ทฤษฎีการเรียนรู้ Leaning Theory

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3
  • Tab 4
  • Next

ทฤษฎีการเรียนรู้

1 ทฤษฎีการเรียนรู้จาก การเก็บข้อมูล (Retention Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถที่จะ เก็บข้อมูล และเรียกข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับคืนมา ทั้งนี้รวมถึง รูปแบบของข้อมูล ความมากน้อยของข้อมูล จากการเรียนรู้ขั้นต้น แล้วนำไปปฏิบัติ

2 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้การโยกย้ายปรับเปลี่ยนข้อมูล (Transfer Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การเรียนรู้มาจาก การใช้ความเชื่อมโยง ระหว่าง ความเหมือน หรือความเกี่ยวข้องระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า ทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลขั้นต้นที่เก็บเอาไว้ด้วยเช่นกัน

3 ทฤษฎีของความกระตือรือร้น (Motivation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความกังวล การประสบความสำเร็จและผลที่จะได้รับด้วย เช่น ถ้าทำอะไรแล้วได้ผลดี เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ ก็จะมีความกระตือรือร้น

4 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (Active Participation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถ ในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับ ความอยากจะเรียนรู้ และมีส่วนร่วม ถ้ามีความอยากเรียนรู้ และอยากมีส่วนร่วมมาก ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะมีมากขึ้น

5 ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บรวบรวมและการดำเนินการจัดการกับข้อมูล (Information Processing Theory) ทฤษฎีนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

  • ส่วนแรกพูดถึง ความสามารถในการจำระยะสั้นของสมอง ซึ่งมีขีดจำกัด สามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มก้อน (Chunking) ได้ประมาณ 7 ข้อมูล หรือ 5-9 คือ 7 บวกลบ 2 ข้อมูลก้อนนี้เป็นข้อมูลที่มีความหมาย ซึ่งอาจเป็นตัวเลข หรือคำพูด หรือตำแหน่งของตัวหมากรุก หรือใบหน้าคน เป็นต้น
  • ส่วนที่ 2 พูดถึง TOTE มาจาก Test-Operate-Test-Exit ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย มิลเลอร์ (Miller) และคณะ กล่าวว่า ต้องมีการประเมินว่า ได้มีการกระทำที่บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าหาก บอกว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ก็จะต้องมีการกระทำ หรือปฏิบัติการใหม่เพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา

6 ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หรือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ อีกทฤษฎีหนึ่ง ตามความเห็นของ อลัน ชอว์ (Alan Shaw) กล่าวว่า เคยคิดว่า ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ การศึกษาเรียนรู้ แต่ความจริง มีมากกว่า การเรียนรู้ เพราะสามารถนำไปใช้ใน สภาวะการเรียนรู้ ในสังคม ได้ด้วย ชอว์ ทำการศึกษา เรื่องรูปแบบ และ ทฤษฎีการเรียนรู้ และพัฒนา เขาเชื่อว่า ในระบบการศึกษา มีความสำคัญต่อเนื่องไป ถึง ระบบโครงสร้างของสังคม เด็กที่ได้รับ การสอนด้วย วิธีให้อย่างเดียว หรือ แบบเดียว จะเสียโอกาส ในการพัฒนาด้านอื่น เช่นเดียวกับสังคม ถ้าหากมีรูปแบบ แบบเดียว ก็จะเสียโอกาส ที่จะมีโครงสร้าง หรือพัฒนา ไปในด้านอื่น ๆ เช่นกัน

ชอว์ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ในรูปแบบของพัฒนาการ ของ สังคมและจิตวิทยา ว่าเป็นแนวคิด หรือ ความเข้าใจ ที่เป็น คอนสตรัคทิวิซึ่ม (Constructivism) คือ รูปแบบที่ผู้เรียนเป็น ผู้สร้างความรู้ ไม่ใช่เป็น ผู้รับอย่างเดียว ดังนั้นผู้เรียน ก็คือ ผู้สอนนั่นเอง แต่ใน ระบบการศึกษาทุกวันนี้ รูปแบบโครงสร้าง จะตรงกันข้ามกับ ความคิดดังกล่าว โดยครูเป็น ผู้หยิบยื่นความรู้ให้ แล้วกำหนดให้ นักเรียนเป็นผู้รับความรู้นั้น

