พลังแห่งการหยั่งรู้ Intuitive Power

เราต้องการอะไรมากที่สุดในชีวิต คำตอบก็คือ “ต้องการความสุขและความสำเร็จในชีวิต” เชาวน์อารมณ์ (EQ) ซึ่งจะตรงกับคำว่า “ปัญญา” และ “ศรัทธา” ในทางพุทธศาสนาจึงหมายถึง ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของบุคคล ที่ตระหนักถึงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์และแรงกระตุ้นภายใน ตลอดจนสามารถ รอคอย การตอบสนอง ความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ สามารถให้กำลังใจตนเอง ในการที่จะเผชิญ ข้อขัดแย้งต่างๆ ได้อย่างไม่คับข้องใจ รู้จักขจัดความเครียด ที่จะขัดขวางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อันมีค่าของตนเองได้ สามารถทำงานกับผู้อื่น ทั้งในฐานะผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างมีความสุข จนประสบความสำเร็จในการเรียน ความสำเร็จในอาชีพ ตลอดจนประสบความสำเร็จในชีวิต

องค์ประกอบของเชาวน์อารมณ์ (EQ)

สติ (รู้ว่าอะไรเป็นอะไร)
ปัญญา (การค้นหาทางสำเร็จและเหตุปัจจัย)
ศรัทธา (ความเชื่อในเรื่องกรรมดี)
สมาธิ (ไม่วอกแวกไปกับความโกรธ ความคับข้องใจ ความรู้สึกจากแรงกดดัน)
การปล่อยวาง (การขจัดความเครียด)
อริยสัจสี่ (การหาเหตุเพื่อแก้ปัญหาและดับปัญหาหรือดับทุกข์)
สังคหวัตถุ (การทำงานร่วมกับผู้อื่น)
อิทธิบาทสี่ (การสร้างความสำเร็จในงานที่ตัวเอง)

1. การรู้อารมณ์คน (Knowing One Emotion) หมายถึง ตระหนักรู้ตนเอง สามารถรับรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของตนตามความเป็นจริง และสามารถควบคุมความรู้สึกได้
รู้อารมณ์คน : การพิจารณาตนเอง และตัณหา (ความอยาก) การใช้ปัญญาไตร่ตรองทุกสิ่งที่เข้ามากระทบ

2. การควบคุมอารมณ์ (Managing Emotion) หมายถึง ความสามารถในการจัดการ กับอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม ตามสถานการณ์ เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด สามารถคลายเครียด สลัดความวิตกจริตรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ฉุนเฉียวง่าย ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวหายไปโดยเร็ว
การควบคุมอารมณ์ : การวางอุเบกขา อนุสสติ 10 การละโลภ โกรธ หลง (กิเลส)

3. การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Recognizing Emotion in Other หรือ Empathy) หมายถึง การรับรู้อารมณ์และความต้องการ ของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
การฝึกสมาธิ พรหมวิหาร 4 สันโดษ

4. การให้กำลังใจตนเองได้ (Motivation Oneself) หมายถึง สามารถจูงใจตนเอง ควบคุมความต้องการจากแรงกระตุ้น ได้อย่างเหมาะสม สามารถรอคอยการสนองตอบความต้องการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดีกว่า มองโลกในแง่ดี สามารถจูงใจและให้กำลังใจตนเองได้
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา : ศีล เมตตา ทาน

5. การมีมนุษย์สัมพันธ์ดี (Handling Relationship) หมายถึง สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
การมีมนุษย์สัมพันธ์ดี : สังคหวัตถุ 4 สัปปุริสธรรม 7 ทิศ 6

