อัตราแลกเปลี่ยน


อัตราแลกเปลี่ยนและตลาดเงินตราต่างประเทศ

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือราคาของเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่น 1 หน่วย
ตลาดเงินตราต่างประเทศ คือตัวกลางซึ่งทำหน้าที่ในการซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

เงินตราต่างประเทศ หมายถึง เงินตราของประเทศอื่นซึ่งอยู่ในความครอบครองของเอกชน และรัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่ง
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือราคาหรือค่าของเงินตราต่างประเทศหนึ่งหน่วย
ปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คืออุปทานอุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ
ทฤษฎีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สำคัญมี 2 ทฤษฎีคือ ทฤษฎีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนโดยดุลการชำระเงิน และทฤษฎีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนโดยอาศัยอำนาจซื้อเปรียบเทียบ
อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ คืออัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศในขณะใดขณะหนึ่ง เท่ากับอุปทานของเงินตราต่างประเทศในขณะนั้น

ความหมายของเงินตราต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

เงินตราต่างประเทศ หมายถึงเงินตราของประเทศอื่นๆซึ่งอยู่ในความครอบครองของเอกชนและรัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่ง 1 หน่วย ตัวอย่างเช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐ เงินปอนด์สเตอร์ลิง เงินเยน ที่ไทยและรัฐบาลไทยมีไว้ในครอบครองถือว่าเป็นเงินตราต่างประเทศในทัศนของประเทศไทย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคือราคาหรือค่าของเงินตราต่างประเทศ 1 หน่วย เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินริงกิตของประเทศมาเลเซีย คือ 10 บาทต่อ 1 ริงกิต เป็นต้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีประโยชน์ต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือทำให้ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สามารถรู้ได้ว่า เขาจะได้หรือเสียเงินตราต่างประเทศ และเงินตราต่างประเทศของเขาเองเป็นจำนวนเงินเท่าใดจากการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ เช่นพ่อค้าที่ส่งวิทยุจากประเทศสิงค์โปร์เข้ามาขายในประเทศไทย จะทราบว่าวิทยุราคา 100 ดอลลาร์สิงค์โปร์ ในประเทศสิงค์โปร์นั้น มีราคาเป็นเงินบาทเท่ากับ 2000 บาท ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สิงค์โปร์ในขณะนั้นคือ 20 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สิงค์โปร์

มีปัจจัยหลายประการเป็นตัวกำหนดค่าเงิน

ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศ ปัจจัยดังแสดงต่อไปนี้มิได้เรียงลำดับความสำคัญมากไปน้อย

  1. ความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อ เป็นเรื่องปกติที่ประเทศซึ่งมีอัตราเงินเฟ้อต่ำจะมีค่าเงินที่สูงเนื่องจาก กำลังซื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ
  2. ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย ในทางเศรษฐศาสตร์แล้วอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในระดับสูง เมื่อธนาคารกลางเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบไปยังอัตราเงินเฟ้อและ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราดอกเบี้ยที่สูงส่งผลให้ผู้ให้กู้ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการปล่อยกู้ ในประเทศอื่นๆ ดังนั้นจึงดึงดูดการลงทุนข้ามชาติและส่งผลให้ค่าเงินปรับตัวสูงขึ้น อิทธิพลของอัตราดอกเบี้ยอาจถูกลดทอนได้เช่นกันหากประเทศนั้นๆมีอัตราเงิน เฟ้อที่สูงกว่าประเทศอื่นหรือมีปัจจัยอื่นๆที่ลดทอนค่าเงินลง ในทำนองกลับกันอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำก็จะส่งผลกระทบให้ค่าของเงินลดลงด้วย
  3. บัญชีเดินสะพัดขาดดุล อันมีความหมายว่าประเทศได้ใช้จ่ายเงินในกิจการค้าระหว่างประเทศเกินขีดความ สามารถในการหารายได้ของประเทศ ส่งผลให้ต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศ หรืออาจกล่าวได้ว่าประเทศนั้นต้องการเงินตราต่างประเทศในจำนวนที่มากกว่าที่ ประเทศได้รับจากการค้าส่งออก ส่งผลให้ค่าของเงินลดต่ำลงจวบจนกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศจะมีราคาต่ำลงใน มุมมองของประเทศอื่นหรือต้นทุนเงินกู้จากต่างประเทศมีมูลค่าสูงเกินกว่าจะ สามารถผลิตสินค้าขายในประเทศได้
  4. หนี้สาธารณะ ประเทศอาจแบกภาระทางการเงินเพื่อชำระโครงการสาธารณะต่างๆหรือเป็นไปเพื่อการ ลงทุนของภาครัฐ แม้ว่ากิจกรรมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ แต่ประเทศที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะจะไม่เป็นที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติอีก ต่อไป เพราะหนี้สาธารณะในระดับสูงจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ หากประเทศเลือกแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มก็จะเกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง ตามมา หรือหากรัฐบาลไม่สามารถระดมทุนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ ก็จำเป็นต้องขายหลักทรัพย์ให้แก่ต่างชาติด้วยราคาที่ต่ำ และก่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่นักลงทุนต่างชาติเกี่ยวกับภาวะล้มละลายของ ประเทศ หลักทรัพย์ของประเทศดังกล่าวจะเสื่อมถอยด้อยค่า และผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันต่างๆจะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อ ค่าเงิน
  5. Terms of trade คืออัตราส่วนราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านำเข้า Terms of trade มีความสัมพันธ์กับบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน หากราคาสินค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่สูงกว่าอัตราการเพิ่มราคาของ สินค้านำเข้าก็จะส่งผลบวกต่อ Terms of trade และหาก Terms of trade สูงขึ้นนั่นหมายถึงมีความอุปสงค์ต่อสินค้าออกมากขึ้นด้วย ส่งผลให้รายได้จากการส่งออกสูงขึ้นและนั่นย่อมหมายถึงมีความต้องการสกุลเงิน ตราของประเทศนั้นในตลาดโลกมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินปรับตัวสูงขึ้น
  6. เสถียรภาพทางการเมืองและความสามารถเชิงเศรษฐกิจ นักลงทุกต่างชาติต่างมองหาประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองและมีเศรษฐกิจที่ ดีเพื่อเลือกลงทุนในประเทศดังกล่าว หากประเทศใดสูญเสียความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางการเมืองก็จะส่งผลให้ค่าเงิน ลดลงและเงินทุนจะไหลออกไปยังประเทศที่มีเสถียรภาพสูงกว่า