อย่างไรก็ตาม คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีแตกต่างจาก คอน-สตรัคทิวิซึ่ม ตรงที่ ทฤษฎีคอนสตรัคทิวิซึ่ม คือ ทฤษฎีที่กล่าวว่า ความรู้เกิดขึ้น สร้างขึ้นโดยผู้เรียน ไม่ใช่เป็นการให้จากผู้สอนหรือครู ในขณะที่ คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีความหมาย กว้างกว่านี้ คือ พัฒนาการของเด็ก ในการเรียนรู้ มีมากกว่า การกระทำ หรือ กิจกรรม เท่านั้น แต่รวมถึง ปฏิกิริยาระหว่างความรู้ ในตัวเด็กเอง ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อม ภายนอก หมายความว่า เด็กสามารถเก็บข้อมูล จากสิ่งแวดล้อมภายนอก และเก็บเข้าไป สร้าง เป็นโครงสร้าง ของความรู้ภายใน สมองของตัวเอง ขณะเดียวกัน ก็สามารถเอา ความรู้ภายใน ที่เด็กมีอยู่แล้ว แสดงออกมา ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม ภายนอกได้ ซึ่งจะเกิดเป็น วงจรต่อไป เรื่อย ๆ คือ เด็กจะเรียนรู้เองจาก ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอก แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ กลับเข้าไปในสมอง ผสมผสานกับความรู้ภายในที่มีอยู่ แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
ดังนั้น ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม จึงให้ความสำคัญ กับโอกาสและ วัสดุที่จะใช้ใน การเรียนการสอน ที่เด็กสามารถนำไป
สร้างความรู้ ให้เกิดขึ้นภายใน ตัวเด็ก เองได้ ไม่ใช่ซึ่งไม่ใช่วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจธรรมชาติ ของกระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้าง กระบวนการ เรียนรู้ นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้น ตามธรรมชาติของเด็ก แต่ละคน ครูควรคิดค้น พัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่าจะให้โอกาสแก่ผู้เรียน อย่างไรจึงจะให้ ผู้เรียนสามารถ สร้างความรู้ขึ้นเองได้ ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนา และสร้าง วัสดุอุปกรณ์ ประกอบการเรียน การสอนใหม่ ๆ หรือหาวิธีที่ จะใช้อุปกรณ์การเรียน การสอน ที่มีอยู่ให้เป็น ประโยชน์ด้วย วิธีการเรียนแบบใหม่ คือ การสร้างให้ผู้เรียน สร้างโครงสร้างของ ความรู้ขึ้นเอง

ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) และ ศาสตราจารย์ มิทเชล เรสนิก (Mitchel Resnick) มีความเห็นว่า ทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม คือ ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน

สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วย การสร้างความรู้ใหม่ ขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูล ที่หลั่งไหลเข้ามา ในสมองของผู้เรียน เท่านั้น โดยความรู้ จะเกิดขึ้นจาก การแปลความหมาย ของประสบการณ์ที่ได้รับ

สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้น มีความหมายกับ ผู้เรียนคนนั้นมุ่งการสอน การป้อนความรู้ให้ คิดค้นแต่วิธีที่จะสอนอย่างไรจึงจะได้ผล ซึ่งไม่ใช่ วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจ ธรรมชาติ ของ กระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้างกระบวนการ เรียนรู้นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้นตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
ครูควรคิดค้นพัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่า จะให้โอกาสแก่ผู้เรียนอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้
ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนาและสร้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนใหม่ ๆ หรือหาวิธีที่จะใช้อุปกรณ์ การเรียนการสอน ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ด้วยวิธีการเรียนแบบใหม่ คือการสร้างให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้าง ของความรู้ขึ้นเอง

มีความหมายกับผู้เรียนคนนั้นทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม บอกว่า การจะให้การศึกษากับเด็กขึ้นอยู่กับว่า เรามีความเชื่อว่า ความรู้เกิดขึ้น ได้อย่างไร ถ้าหากเราเชื่อว่าความรู้เกิดจากการที่เด็กพยายามจะสร้างความรู้ขึ้นเอง การให้การศึกษาก็จะต้อง ประกอบด้วย การดึงเอา ความรู้นี้ ออกมาจากเด็ก ด้วยการขอให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือตอบคำถาม ที่จะใช้ความรู้นั้น และให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วม ในกิจกรรม ที่จะทำให้ เกิดกระบวนการสร้างความรู้ ในทางตรงข้ามถ้าเราเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ภายนอก การให้การศึกษา ก็จะต้อง ประกอบด้วย การให้ประสบการณ์ที่ถูกต้องกับเด็ก แสดงให้เด็กเห็นถึงวิธีที่ถูกต้องที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือบอกคำตอบที่ถูกต้อง ให้กับเด็ก วิธีนี้คือ การศึกษาในสมัยก่อนนั่นเอง

ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท ได้กล่าวว่า การศึกษาที่ดีไม่ได้มาจากการหาวิธีการสอนที่ดีให้ครูสอนเด็ก ต่มาจากการให้โอกาสที่ดีที่เด็ก จะได้สร้างความรู้ การเรียนรู้ที่ดีจะเกิดขึ้นได้ ถ้าหากเด็กได้มีส่วนในการสร้างสิ่งที่มีความหมาย ยกตัวอย่างเช่น การสร้างประสาททราย การเขียนบทกลอน การสร้างเครื่องจักร หรือการแต่งเรื่อง เป็นต้น

ชอง เปียเจต์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิสผู้มีชื่อเสียงมาก มีความคิดเห็นว่าเด็ก ๆ ไม่ใช่ท่อที่ว่างเปล่า ที่ผู้ใหญ่จะเทข้อมูล และความรู้ต่าง ๆ เข้าไป เด็กคือผู้สร้างความฉลาดและการเรียนรู้ของเขาเอง จะเห็นว่าเด็กเป็นผู้มีความสามารถ มีพรสวรรค์ที่จะ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา เด็กเริ่มเรียนรู้ จากประสบการณ์ในโลกนี้ ตั้งแต่แรกคลอดและมีสิ่งเหล่านี้มา ตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียนด้วยซ้ำ ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า เปียเจต์เลิร์นนิ่ง (Piagetian Learning) คือ การเรียนรู้โดยไม่ต้องได้รับการสอน เช่น เด็กพูดได้โดยไม่ต้องจับมา นั่งสอน หรือเด็กสามารถเรียนรู้ รูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม หรือเรียนรู้วิธีต่อรองกับพ่อแม่โดยไม่ต้องรับการสอน เป็นต้น

