การลงทุนในหุ้น
การลงทุนในตราสารทุน
ตราสารทุน หมายถึง ตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือเพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือตราสารทุนจะมีฐานะเป็น "เจ้าของกิจการ" รวมทั้งมีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของกิจการ และมีโอกาสจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล ทั้งนี้การตัดสินใจจ่ายเงินปันผลจะขึ้นอยู่กับผลกำไรและข้อตกลง ของธุรกิจนั้นๆ
ประเภทของตราสารทุน
1. หุ้นสามัญ Common Stock
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็น
จ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุม
ผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล การควบรวมกิจการ ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามัญยังมีสิทธิได้รับเงินปันผลเมื่อบริษัทมีผลกำไร และมี
โอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคาเมื่อราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ตามศักยภาพของบริษัท รวมถึงมีโอกาสได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่
เมื่อบริษัทเพิ่มทุนหรือ จัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น
2. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
เป็นตราสาร ประเภทหุ้นทุนที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญ คือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะ
ได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
3. หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
มีลักษณะคล้ายคลึงกับหุ้นกู้แตกต่างกันตรงที่หุ้นกู้แปลงสภาพมีสิทธิที่จะ แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในช่วงเวลา อัตรา และราคาที่กำหนดใน
หนังสือชี้ชวน ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดี หุ้นประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะผู้ซื้อคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้รับจากราคาหุ้นสามัญ เมื่อแปลง
สภาพแล้วจึงจะทำกำไรได้มากกว่าผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยของหุ้นกู้ ธรรมดา
4. ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือวอแรนท์ (Warrant)
เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือ
ตราสารอนุพันธ์ ตามราคาใช้สิทธิจำนวนที่ให้ใช้สิทธิ (นิยมใช้เป็นอัตราส่วน) และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งหากพ้นกำหนด
ระยะเวลาแล้วก็ไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้
5. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrant : DW)
เป็นตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับใบสำคัญแสดงสิทธิ) ซึ่งบริษัทผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นี้ ในการซื้อหรือขาย
หลักทรัพย์อ้างอิงซึ่งอาจเป็นหุ้น หรือดัชนีหลักทรัพย์ในราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ และระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออกเป็นผู้กำหนด
ว่าจะเลือกทำการส่งมอบเป็นหลักทรัพย์หรือเงินสดก็ได้ ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทผู้ออกสามารถออกได้เฉพาะใบสำคัญ
แสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ให้สิทธิซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงเท่านั้น ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จัดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงจาก การลงทุน
ทั้งในด้านผู้ออกและผู้ซื้อหลักทรัพย์ โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันที่มีการลงทุนในหุ้นสามัญเป็นจำนวนมากอย่างกองทุนรวม หรือบริษัทประกันภัย
ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ได้
6. ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription Rights : TSR)
เป็นตราสารที่บริษัทจดทะเบียนออกให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายตามสัดส่วน จำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่เดิม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นใช้เป็นหลักฐานในการใช้
สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นเดิมที่ ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน สามารถขายหรือโอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นได้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้ถือหุ้นและผู้ ลงทุนอื่นให้ได้มีโอกาสและทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่หุ้นของบริษัทและช่วยให้บริษัทสามารถ
ระดมทุนได้มากขึ้นหรือครบถ้วนตามเป้าหมายที่ต้องการด้วย นอกจากนี้ ยังแก้ปัญหาให้แก่ผู้ลงทุนต่างประเทศที่มีข้อจำกัดในการลงทุนเพิ่ม ด้วย
วิธีจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทจดทะเบียนจัดสรรให้ โดยสามารถนำTSR มาขาย ในตลาดหลักทรัพย์ฯได้
7. ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย หรือเอ็นวีดีอาร์ (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR)
เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ(Automatic List) และ
มีหลักทรัพย์อ้างอิง(Underlying Asset) เป็นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิหรือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถซื้อขายเอ็นวีดีอาร์ได้ในลักษณะ เดียวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วไป
8. ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipt : DR)
เป็นตราสารที่ออกและเสนอขาย โดยบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เป็นหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิอ้างอิงอาจเป็นได้ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้
หุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ลงทุนที่ถือ DR จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุก ประการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์
ทางการเงิน (Financial Right) หรือสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Right) ในบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ การออกเสียงลงคะแนน
ผู้ถือใบแสดงสิทธิจะต้องมี สัญชาติไทยและออกเสียงลงคะแนนโดยผ่านบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เท่านั้น
9. หน่วยลงทุน (Unit Trust)
คือตราสารที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ในรูปของหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งเป็น รูปแบบหนึ่ง ของ
การระดมเงินทุนจากประชาชน โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม จะเป็นผู้บริหารกองทุน ให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้แก่
ผู้ถือหน่วย ในรูปของเงินปันผล กองทุนรวมมีหลายประเภท ซึ่งคุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ ในหนังสือชี้ชวนซื้อหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุน
ซึ่งจะมีการกำหนดนโยบาย การลงทุนที่ชัดเจน
ข้อดีของการลงทุนประเภทนี้คือ จะมีผู้บริหารมืออาชีพดูแลเงินลงทุนแทนคุณ มีการกระจายความเสี่ยงลงในหุ้น กลุ่มต่างๆ และมีอำนาจ
ต่อรองที่มากกว่า เพราะเป็นเงินกองทุนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นไปได้ยาก ในกรณีที่คุณลงทุน ด้วยตัวเอง
การลงทุนในหุ้น ข้อดีข้อเสีย
การลงทุนในหุ้นนั้น ผู้ลงทุนควรจะประเมินว่าหุ้นที่จะลงทุนควรให้ผลตอบแทนเท่าไร ซึ่งกว่าจะได้ผลตอบแทนเช่นนั้นมันต้องใช้เวลา บางทีก็มาช้า บางทีก็มาเร็วกว่าที่คิด
การลงทุนระยะยาวจะไม่หวังเพียง performance สั้นๆ เพียงปีต่อปี หรือสั้นเป็นสัปดาห์
หากพิถีพิถันคัดเลือกหุ้นหรือกองทุนหุ้นที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการทำกำไรในอนาคต ให้น้ำหนักกับคุณภาพของทีมบริหาร และการมีบรรษัทภิบาล จะทำให้ผู้ลงทุนไม่ไขว้เขวไปกับหุ้นที่มี Story ชั่วครั้งชั่วคราว แม้มันอาจจะทำกำไรที่ดีในระยะสั้น
เพราะสิ่งที่ต้องดูเป็นหลักไม่ใช่ดัชนี แต่เป็นกำไรในอนาคตของกิจการต่างหาก
ตลาดขาขึ้น ใครๆ ก็เป็น “กูรู” เป็น “เซียน” ซื้ออะไรก็เหมือนจะกำไรไปหมด จะลงทุนหุ้นสักตัวก็ไม่สนใจดูที่ Earnings แต่ขึ้นกับจินตนาการของแต่ละคนที่ฝันว่าราคาหุ้นจะไปถึงเท่าไหร่
ตลาดขาขึ้น อารมณ์ตลาดก็พาไป ทำให้นักลงทุนที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดติดกับดักและหลงเข้ากองไฟอย่างไม่รู้ตัว หรือบางรายอาจรู้ แต่ประมาทคิดว่าขายออกทัน มารู้ตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว
ช่วงตลาดขาลงจึงท้าทายฝีมือในการบริหารกองทุนมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนรายย่อยที่ลงทุนเองโดยตรง หรือผู้จัดการกองทุน เพราะโจทย์ที่อยู่ข้างหน้าคือทำอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยง คือเราจะ Protect capital ไว้อย่างไร ได้แค่ไหนในยามตลาดขาลง
ผลตอบแทนที่ดีเป็นกอบเป็นกำจึงเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้ที่อดทนรอคอยได้อย่างไม่หวั่นไหว เพราะเมื่อเราเลือกหุ้นได้ถูกต้องก็ได้ผลตอบแทนเนื้อๆ ยามที่ตลาดยอมจ่ายให้แก่มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่เราลงทุน
ข้อดีของการลงทุนในหุ้น
1. ให้ผลตอบแทนที่ดี: คุณรู้หรือไม่ว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยในปี 2012 เท่ากับ 3% การฝากเงินไว้ในธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีซักเท่าไหร่สำหรับผลตอบแทน แต่การลงทุนในหุ้นอย่างถูกวิธีสามารถสร้างผลตอบแทนดีกว่าทั้งจาก Capital gain และจากเงินปันผลในระยะยาว
2. ดูแลจัดการง่าย: ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการถือหุ้นไม่ว่าจะถือไว้นานซักแค่ไหนก็ตาม จะถือไว้ตลอดชีวิตเลยก็ได้!! อยากขายทิ้งเมื่อไหร่ก็สามารถขายได้ทันที ไม่มีสัญญาผูกมัดใด ๆ ทั้งสิ้น สามารถลงทุนซื้อขายได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ร่วมทีมเหมือนการทำธุรกิจ
3. มีความโปร่งใส: สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เช่นรายงานประจำปีของบริษัทเพื่อวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจลงทุนได้ ไม่มีใครบังคับให้คุณรีบลงทุน สามารถใช้เวลานานเท่าไหร่ในการศึกษาก่อนลงทุนก็ได้ ข้อมูลต่าง ๆ ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ และ/หรือ ผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อเสียของการลงทุนในหุ้น
ราคาผันผวน: ราคาของหุ้นเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะตลาดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ การขาดทุน (Capital loss) จึงเกิดขึ้นได้ง่ายและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากนักลงทุนวิเคราะห์ผิดพลาด หรือมีแผนจัดการความเสี่ยงที่ไม่ดีมากพอ นักลงทุนที่มีอายุเยอะแล้ว (ใกล้เกษียณ) อาจไม่สามารถแบกรับความเสี่ยงนี้ได้จึงไม่ควรลงทุนเป็นหุ้นทั้งหมด แนะนำให้ลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าแทน