใบหน้าสามารถแสดง ความรู้สึกได้แตกต่างกันถึง 20,000 แบบ และส่วนใหญ่จะเกิดจากการผสมกลมกลืนกัน ของสีหน้าที่เป็นพื้นฐานตั้งแต่ 2 แบบขึ้นไป ตัวอย่างเช่น เมื่อนักศึกษาสอบได้เกรด F จากการตอบ ข้อสอบที่คิดว่าไม่ยุติธรรม ลองสังเกตใบหน้าตนเองจากกระจกเงา จะเห็นว่า ดวงตา คิ้ว และหน้าผาก แสดงถึงอารมณ์โกรธ ในขณะที่ริมฝีปากแสดงออกถึงความเสียใจ
ทอมกินส์ (Tomkins , 1962) ได้เสนอทฤษฎีการแสดงออกทางใบหน้าคือ การสะท้อนอารมณ์เป็นธรรมชาติ ที่ติดตัวมนุษย์มา ตั้งแต่เกิด และเป็น ลักษณะการตอบสนองที่เป็นสากล ด้วยเหตุนี้ พอล เอ็กแมน (Paul Ekman , 1958) และคนอื่น ๆ ได้ศึกษาถึง อารมณ์และการแสดงออกทางสีหน้า พบว่ามีอารมณ์ 6 ชนิดด้วยกัน ที่แสดงออกทางสีหน้าเป็นลักษณะสากลทั่วไป มนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษา จะแสดงความรู้สึกได้ตรงกัน คือ เมื่อเกิดอารมณ์กล้ามเนื้อแต่ละมัดบนใบหน้าจะมีการยึดหดคล้ายคลึงกัน เช่น เวลาเศร้ามุมปากจะโค้งลง เวลายิ้มมุมปากจะโค้งขึ้น เป็นต้น อารมณ์ 6 ชนิด ที่สอดคล้องกับการแสดงออกทางใบหน้า ของคนทั่วไปไ ด้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข เอ็กแมน ยังได้ศึกษาต่อไปว่า การแสดงออกทางใบหน้าจากอารมณ์ทั้ง 6 ชนิดนี้ ยังสอดคล้องกับปฏิกิริยา การเปลี่ยนแปลง ทางร่างกายต่าง ๆ กัน ดังที่ เจมส์-แลง ได้อธิบายไว้ ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะตัดสินอารมณ์ของคนอื่น ๆ จากใบหน้าได้แม่นยำเพียงใด เนื่องจากมีอารมณ์หลายชนิด ที่ซับซ้อนปะปน อยู่กับรายละเอียดบนใบหน้า แต่เราก็อาจตัดสินอารมณ์จากใบหน้า ของเขาผู้นั้น ได้อย่างคร่าว ๆ โดยเน้นใน 3 มิติ คือ พอใจ – ไม่พอใจ , ยอมรับ – ปฏิเสธ และการเคลื่อนไหวร่างกายอื่น ๆ เช่น ยืนหรือนั่งตามสบายหรือเกร็ง โน้มตัวเข้าใกล้หรือถอยห่าง เป็นต้น - การแสดงอารมณ์ก้าวร้าวและรุนแรง โดยทั่วไปเรามักจะมีการแสดงออกของอารมณ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น เช่น การยิ้มแย้ม การร้องไห้ ตะโกน การสวมกอดด้วยความรัก การจูบแก้มด้วยความเอ็นดู ฯลฯ แต่จะมีอารมณ์บางชนิด ซึ่งเมื่อแสดงออกมาแล้ว จะก่อให้เกิดอันตรายต่อ บุคคลอื่นได้ นักจิตวิทยา ได้ให้ความสนใจกับ อารมณ์ประเภทนี้มากกว่า จะศึกษาว่าอะไรเป็นสาเหตุ ที่ทำให้บุคคลมีการแสดงออกทางอารมณ์ ในลักษณะของความก้าวร้าว และเป็นไปในทางทำลาย หรือในทางที่ไม่ดี ดังเช่นความคับข้องใจและความก้าวร้าว
ความคับข้องใจสามารถก่อให้เกิดการตอบสนอง หรือพฤติกรรมได้หลายรูปแบบ สมมติว่าเราหยอดเหรียญใส่ตู้โทรศัพท์ และเป็น เหรียญสุดท้าย ที่มีในกระเป๋า แต่โทรศัพท์ก็ยังเงียบเสียงไม่ปรากฏสัญญาณใด ๆ ซึ่งเป็นเวลา ที่เราต้องติดต่อให้ใครสักคนหนึ่ง มารับเราจากสถานที่แห่งนั้น สภาวะเช่นนี้ จะก่อให้เกิดอาราณ์คับข้องใจ อย่างรุนแรง จนไม่รู้จะหาทางระบายออกได้อย่างไร เราอาจหันไปแสดงพฤติกรรมด้วย การทำลาย โทรศัพท์ เครื่องนั้นแทน แต่ถ้าโทรศัพท์เครื่องนั้นตั้งอยู่บริเวณชุมชน เราไม่สามารถ จะแสดงพฤติกรรมดังกล่าวได้ ทางออกที่เราอาจ เลือกกระทำ ได้ยังมีอยู่อีกเช่น ไปแจ้ง เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ให้ทราบว่า โทรศัพท์ ขัดข้อง และ ขอยืมเหรียญจากคนอื่นที่เดินผ่านมา การที่บุคคลมีโอกาส เลือกทางออกได้ จะช่วยลดความรุนแรงของความ คับข้องใจได้ การระบายอารมณ์ก้าวร้าว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่นถ้าสถานการณ์ ที่ทำให้คับข้องใจ หรือโกรธเนื่องมาจาก คนที่มีอำนาจ เหนือกว่าเรา เราอาจจะระบาย อารมณ์นั้นกับผู้อื่นแทน แต่ถ้าเราอยู่ใน สถานการณ์ที่ต้องสำรวม เราอาจจำเป็น ต้องเก็บกด ความโกรธ เอาไว้แล้ว คอยหาทางระบายออก ตามสถานที่เหมาะสมต่อมา ในกรณีที่บุคคล ไม่สามารถระบุได้ว่า อะไรคือต้นเหตุของ ความคับข้องใจ บุคคลนั้นอาจหาทางระบายออก กับทุกสิ่งที่จะสามารถทำได้ ดังได้กล่าวมาแล้วจะส่อให้เห็นถึง ที่มาหรือสาเหตุของความวุ่นวาย ในรูปของการจลาจล การก่อเหตุร้ายรุนแรง ซึ่งมีสาเหตุเกิดมาจาก บุคคลที่รู้สึกว่าถูกกดขี่อยู่ตลอดเวลานั่นเอง