ทฤษฎีของวัฒนธรรมและสังคม ผู้เชี่ยวชาญ ชื่อ เลฟ วีกอตสกี (Lev Vygotsky) ซึ่งใช้ทฤษฎีนี้กล่าวว่า สังคมและวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะส่งเสริมความฉลาดและกระบวนการเรียนรู้ในพัฒนาการของเด็ก วีกอตสกี เชื่อว่า ตัวเรามีปฏิกิริยามีสื่อสัมพันธ์กับ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้เราเป็นมนุษย์ที่มีความฉลาดและแตกต่างจากสัตว์
วีกอตสกี ได้กล่าวว่า เด็กเรียนรู้สัญลักษณ์ต่าง ๆ และคำพูดเป็นครั้งแรกจากสังคม ซึ่งความฉลาดความสามารถ ในการสื่อสารด้าน ภาษานี่เองเป็นพื้นฐานที่ทำให้เด็กแตกต่างจากสัตว์

วีกอตสกี ได้ยกตัวอย่างของการเรียนรู้ การสร้างความรู้ในตัวเด็กจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น เรื่องของการชี้ การที่เด็กจะชี้สิ่งต่าง ๆ ได้ จะเริ่มต้นด้วยเด็กยกมือขึ้นเพื่อไปคว้าของตรงหน้า แต่ของนั้นอาจจะอยู่ไกลเกินไป นิ้วจึงกางอยู่กลางอากาศ ตรงนี้จะทำให้เห็น ขั้นตอนคือเริ่มด้วยการเคลื่อนไหวมือของเด็ก เมื่อเด็กไม่สามารถคว้าของได้ ก็จะเปลี่ยนเป้าหมายซึ่งอาจเป็นคุณแม่ที่อยู่ข้าง ๆ คือ เปลี่ยนจากวัตถุมาหาบุคคล โดยมือก็ยังชี้ไปยังสิ่งของที่ตนต้องการ เหตุการณ์นี้จะช่วยสอนเด็กให้เข้าใจว่า การเอื้อมมือไปคว้าของ หรือชี้ไปที่ของ จะเป็นการบอกความต้องการว่าต้องการของชิ้นนี้ เด็กได้เรียนรู้จากการกระทำก่อน คือ เมื่อเขากางมือหรือชี้มือขึ้นไป เพื่อจะคว้าของ หลังจากนั้นคุณแม่หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกก็จะเสริมสร้างให้เด็กเรียนรู้ว่าการชี้หรือกางนิ้วไปที่วัตถุ คือ การชี้ สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่นนี้ จะมีความหมายเมื่อเด็กคนนั้นหรือ ผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อม พ่อแม่ คนเลี้ยงมีความเข้าใจตรงกัน ผู้ใหญ่เข้าใจความต้องการของเด็ก เข้าใจสัญลักษณ์ของนิ้วที่กางออกว่านี่คือการชี้และสนองตอบ เช่นนี้ก็จะทำให้เด็กรู้จักการชี้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองนั่นเอง

แต่ทฤษฎีของ วีกอตสกี ก็ถูกนักการศึกษาท่านหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ว่า การเรียนรู้ภายในตัวเด็กเอง เกิดขึ้นก่อนที่จะได้สัมผัสกับสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
อย่างไรก็ตาม นักการศึกษาท่านอื่น เช่น พอล คอบบ์ (Paul Cobb) และ อลิซาเบ็ธ บอตต์ (Alizabeth Bott) ก็ได้สรุปว่า ความฉลาดและการเรียนรู้ ต้องการทั้ง ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก คือ ผู้เรียนจะต้องได้ข้อมูล จาก สิ่งแวดล้อมภายนอก ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องนำ ข้อมูลภายนอก เข้ามาผสมผสานกับ ความรู้ หรือ โครงสร้าง ที่มีอยู่ในตัวเอง และสร้างเป็นความรู้ใหม่ ดังนั้นจึงเกิดสะพานเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอก สังคม วัฒนธรรม และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนเอง ซึ่งคนเราไม่ได้รับความคิดมาจากคนอื่น แต่เราสร้างความคิดขึ้นมาเอง

หากจะสรุปตามทฤษฎีนี้ สรุปได้ว่า ความฉลาดของคนเรา ไม่ใช่คุณสมบัติของคนคนนั้น และไม่ได้เกิดจาก คนคนนั้น คนเดียว แต่เป็นปฏิกิริยาระหว่างคนคนนั้นกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งรวมถึงบุคคลรอบข้างด้วย
ทฤษฎีขั้นตอนการ มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา วอลลิส (Wallis) ได้แบ่ง ขั้นตอนการมี ความคิดสร้างสรรค์ ในการแก้ปัญหา ออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