พลังแห่งการหยั่งรู้

พลังแห่งการหยั่งรู้ (Intuitive Power) เป็นแนวคิดใหม่ ที่อิง "จิตวิญญาณ คือ ต้นตอแห่งการเปลี่ยนแปลง" ในวงการบริหาร การพัฒนาผู้นำ และการนำยุคใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจอย่างฉับพลัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วของ “ตัวแปร” จำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ความนิยม เป็นต้น ซึ่งเป็นเนื้อแก่นของสังคมข้อมูลข่าวสาร ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงในระดับ “คุณภาพ” ใหม่เช่นนี้ จะใช้การตัดสินใจ แบบเดิมๆ ที่อาศัยตรรกะและการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ที่เป็นสูตรตายตัว ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันการณ์ได้ แนวคิดหรือเครื่องมือใหม่ที่จะต่อสู้ ก็คือ “พลังแห่งการหยั่งรู้” ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงกับเชาวน์อารมณ์ (EQ) และการปฏิบัติสมาธิภาวนา เชาวน์ปัญญา (IQ) คือ กุญแจไขไปสู่ความสำเร็จ โดยเปิดทางให้กับสมองซีกซ้ายเต็มที่ เนื่องจากปัญหา รอบกายนั้น ส่วนใหญ่จะวนเวียน กับเรื่องกายวัตถุ ต้องชั่ง ตวง วัด และคำนวณเป็นสรณะ ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ “จับต้องไม่ได้” นั้น ถูกละเลยไป การใช้เชาวน์อารมณ์ จึงกลายเป็นเรื่องส่วนเกิน ไม่มีความจำเป็น และเป็นเรื่องหยุมหยิม ของสตรีเพศ กระบวนทัศน์เก่าเรื่องเชาวน์ปัญญา จึงพบทางตัน เชาวน์อารมณ์ (EQ) ได้รับการยอมรับมากขึ้นทุกที ในการจัดการปัญหาในแทบทุกด้านและวงการ เปิดสมองซีกขวาให้ทำงาน หัวใจของเชาวน์อารมณ์ ก็คือ “พลังแห่งการหยั่งรู้” นั่นเอง ที่แสดงออกมาในรูปของความรู้สึกลึกซึ้งจากภายในกาย มีการประเมินกันว่า ความสำเร็จในชีวิต ของคนยุคใหม่ ต้องอาศัยเชาวน์อารมณ์ถึง 80 % ซึ่งจะเห็นว่าองค์กรธุรกิจแขนงต่างๆ ที่ตระหนักถึงความจริงแท้ในเรื่องนี้ ต่างปรับกระบวนทัศน์ของตน จนเกิดกระแสกระบวนการ “รีเอนจิเนียริ่ง” อย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ การเปรียบเทียบเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์ ดังแสดงในตาราง

เชาวน์ปัญญา (EQ)กระบวนทัศน์เก่า

วิธีการ

1. มุ่งไปที่กายวัตถุ
2. มุ่งไปที่นอกกาย
3. มุ่งด้านหยาบ
4. มุ่งความสำเร็จที่ผู้ชนะ
ผล
* หักหาญเอาชนะฝ่ายตรงข้ามหรือคู่แข่ง แย่งกันไปตาย เช่น กรณีวิกฤตเศรษฐกิจ การทำลายล้าง สงครามแย่งชิง
เชาวน์อารมณ์ (EQ)กระบวนทัศน์ใหม่
วิธีการ
1. มุ่งไปที่จิตวิญญาณ
2. มุ่งสู่ในกาย
3. มุ่งด้านละเอียด
4. มุ่งความสำเร็จจากการร่วมมือกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ผล
* ความสร้างสรรค์ การถนอมรัก การเอาใจเขามาใส่ใจเรา สังคมสงบ เศรษฐกิจพอเพียง

พลังแห่งการหยั่งรู้ เกี่ยวโยงกับการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพื่อทำให้เจ้าตัว มีจิตใจที่สงบนิ่ง เยือกเย็น อารมณ์ใสเสมอ ทำให้ข้อมูลของ ตัวแปรรอบด้าน จะถูกดูดเข้าหาตัวเองสู่ “องค์รู้” ภายในได้อย่างสมบูรณ์ สะอาด ไม่เอียงเอน ปราศจากสิ่งขวางกั้น พระพุทธเจ้า ได้ใช้ฌานจาก สมาธิภาวนา จนเกิด พลังแห่งการหยั่งรู้ แล้วตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า จิตใจที่ไร้ความสงบ อารมณ์ที่ขุ่นมัว เครียดขึ้ง เป็นตัวอุปสรรคขัดขวางมิให้ข้อมูลของตัวแปร นานาชนิดเข้าถึง องค์รู้ภายในนั่นเอง ทำให้พลังแห่งการหยั่งรู้ไม่เกิดขึ้น

