การกำหนดพื้นที่ใช้สอย

ที่ว่างภายในบ้านและอาคารเป็นพื้นฐาน สำหรับ การตกแต่งภายใน ส่วนใหญ่พื้นที่การใช้สอย ได้รับการกำหนด มาล่วงหน้าแล้ว ในขั้นตอนการก่อสร้าง ว่าจะมีกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ กำหนดให้ห้องรับแขก อยู่ที่ไหน และใช้พื้นที่ใด้ เป็นห้องครัว หรือห้องรับประทานอาหาร แต่จะมีสักกี่ราย ที่สามารถใช้พื้นที่ใช้สอยตามความต้องการ และความจำเป็น ก่อนการปลูกสร้าง เพราะส่วนใหญ่ ในการซื้อบ้านนั้น มักจะซื้อ บ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม ที่มีการจัดพื้นที่ใช้สอยไว้ล่วงหน้าแล้ว
ถ้าท่านสามารถกำหนดไว้ได้ล่วงหน้าแล้วก็ตาม แต่ในขณะนั้นความต้องการ และความจำเป็นในการใช้พื้นที่ใช้สอยนั้น สำหรับคู่สามี-ภรรยาที่แต่งงานกันใหม่ ห้องนอนจึงใช้เพียงห้องเดียว พื้นที่ใช้สอยอื่น ก็ทำไว้สำหรับสองคนเท่านั้น แต่เมื่อครอบครัวขยายขึ้น ความต้องการพื้นที่ใช้สอยจึงเปลี่ยนไป

การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้สอย ภายในบ้านนอกจาก จะเปลี่ยนตาม ความจำเป็น ของสภาพครอบครัวแล้ว สิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก ที่จะเป็นตัวกำหนด ก็คือ " รสนิยม " ซึ่งเป็นตัวกำหนด หลักการของการตกแต่ง ให้ออกมารูปแบบต่าง ๆ เดิมอาจชอบเปิดโล่ง ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันได้ทั้งบ้าน โดยไม่มีผนังมากั้นกลาง ภายหลังเพื่อ ความเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงต้องการมีห้องที่มีลักษณะปิดกั้นจากภายนอก หรือเดิมชอบบ้านแบบเรียบ ๆ มีของตกแต่งเท่าที่จำเป็น แต่กลับมาชอบการตกแต่งที่สมบูรณ์แบบ มีภาพแขวนบนผนัง มุมว่างจัดวางไว้ด้วยประติมากรรม หน้าต่างและประตูทุกบานติดม่านจับจีบ ซึ่งความต้องการเหล่านี้ อาจจะต้องทำให้มีการกั้นห้อง หรือรื้อผนังออกไป เพื่อความเหมาะสมของการตกแต่ง.

แบบแปลนบ้าน

ก่อนที่จะรื้นถอน หรือกั้นผนังเพื่อเป็นการปรับปรุงพื้นที่การใช้สอยนั้น ควรพิจารณาถึง วิธีการอย่างง่าย ๆ เสียก่อน ลองพยายามนึกถึงห้องต่าง ๆ ภายในบ้านอย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน บางทีเพียงแต่ท่านสลับห้องกันระหว่างห้องนอน และห้องนั่งเล่นก็อาจจะได้สิ่งที่ต้องการ โดยไม่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ ถ้าต้องการห้องรับแขกที่กว้างขวาง อาจจะเอาเฟอร์นิเจอร์ ที่เกินความจำเป็นออกไป หรือจัดกลุ่มเครื่องเรือนใหม่ ทำให้เกิดที่ว่างกว้างขวางกว่าเดิม
อีกประการหนึ่งให้นึกถึง ความสัมพันธ์ ระหว่างธรรมชาติภายนอก กับการใช้สอยภายใน การที่จะใช้พื้นที่ไหนทำอะไร จะต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ทิศทางลม ตัวอย่างเช่น แสงแดดในยามเช้านั้นดูน่าสบายในการรับประทานอาหารเช้า จึงควรจัดห้องรับประทานอาหาร ให้อยู่ด้านที่แสงแดด ส่องเข้าถึง ห้องพักผ่อนสำหรับครอบครัว ควรจะอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถอยู่อาศัยได้ทั้งวัน จะต้องเป็นห้องที่ไม่ที่เสียง และฝุ่นละอองจากภายนอก แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจจะต้องใช้ฉาก หรือม่านกั้นหรือระบบปรับอากาศ
ในกรณีที่คุณมีเงินมากพอ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พื้นที่ใช้สอย ก็สามารถทำได้อย่างเต็มที่จะรื้อบางส่วนออก หรือสร้างผนังบางส่วน ขึ้นมาก็ย่อมเป็นไปได้ แต่ถ้าจะทำเช่นนั้นควรวางแผนและไตร่ตรองให้รอบคอบแล้วเท่านั้น เพราะเมื่อจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปแล้ว ต้องมั่นใจว่า จะได้รับประโยชน์จากที่ว่างอย่างสูงสุด หรือผนังภายในบ้านแบ่งได้กว้าง ๆ ออกเป็นสองประเภท คือ ผนังรับน้ำหนัก และผนังที่ไม่ได้รับน้ำหนัก การรื้อผนังที่ไม่รับน้ำหนักสามารถรื้ออกได้ทันที แต่การรื้อผนังรับน้ำหนักที่ต้องรับน้ำหนักชั้นบนอยู่ จะต้องทำคานสำหรับรับน้ำหนักไว้แทน วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าผนังไหนรับน้ำหนัก คือ ถ้ามีผนังด้านบน ตรงกับผนังด้านล่าง แสดงว่าเป็นผนังรับน้ำหนัก..