  • ระยะแรก เป็นช่วงเตรียมพร้อม (Preparation) เป็นช่วงค้นหาว่าปัญหาคืออะไร ขั้นตอนนี้ใช้สมองข้างซ้ายทำงาน
  • ขั้นตอนต่อไป เป็นช่วงคิดวิเคราะห์ปัญหา (Incubation) เป็นช่วงเวลาที่เราตั้งหลักคิดปัญหาที่พบในขั้นแรกว่าเป็นปัญหาจริงหรือไม่ และจะแก้ปัญหาอย่างไร ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลานานนับนาที หรือเป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ บางครั้งอาจเป็นปี ซึ่งขั้นตอนนี้ ใช้สมองข้างขวาทำงาน
  • ขั้นตอนต่อไป เป็นช่วงเกิดความคิดที่จะแก้ปัญหา (Illumination) ความคิดในการแก้ปัญหา จะเกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงเวลาสั้น ๆ อาจแค่ไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง ขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับสมองข้างขวา
  • ขั้นตอนสุดท้าย คือ ปฏิบัติการแก้ปัญหา (Varification) เป็นช่วงที่จะเกิดผลปฏิบัติ หรือกิจกรรมแก้ปัญหา ที่ต่อเนื่องมาจากการคิดวิเคราะห์ปัญหาแล้ว และถอยหลังไปตั้งหลักคำนึงถึงปัญหาและวิธีแก้ไข ขั้นตอนนี้จะกลับไปใช้สมองข้างซ้าย

นอกจากนี้ โรเจอร์ วอน โอช์ (Roger von Oech) ได้เสนอทฤษฎีการเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา โดยแบ่งขั้นตอนออกเป็น 7 ขั้นตอนด้วยกัน

  • เริ่มจากขั้นแรกมีความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา (Motivation)
  • ขั้นตอนที่ 2 ค้นหาข้อมูลโดยมองออกไปในวงกว้างและหาข้อมูลต่าง ๆ เข้ามา
  • ขั้นตอนที่ 3 เป็นการเก็บข้อมูลมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (Manipulation) อาจมีการแก้ไขหรือกำจัดข้อสมมติฐานเก่า ๆ แล้วสร้างความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมา
  • ขั้นตอนที่ 4 เป็นช่วงของการวิเคราะห์ปัญหา (Incubation) เป็นช่วงที่เดินออกมาจากปัญหา มาตั้งหลักคิดวิเคราะห์ปัญหาและมองลึกไปหลาย ๆ ด้าน การที่ไม่แก้ปัญหาในทันทีจะเป็นผลดี เพราะจะได้พัฒนาความคิดต่าง ๆ สรรหาความคิดที่ดีกว่า
  • ขั้นตอนที่ 5 เป็นระยะที่มีความคิดต่าง ๆ ผุดขึ้นมามากมาย (Illumination) แล้วพยายามเก็บข้อมูลหรือ ความคิดเหล่านี้เอาไว้ เพราะฉะนั้นเราไม่ควรใช้เวลาทำงานตลอดทั้งวัน ควรจะมีเวลาที่ใช้ ความคิดสร้างสรรค์ด้วย หลังจากนั้นเป็น ช่วงที่มีการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาแบบสร้างสรรค์
  • ขั้นตอนที่ 6 เป็นการต้องตัดสินใจว่าจะเลือกแก้ปัญหาอย่างไร (Evaluation) แม้ว่าความคิดที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม
  • ขั้นตอนสุดท้าย คือ การลงมือปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจไว้ (Action)

ยังมีทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ต่าง ๆ อีก อย่างเช่น ทฤษฎีของ คาร์ล จุง (Carl Jung) ที่ว่า ต้องมีวิธีการสอน ที่ทำให้คน แต่ละคนไม่ว่า จะมีความสามารถมากน้อยเพียงใดมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้เต็มที่ เต็มความสามารถ เต็มศักยภาพของตน

การเรียนรู้โดยผ่านการเล่น

การเล่นเป็นพื้นฐานของความฉลาดชนิดสร้างสรรค์ แต่การเล่นจะต้องมีการพัฒนา เด็กที่มีคนเล่นด้วยจะรู้จักเล่นเป็น แต่เด็กที่ไม่เคยมี ใครเล่นด้วย ก็จะเล่นไม่เป็นและอาจจะเป็นเด็กที่มีปัญหาในอนาคตได้

นิทานสร้างสรรค์จินตนาการ

พื้นฐานของการเล่นรูปแบบหนึ่ง คือ การเล่านิทาน เด็กชอบให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังก่อนจะพูดได้ด้วยซ้ำ ความเข้าใจไม่ใช่สิ่งที่สำคัญ แต่เสียงที่เล่าทำให้เด็กสนใจ ตื่นเต้น สะกดเด็กให้นั่งนิ่ง จ้องมองตาโต อ้าปากหวอ และสร้างภาพพจน์ขึ้นในสมองเด็ก เด็กผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่าเธอสนใจฟังวิทยุมากกว่าโทรทัศน์ เพราะ ภาพพจน์ที่เกิดขึ้นจากการฟังวิทยุสวยงามกว่าในโทรทัศน์มาก

คำพังเพยของอัลเบิร์ต ไอสไตน์ มีอยู่ว่า "ถ้าต้องการให้เด็กฉลาดก็ต้องเล่านิทานให้เด็กฟัง แต่ถ้าต้องการให้ฉลาดมากยิ่งขึ้น ก็ต้องเล่านิทานมากมากมากหลาย ๆ เรื่อง"

