จิตวิทยาสัมพันธภาพ

สรุปเนื้อหา จิตวิทยาสัมพันธภาพ ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพล พยอมแย้ม

สัมพันธภาพเป็นเรื่องสำคัญของการดำเนินชีวิตทั้งในระดับส่วนตัว และระดับส่วนรวม การติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้อื่นเกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตของทุกคน เป้าหมายหลักในการติดต่อ หรือสร้างความสัมพันธ์ ก็คือ การทำให้บุคคลที่สัมพันธ์ด้วยมีส่วน ทำให้ความต้องการของเรา บรรลุผลนั่นเอง
การเกี่ยวข้องระหว่างกัน จะด้วยวิธีการหรือช่องทางใดก็แล้วแต่ ทางจิตวิทยาถือว่าเป็นกิจกรรมทางสังคม เพราะทั้งสองฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ( Soid Interaction ) และเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กันก็จะเกิดความรู้สึกหรืออารมณ์จาก การมีปฏิสัมพันธ์นั้นๆ ซึ่งเมื่อใดบุคคลเกี่ยวข้องกันจนมีอารมณ์หรือ ความรู้สึกที่เป็นผลจาก การกระทำระหว่างกัน เราจะถือว่าบุคคลคู่นั้นมีสัมพันธภาพระหว่างกัน ( Interpersonal relation ) ดังนั้น จิตวิทยาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล( Psychology of interpersonal relation) จะเป็นการศึกษาพฤติกรรมระหว่างมนุษย์ที่มีขอบเขตกว้างขวางกว่ามนุษยสัมพันธ์
( Human relation ) ตรงจุดที่สัมพันธภาพระหว่างบุคคลเป็นการสร้างพฤติกรรมทาง สังคมที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ของทั้งสองฝ่าย แล้วสัมพันธภาพ หรือปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันนั้นก็อาจยุติลงโดยไม่ต้องการมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องไป อีกมิหนำซ้ำระหว่างที่มีปฏิสัมพันธ์กันต่างฝ่ายอาจรู้สึกไม่พอใจซึ่งกันและกันได้ แต่ด้วยความจำป็นจากเหตุต่าง ๆ ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกันต่อไปจนกว่าจะบรรลุผลตามเป้าหมายของตน

การเกิดสัมพันธภาพ

สัมพันธภาพเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กันแล้วลักษณะประจำตัวของแต่ละคนจะส่งผลหรือมีอิทธิพล ต่อความคิด และการกระทำ ของอีกฝ่ายทันที (Interpersonal Influence) การรับรู้อิทธิพลของคู่ปฏิสัมพันธ์นั้นจะป็นไปใน 3 ขั้นตอนการรับรู้ผลกระทบรืออิทธิพลที่ส่งมาทั้งหมด
( Unilateral effect )
การแปรความสิ่งที่ได้รับรู้ทั้งหมดและเกิดปฏิกริยากับทุกมิติกับทุกมิติของข้อมูลที่ได้รับ การแสดงออกที่ผ่านกระบวนการคิด และเลือกสรรรูปแบบของ พฤติกรรมที่ได้ปรับแก้หรือคิดว่าเหมาะสมที่สุดแล้ว( Mutual adaplation )
ความต้องการมีสัมพันธภาพระหว่างกันมาจากหลายสาเหตุ อาจเริ่มจากความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อน หรืออาจเป็นความต้องการที่ตรงกับ ทั้งสองฝ่ายก็ได้ เช่น ต้องการได้รับความช่วยเหลือ - ต้องการได้รับการกระตุ้น

  • ต้องการลดความวิตกกังวลหรือความกลัว
  • ต้องการได้รับข้อมูลเพิ่มเติม
  • ต้องการประเมินตนเอง

การทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน

วิธีการสร้างสัมพันธภาพจะแตกต่างกันไปตามบุคคลิกภาพ หรือลักษณะนิสัยของแต่ละคน นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์และปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ อีกมากอย่างไรก็ตามการสร้าง สัมพันธภาพที่ดีจะประกอบด้วยพฤติกรรมต่อไปนี้

1. การเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ( Contact )
2. การสร้างความคุ้นเคยให้เกิดขึ้น ( Familiarity )
3. การให้รางวัลพฤติกรรม ( Reword )
4. การรู้สึกชอบหรือพอใจ ( Lihing )

ปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ความสัมพันธ์ระหว่างกันเกิดขึ้นและเป็นไปตามบทบาทและหน้าที่ตามโครงสร้างทางสังคมที่แต่ละคนสังกัดอยู่ การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลยังได้รับ อิทธิพลโดยตรงจากคุณสมบัติของตัวบุคคลอีกด้วย ได้แก่
1. สรีระวิทยา หมายถึง พื้นฐานทางชีวภาพที่กำหนดความต้องการทางร่างกาย เช่น ความกระหาย ความหิว ความง่วงนอน ความต้องการขับถ่าย ฯลฯ เป็นต้น
2. บุคคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคลอันได้จากาการเรียนรู้และพันธุกรรม
3. สังคมและวัฒนธรรม ทำให้แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่แตกต่างไปตามสถานภาพใน โครงสร้างนั้นๆ และรูปแบบในการปฏิบัติตามบทบาท และหน้าที่ก็จะเป็นไปตามวัฒนธรรมของสังคมนั้น

องค์ประกอบในการพัฒนาสัมพันธภาพ

สัมพันธภาพระหว่างบุคคลจะพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคามสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้
การกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น การยกย่อง การเป็นกำลังใจ หรือความช่วยเหลือปฏิบัติ
ตามรูปแบบของความสันพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งก็มีรูปแบบเฉพาะ เช่น ความสันพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์ หัวหน้ากับลูกน้อง
การเคารพสิทธิส่วนบุคคล
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
การแสดงความเอื้ออาทรหรือห่วงใยต่อกัน
ความจริงใจและความซื่อสัตย์

ข้อปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาสัมพันธภาพ

1. แสดงความสดชื่นแจ่มใส
2. แสดงความสนใจอย่างพองาม
3. แสดงความเข้าใจรับฟัง
4. แสดงความเกรงใจตามสมควร
5. มองโลกในแง่ดีไว้ก่อน
6. ควบคุมอารมณ์ได้ดี
7. มีวิธีปฏิเสธที่เหมาะสม
8. จดจำข้อมูลเกี่ยวกับคู่สัมพันธภาพให้มาก

ความเหมาะสม 10 ประการที่พึงมีที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการพัฒนาสัมพันธภาพ เช่น

1. การขอบคุณที่เหมาะสม
2. การขออภัยหรือขอโทษที่เหมาะสม
3. การปลอบใจ หรือให้กำลังใจที่เหมาะสม
4. การให้และการรับคำยกย่องชมเชยที่เหมาะสม
5. การปฏิเสธที่เหมาะสม.
6. การร่วมมือที่เหมาะสม
7. การให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม
8. การขอความช่วยเหลือที่เหมาะสม
9. การยอมรับ และการยกย่องให้เกียรติที่เหมาะสม
10. การควบคุมและแสดงออกของอามรณ์ที่เหมาะสม

ระยะห่างระหว่างบุคคลกับการสร้างสัมพันธภาพ

ระยะห่างระหว่างบุคคล หมายถึง พื้นที่เว้นว่างรอบตัวที่แต่ละคนวัดจากความรู้สึกส่วนตัวว่า มีการล่วงล้ำอาณาเขตของตน เข้ามาหรือไม่ ความรู้สึกว่าถูกล่วงล้ำจึงขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างกัน ระยะห่างที่สร้างความรู้สึกที่อาจแตกต่างกันไปตามบุคคลิกภาพ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจน สถานการณ์ในขณะนั้น ซึ่ง Hall (1966 : 116 - 125) อ้างถึงใน สุรพล พยอมแย้ม (2548: 76) ได้แบ่ง ระยะห่างระหว่างบุคคลในการมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมไว้ 4 ระยะ คือ