การควบคุมอารมณ์
การควบคุมอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่จะประสบความสุขหรือความสำเร็จในชีวิต เพราะถ้าไม่รู้จักควบคุมอารมณ์แล้ว เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ก็จะไม่สามารถปรับตนให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ บางคนอาจจะควบคุมอารมณ์ของตนเองด้วยการสกัดกั้นไว้ไม่แสดงออก วิธีนี้อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ การควบคุมอารมณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
บุคคลใดรู้จักควบคุมอารมณ์จะก่อให้เกิดผลดีดังนี้
- ทำให้เป็นคนมีบุคลิกภาพดี สามารถแสดงออกทางพฤติกรรมได้เหมาะสม
- ทำให้เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี การแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะจะช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นได้เหมาะสม
- ทำให้เป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี ผู้บริหารที่รู้จักวิธีการควบคุมอารมณ์จะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความราบรื่น งานมีประสิทธิภาพ
- ทำให้เป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ เป็นการแสดงออกทางอารมณ์ให้เหมาะสมกับวัย
- ทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ผู้ที่รู้จักวิธีการควบคุมอารมณ์จะรู้จักหาวิธีการระบายออกของอารมณ์ได้เหมาะสม เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นกีฬา การฟังเพลง ฯลฯ
วิธีการควบคุมอารมณ์ที่สำคัญ
1. ฝึกการควบคุมตั้งแต่ในวัยเด็ก การฝึกให้เด็กรู้จักความมีเหตุมีผล จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาต่อไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่
2. ฝึกการมีสติให้รู้เท่าทันอยู่เสมอ การมีสติจะช่วยทำให้เกิดปัญญาในการค้นหาสาเหตุและการแก้ไขปัญหา
3. การสร้างวินัยในการควบคุมอารมณ์ให้เกิดความเคยชิน เพื่อไม่ให้อารมณ์ที่มากระทบมีอิทธิพลเหนือตัวเรา อาจจะหาทางออกเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เช่น การเล่นกีฬา การหางานอดิเรกทำ ฯลฯ ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อสุขภาพจิต
4. อย่ากังวลกับสิ่งที่ทำผิดพลาดไปแล้ว พยายามคิดถึงสถานการณ์ปัจจุบัน รู้จักเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของตนไปตามสถานการณ์ จะทำให้สุขภาพจิตของตนดีขึ้น
5. ฝึกการแสดงออกของอารมณ์ให้เหมาะสมกับสิ่งเร้า ซึ่งเราจะต้องคิดไตร่ตรองให้รอบครอบ มีเหตุผลต่อสิ่งที่มาเร้าอารมณ์
6. สำรวจประสบการณ์การแสดงออกของอารมณ์ตนเองว่ามีผลดี ผลเสียอย่างไร แล้วนำผลมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
สรุป
1. การจูงใจเป็นกระบวนการที่กระตุ้นและผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ การจูงใจจึงเป็นกระบวนการสำคัญ ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกและการดำเนินชีวิตของบุคคล
2. กระบวนการของการจูงใจประกอบด้วย
ความต้องการ (need) แรงขับ (drive) การตอบสนอง (response) เป้าหมาย (goal)
ซึ่งกระบวนการนี้จะเริ่มจากการที่บุคคลถูกเร้าให้เกิด ความต้องการ อันเป็นตัวผลักดัน ให้เกิด แรงขับ ที่จะแสดง การตอบสนอง ออกมาเป็นพฤติกรรมไปสู่ เป้าหมาย ที่กำหนดไว้
3. ความต้องการของบุคคลซี่งเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นของกระบวนการจูงใจนี้สามารถที่จะเร้าให้เกิดขึ้นได้ โดยการสร้างสิ่งเร้ามาเป็นเครื่องล่อ ( incentive ) ให้คนเราเกิดความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมไปตามเครื่องล่อที่นำมาเร้านั้น
4. การจูงใจมีหลายประเภท โดยสามารถจัดแบ่งได้หลายลักษณะ ได้แก่ แบ่งประเภทตามความต้องการ แบ่งประเภทตามสิ่งเร้า และแบ่งประเภทตามแรงขับ กล่าวคือ
แบ่งประเภทตามความต้องการ จะแบ่งเป็น ตามความต้องการทางร่างกายความต้องการทางสังคม และความต้องการทางจิตใจ
แบ่งประเภทตามสิ่งเร้า จะแบ่งเป็น การจูงใจจากสิ่งเร้าภายใน และการจูงใจจาก สิ่งเร้าภายนอก