ในนิทานเรื่องลูกหมี 3 ตัว พ่อหมีจะแต่งตัว ใส่เสื้อ ถือไม้เท้า ซึ่งจะเป็นสัญลักษณ์ของพ่อในจิตใจเด็ก สัญลักษณ์นี้ จะเป็น พื้นฐานของความคิด ความเข้าใจ ในสิ่งต่าง ๆ ต่อไป การทำงาน สร้างสัญลักษณ์นี้ จะต้องใช้ สมองส่วน ลิมบิกเบรน หรือ สมองส่วน ที่เกี่ยวกับ อารมณ์ทำงาน ร่วมกับ สมองส่วน นีโอคอร์เท็กซ์ ซึ่งสมองสองส่วนนี้ จะทำหน้าที่สำคัญ ในเรื่องของ ความฝัน และ การสร้างจินตนาการ ทำให้เกิดการสร้าง ภาพพจน์ของสัญลักษณ์ขึ้น

เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป จะเข้าใจนิทาน ที่ฟังได้ดีขึ้นเร็วขึ้น เพราะเด็กมีความสามารถ ใน การสร้างภาพพจน์ ได้อย่างรวดเร็ว และใช้ พลังงาน น้อยกว่าเดิม เด็กควรได้ฟังนิทานมาก ๆ เพราะทุกครั้งที่ได้ฟังนิทานใหม่ ๆ จะเกิดการสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาทใหม่ ๆ และเด็กควรได้ฟัง นิทานเรื่องเดิม ซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ใช่เพื่อ จะเรียนรู้ หรือจดจำ เพราะเด็กฟังครั้งเดียว ก็จำได้แล้ว แต่การเล่านิทานซ้ำ ๆ จะทำให้ เครือข่ายเส้นใยประสาท ที่จะสร้าง ภาพพจน์ สร้างไขมันสมองหุ้มรอบเส้นใยประสาท

เพราะฉะนั้น การเล่านิทานหลาย ๆ เรื่องและเล่าซ้ำ ๆ จะเป็น การสร้าง เครือข่ายเส้นใยประสาท ให้เพิ่มมากขึ้นอยู่คงที่ และ ทำงาน มากขึ้น ซึ่งจะส่ง ผลดีต่อการเรียนรู้ ในอนาคต โดยเฉพาะ ในเรื่องของ การสร้างความคิด จินตนาการ ความสนใจ และความตั้งใจ ในการเรียนรู้

โรงเรียนบางแห่งในสหรัฐอเมริกา ใช้วิธีเล่านิทานให้เด็กฟัง บางครั้งเล่านิทาน เรื่องเดิมซ้ำอยู่ หลายวัน ก่อนจะเล่าเรื่องใหม่ หลักของการเล่า นิทานซ้ำ ก็เพื่อสร้างให้เกิด เส้นใยประสาท ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้น เมื่อเครือข่ายเส้นใยประสาทเหล่านี้คงที่แล้ว จะเกิดกลไกตรงกันข้าม หมายความว่าเด็กสามารถนำข้อมูลจาก ภาพพจน์หรือจินตนาการ ที่วาดไว้มาใช้ตอบสนองสิ่งกระตุ้นภายนอก อย่างถูกต้อง ตรงนี้เป็นขั้นตอนแรกของความคิดสร้างสรรค์

ตัวอย่างเช่น เราเล่านิทานเรื่องลูกหมี 3 ตัวให้เด็กฟังทุกวัน แล้วอยู่มาวันหนึ่งขณะที่เรานั่งทานข้าวอยู่ที่โต๊ะ เด็กก็บอกว่า "ร้อนจังเลย เราจะต้องไปเดินเล่นในป่าแล้วละ" ผู้ใหญ่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นของเด็กด้วย คือลุกจากโต๊ะทำเป็นเดินในป่า เมื่อถึงตอน หมาป่าเกเร จะเข้ามากินลูกหมี เด็กอาจร้องว่า "เสียงเคาะประตู โอ..มันเป็นหมาป่าตัวใหญ่ เอ้าวิ่งไปหาที่ซ่อนกันเร็ว" ผู้ใหญ่ก็ต้องลุกขึ้น วิ่งหนีไปซ่อน กับเด็กด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่ง เมื่อเด็ก 5 ขวบคนหนึ่ง เห็นรถวิ่งมา ตามถนน อย่างรวดเร็ว ก็เก็บข้อมูลตรงนี้ไป สร้างจินตนาการ ไปหยิบหลอดด้าย ของแม่ที่ลิ้นชัก มาสมมุติเป็น รถยนต์ แล้วเล่นไถไปไถมา เป็นชั่วโมง ส่งเสียงบรื้น ๆ เหมือนรถยนต์ บังคับหลอด ด้ายให้เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา
สังเกตได้ว่า นิทานสำหรับเด็กเล็ก ๆ มักประกอบด้วยสัตว์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่านิทานของชาติใด จะต้องมีนิทานที่จินตนาการ ให้สัตว์เป็น เหมือน คนหรือเป็น สัญลักษณ์แทนคน เช่น นิทานที่ให้สัตว์เป็น พระราชาหรือเป็นเจ้าชายสุดหล่อ เป็นต้น สัญลักษณ์เหล่านี้มี ความหมายด้วย อย่างเช่น หมูทำให้นึกถึงคนขี้อาย ขี้ขลาด สิงโตแทนคนที่มีอำนาจ นกฮูกเป็นสัญลักษณ์ของความฉลาด เป็นต้น