  1. ระยะใกล้ชิด ( Intimate distance ) ไม่เกิน 2 ฟุต
  2. ระยะส่วนบุคคล ( Personal distance ) ระหว่าง 1.5 – 4 ฟุต
  3. ระยะสังคม( ) ระหว่าง 4 – 10 ฟุต
  4. ระยะทั่วไป ( ) ระหว่าง 10 ฟุตขึ้นไป

การสื่อสารเพื่อสัมพันธภาพ การสื่อสารเป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่งถ่ายทอดข่าวสารไปยังบุคคลหนึ่ง และทำให้บุคคล นั้นมีปฏิกริยากลับมา ซึ่งอาจต่อเนื่องเป็นการให้คำตอบต่อไปของผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Interaction) เพิ่มขึ้นเป็นลำดับจนกว่าต้องการยุติการสื่อสารครั้งนั้น
ความตั้งใจหรือความมุ่งหมายในการสื่อสารระหว่างบุคคลมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ความต้องการ ที่จะจูงใจให้ผู้รับสารเชื่อและกระทำตามจุดประสงค์ของตน โดยทั่วไปแล้วจะจำแนกส่วนประกอบ ของกระบวนการสื่อสารออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้

  1. เนื้อความหรือตัวสาร (Content or message) หมายถึง สิ่งที่ผู้สื่อสารต้องการส่งไปยังผู้รับ ซึ่งอาจเป็นความคิด ความรู้สึก หรือข้อมูลก็ได้
  2. การส่งผ่านข้อมูล (Transmitting) การส่งเนื้อความนั้นผู้ส่งมักดัดแปลงต่อเติมหรือย่นย่อ เนื้อความนั้นไม่มากก็น้อย โดยหวังว่าผู้รับจะเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น การทำเช่นนั้นอาจทำให้เนื้อความ ผิดเผี้ยนไปจากเดิมได้
  3. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร ( Communication ) เป็นช่องทางการสื่อสารที่ผู้ส่งเลือกใช้ ซึ่งอาจใช้มากกว่าหนึ่งช่องทางในการส่งสารให้กับบุคคลเดียวกัน และในเรื่องเดียวกันก็ได้
  4. การรับสาร ( Reciving ) การรับสารเป็นหน้าที่ของคู่การสื่อสาร ประสิทธิภาพในการรับ ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของผู้รับสาร เช่น ความคิดและอารมณ์ในขณะนั้น การสอดแทรกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมอื่น เป็นต้น
  5. ความเข้าใจ ( Understanding ) ทั้งผู้รับและผู้ส่งสารจะต้องมีความเข้าใจข้อความ หรือ ความหมายที่สื่อต่อกัน และต้องขจัดอุปสรรค หรือสิ่งสอดแทรกรบกวนออกไปพร้อมทั้งต้องมี ปฏิกริยาโต้ตอบเพื่อแสดงถึงระดับของความเข้าใจ
  6. สัญญลักษณ์ ( Symbol ) หมายถึง คำพูด กริยาท่าทาง รูปภาพ สิ่งของ ที่สามารถส่ง ต่อไปยังคู่สื่อสารได้ ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีทักษะการลงระหัสและการถอดระหัส(Encoding shills and decoding) ในการแปลความและแปลควมหมายนั้น

การสนทนาเพื่อสัมพันธภาพ

การสนทนาเป็นเครื่องมือหลักสำหรับการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล การสนทนาที่ดีมี ส่วนสำคัญทำให้เกิดความสุขในจิตใจของคู่สนทนา และมีส่วนทำให้ทั้งสองฝ่ายบรรลุเป้าหมายตาม จุดประสงค์สัมพันธภาพระหว่างกันด้วย
การสนทนาที่ดีเป็นอย่างไร มีข้อแตกต่างกันระหว่างการพูดกับการสนทนา คนพูดเก่งไม่ได้หมายความว่าจะคุยเก่งหรือ สนทนาเก่งด้วย บางทีคนที่พูดบนเวทีเก่งหรือพูดแล้วมีคนฟังจำนวนมาก แต่เมื่อมาสนทนาพูดคุย กันอาจน่าเบื่อหน่ายก็ได้ เป็นที่ยอมรับกันว่า การสนทนาที่ดีก็คือการพูดคุยกันอย่างมีความสุขและ ได้ผลตามจุดมุ่งหมายในการพูดคุยของทั้งสองฝ่าย

แนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดการสนทนาที่ดี

  1. เริ่มต้นให้ดี
  2. ปรับตัวให้เข้ากับการสนทนา
  3. ฟังมากกว่าพูด
  4. ปรับทาทางประกอบการสนทนา
  5. อดทน อดกลั้น
  6. ให้เกียรติตามควร
  7. ไม่พูดแต่เรื่องตัวเอง
  8. อย่าชักใบให้เรือเสีย
  9. ไม่มุ่งเฉพาะประโยชน์
  10. เข้าใจเรื่องที่คุยและอารมณ์ที่เกิดขึ้น
  11. ทำใจให้เป็นกุศล มองโลกในด้านดี และมีใจเมตตากรุณา

การมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน นอกจากรู้และเข้าใจธรรมชาติมนุษย์ เข้าใจความต้องการ และมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลแล้ว การปรับเปลี่ยนท่าทีและบุคคลิกภาพ อันได้แก่ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ลักษณะและท่วงท่าในการแสดงออก นับเป็นสิ่งที่สำคัญ อีกด้านหนึ่งที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายพอใจกันและกัน การปรับบุคลิกภาพให้เหมาะสมอาจเริ่มต้น ไปทีละด้าน ดังนี้
ปรับการรับรู้เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจหรือตีความสิ่งที่ได้รับสัมผัสตามที่ตน เรียนรู้ หรือมีประสบการณ์มาก่อน
ปรับความเชื่อ หากมีความเชื่อเรื่องบุคลิกภาพอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาตนเอง ในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมหรือสอดคล้อง กับคู่สัมพันธภาพ ปรับทัศนคติและค่านิยม ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อ

ขั้นตอนการปรับบุคลิกภาพ มี 4 ขั้นตอน คือ

ขั้นศึกษาและประเมินตนเอง เป็นการค้นหาและวิเคราะห์ส่วนดีและส่วนบกพร่องของตนเอง ทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ที่สัมพันธ์กับการพัฒนา ทางร่างกาย และจิตใจ ครอบคลุมถึง รูปร่างหน้าตา สุขภาพ ความรู้ ความสามารถ สติปัญญา กริยาท่าทาง คำพูด อุปนิสัย การแต่งกาย ผลการศึกษา มีความต้องการที่จะปรับแก้ไข เมื่อศึกษาและประเมินตนเองแล้ว ยอมรับข้อบกพร่อง ที่ค้นพบและต้องการแก้ไขอะไรบ้าง พร้อมจัดลำดับความสำคัญ ก่อนหลังไว้ เพื่อนำมาคัดกรองและมีแนวโน้มว่าจะแก้ไขได้จริง
สร้างแรงจูงใจในการปรับแก้ไข การแก้ไขจำต้องมีการกระตุ้นหรือมีแรงจูงใจมากพอ โดยเฉพาะการจูงใจภายในตนเอง เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
วางแผนปรับแก้ไข เมื่อกระตุ้นให้ต้องการปรับตนเองได้แล้ว ก็ต้องวางแผนว่าต้องการ ปรับปรุงอะไรหรือตรงไหนบ้าง และการปรับปรุงนั้นจะทำไปทีละอย่าง หรือทำพร้อม กันหลายอย่าง การวางแผนไว้อย่างชัดเจนและเหมาะสมกับความสามารถของผู้ปฏิบัติ ความสำเร็จก็จะมีมากขึ้น