แบ่งประเภทตามแรงขับ จะแบ่งเป็น การจูงใจอันเนื่องมาจากแรงขับภายใน ร่างกาย และการจูงใจอันเนื่องมาจากแรงขับภายนอกร่างกาย
5. การจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ได้แก่ การจูงใจอันเนื่องมาจากความหิวความกระหาย การจูงใจอันเนื่องมาจากความต้องการทางเพศ และการจูงใจอันเนื่องมาจากที่จะหลีกหนีความเจ็บปวด ซึ่งการจูงใจพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ โดยจะเป็นกระบวนการที่ ทำให้ร่างกายของมนุษย์มีการปรับตัวให้ร่างกายเกิด สภาวะความสมดุลย์ (Homeostasis) ทั้งนี้สภาวะความสมดุลย์ จะสร้างให้บุคคล สามารถดำรงชีวิต ให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมได้อย่างปกติสุขตามความปรารถนาของคนนั้น ๆ
6. กระบวนการ ทฤษฎีต่าง ๆ และผลงานวิจัย ที่เกี่ยวกับการจูงใจ ได้รับการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อกระตุ้นพฤติกรรม ของบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ
7. อารมณ์เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากความรู้สึกภายใน เป็นการจูงใจที่เร้าให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา อารมณ์กับการจูงใจ จึงมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน อย่างใกล้ชิด อารมณ์เป็นสิ่งไม่คงที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
8. องค์ประกอบของอารมณ์มี 3 ประการ ได้แก่
สภาวะความรู้สึก เป็นสิ่งเร้าภายในของผู้กระทำ หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้เก็บสะสมไว้ในจิตใจของบุคคล
ปฎิกิริยาทางสรีระ เป็นการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระภายในร่างกายของบุคคล
การแสดงออกทางพฤติกรรมเป็นการแสดงผลให้ปรากฏออกมาทางร่างกาย
9. อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์สามารถจำแนกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
ความโกรธ เป็นอารมณ์ที่แสดงออกถึงความรู้สึกไม่พึงพอใจเนื่องจากถูก ขัดขวางความต้องการ
ความกลัว เป็นอารมณ์ที่แสดงออกถึงความรู้สึกว่าเป็นอันตราย
ความพึงพอใจ เป็นอารมณ์ที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่มีความสุขเมื่อได้รับการตอบสนอง
10. อารมณ์จะพัฒนาตามระดับวุฒิภาวะ ลักษณะการแสดงออกทางอารมณ์มี 2 ลักษณะ ได้แก่ การแสดงออกทางใบหน้า และ การแสดงออกทางความ ก้าวร้าวและความรุนแรง
การแสดงออกทางใบหน้าที่เราสามารถ จะตัดสินหรือคาดเดาถึงอารมณ์ได้อย่าง คร่าว ๆ มี 3 มิติ คือ พอใจ – ไม่พอใจ, ยอมรับ – ปฏิเสธ และการเคลื่อนไหวทางร่างกาย
การแสดงออกทางความก้าวร้าวและความรุนแรง เป็นการแสดงอารมณ์ที่เมื่อบุคคลถูกขัดขวางการตอบสนองทางอารมณ์
11. การรู้จักควบคุมอารมณ์ให้ตอบสนองได้อย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่ฝึกได้ และมีความจำเป็นต้องฝึกฝน เพื่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพจิตที่ดี
เราทุกคนมีความคุ้นเคยกับอารมณ์เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะสุข เศร้า หรือกลัว เราต้องเผชิญกับภาวะอารมณ์เหล่านี้ ตั้งแต่เกิดจนตาย เราพยายามแสวงหาสภาพการณ์ที่ทําให้เรามีความรู้สึกเป็นสุข และหลีกเลี่ยงสภาพการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเศร้าหรือหวาดกลัว แม้บางอารมณ์จะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่เราก็อยู่อย่างไร้อารมณ์ไม่ได้ ดังนั้นอารมณ์จึงมีความสําคัญกับชีวิตจิตใจเช่นเดียวกับที่อาหารมีความสําคัญต่อร่างกาย สุขภาพจิตของคนเรา จะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการปรุงแต่งของอารมณ์ต่างๆ
ความหมายและความสําคัญของอารมณ์
อารมณ์(Emotion) หมายถึง สภาวะทางจิตใจที่เกิดความปั่นป่วน ตื่นเต้น หรือเปลี่ยนแปลงเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที โดยเราจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง แต่จะสังเกตเห็นได้ทางอ้อม โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมต่างๆ ที่มิได้แสดงออกมา