การกำหนดพื้นที่ใช้สอย

บ้านการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้าน อาจกระทบกระเทือนโครงสร้างบ้าน ฉะนั้นจึงต้อง อาศัยความรู้ความสามารถ จากผู้เชี่ยวชาญ เช่น สถาปนิก วิศวกร ซึ่งเขาเหล่านี้ สามารถดูแลความถูกต้องตามหลักวิชาการ และด้านกฎหมายอีกด้วย เพราะบางครั้ง การต่อเติม ที่ยื่นออกไปนอกบ้าน ไม่ว่าเป็นหลังคา ระเบียงบ้าน หรือ ต้องการต่อเติม ครัว หรือโรงรถใหม่ ก็ตาม ถ้าเป็นบ้านที่อยู่ในเขตเทศบาล ต้องเสนอ แบบแปลนขออณุญาต การปลูกสร้างจาก ทางราชการส่วนที่เกี่ยวข้อง
ข้อกำหนดที่สำคัญใน การออกแบบพื้นที่ใช้สอย ก็คือ การทำให้เกิดความสมดุลกัน ระหว่างความต้องการที่ขัดแย้งกัน ของสมาชิกในครอบครัว อย่างเช่น มีบางคนต้องการ ความสงบ สำหรับการทำงาน หรืออ่านหนังสือ แต่ก็มีบางคนต้องการพักผ่อน โดยการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ การจัดจะต้องแยกกิจกรรม ที่ขัดแย้งให้แยกออกจากกัน ไว้คนละห้อง ที่เก็บเสียงได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องรวม ที่รับแขก โต๊ะอาหาร และครัวไว้ ในห้องเดียวกัน ก็ควรทำระบบระบายอากาศ ไว้ให้ถ่ายเทให้ดี และติดเครื่องดูดอากาศ ไว้ในครัว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ทางสัญจรภายในบ้าน จะต้องสะดวก ไม่วกวน ถ้าบ้านกว้างขวางอย่างเพียงพอ ก็ควรจัดให้ห้องนอน อยู่ห่างไกลหน้าบ้าน เพื่อความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น

แบบแปลนบ้าน

สภาพบ้านที่มีอยู่เดิม เป็นพื้นฐานของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เราอาจจะใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว ให้เป็นประโยชน์ได้ การเปิดห้องสองห้อง ให้ติดต่อกัน อาจทำได้โดยรื้อผนังส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้มีขนาดใหญ่ แต่ยังคงเหลือบางส่วนไว้ ทำให้ได้บรรยากาศที่แปลกใหม่ขึ้นมา และมองดูแล้วเกิดความลึก ความตื้นเพราะผนังส่วนที่เหลือเป็นตัวกำหนด หรือบางห้อง เพียงต้องการ ให้ได้ที่โล่งเพิ่มขึ้น ก็อาจย้ายตู้เตี้ยกั้นห้องออกไป หรือแยกเก้าอี้รับแขกชุดใหญ่ ออกไปเสียบ้าง คงเหลือไว้เท่าที่จำเป็น และจัดวางชิดผนัง จะทำให้ได้พื้นที่กว้างขวางและดูเป็นทางการน้อยลง

การเปลี่ยนแปลง โดยการแบ่งห้องใหญ่ออกเป็นห้องเล็ก ๆ นั้นทำง่ายกว่าจะรวม ห้องสองห้องเป็นห้องเดียวกัน เพราะนอกจาก จะต้องคำนึงถึงว่า เป็นผนังที่รับน้ำหนักหรือไม่ตามที่กล่าวแล้ว ยังต้องพิจารณาดูห้องทั้งสอง ว่ามีความกลมกลืนกัน หรือไม่ ตั้งแต่ พื้น ผนัง และเพดาน โดยดูจากลักษณะพื้นผิว วัสดุที่ใช้ และสีสัน ถ้ากลมกลืนกัน ก็สามารถรื้อกำแพงออก และจัดตกแต่งเป็น ห้องเดียวกันได้ แต่ถ้ามีความแตกต่างกันมาก ก็อาจจะทำได้อีกวิธีหนึ่ง ที่เสียค่าใช้จ่ายในการปรับน้อยลงคือ เปิดช่องประตู ให้ติดต่อกัน และเปลี่ยนบรรยากาศ ให้พร้องต้องกันด้วยการทาสีใหม่เท่านั้น
การแบ่งพื้นที่ที่สามารถตอบสนอง การใช้สอยได้หลายอย่าง เช่น ในสำนักงานที่มีห้องโล่งขนาดใหญ่ แต่มีลักษณะ การทำงาน ที่แตกต่างออกไป บ้างเป็นสำนักงาน ที่ต้องทำงานอยู่กับโต๊ะเขียนหนังสือ บ้างก็ทำงานเป็น สตูดิโอถ่ายภาพ หรือจัดบางส่วนออก เป็นที่ชงกาแฟ เตรียมอาหาร ก็สามารถกั้นโดยใช้มู่ลี่ติดจากเพดานจรดพื้น หรือเป็นม่านพับ ที่ออกจากด้านข้าง เมื่อใดที่ต้องการ ใช้พื้นที่เป็นสัดส่วน ก็ดึงม่านกั้นไว้ แต่เมื่อใดที่ต้องการเนื้อที่กว้างในการจัดเลี้ยง ก็สามารถเปิดม่านให้โล่งได้ตลอดได้

เมื่อมองไปรอบ ๆ บ้านแล้วสังเกตดูว่า มีพื้นที่ส่วนใดภายในบ้าน ที่ยังปล่อยทิ้งไว้ ให้เปล่าประโยชน์อย่างเช่น โถงใต้บันได หรือเฉลียงแคบ ๆ หรือเพดานสูงเกินไป เมื่อเทียบกับขนาดห้อง เราอาจใช้พื้นที่เหล่านี้ทำเป็นประโยชน์ได้..

ห้องที่เพดานสูงมาก อาจจะทำชั้นลอยไว้เก็บของ หรือเป็นห้องนอนขนาดเล็ก สำหรับแขก หรืออาจยกพื้นด้านล่างขึ้นมาแทน ทำลิ้นชักสำหรับเก็บของ อยู่ใต้ยกพื้น เฉลียงแคบ ๆ ยาว อาจจะใช้พื้นที่ของผนัง แขวนรูปภาพ ทำตู้ติดผนังที่ใช้พื้นที่น้อย สำหรับเก็บหนังสือ ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบที่ดี เพื่อให้มีพื้นที่เหลือพอสำหรับเดินผ่านไปมาได้สะดวก โถงใต้บันไดทำตู้ หรือชั้นเก็บของไว้ บางรายอาจใช้พื้นที่ตรงนี้ เป็นที่วางเตียงพับ หรือโซฟาได้ เพื่อเตรียมไว้ สำหรับแขกที่มาพักค้างคืน
การใช้เฟอร์นิเจอร์ มีบทบาทสำคัญในการกหนดคุณภาพ และลักษณะในการ จัดตกแต่งในที่ว่าง เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวขนาดใหญ่ จะนำมาตกแต่ง ได้อย่างสง่า และงดงาม ในห้องขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็นห้องแคบ ๆ ตู้ติดผนัง โต๊ะ-เก้าอี้ พับได้ และโซฟาที่เป็นเตียงในตัว ช่วยให้พื้นที่แคบใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ จะต้องคำนึงผลที่เกิดขึ้น เช่น การจัดวางชุดรับแขก 4 ชิ้น ที่ประกอบด้วยโซฟายาว เก้าอี้นวมอีกสองตัว และโต๊ะกลางหนึ่งตัว ซึ่งจัดได้ลงตัว และสวยงามในห้องที่กว้างขวาง แต่ถ้าห้องที่มีขนาดเล็ก ก็ควรใช้เฟอร์นิเจอร์ สมัยใหม่ ที่ออกแบบไว้ด้วยเส้นลายที่อ่อนหวาน และมีขนาดเล็กลง เมื่อตกแต่ง จะให้บรรยากาศที่โปร่งใสให้กับห้องเล็ก ๆ ได้มากกว่า และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายอีกด้วย