การปรับบุคลิกภายนอก คือ ลักษณะกริยาอาการที่ปรากฏให้ผู้อื่นได้รับรู้

  • ด้านร่างกาย หมายถึง เพิ่มการดูแลรักษารูปร่างหรือทรวดทรงตนเอง ความสะอาด ร่างกาย ความผ่องใส การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
  • ด้านกริยาท่าทาง หมายถึง การยืน การเดิน การนั่ง การแสดงออกทางใบหน้าทางแววตา และท่าทางอื่นๆ ที่สื่อให้ผู้พบเห็นมีความรู้สึกได้
  • ด้านการพูด หมายถึง คำพูดและท่าทาง ย่อมมีส่วนในการสื่อถึงความคิด ความเชื่อ และอุปนิสัยของผู้พูดได้มาก การใช้สำเนียงที่เหมาะสมกับ เรื่องราวและตัวบุคคล
  • ด้านการฟัง เป็นการฟังที่สื่อให้ผู้พูดรู้ว่าเราตั้งใจฟังจะทำให้ผู้พูดพอใจ และคิดว่า ตัวเขาเองนั้น เป็นผู้พูดที่มีความาสำคัญต่อผู้ฟัง
  • ด้านการแต่งกาย เป็นการแต่งกายให้เหมาะสมถูกต้องตามกาละเทศะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ อีกประการหนึ่งที่จะทำให้คู่สัมพันธภาพพึงพอใจ

การปรับบุคลิกภาพภายใน คือลักษณะทางบุคลิกภาพภายใน ได้แก่ ความคิด ความรู้สึกและอารมณ์ ความเชื่อและทัศนคติ หรือสิ่งเรียกรวมๆ ว่า อุปนิสัย การปรับแก้ลักษณะภายในเพื่อให้เป็นปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีระหว่างกัน อาจฝึกในเรื่องต่อไปนี้
ความพึงพอใจในตนเอง การเห็นคุณค่าและความสามารถต่างๆ ของตนทำให้พอใจและมีความรักตนเอง ผู้ที่พอใจตนเองก่อนจึงจะพอใจผู้อื่นได้อย่างแท้จริงควบคุมตนเอง ธรรมชาติของเราอย่างหนึ่ง คือการทำตามต้องการแต่การมี สัมพันธภาพระหว่างกันนั้น เราไม่สามารถทำตามใจ เราได้ทั้งหมดเราต้องควบคุมจิตใจ เพื่อให้ทำหรือไม่ทำบางสิ่งบางอย่างทำให้ใจสงบและเบิกบาน มีสิ่งเข้ามกระทบจิตใจ ทั้งด้านบวกและด้านลบมากมายหรือ ตลอดเวลาผู้ที่จิตใจไม่สงบมั่นคงละเบิกบานอยู่เสมอนั้น ผู้ที่มาเกี่ยวข้องย่อมสบายใจ ที่จะมีสัมพันธ์ด้วย เพราะแน่ใจว่าจะได้รับการปฏิบัติกลับมาอย่างไร
กำหนดเป้าหมายในชีวิตการตั้งเป้าหมายในชีวิตจะทำให้แต่ละคนปรับหรือพัฒนาพฤติกรรมของตนในแนว ทางที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ตั้งใจเป็นผู้ให้ เป็นการให้สิ่งดีๆ แก่ผู้อื่น ทั้งสิ่งของและจิตใจที่ดี การที่เราให้สิ่งใด กับผู้อื่นได้ แสดงว่าเราต้องมีสิ่งนั้นอยู่แล้ว การมีจิตใจที่ดีทำให้เป็นผู้มีความสุขตื่นตัวและปฏิบัติตนด้วยความคล่องแคล่ว ผู้ไม่เฉื่อยชาและมีปฏิกริยาคล่องแคล่วว่องไว ย่อมเป็นที่พอใจกับ ผู้ที่มีความสัมพันธ์ด้วยมีมารยาทสังคมที่ดี การเรียนรู้และเข้าใจมารยาททางสังคมในระดับต่างๆ ย่อมทำให้ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับ ถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ/เอกสาร

ชื่อหนังสือ : จิตวิทยาสัมพันธภาพ
ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพล พยอมแย้ม


สรุปเนื้อหา โดย นายประสงค์ ลีลา นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนเพชรบุรี กรมการพัฒนาชุมชน