เป็นคําพูด(Non-Verbal Behavior) เช่น การแสดงออกทางสีหน้า กิริยาท่าทาง เป็นต้น
องค์ประกอบของกระบวนการทางจิตใจ แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นการเรียนรู้ ขั้นความรู้สึกหรืออารมณ์ และขั้นแนวโน้มของการแสดงพฤติกรรม ซึ่งกระบวนการทางจิตเหล่านี้ จะเกิดขึ้นตามขั้นตอน จะไม่มีการข้ามขั้นตอนแต่อย่างใด
นักสรีรจิตวิทยาและนักจิตวิทยา ได้พยายามสังเกตศึกษาลักษณะของอารมณ์แล้ว
พบว่า อารมณ์เป็นสภาวะที่ไม่คงที่ ซึ่งมีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1.อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง แต่อารมณ์เป็น ประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล โดยแต่ละคนจะมีประสบการณ์ทางอารมณ์แตกต่างกันไปตามนิสัย ค่านิยม ความเชื่อหรือสิ่งอื่นๆ
2.อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างออกไปจากการกระทําแบบปกติ
3.อารมณ์มีความซับซ้อนกว่าความรู้สึกอื่นๆโดยบุคคลจะมีการประเมินหรือแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์นั้นๆ
4.อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของร่างกาย
จากลักษณะที่สําคัญ 4 ประการนี้ เราจึงให้นิยามแก่ “อารมณ์” ว่าอารมณ์ใดๆเป็นประสบการณ์ที่บุคคลรู้สึกได้ทันทีที่เกิดขึ้นกับตน ทําให้เกิดการ
ประเมินสถานการณ์ พร้อมกันนั้นก็มีการแสดงออกทางปฏิกิริยาตอบสนองทางสรีระปฏิกิริยาตอบสนองนี้อาจเป็นปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติ หรือเป็นกิริยาอาการที่เกิดจากการเรียนรู้ก็ได้
อารมณ์มีความสําคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปรับตัว ทําให้การดําเนิน
ชีวิตมีความหมายแตกต่างไปจากเครื่องจักร เราใช้อารมณ์
เป็นเครื่องบ่งชี้ ความรู้สึกนึกคิด ช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะรู้จัก
ตนเองและผู้อื่น เป็นแรงผลักดันหรือแรงจูงใจทําให้เกิด
ความกระตือรือร้นมีชีวิตชีวา ทําให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้
การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นสัญญาณเตือนภัยให้รู้จักการต่อสู้ การเอาตัวรอด และการแสดงออก
ทางอารมณ์ยังสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพจิตของบุคคลได้อีกด้วย
การจัดประเภทอารมณ์
คาร์รอล อิซาร์ด (Carroll Izard) ได้จําแนกอารมณ์ออกเป็น 10 ประเภท คือ
- Interest-Excitement (สนใจ-ตื่นเต้น) เป็นอารมณ์ที่ช่วยทําให้บุคคลเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้และใช้ความพยายามในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น อยากเรียนสูงๆ
- Joy(รื่นเริง) เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดสภาวะของความเชื่อมั่น มองว่าโลกนี้ ช่างน่าอยู่เหลือเกิน และเกิดความรู้สึกว่าตนยังเป็นที่รักของบุคคลอื่นๆอยู่
- Surprise(ประหลาดใจ)เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าในระบบประสาทอย่างฉับพลัน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราก็พร้อมรับมือในทุกสถานการณ์
- Distress-Anguish(เสียใจ-เจ็บปวด)เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องประสบกับความพลัดพราก หรือเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต
- Anger-Rage(โกรธ-เดือดดาล) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพบการขัดขวางหรืออุปสรรคทางด้านร่างกายหรือด้านจิตใจ
- Disgust(รังเกียจ) เป็นอารมณ์อันเกิดจากการกระทบกับสัมผัสที่ไม่พึงปรารถนา
- Contempt-Scorn(ดูถูก-เหยียดหยาม) เป็นอารมณ์ที่อาจเกิดการผสมกับอารมณ์โกรธหรืออารมณ์ขยะแขยง จัดเป็นอารมณ์ที่มีลักษณะเย็นชา
- Fear-Terror(กลัว-สยองขวัญ)เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลกําลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ตนไม่สามารถจะเข้าใจได้ หรือเกิดความไม่แน่ใจในภัยอันตรายที่กําลังจะมาถึง