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ความฝันพบว่า ส่วนใหญ่แล้ว ความฝันของเด็ก จะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์แทนคนเกือบทั้งสิ้น
เรื่องนี้เราจะเห็นได้จากตัวการ์ตูนของวอลซ์ดิสนีย์ ซึ่งได้รับการออกแบบให้เป็นสัตว์เสียส่วนใหญ่ และมักเป็นสัตว์ที่มีหัวโตหน้ายิ้ม การออกแบบให้เป็นสัตว์หัวโตเปรียบเสมือน เด็กซึ่งมีสัดส่วนระหว่างศีรษะกับตัวต่างกันมากเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่
สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์แทนคนใน จินตนาการ ของเด็กจะหายไปและถูกแทนที่ด้วย เรื่องราวของคนจริง ๆ เมื่อเด็กอายุประมาณ 7 ปี ตอนนี้ธรรมชาติ ทำให้พัฒนาการของ สมองคนเราสมบูรณ์

การเล่นสมมุติ

เราจะสังเกตเห็นว่าใน ขณะที่เด็กเล่นสมมุติเด็ก จะพูดคุยตลอดเวลา ดังที่เคยกล่าวมาแล้วว่า การเรียนรู้ ภาษาของเด็ก ในช่วงแรกเริ่ม จะเรียนรู้อย่างเป็น รูปธรรม คือ เมื่อเด็กได้ยินคำพูด เด็กก็จะสร้างภาพพจน์หรือ จินตนาการ ขึ้นมา ในการเล่น ก็เช่นกันเด็ก จะสร้างจินตนาการ ขึ้นมาจากคำพูดของตัวเอง โดยใช้ โลกภายใน (Inner World) คือ สมองของเด็ก การเล่นแบบสมมุตินี้ ส่วนที่เป็นจริง ก็ยังเป็นจริงอยู่ เด็กรู้ดีว่า หลอดด้ายไม่ใช่รถยนต์จริง ๆ เหมือนกับที่กวีเปรียบเทียบทะเลสาปดั่ง พลอยสีน้ำเงินหรือไพลิน

การเล่นสมมุติของเด็ก เมื่ออายุ 7 ปีขึ้นไป เด็กจะเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง มากขึ้น สัตว์ในสายตา ของเด็กวัยนี้ จะเปลี่ยนจาก สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ ใน จินตนาการ กลายเป็นสัตว์จริง ๆ เด็กต้องการรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง สัตว์กับมนุษย์ มากขึ้น จะเริ่มมองหา แบบอย่าง หรือ ตัวอย่างเพื่อ เลียนแบบ เช่น เด็กอายุ 9 ปี จะไปหา หมวกคาวบอย มาใส่ แล้วเอาไม้กลม ๆ มาทำเป็นปืน สมมุติว่า ตัวเองเป็น คาวบอย เหมือนที่เห็นใน ภาพยนตร์
การเล่นแบบนี้ จะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น จนกระทั่งอายุ 11-12 ปี จึงจะเล่นอย่างมี กฎเกณฑ์มากขึ้น มีการเถียงกันว่า "เธอแพ้ ฉันไม่แพ้" หรือ "ไม่ยุติธรรม" ซึ่งการเล่นอย่างมี กฎเกณฑ์นี้ จะค่อย ๆ เปลี่ยนเด็กให้มี ความคิดใกล้เคียงผู้ใหญ่ โดยเปลี่ยน จากเด็ก มาเป็นวัยรุ่น แล้วมาเป็นผู้ใหญ่ ที่มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม รับผิดชอบ ในการที่จะเป็น ผู้ปกครองผู้อื่น ซึ่งเป็น ความรับผิดชอบ ที่ต้องการ การควบคุมตัวเองอ ย่างมาก
สำหรับเด็กโต นิทานอภินิหาร เรื่องเกี่ยวกับวีรบุรุษหรือประวัติบุคคลสำคัญต่าง ๆ หรือบุคคลที่มีความเสียสละ มีคุณงามความดี มีความกล้าหาญ มีความอดทนหมั่นเพียร เป็นสิ่งจำเป็นมากต่อพัฒนาการของเด็กวัยนี้

การเล่นในรูปแบบอื่นที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้

เด็กในช่วงอายุประมาณ 7-11 ปี เป็นช่วงที่เหมาะสมใน การสร้างเสริมทักษะต่าง ๆ รวมถึงการร้องเพลงด้วย การเรียนการสอน โดยใช้เสียงเพลง เสียงดนตรี การเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ของ การเล่นของเด็ก ซึ่งมีประโยชน์มาก เนื่องจาก เป็นการเปิดสมอง หรือ สร้างสรรค์สมอง ให้มีโอกาสได้เรียนรู้มากขึ้น

การเล่น การร้องรำทำเพลง ที่แทรกเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวิตประจำวัน จะทำให้เด็กมี จินตนาการอย่างอิสระ มีการใช้ และเกิด เครือข่ายเส้นใยประสาท ใหม่ ๆ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปโดยสมบูรณ์
เช่นเดียวกัน มาร์กาเร็ต มี้ด (Margaret Mead) บอกว่า การเรียนรู้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่มีเรื่องของศิลปะมาช่วย ศิลปะไม่ใช่สิ่งที่ต้องสอนแต่นำมาใช้เป็นวิธีการสอนเรื่องต่าง ๆ

พัฒนาการของกระบวนการคิดในเด็ก

เด็กอายุ 11 ปีจะเริ่มเรียนรู้ที่จะเลือกทำสิ่งต่าง ๆ เรียนรู้เรื่อง กฎระเบียบวินัย ซึ่งเป็น การเรียนรู้ ในระดับสูงยิ่งขึ้น และ ธรรมชาติ ได้เตรียมเด็ก ให้มาถึง ขั้นตอนนี้ โดยผ่าน การเล่นนั่นเอง
ชอง เปียเจต์ ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงความคิด จาก รูปธรรม มาเป็น นามธรรม เพื่อจะให้เห็นว่าในเด็กเล็ก ๆ ก็มี การสร้างจินตนาการภายในตัวเอง (Inner Image) จากสิ่งกระตุ้นหรือวัตถุภายนอก อย่างเช่น

เด็กสมมุติว่า กล่องไม้ขีดเป็นเรือ หรือเป็น วัตถุต่าง ๆ เป็นต้น แต่พออายุ 7 ปีเด็กเริ่มจะเปลี่ยน ความคิดแบบรูปธรรมมาเป็น นามธรรม สามารถเอาวัตถ ุหรือ สิ่งแวดล้อม ที่เห็นเข้ามาเปลี่ยนเป็น ความคิดในตัวเองได้ คือ สร้างความคิดขึ้นมาได้ ซึ่ง เปียเจต์ เรียกว่า กระบวนการคิดแบบเป็นรูปธรรม (Concrete Operational Thinking)

จากทฤษฎีของเปียเจต์ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่า ถ้าเอาแก้วน้ำ 2 ใบ ใบหนึ่งเป็นแก้วทรงผอมสูง อีกใบเป็นแก้วทรงอ้วนเตี้ย เมื่อรินน้ำปริมาณเท่า ๆ กันลงในแก้วทั้งสองใบ แน่นอนที่สุดแก้วใบผอมสูงจะมีระดับน้ำสูงกว่าแก้วทรงอ้วนเตี้ย ถ้าถามเด็กเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ในวัยที่มีความคิด เป็นรูปธรรม ว่าน้ำในแก้วไหนมากกว่ากัน เด็กจะบอกว่า แก้วใบสูงมากกว่า และถึงแม้ จะเทน้ำออกมา ให้เด็กดูว่ามีปริมาณ เท่ากัน เด็กก็ยังบอกว่า ยังน้อยกว่า หรือ มากกว่ากันนิดหน่อยอยู่ดี คือเด็กยังไม่ยอมรับ ความคิดที่ว่า ปริมาณน้ำเท่ากัน แต่เมื่อเด็กอายุ 6-7 ปีขึ้นไป จะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งทำให้เด็ก สามารถเข้าใจได้ว่า ปริมาณน้ำในแก้วสองใบนี้เท่ากัน

 

ช่วงวัยของโอกาสที่จะเรียนรู้ (Window Of Opportunity)

สมองของคนเรามีช่วงวัยที่จะเรียนรู้แต่ละเรื่องแตกต่างกันไป อย่างเช่นในเรื่องของการเรียนรู้ภาษา ช่วงวัยที่คนเราสามารถเรียนรู้แต่ละส่วนของภาษาจะแตกต่างกัน เช่น การสร้างประโยค เด็กจะมีความสามารถรับรู้เรียนรู้ได้จนถึง 5-6 ขวบ หลังจากนั้นหากไม่ได้รับการสอนเลยจะเรียนรู้การสร้างประโยคได้ยากขึ้น แต่ถ้าเป็นการสร้างคำใหม่ ๆ จะไม่มีขอบเขตจำกัดวัยของการเรียนรู้ ดังที่เราจะเห็นว่าผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้คำใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา

ความสามารถในการเรียนภาษาที่สองนอกเหนือจากภาษาแม่ จะเจริญสูงสุดในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 ขวบ หลังจากนั้นความสามารถจะลดลง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในผู้ใหญ่จะเรียนภาษาอื่นได้ยากกว่าตอนเป็นเด็ก แต่ก็ยังสามารถเรียนได้อยู่ ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างสูง

จากข้อมูลนี้ทำให้เราพบว่า เราสามารถจะสอนเด็กให้รู้ภาษาที่สองได้ตั้งแต่เด็กอยู่ในวัยประถมศึกษาหรือก่อนหน้านั้น หรือการให้การศึกษาพิเศษกับเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ก็สามารถจะเริ่มได้ตั้งแต่เด็กอายุ 3-4 ขวบ แทนที่จะรอไปถึง 9-10 ปี
นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมองจะเจริญเติบโตสูงสุดเมื่อเด็กอายุประมาณ 10-12 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลระหว่างการสร้างจุดเชื่อมต่อใหม่และการเสื่อมสลายของ จุดเชื่อมต่อเหล่านี้ ซึ่งพบว่าหลังวัยนี้ไปแล้วสมองจะเริ่มทำลายหรือกำจัดจุดเชื่อมต่อที่ไม่มั่นคง และเก็บจุดเชื่อมต่อหรือเส้นใยประสาทที่มั่นคง ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ที่ได้รับเข้าไปเอาไว้