แนวทางปฏิบัติในการใช้พลังแห่งการหยั่งรู้ ในความเป็นจริงแล้ว เชาวน์ปัญญา ไม่ใช่ของเสียหาย แต่ควรใช้เชาวน์อารมณ์นำ เพื่อวางทิศทาง แล้วใช้เชาวน์ปัญญาเดินตามกรอบของเชาวน์อารมณ์ ผู้บริหารควรหมั่นฝึกสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตสงบ ปล่อยวาง ตัดอารมณ์ที่ขุ่นมัวออกไป ขั้นตอนนี้เป็นแค่การฝึกจิตในขณะหลับตา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ช่วงลืมตาในขณะปฏิบัติงาน ก็ต้องฝึกสติ และสมาธิ ให้เหมือนกับตอนหลับตา มิเช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร เฉกเช่นแผ่เมตตาตอนหลับตาภาวนาทุกวัน แต่ชีวิตประจำวันไม่ค่อยช่วยใคร เห็นแก่ตัวเป็นที่สุด แสดงว่าที่เตรียมตัวมาไร้ผลในเชิงปฏิบัติ การทำใจให้ว่าง สว่าง สะอาด สงบ ในขณะปฏิบัติงาน จะเป็นการเปิดช่องทางให้สมองซีกขวารับข่าวสารข้อมูลปัจจัยเหตุต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ และไม่ลำเอียงข้อมูลที่เข้ากับแนวคิดตน (กาลามสูตร) ขณะปฏิบัติงานก็ต้องพิจารณาปัญหา จากตัวแปรข้อมูลต่างๆ พยายามเต็มที่ที่จะเข้าถึงเหตุปัจจัยที่ส่งผลมาถึง ไม่เชื่อง่ายนัก ใช้กาลามสูตรไตร่ตรอง ใช้อริยสัจสี่แก้ปัญหา ใช้พลังการหยั่งรู้ในการตัดสิน วางเป้าหมายที่จะทำงานให้สำเร็จโดยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เอาใจเขามาใส่ใจเรา ผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หาทางเลือกใหม่ ที่ไม่เบียดเบียนใคร แล้วพางานสำเร็จ สร้างสรรค์ให้ทีมงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง สงบ และมีความสุข จากการทำงานอยู่ตลอดเวลา การหาความรู้และข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอตามหลักพหูสูตร จัดให้พระสงฆ์มาเทศน์หรือบรรยายธรรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และชีวิตครอบครัวประจำวัน ส่งเสริมให้มีการทำบุญให้ทาน แต่อย่าเน้นเรื่องเงินมากนัก เพราะจะมุ่งไปสู่วัตถุนิยม ให้ทำบุญด้วยสิ่งอื่นที่ใช้เงินน้อย เช่น ธรรมทาน อภัยทาน การถือศีล การเจริญภาวนา การทำแนวคิดให้ถูกต้อง เป็นต้น การใช้ปัญญาของตนเองศึกษางานหรืออาชีพตัวเอง ให้รู้จัก – รู้จริง – รู้แจ้ง หากรู้แจ้งขึ้นมาแล้วจะเกิดญาณหยั่งรู้ขึ้นมา ทำให้สามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานได้ศักยภาพของตนเองที่ควรปลูกฝังและพัฒนาอยู่เสมอ มี 4 ประการ คือ
1. พลังจิต
2. พลังสมาธิ
3. พลังปัญญา หรือพลังความคิด
4. พลังความดี/ความรัก หรือทัศนคติทางบวก

ธรรมชาติของบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ วิธีการสั่งจิตใต้สำนึก ขั้นพื้นฐาน วิธีการสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่นในตนเอง อำนาจแห่งพลังจิตทางบวก การปลูกฝังอุปนิสัยที่ สำคัญลงสู่จิตใต้สำนึก วิธีการพัฒนาพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creative) การพัฒนาทักษะการคิด วิจารณญาณ การบริหารเวลา และการฝึกการกดจุดเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ
1. ภาคทฤษฎี ประกอบด้วย
1.1 ธรรมชาติแห่งพลังจิตใต้สำนึก 12 ประการ
1.2 ศูนย์รวมแห่งพลังงานในร่างกาย
1.3 ราศึทางโหราศาสตร์กับตำแหน่งจักระในร่างกาย
1.4 เคล็ดลับโบราณเกี่ยวกับพลังจิต
1.5 การควบคุมดูแลธาตุต่างๆ ในร่างกาย
1.6 การบำบัด และดูแลสุขภาพโดยอาศัยจักระ และระบบธาตุในร่างกาย
1.7 วิธีการทดสอบพลังจิตรูปแบบต่างๆ
1.8 ทฤษฎีความจำ
1.9 ทฤษฎีเกี่ยวกับการสั่งจิตใต้สำนึก
1.10 ความหมายของการสะกดจิต ประโยชน์ และโทษที่เกิดจากการสะกดจิต
1.11 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่างๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย
2. ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
2.1 การฝึกสร้างศูนย์สมบูรณ์
2.2 การใช้พลัง Aura ผ่านจินตนาการเพื่อปรับสภาพจิตใต้สำนึก
2.3 ฝึกสมาธิ และฝึกให้จิตใจรวมตัว
2.4 ฝึกพลังแห่งสายตา
2.5 ฝึกบำบัดอาการป่วยด้วยพลังปราณ
2.6 ฝึกทดสอบสภาวะจิตรูปแบบต่าง ๆ
2.7 ฝึกการสะกดจิต และชักนำจิตรูปแบบต่าง ๆ
2.8 ฝึกความจำโดยใช้จินตนาการช่วยจำ
2.9 ฝึกวิธีการเชื่อมต่อกับจิตเหนือสำนึก เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
3. ภาคทดสอบ
3.1 ทดสอบความเชื่อมั่น ทดสอบความจำ ต้องสามารถจำสิ่งของต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในความคิดได้
โดยเพียงแต่ได้ยิน หรือได้ฟังเพียงครั้งเดียว และสามารถบอกลำดับได้การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ : โดยกระบวนการพัฒนาจิตเหนือสำนึก การพัฒนาของ มนุษย์นั้น จะต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย , จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมีพลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จ มาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการฝึก ดังต่อไปนี้
1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย
2. การฝึกการคิดนอกกรอบ
3. การฝึกการคิดทางบวก
4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ ฯลฯ
และที่สำคัญยิ่ง คือ การฝึกดึงเอาพลังจิตเหนือสำนึก (Super Conscious) ขึ้นมาทำงานใสถานการณ์ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ และมีคุณค่า