- Shame Sin Shyness-Humiliation(อับอาย-ขายหน้า)เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลถูกลงโทษ เพราะไม่ประพฤติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
- Guilt(รู้สึกผิด) เป็นอารมณ์ที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความวิตกกังวลและความอาย เป็นความสํานึกผิดชอบชั่วดี
โรเบิร์ต พูลทชิค(Robert Plutchik) เชื่อว่า อารมณ์พื้ นฐานมี 8 ชนิด คือ
กลัว(Fear) ประหลาดใจ (Surprise) เศร้าเสียใจ (Sadness) รังเกียจ(Disgust)
โกรธ(Anger) คาดหวัง(Anticipation) รื่นเริง(Joy) และยอมรับ(Acceptance)
อารมณ์พื้ นฐานทั้ง 8 ชนิดนี้ ยังแปรเปลี่ยนไปตามระดับความเข้มของอารมณ์ ซึ่งอารมณ์พื้ นฐานที่มีระดับความเข้มของอารมณ์สูง ได้แก่ สยองขวัญ (Terror) แปลกใจ (Amazement) เศร้าโศก(Grief) ไม่ยินยอม(Loathing) เดือดดาล(Ragel) ระแวดระวัง
(Vigilance) เบิกบาน(Ecstasy) และชื่นชม(Adoration)
อารมณ์พื้ นฐานทั้ง 8 ชนิดของพลูทชิค ยังสามารถผสมผสานกันระหว่างอารมณ์รัก โกรธ และกลัว
อารมณ์รัก เป็นอารมณ์ผสมผสาน ระหว่างอารมณ์รื่นเริงกับยอมรับและอารมณ์หึง เป็นอารมณ์ผสมผสาน ระหว่างอารมณ์รักและกลัว
จาค แพงค์เชปป์(Jaak Panksepp) ได้จําแนกอารมณ์พื้ นฐานออกเป็น 4 ชนิด คือ คาดหวัง เดือดดาล ตื่นตระหนก และหวาดกลัว โดยอารมณ์เหล่านี้ จะเกิดในตําแหน่งที่ต่างกันในไฮโปธาลามัส ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม จึงทําให้มนุษย์แปลอารมณ์ออกมาแตกต่างกัน
เพื่อให้ง่ายต่อการทําความเข้าใจเรื่อง ความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองและผู้อื่น
นักจิตวิทยาได้จําแนกอารมณ์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- อารมณ์ที่ทําให้เกิดความพึงพอใจ (Pleasantness) คือ มีความสุข ต้องการให้เกิดขึ้น ต้องการยึดเหนี่ยวไว้ เป็นอารมณ์ทางบวก เช่น รื่นเริง ชื่นชม รัก ยอมรับ ฯลฯ
- อารมณ์ที่ทําให้เกิดความไม่พึงพอใจ (Unpleasantness) คือ มีความทุกข์ ต้องการหลีกเลี่ยง ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก เป็นอารมณ์ทางลบ เช่น กลัว เศร้า เกลียด ขยะแขยง เดือดดาล ดูถูก อิจฉาริษยา ฯลฯ
การเกิดอารมณ์
1.สรีรวิทยาของการเกิดอารมณ์
จากการศึกษาเมื่อเกิดอารมณ์แล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมอง เช่น ถ้ามีความเครียด จะทําให้ระดับฮอร์โมนบางชนิดในสมองลดตํ่าลง เป็นผลให้การเคลื่อนไหวของร่างกายช้าลงและเกิดอารมณ์เศร้า ศูนย์กลางของการเกิดอารมณ์ อยู่ที่การทํางานของระบบประสาทลิมบิก (Linbic System) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อ และระบบประสาทอัตโนมัติ ถ้าสมองส่วนไฮโปธาลามัสถูกกระตุ้นจะทําให้เกิดอาการคลั่ง ดุ อาละวาดแต่ถ้าถูกทําลายจะเกิดอาการสงบเฉย
โอลล์และมิลเนอร์(Old and Milner) ได้ทําการทดลองกระตุ้นสมองส่วนไฮโปธามัสของแมว โดยปราศจากสิ่งเร้าภายนอกอื่นใด พบว่า แมวจะแสดง
อาการแยกเขี้ ยวคําราม ตัวโก่ง และทําท่าดุร้าย ทั้งนี้ เพราะสมองส่วนไฮโปธาลามัสนี้ ถ้าถูกกระตุ้นจะทําให้เกิดอาการคลั่ง ดุร้าย และอาละวาดนั่นเอง
เดลกาโด(Delgado) ได้ทดลองใช้ขั้วไฟฟ้ ากระตุ้นตามส่วนต่างๆ ของระบบประสาทลิมบิก พบว่า ถ้ากระตุ้นส่วนหลังของไฮโปธาลามัสจะทําให้เกิดอารมณ์พอใจอย่างมาก โดยเขาเชื่อว่า สมองของคนเราส่วนใหญ่ 60% มีความเป็นกลางไม่รับรู้ความพอใจและความเจ็บปวดใดๆอีก 35% เป็นส่วนที่รับรู้ความพอใจและอีก 5 % เป็นส่วนที่รับรู้ความเจ็บปวด
สรีรวิทยาของการเกิดอารมณ์ จะเป็นลักษณะที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและเป็นธรรมชาติโดยปฏิกิริยาโต้ตอบสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของบุคคล ได้แก่ การตึงเครียดของกล้ามเนื้ อ หัวใจเต้นแรง ถูกกระตุ้นได้ง่าย ปากคอแห้ง เหงื่อออก กระเพาะอาหารบีบรัดตัว ปัสสาวะบ่อย ตัวสั่น กระสับกระส่าย ทนเสียงรบกวนไม่ได้ ฯลฯ ซึ่งจะเป็นอาการที่ปรากฏทั่วไปเป็นสากลและมีอยู่ตลอดเวลา เพราะมีสาเหตุมาจาก การทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมี 2