การจัดวางผังห้องนั้นไม่ได้คำนึงแค่ความสวยงามหรือการใช้งานเท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึง แต่หลาย ๆ คนอาจจะ ลืมไปก็คือ การจัดวางห้องโดยการคำนึง ถึงทิศทางของแสงและลม เพราะปัจจัยนี้ นี่แหละ ที่ช่วยให้คุณ ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น

พื้นที่

การจัดวางผังห้องนั้นไม่ได้คำนึงแค่ความสวยงามหรือการใช้งานเท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึง แต่หลาย ๆ คนอาจจะ ลืมไปก็คือ การจัดวางห้องโดยการคำนึง ถึงทิศทางของแสงและลม เพราะปัจจัยนี้ นี่แหละ ที่ช่วยให้คุณ ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น

ห้องดวงอาทิตย์มีช่วงเวลาที่จะโคจรอ้อมใต้ถึง 9 เดือนนั่น ทำให้บ้านจะรับ ความร้อน จัดจ้านมาก ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ห้องที่ต้องการเลี่ยงความร้อน ของแดด ในยามบ่าย จึงต้องอพยพให้ไปอยู่ฝั่งเหนือ หรือฝั่งตะวันออกซะให้หมดเพื่อที่คุณ จะได้ไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศมากนัก

ส่วนลมนั้น ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ทิศที่ได้รับความเย็นโชยมามากที่สุด คือทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือ จะฉ่ำชื่น ด้วยลมโชยกันในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ นั่นเป็นทิศทางของลมทางทฤษฎีว่าไว้

แต่ในเมืองที่แออัด ลมจะพัดไปทุกทิศทุกทาง จึงควรหันมาเน้นการเปิดช่องลม ทางทิศเหนือและใต้จะดีกว่า… แต่ต้องระวังอย่าให้มีการทับตำแหน่งกันเอง ย้ายเฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งบ้านออกจากช่องลมด้วย พอรู้ธรรมชาติ 2 อย่างนี้แล้วก็ลองไปสำรวจดูว่าจะวางห้องไหนไว้อย่างไรบ้าง?

ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่น
เป็นห้องที่ต้องการความสบาย ๆ ใช้งานมากในวันหยุด และใช้เกือบตลอดช่วงกลางวัน ตำแหน่งที่เหมาะสมในบ้าน จึงควรวางไว้ที่ทิศเหนือ, ตะวันออกหรือตะวันออกเฉียงเหนือจะดีที่สุด และถ้าได้ช่องลมด้วยรับรองว่าห้องนี้น่า "นั่งเล่น" และน่า "รับแขก" เหมือนชื่อห้องแน่ ๆ

ห้องอาหาร
เป็นห้องที่ใช้งานช่วงสั้น ๆ จึงควรจัดวางไว้ที่ทิศตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือหรือเฉียงใต้ แต่ถ้ามั่นใจว่าใช้ช่วงเช้าตรู่และหัวค่ำ ก็สามารถ ย้ายไปลงทิศใต้ หรือตะวันตกก็ได้เพราะตอนเช้าแดดยังไม่ถึง ส่วนหัวค่ำแดดก็หมดแล้ว… อย่าลืมเล็งหาช่องลม เพื่อระบายความร้อนที่สะสม ในช่วงบ่ายด้วย ถ้าคุณคิดจะวางลงทิศตะวันตก

ห้องครัว
เป็นห้องที่สะสมความร้อนมากที่สุด จะอย่างไรก็ตามแต่ ห้องนี้ต้องจัดลงทางปลายลมเท่านั้น เพื่อไม่ให้ลมพัดกลิ่น และความร้อน ไปยังห้องอื่น เช่น ทิศตะวันตกหรือใต้เพื่อใช้เป็นห้องที่กันความร้อนให้ห้องอื่นด้วย และเพื่อรับความร้อนมาฆ่าเชื้อโรคด้วย… แต่สิ่งที่เน้นที่สุดก็คือ การระบายอากาศของห้อง

ห้องน้ำ
เป็นห้องที่มีความชื้นสูง ยังไม่คิดถึงว่าถ้าออกแบบไม่ดีจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นด้วย ตำแหน่งที่เหมาะสมควรจะไปลงที่ทิศใต้, ตะวันตก หรือ ตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อจะได้มีแสงสว่างและกันความร้อนให้ห้องอื่น ที่สำคัญคือต้องมีการระบายอากาศ ดูทิศทางลมให้ดีด้วย

ห้องทำงาน
เป็นห้องที่ต้องคำนึงถึงแสงธรรมชาติ ถ้าจะใช้งานในตอนกลางวันก็ให้ลงทิศเหนือ หรือตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ถ้าเป็น ตอนเย็นย่ำค่ำ สนธยา ก็โน่นเลยทิศตะวันออก หรือตะวันออกเฉียงใต้ อย่าลืมหาตำแหน่งดี ๆ ให้ลมโชยแผ่ว ๆ พอคลายเครียดด้วย บรรยากาศจะได้น่านั่งทำงาน

ห้องนอน
เป็นห้องที่สำคัญห้องหนึ่ง จึงต้องพิถีพิถัน ในการจัดวางหน่อย การระบายอากาศควรมีอย่างน้อย 2 ด้าน และวางหลบแดด ช่วงบ่ายด้วย เพราะถ้าคุณวางไว้ ทิศที่รับแดดบ่ายมา ตลอด 4-5 ชั่วโมง คืนนั้นคุณจะร้อนจน นอนไม่หลับทีเดียว ทิศที่เหมาะสมคือ ทิศเหนือ, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือหรือเฉียงใต้

ห้องเก็บของ

ที่จอดรถ

ใครคิดว่าไม่สำคัญวางไว้ทิศทางไหนก็ได้ ไม่จริงหรอก ควรจัดลงในตำแหน่งที่ร้อนของบ้านเอาไว้ เพื่อเป็นตัวกันความร้อน ก่อนจะเข้าไปแผดเผาคนในบ้าน แต่ต้องมีการระบายความร้อนที่ดี ไม่เช่นนั้นทั้งกลิ่นทั้งความร้อนจะสะสม และแผ่รังสีเข้าไปในตัวบ้านได้อยู่ดี ตามกฎหมายไทยกำหนดให้ที่จอดรถไว้กว้าง 2.50 เมตร/คัน หรือ 5.00 เมตร/2คัน แต่ที่จอดรถในที่บ้าน ที่ดีน่าจะกว้าง 3.00 เมตร/คัน (ซึ่งมักทำกันอยู่แล้ว) และน่าจะกว้างสัก 5.50 เมตร สำหรับการจอดรถ 2 คัน (มักออกแบบ-ทำกันเพียง 5.00 เมตร) เพราะการจอดรถที่บ้าน กับการจอดรถที่ทำงานไม่เหมือนกัน ที่จอดรถ ที่บ้านจะต้องมีการเช็ดล้าง ขัดถู เก็บของ เอาของออก ฯลฯ จึงต้องการความกว้างมากกว่าปกติ

พื้นที่ อุดร อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม พายัพ
ห้องนอน X X X X        
ห้องรับแขก พักผ่อน X X X X X     X
ห้องอาหาร     X X   X X X
ห้องครัว         X X X  
ห้องน้ำ         X X X  
ห้องสมุด-ห้องทำงาน X   X X       X
ห้องเก็บของ                
ที่จอดรถ                

นี่คงเป็นแค่แนวคิดในการจัดวางห้องโดยคำนึงถึงธรรมชาติมากที่สุด เพื่อจะให้บ้านของคุณสามารถ รับทั้งแสงสว่างและลมได้ ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อเป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าให้คุณด้วย