เด็กอายุ 7-11 ปี เป็นช่วงที่สามารถรับรู้ เรียนรู้ในเรื่องของแบบอย่างความคิดโดยที่ไม่มีขอบเขตจำกัด โดยเฉพาะในวัยอายุ 11 ปีเป็นช่วงที่จะยอมรับ ความคิดแบบอย่างต่าง ๆ ได้ดีที่สุด ไม่ว่าครูหรือผู้ใหญ่จะแนะนำหรือสอน ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สมองเรียนรู้ได้มาก เพราะเครือข่ายเส้นใยประสาทยังใหม่อยู่ แต่หลังอายุ 14 ปี เป็นต้นไป สมอง จะมีขอบเขตจำกัด จะเรียนรู้ยอมรับ ความคิดหรือแบบอย่างได้น้อยลง

ดร.ราคิก (Dr.Rakic) จากมหาวิทยาลัยเยล กล่าวไว้ว่า ในวัยรุ่นช่วงปลาย คืออายุประมาณ 18 ปี สมองจะหยุดยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ความสามารถพิเศษ หรือแนวโน้มที่จะมี ความสามารถพิเศษ ที่ได้รับ การหล่อหลอม มาตั้งแต่เล็ก ๆ จะเริ่มเบ่งบาน เห็นผล ในช่วงนี้ คือ ประสบการณ์ที่จะกระตุ้น ให้เกิด กระแสไฟฟ้าใน เครือข่ายเส้นใยประสาท เริ่มทำงาน เปรียบเสมือน ช่างแกะสลัก ที่กำลังสลักเสลารูป แกะสลัก ให้ออกมา เป็นรูปเป็นร่าง ที่สวยงาม สมองในขณะนี้ก็เช่นกัน กำลังพยายาม ตกแต่งโครงสร้าง ให้ออกมาเป็น แบบแผน ถ้า เครือข่ายเส้นใยประสาท ส่วนใดไม่ได้ใช้งาน ก็จะถูกทำลายไป ขณะที่ เครือข่ายเส้นใยประสาท ที่ใช้งานมาก ๆ จะอยู่คงทน มั่นคง
อย่างไรก็ตาม ในผู้ใหญ่เรา ก็ยังสามารถ ที่จะ อ่านหรือ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือมีความจำใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เกิดจากการใช้ เครือข่ายเส้นใยประสาท ที่มีอยู่เดิม หรือสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่

 

สรุป

 

ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลากหลายทฤษฎี แต่ทฤษฎีที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ที่ว่า ความรู้ไม่ใช่การให้ หรือ เทข้อมูลเข้าไปในสมองเด็ก แต่เด็กจะสร้างความรู้ ขึ้นในสมอง ของเขาเอง จาก สิ่งแวดล้อม ภายนอก ดังนั้นครูจึงไม่ใช่ผู้ใส่ความรู้ให้เด็ก แต่จะต้องคอยเป็นผู้ช่วยให้เด็กสร้างความรู้ขึ้นจากตัวของเด็กเอง
ดร.เพียร์ซ อธิบายถึง วงจรความสามารถในการเรียนรู้ว่า มี 3 ขั้นตอน เริ่มด้วยขั้นตอนพื้นฐานเหมือนกับ การหล่อปูนที่เริ่มจากผิวขรุขระ (Roughing In) จากนั้น จะเป็น ขั้นตอนการ สร้างความสัมพันธ์ ระหว่าง ข้อมูลเดิม และข้อมูลใหม่ ที่เติมเข้าไป (Relating And Filling In) และขั้นตอนสุดท้าย คือ การฝึกฝนและเรียนรู้ถึงความ แตกต่าง (Practice) ถ้าหากเด็กกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ยังไม่ครบวงจร เขาจะไม่สามารถรับข้อมูลใหม่เข้าไปได้
การเล่น การเล่านิทาน ก็เป็นการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดจินตนาการ เอาข้อมูลภายนอก เข้าไปสร้าง จินตนาการ ในโลกภายใน แล้วแสดงกลับออกมาสู่โลกภายนอกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็น พื้นฐานของ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต่อไป
ช่วงระยะเวลา ของ ความสามารถใน การเรียนรู้ (Window Of Opportunity) แต่ละเรื่องจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เช่น ภาษารูปธรรมเด็ก สามารถเรียนรู้ใน 6-7 ปีแรกของชีวิต หลังจากนั้นจะเริ่มเรียนรู้ภาษาแบบนามธรรม ในขณะที่ภาษาที่สองเด็กจะเรียนได้ดีในช่วง 6 ปีแรก เป็นต้น

กระบวนการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitive Learning Theories)

  • ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
  • ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ (Information Processing Model of Learning)

ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism)

ศิลปศาสตร์แห่งการเป็นกระบวนกร
รูปแบบการคิด (Cognitive Style) และ รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style)
องค์กรเรียนรู้ Learning Organization
การพัฒนาตน Self Development พัฒนาตนเอง
การสร้างโปรแกรมพัฒนาตนเอง
เทคนิควิธีการพัฒนาตน
การประยุกต์ใช้เทคนิคในการพัฒนาตนเฉพาะเรื่อง
เทคนิคทางจิตวิทยาที่ใช้ในการพัฒนาตน

องค์ประกอบด้านสติปัญญา IQ (Intelligent Quotient)
องค์ประกอบด้านความฉลาดทางจริยธรรม และศีลธรรม (Moral Quotient : MQ)
องค์ประกอบด้านความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค AQ (Adversity Quotient)