ชนิด 2 ชนิด คือ
- ซิมพาเธติก ซึ่งจะเตรียมและกระตุ้นการทํางานของร่างกายในภาวะฉุกเฉินให้สู้หรือหนี
- พาราซิมพาเธติก ซึ่งจะทําให้ร่างกายอยู่ในภาวะสงบ ช่วยให้คนหรือสัตว์มีชีวิตรอด
อัลเบิร์ต แอ็กซ์(Albert Ax) เป็นนักจิตวิทยาที่ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดอารมณ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรม พบว่า ในบรรดา
อารมณ์ทั้งหลาย อารมณ์ที่จัดว่าสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้มากที่สุด คือ อารมณ์กลัวและอารมณ์โกรธ
อัลเบิร์ต แอ็กซ์ ได้ทําการทดลองว่า ความกลัวกับความโกรธจะมีการตอบสนองทางด้านสรีระแตกต่างกันอย่างไร และเขาก็สรุปว่า อารมณ์กลัว จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามบริเวณต่างๆ 3 แห่ง คือ
- การหายใจจะถี่ขึ้น
- ความต้านทานกระแสไฟฟ้ าที่ผิวหนัง (GSR) ตรงบริเวณมือจะลดลง
- มีความตึงเครียดของกล้ามเนื้อสูงมาก
อารมณ์โกรธ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- หัวใจจะเต้นช้าลง
- ความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนังตรงบริเวณมือจะสูงขึ้น
- กล้ามเนื้อมีความตึงเครียดสูง ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น อารมณ์หวาดกลัวหรือตกใจกลัว จะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลิน (Adrenalin) จากต่อมหมวกไต ส่วนอารมณ์โกรธจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน (Noradrenalin) ส่วนอารมณ์อื่นๆ นักจิตวิทยายังไม่สามารถระบุแบบแผนที่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้
ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อตกใจกลัว จะนําไปสู่ความเข้าใจในเรื่องแรงจูงใจกับแรงขับ คือ เมื่อบุคคลได้รับสิ่งเร้าจากภายนอก ที่ทําให้ตกใจกลัวแล้วก็จะเกิดความต้องการปกป้องตนเอง หรือหลีกหนี จากนั้นจะก่อให้เกิดแรงขับที่ทําให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สมดุล เช่น หัวใจเต้นถี่ขึ้น มีความตึงเครียดของกล้ามเนื้ อสูงมาก และเหงื่อออกมาก ฯลฯ ซึ่งผลของแรงขับดังกล่าว จะผลักดันให้คนเราเกิดแรงจูงใจและพฤติกรรมการตอบสนองไปตามการเรียนรู้ หรือประสบการณ์ของแต่ละคน เช่น อาจวิ่งหนี หรืออาจร้องตะโกนให้ผู้อื่นช่วยเหลือ
จากความรู้เรื่องสรีระของอารมณ์นี้ เองจึงได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องมือจับเท็จ เรียกว่า โพลีกราฟ (Polygraph)ขึ้น ซึ่งจะทําการบันทึกการวัดอัตราการ
เต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจและแรงต้านทานกระแสไฟฟ้าบนมือ (Galvanic Skin Respond : GSR) แต่การใช้เครื่องมือต้องใช้อย่าง
ระมัดระวัง เพราะมันจะใช้ไม่ได้ผลกับผู้ที่ใช้ยากล่อมประสาท
2.ทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับการเกิดอารมณ์
ทฤษฎีของเจมส์-แลง(James-Lang Theory) โดยวิลเลียม เจมส์(William James) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน กล่าวว่า ร่างกายของคนเราจะต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเป็นอันดับแรกก่อน แล้วอารมณ์จึงจะเกิดตามมา ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกับความคิดเห็นของคาร์ล แลง(Carl Lang) นักจิตวิทยาชาวเดนมาร์กที่เชื่อว่า ประสบการณ์ทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ดังนั้นแนวความคิดของทั้ง 2 คน จึงถูกเรียกว่า ทฤษฎีเจมส์-แลง(James-Lang Theory)
ทฤษฎีของแคนนอน -บาร์ด(Cannon-Bard Theory) โดย วอลเตอร์ แคนนอน (Walter Cannon) ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของเจมส์-แลง จึง
ได้คิดทฤษฎีขึ้นมาใหม่ และต่อมา ฟิ ลลิป บาร์ด (Phillip Bard) ก็ได้นํามาดัดแปลง โดยทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การเกิดอารมณ์และการตอบสนองหรือการ
เปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะเกิดขึ้นพร้อมกัน กล่าวคือ เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้า แรงกระตุ้นจากประสาทสัมผัสจะถูกส่งต่อไปยังสมองส่วนธาลามัส จากนั้นแรงกระตุ้นนี้ จะแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งจะวิ่งไปสู่สมองส่วนซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ ทําให้บุคคลเกิดอารมณ์ อีกส่วนหนึ่งจะส่งผ่านไปยังสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย นั่นคือ สิ่งเร้า รับรู้ เกิดอารมณ์ ปฏิกิริยาทางกาย
ทฤษฎีของแชคเตอร์-ซิงเกอร์(Schachter-Singer Theory)โดยผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้ คือ สแตนเล่ย์ แชคเตอร์ (Stanley Schachter) และเจอโรม ซิงเกอร์(Jerome Singer)ซึ่งเชื่อว่า อารมณ์เกิดจากการแปลความปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติทางกายและการคิดหา
สาเหตุของการตอบสนองนั้นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตีความสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นซึ่งมาเร้าให้เกิดการตอบสนอง
ข้อสรุปเปรียบเทียบทฤษฎีอารมณ์ต่างๆ ของนักจิตวิทยา
- ทฤษฎีเจมส์-แลง สรุปว่า หลังจากที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์
- ทฤษฏีแคนนอน -บาร์ด สรุปว่า การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อมๆกัน
- ทฤษฎีแชคเตอร์-ซิงเกอร์ สรุปว่า การเร้าอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ บุคคลจะต้องมีการแปลความเหตุการณ์ควบคู่ไปด้วย
- แนวคิดร่วมสมัย สรุปว่า การประเมินก่อให้เกิดการเร้า พฤติกรรม สีหน้า และความรู้สึกทางอารมณ์ รวมทั้งการเร้า พฤติกรรม สีหน้า จะเพิ่มความรู้สึกทางอารมณ์ ซึ่งความรู้สึกที่เพิ่มขึ้นจะมีอิทธิพลต่อการประเมินและส่งผลต่อไปยังกระบวนการเร้า พฤติกรรม การแสดงออกและความรู้สึกเพิ่มยิ่งขึ้น
พัฒนาการทางอารมณ์
ชาร์ลส์ ดาร์วิน(Charles Darwin) ซึ่งเป็นนักทฤษฎีวิวัฒนาการ กล่าวว่า อารมณ์เป็นสิ่งที่ค่อยๆพัฒนาขึ้นมา และเกิดอยู่เรื่อยๆในมนุษย์ เพราะอารมณ์คือสิ่งที่จําเป็นหรือมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการดํารงชีวิตและเผ่าพันธุ์
ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้เขียนหนังสือชื่อ The Expression of Emotion in Man and Animal โดยเขาเห็นว่า การแสดงออกของอารมณ์ คือ สิ่งที่จําเป็นต่อการอยู่รอดของมนุษย์
พลูทชิค ได้จัดทําตารางแสดงหน้าที่ของอารมณ์พื้ นฐานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมไว้ดังนี้
อารมณ์พื้นฐาน | หน้าที่ | จุดมุ่งหมายของพฤติกรรม |
กลัว | ปกป้อง | การกระทําต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายหรือความเสียหาย |
โกรธ | ทําลาย | การกระทําต่างๆเพื่อขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางความ |
รื่นเริง | ความร่วมมือ | การกระทําต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการได้รับผลประโยชน์จากสิ่งเร้ารอบๆตัว |
รังเกียจ | ปฏิเสธ | การกระทําที่ขจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดความไม่สบายที่ได้กินเข้า ไป เช่น การขับถ่าย ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ เกี่ยวข้องกับ ความรู้สึกรังเกียจ ขยะแขยง ดูถูกไม่เป็นมิตร |
ยอมรับ | แพร่พันธุ์ | การกระทําต่างๆเพื่อวัตถุประสงค์ในการดํารงเผ่าพันธุ์ |
เศร้า | รักษาความรู้สึก สูญเสีย | การกระทําต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องบุคคลที่ สูญเสียไปกลับคืนมา เช่น ร้องไห้ มีสีหน้าเศร้า |
ประหลาดใจ | การปรับตัวให้ เข้ากับ สิ่งแวดล้อมใหม่ | ปฏิกิริยาโต้ตอบกับเหตุการณ์หรือสิ่งใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย เช่น เสียงดัง สัตว์ประหลาด เปลี่ยนที่อยู่ใหม่ |
คาดหวัง (อยากรู้อยากเห็น) | การสํารวจ ค้นหา | การกระทําต่างๆเพื่อให้พบกับสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง ออกไป เช่น อยากรู้จักเพื่อนบ้านใหม่ |
เค. บริดเจส(K. Bridges) ได้ศึกษาและสังเกตเด็กทารกจํานวนมาก โดยเขาพบว่า1.อารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้ ได้แก่ อารมณ์โกรธ กลัว และรื่นเริง ส่วนลักษณะการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ การยิ้ ม การขมวดคิ้ ว และการยิงฟัน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องของวิวัฒนาการ
2.อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์ คือ อารมณ์ตื่นเต้น ดีใจ และเมื่อทารกอายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ซึ่งอารมณ์อื่นๆก็จะพัฒนาขึ้นมาตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็กเช่น
6 เดือนจะมีอารมณ์โกรธ
9 เดือนจะมีอารมณ์กลัว สุขใจ
1 ขวบครึ่ง จะมีอารมณ์อิจฉาริษยา
โดยอารมณ์พื้ นฐานต่างๆจะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด เมื่อเด็กอายุ 2 ขวบ (24 เดือน)
การแสดงออกทางอารมณ์
การแสดงอารมณ์ทางใบหน้า
การแสดงออกทางอารมณ์ ที่มีลักษณะเป็นสากลมากที่สุด คือ การแสดงออกทางใบหน้า ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาจะแสดงความรู้สึกได้
ตรงกัน กล่าวคือ เมื่อเกิดอารมณ์นั้นกล้ามเนื้ อแต่ละมัดบนใบหน้าจะมีการยืดหดคล้ายคลึงกัน
การแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกทางใบหน้า จัดว่าเป็นสิ่งที่มีความสําคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นการแสดงออกถึงสภาวะทางอารมณ์ต่างๆ ในตัวเราและบุคคลอื่นที่สามารถสังเกตเห็นได้บ่อยๆโดยนักสรีรวิทยาเชื่อว่า ใบหน้าของมนุษย์สามารถแสดงความรู้สึกได้แตกต่างกันมากถึง 20,000แบบ
ทอมกินส์(Tomkins) เชื่อว่า การแสดงออกทางใบหน้า คือ การสะท้อนของอารมณ์ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด และเป็นลักษณะการตอบสนองที่เป็นสากล เช่น ดวงตา คิ้ ว และหน้าผาก แสดงถึงอารมณ์โกรธ ในขณะที่ริมฝีปากแสดงถึงความเสียใจ ฯลฯ
พอล เอ็กแมน (Paul Ekman) ได้พบว่า มีอารมณ์ 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข ที่แสดงออกทางสีหน้าเป็นลักษณะสากล นั่นคือ มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาจะแสดงความรู้สึกได้ตรงกัน ซึ่งจุดที่จะสังเกตเห็นการแสดงอารมณ์ได้ชัดเจนที่สุด คือ ริมฝีปาก เช่น เวลาเศร้า มุมปากจะโค้งลง ส่วนเวลายิ้ มมุมปากจะโค้งขึ้น ฯลฯ
เราสามารถตัดสินอารมณ์จากใบหน้าของผู้คนได้อย่างคร่าวๆ เพราะ การแสดงออกทางใบหน้ามีเพียง 3 มิติ คือ พอใจ-ไม่พอใจ ยอมรับ-ปฏิเสธ และการเคลื่อนไหวทางร่างกายอื่นๆ เช่น ยืนหรือนั่งตามสบายหรือเกร็ง โน้มตัวเข้าใกล้หรือถอยห่าง ฯลฯ
การแสดงอารมณ์ก้าวร้าวและรุนแรง
เป็นผลมาจากการเกิดความคับข้องใจหรือความรู้สึกที่ถูกกดขี่อยู่ตลอดเวลา โดยความคับข้องใจสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองหรือพฤติกรรมได้หลายรูปแบบ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์ของตนให้เหมาะสม เพื่อความถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของสังคมและเพื่อสุขภาพจิตที่ดี
มีอารมณ์ก้าวร้าวบางชนิด ซึ่งเมื่อแสดงออกมาแล้วจะก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นได้ นักจิตวิทยาได้ให้ความสนใจกับอารมณ์ประเภทนี้ มากกว่า จะศึกษาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทําให้บุคคลมีการแสดงออกทางอารมณ์ในลักษณะของความก้าวร้าว
แนวทางการควบคุมอารมณ์ในการดํารงชีวิตประจําวัน
มุกดา สุขสมาน ได้ให้แนวทางที่จะใช้ในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ได้ดังนี้
1.พยายามเข้าใจความกลัวหรือความวิตกกังวลของอารมณ์
2.ต้องยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นและควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเรา
3.แยกสลายอารมณ์ต่างๆออกไปจากสถานการณ์ อย่าปล่อยให้เป็นปัญหาใหญ่
4.อย่ากังวลกับสิ่งที่ผิดพลาดมาแล้ว ให้คิดถึงปัจจุบันด้วยความเชื่อมั่น
5.ใช้ปฏิกิริยาโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์ขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทันที