จิตวิทยาการเทรด

Part 1 : A Lesson in Trading Psychology

นักเทรดท่านหนึ่งเห็นแรงซื้อเข้ามาในตลาด เขาโดดขึ้นเข้าออเดอร์ซื้อทันที ผมสังเกตจากปริมาณที่เขาซื้อก็พอบอกได้ว่า เขาเข้าซื้อเพราะเขาเห็นโอกาสที่จะ Break High สูง, แต่หลังจากเข้าซื้อแล้ว ปรากฏว่าไม่เป็นไปดังที่คาดคิดไว้, ราคากลับย่ำอยู่กับที่ ไปไม่ถึงเป้าหมาย แล้วก็หักหัวลง, เทรดเดอร์ท่านนั้น โดดออกจากออเดอร์ทันทีโดยเสียไป 1 ช่องราคา เขาหันมาบอกผมว่า “ฉันเพิ่งจ่ายค่าซื้อข้อมูลไป”
จากนั้นอีกหลายนาทีต่อมา ราคาเด้งขึ้นอีกครั้ง สูงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ Volume นั้นน้อย ไม่มีผู้เล่นรายใหญ่อยู่ฝั่ง Long, เทรดเดอร์ท่านนั้นก็ Sell อย่างหนัก และได้กำไรมาหลายจุดอย่างรวดเร็ว

เหตุการณ์นี้สอนไว้ว่า, ครั้งแรกเขาได้เข้าเทรด (ซึ่งเป็นการเข้าที่ดี) แต่ปรากฏว่าไม่ได้ดีอย่างที่คาดไว้ เขาไม่ได้มองว่ามันเป็นความเสียหาย ความล้มเหลว หรือภัยคุกคาม, เขามองว่าเป็นแค่การซื้อข้อมูล, ตลาดกำลังบอกเขาว่า ราคาคงไม่สามารถเอาชนะ High เดิมได้จริงๆ

เขาเข้าออเดอร์แรก และออกจากออเดอร์ แล้วใช้ออเดอร์ที่แพ้เล็กๆ นั้น ในการเตรียมตัวเพื่อให้ได้มาซึ่งออเดอร์อันต่อมาซึ่งชนะ, นี่เป็นตัวอย่างที่ดีมากเรื่อง “จิตวิทยาการเทรด”

ถ้าคุณเริ่มเข้าเล่นแล้ว ผลลัพธ์จะมีแค่ 2 ทาง

1. การเข้าซือที่ทำกำไรให้คุณ และ 2. การเข้าซือที่ให้ข้อมูลกับคุณ (Note ผู้แปล : ผู้แต่งตั้งใจจะสื่อชัดๆว่า แม้ออเดอร์นั้นโดน Stop Loss ก็อย่าคิดว่าเป็นความพ่ายแพ้ เพราะเมื่อเราเข้าตามระบบแล้วยังโดน Stop Loss, ถือว่าเป็นการแพ้ในระบบ ซึ่งจะเป็นการให้ข้อมุลที่เป็นประโยชน์แก่เรา ในภายภาคหน้าต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประเมินตลาดอย่างที่เห็นในบทความนี้ หรือการจะเอาข้อมูลนั้นมาปรับปรุงระบบต่อไป)

Part 2 : Accepting the Obvious (ยอมรับสิ่งที่เห็นชัดๆ)

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้รับอีเมล์ที่มีคำถาม ที่ทำให้คิดถึงมุมมองเก่าๆ ของผม, เนื้อหาคือ ทำไมมีเทรดเดอร์ ต่อต้าน การ break out หรือ เทรดสวนเทรน แม้ว่ามันเห็นชัดมาก ? บางครั้งผมเห็น เทรดเดอร์ ปฏิเสธที่จะเข้าออเดอร์ ตอนที่ทะลุ Low เดิม เพียงเพราะว่า “ฉันไม่อยากจะขายที่ Low”, ที่แย่กว่านั้นคือ เทรดเดอร์ทื่ถือออเดอร์ที่ต้านเทรนอยู่ เพราะพยายามเชื่อว่า “มันจะต้องกลับมา” หรือ “ตลาดกำลังถูกปั่นจากเจ้า” งานนี้ต้องย้อนกลับไปถึงพื้นฐานการเทรด

Volume จะบอกคุณว่าเทรดเดอร์ และนักลงทุน กำลังยอมรับราคา ณ เวลานั้นๆ, ถ้าตลาดตลาดกำลังเทรดอยู่ในช่วงราคาแคบๆ มาระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นทะลุขอบบนของช่วงราคาไป ด้วย Volume มากๆ, มันหมายถึงว่า ตลาดได้ยอมรับราคาที่สูงขึ้นเรียบร้อย, สมมุติว่า คุณเป็นเจ้าของชิ้นงานศิลปะ ในงานประมูล พอเริ่มประมูลก็พบว่า มีผู้ประมูลจำนวนมาก เสนอราคาประมูลสูงๆ และเสนออย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดหย่อน, ณ ตอนนั้น ที่คนกลังเริ่มรุมประมูล คุณควรเข้าใจว่า ชิ้นงานศิลปะของคุณ ยังไม่ถึงราคาขายที่ดีที่สุด ดังนั้นเห็นได้ชัดว่า คุณไม่ควรจะขายงานศิลปะของคุณให้กับ กลุ่มผู้ประมูลกลุ่มแรกๆ ที่เริ่มแข่งกันอย่างดุเดือด ที่ราคาเริ่มต้น !

ตลาดก็ดำเนินในลักษณะเดียวกัน บนพื้นฐานของการประมูล Bid-Offer, (ดู หนังสือ Mind Over Markets , หนังสือที่ยอดเยี่ยมของ Jim Dalton และ ผู้แต่งอื่นๆ สำหรับการพูดถึงเรื่อง ทฤษฏี การประมูล และ ใช้ประโยชน์จาก สภาพตลาด) ในแต่ละวัน, เราได้เห็นการประมูลเหมือนงานศิลปะ ในตลาด S&P, NASDAQ, พันธบัตร, ฯลฯ

การเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดหย่อนระหว่างคนซื้อ กับคนขาย เป็นสิ่งกำหนดราคาของตลาด, เมื่อเราเห็น Volume ขยายออกพร้อมๆ กับเมื่อราคาวิ่ง เมื่อนั้นเราก็ควรจะหนักว่า ตลาดไม่สมดุลอีกต่อไป มันจะวิ่งไปในทิศนั้นๆ จนกว่ามันจะได้แรงที่สมดุลระหว่างแรงซื้อ กับแรงขาย ที่ราคาใหม่จึงจะหยุดลงได้

บางครั้ง ผมลองถามเทรดเดอร์ว่า ตอน Break out นั้น เกิดอะไรขึ้นกับ Volume ? บ่อยมากที่ผมจะได้รับคำตอบว่า “ไม่รู้” เพราะ เทรดเดอร์นั้นสนใจแต่กับราคา และ ความอยากเข้าทำต่อการวิ่งของราคา จึงทำให้พลาดความสำคัญของ พื้นฐานเรื่องการประมูลไป

มันมีกฎอันหนึ่งที่กล่าวถึงกัน คือเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในตลาด เทรดเดอร์ที่ดี จะสนใจต่อตลาด และความหมายของเหตุการณ์, ส่วนเทรดเดอร์ที่แย่ จะสนใจตัวเขาเอง และความหงุดหงิดจากการพลาดเหตุการณ์นั้น แล้วมัวแต่คิดว่า จะเอาคืนได้อย่างไรเป็นต้น, ผมเคยเห็นแม้แต่การพลาดเทรนชัดๆ ทั้งวัน เพียงเพราะพวกเขามัวแต่ยึดติดว่า ได้พลาดการเล่น Break out ตอนแรกไป

นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกเหตุผล จะทำให้พลาด การเคลื่อนไหวที่เห็นชัดๆ, จะยกตัวอย่างสักสามอันที่เกี่ยวข้องกันให้ดู ว่า “การปฏิเสธที่จะยอมรับ สิ่งที่เห็นชัดๆ”

1. ผู้หญิงคนหนึ่งไปหาที่ปรึกษา เรื่องปัญหาครอบครัว, หล่อนเล่าว่า สามีกลับบ้านดึกตลอด ไม่ใช้เวลาร่วมกับเธอ บอกว่าทำงานบริษัทดึก แต่เวลาโทรไปบริษัทเขาไม่เคยอยู่ที่นั่น, มีครั้งหนึ่งเขาพบของใช้ผู้หญิงในรถ เมื่อถามสามี เขาก็ตอบว่าเป็นของภรรยานั่แนหละที่ลืมทิ้งไว้นานแล้ว, ที่ปรึกษาเลยบอกว่า สามีคงจะมีหญิงอื่น ผู้หญิงคนนั้นได้ยินแล้ว โกรธมาก และต่อว่าที่ปรึกษาว่า หล่อนมาเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย ไม่ใช่มาทำลาย, หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ สามีก็ย้ายออกจากบ้านไปอยู่กับผู้หญิงคนใหม่

2. คนไข้มะเร็งระยะสุดท้ายคนหนึ่ง วันหนึ่งอาการแย่ลงกระทันหัน, ผลการตรวจแลป ชี้ว่ามะเร็งระยะสุดท้ายได้ลุกลามไปทั่วร่างกาย, หมอได้นัดพูดคุยกับครอบครัว เรื่อง การบรรเทาความเจ็บระยะสุดท้าย ด้วยการปล่อยผู้ป่วยให้ไปด้วยดี ครอบครัวผู้ป่วยโมโหมาก และยืนยันให้ใช้การรักษาที่เข้มข้นขึ้นอีก เพื่อที่ผุ้ป่วยจะได้กลับบ้านและทำงานต่อได้, ขณะที่กำลังพูดกันนั้น ผุ้ป่วยไม่สามารถถืออะไรได้ แม้แต่อาหารที่จะเข้าปาก เพราะร่างกายซูบผอมจัด ติดกระดู และ คนนอกเห็นได้ชัดมากว่า กำลังทรมาน

3. ผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็กโดยพ่อของหล่อนเอง ได้ยืนยันว่า พ่อของหล่อนดูแล ห่วงใย และ พยายามทำให้หล่อนเจ็บปวดน้อยที่สุดในวัยเด็ก, ซึ่งขัดกับหลักฐานว่าหล่อนถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกทุบตี และ ถูกทำให้อับอายขายหน้าบ่อยๆ, หล่อนยืนยันว่า คนที่ผิดคือหล่อน ที่ทำให้พ่อไม่พอใจบ่อยๆ และ ไม่ยอมรับคำว่า ทารุณ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, หล่อนอยู่ในภาวะหดหู่มาตลอดถึงทุกวันนี้ แต่ก็ยังพยายามติดต่อพ่อซึ่งปฏิเสธโทรศัพท์มาตลอด

ทั้งสามกรณีที่ยกมา ความยากในการยอมรับสิ่งที่เห็นชัดๆ เป็นผลมาจาก “ความต้องการเชื่อ” ที่จะเชื่อในสิ่งที่แตกต่างออกไป, ปัญหาไม่ใช่แค่ ตาบอดจากโลกความเป็นจริง แต่หนักกว่านั้นคือ ความต้องการที่จะมีโลกที่แตกต่างจากความเป็นจริง, กลับมาที่การเทรด, ถ้าเทรดเดอร์พลาดที่จะเข้าตอน Breakout (หรือเลวร้ายกว่านั้นคือ อยู่ฝั่งตรงข้ามแล้วกำลังเจ็บหนัก) เทรดเดอร์จะอยู่ในภาวะที่ต้องการตลาดที่แตกต่างจากความจริง, และเมื่อความต้องการนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ตลาด มันก็เริ่มกลายเป็นความเห็นของพวกเขา และ เมื่ออีโก้(ความทรนงในตนเอง) เข้าครอบงำแล้วก็จะกลายเป็นภาวะที่มีชื่อเฉพาะที่เรียกกันว่าภาวะ “แต่งงานกับความเห็นของตัวเอง”

วิธีที่ผมพบว่ามีประโยชน์ คือ การสร้างแผน “ถ้าเกิดว่า...” ซึ่งจะช่วยเตรียมการไว้ให้กับสภาวะจิตของเราอย่างชัดเจน, สมมุติ เรากำลังจะเล่นแค่เด้งในกรอบราคาจำกัด ให้คิดล่วงหน้าไว้เลยว่า “ถ้าเกิดว่า”ราคา ทะลุเส้นขอบเขตการเด้งของเราออกมา ด้วย Volume, เราจะรับมืออย่างไร ? ถ้าหุ้นขนาดกลางทะลุเส้นออกมาเหนือช่วงขอบเขต แม้ว่าตลาดโดยรวมจะยังเด้งในขอบเขตละ ? เราจะทำอย่างไร, “ถ้าเกิดว่า”ราคาไปทดสอบ High แต่ว่า Volume ไม่มีละ? พวกแผน “ถ้าเกิดว่า…” เหล่านี้จะป้องกันเทรดเดอร์จากการถูกดักอยู่ในความคิดของเขาเอง ซึ่งจะกลายเป็นความเห็น และ การแต่งงานกับความเห็น, “วางแผนเทรดแล้ว เทรดตามแผน” คือวิธีหลักที่ดี แต่เทรดเดอร์ที่ดี ย่อมจะมีแผนสำรองเสมอ

ท้ายสุด, ลองพิจารณาสถานการณ์ตรงกันข้าม, เมื่อเทรดเดอร์อยากจะเชื่อว่า การ Break out กำลังจะเกิด แต่ตลาด อยู่ในสภาพ Sideway, ราคาเด้งไปเด้งมาอยู่ในกรอบเดิม, “คามต้องการเชื่อ” อาจจะทำงานอีกครั้งตรงนี้, เทรดเดอร์ที่เข้าออเดอร์โดยหวัง Break out เอาไว้ ยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ตลาดเจอราคาที่สมดุลและย่ำอยู่ตรงนี้, Volume น้อยๆ สามารถบอกอะไรกับเราอย่างชัดเจนได้ดีพอๆ กับ Volume มากๆ หากคุณเปิดใจรับฟังมัน, ตลาดที่มีปริมาณ Volume น้อยๆ ไม่สามารถดึงดูดผู้เล่นจาก Time Frame อื่นๆ ได้ จึงขับเคลื่อนด้วย กำลังจากเฉพาะผู้เล่นเดิมๆ, ซึ่งถ้าเราไปคาดการณ์ Break out ก็จะสามารถ overtrade ง่ายมาก หากไม่รอหลักฐานที่เพียงพอ, ลางบอกเหตุสำหรับเรื่องนี้คือ เทรดเดอร์เริ่มบ่นกันว่า “ตลาดจะไม่ขยับเลยใช่ไหม”, พวกเขาหงุดหงิด เพราะพวกเขากำลังขัดขืน และพยายามต่อสู้กับตลาด แทนที่จะก้าวตามสิ่งที่ตลาดทำ (Note ผุ้แปล : หมายความว่า ถ้าตลาดเป็น Sideway เราก็ควรจะเล่นโหมด Sideway คือเล่นเด้ง ไม่ใช่หวังเล่น Break out)

เป็นจริงตามที่เขากล่าวกันว่า ปัญหาส่วนมากจะหาทางออกด้วย การหนีความจริง เมื่อความต้องการเชื่อของเรา ขัดกับ โลกความเป็นจริง

ขอบคุณ Bob Kieffer (www.r7.com) and Bill Duryea (www.marketshaman.com) ในการเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดบทความนี้ จากการสังเกตอันยอดเยี่ยมของพวกเขา

 

Part 3 : สิ่งที่ทำให้เทรดเดอร์หน้าใหม่ ประสบความสำเร็จ (Training New Traders: What Makes for Success)

 

ในวงการเทรดเป็นที่เข้าใจและยอมรับกันอย่างเอกฉันท์ว่า ยิ่งนานวัน ตลาดยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ, ทำให้จะหาทางทำกำไรจากช่องว่างเล็กๆ น้อยๆ ยากขึ้นเรื่อยๆ, ความท้าทายของตลาดก็มากขึ้นเรื่อยๆ และ เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยมากขึ้นเรื่อยๆ, จะเห็นได้ว่า มีคนจำนวนหลายพันคน ที่พยายามแข่งขันจริงจัง เพื่อเอาชนะการเทรดในระดับที่เลี้ยงดูครอบครัวได้ คุณต้องตระหนักว่า การเทรดเองก็ไม่แตกต่างจาก การแสดง หรือ การแข่งขันกีฬา : มีคนถูกเรียกเข้ามาทดสอบจำนวนมาก, แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ประสบความสำเร็จ

เพราะผม (ผู้แต่ง Dr.Brett S.) เป็นผู้บริหารของ โปรแกรมฝึกเทรดเดอร์หน้าใหม่ของ บริษัทหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ในชิคาโก, ผมจึงมีทั้งข้อมูล และ ประสบการณ์เกี่ยวกับ ความสำเร็จและความล้มเหลวของเทรดเดอร์หน้าใหม่ๆ เหล่านั้น

ผมดูแลโปรแกรม Internship ของ Kingstree Trading LCC. จึงถูกถามบ่อยๆว่าผมมองหาอะไรจากผู้สมัครเป็นเทรดเดอร์, สิ่งที่ผมมักจะถามผู้สมัครคือ “คุณมีคุณสมบัติที่ดีอะไรบ้าง” ซึ่งผมรู้อยู่แล้วว่า คำตอบมักจะเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของ “แรงจูงใจ” (motivation) แต่ผู้ตอบจะทำสิ่งเหล่านั้นที่ตอบออกมาได้จริงตอนเข้าโปรแกรม หรือ การเทรดจริงได้หรือเปล่านี่อีกเรื่อง

แรงจูงใจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสำเร็จ, แต่แค่นั้นยังไม่เพียงพอ, มันยังมีสิ่งอื่นที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จในการเทรด เช่นเดียวกับนักกีฬา, นักแข่งหมากรุก หรือ นักแสดง, คงไม่มีใครบอกว่าเขาควรจะได้เข้าทีม บาส Chicago Bulls หรือ ร่วมแสดงกับ Joffrey Ballet เพียงเพราะเขามีแรงจูงใจมากพอ, เทียบเคียงดังนี้แล้ว เพียงแค่ “แรงจูงใจ” ย่อมจะไม่เพียงพอสำหรับการเป็นเทรดเดอร์ที่ดีแน่ๆ

ที่น่าสนใจมากคือ “แรงจูงใจ” ที่เกิด มักจะเป็นเพียงแค่ความอยาก “ประสบความสำเร็จ” ไม่ใช่ ความอยาก “ทำให้ประสบความสำเร็จ”, มีเทรดเดอร์จำนวนมากที่บอกว่า พวกเขามีแรงจูงใจมากกับการเทรด แต่เมื่อถึงเวลาตลาดปิดปุ๊บ ก็ออกจากบริษัทหลักทรัพย์ปั๊บ ไม่เคยเห็นความพยายามของพวกเขาในการศึกษาตลาด นอกเวลาทำงานเลย, รวมทั้งใช้ความพยายามน้อยมากในการศึกษาการเทรดของตัวเอง, เมื่อเทรดเดอร์เหล่านี้จำเป็นต้องบันทึกการเทรดตามหน้าที่ ก็จะเห็นแต่ข้อความทำนองว่า “ต้องมีวินัยมากกว่านี้” โดยไม่เขียนระบุว่า วินัยแบบไหน อะไรที่ทำผิดวินัยลงไป ทำไมถึงผิดวินัย จะไม่ให้ผิดวินัยในอนาคตได้อย่างไร การกระทำไหนที่จะป้องกันการผิดวินัย จะติดตามการแก้ปัญหาเรื่องวินัยอย่างไร ? คำถามทั้งหมดนี้ไม่เคยได้รับการตอบ เพราะการจะตอบนี้เป็นงานเต็มๆ และ เป็นงานหนักซะด้วย, แค่ความอยากไม่ใช่แรงจูงใจ, แรงจูงใจควรจะวัดจากการแสดงความพยายามออกมา ไม่ใช่แค่ความอยากหรือความหวัง ที่ปราศจากการลงมือทำ

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากที่ผมรู้จัก พวกเขาเริ่มต้นจากการทบทวนการเทรดของพวกเขาอย่างจริงจังหลังจากจบการเทรดแต่ละช่วง, นอกเวลางาน พวกเขาก็จะศึกษาการเทรดของพวกเขา ทบทวนการเคลื่อนไหวของตลาด ทบทวนการตัดสินใจของพวกเขา ระหว่างการศึกษา พวกเขาจะทำการบันทึกด้วย และเน้นจุดสำคัญที่ทำถูก และ ทำผิด, จากการบันทึกเหล่านี้ พวกเขาได้พัฒนาสิ่งพิเศษที่พวกเขาเห็นและเข้าใจตลาด(ระบบ)ขึ้นมา, การทบทวนเหล่านี้ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ ซึ่งหยาดเหงื่อแรงงานเหล่านี้ จะทำให้เทรดเดอร์มีการเตรียมตัวที่ดีกว่าเทรดเดอร์คนอื่น, เมื่อเวลาผ่านไปหลายๆเดือน ความพยายามที่สะสมมาทุกวันพวกนี้จะทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างที่เลี่ยงไม่ได้คือ พวกเขาจะมีประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับมุมมองของตลาดมากกว่าคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด และที่สำคัญกว่าคือ การได้สัมผัสกับระบบของตัวเอง จนเข้าใจถ่องแท้, ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัท Kingstree มองหามากกว่าเทรดเดอร์ที่พูดลอยๆว่า “ผมมีแรงจูงใจ”

โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า พวกเราอยู่ในยุคที่ต้องพัฒนาศักยภาพของเทรดเดอร์โดยการพัฒนา “เป้าหมาย” โดยการวางแผนระยะยาว มากกว่า “ผลลัพธ์”เฉพาะหน้า เช่น รายงานของตัวเอง และ สรุปผลลัพธ์การเทรด P/L ง่ายๆ, เพราะตลาดนับวันจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัทหลักทรัพย์จึงต้องหาทางสกัดเอาคุณค่าที่ซ่อนอยู่ลึกไปไกลกว่า “แรงจูงใจ” นั่นคือ “aptitudes” (Note ผู้แปล: คำนี้เป็นคำที่แปลยากที่สุดหนึ่งคำ แปลได้ใกล้สุดคือ ความรู้สึก ชื่นชอบ ที่มีต่อสิ่งนั้นๆ) ในบริษัท Kingstree เรามีการฝึก intern โดยให้มี mentor (พี่เลี้ยง) กำกับโดยตรง, มีการเก็บสถิติในแต่ละช่วงการเทรด และจะมีการให้คำแนะนำในสภาวะตลาดจริง, จากนั้นจะส่งเสริมให้ Advance-Intern ทดลองกลยุทธ์ต่างๆ และ จะช่วยชี้จุดแข็ง จุดอ่อนของพวกเขา, เราเชื่อว่า การขัดเกลาด้วยวิธีนี้จะทำให้เร่งกระบวนการเรียนรู้ได้ดี และ ลดเวลาในการเดินทางกว่าจะเป็น “พอร์ตเขียว” ของเทรดเดอร์ใหม่ๆ ได้

บริษัทหลักทรัพย์มักจะพูดว่า พวกเขามองหาเทรดเดอร์และแรงจูงใจ, แต่คำพูดนี้เป็น ดาบสองคม, ตัวบริษัทแม้มี “แรงจูงใจ” ในการอยากได้เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ แต่อาจจะแสดง “ความพยายาม” ในการพัฒนาตัวเทรดเดอร์ไม่เพียงพอ, เวลา แรงงาน การสอน การประกบ การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ถ้าต้องการพัฒนาศักยภาพของเทรดเดอร์ เช่นเดียวกับ กีฬา หรือ การแสดง, โค้ชหรือครูสอน ต้องฝึกร่วมกับ นักกีฬา/นักแสดง อย่างหนัก ทุกวัน, ลองคิดดูว่า ถ้าบริษัทต้องให้ mentor มาประกบเทรดเดอร์ใหม่ เพื่อสอนทุกวัน ตัว mentor คงไม่มีเวลาเทรดเต็มที่ ซึ่งหมายถึงรายได้ที่ลดลง, การที่บริษัทรับภาระชดเชยรายได้ให้ mentor นี่เป็นการแสดงออกถึงความทุ่มเทอย่างมาก, ถ้าบริษัทไหนที่ พัฒนาเทรดเดอร์ใหม่ โดยการให้ mentor แนะนำไม่กี่คำหลังการเทรด เพราะ mentor ต้องเทรดของตัวเองเต็มที่แล้ว คงต้องพิจารณาถึงคำว่า “แรงจูงใจ” ของบริษัทหลักทรัพย์เช่นกัน

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ มีบางอย่างที่เหนือกว่าเทรดเดอร์อื่นๆ นับพัน ในตลาดการแข่งขันนี้, อะไรคือ บางอย่างที่ว่านั้น ? ถึงตรงนี้คุณน่าจะพอเห็นภาพแล้วว่า “ความชื่นชอบในสิ่งนั้น” (Passion), “แรงจูงใจ” (Motivation), “แรงปรารถนา” (Desire) และ “ทำงานหนัก” (Hard work) คือ สิ่งที่ต้องมี และ สุดท้ายแล้ว จำเป็นที่จะต้องแปลงสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็น “ทักษะ” ด้วยการฝึกฝน, ให้อ่านเรื่องราวของเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ สังเกต หรือ ถ้ามีโอกาสก็ สอบถาม เทรดเดอร์เหล่านั้นว่าอะไรคือทักษะสำคัญเหล่านั้น แล้ว ฝึกฝนเลียนแบบทักษะเหล่านั้น, แล้วคอยถามตัวเองอย่างตรงๆ ว่า มีทักษะเหล่านั้นหรือยัง, ถ้ามีแล้ว ให้พัฒนาแผนที่จะรักษาสิ่งเหล่านั้นไว้ให้ได้ นี่แหละคือ สิ่งที่จะทำให้การเทรดประสบความสำเร็จ !

 

[จิตวิทยาการลงทุน] Part 4 : การฝึกซ้ำๆ เพื่อให้เกิดทักษะ

ต้นฉบับ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger / www.brettsteenbarger.com

 

เพราะผม (Dr.Brett) เป็นทั้งนักจิตวิทยา และเป็นเทรดเดอร์, ผมจึงเป็นทั้ง โค้ช และ ลูกศิษย์สำหรับการฝึกเทรดให้ตัวเอง, งานที่ต้องทำหลักๆเลย คือ การเอาความรู้ที่มีอยู่แล้วมาใช้จริง, รับมือเรื่องอารมณ์, ปรับรูปแบบนิสัย และ เรื่องวินัยที่ดีอื่นๆ ซึ่งเรื่องพวกนี้เอง ที่แยกระหว่าง นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ กับนักกีฬาธรรมดา

มีงานวิจัยจำนวนมาก ที่ค้นคว้าไว้เกี่ยวกับเรื่อง จิตวิทยาของผู้ที่ประสบความสำเร็จ ทั้งในสาขา ศิลปะ, วิทยาศาสตร์, กีฬา และ การเมือง. Dean Keith Simonton นักจิตวิทยาจาก Univ. of California และ K. Anders Ericsson นักจิตวิทยาจาก Florida State Univ. เป็นสองท่านที่มีผลงานด้านนี้อย่างโดดเด่น, ทั้งสองได้ชี้ไว้ว่า ความสำเร็จขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นในสาขาวิชาใด ล้วนเป็นผลมาจาก ความต่อเนื่อง, ความจริงจัง และ การฝึกฝนอย่างทุ่มเท ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นทักษะขั้นสูงฝังลึกเข้าไปในตัวบุคคล จนกระทั้งเมื่อถึงจุดหนึ่งจะทำได้อย่าง “อัตโนมัติ” (Note ผู้แปล : สำหรับเทรดเดอร์ ผมเคยพูดถึงเทรดเดอร์ขั้นสูงสุด ที่เรียกว่า Auto Pilot ไว้ในวีดีโอเผยแพร่เกี่ยวกับ “ระดับของเทรดเดอร์และวิธีพัฒนา”* ของผม)
มีบทความอันหนึ่ง ได้กล่าวถึง นักเบสบอลในตำนาน Sandy Koufax (ตำแหน่งคนขว้างลูก), Koufax ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า สิ่งที่ดีกว่าการพยายาม นั่งหาว่าอะไรคือตัวแปรในการขว้างที่ดี คือ การซ้อมขว้างซ้ำๆไปเลย, การฝึกซ้ำ คือ กุญแจสำคัญสำหรับ การซ้อมกอล์ฟ หรือ ฝึกตีลูกเบสบอล, นักขว้างเบสบอล อยากขว้างให้ได้เหมือนเดิมเป๊ะ ทุกครั้งที่ต้องการ. Jane Leavy, ผู้แต่งหนังสือ ชีวประวัติ Koufax ได้เขียนไว้ว่า สี่งที่ยากที่สุดสำหรับนักกีฬาไม่ใช่ การทำให้ผลงานได้ดีหนึ่งครั้ง แค่เป็นการทำผลงานดีให้ได้ซ้ำๆ
ย้อนกลับมาที่การเทรดของผมเอง, ผมสามารถทำซ้ำในระดับที่น่าพอใจ โดยการพัฒนา “ชุดเงื่อนไข” ที่กำหนด การเข้า ออก และ ขนาดของออเดอร์ (Note ผู้แปล : เรื่องนี้ ผมบังเอิญคิดเหมือนผู้แต่ง โดยผมมักจะอธิบายเวลาว่า “ระบบเทรด” คือ “ชุดเงื่อนไช”ในการเข้า-ออก ออเดอร์), ชุดเงื่อนไข เหล่านี้ส่วนใหญ่ มาจากการค้นคว้าของผมในเรื่อง คุณภาพของเทรน, ผมต้องการจะเข้าเมื่อ ตลาดเริ่มมีทิศทาง และ ความเป็นเทรนเริ่มมากขึ้น จากนั้นก็ออกตอนที่เทรนเริ่มหมดลง, และ มีสามารถเข้าออเดอร์เพิ่มได้อีก ถ้า เทรนระยะสั้น กับ ระยะกลางเริ่มชี้ไปทางเดียวกัน เพื่อบังคับให้ตัวเอง อยู่ในเงื่อนไขเหล่านี้, ผมได้เขียน webblog ประจำวัน, ซึ่งก็คือบันทึกประจำวันออนไลน์ ที่ผมตั้งใจจะใช้ติดตาม การประเมินเทรน, สถานะของเทรน และ วางแผนการเทรดสำหรับวันต่อไป, Blog บังคับให้ผมโฟกัสอยู่กับ พื้นฐาน และ กำจัด “ตัวแปร” ที่ไม่จำเป็นออกจากการเทรดของผม, นั่นก็คือช่วยลด การคิดมากเกินควร และ การขัดแย้งกันเองภายในใจของผมระหว่างเทรด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการเข้า-ออก ออเดอร์ (Note ผู้แปล : เข้าใจว่าการเขียนช่วยอย่างที่ผู้แต่งบอกได้ เพราะเวลาเขียนบทความ เราจะต้องไม่ฟุ้มเฟ้อ พูดแตกประเด็นมั่วไปเรื่อย จำเป็นต้องโฟกัสว่า เรากำลังพูดประเด็นอะไรอยู่ จึงทำให้เราโฟกัสอยู่กับหัวข้อหลักได้) และมันเป็นเครื่องมือที่ไม่เลวเลยสำหรับการประจานตัวเอง เพราะเป็นการประกาศความผิดพลาดของผมสู่สาธารณะด้วย
*http://www.youtube.com/watch?v=7FtAarvjwnQ&feature=plcp

 

[จิตวิทยาการลงทุน] Part 5 : สิ่งสำคัญสุดในการโค้ชการเทรดให้ตัวเองต้นฉบับ

Credit : Dr.Brett N. Steenbarger / www.brettsteenbarger.com

Image Credit : google.com, keyword : Target + Goal

 

ล่าสุดผม (Dr. Bertt S.) ได้รับคำถามจากผู้อ่านมา ว่า “ผมไม่มีเงินมากพอที่จะจ้าง โค้ชการเทรด, ถ้าอยากจะโค้ชให้ตัวเอง ผมต้องทำอะไรบ้าง” เช่นเดียวกับ คำพูดเกี่ยวกับสุขภาพ ว่า “เราจะเป็นไปตามสิ่งที่เรากินเข้าไป”, ในเชิงจิตวิทยาก็เช่นกัน คือ ประสบการณ์ที่เราได้รับเข้าไปในจิตใจ จะหล่อหลอมตัวตนของเราขึ้นมาให้เป็นเรานั่นเอง

ถ้าเรามีแต่ประสบการณ์ที่เลวร้าย ภายในจิตใจของเราจะเริ่มสร้าง การขาดความมั่นใจ และ ขาดแรงจูงใจ, ทางกลับกัน ถ้าเรามีประสบการณ์ที่ดี มันจะส่งเสริมให้เรามีมุมมองที่ดี ต่อทั้งเรื่องนั้นๆและต่อตัวเราเอง

ถ้าอยากจะ ฝึกฝนการเทรดให้ตัวเอง, ก้าวที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างประสบการณ์ทีดี ในการเรียนให้แก่ตนเอง เพื่อให้มี แรงจูงใจ ความอยากทำต่อ และ ฝึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ดังนั้น ในการฝึกย่อยแต่ละขั้น เป้าหมายต้องไม่ยากเกินไป

เราไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตลาดได้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถควบคุมได้ว่า การเทรดครั้งหนึ่งๆนั้นจะชนะเสมอไปหรือไม่, แต่เราสามารถที่จะควบคุมได้ว่า เราจะเทรดอย่างไรได้ นั่นคือ 1.จะเข้าอย่างไร 2.จะเข้าด้วยขนาด(Volume) เท่าไหร่ 3.จะออกอย่างไร และ 4.จะจำกัดการขาดทุนอย่างไร, การมีเงื่อนไขเหล่านี้จะช่วยให้เรามีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเทรด (Note ผู้แปล : นั่นก็คือการมี “ระบบ” นั่นเอง) มากกว่าไปสนใจแค่ผลลัพธ์แพ้ชนะตอนปิดแต่ละออเดอร์

สิ่งสำคัญมากในการจะเป็นโค้ชการเทรดให้ตัวเอง ไม่แพ้การมีชุดเงื่อไข (ระบบ) คือ เป้าหมายแต่ละครั้ง ต้องอยู่ในระดับที่พอทำได้ และ ชัดเจน, เพื่อให้ตัวเราเองค่อยได้รับประสบการณ์เชิงบวกที่ดี เพื่อค่อยพัฒนาจิตวิทยาของเราให้ชื่นชอบการเทรด จะได้เดินหน้าฝึกเทรดต่อไปได้เรื่อยๆ และในการฝึกแต่ละครั้ง ก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน, ถ้าฝึกโดยปราศจากเป้าหมาย ก็จะไม่มีความรู้สึกในการถึงเป้าหมาย ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดการสร้างความรู้สึกว่า เกิดทักษะ และ ความมั่นใจ ภายในจิตใจ 

ทุกๆ ขั้นของการฝึก จึงควรจะมีการวางเป้าหมายที่ แน่นอน ชัดเจน พอทำได้จริง และ มุ่งหน้าสู่ เป้าหมายใหญ่, ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการฝึกเทรด คือ การเทรดได้ดี เช่นเดียวกับ นักกีฬาที่ต้องการจะเล่นกีฬาได้ดี ซึ่งรู้ล่วงหน้าได้เสมอ ว่า ถ้าคุณฝึกได้บ่อยและมากพอ คุณจะได้รับผลตอบแทนในส่วนนั้นๆอย่างแน่นอน

ถ้าฝึกโดยมีทั้ง “เป้าหมายที่ชัดเจน” และ “เป้าหมายอยู่ในระดับที่พอทำได้” แล้วถ้าคุณก็ทำได้สำเร็จ, ก้าวต่อก้าว, คุณกำลังสร้าง ความรู้สึกเชิงบวก ในการมุ่งหน้าสู่เป้าหมายสูงสุดของการเทรดนั่นเอง

(Note ผุ้แปล : ผม (Rojer cmFX) ขอเสริมจากต้นฉบับเล็กน้อย ในเรื่องของการวางเป้าหมาย, ดังที่ผมสอนนักเรียนมาตลอด คือ สำหรับเป้าหมายย่อย คือ 1.ให้ฝึกโดยพยายามเข้าใจรายละเอียดของความรู้ส่วนย่อยแต่ละส่วนๆ ก่อน ส่วนเป้าหมายใหญ่ คือ

1.สำหรับช่วงแรกให้ฝึกใน Demo/Paper ก่อน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับทั้งระบบ และ ต่อสภาวะแวดล้อมการเทรดก่อน

2..จากนั้นค่อยลงเงินจริง โดยมีเป้าหมายแรกของพอร์ตเงินจริงอยู่ที่ เทรดให้ได้เท่าทุนก่อน (เรียกว่าเทรดให้ได้ 0%) เพื่อไม่ให้เกิดการท้อระหว่างการฝึก จากนั้นถ้าทำได้แล้วค่อยๆเพิ่ม เป้าทีละนิด 5-10% ไม่แนะนำให้ตั้งเป้าเยอะๆ เช่น 50-100%

3.รักษาวินัยให้ได้ โดยไม่เสียทั้ง Money Management และ ไม่ออกนอกระบบ, เป้าหมายขั้นนี้คือ ให้เกิดเป็นทักษะติดตัว

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า แต่ละขั้นตอน มีเป้าหมายที่ชัดเจน และ ความยากอยุ่ในระดับที่พอทำได้ แต่ก็ไม่ง่ายจนรู้สึกว่าไม่ต้องทำก็ถึงเป้าแน่ๆ)

 

Part 6 : คำถามสำคัญที่จะช่วยให้หลุดจากภาวะการเทรดตกต่ำ

ต้นฉบับ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger / www.brettsteenbarger.com

Image Credit : google.com, keyword : Mind Slump

 

ฤดูมรสุมเกิดขึ้นทุกปี, ภาวะตกต่ำในชีวิตก็จะเกิดกับทุกคน ทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่การเทรด ตามวิชาสถิติ, เทรดเดอร์ที่มี win rate 60% จะมีโอกาส 2.5% ที่จะเกิดภาวะแพ้ติดต่อกัน 4 ครั้งรวด, แม้ว่าจะดูเหมือนโอกาส 2.5% นั้นไม่เยอะ แต่ด้วยโอกาสความน่าจะเป็น ถ้าคุณเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดนานๆ เมื่อปริมาณ ออเดอร์เยอะพอ เหตุการณ์นี้จะต้องเกิดแน่, และเมื่อเทรดเดอร์เผชิญกับภาวะแพ้ติดต่อกันแบบนั้น มักจะตีความกันว่า อยู่ในภาวะ “ตกต่ำ”

เทรดเดอร์บางคน ถึงกับกลัวภาวะตกต่ำนี้ เพราะเคยเห็นเทรดเดอร์คนอื่นในภาวะที่น่ากลัวนี้ พอร์ตติดลบหนัก หรือ แม้แต่โดนไล่ออกจากอาชีพเทรดเดอร์, จึงทำให้คอยกังวลว่าผลงานตัวเองสักวันจะแย่ ซึ่งยิ่งทำให้คำทำนายว่า “เทรดเดอร์ทุกคนจะมีช่วงที่ตำต่ำ” เป็นจริงง่ายยิ่งขึ้นไปอีก

เมื่อเทรดเดอร์อยู่ในภาวะตำต่ำ คำถามแรกที่จะผุดขึ้นมาในใจคือ “ฉันทำอะไรผิด” ซึ่งคำถามนี้แม้เกิดจากความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหา คือ พยายามหาที่มาของปัญหา แต่บางครั้ง คำถามว่า “ทำอะไรผิด” นี้เองที่ทำให้เกิดปัญหาที่แท้จริง, จิตใจของเทรดเดอร์นั้น ไปยึดติดกับคำว่า “ปัญหา” มากเกินไป จนลืมคิดถึง “ความแข็งแกร่ง” ของตัวเองที่เป็นตัวนำพาพวกเขามาถึงจุดที่ประสบความสำเร็จตรงนั้น

เพราะเหตุผลนี้ คำถามที่สำคัญที่สุดในภาวะตกต่ำคือ “อะไรคือสิ่งที่ฉันทำได้ดี” “อะไรคือจุดแข็งของฉันที่คนอื่นไม่มี” หรือ “อะไรคือสิ่งที่นำพาฉันให้ก้าวหน้ามาถึงตรงนี้ได้”

แบบเดียวกับที่เห็น เทรดเดอร์ที่กำลังชนะติดต่อกันเยอะๆ จะเริ่มเล่นนอกเกมที่ถนัดของพวกเขา, เมื่อเทรดเดอร์แพ้ติดต่อกันเยอะๆ ก็จะเริ่มมีปัญหากับการตัดสินใจ และ จิตวิทยาพื้นฐาน, วิธีแก้ที่ถูกต้องสำหรับทั้งสองกรณี (ทั้งชนะเยอะ และ แพ้เยอะ จนออกนอกเส้นทาง) คือ ให้โฟกัสไปที่การพัฒนา และ ย้อนกลับไปที่พื้นฐาน, ให้ย้อนกลับมาใช้ “ความแข็งแกร่งเฉพาะตัว” ของคุณ เมื่อคุณกำลังรู้สึกผิดปกติ, ด้วยวิธีนี้คุณจะหลีกเลี่ยงได้ทั้ง มั่นใจเกินไป และ ขาดความมั่นใจ ซึ่งเกิดจากการชนะหรือแพ้ติดต่อกัน ที่เป็นผลมาจากโอกาสความน่าจะเป็นล้วนๆ นี่เป็นตัวอย่างคำถามที่จะช่วยให้เราโฟกัสอยู่บนความแข็งแกร่งเฉพาะตัวของเราได้

ตลาดไหนที่เราเทรดแล้วประสบความสำเร็จ

Time Frame ไหน (รวมถึงระยะเวลาที่ถือนานแค่ไหน) ที่ประสบความสำเร็จ

ช่วงเวลาไหน ในหนึ่งวัน ที่รู้สึกว่าชนะบ่อยสุด

สัญญาณและแผนการเทรดไหนที่ใช้แล้วชนะบ่อยที่สุด

เล่นสั้นกับเล่นยาว อันไหนทำให้กำไรดีกว่ากัน สำหรับคุณ

ขนาดของออเดอร์ และ Stop Loss แบบไหนที่เข้ากับคุณที่สุด

การเตรียมตัวแบบไหน ที่คุณจะทำตอนที่อยู่ในภาวะที่พร้อมที่สุด

ในภาวะที่คุณเทรดได้ดี คุณรับมือกับการแพ้อย่างไร

 

แนวคิดหลักคือให้รับมือกับภาวะตกต่ำนี้ โดยการกลับมาเล่นในเกมที่คุณทำได้ดี ซึ่งมายความว่า คุณจะต้องคอยเก็บสถิติมาตลอดอายุการเทรดของคุณ และ ระหว่างทางต้องคอยตรวจสอบ เพื่อระบุว่า ภาวะไหนจะส่งเสริม ความเจิดจรัส ของคุณได้ดีที่สุด, ซึ่งความเจิดจรัสนี้ จะเกิดจาก พรสวรรค์ ทักษะ ความสนใจ และ โอกาส ของคุณเอง

มันยากที่จะอยู่ในวินัย และ ขยันต่อไปอย่าเคย เมื่อทุกอย่างในชีวิตไปได้สวยและง่ายไปหมด, ทางกลับกัน มันก็ยากที่จะโฟกัส “วิธีแก้ปัญหา” เมื่อเกิดปัญหา, ถ้าคุณเอาแต่ถามคำถามว่า “ปัญหาเกิดจากอะไร” ก็จะทำให้จิตวิทยาของคุณโฟกัสผิดที่ และทำให้แก้ปัญหาหนักขึ้นไปอีก

ภาวะตกต่ำ นั้นจะอยู่แค่ชั่วคราว ถ้าคุณไม่ลืม “จุดแข็งที่ดีที่สุดของคุณ” และ ยืนหยัดฝ่าฟันร่วมกับมัน ดังที่คุณเคยทำมาในอดีต

(Note ผู้แปล : พูดง่ายๆคือ เวลาเกิดภาวะตกต่ำ อย่าไปพยายามหาว่าทำอะไรผิด แต่ให้คิดว่า เราเคยทำอะไรถูก ถนัดอะไรแทน แล้วก็กลับมาทำในสิ่งเหล่านั้นแทนจนกว่าจะผ่านพ้นภาวะตกต่ำนั้นไป)

 

Part 7 : วิธีทำงานของ เทรดเดอร์ชั้นนำ

ต้นฉบับ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger / www.brettsteenbarger.com

Image Credit : google.com, keyword : VAR

สัปดาห์นี้ ผม (Dr. Brett S.) ต้องติดต่องานกับองค์กรเทรดต่างๆ จึงต้องพบเจอกับ บริษัทเทรดชั้นนำ รวมทั้ง ตัวเทรดเดอร์มือเอกของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามาก, ผมมีข้อสังเกตหลายอันที่ผมเห็นด้วยตาตัวเองมาในหลายวันนี้

  1. เทรดเดอร์ชั้นนำ จำนวนมากจะติดตาม และเทรดในตลาดหลายๆ แห่ง, พวกเขาจะไปยังที่ที่โอกาสกำลังเกิดขึ้น ณ ตอนนั้น, ถ้าขณะใดขณะหนึ่งตลาดหนึ่งกำลังเงียบเหงา ไร้ Volume พวกเขาก็ยังมีตลาดอื่นให้มอง, แตกต่างจากเทรดเดอร์มือใหม่ รายย่อย ที่จะปักหลักอยู่ที่ตลาดแห่งเดียว แต่จะเทรดปริมาณเยอะขึ้นเพื่อพยายามทำให้บัญชีเล็กเติบโตขึ้นได้ แม้ในภาวะที่ตลาดเดิมเหือดแห้ง, เทรดเดอร์มืออาชีพจะมีมุมมองต่อตลาดแบบมุมอง ภาพใหญ่ สู่ภาพย่อย ที่ครอบคลุม (มองภาพจากแนวโน้มของเศรษฐกิจใหญ่ หรือ ทั้งกลุ่มธุรกิจ แล้ว ไปดูบริษัทแต่ละอัน) และพวกเขาจะมีแบบแผน วิธีมองตลาดที่ชัดเจนเพราะทำจนชิน ซึ่งเทรดเดอร์ที่ไร้ประสบการณ์จะไม่มีเรื่องนี้
  2. เทรดเดอร์ชั้นนำ จำนวนมาก จะมองภาพรวม, เนื่องจากพวกเขาติดตามตลาดหลายๆแห่ง พวกเขาจึงระวังความสำพันธ์ระหว่างตลาดเหล่านั้น, สิ่งนี้ทำให้พวกเขาพัฒนาแนวคิดที่เชื่อมตลาดทั้งหลายเข้าด้วยกัน สร้างภาพใหญ่ขึ้นมาเป็นหนึ่งเดียว, ตัวอย่างที่ชัดมากคือ การรู้ว่า อัตราดอกเบี้ยรอบโลกเป็นอย่างไร ที่ไหนถูก ที่ไหนแพง จึงทำให้เห็นง่ายมาก ว่าเงินจะไหลจากไหนไปสู่ที่ไหน, อีกตัวอย่างคือ การรู้ว่าสินทรัพย์หนึ่ง ถูกตั้งราคาไว้เท่านี้ แล้วถ้าเทียบกับสินทรัพย์เดียวกันที่ตลาดอื่น พบว่าราคาไม่ตรงกัน ก็จะเห็นโอกาส, เทรดเดอร์มือใหม่ มักจะเพ่งอยู่กับรูปแบบเล็กๆ จนทำให้ลืมมองสิ่งแวดล้อมข้างๆ ทำให้ขาดการมองภาพใหญ่ และ ไม่มีความคิดเกี่ยวกับราคาที่เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสมแบบที่มืออาชีพมอง
  3. ทุกบริษัทเทรดชั้นนำ มีตำแหน่ง “ผู้จัดการความเสี่ยง” ซึ่งจะคอยติดตามผลงานของ เทรดเดอร์แต่ละคน และ ผลงานรวมของทั้งบริษัท, ผู้จัดการความเสี่ยง จะช่วยปรับขนาดของออเดอร์ ตามความหมาะสมสำหรับเทรดเดอร์แต่ละคน และ จะมีส่วนสำคัญอย่างมาก ในช่วงที่เทรดเดอร์เข้าสู่ภาวะตกต่ำ , หน้าที่บริหารความเสี่ยงนี้หากจะให้เทรดเดอร์แต่ละคนทำด้วยตัวเอง มันจะยากมาก, แต่เทรดเดอร์ระดับมือเอก ก็จะพยายามใช้เวลา และ ความพยายามค่อนข้างเยอะในการบริหารความเสี่ยงนี้ด้วยตัวเองพวกเขาจะรู้ว่าต้องการกำไรสำหรับแต่ลออเดอร์เท่าไหร่ แล้วก็จะใช้ความเสี่ยงที่เหมาะสมลงไป, เป็นเรื่องปกติที่จะเห็น “เทรดเดอร์เล็กๆ จะใช้ความเสี่ยงที่มากกว่า เทรดเดอร์ใหญ่ๆ” (Note ผู้แปล : ตัวอย่างเช่น พอร์ตทุนเท่ากัน มือใหม่มักจะอยากเทรด Lot หนักมากกว่ากันเยอะ เทียบกับมืออาชีพ)
  4. เทรดเดอร์ชั้นนำ จำนวนมาก หวังไม่เว่อร์ (มีเป้าเติบโตที่สมเหตุสมผล) , เรื่องนี้น่าสนใจมาก ผมไม่เคยได้ยินเทรดเดอร์มืออาชีพคุยกันว่า ตั้งเป้าจะทำให้ทุนโตขึ้นเป็นสามเท่าในหนึ่งปี, แต่เป้าหมายขนาดนี้จะได้ยินจาก เทรดเดอร์เล็ก ที่รู้สึกหลังชนฝา จนต้องมีเป้าขนาดนี้เพื่อให้รอดต่อไป และใช้ความเสี่ยงระดับสูงแบบนี้, เทรดเดอร์ชั้นนำ จะมุ่งเน้นอยู่ที่ “ความยั่งยืน” และ ชอบผลตอบแทนที่มาจาก ความเสี่ยงที่ปรับแล้ว, ผมไม่เคยเจอ เทรดเดอร์เล็ก สนใจเรื่อง การปรับความเสี่ยง หรือ Sharp Ratio ของเขา, ยกตัวอย่างเช่น ผมไม่คิดว่า เทรดเดอร์มือใหม่ สามารถอธิบายถึง หลักการของ VAR คืออะไรด้วยซ้ำไป
    (Note ผู้แปล : VAR : Value at Risk , ขออนุญาตอธิบายคร่าวๆด้วยความเข้าใจอันมีน้อยนิดของผมว่า VAR คือ ค่า(Value) ที่จะมีโอกาสเสี่ยง(Risk) ที่จะสูญเสียไปในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ถ้าพอร์ตเรามี 5% VAR ที่จะเสีย 1ล้าน ในหนึ่งวัน หมายความว่า ในหนึ่งวันพอร์ตเราจะมีโอกาสเสียเงินหนึ่งล้านเป็นโอกาส 5% (โดยเงินทุนรวมในพอร์ตคงจะมีมากกว่า 1 ล้าน เช่นอาจจะมี 500 ล้าน) หรือ กล่าวอีกมุมว่า ตัวเลขนี้แสดงถึงว่า พอร์ตเรามีโอกาสที่จะเสียเงิน 1 ล้าน ภายใน 1 วัน ถ้าเราเทรดติดต่อกัน 20 วัน (1 / 20 = 5% ), ซึ่งค่า VAR นี้นิยมใช้กันมากใน การประเมินความเสี่ยง, ในหนังเรื่อง “Margin Call” ที่พูดถึงกราฟอันหนึ่งไว้ว่า ความเสี่ยงของบริษัท LEHMAN-BROTHERS ได้เกินขอบเขตที่รับได้ของกราฟไปแล้ว อันเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของบริษัทนี้ และ นำไปสู่ Hamburger Crisis ของอเมริกา ในหนังไม่ได้อธิบายว่ากราฟอะไร แต่น่าจะเกี่ยวข้องกับค่านี้ด้วย)
  5. เทรดเดอร์ชั้นนำ จำนวนมาก ใช้จิตวิทยาเป็นจุดแข็งของตัวเอง , เทรดเดอร์มือใหม่มักจะไม่มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาการเทรด, ปกติแล้ว ถ้าเทรดเดอร์ขาด วินัย, การคุมอารมณ์, ฯลฯ พวกเขาก็จะไม่ได้เข้าทำงานในบริษัทเทรดดีๆด้วยซ้ำไป, ที่จริง แม้แต่เทรดเดอร์ที่ยอดเยี่ยม ก็จะมีวัน Draw Down เช่นกัน, แต่พวกเขาจะฝ่าฟันมันไปโดยมุ่งเน้นหาจุดแข็งของตัวเอง (Note ผู้แปล : เหมือนที่พูดถึงไว้ใน บทแปลจิตวิทยาตอนที่ 6 ว่าจะฝ่าฟันช่วงตกต่ำไปได้ ต้องหาจุดแข็งไม่ใช่จมอยู่กับจุดอ่อนและปัญหา) ไม่ใช่พยายามฝ่าโดยการไปพัฒนาอะไรง่ายๆเช่น แผนการเทรดใหม่ๆ, จุดแข็งที่สำคัญนั้นแหละ ที่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ จิตวิทยาการเทรด ซึ่งมือใหม่ไม่มี, “เมื่อผลการเทรดแย่ลง ต้องคิดบวกให้มากขึ้น” นี่แหละคือสิ่งที่มือใหม่ ไม่เข้าใจกัน

บทสรุป : สุดท้ายแล้ว สิ่งที่จะแยกระหว่าง เทรดเดอร์มืออาชีพ กับ มือใหม่ ออกจากกันคือ “วิธีทำงาน” ไม่ใช่ “แผนการเข้าออก”, ถ้าอยากจะเป็นมืออาชีพ ก็ต้องทำงานแบบที่มืออาชีพทำกัน, เทรดเดอร์ชั้นเยี่ยมที่ผมรู้จัก จะใช้เวลาค่อนข้างเยอะในเรื่อง ศึกษาตลาด, สร้างภาพรวมการเทรด และ ติดตามความเป็นไปรอบโลก, เราอาจจะวัด ความเป็นมืออาชีพ ได้จาก อัตราส่วนของเวลาที่ใช้ ระหว่าง เวลาเตรียมตัว กับ เวลาเทรดจริง, เทรดเดอร์ที่เก่งที่สุด ก็เหมือน นักกีฬาที่เก่งที่สุด คือ พวกเขาจะใช้เวลาในการฝึก ขัดเกลาฝีมือตลอดเวลา นอกเวลาแข่งขัน, และระหว่างการฝึกฝน พวกเขาไม่เพียงแค่ใช้ จิตวิทยาในการพัฒนาผลการฝึก แต่พวกเขาถึงขั้นมีจิตวิทยาว่า การพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมืออาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปเลย

 

Part 8 : เมื่อกังวลว่าเทรดได้ไม่ดี

ต้นฉบับ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger / www.brettsteenbarger.com

Image Credit : google.com, keyword : Anxiety

 

มีปัญหาอยู่อันหนึ่งเป็นปัญหาโลกแตก สำหรับเทรดเดอร์ทุกคน ไม่ว่าจะป็นเทรดเดอร์ใหญ่ในธนาคารแห่งชาติ หรือ เทรดเดอร์อิสระ Part-time ก็ตาม ก็จะมีปัญหา “ความกังวล เรื่องผลงาน”

ความกังวลเรื่องผลงาน มีผลกระทบโดยตรงต่อฝีมือ แม้แต่กับคนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ไม่ว่าในสาขา กีฬา, ศิลปะการแสดง, และ เกมใช้ทักษะสูง เช่น หมากรุก หรือ โปกเกอร์, ผลกระทบมันจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความตระหนักในความสำคัญของการกระทำตอนนั้น ซึ่งจะไปส่งผลรบกวนผลงานหรือฝีมือดั้งเดิม

ฝีมือ หรือทักษะในการแข่งขันระดับสูงนั้น ปกติแล้วต้องฝึกกันให้อยู่ในระดับ “อัตโนมัติ” ที่เหนือกว่าขั้น “ความรู้ตัว”, ซึ่งความเป็นอัตโนมัตินี้ จะยิ่งสำคัญ ถ้าเป็นการแข่งขันที่ใช้ความเร็วสูง เช่น รถแข่ง, นักบินรบ, นักกีฬาเบสบอล ตำแหน่งตีลูก และ เทรดเดอร์เทรดสั้น, เมื่อนักกีฬา ไปโฟกัสกับความสำคัญของผลลัพธ์มาก ก็จะนำไปสู่การดึงเอา “ความรู้ตัว” ขึ้นมาแทนที่เหนือ ความเป็น “อัตโนมัติ” , จึงกลายเป็นว่า ผลงาน (ที่ปกติเกิดจาก อัตโนมัติล้วนๆ) ถูกรบกวนเต็มๆนั้นเอง

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนคือ นักกีฬาบาสเก็ตบอกที่ กำลังยิงลูกโทษ ตอนวินาทีสุดท้ายของเกม ที่เป็นลูกที่ตัดสินแพ้ชนะทั้งเกมเลย หรือนักกอล์ฟที่กำลังพัตต์ลูกตัดสินแพ้ชนะทั้งทัวนาเมนท์, การตะหนักถึงความสำคัญของผลลัพธ์ของลูกสำคัญนั้น ทำให้นักกีฬา เล็งลูกอย่างระมัดระวังมากขึ้นเป็นพิเศษ จึงทำให้ผิดเพี้ยนจากท่าธรรมชาติปกติโดยสิ้นเชิง, เทียบเคียงแบบเดียวกัน สำหรับการเทรด เทรดเดอร์จะคิดมากเกิน ระวังตัวมากเกิน ทำให้ไม่กล้าเทรดแบบธรรมชาติ ซึ่งมักจะทำให้ไม่กล้าเข้าด้วยสัญญาณที่ปกติกล้าเข้า จึงทำให้พลาดโอกาสไปจำนวนมาก, การไปลด ความเสี่ยง (จากที่คำนวณไว้แล้วว่าเหมาะสม) ย่อมทำให้ โอกาสได้ รางวัลลดลงตาม ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ผลงาน

แล้วอะไรคือสาเหตุของ “ความกังวล เรื่องผลงาน” นี้ ? มันเกิดได้จากสาเหตุมากมาย เช่น การเทรดเสียหนึ่งออเดอร์ แล้วก็กังวลว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตกต่ำ จึงกลายเป็นปัญหาจริงๆตามมา, หรือ เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น ย้ายบริษัทหลักทรัพย์ จึงใจร้อนอยากจะสร้างผลงาน สร้างความประทับใจให้บริษัทใหม่, การมีลูก ซึ่งทำให้ตระหนักถึงภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้น หรือแม้แต่ การปรับเปลี่ยนขนาดของออเดอร์, เปลี่ยนความเสี่ยง ก็ตาม, การไปโฟกัสว่ามีการเปลี่ยนแปลงพวกนี้จะทำให้อารมณ์ บรรยากาศ และความรู้สึกของเทรดเดอร์เปลี่ยนไป, ซึ่งจะเป็นชนวนในการเกิดความกังวลต่อมา

มันมีเทคนิคหลายอันที่จะเอาชนะ “ความกังวล เรื่องผลงาน” นี้, แต่ก่อนที่ผม (Dr. Brett) จะนำเสนอให้ทุกท่านอ่าน ผมก็อยากจะได้รับการตอบสนองจากผู้อ่าน โดยอยากให้คอมเมนท์วิธีของท่านเองก่อน (Note ผู้แปล : ผู้แต่งเขาเลือกใช้เทคนิค ให้ผู้อ่านมีส่วนร่วม ซึ่งผมก็ชอบ และเห็นด้วย, ผุ้อ่าน(คนไทย) สามารถที่จะเขียนคอมเมนท์ในหน้านี้ บริเวณด้านล่างของหน้าได้เลยครับ)

ความกังวลเรื่องผลงาน เป็นสิ่งท้าทายอย่างหนึ่ง ที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเจอ ณจุดใดจุดหนึ่ง หากเลือกเดินเส้นทางสายเทรด, สิ่งที่สำคัญก็คืออย่าปล่อยให้ความกังวล กลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา, คำใบ้ที่จะทำให้คุณผ่านไปได้ก็เช่น ความเชื่อมั่นในตัวเอง, อย่าสงสัยในตัวเอง, ความแข็งแกร่งของจิตใจ เป็นต้น, หากคุณเดินทางมาได้ไกลพอ ด้วยฝีมือของคุณแล้ว ก้าวต่อไปของคุณ มันก็แค่อีกก้าว, ออเดอร์ต่อไปของคุณ ก็เป็นแค่หนึ่งออเดอร์แค่นั้น ถ้าคุณเล่นตามแผน เทรดตาม Money management แล้ว แค่หนึ่งออเดอร์คงจะไม่ถึงกับเปลี่ยนชีวิตของคุณทั้งชีวิตหรอก จริงไหม ?

 

Part 9 : การเสพติดการเทรด

ต้นฉบับ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger / www.brettsteenbarger.com 

การเสพติดการเทรด ก่อนที่เราจะไปสู่เรื่อง การเสพติดการเทรด, ผมจะอธิบายว่า นักจิตวิทยา จะประเมินปัญหาการเสพติดแอลกอฮอล์จากผู้เสพติดอย่างไร, นี่เป็นคำถามที่มักจะใช้กันในการประเมินการเสพติดแอลกอฮอล์

1.คุณพบว่าการดื่มเหล้าของคุณ นำปสู่เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

2.คุณเคยรู้สึกผิดกับการดื่มของคุณ

3.คุณต้องการจะดื่มในปริมาณที่มากเกินจุดที่ทำให้รู้สึกดี

4.คุณรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไป เมื่อดื่มมากเกินขนาดพอดี

5.คุณรู้สึกว่า มันยากที่จะหยุดพักการดื่ม, แม้ว่าลึกๆแล้วจะรู้ว่า ตรงไหนที่จะดื่มพอดีและควรหยุดตรงนั้น

6.คุณดื่มเพราะมันทำให้คุณรู้สึกดี รู้สึกว่าคุณมีค่าอีกครั้ง

7.คุณไม่สามารถควบคุมได้ว่าคุณควรจะดื่มเท่าไหร่ในบางครั้ง

8.คุณรู้สึกโกรธถ้ามีคนถามเกี่ยวกับการดื่มของคุณ

9.คุณสัญญากับตัวเองว่า จะดื่มปริมาณแค่นั้น เพื่อให้ได้ไปดื่ม, แต่สุดท้ายก็ดื่มมากกว่าที่สัญญาไว้

10.คุณจะดื่มทุกครั้งที่มีจังหวะให้ดิ่ม แม้ว่าความจริงแล้วไม่ควรดื่มในสถานการณ์นั้น

สำหรับหัวข้อ การเสพติดการเทรด : เปลี่ยนคำถามข้างบน ทั้งหลายจาก "การดิ่ม" เป็น "การเทรด" ก็จะได้ดังนี้

1b.คุณพบว่าการเทรดของคุณ นำปสู่เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

2b.คุณเคยรู้สึกผิดกับการเทรดของคุณ

3b.คุณต้องการจะเทรดในปริมาณที่มากเกินจุดที่ทำให้รู้สึกดี

4b.คุณรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไป เมื่อเทรดมากเกินขนาดพอดี

5b.คุณรู้สึกว่า มันยากที่จะหยุดพักการเทรด, แม้ว่าลึกๆแล้วจะรู้ว่า ตรงไหนที่จะเทรดพอดีและควรหยุดตรงนั้น

6b.คุณเทรดเพราะมันทำให้คุณรู้สึกดี รู้สึกว่าคุณมีค่าอีกครั้ง

7b.คุณไม่สามารถควบคุมได้ว่าคุณควรจะเทรดเท่าไหร่ในบางครั้ง

8b.คุณรู้สึกโกรธถ้ามีคนถามเกี่ยวกับการเทรดของคุณ

9b.คุณสัญญากับตัวเองว่า จะเทรดปริมาณแค่นั้น เพื่อให้ได้ไปดิ่ม, แต่สุดท้ายก็เทรดมากกว่าที่สัญญาไว้

10b.คุณจะเทรดทุกครั้งที่มีจังหวะให้เทรด แม้ว่าความจริงแล้วไม่ควรเทรดในสถานการณ์นั้น

เป็นที่ยอมรับกันว่า ความกลัว และ ความโลภ เป็นปัจจัยที่จะกระทบต่อการเทรด, แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของการเทรดที่ผมพบในฐานะนักจิตวิทยา คือ "การเสพติดการเทรด",

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จต้องการที่จะเทรด จะมี "ความรัก" ต่อการเทรด คือทำด้วยความเข้าใจ ยอมรับทั้งข้อดีและข้อเสียของการเทรด โดยเฉพาะการเข้าใจว่าแพ้เป็นส่วนหนึ่งของการเทรด,

ส่วนเทรดเดอร์ที่เสพติดการเทรดจะมี "ความหลง" ในการเทรด คือคิดถึงการเทรดในลักษณะอยากจะ"ทำ" เพราะมันตื่นเต้น ติดใจในการได้เทรด, เทรดเดอร์ที่อยู่ในภาวะเสพติด จะไม่ยอมบริหารความเสี่ยง จะใช้ความเสี่ยงที่สูงมาก เพราะความเสี่ยงและความตื่นเต้น คือสิ่งที่พวกเขากำลังมองหา ไม่ได้ทำเพราะเป็นหน้าที่, พวกเขาจะไม่ยอมหยุดเทรด แม้ว่าจะเสียเงิน เพราะเป้าหมายของพวกเขาคือการ "ได้เทรด" ไม่ใช่"กำไร", ผู้เสพติด จะมีวงจรที่วนอยู่ระหว่าง รู้จักผิดชอบชั่วดี กับ ขาดความรู้สึกผิดแล้วเข้ากระทำ เทรดเดอร์ที่ดีจะเทรดอย่างสม่ำเสมอ, ผู้เสพติดการเทรด จะเทรดอย่างเยอะเกินพอดี

เมื่อคุณแยกออกระหว่างสองประเภทนี้แล้วก็ให้ทำในสิ่งที่ควรทำ ก่อนที่การเสพติดจะทำลายชีวิตการเทรดของคุณ และ ผู้ที่ฝากชีวิตไว้กับคุณ, คุณเปลี่ยนแปลงมันได้ ! จงรักษาสมดุลระหว่างการเทรด กับความสุขในชีวิตเถอะ !

 

Part 10 : แนวคิดของ เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ

ต้นฉบับ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger / www.brettsteenbarger.com

 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมภาษณ์ ดร.Brett S. โดยนิตยาสาร SFO (Stock, Futures and Options) Gail Osten เป็นผู้สัมภาษณ์, ภายใต้บทความชื่อ“The Windmills of Your Mind and the Pathway to Your Trades”

 

Gail Osten: ช่วยบอกหน่อยว่า เทรดเดอร์สามารถพัฒนาการเทรดของตัวเอง โดยการโฟกัสในสิ่งที่ตัวเองทำได้ดี, เพราะเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ชอบโฟกัสในสิ่งที่ตัวเองทำพลาด, รวมทั้งความสำคัญเกี่ยวกับการบันทึกการเทรดสักเล็กน้อย

Brett Steenbarger: หัวใจของการบำบัดแบบ “โฟกัสที่การแก้ปัญหา” คือ ให้ตรวจสอบว่า คุณกำลังทำอะไร เมื่อคุณมุ่งหน้าสู่เป้าหมายของคุณ, ตอนที่คุณทำเป้าหมายสำเร็จ คุณทำอะไรบ้าง? การกระทำไหนที่ทำให้คุณสำเร็จ? คุณอยากจะระบุสิ่งนั้นให้ได้ (สิ่งที่คุณทำได้ดี จนทำให้คุณสำเร็จ) เพื่อที่ว่าคุณจะได้ทำสิ่งนั้นๆ มากขึ้นอีก ซึ่งจะทำให้คุณทำในสิ่งที่เหมาะกับคุณมากขึ้นเรื่อยๆ, ผมคิดว่าหลักการนี้ ใช้ได้ดีกับการเทรดเช่นเดียวกัน ซึ่งเราได้เรียนรู้มาจาก เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ว่าเขาก็ใช้วิธีนี้, เช่นที่ผมตรวจสอบการเทรด โยการระบุรายละเอียดของการเทรด เช่น ความยาวนานในการถือออเดอร์, ช่วงเวลาของวันในการเข้าออเดอร์, ขนาดของออเดอร์โดยเฉลี่ย ก็จะเห็นได้ว่า การเทรดแบบไหนที่ ผมทำได้ดี และ แบบไหนไม่ดี,

(Note ผู้แปล : Dr. Brett ไม่ได้พูดถึงความสำคัญของการบันทึกตรงๆ แต่ก็จะเห็นได้จากคำพูดว่า ถ้าไม่เคยมีการบันทึกการเทรด จะไม่สามารถวิเคราะห์ได้เลย ว่ารูปแบบการเทรดไหนที่เราทำได้ดี และ ทำได้ไม่ดี, ดังนั้น การบันทึกการเทรดจึงเป็นเหมือนบันไดขั้นแรกสู่การพัฒนา)

อีกสิ่งที่ช่วยทำให้พัฒนาได้มากเลย สำหรับผม, และผมคิดว่าเทรดเดอร์ท่านอื่นก็น่าจะเหมือนกัน, คือ การที่เลิกโทษตัวเองเมื่อแพ้ และ เข้าใจว่าการสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจทุกชนิด และ ไม่ต้องไปยึดติดกับมัน แต่ให้ไปโฟกัสที่การเทรดที่เราชนะ และ ศึกษามันออกมาว่า ทำไมถึงชนะ และ ก็ทำในสิ่งเหล่านั้นให้มากขึ้น

Gail Osten: อืม, ฟังดูเหมือน วิธีที่ใช้กันในการเติบโตของ อาณาจักรธุรกิจใหญ่ๆ คือ การบริหารความสูญเสีย โดยเข้าใจว่า มันเป็นค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจที่เลี่ยงไม่ได้

Brett Steenbarger: ใช่แล้ว, ผมคิดว่า มันคือ แนวคิดที่สำคัญ ที่จะช่วยได้เยอะ, ถ้าคุณเป็นนักกีฬา บาสเก็ตบอล แม้ว่าคุณจะเก่ง แต่คุณก็จะยิงพลาดจำนวนครึ่งหนึ่ง, ถ้าคุณเป็น นักกีฬา เบสบอล แม้ว่าคุณจะเก่ง คุณก็จะ Out มากกว่าตีโดน และ walk, ดังนั้น คุณจะต้องเข้าใจว่าการพลาดเป็นส่วนหนึ่งของเกม และ ไม่ไปยึดติดว่ามันเป็นความล้มเหลวของคุณ, แนวคิดหลักคือ ต้องได้โอกาสที่ดีในการเล่น เลือกเข้าทำ (ยิง/ตีลูก) เมื่อโอกาสสวย ซึ่งถ้าทำแบบนี้ความน่าจะเป็นจะเข้ามาช่วยคุณในระยะยาว, ซึ่งหลักการนี้ใช้ได้เหมือนกันในการเทรด, ฉะนั้นถ้าคุณเลิกโทษตัวเองว่าคุณพลาด แล้วมาโฟกัสในสิ่งที่คุณทำได้ถูก ทำได้ดี แล้วก็ทำมันต่อไปมากขึ้นเรื่อยๆ ความน่าจะเป็นก็จะเข้ามาช่วยให้คุณ มีโอกาสชนะการเทรดมากขึ้น เทรดได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก

 

Part 11 : การเทรดสอนอะไรให้ชีวิตประจำวัน

 

การเทรด เปรียบเสมือนการเร่งเวลา ของชีวิตคน, ภายในเวลาหลักนาที การเทรดจะรวมความท้าทายที่มนุษย์ต้องเจอตลอดชีวิต มาทดสอบ ตั้งแต่ ความจำเป็นที่ต้องตัดสินสิ่งต่างๆ, วางแผน และ การประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆ ภายใต้สภาวะที่มีความเสี่ยง และ ความไม่แน่นอน, ในการฝึกฝนการเทรด เราจำเป็นที่จะต้องเผชิญหน้ากับตัวเอง และ เอาชนะตัวเอง, ในชีวิตจริงเองก็มีเรื่องราวที่ ได้รางวัลเมื่อเราพัฒนาตัวเองสำเร็จ และ มีบทลงโทษเมื่อขาดการพัฒนาตนเองอยู่ตลอด

มีบทเรียนชีวิตมากมาย ที่เราสามารถสะท้อนออกมาจากการเทรด เช่น

1. ต้องมี การวาง Stop-Loss ในทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น การงาน, ความสัมพันธ์, และ เรื่องส่วนบุคคล, คนที่ประสบความสำเร็จ จะรู้จักตัดเรื่องที่กำลังล้มเหลวทิ้งไป และ ทำต่อในเรื่องที่กำลังสำเร็จไปได้ด้วยดี

2. การใช้ความหลากหลาย เป็นเรื่องที่มักจะได้ผล ทั้งในเรื่องของชีวิต และ การเทรด, การบริหารความเสี่ยง โดยการใช้ทรัพยาการจากหลายๆแหล่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เป็นวิธีที่ดี ไม่ว่าจะใช้กับแง่มุมใดของชีวิต

3. ไม่ว่าจะเป็นในชีวิต หรือในตลาด, การเปลี่ยนแปลง จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้ที่เตรียมตัวล่วงหน้าอย่างดี, การไม่วางแผน เท่ากับ กำลังวางแผนสู่ความล้มเหลวนั่นเอง

4. การประสบความสำเร็จในการเทรดและชีวิต มาจากการรู้ข้อได้เปรียบของตัวเอง, เมื่อโอกาสมาถึง ต้องผลักดันความได้เปรียบนั้นออกมา และ ใช้ให้เต็มที่, และ เมื่อความได้เปรียบนั้นหมดไป ก็ให้นั่งรอเฉยๆต่อไป

5. Risk (ความเสี่ยง) และ Reward (ผลตอบแทน) นั้น มาคู่กันเสมอ, ไม่ว่าจะเป็นชีวิตคน หรือ ในตลาด, การจะได้ผลตอบแทนที่ดีมา ต้องมีการบริหารความเสี่ยง อย่างพิถีพิถันก่อนเสมอ

6. ความสุข คือกำไรที่เราเก็บเกี่ยวจากชีวิตของเรา, กิจกรรมทุกอย่างในชีวิต ควรจะมีการทบทวนเป็นระยะๆว่า ผลตอบแทนที่ได้มาจากการลงทุนในเรื่องนั้น คุ้มค่าหรือไม่, เทียบกว่า การลงแรง ลงเวลากับเรื่องใดๆนั้น ให้ความสุขเราได้มากน้อยเพียงใด

7. จงอ้าแขนยอมรับการเปลี่ยนแปลง, เพราะแม้ว่า การเปลี่ยนแปลง จะ นำมาซึ่งความอันตราย แต่ก็จะมาพร้อมกับโอกาสด้วยเสมอ

8. ทุกแนวโน้ม และวัฎจักรจะมีที่สิ้นสุดเสมอ, ใครที่มีการประเมินอนาคตล่วงหน้าได้ดี จะได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้

9. ไม่ว่าจะเป็นในการเทรด หรือในชีวิต, การตัดสินใจที่เลวร้ายที่สุด จะมาจาก อย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง เชื่อมั่นมากเกินไป หรือ ขาดซึ่งความเชื่อมั่น

10. สูตรสำเร็จ ทั้งในวงการเงิน และ ชีวิต คือ อย่าถือการลงทุนใดๆ ที่ถ้าให้คุณซื้อใหม่ตอนนี้ คุณไม่อยากซื้อ

(Note ผู้แปล : นี่เป็นบทเรียนที่ ผุ้แต่งได้ให้ข้อคิดไว้กับ Trader Feed Site, หากนำข้อคิดเหล่านี้มาทบทวนดีๆ จะเห็นได้ว่าหลักการหลายๆอย่าง เป็นเรื่องที่ค่อนข้างชัดเจน แต่เราอาจจะลืมคิดไป และ เมื่อถึงเวลาก็ถูกอารมณ์ครอบงำ จนไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องอย่างที่ควรจะทำ, เหมือนกับตอนเทรดซึ่งขาดวินัยเพราะ ถูกอารมณ์ครอบงำ, ฉะนั้นในชีวิต ก็ต้องมีสติ และวินัย ที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า ไปกระทำตามสิ่งเร้าที่เข้ามายั่วยวนให้ดี)

 

Part 12 : การฟื้นฟูการเทรดของคุณจาก “แย่” ให้เป็น “เยี่ยม”

 

หมายเหตุ: บทความนี้เคยถูกเผยแพร่ไว้ที่ Trading Maket Site

ช่วงปลายปีของ 2-3 ปีที่ผ่านมา ผม,Dr. Brett, ได้สังเกตเห็นบางอย่างที่น่าสนใจ เกี่ยวกับหนังสือจิตวิทยาการเทรดของผม นั่นก็คือยอดขายของ Amazon ได้กระโดดขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ก่อนที่จะค่อยๆตกลงมา, สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับ Amazon, เมื่อไม่นานมานี้ ยอดขายของแอมะซอนมีปริมาณการขายเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นยอดขายรวมที่เพิ่มขึ้น จึงช่วยให้ยอดขายของหนังสือผมเพิ่มขึ้นด้วย แต่การกระโดดขึ้นของยอดขายหนังสือของผม มีรูปแบบที่พบว่ามีปริมาณการซื้อหนังสือมากในวันหยุด, เนื่องจากหนังสือของผมต่างก็ไม่ได้มีรสชาดดีเหมือนเค้กผลไม้ และก็ไม่สนุกที่จะเปิดเหมือนกระเช้าของขวัญ ผมจึงต้องทึกทัก ว่ามีแรงจูงใจอื่นๆ ที่มาทำให้ซื้อหนังสือช่วงปลายปีเหล่านี้

การคาดการณ์ที่ดีที่สุดของผมคือ ลูกค้ามีความกังวล, เหมือนกับผู้ค้าหลายคนที่ส่งอีเมล์มาให้ผม คือ ปีนี้พวกเขาประสบกับปีที่แย่ในการเทรดและอยากจะให้ปีหน้านั้นเป็นการเริ่มต้นที่ดีกว่า พวกเขามองว่าการให้ความสนใจกับจิตวิทยาของพวกเขาเป็นทางเลือกหนึ่งของการทำการปรับปรุงแก้ไข พวกเขาจึงคิดที่จะเริ่มต้นจากการหาความรู้โดยการอ่านหนังสือกัน

การแก้ปัญหา ไม่ได้จบที่แค่ การคิดจะแก้ปัญหาเค่นั้น, เราจะต้องจริงใจในการแก้ปัญหา ตั้งแต่หาสาเหตุของปัญหา วางแผนแก้ปัญหา มีระยะเวลากำหนดที่ชัดเจน และ การติดตามว่าทำได้, ทำไม่ได้ หรือ ไม่ได้ทำด้วย

จุดมุ่งหมายของผมในการเขียนบทความจิตวิทยาการเทรดก็เพื่อที่จะช่วยผู้อ่านทำการแก้ไขการเทรด และทำให้มีไฟในการแก้ไขปัญหาการเทรด สำหรับปีใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมกำลังจะลงมือทำจริงกับกลุ่มผู้ค้ามืออาชีพในเมืองชิคาโก และ ผมจะได้รับเกียรติในการเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูการเทรดของพวกเขา และ หวังว่าจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นของคุณด้วยเช่นกัน

(Note ผู้แปล : ผม, Rojer cmFX, เลือกจะแปลบทความนี้ในช่วงเวลานี้ เพราะ 2 เหตุผล. 1.มันเข้ากันได้ดีกับช่วงปีใหม่ ที่ผู้คนคิดจะสรรหาสิ่งใหม่ๆ ที่ดี และ แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดในปีที่แล้ว, ถ้าคุณพบว่าคุณไม่สามารถคุมวินัยในการเทรดของตัวเองได้แล้ว ปีใหม่นี้ก็จะเป็นจังหวะที่ดีในการ ฟื้นฟูการเทรด โดยการคุมวินัย และ จิตวิทยาการเทรดของคุณ 2.ดังจะเห็นได้ว่า นับวันผู้คนก็ยิ่งให้ความสำคัญกับจิตวิทยาการเทรดมากขึ้น ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ตัวผมเองคิดว่าสำคัญมากๆ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการตัดสินผลการเทรดของเรา, ปีใหม่นี้หวังว่าทุกสิ่งจะสมความปราถรนา และ การเทรดของทุกคนจะดียิ่งๆ ขึ้นไป ^_^)

 

Part 13 : ความรู้สึกของการควบคุม 

 

ผู้ค้าบางคนเข้ามาหาผมด้วยความโกรธและหัวเสีย บางคนอยู่ในอาการหดหู่ กังวลหรือสับสน สิ่งที่พวกเขาเผชิญร่วมกันคือความรู้สึกของการสูญเสียการควบคุมอันเนื่องมา จากการค้าของพวกเขา เราลองมาคิดดูในแง่ที่ว่า ถ้าคนบางคนรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจในการควบคุมบางสิ่งบางอย่างในชีวิต พวกเขาก็จะไม่มีทางรู้สึกหดหู่หรือกังวลกับสิ่งใดเลย ถ้าผมมีการควบคุมสุขภาพร่างกายที่ถูกต้องตามสุขลักษณะอยู่เสมอ ผมก็จะไม่พบกับความเจ็บป่วยหรือโรคภัยใดๆ ถ้าผมมีอำนาจในการควบคุมงบประมาณครอบครัว ค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น สิ่งที่เปลี่ยนความเครียด เป็นความเจ็บปวด คือ การรับรู้ว่าเราไม่สามารถควบคุมบางสิ่งบางอย่างที่มีความสำคัญต่อสภาพความ เป็นอยู่ที่ดีได้ ถ้าผมไม่สามารถมีอำนาจควบคุมชีวิตการแต่งงาน สุขภาพหรืออาชีพของผมแล้ว ผลลัพธ์อย่างแรก คือ ผมจะรู้สึกลำบากใจกับความสงสัยและความไม่แน่นอน ถ้าผมยังขาดการควบคุมสิ่งสำคัญอื่นๆ ในชีวิตอีก ความกังวลก็จะกลายเป็นความหดหู่ ความคิดที่ว่า “ผมไม่คิดว่าผมจะสามารถรับมือกับสิ่งนี้ได้” จะกลายเป็น “ผมรู้ดีว่าผมไม่สามารถรับมือกับสิ่งนี้ได้”

เป้าหมายอย่างแรก คือ ความสามารถในการควบคุม สิ่งนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกันทันทีกับทุกๆ ด้านของชีวิต แต่คุณจะสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นเมื่อคุณมองโลกในแง่ดีและมีความกระตือรือร้น นักจิตวิทยานามว่า Martin Seligmanกล่าวว่า ความหดหู่มาจากการเรียนรู้ภาวะของความสิ้นหวังซึ่งเป็นภาวะที่ไร้อำนาจ ตามปกติการใช้อำนาจส่วนบุคคลจะขจัดความรู้สึกสิ้นหวังนี้ไปได้เอง

กลยุทธ์ตามลำดับขั้นเพื่อให้มีอำนาจในการควบคุม เป็นความมุ่งมานะระยะยาว ผู้คนหลายคนที่จุดไฟจุดพลุกันช่วงปีใหม่ โดยหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปีหน้าอาจจะควบคุมเป้าหมาย ใหญ่ๆ เพียงเพื่อที่จะพบว่าตนเองรู้สึกหัวเสีย เพราะไม่สามารถทำสิ่งนั้นให้สำเร็จได้ในเร็ววัน ดังนั้น จึงเป็นดีกว่าที่จะกำหนดเป้าหมายให้เล็กลง และเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ง่ายๆ ที่คุณสามารถสร้างวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีเพื่อรับรู้ถึงเป้าหมายดังกล่าว ความพยายามที่จะควบคุมการแสดงออกถึงความมุ่งมานะในการต่อสู้ คือ ความพยายามที่จะไม่ให้เหตุการณ์ต่างๆ ครอบงำคุณ แม้ว่าความพยายามจะไม่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งโดยปกติมันมักเป็นเช่นนั้น แต่ถือได้ว่าสิ่งนี้คือกุญแจดอกหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตที่ยิ่งใหญ่กว่า

ตัวอย่างหนึ่งจาก Lance Armstrong ในหนังสือชื่อ It’s Not About the Bike เขาได้อธิบายรายละเอียดว่า เขาเป็นโรคมะเร็งลูกอัณฑะซึ่งเกิดจากอาชีพนักขี่จักรยานของเขา ข่าวร้าย คือ เขาเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายและมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังสองของเขา แม้ว่านักจิตวิทยาที่มองโลกในแง่ดียังสรุปว่า อาการของเขาแย่มากๆ และหลายคนบอกว่าอาชีพของเขาจะต้องจบลง เนื่องจากการบำบัดด้วยสารเคมีจะไปทำลายปอดของเขานั่นเอง

ในช่วงแรก Armstrong ควบคุมชีวิตของเขาด้วยการเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับโรคนี้ เขากลายเป็นคนไข้ที่ให้ความร่วมมือในกระบวนการบำบัดได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่เป็นคนไข้ที่ทำตามที่หมอสั่งโดยไม่มีความรู้ใดๆ ความรู้ที่เขาได้รับช่วยให้เขารวบรวมทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคอยช่วยเหลือในระหว่างการรักษาของเขา โดยรวมไปถึงนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงที่เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน เมื่อเขามีตัวเลือกสำหรับผู้ที่จะมาให้การบำบัดรักษา เขาเลือกนักฟิสิกส์ที่เข้าใจความรักในการขี่จักรยานของคนไข้และค้นหาการ บำบัดด้วยสารเคมีที่จะไม่ทำลายปอดของเขา ระหว่างดำเนินกระบวนการทางเคมี เขาปฏิเสธที่จะนั่งรถเข็นสำหรับผู้ป่วย แต่เขาเลือกที่จะเดินด้วยตัวของเขาเอง เมื่อพยายามให้ยาสำหรับปอดเพื่อทดสอบความจุปอด เขาจะเป่าด้วยความโกรธและบอกพยาบาลว่าไม่ต้องให้ยานี้อีก เขาไม่ได้ยอมแพ้ความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้ต่อโรคนี้ ด้วยการเริ่มจากควบคุมสิ่งเล็กๆ ไปยังสิ่งที่ใหญ่กว่า

การหาทางควบคุม

ถ้ามี “มะเร็ง” หรือปัญหาในชีวิตหรือการค้าขายของคุณ สิ่งนี้อาจจะยากพอๆ กับกรณีโรคร้ายของ Lance แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ต่างกันก็ตาม เพราะปัญหาไม่ได้สิ่งจะหมดไปข้ามคืนและอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงชีวิตด้วย อย่างไรก็ตาม การควบคุมของคุณมาจากการปฏิเสธที่จะให้โชคชะตากำหนดตัวคุณ คุณสามารถเรียนรู้ทุกอย่างที่เป็นไปได้สำหรับอุปสรรคในการค้าของคุณในแบบ เดียวกันกับ Lance ที่ได้เปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องมะเร็ง ดังนั้น คุณต้องเป็นตัวกระทำที่กระตือรือร้นในการพลิกฟื้นตัวคุณเอง ซึ่งการทบทวนผลลัพธ์ทางการค้าอย่างละเอียดถี่ถ้วนของคุณจะทำให้คุณทราบว่า คุณได้เงินมาจากส่วนไหนและเสียเงินไปกับส่วนไหน โดยสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การทำเช่นนี้จะทำให้คุณรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง บ่อยครั้งที่คุณจะพบว่าการกลับไปตรวจสอบสิ่งต่างๆ จะทำให้คุณทราบถึงความแตกต่างยามที่การค้ารุ่ง และตกต่ำ เมื่อเป็นเช่นนั้นคุณต้องเน้นความสนใจไปยังจุดบกพร่องของช่วงเวลาที่การค้า ไม่ราบรื่น หรือมีปัญหา เพราะนั่นจะทำให้ตระหนักว่าคุณจะต้องแก้ไขปัญหาตรงจุดไหน และคุณจะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร มากไปกว่านั้นคุณยังต้องให้ความสนใจกับช่วงเวลาที่การค้าเจริญรุ่งเรืองอีก ด้วย เพื่อค้นหาคำตอบว่าคุณเอาชนะคู่แข่งทางการค้าได้อย่างไร สิ่งใดคือ ความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาเหล่านี้ อะไรคือสิ่งที่คุณคิดต่างกัน และคุณสามารถทำสิ่งเหล่านี้ซ้ำต่อไปได้หรือไม่

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ค้าคนหนึ่งที่ผมทำงานด้วยรู้สึกท้อแท้กับการค้าของเขา เขารู้สึกว่าเขามีปัญหาทางการค้ามากมาย และเขาจำเป็นต้องไปทำมาหากินอย่างอื่นแทนอาชีพนี้ เมื่อพวกเราตรวจสอบประวัติการค้าขายของเขาแล้วพบว่า เขาได้ทำการค้าโดยยึดถือรูปแบบเดียวมาตลอด อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะสูญเสียเงินไปกับวันที่ไร้ทิศทาง หรือไม่มีแนวโน้มแน่นอน อันเป็นวันที่เขาเริ่มต้นได้แย่ตั้งแต่ช่วงเช้าแล้ว นอกจากนี้ เขายังได้เพิ่มขนาดไปเรื่อยๆ จนถึงตอนกลางวันและต้องเผชิญกับโอกาสอันน้อยนิด ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ การขาดทุนและความสูญเสียมากมาย กลยุทธ์เริ่มต้นที่พวกเราเสนอเกี่ยวกับการควบคุมนั้นง่ายมาก นั่นคือ การแบ่งการค้าในช่วงเช้าและช่วงกลางวันให้แยกส่วนออกจากกัน และกำหนดความสูญเสียสูงสุดที่รับได้ในแต่ละส่วนไว้ ซึ่งระดับดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นส่วนที่ค่อนข้างมากพอที่จะช่วยให้เขาทำการ ค้าได้ตามปกติ แต่อาจจะไม่เพียงพอที่จะช่วยป้องกันเขาจากการพลิกฟื้นจากการเริ่มต้นวันที่ แย่ได้ ท้ายที่สุด เราได้สร้างกฎเกณฑ์ว่า ขนาดตำแหน่งเริ่มต้นของเขาไม่ควรเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นสูงสุดหากเขาไม่มีความพร้อมเรื่องเงิน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เขาสามารถใช้ปริมาณสูงสุดได้ต่อเมื่อเขาค้าขายได้ดีเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ช่วงเวลาที่เขาอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการเอาคืนหรือแก้แค้น นอกจากนี้ ผมยังได้ช่วยเขาตรวจสอบกฎเกณฑ์ต่างๆ อีกด้วย และเมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน เขาเริ่มมีพฤติกรรมทางการค้าที่ดีขึ้น ไม่ต้องพบเจอกับวันที่ขาดทุนมหาศาลอีก และได้เห็นผลลัพธ์ของตัวเองในบรรทัดสุดท้าย ซึ่งช่วยเพิ่มความรู้สึกมั่นใจและความสามารถในการควบคุมมากขึ้นด้วย

ตัวอย่างข้างต้นนี้ ถือเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาสักเท่าไรสำหรับผู้ค้าที่ดีที่อยู่ในช่วงตกต่ำ ซึ่งสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาอันท่วมท้น นั่นก็คือ รูปแบบการค้าขายแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในรูปแบบที่แตกต่างกัน ออกไปและในช่วงเวลาที่ต่างกัน ถ้ารูปแบบนี้เปลี่ยนแปลง เราก็จะพบกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจด้วย เนื่องจากรูปแบบการค้าเช่นนี้ถือเป็นปัญหาในการค้าขาย หาใช่ความสามารถพื้นฐานในการทำการค้าไม่ ดังนั้น ขั้นตอนแรกในการบรรลุการควบคุมคือการสร้างรูปแบบใหม่ โดย เรียนรู้ทุกอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อที่คุณจะได้หาวิธี การช่วยเหลือที่ถูกต้องและได้พบกับคนที่เหมาะสมที่พร้อมจะช่วยเหลือคุณ ขั้นตอนแรกนั้นไม่มีอะไรมากกว่าไปการหยุดทำในสิ่งที่ไม่สามารถก่อให้เกิดผล สำเร็จ และหันกลับไปให้ความสนใจกับสิ่งที่คุณสามารถทำได้ดี สิ่งนี้จะทำให้กระบวนการดำเนินการได้ดีขึ้นในแง่ของจิตวิทยา เนื่องจากเมื่อผู้ค้าเริ่มพลิกฟื้นตัวเองและสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ ก็จะตระหนักรู้ได้ว่า “ปัญหานั้นคือรูปแบบของผม (การซื้อขายมากเกินไป) ผมก็จะบอกตัวเองว่า ผมนี่แหละคือปัญหา”

ลองแยกตัวคุณออกจากปัญหาของคุณก่อนในขั้นแรก เพื่อก้าวสู่การมีอำนาจควบคุม โดยในบทความถัดไปนี้ เราจะมาพูดคุยถึงขั้นตอนต่อไปกันครับ

 

Part 14 : ปรัชญา 3 ข้อในการเทรด

บทความนี้เคยถูกเผยแพร่ใน TraderFeed

ตลอดเวลาหลายปีมานี้ ผม Dr. Brett โชคดีมาก ที่มีโอกาสได้รับคำแนะนำ และได้รับองค์ความรู้ ความคิดดีๆ หลายอย่างเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ จากผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดในวงการตลาดหลักทรัพย์หลายท่าน ซึ่งได้ให้หลักสำคัญ 3 ข้อ ที่ทำให้สามารถทำกำไรจากตลาดได้ทั้งสามทาง (upmarket, downmarket, และ side-way market)

ข้อแรก - มุ่งแสวงหาผลกำไรในแต่ละสัปดาห์ การเทรดแต่ละครั้งอาจจะขาดทุนบ้าง แต่ไม่ใช่สิ่งที่คุณควรใส่ใจนัก เพราะบางครั้งมันยังมีโอกาสไม่มากที่จะ มีโอกาสสามารถสร้างผลกำไรได้ในแต่ละวัน แต่นักลงทุนอาวุโสท่านหนึ่งบอกกับผมว่า สำหรับนักลงทุนที่มีความกระตือรือร้นแล้วนั้น ในสัปดาห์หนึ่งๆ มันยังคงจะมีโอกาสใหม่ๆ เข้ามามากพอที่เราจะใช้เป็นเป้าหมายในการแสวงหากำไรตอบแทนได้อยู่ดีนั่นแหละ แม้ว่าคุณจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในทุกๆ สัปดาห์ แต่การวางเป้าหมายเอาไว้นั้นช่วยให้คุณยังคงมุ่งมั่นที่จะทำตามแผนที่วางได้ ต่อไป ตัวอย่างเช่น คุณไม่อยากสูญเสียเงินจำนวนมากไปในวันหนึ่งๆ ขณะที่คุณเองก็ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาได้ในวันอื่นๆ คุณคงไม่อยากเสียเงินไปกับการซื้อขายหุ้นที่คุณไม่สามารถแสวงหากำไรจากมัน ได้แล้วในวันนั้น แล้วคุณก็จะไม่ยอมให้แต่ละวันมันผ่านพ้นไปง่ายๆ เพราะคุณจะพยายามสร้างกำไรให้ได้ในทุกๆ สัปดาห์ และเริ่มจัดการกับการเทรดแต่ละครั้งอย่างรอบคอบขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถควบคุมความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้น โดยจะไม่ให้มันบานปลายเกินไปกว่าผลตอบแทนสูงสุดที่คุณคิดหรือกำหนดไว้ เวลาทำให้ผมเห็นสัญญาณของความก้าวหน้าที่จะเกิดกับเหล่านักลงทุนและเก็งกำไร พวกนั้น เพราะพวกเขารู้จักระมัดระวังและเลิกขุดหลุมฝังตัวเองเสียแล้ว

ข้อสอง - น้อมรับสิ่งที่ตลาดหุ้นให้กับคุณ

วันนี้ผมปิด short position ไปได้ หลังจากที่ต้องนั่งเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแต่ละช่วงอย่างไม่คลาดสาย ตาในตอนบ่าย ผมรู้แล้วว่าการซื้อขายหุ้นที่ดุเดือดและเข้มข้นแบบนี้ก็ตอนก่อนที่พวกนักลง ทุนจะแห่กันกลับเข้ามาซื้อหุ้นที่ถูกเปิดชอร์ทขายไปนี่แหละ ก่อนหน้านี้ตอนที่ผมทำอยู่ที่ S&P ผมไม่ได้รับผลกำไรมากเท่ากับที่ผมได้จากตลาดหุ้น Nasdaq และ Russell แต่ตลาดหุ้นพวกนี้ไม่ได้สนหรอกนะว่าคุณจะได้กำไรซักแค่ไหร่ ผมนั้นเอาสิ่งที่ผมได้จากตลาดหุ้นเหล่านี้ มาเริ่มสร้างให้เกิดเป็นผลกำไรที่งอกงามขึ้น ถามว่าราคาหุ้นจะตกลงอีกหรือไม่หลังจากผมออกไปแล้ว? คือมันตกลงได้อีกแน่นอน ก็อย่างที่นักลงทุนท่านหนึ่งบอกผมไว้ ในทันทีที่ตลาดหุ้นให้ผลกำไรตอบแทนแก่คุณ คุณอาจจะอยากถอยทัพกลับ หรือไม่อีกทางก็มุ่งทำแสวงหาผลกำไรต่อไปหากว่าคุณคิดถึงผลตอบแทนระยะยาวกว่า นี้ แต่การที่คุณจะไปต่อ คุณก็อาจจะต้องล้มเหลวได้เช่นกัน นั่นหมายความว่า คุณซึ่งเคยได้กำไรมาก่อน ต้องมาล้มเหลว คุณพ่ายแพ้ถึงสองต่อเลยนะ

ข้อสาม - หมั่นใช้ตัวช่วยเพื่อแก้ไขสถานการณ์

ผู้ค้ากำไรจะสังเกตว่าการขายหุ้นต่างๆ นั้นมันดุเด็ดเผ็ดมันไม่หยุดยั้งได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาได้มองเห็นผลตอบแทนก้อน ใหญ่จากสมุดทะเบียนรอการซื้อขายหลักทรัพย์ คนเหล่านี้จะใช้ข้อมูลตัวช่วยที่พวกเขามีเป็นช่องทางหรือโอกาสอันดีในการขาย หุ้นในตลาด หากตัวหลักทรัพย์เอง หรือผู้ซื้อรายใหม่ๆ ได้รับผลกำไรตอบแทนจากการซื้อขายหุ้นนี้มากยิ่งขึ้น พวกเขาก็มักเลิกเล่นหุ้นเร็วขึ้น ลองคิดดูว่าหากคุณมีอะไรสักอย่างเพื่อช่วยการสร้างผลกำไรให้คุณ คุณก็จะสามารถดำเนินการซื้อขายต่อไปได้ แม้ว่าสถานการณที่เกิดขึ้นมันจะมีความยากเย็นแสนเข็ญหรือเสี่ยงขนาดไหนก็ตาม ตราบเท่าที่คุณยังสามารถใช้ตัวช่วยนี้ คุณก็จะยังคงสานต่อสิ่งที่คุณวางแผนเอาไว้ตั้งแต่แรกได้ต่อไป วันนี้ผมอาศัยการไร้เสถียรภาพของดัชนี Russell เพื่อจะดึงราคาหุ้นในตลาดให้ปรับตัวสูงขึ้นทำลายสถิติสูงสุดในรอบวันศุกร์ เมื่อเราซื้อหุ้นในตอนเช้า แต่ไม่สามารถทำลายสถิติสูงสุดในเช้านั้นได้แล้ว (รวมทั้งของเมื่อวันศุกร์ด้วย) ผมเลยเทขายหุ้นไปก่อนจนกว่าราคาซื้อหุ้นทะยานสูงขึ้น ผมจึงสามารถใช้แนวทางการซื้อขายหุ้นดีๆ แบบนี้ในช่วงเช้าที่สถานการณ์ในตลาดค่อนข้างจะเป็นไปอย่างลุ่มๆ ดอนๆ

ฉะนั้นแล้ว เราลองย้อนกลับมาทบทวนแนวทางการซื้อขายหลักทรัพย์อีกที

1. ก่อนที่คุณจะเสี่ยงลงเงินทุนอะไรไปก็ตาม ควรจะศึกษาหาข้อมูลให้พร้อมเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เสียก่อน

2. เมื่อใดก็ตามที่เห็นแล้วว่าแนวทางความคิดของคุณสร้างผลกำไรได้อย่างรวดเร็ว ตักตวงผลกำไรที่ได้นั้นเสีย

3. อย่าไปสนใจอยู่กับการซื้อขายหุ้นของผู้ลงทุนรายย่อย ให้มุ่งไปดูความสามารถหรือความเป็นไปได้ในการทำกำไรจากหุ้นรายกลุ่มและวัน เปิดตลาดซื้อขายในหลายวัน

ผมเองก็รู้นะว่าสิ่งที่ผมพูดไปมันอาจจะฟังดูธรรมดาและน่าขำ แต่ตอนนี้ผมสามารถมองในกระจกและบอกกับตัวเองว่า ผมได้ทำตามหลักการ 3 ข้อนี้มาโดยตลอดช่วงสองสามปีให้หลัง ถ้าจะให้เปรียบการซื้อขายหุ้นกับกีฬา คงเปรียบได้กับบาสเก็ตบอล ในเกมกีฬานั้น ลูกหรือตาที่ผู้เล่นสามารถชูทลงห่วงได้เท่านั้นนี่แหละ ถึงจะเป็นที่สนใจของทุกคน มันย่อมมีทั้งความเสี่ยงที่จะพ่ายแพ้ในเกม แต่หากคุณสามารถเอาชนะได้ นั่นก็หมายความถึงจำนวนเงินมหาศาลที่จะเข้ามา เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หากแต่การสร้างชัยชนะหรือผลกำไรตอบแทนได้นั้น ยังไม่ได้แปลว่าคุณจะประสบความสำเร็จหรือสามารถสร้างมันได้อีกในระยะยาว องค์กระกอบสำคัญที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จแท้จริงมันคือการวางแผนและจัดการกับ การซื้อขายหุ้นได้ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปไม่ได้ให้ความสนใจอะไรนัก หากแต่เมื่อคุณสามารถบรรลุเป้าหมายที่คุณได้วางแผนและจัดการไว้ได้แล้วไซร้ นั่นก็หมายถึงการได้มาซึ่งความสำเร็จในสายอาชีพของคุณเช่นกัน

 

Part 15 : การบำบัดโดยสังเขป – ส่วนที่ 1 : การบำบัดด้านจิตใจอย่างดี

 

โดยทั่วไปแล้วมักสันนิษฐานกันว่า บทบาทของนักจิตวิทยาคือ การช่วยเหลือให้ผู้คนแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ซึ่งสิ่งที่เก็บไว้เบื้องหลังอยู่ในใจของเราคือ ภาพลักษณ์ของคนป่วยที่นอนอยู่บนเก้าอี้ยาวกำลังคุยกับนักวิเคราะห์โฟรเดียน ความจริงแล้วจิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่มีมานานนับตั้งแต่เริ่มต้นในฐานะที่เป็น “การเยียวยาด้วยการสนทนา” แท้จริงแล้ววิธีการใหม่ๆ หลายแบบที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าและพิสูจน์ความถูกต้องกันอย่างกว้างขวางผ่าน การวิจัย โดยไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องของการสนทนาเลย

อย่างไรก็ดี สมมติฐานเดิมนั้นค่อยๆ หายไปอย่างช้าๆ ผู้คนอาจทึกทักว่า คุณนั้นจำเป็นจะต้องมี “ปัญหา” เพื่อพบนักจิตวิทยา จริงๆ แล้วบริษัทประกันภัย จะไม่ชำระเงินคืนให้กับการไปพบนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ยกเว้นว่าจะมี “การวินิจฉัย” ปัญหาที่ “ได้รับการบำบัด” ซึ่งมีข้อสงสัยเล็กน้อยว่า แบบแผนตัวอย่างที่ยังยืนกรานว่ายังมีบางสิ่ง บางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับคุณ หากคุณจำเป็นต้องพบกับ “จิตแพทย์”

ความเป็นจริงคือ นักจิตวิทยาที่ดีไม่ใช่จิตแพทย์ แต่เป็นการขยายจิตใจและวิสัยทัศน์ของบุคคลเป้าหมายไม่ใช่การแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่เป็นการสร้าง ความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น จิตวิทยาเป็นเรื่องของการสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิต ซึ่งบางครั้งความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์เหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในวิธีการคิด, วิธีที่เรารู้สึก หรือวิธีที่เราแสดงออก ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์จากจิตวิทยาไม่ได้จำเป็นว่าคุณจะต้องมีปัญหา เพียงแต่ต้องมีความปรารถนาที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

กลุ่มวิธีการต่างๆ ที่รู้จักกันว่าเป็นการบำบัดโดยสังเขปคือ สิ่งที่ดูมีความหวังสดใสอย่างมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่ช่วยเร่งกระบวนการแห่งการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นเร็วขึ้น ผมได้อ้างอิงถึง การบำบัดโดยสังเขปว่า เป็นสิ่งที่ดีกับจิตใจอย่างมาก ทั้งนี้ มีหลายคนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตเรื้อรัง ซึ่งไม่ใช่คนที่จะเหมาะสม กับงานโดยสังเขปชีวิตอันยาวนาน, ปัญหาร้ายแรงที่มักเกิดขึ้นและต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงความช่วยเหลือในการรักษาด้วยยาเช่นกัน อย่างไรก็ดี การบำบัดทางจิตใจไม่ใช่สิ่งที่รุมล้อมไปด้วยปัญหา เพราะเป็นเพียงความสนใจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเท่านั้น บางครั้งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงเพื่ออธิบายจุดแข็งต่างๆ ให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นจนสามารถทำในสิ่งที่ทำอยู่ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ผู้ค้าที่ทำรายได้กว่า 2ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เมื่อปีก่อนและทำรายได้มากกว่านั้นในปีก่อนหน้านี้ถือเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยัน ในการประชุมกับผมเมื่อเร็วๆ นี้ก่อนวันปีใหม่ เพื่อกำหนดแง่มุมต่างๆ ในการปรับปรุงและกำหนดเป้าหมายอันเป็นแนวทางในการประชุมเกี่ยวกับเป้าหมาย เหล่านี้สำหรับปี 2007 เป้าหมายของเขาคือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ใช่การกำจัดปีศาจในตัวเขาเอง ซึ่งนั่นเป็นการใช้ประโยชน์จากการบำบัดได้อย่างยอดเยี่ยม สำหรับการเยียวยา ทางจิตใจเป็นอย่างดี

ดังนั้น คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณสามารถใช้ประโยชน์จากงานโดยสังเขปนั้นได้อย่างไร? นี่คือคำแนะนำบางประการ ได้แก่ พฤติกรรมที่ถูกกำหนดไว้เป็นรูปแบบวิธีการคิด, รู้สึก และแสดงออกของเราเป็นสิ่งมีแบบแผน ซึ่งแบบแผนดังกล่าวนี้เองคือ สิ่งที่หล่อหลอมให้เราเป็น อย่างที่เราเป็น และผลรวมของแบบแผนของเรานั้นก็คือบุคลิกภาพของเรานั่นเอง

อย่างไรก็ดี บางครั้งแบบแผนของเรากลับเป็นสิ่งที่แทรกแซงเป้าหมายในชีวิต และขัดขวางตัวตนของเรา ไม่ให้เป็นในแบบที่เราอยากเป็น หรือประสบความสำเร็จใน สิ่งที่เราปรารถนา

บางทีอาจมีช่วงเวลาที่คุณพูดกับตัวเองว่า “ฉันไม่รู้ว่าทำไมฉันจึงยัง (เติมคำในช่องว่าง) ฉันหวังว่าฉันจะหยุดมันได้สักที” คุณสามารถเติมคำในช่องว่างได้ด้วยวลีต่อไปนี้ หรือวลีอื่นๆ ตามต้องการ

“อารมณ์เสีย”

“ตกต่ำอยู่อย่างนี้”

“ลงเอยด้วยความสัมพันธ์แย่ๆ”

“กินมากเกินไป”

“ทำร้ายตัวเอง”

“ซื้อขายแบบโง่ๆ”

“ผลัดวันประกันพรุ่ง”

“ผลักไสผู้คนให้ไปไกลๆ”

“เป็นกังวล”

“อึดอัดภายใต้สภาวะกดดัน”

สถานการณ์แต่ละอย่างข้างต้นนี้ทำให้เราตระหนักว่า มีรูปแบบพฤติกรรมบางอย่างที่เราไม่สามารถควบคุมได้เต็มที่ รูปแบบนี้มักเป็นสิ่งที่ผู้คน ยึดมั่นถือมั่นอย่างมาก จนกลายเป็นนิสัย หากคุณสามารถระบุแบบแผนที่กำลังเกิดขึ้นในเส้นทางของคุณได้แล้ว คุณก็จะสามารถใช้ประโยชน์จาก การประยุกต์ใช้จิตวิทยาระยะสั้นได้

การบำบัดโดยสังเขปนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ ที่ไม่สามารถตอบสนองเราได้ดีอีกต่อไปโดย ขั้นตอนที่สองของการบำบัดด้านจิตใจนี้คือ การถามตัวคุณเองว่า อะไรคือรูปแบบที่ฉุดรั้งตัวคุณไว้จากเป้าหมายและจากคนที่คุณอยากเป็นมากที่สุด?

ถ้าอย่างนั้นแล้วอะไรคือขั้นตอนแรกล่ะ? คำตอบก็คือ การรู้จักเป้าหมายของเรานั่นเอง เพื่อให้รู้ว่าคุณอยากจะเป็นคนแบบไหน มีคนจำนวนมากที่ไม่เคยก้าวเดินบนเส้นทางที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวเอง นั่นเป็นเพราะพวกเขาไม่เคยกำหนดจุดหมายปลายทางไว้นั่นเอง

ดังนั้น นี่คือที่ที่เราจะเริ่มต้นกันในโพสต์ถัดไปของชุดบทความนี้ อันเป็นการค้นหาว่าคุณต้องการจะไปยืนอยู่ ณ จุดใดในชีวิต จากนั้นเราจะมาดูกันต่อว่า อะไรที่อาจจะเป็นสิ่งที่กำลังฉุดรั้งคุณไว้

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญประการแรกที่ควรทราบก็คือ การแก้ไขปัญหาไม่ได้ช่วยให้เป้าหมายกับคุณ การปีนป่ายอยู่บนบันไดแห่งความสำเร็จอย่างเกรี้ยวกราด ก็ไม่ได้ช่วยอะไรคุณได้ หากคุณยังคงพึ่งพาอยู่กับโครงสร้างที่ผิดๆ

การบำบัดโดยสังเขปนี้ไม่ได้เริ่มต้นด้วยปัญหาต่างๆ แต่เป็น สิ่งที่เริ่มต้นด้วยเป้าหมายและวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต ซึ่งหากปราศจากวิสัยทัศน์แล้ว นั่นหมายความว่าเรากำลังใช้ชีวิตราวกับคนตาบอด การบำบัดทางจิตใจอย่างดีนั้นเริ่มต้นไปพร้อมๆ กับการตระหนักรู้ว่า นี่คือเวลาในการเปิดหูเปิดตาให้กว้างเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ของเราเอง

 

Part 16 : การบำบัดโดยสังเขป – ส่วนที่ 2 : วิสัยทัศน์ และเป้าหมาย

 

ในโพสต์ของผมล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้อธิบายถึงเทคนิคการเปลี่ยนแปลงที่ผมได้อ้างถึงว่าเป็นเสมือน “การบำบัด” สำหรับด้านจิตใจอย่างดี ซึ่งหากจะกล่าวโดยสังเขปแล้ว แนวทางอันเคร่งครัดสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้แตกต่างไปจากการบำบัดแบบพูดคุยใน ลักษณะดั้งเดิมค่อนข้างมาก อันเป็นการพูดคุยถึงสิ่งที่เข้ามาในจิตใจของบุคคลเมื่อพวกเขานึกถึงจิตวิทยา ในโพสต์ต่อจากนี้ ผมจะได้อธิบายถึงวิธีการเฉพาะอย่างบางประการ รวมถึงวิธีการใช้ในสถานการณ์การซื้อขายต่างๆ รวมถึงสถานการณ์ในชีวิตอื่นๆ ที่มีความสำคัญในแง่ของการบรรลุผลสำเร็จด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ผมยังได้กล่าวถึงในโพสต์ก่อนหน้านี้ว่า เทคนิคเหล่านี้ไม่ใช่ขั้นตอนแรกๆ ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการกำหนดเป้าหมายสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้นดูจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่า เพื่อเป็นการทราบถึงสิ่งที่คุณต้องการจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างแรก

มันไม่ง่ายเลยที่เราจะมานั่งครุ่นคิดวันแล้ววันเล่ากับความรับผิดชอบต่างๆ ทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน อันเป็นภาพใหญ่ของชีวิตที่เกิดขึ้นเบื้องหลัง ในทุกๆ ปีเรามักยุ่งอยู่กับตัวเองและภาระงาน รวมถึงกิจวัตรประจำวันอื่นๆ เพียงเพื่อจะมาตระหนักในภายหลังว่าโอกาสดีๆ หลายอย่างได้ผ่านพ้นเราไปแล้ว

ดังนั้น คำถามข้อแรก คือ การกล่าวถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงว่า “อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง?” หรือในทางตรงกันข้าม “คุณอยากจะให้ชีวิตของคุณแตกต่างไปอย่างไร?”

คำตอบโดยทั่วไปสำหรับคำถามนี้เกี่ยวข้องกับการกำจัดหรือการลดความคิดเชิงลบ เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ เช่น “ฉันอยากหยุดความคิดในแง่ลบเหล่านี้”, “ฉันอยากรู้สึกกระวนกระวายน้อยลง” หรือ “ฉันอยากโต้แย้งให้น้อยลงในความสัมพันธ์ของฉัน” เป็นต้น แม้ว่าจะมีการตอบสนองในเชิงบวกก็ตาม แต่ก็ยังคงมีความไม่ชัดเจนที่ว่า ไม่มีใครสามารถแสดงตนออกมาได้อย่างแท้จริงเกี่ยวกับบางอย่าง เช่น “ฉันอยากรู้สึกดีกับตัวเองมากกว่านี้” หรือ “ฉันอยากจะเป็นผู้ค้าที่ดีกว่านี้”

การขาดเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง รวมถึงวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับอนาคต คือ เหตุผลหลักที่เรายังคงจมอยู่กับเรื่องเล็กน้อยประจำวันแบบนี้ ซึ่งสามารถปล่อยผ่านไปได้และไม่จำเป็นที่จะต้องเอาติดไปกับตัวในวันข้างหน้า ด้วย

หากชีวิตของคุณคือผ้าแคนวาสและคุณเองก็คือจิตรกร งานที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะดูเป็นอย่างไร? งานชิ้นนั้นจะเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผสมผสานแนวทางและการบูรณาการในตัวเอง หรือไม่? หรือจะเป็นการรวบรวมเองสีสันและรูปทรงต่างๆ แบบสุ่มเข้าด้วยกันโดยปราศจากความหมายหรือนัยสำคัญใด?

จิตรกรจะจับเอาวิสัยทัศน์ของตนเองลงมาแสดงบนผืนผ้าแคนวาส แล้ววิสัยทัศน์ของคุณสำหรับผ้าแคนวาสแห่งชีวิตคืออะไร? นี่คือการออกกำลังที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งที่อาจช่วยให้คุณตอบคำถามนั้น ได้ ลองจินตนาการถึงความตายของตัวคุณเอง คุณได้ตายไปแล้ว และบนป้ายหลุมศพนั้นก็มีคำจารึกสำหรับไว้อาลัยคุณด้วย แล้วข้อความแบบไหนกันล่ะที่จะเขียนอยู่บนป้ายหลุมศพนั้น? อะไรคือประโยคที่สามารถอธิบายถึงสิ่งที่คุณได้ทิ้งไว้เบื้องหลังและผลกระทบ ของคุณที่เกิดขึ้นในระหว่างที่คุณยังมีชีวิตอยู่ได้? ลองจินตนาการอย่างเฉพาะเจาะจงให้มากที่สุดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอยากจะกล่าวถึงบนป้ายหินนั้น

ตอนนี้ลองจินตนาการว่าคุณได้รับผลการทดสอบทางการแพทย์จากคุณหมอของคุณ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณเหลือเวลาที่จะมีชีวิตอยู่อีกแค่ 5 ปีเท่านั้น และไม่มีการรักษาหรือการบรรเทาใดที่เป็นไปได้สำหรับโรคร้ายของคุณ ภายใน 5 ปีนี้คำจารึกของคุณจะต้องถูกเขียนลงบนป้ายหลุมศพอย่างแน่นอน

แล้วคุณจะทำอะไรในหว่าง 5 ปีนี้ดีล่ะครับ?คุณ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้วและทำสิ่งต่างๆ ให้แปลกออกไปจากเดิมแบบที่คุณเคยทำ หรือคุณจะแค่ทำสิ่งเดิมๆ แบบที่เคยทำอยู่แล้วแบบเร่งรีบมากขึ้น? อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการใน 5 ปีนี้เพื่อให้บรรลุตามคำจารึกบนป้ายหลุมศพในช่วงปลายชีวิตของคุณอย่างแท้จริง?

หากคุณอยากจะทำให้คำจารึกดังกล่าวแตกต่างไปจากสิ่งที่คุณกำลังอยู่ตอนนี้อย่างสุดโต่ง คุณอาจจะกำลังเดินอยู่บนเส้นทางที่ผิด คุณจะต้องค้นหาเป้าหมายของตัวเองจากกิจกรรมต่างๆ ที่คุณจะทำให้ 5 ปีที่เหลืออยู่นี้ รวมถึงสาระสำคัญที่คุณอาจค้นพบความหมายบางอย่างในชีวิต สิ่งที่คุณอยากทำให้สำเร็จ ตลอดจนสิ่งที่คุณอยากทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์เบื้องหลังอีกด้วย

การเรียนรู้เทคนิคเหล่านี้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตให้เกิดขึ้นเป็น ส่วนที่ง่ายมาก เพราะส่วนที่ยากกว่าคือการรู้ว่าความเปลี่ยนแปลงใดที่คุณต้องการจะให้เกิด ขึ้นจริงๆ และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในใจคุณ ครั้งหนึ่งมาร์ค ทเวน (Mark Twain) ได้เคยแนะนำผู้คนว่า อย่าปล่อยให้ระบบการศึกษามาขัดขวางการเล่าเรียนหาความรู้ของคุณ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะไม่ปล่อยให้ชีวิตมาขัดขวางการดำรงชีวิตอยู่ของเรา เช่นกัน

คุณคงไม่อยากเป็นบุคคลที่มานั่งเสียใจในตอนท้ายของชีวิตหรอกครับที่ได้ทำให้ผู้อื่นต้องเจ็บปวด ผ้าแคนวาสที่เต็มไปด้วยแถวสีต่างๆ ได้วางอยู่ตรงหน้าคุณแล้ว สิ่งสำคัญทั้งหมดก็คือโอกาสที่ได้ช่วยสร้างความเป็นตัวตนของคุณขึ้นมา เพื่อให้พร้อมเผชิญหน้ากับช่วงสุดท้ายของความภาคภูมิใจ การเติมเต็ม และความรู้สึกที่ได้สร้างสรรค์งานศิลปะของแห่งชีวิตที่คุณได้รับนั่นเอง

 

Part 17 : การบำบัดโดยสังเขป – ส่วนที่ 3 : การเปลี่ยนเป็นตัวละครในอุดมคติของคุณ

 

ผมกำลังนั่งอยู่ในห้องรับรองและอ่านนิตยสารชื่อดังเล่มหนึ่ง ซึ่งทำให้ผมได้พบกับคำพูดที่น่าสนใจมากของนักแสดง/ผู้กำกับอย่าง เมล กิ๊บสัน ผู้สัมภาษณ์ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่ว่า นักแสดงหลายคนในภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขา Apocalyptoไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการแสดงมาก่อนเลย ดังนั้น ผู้สัมภาษณ์จึงได้ถามว่า มันยากหรือไม่ในการทำงานร่วมกับพวกเขาเหล่านี้ในฐานะผู้กำกับ?

คำตอบของกิ๊บสัน คือ มันไม่ได้ยากไปซะทีเดียว เขายืนยันว่า การ สอนใครให้แสดงตามบทบาทต่างๆ นั้น สิ่งที่จำเป็นต้องทำคือ การแสดงให้พวกเขาเห็นว่าควรจะหายใจและแสดงอารมณ์ของตัวละครที่พวกเขาพยายาม แสดงอย่างไร หากนักแสดงสามารถเปลี่ยนการหายใจของตัวเองได้แล้ว พวกเขาจะสามารถเข้าสู่สถานะทางอารมณ์ตามบทบาทที่กำหนดของตนได้

และเพื่อความแน่ใจ ผมยังไม่ทันได้เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นต่างๆ ของกิ๊บสันทั้งหมด แต่สิ่งนี้ทำให้ผมติดตรึงอยู่กับมุมมองดังกล่าว มีหลากหลายวิธีสำหรับการบำบัดระยะสั้นที่เพิ่มความกระวนกระวายของลูกค้า อย่างจงใจ ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับรูปแบบต่างๆ ของการหลีกเลี่ยง, การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และการป้องกันตนเอง เป็นต้น ซึ่งภายใต้เงื่อนไขของอารมณ์ที่พุ่งเพิ่มขึ้นเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกลัดกลุ้มใจ แต่ละบุคคลจะสามารถเข้าถึงความทรงจำ, ความเข้าใจเชิงลึก และมุมมองต่างๆ ที่พวกเขาไม่มีเมื่อครั้งย่างก้าวเข้าไปในประตูเป็นครั้งแรก การเปลี่ยนสถานะทางจิตใจและร่างกายของบุคคลนั้น นักจิตวิทยายังต้องเปลี่ยนการตระหนักรู้ของพวกเขาด้วย

ลองคิดถึงสถานการณ์ของความกระวนกระวายในการสอบดูนะครับ นักเรียนคนหนึ่งอาจร่ำเรียนอย่างหนักเพื่อการสอบและรู้ว่าข้อสอบนั้นยากมาก ทีเดียว ในสภาวะของความกระวนกระวายอย่างนี้ นักเรียนจะรู้สึกวิตกกังวล กล้ามเนื้อตึงเครียดมากขึ้น ความคิดในแง่ลบพรั่งพรูเข้ามา และหายใจไม่ทั่วท้องมากยิ่งขึ้นด้วย ในมุมมองของกิ๊บสันนั้น นักเรียนผู้นั้นกำลังอยู่ในภาวะตื่นตระหนกจากการรับเอาความเชื่อที่มีผลต่อ พฤติกรรมและสภาวะจิตใจของผู้ที่รู้สึกกลัดกลุ้มใจ ทันทีที่สภาวะนี้เปลี่ยนแปลงไป นักเรียนคนดังกล่าวจะไม่สามารถเข้าถึงสิ่งที่เขาหรือเธอเคยรู้ได้อีกต่อไป

สิ่งที่เกิดขึ้นได้แสดงให้เห็นว่า เราอยู่ในสภาวะการเข้าถึงสิ่งที่เรารู้ได้อย่างง่ายดายหรือถูกปิดกั้นการ เข้าถึงความรู้ดังกล่าว นอกจากนี้ สิ่งที่เรารู้จักยังสัมพันธ์กับสภาวะที่เรากำลังเป็นอีกด้วย ซึ่งหากปราศจากการตระหนักรู้ เราก็จะเป็นเช่นนักแสดงที่เปลี่ยนแปลงการหายใจ, ท่าทาง, การเคลื่อนไหว, รูปแบบ ตลอดจนกระบวนการคิดต่างๆ ของเราเพื่อสร้างสรรค์การแสดงออกอย่างมั่นใจ อย่างไรก็ดี นักแสดงชายและนักแสดงหญิงจะเปลี่ยนแปลงสภาวะต่างๆ ของตนเองอย่างตั้งใจเพื่อสรรสร้างการแสดงของพวกเขา และเมื่อเราเปลี่ยนสภาวะของเราแล้ว มันก็จะมักจะเกิดขึ้นโดยปราศจากความตระหนักรู้ของเราด้วยเช่นกัน

ผมยอมรับว่า การเข้าถึงความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลเกี่ยวกับรูปแบบตลาดและการค้านั้น เป็นสิ่งที่ถูกควบคุมโดยสภาวะต่างๆ ในช่วงที่เรากำลังตัดสินใจ หากร่างกายของเราหยุดนิ่ง หายใจไม่ทั่วท้อง และความคิดต่างๆ ของเรากำลังวิตกกังวล ก็คงยากที่เราจะสร้างสภาวะเงื่อนไขที่เราอาจได้ประสบพบเจอด้วยตัวเราตามปกติ ได้อย่างมีพลัง, มั่นใจ และอยู่ภายใต้การควบคุม เราล้มเหลวอย่างไม่ตั้งใจเนื่องจากเราแสดงออกตามบทบาทของบุคคลที่ไม่มี ประสิทธิภาพนั่นเอง

ดังนั้น จะเป็นอย่างไรหากเราติดตามสภาวะของจิตใจและร่างกายที่เรากำลังเผชิญอยู่ เมื่อเรากำลังทำการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และจากนั้นสร้างความพยายามอย่างตั้งใจเพื่อให้เข้าถึงสภาวะต่างๆ เหล่านี้ผ่านวันที่ทำการค้า? จะเกิดอะไรขึ้นหากเราปฏิบัติ ตามคำแนะนำของกิ๊บสัน รวมถึงกระบวนการทางจิตใจและกายภาพที่เชื่อมโยงกับความสำเร็จ? เมื่อไม่นานมานี้ นักจิตวิทยาสังคมท่านหนึ่งชื่อว่า เคลลี่ ได้คิดค้นการบำบัดเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนแสดงออกตามอุดมคติของตนเอง กล่าวคือ การแสดงหรือเล่นเป็นบุคคลที่พวกเขาต้องการจะเป็น นอกจากนี้ เขายังให้พวกเขาตั้งชื่อ, บุคลิกภาพ และภูมิหลังของบทบาทที่พวกเขาแสดงอีกด้วย

สิ่งที่เขาได้ค้นพบก็คือ ในขณะที่ผู้คนแสดงออกตามบทบาทในอุดมคติของตนเองอยู่นั้น พวกเขาเริ่มได้รับการตอบรับเชิงบวก ใน ทางกลับกัน สิ่งนี้ได้ช่วยกระตุ้นให้พวกเขาแสดงตามบทบาทนั้นต่อเพื่อให้ได้การตอบรับ เชิงบวกเพิ่มขึ้น หลังจากนั้น บทบาทดังกล่าวก็จะมีความเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ซึ่งลูกค้าของเคลลี่ได้ซึมซับเอาบทบาทต่างๆ เหล่านี้เข้าไปในขณะที่กำลังแสดงด้วยเช่นกัน

เรามักคิดว่าเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายใน (ความคิดและความรู้สึกของเรา) เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเรารับเอาพฤติกรรมที่แตกต่างมากๆ และ *หลังจากนั้น* สร้างชุดความคิด, ความรู้สึก และประสบการณ์ใหม่ๆ? จะเกิดอะไร ขึ้นหากเราถอดความนิตเช่ เราจะกลายเป็นนักแสดงหรือผู้เล่นตามอุดมคติของเราเอง ซึ่งหมายความว่าเราได้เดินเข้าใกล้อุดมคติเหล่านั้นมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว?

สำหรับผู้ที่พัฒนาทักษะทางการค้าต่างๆ บางทีความสำเร็จอาจเป็นเพียงแค่เรื่องของการค้นหาสภาวะทางจิตใจ กายภาพ และอารมณ์ในการเข้าถึงทักษะที่สามารถเพิ่มพูนได้ ทั้งนี้ ยังมีเรื่องราวอีกมากมายสำหรับการทดสอบตัวเองสำหรับผู้ค้าที่มีแนวโน้มอยาก พยายามทำอย่างต่อเนื่อง

 

Part 18 : การบำบัดโดยสังเขป – ส่วนที่ 4 : การกำหนดประสบการณ์ของตนเอง

 

เมื่อช่วงสัปดาห์ก่อนที่ผ่านมา ผมได้อธิบายเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้จิตวิทยาแบบระยะสั้นในฐานะที่เป็น “การบำบัดทางด้านจิตใจที่ดี” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องกำจัดข้อบกพร่องต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้าแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ ก้าวแรกของกระบวนการเปลี่ยนแปลง คือ การมีวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คุณต้องการจะให้เกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกนี้เข้ากับสถานะทางอารมณ์, ร่างกาย และการนึกคิดที่แตกต่างกัน เพื่อให้เราสามารถกลายเป็นตัวละครในอุดมคติของเราได้นั่นเอง

ขอให้ผมได้อธิบายถึงการเปรียบเทียบที่ผมได้ใช้ในหนังสือที่มีชื่อว่า จิตวิทยาของการซื้อขาย ความตระหนักรู้เปรียบเสมือนกับหน้าปัทม์วิทยุและเราใช้งานได้บนหลายๆ ความถี่ แต่ละจุดบนหน้าปัทม์วิทยุก็คือสถานะเฉพาะอย่าง ซึ่งก็คือ การผสมผสานประสบการณ์ของเรากับร่างกายและจิตใจของเรานั่นเอง ทั้งนี้ ผู้เรียนที่วิตกกังวลกับการสอบจะมีตำแหน่งบางอย่างบนหน้าปัทม์ของพวกเขาที่ รวมเอาความคิดในแง่ลบ, ความตื่นตัวที่เพิ่มขึ้น, การหายใจแบบตื้นๆ เร็วๆ และการเข้าถึงข้อมูลที่ได้รับน้อยลง นอกจากนี้ ตำแหน่งอื่นๆ บนหน้าปัทม์ยังอาจรวมถึงความคิดในแง่บวก, สมาธิที่ตื่นตัว, ท่าทางแบบตั้งตรง และการหายใจอย่างทั่วท้องเต็มที่ ในขณะที่ใช้งานความถี่เหล่านี้อยู่นั้น ผู้เรียนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ได้ศึกษามาและสามารถทำข้อสอบได้อย่างยอด เยี่ยม สิ่งที่เรารู้จักและสิ่งที่เราเป็นนั้นมีความสัมพันธ์กับความถี่ต่างๆ ของการตระหนักรู้ในขณะที่เรากำลังใช้งาน

อย่างไรก็ดี ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งบางจุดบนหน้าปัทม์วิทยุส่วนตัวของเราได้ถูกกำหนดไว้ในเชิงลบ เพราะจริงๆ แล้ว ปัญหานั้นเกิดจากการที่เราขาดการควบคุมเจตนาหรือความตั้งใจอย่างเต็มที่บนหน้าปัทม์ของเราเองอาจกล่าว ได้ว่าเราเปลี่ยนสถานีต่างๆ ได้โดยที่ปราศจากเจตนาที่จะกระทำดังกล่าว ซึ่งสิ่งที่การบำบัดโดยสังเขปสามารถทำได้ประสบผลสำเร็จก็คือ การควบคุมการเลือกความถี่ของเราเองได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการช่วยให้เราเปลี่ยนหน้าปัทม์ของเราได้ และด้วยแนวคิดนี้มันจึงกลายเป็นการฝึกสอนด้านการซื้อขายของเราเอง เพื่อสร้างความสามารถในตัวให้ก้าวไปถึงเป้าหมายของเราได้สำเร็จ

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ “สถานีวิทยุ” เหล่านั้นสร้างหน้าปัทม์แห่งการตระหนักรู้ขึ้นมาได้? คำตอบนั้นมีอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแบบซ้ำๆ จนกลายเป็นรูปแบบนิสัยและประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ทรงพลังที่ผ่านการประมวลผล เป็นความบอบช้ำ ในขณะที่บางสถานีบนหน้าปัทม์วิทยุในรถของเราเริ่มอ่อนกำลัง สถานีอื่นๆ กลับเริ่มสร้างสัญญาณที่มีกำลังมากกว่า เช่นเดียวกับสถานะของเราที่อาจอ่อนแอบ้างในบางครั้ง และอาจควบคุมหน้าปัทม์ได้ในบางช่วง ยิ่งมีประสบการณ์เกิดขึ้นแบบซ้ำๆ มากเท่าไร ประสบการณ์ของเราก็จะยิ่งมีพลังมากเท่านั้น และแน่นอนว่ามันย่อมจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความคิดในการตระหนักรู้ของคุณ ด้วย

ในขณะที่ผมกำลังเน้นย้ำในหนังสือเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ซื้อขาย อยู่นั้น มีเหตุผลหนึ่งที่ผู้ซื้อขายมักจะล้มเหลว นั่นก็คือ พวกเขาสร้างประสบการณ์ทางอารมณ์ในเชิงลบแบบซ้ำๆ สำหรับตัวเอง แท้จริงแล้ว นี่เป็นสาเหตุที่ผมได้รวมเอาคู่มือการช่วยเหลือตนเองไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและการตระหนักรู้ โดยประกอบไปด้วยเนื้อหา 2 บทในหนังสือเล่มดังกล่าวที่กล่าวถึงอย่างง่ายๆ ว่า ผู้ซื้อขายสามารถค้นพบตัวเองได้ด้วยการใช้ความถี่ต่างๆ ที่พวกเขาไม่ต้องการประสบพบเจอ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าปัทม์ของพวกเขาโดยปราศจากการยินยอมหรือการควบคุม และทั้งหมดที่เกิดขึ้นบ่อยมากๆ เพื่อเปลี่ยนความถี่ของการตระหนักรู้ คือ การเปลี่ยนผ่านแบบเรียบง่ายในองค์ประกอบของความถี่ เช่น ความคิดในแง่ลบ, การเปลี่ยนแปลงรูปแบบท่าทางหรือการหายใจของเรา ตลอดจนอารมณ์ชั่ววูบ สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้การควบคุมประสบการณ์ของเราเองลด ลง

นอกจากเทคนิคด้านการตระหนักรู้และพฤติกรรมที่กล่าวถึงข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่ มีคุณค่าอย่างมหาศาลแล้ว ยังถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งใหม่ๆ บนหน้าปัทม์ของการตระหนักรู้ได้เองอีกด้วย ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้จะต้องมีการซักซ้อมรูปแบบของความคิดและพฤติกรรมเชิงบวกในขณะที่คุณกำลังอยู่ในภาวะทางอารมณ์และกายภาพที่แตกต่างกัน อันเป็นหนึ่งในวิธีการที่รวดเร็วที่สุดและเชื่อถือได้มากที่สุดในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

ตัวอย่างเช่น การกล่าวถึงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาเป็นการยึดเหนี่ยวชัยชนะในการซื้อขายระยะ ยาวยิ่งขึ้น คุณอาจจะต้องมีการซักซ้อมทางด้านจิตใจเพื่อรับมือกับสถานการณ์ทางการตลาดและ การซื้อขาย ด้วยการเน้นย้ำถึงความตื่นเต้น ความสุข และกำไรที่คุณจะได้รับหากสำเร็จตามเป้าหมายในขณะที่คุณกำลังผลักดันตัวเองใน ระหว่างที่ต้องทำงานอย่างขยันขันแข็ง ซึ่งการตั้งเป้าความมุ่งมั่นไปพร้อมๆ กับเร็วที่ดีนั้นจะช่วยให้คุณสามารถวิ่งเหยาะๆ ไปบนทางเท้าได้อย่างกระฉับกระเฉงและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจได้อีกด้วย ทั้งนี้ การทำซ้ำๆ ดังกล่าวจะทำให้คุณเริ่มเชื่อมโยงเข้ากับเป้าหมายได้มากขึ้น อันส่งผลดีต่อจิตใจและร่างกายของคุณด้วยเช่นกัน จน ในที่สุดมันจะกลายเป็นสัญญาณที่มีกำลังแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ บนหน้าปัทม์วิทยุของคุณ ดังนั้น ก่อนการซื้อขายและในระหว่างช่วงพักการซื้อขาย ทั้งหมดที่คุณต้องทำคือกลับไปบนเครื่องออกกำลังกายแบบสายพานวิ่ง ซึ่งการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงสถานะของร่างกายจะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนหน้าปัทม์ของการตระหนักรู้ด้วย อันจะทำให้คุณสามารถเข้าถึงพฤติกรรมที่คุณปรารถนาด้วยการกระตุ้นบทบาทกับพฤติกรรมอย่างไม่ได้ตั้งใจ

การสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นนั้นมีรายละเอียดมากมายเกินกว่าการคิดและการสร้างภาพเชิงบวกในหัวคุณ หาก คุณไม่เปลี่ยนสถานะการตระหนักรู้ของคุณรวมถึงความสามารถในการเปลี่ยนแปลงการ ตระหนักรู้ของคุณเองแล้วล่ะก็ คุณคงจะต้องฟังกำหนดการแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในแต่ละวัน การเรียนรู้วิธีการเปลี่ยนแปลงสถานะเชิงลบถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ดี การเติบโตแบบก้าวกระโดด คือสิ่งที่อยู่ในการเรียนรู้วิธีสร้างสถานะเชิงบวก ใหม่ๆ เพื่อให้กลายเป็นผู้กำหนด และควบคุมประสบการณ์ของตัวเรานั่นเอง

Part 19 : เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์พ่ายแพ้ (ตอนที่ 1)

บทความนี้เป็นบทความแปลจากต้นฉบับของ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger, Ph.D. / www.brettsteenbarger.com

ผมได้รับอีเมล์จำนวนมากในการถามถึงวิธีการ Stop Loss ของผม, โดยเฉพาะการเทรดที่ถือออเดอร์สั้นกว่า 30 นาที
ผมเชื่อว่ากุญแจที่สำคัญในการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จคือ การฝึกให้เคยชินกับตัดขาดทุน, เรารู้ว่าตลาดไม่เคย perfect ฉะนั้นการคาดเดาให้ได้ 100% เป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์เดินดิน, นั่นทำให้คล้ายๆ กับการตีเบสบอล ว่าขนาดโปรก็ยังตี out อยู่เรื่อยๆ เป็นเรื่องธรรมดา

เทรดเดอร์ที่ยังไม่ประสำความสำเร็จ มักจะตีความว่า วันที่ได้กำไร คือวันที่ประสบความสำเร็จ, ไม่ๆ ๆ ๆ, วันที่ประสบความสำเร็จ คือวันที่คุณทำตามแผนเทรดที่วางไว้อย่างดีแล้วอย่างมีวินัยต่างหาก, การเทรดที่ดีย่อมจะทำให้เกิดกำไรในระยะยาว แต่เนื่องจากตลาดมีความไม่แน่นอน อันจะทำให้แม้แต่แผนที่วางได้อย่างดีที่สุดก็แพ้ได้บ้าง, ในระยะสั้น คุณไม่สามารถควบคุมกำไรได้ แต่คุณควบคุมได้ว่า คุณมีวันเทรดที่ดีหรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่กำไรในระยะยาว (ถ้าคุณศึกษา และวางแผนการเทรดของคุณมาอย่างดีแล้ว)

นาฬิกาที่หยุดเดิน ยังสามารถถูกเวลาได้สองครั้งต่อวัน ฉันท์ใด การเทรดที่ไม่ได้วางแผนมาก็ยังกำไรได้ฉันท์นั้น และทำให้ดูเหมือนเป็นวันเทรดที่ดี แต่ในความเป็นจริงคือถ้าปริมาณการเทรดมากขึ้น แผนที่ไม่ดี หรือไม่ได้วางแผนไว้ก็มักจะพบกับความล้มเหลว

เทรดเดอร์ที่พยายามเอาชนะตลาด 100% มักจะพบกับความผิดหวัง ตามมาด้วยความหงุดหงิด ในขณะที่เทรดเดอร์ที่เข้าใจธรรมชาติการเทรดจริงๆ จะตระหนักว่ามีความไม่แน่นอน ดังนั้นการพ่ายแพ้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจนี้ ฉะนั้นเป้าหมายจึงเป็นการจำกัดความเสียหายอย่างมีประสิทธิภาพต่างหาก (นั่นคือการมี Stop Loss นั่นเอง)

Stop Loss แบบที่ 1 : Stop ด้วย ราคา [Note ผู้แปล, ให้ดูภาพประกอบ]
ในบทความนี้ จะพูดถึงการ Stop 3 แบบด้วยกัน, ราคา, เวลา และ Indicator, ทั้งสามแบบนี้สามารถศึกษา และทำความเข้าใจ ฝึกจนเป็นอัตโนมัติได้

เทรดเดอร์ส่วนมากจะคุ้นกับการ stop ด้วยราคา (แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะใช้มันให้เกิดผล), ส่วนตัวผม (Dr.Brett) เองก็ใช้ Stop ด้วยราคานี้ ถ้าเวลาและ indicator ไม่ได้ใช้งาน

ปกติแล้วผมจะมองการเทรดทุกอันเป็นสมมุติฐาน, ถ้าสมมุติว่าผมเข้า Buy นั่นเป็นเพราะผมเห็นว่าราคามี LOW ไปแล้ว และราคาได้ลงมาเยอะแล้ว ผมจึงเข้า Buy โดยที่มี LOW นั้นทำหน้าที่เป็น "Stop ด้วยราคา" ของผม, ผมมีสมมุติฐานว่า LOW นั้นๆ มีความสำคัญ และการลงของราคานี้เป็นการย่อตัว, ผมจึงเข้า Buy แล้วถ้าราคามาถึง หรือทะลุ LOW นั้น แปลว่าสมมุติฐานของผมล้มเหลว ผมจึงต้องหยุดเพื่อเอา Equity เหลือไว้

กุญแจที่จะทำให้ Stop ด้วย ราคานี้สำเร็จ คือการเข้า Buy หรือ Sell ที่จุดที่ใกล้ High/Low ตามที่คุณตั้งสมมุติฐานไว้ เพื่อที่ว่าความเสียหายจะไม่มาก ถ้าสมมุติฐานของเราล้มเหลว, ถ้าเป็นการเทรดสั้น เช่น 1-นาที หรือ 5-นาที จะพบว่าการเข้าแบบนี้โอกาสชนะแค่ประมาณ 50% ดังนั้นคุณจะต้องจำกัดขนาดการเสียให้เล็กกว่า ขนาดตอนชนะเพื่อที่ว่าในระยะยาวจะได้ระบบที่กำไรนั่นเอง

 

Part 20 : เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์พ่ายแพ้ (ตอนที่ 2)

บทความนี้เป็นบทความแปลจาก ต้นฉบับของ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger, Ph.D. / www.brettsteenbarger.com
Credit ภาพ : google.com/time

 

STOP LOSS แบบที่ 2 : "เวลา"

วิธีการ Stop Loss แบบที่สองใช้เเวลามาช่วย, หนึ่งในระบบที่ผม (Dr.Brett) เทรดนั้น คือการถือออเดอร์เป็นเวลา 21 นาทีในการเข้าทำกำไร ซึ่งถ้าภายใน 21 นาทียังไม่ได้เป้าหมาย ผมก็จะปิดออเดอร์ แม้ว่าราคาจะยังมาไม่ถึง "จุด Stop ของราคา" ก็ตาม

ตรรกะของรูปแบบการออกด้วยเวลาเป็นเช่นนี้ : ผมพยายามเข้าเล่นตลาดที่ขณะที่โมเมนตัมนั้นกำลังเพิ่มขึ้นในทิศของผม ต่อมาถ้าตลาดเริ่มแบนราบ หรือต่ำกว่าที่ผมเข้า นั่นหมายความว่าผมอ่านโมเมนตั้มไม่ถูกต้อง ซึ่งก็เป็นการวางสมมุติฐานที่ผิดอีกชิ้นหนึ่งนั่นเอง, จากประสบการณ์ที่เจ็บปวดของผมพบว่า ถ้าตลาดแบนราบ ผมอาจจะยัง"ถูก"ในการอ่านทิศตลาด แต่การเคลื่อนไหวจะเป็นแบบแบนราบ นั่นหมายถึงว่าการเคลื่อนไหวชุดต่อไป มักจะเป็นชุดที่มาถึงเส้น "Stop ด้วยราคา" ของผม การ "Stop ด้วยเวลา" จึงช่วยทำให้ได้กำไรบ้าง แทนที่จะปิดแบบลบเพราะ "Stop ด้วยราคา"

หนึ่งในกฏสำคัญในการเทรด คือการบริหารอัตรส่วนระหว่าง Risk / Reward โดยที่ให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ถือออเดอร์ด้วยเสมอ, ถ้าคุณออกแบบระบบของคุณ ผมส่งเสริมให้คุณใส่ปัจจัยด้าน "ระยะเวลาที่จะถือออเดอร์" เข้าไปด้วย, ในกรณีผมที่ออกแบบ ระบบ "21-นาที" โดยการค้นคว้าวิจัยตลาด S&P หลายๆ แง่มุม ทั้งความฝันแปร, Indicator, TICK, กลุ่มหุ้น, ปริมาณ, New High, New Low, Future, ผมพบว่าตอนผมออกแบบระบบนี้เสร็จ ก็มีปัจจัยเรื่องเวลาติดมาตั้งแต่แรกเรียบร้อย จึงได้มาช่วย Stop อีกตัวของผม คือ Stop ด้วยราคานั่นเอง

STOP LOSS แบบที่ 3 : Indicator
อย่างที่ผมเกริ่นไว้เมื่อกี้ว่า ผมได้ใช้ Indicator ไม่น้อยในการเทรดแบบ Intraday (จบภายในวัน), ผมใช้เวลาจำนวนมากในการทดสอบ Indicator เหล่านี้ รวมถึงเทียบกับ Price Action ด้วยว่าอันไหนใช้ได้ดีกับช่วงเวลานี้บ้าง

ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพัฒนาระบบเทรดที่บอกอะไรเราบางอย่าง เมื่อ Indicator ไปถึงค่า extreme ของมัน เช่นบอกว่าจะไปต่อ หรือจะกลับตัวเป็นต้น

ตัวอย่างเช่นหนึ่งระบบที่ผมเลือกใช้ มีระยะการถือประมาณ 2 ชั่วโมง, TICK จะเป็นส่วนสำคัญ [Note ผู้แปล : Tick ดูได้จากหน้าต่าง Market watch, Tick Chart, มันจะเป็นการเคลื่อนไหวที่เร็วที่สุด และละเอียดที่สุดของตลาด], ถ้า TICK ทำการ Break out ช่วง 2-ชั่วโมง ขึ้นไป จะพบว่าราคาจะขึ้น 20% เทียบกับหลายๆ ชั่วโมงต่อมา, และถ้า TICK ทำการ Break out ช่วง 2-ชั่วโมง ลงไป, มีโอกาสจะลงต่อ 11%

เมื่อมีการวิจัยดีๆ แบบนี้ส่งเสริม ผมก็สร้าง "Stop ด้วย Indicator", วิธีใช้ คือถ้า Tick เกิดการ Break out ทิศตรงข้ามกับผม (ตัวอย่างเช่น ผมถือ short ไว้, แล้ว Tick เกิดการ break out ขึ้้นทำ new HIGH) ผมก็จะปิด Stop Loss แม้ว่าราคาจะยังไม่ถึง "Stop ด้วย ราคา" ก็ตาม, ในบางสถานการณ์ผมอาจจะถึงขั้นปิดแล้วเล่นกลับทิศตรงข้ามกับออเดอร์แรกของผม

ถ้าคุณใช้เวลาค้นคว้า indicator กับหลายๆ time frame คุณสามารถที่่จะสร้าง "Stop ด้วย Indicator" ที่เข้ากับสไตล์การเทรด และระบบได้

การใช้ Stop Loss เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยา
เมื่อ Stop Loss ได้ถูกวางแล้ว มันจะเป็นมันจะกลายเป็นจุดยึดเหนี่ยวทางใจ ซึ่งจะต้องทำให้มั่นใจว่าพวกมันจะได้รับเกียรติ, การเสียที่ดี (ออกด้วย Stop Loss ตามแผน) คือแผนอย่างหนึ่ง, มีเพียงความล้มเหลวของตลาดจริงๆ ถึงจะเป็นสิ่งที่เราคาดเดาไม่ได้ในแผนของเรา

ผมได้เขียน review หนังสือของหลายๆ ท่าน, หลายๆ ท่านได้สัมภาษณ์ Schwager's Market Wizard book. ซึ่งได้เน้นย้ำถึงเรื่องว่าเวลาคุณเทรดคุณต้องวางแผน, มั่นใจ และให้เกียรติ Stops, เพราะนั่นคือวิธีสร้างวินัย และการใช้สถิติมาอยู่ข้างคุณในระยะยาว

มันแปลก และตลกที่เทรดเดอร์ผู้ประสบความสำเร็จ วางแผนรับมือกับ "ความล้มเหลว" ในขณะที่ผู้ไม่ประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลวไม่ได้สนใจวางแผนเรื่อง "ล้ม เหลว" นี้เลย

Part 21 : นิสัยของเทรดเดอร์ที่ส่งผลต่อชัยชนะ

Credit : บทความนี้เป็นบทความแปลจาก ต้นฉบับของ Dr.Brett N. Steenbarger, Ph.D. / www.brettsteenbarger.com

 

ผมได้มีโอกาสศึกษาหัวข้อ "นิสัยของเทรดเดอร์จะส่งผลอย่างไรต่อประสิทธิภาพการเทรด", การวิจัยได้โฟกัสมาที่นิสัย 6 ประการ และผลกระทบของมันต่อการเทรดของเทรดเดอร์ผู้เข้าร่วมทดลอง

ประเภทของนิสัยที่จะทดสอบ
1.โฟกัสที่การควบคุม : ระดับความเชื่อมั่นของเทรดเดอร์ที่มีว่า ตนเองควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่
2.ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด : ระดับความพยายามในการหาจุดเหมาะสมที่สุด ไม่ใช่แค่ให้ผลลัพธ์เป็นบวกก็พอ
3.ย้อนดูผลลัพธ์ : การย้อนกลับไปดูผลลัพธ์จากการตัดสินใจ และโฟกัสในมุมที่ทำพลาด
4.คอยเช็คตนเองตลอด : การติดตาม เฝ้าดู ความคิดของตนเอง ความรู้สึก และการกระทำ
5.การค้นหาวิธีตลอด : การที่เทรดเดอร์ให้กับการค้นหา การทดสอบ และการฝึกฝนประสบการณ์
6.Type-A : ความอยากประสบความเสร็จใจการเทรด (แรงขับดัน) ของเทดรเดอร์

นักวิจัยได้ใช้ 6 สิ่งนี้มาใช้ทดสอบเทรดเดอร์โดยจ่ายเงินจริงให้ตามผลลัพธ์ที่เทรดเดอร์ทำได้, แต่เพราะมีเทรดเดอร์เข้าทดลองแค่ 32 คน, ระดับความน่าเชื่อถือในผลลัพธ์จึงอาจะถือว่าเป็นเพียงผลการทดลองเบื้องต้น ผลการทดลองพบว่า, นิสัย 2 ประการแรก, (โฟกัสที่การควบคุม, ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด) ไม่ได้มีผลต่อการเทรด, ส่วนนิสัย 3 อย่างที่เหลือสามารถเอามาจัดประเภทคนได้ดังนี้

ประเภทของเทรดเดอร์
1.ผ่อนคลาย, ไม่รับความเสี่ยง : จะหลีกเลี่ยงความเสียใจภายหลัง, ไม่ชอบการค้นหาวิธีตลอด และมีลักษณะของ Type-A ต่ำ (ไม่ได้โฟกัสที่ความสำเร็จ)
2.เทรดเดอร์ที่่ควบคุมความเสี่ยง : จะมีค่าคอยเช็คตัวเองตลอดกับการค้นหาวิธีตลอด สูงทั้งสองอย่าง
3.เทรดเดอร์อยากประสบความสำเร็จ : จะมีลักษณะ Type-A สูง

จาก 3 กลุ่มนี้, กลุ่ม 3 มีผลงานแย่สุด, เทรดเดอร์ที่อยากเอาชนะมากๆ มักจะใจร้อน และตัดสินใจได้ไม่ดี ส่งผลให้ผลงานออกมาแย่ ส่วนสองกลุ่มแรก ทำผลงานได้ใกล้เคียงกันมาก, ซึ่งแปลความได้ว่า การมีนิสัยผ่อนคลาย (กลุ่ม 1) น่าจะดีกว่าความอยากเอาชนะ (กลุ่ม 3) มากๆ, ยิ่งอยากเอาชนะมาก ก็ยิ่งทำให้จิตใจเรรวน ไปก่อกวนการตัดสินใจ

แม้ว่านี่จะเป็นเพียงการทดสอบเล็กๆ แต่ก็มีผลที่สอดคล้องกับงานวิจัยอีกจำนวนมากเกี่ยวกับ "นิสัย" และ "ผลงานเทรด", ในงานวิจัยของผม (Dr.Brett) และ Andrew Lo and Dmitry Repin จาก M.I.T, พบว่า คนที่มีนิสัย และอารมณ์ดีจะเทรดได้ผลงานดี, ในขณะที่นิสัย และอารมณ์แย่ จะเทรดได้ผลงานแย่, เทรดเดอร์ที่อยากเอาชนะมากๆจะสร้างอารมณ์มากทั้งเชิงบวก และลบ ซึ่งจะไปรบกวนการตัดสินใจ ภายใต้ความไม่แน่นอน เช่น การเทรด

ที่น่าประหลาดใจ คือเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ มักจะมีพลังเยอะ และโฟกัสที่ชัยชนะ, เข้าใจว่าเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งพวกเขาสามารถควบคุมอารมณ์ Type-A นี้ได้ โดยการผสมเข้ากับการคอยเช็คตนเอง ((Note ผู้แปล : คือให้มีอารมณ์อยากชนะได้แต่ไม่ให้มีมากเกินไป โดยการควบคุมตนเองตลอด)), แต่ถ้าไปถึงจุดที่พลังเยอะกินไป และอยากเอาชนะมากเกินไป จะเริ่มมีการหงุดหงิดเข้ามาร่วมในงานที่มีความไม่แน่นอนสูงแบบการเทรด และจะเริ่มเห็นอารมณ์เชิงลบต่างๆ เช่น รู้สึกผิด, โกรธ, ซึมเศร้า และกังวล เป็นต้น อันจะนำมาซึ่งผลการเทรดที่เลวร้าย

สรุป สิ่งน่าสนใจจากงานวิจัยชิ้นนี้ คือเทรดเดอร์ประเภทแรก (ผ่อนคลาย, ไม่รับความเสี่ยง) ทำผลงานได้ดีพอๆ กับ ประเภท 2 (เทรดเดอร์ที่่ควบคุมความเสี่ยง) ((Note ผู้แปล : ส่วนประเภท ใจร้อน อยากเอาชนะมากๆ จะทำผลงานได้แย่)) และแสดงให้เห็นว่าจิตใจที่ปลอดโปร่ง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจสำหรับการเทรด

 

Part 22 : ความเสี่ยง และความสำเร็จ (ตอนที่ 1)

Credit : บทความนี้เป็นบทความแปลจาก ต้นฉบับของ Dr.Brett N. Steenbarger, Ph.D. / www.brettsteenbarger.com

 

เราอาจเคยได้ยินคำถามว่า ระหว่าง จิตวิทยา กับ เทคนิคการเทรด อันไหนสำคัญกว่ากัน, แน่นอนว่าคำตอบ คือทั้งคู่สำคัญ, และจะมีจุดหนึ่งที่ทั้งสองอันมาเกี่ยวข้องร่วมกัน คือการบริหารความเสี่ยง, การเทรดจำนวนมาก จะสำเร็จ หรือพ่ายแพ้ มันขึ้นอยู่กับการบริหารความเสี่ยงนี่เอง, หนังสือว่าด้วย การบริหารความเสี่ยงล่าสุดได้กล่าวไว้ว่า จากผลสำรวจบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ พบว่า 90% ของกำไรตกอยู่กับการเทรด 10% จากทั้งหมด ((note ผู้แปล: นั่นหมายความว่า การเทรด 100 ครั้ง, ชนะ 10 ครั้ง แพ้ 90 ครั้ง))

แม้ว่าเราอยากจะเป็นคนทำเงินจากออเดอร์ส่วนใหญ่ของเรา, แต่โลกแห่งความจริงกลับเป็นว่า ประชากรส่วนน้อย เป็นผู้ชนะ ตัวอย่างคือ ในบริษัทหลักทรัพย์ จะมีเทรดเดอร์เพียงไม่กี่คนที่มีรายงานประจำเดือนที่มี กำไร/ขาดทุน ที่ดีนั่นเอง

หนังสือยังว่าไว้อีกว่า ถ้ากำไรมาจากเพียง 10% ในการเทรดรวม, นั่นหมายความว่า ออเดอร์ที่เหลือซึ่งเป็นจำนวนมาก จะเป็น "แผลถลอก" สำหรับเทรดเดอร์, ทักษะที่จำเป็นยิ่งยวดสำหรับการเทรด คือการรู้ว่าออเดอร์นั้นผิดทางก่อนที่มันจะทำให้แผลถลอกเป็นสาหัส, และผม(ผู้แต่ง)พบว่า เทรดเดอร์เก่งๆ ปิดออเดอร์เมื่อราคาไม่ได้เป็นไปดังที่พวกเขาคิด ในขณะที่ผู้อ่อนหัดจะปิดก็หลังจากราคาผิดทางไปไกล

และอีกสิ่งที่เป็นจริงพอๆ กันคือ ถ้า 10% ของการเทรดนั้นมีค่าที่สุดแล้ว เทรดเดอร์ย่อมจะประคบประงมการเทรดที่ดีเหล่านั้น กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ต้องหา "sweet spot" (จุดที่ประมาณว่า หวานปากแน่ๆ) ซึ่งจุดนี้คุณสามารถที่จะ cut loss และ let profit run ได้, และการเทรดนั้นยังต้องมีขนาดที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้มาซึ่งกำไรที่มาก คุ้มค่าสำหรับการเปิดออเดอร์, เทรดเดอร์ที่แย่ที่สุดที่ผมเคยเห็น เขาใส่ขนาดของออเดอร์ให้มากที่สุด เมื่อเขากำลังอยู่ในช่วงพ่ายแพ้, ซึ่งเรื่องแบบนี้ปกติจะเกิดขึ้นตอนที่พวกเขา เทรดแพ้หนึ่งหรือสองครั้ง จากนั้นพวกเขาก็พยายามจะเอาคืน, ส่วนเหล่าเทรดเดอร์ที่เก่งที่สุด จะต้องระบุโอกาสงามๆเป็น และ พวกเขาจะใจเย็นในการเฝ้ารอโอกาสเหล่านั้น ถ้าโอกาสมา พวกเขาก็จะใส่ขนาดของออเดอร์มาก เพื่อให้มีโอกาสในการชนะปริมาณเยอะ, นี่คือวิธีที่ใช้ 10% ที่กำไร มาคลุมในส่วนของ แผลถลอก 90% นั่นเอง

มีเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับการเทรดจะเล่าให้ฟัง, เป็นบทสนทนาระหว่างผมกับเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จมากท่านหนึ่ง, เขาบอกผมว่ามีความลับเกี่ยวบกับการเทรดให้สำเร็จจะเล่าให้ฟัง, ผมรีบถามอย่างทันควันว่า มันคืออะไร, เขาตอบผมด้วยคำถามว่า สัดส่วนระหว่างออเดอร์ใหญ่สุด กับออเดอร์ปกติ ของผมคือเท่าไหร่, ผมตอบของผมไปว่า 3:1, เขายิ้ม และตอบผมว่า ต้องพิจารณา 20:1, นั่นเป็นคำแนะนำ และสูตรลับของเขาในการเทรด,

ผมเชื่อเขา, ผมว่าเหตุผลที่เขาประสบความสำเร็จ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ การหา oscillator, regression analysis หรือ chart formation, เขาประสบความสำเร็จก็เพราะ เขาสามารถที่จะระบุ และเฝ้ารอ โอกาสที่จะทำกำไรเฉพาะเจาะจง และถ้าโอกาสมาเขาก็จะใช้ความได้เปรียบเหล่านั้นอย่างเต็มที่, อัตราส่วนของออเดอร์ 20:1 นั้นได้ฝังเข้าไปในสายเลือดของผม, และผมคิดว่ามันถูกต้อง : "ความสำเร็จเป็นผลจาก การควบคุมขนาดของออเดอร์ให้เหมาะสม"

 

Part 23 ความเสี่ยง และความสำเร็จ (ตอนที่ 2)
Credit : บทความนี้เป็นบทความแปลจาก ต้นฉบับของ Dr.Brett N. Steenbarger/ www.brettsteenbarger.com

นี่คือเหตุผลว่าทำไมการเทรดถึงยากนัก, การเทรดเป็นส่วนผสมที่ปล่อยให้คนมีโอกาสหลายๆ แบบ, มีทั้งการพ่ายแพ้เล็กๆ เพราะราคาไม่ยอมเดินทางแบบที่เราต้องการทันทีจึง cut loss (พ่ายแพ้แบบที่เรียกว่าแผลถลอก) ระหว่างนี้เราก็ต้องซื้อโอกาสทุกครั้งที่เกิดเผื่อว่าจะเป็น 10% ที่ชนะ, มันง่ายที่จะเจอเทรดเดอร์แบบใช้ความเสี่ยงกลับด้าน และง่ายที่จะเจอเทรดเดอร์ผู้ซึ่งใช้ขนาดการเทรดแกว่งตามใจเขา รวมทั้งเวลาพวกเขาหงุดหงิดกับการเทรด,

((Note ผู้แปล : ซึ่งเทรดเดอร์ทั้งสองแบบที่กล่าวมาคือเทรดเดอร์ที่แพ้ให้กับตลาด)), เทรดเดอร์ปรเภทที่หายากก็คือแบบผสมได้ลงตัว : ความสามารถที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ และจำกัดความพ่ายแพ้ 90% นั้นในเมื่อมันไม่สำเร็จ, และเข้าทำอย่างดุดันเมื่อพบกับชัยชนะ 10% เมื่อราคาเคลื่อนไปอย่างที่พวกเขาคิด

สิ่งที่เป็นจริงกับ "ขนาดของการเทรด" นั้นเป็นจริงกับเรื่อง "เวลา" ด้วย, เราเรียนรู้ได้จากข้อมูลที่ว่าเทรดเดอร์ถือออเดอร์ไว้นานเท่าไหร่เทียบกับระหว่างออเดอร์ที่ชนะกับออเดอร์ที่แพ้, ถ้ามีเทรดเดอร์คนหนึ่ง ที่มีนิสัยจะปิดออเดอร์ถ้าราคาไม่ไปในทิศทางที่เขาคิด แล้วค่าเฉลี่ยความยาวของ "เวลา" ที่เขาถือออดเดอร์มักจะต่ำ, ในทางตรงกันข้าม ถ้าออเดอร์นั้นเป็นอย่างที่เขาคิด ก็จะเห็นการถือออกเดอร์ที่มีเวลายาวนาน, แน่นอนว่าออเดอร์ที่ยาวเหล่านี้ คือออเดอร์ที่ทำให้ผลรวม ได้/เสีย นั่นเอง, แต่เทรดเดอร์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะมีการถือออเดอร์ที่ยาวนานเหมือนกัน แต่เป็นออเดอร์ที่ติดลบแทน

เมื่อไม่นานนี้ผมได้ถามเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จท่านหนึ่งว่า ทำไมเขาถือออเดอร์บวกนี้นานกว่าปกติ, เขามองกลับมาที่ผมแบบงงๆ หน่อย คงจะสงสัยว่าผมถามไปได้ไง ในเมื่อคำตอบมันชัดขนาดนี้ว่า "เพราะผมได้จุดต่ำสุด(ดีสุด)ของราคามานะสิ", เขายินดีที่จะปล่อยให้ราคาไหลไป ไหลผ่านช่วงที่มีการแกว่งบ้าง ตราบใดที่ราคายังไปในทิศทางของเขา และไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากพอที่จะทำให้เขาเปลี่ยนการมองว่าจุดนั้นเป็นจุดต่ำสุด, ออเดอร์นั้นกินเวลาทั้งวันของเขาหมดไป

จะว่าไปมันก็เหมือนชีวิต, ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการออกเดท และความสัมพันธ์คู่นั้นมักจะยินดีที่ออกเดทครั้งแรกกับคู่, แต่ไม่ค่อยอยากเดทเป็นครั้งที่สอง หรือสามนัก, "แผลถลอก" ย่อมเกิดจากการเดทครั้งแรกที่ไปแล้วไม่ค่อยเวิร์คก็มี แต่พวกเขากลับให้ความสำคัญกับ 10% ที่ดูแล้วเวิร์คแทน, แบบแผนเดียวกันเกิดขึ้นกับอาชีพการงาน,พนักงานที่ประสบความสำเร็จ ในครั้งแรกอาจจะทดลองโปรเจคเป็นสิบโปรเจค แต่สุดท้ายนก็ทุ่มเทให้กับโปรเจคเพียงโปรเจคเดียวที่ดูแล้วมีโอกาสประสบความสำเร็จ, ตัวบริษัทเองก็อาจจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่มาเป็นสิบ จากนั้นก็เก็บเก้าตัวกลับ เหลือไว้เพียงผลิตภัณฑ์เดียวที่ตลาดพร้อมที่ยอมรับมัน แล้วทำเงินจากตรงนั้น, นักวิจัย Dean K. Simonton พูดไว้ว่า แม้แต่นักศิลปะ หรือนักประดิษฐ์ที่ประสบความสำเร็จ ก็ยังมีแนวโน้มที่ประหยัดความพยายามในการสร้าง จะเห็นได้จากผลงานสร้างสรรค์ส่วนน้อยนิดของพวกเขาเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ดึงดูด และสร้างชื่อเสียงไว้แก่โลก

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจะบริหาร "ความเสี่ยงในตลาด", บุคคลที่ประสบความสำเร็จ ก็จะบริหาร "ความเสี่ยงในการใช้ชีวิต", มันไม่ใช่เพียงแค่เราจะทำกำไรได้เท่าไหร่ แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรา บริหาร "แผลถลอก" และ "เลือกสิ่งไหน" ที่จะเดินหน้าต่ออีกด้วย

Part 24 : นิสัย และการตามเทรนด์


Credit : บทความนี้เป็นบทความแปลจาก ต้นฉบับของ Dr.Brett N. Steenbarger/ www.brettsteenbarger.com

ผมจะอธิบายวิธีการเทรดของผมว่าเป็นการ ตามเทรน โดยอิงจากการค้นคว้า, นั่นหมายถึงผมจะพยายามติดตามความแข็งแกร่ง หรืออ่อนแอของตลาด, อย่างไรก็ตามผมจะไม่บอกทันทีว่า Trend is my friend เพราะผมต้องใช้ข้อมูลจากอดีตมาแยกระหว่างการเดินทางแบบเทรนด์ที่น่าจะเดินทางต่อ กับแบบที่จะกลับตัว, นี่เป็นวิธีเทรดที่อาศัยวินัยอย่างมากในการเทรด และต้องใช้การค้นคว้ากับการเตรียมตัว, และยังต้องตามติดตลาดตลอด ผนวกกับแผนการเทรดที่รัดกุม

ในหนังสือ The Psychology of Trading, ผมได้กล่าวถึงนิสัยที่แยกแยะระหว่างเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ กับเทรดเดอร์ที่ล้มเหลว, หลายๆ นิสัยนั้นยังมีผลกระทบต่อการยอมติดตามเทรนด์, ข้างล่างคือคำถามเพื่อเช็คว่าคุณจะประสบความสำเร็จในการติดตามเทรนด์หรือไม่, จงเขียน ใช่ หรือไม่ ลงไว้สำหรับคำถามทั้ง 12 ข้อ โดยตอบแยกแต่ละข้อ

1.เมื่อบางอย่างในตลาดการเทรดไม่เป็นไปอย่างที่คุณคิด, คุณจะหงุดหงิด

2.คุณชอบนั่งโรเลอร์โคสเตอร์ หรือเครื่องเล่นหวาดเสียวพวกนี้

3.คุณชอบเลื่อนงาน หรือกำหนดส่งงานออกไป

4.คุณเป็นคนนิสัยเหวี่ยง บางครั้งขึ้น บางครั้งลง

5.คุณชอบออกไปร่วมปาร์ตี้กับเพื่อนมากกว่านั่งดูหนัง หรืออ่านหนังสืออยู่บ้าน

6.คุณต้องขอโทษเพื่อนบ่อยๆ เพราะคุณลืมทำบางสิ่ง

7.ปกติคุณเป็นคนตึงเครียด

8.ถ้าให้เลือกอาหาร, คุณอยากจะเลือกอาหารแปลกๆ ที่ไม่เคยกิน มากกว่ากินอาหารเดิมที่คุ้นเคยดี

9.ถ้าต้องเลือกงานบ้าน, คุณเลือกที่จะทำงานสกปรกที่เสร็จเร็ว มากกว่างานที่อาศัยความละเอียดแต่ช้า

10.หลังจากคุณเทรดเสีย, คุณรู้สึกผิด และมีความรู้สึกแย่

11.คุณเคยใช้ยาเสพติดในชีวิตเพื่อความสนุกสนาน (นอกเสียจากแอลกอฮอล์)

12.คุณมักจะสายในนัดหมายกับเพื่อนๆ ที่คุณได้ทำไว้

ถ้าคุณตอบ ใช่ , ในคำถามข้อ 1, 4 , 7 และ 10, คุณมีนิสัยที่เรียกกว่า “neuroticism” ซึ่งเป็นนิสัยที่มีอารมณ์ลบ และมักจะแสดงออกมาทาง โกรธ กังวล และหดหู่

ถ้าคุณตอบ ใช่ ในคำถามข้อ 2, 5, 8 และ 11, คุณมีนิสัยที่เรียกว่า “openness to experience” ซึ่งเป็นนิสัยที่จะใขว่คว้าความสำเร็จ และเป็นคนยอมเสี่ยง

ถ้าคุณตอบว่า ใช่ ในคำถามข้อ 3, 6, 9 และ 12, คุณมีนิสัยด้านที่เรียกว่า “conscientiousness” น้อย, ซึ่งเป็นนิสัยเกี่ยวกับ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และการพึ่งพาได้

[Note ผู้แปล] ตอนหน้า (pyscho 25) เรามาต่อถึงการแปลผล นิสัย และความเกี่ยวข้องกับการเทรด ซึ่งจะทำให้รับมือการเทรดได้ดีขึ้นกันนะครับ

Part 25 : วิธีเทรดให้คงเส้นคงวา

ผม (Dr. Brett) ได้รับจดหมายจากผู้อ่าน ดังนี้

----เนื้อความในจดหมาย----
ผมเป็นเทรดเดอร์ที่เคยมีความคงเส้นคงวาในการเทรดทำกำไร (1,000-3,000 $ ต่อวัน) ซึ่งผมทำได้มาเป็นเวลา 48 เดือนแล้ว โดยปราศจากเดือนที่ติดลบ (ปี 1999-2003) แต่แล้ววันหนึ่งผมก็พลาด เสียเงิน 38,000 $ ในวันเดียว ผมพบกับเดือนที่ติดลบเป็นครั้งแรกในชีวิต, ตั้งแต่นั้นมาผมก็ไม่เคยเจอเดือนที่ปิดบวกติดต่อกันอีกเลย ที่จริงต้องบอกว่าผมเจอเดือนที่ปิดบวกแค่หยิบมือเดียว ผมยังมองหาเส้นทางกลับสู่ความคงเส้นคงวา ไม่ว่าผมจะเข้าใกล้ความคงเส้นคงวาได้เพียงใด ผมก็จะทำมันพังทุกครั้งไป แม้จะเป็นวันสุดท้ายของเดือนก็ตาม หรือผมทำเดือนนั้นติดลบ เพราะการเทรดบางอันที่ไม่สำคัญ แต่ก็ทำให้ลุกลามจนเป็นหายนะ ยังกับว่าผมมองหาสถานการณ์เช่นนี้โดยจิตใต้สำนึกเพื่อที่จะได้ทำพังอยู่ เรื่อยไป
---จบเนื้อความในจดหมาย---

นี่เป็นกรณีที่ไม่แปลก ความสียหายหนักหนึ่งครั้ง สามารถเหนี่ยวนำให้ความอยากเอาคืนเกิดขึ้น ตามมาด้วยความผิดพลาดมากกว่าเดิม และการเทรดเสียมากกว่าเดิม กุญแจที่จะออกจากสถานการณ์นี้คือ การออกจากวงจรเสียเงินนี้ (นั่นคือ ความพยายามในการเอาคืนด้วยการเทรดหนัก ตามมาด้วยการเสียเงิน)

สิ่งแรกที่ผมจะให้เทรดเดอร์เจ้าของจดหมายพิจารณา คือเขาวาง Stop Loss และ Target ไว้ตรงไหน, เราจะเห็นได้ว่าเขาประสบความสำเร็จในปี 1999-2003 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ราคา และความผันผวนสูง, กำไรจากแต่ละเทรดในภาวะตลาดผันผวนสูงเป็นเหมือน Home run ถ้าเทียบกับภาวะตลาดซบเซา, มันเป็นไปได้อย่างมาก ว่าเทรดเดอร์ท่านนี้ได้วาง Target ไว้ไกลเกินไป นั่นเป็นเพราะเขาเคยชินกับภาวะตลาดผันผวนสูง

วิธีที่ดีในการทดสอบสมมุติฐานนี้ คือกลับไปดูการเทรดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา, ถ้าออเดอร์ที่แพ้ มีขนาดใหญ่กว่าออเดอร์ชนะ, หรือออเดอร์แพ้เริ่มต้นด้วยการถูกทางแต่มากลับตัวจึงแพ้ภายหลัง, มันเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเทรดเดอร์ท่านนี้ต้องปรับให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมหลังปี 2003

เพื่อที่จะหลุดจากวงจรที่กล่าวไว้ข้างบน, ก้าวแรก คือการลดขนาดของออเดอร์, ผมแนะนำให้ลดเหลืออย่างมากสุดคือ 1/4 โดยเฉลี่ย, เป้าหมาย คือเพื่อที่จะยังคงอยู่ในเกมการเทรด แต่ลืมเงินจากเทรด แพ้/ชนะ นี้ซะ, เป้าแรกไม่ใช่การทำเงิน แต่เป็นการฟื้นจังหวะการเทรดให้คืนมาอยู่ในจังหวะที่เคยชนะ

ก้าวต่อไป คือการระบุการเทรดที่ชนะ นั่นหมายถึง การวิเคราะห์สถิติว่าการเทรดแบบไหนที่ทำเงินให้ และแบบไหนไม่ให้, ผมแนะนำให้แยกประวัติการเทรดออกเป็นช่วงของวัน, หุ้น/ดัชนี/คู่เงิน ตัวไหนบ้าง, เล่นขึ้น หรือลง, ผมยังแนะนำให้หาว่ามีการเทรดไหนที่แตกกลุ่มออกไปไกลแล้วทำให้ผลรวม แพ้/ชนะ เราแย่ลง, และหาการเทรดที่ทำเงินให้เราประจำ

เมื่อระบุรูปแบบที่ชนะได้แล้ว ขั้นต่อไป คือให้คงขนาดของออเดอร์ให้เล็กไว้เหมือนเดิม และเทรดเฉพาะรูปแบบชนะเหล่านั้น นี่คือรากฐานที่ต้องเริ่มต้นสร้าง, ควรจะเขียนรูปแบบแห่งชัยชนะเหล่านี้ลงไป และปรับสภาวะจิตให้พร้อมที่จะเจอรูปแบบเหล่านี้ก่อนที่จะได้เจอ เพื่อเป็นการซ้อม, ที่สำคัญ คือต้องไม่เพิ่มขนาดการเทรด และไม่เทรดรูปแบบอื่นๆ จนกว่าเริ่มเทรดได้คงเส้นคงวาด้วยการเทรดขนาดออเดอร์เล็กๆ และรูปแบบที่ชนะ

วิธีรักษาความชอกช้ำมีวิธีเดียว นั่นคือ การได้รับประสบการณ์ที่ควบคุมได้ และปลอดภัย, ซึ่งพวกเราต้องการให้การเทรดเป็นงานประจำที่ราบเรียบ ไม่ใช่การแกว่งที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์

ท้ายที่สุด, ผมจะแนะนำให้เทรดเดอร์ของเรามองดูว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร, อย่าลืมว่าตั้งแต่เกิดเหตุที่เขา "เสีย 38,000$" และ "การเทรดติดลบ เพราะการเทรดบางอันที่ไม่สำคัญ แต่ก็ทำให้ลุกลามจนเป็นหายนะ" เขายังไม่ได้ทำอะไรเกี่ยวกับแผนการเทรด, กลยุทธ์ง่ายๆ คือให้เขียน 4 สิ่งนี้ลงไปก่อนที่จะเทรดทุกออเดอร์

1. จุดเข้า (Entry)
2. เป้าหมาย (Target)
3. Stop Loss
4. ขนาดของออเดอร์

เราไม่สามารถควบคุมได้ว่า ออเดอร์ไหนที่จะแพ้ หรือชนะ, แต่เราสามารถควบคุมได้ว่าเราจะวางเงินเท่าไหร่ในการเทรด, การแพ้ขนาดใหญ่ จะไม่เกิดขึ้นกับเทรดเดอร์ที่มีวินัยในการคุมขนาดเทรด, โอกาสที่จะแพ้ครั้งใหญ่นั้นน้อย ถ้าคุณพูดเสียงดังชัดเจนถึง 4 ตัวแปรนี้ และเขียนเอาไว้หน้าคุณ

ฉะนั้น ถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขี้นกับคุณ ผมแนะนำว่าให้ลดขนาดเทรด, เลือกรูปแบบที่จะเทรด และรับผิดชอบในการทำสิ่งที่เราทำได้นั่นเอง

Part 26 : แกนหลัก 3 อันของมืออาชีพ

 

มีเทรดเดอร์จำนวนมากที่อยากจะเชี่ยวชาญ และเป็นมืออาชีพ แต่ผู้ที่เดินตามเส้นทางสู่ความเป็นมืออาชีพนั้นกลับมีน้อยคน มีงานวิจัยจำนวนมากในสาขาต่างๆ ตั้งแต่การกีฬาไปจนถึงศิลปะ ที่บอกเราว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นสำหรับการเป็นมืออาชีพ แต่งานวิจัยเหล่านี้ก็ไม่เคยได้รับความสนใจในโลกแห่งการเทรด, และบ่อยครั้งที่มองกันว่าความเป็นมืออาชีพมาจากสิ่งเหล่านี้ เช่น คำแนะนำจากกูรู หรือกลยุทธ์พิเศษที่คิดขึ้นเอง, ที่จริงแล้ว ความเป็นมืออาชีพนั้นกลับตรงกันข้ามกับที่เข้าใจกันที่ถูกต้องนั้น มีองค์ประกอบเหล่านี้

1.กระบวนแห่งการพัฒนา - ในทุกสาขาที่ถูกวิจัยแล้ว พบว่าพลงานที่ดีในระดับมืออาชีพนั้นเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหลังจากได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ทักษะแล้ว, กฏที่โด่งดัง คือ "กฏ 10 ปี" ได้กล่าวไว้ว่านักกีฬาและนักแสดงมืออาชีพทั้งหลาย ต้องใช้สิบปีในการโฟกัสการฝึกเพื่อที่จะเชี่ยวชาญทั้งความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนเอง, อย่างไรก็ตามกระบวนการแห่งการพัฒนา ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากความอุตสาหะอย่างหนักแบบนั้น มันกลับเริ่มต้นด้วยความสนุกล้วนๆ และความเข้าคู่กันระหว่างพรสวรรค์, ทักษะ และความสนใจของผู้ฝึก เทียบกับความต้องการของตลาด, ผู้ที่ผลการแสดงนั้นมีแนวโน้มที่ดี จึงเริ่มต้องไปสู่ขั้นที่จำเป็นต้องคงความอุตสาหะนี่้ไปอีกสิบปี

2.ผลทวีคูณ - เส้นทางของมืออาชีพไม่ได้เดินเหมือนบุคคลทั่วไป มันแตกต่างกันอย่างมาก, มืออาชีพที่กำลังเริ่มแตกต้นอ่อนออกมา ได้ฉายแสงต้องตาไปสู่พี่เลี้ยง ซึ่งจะทำให้มืออาชีพน้อยนี้ได้เข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าสำหรับการเก็บประสบการณ์ ซึ่งจะส่งเสริมให้สรรค์สร้างผลงานที่ดีกว่า และโอกาสสู่อนาคต, การเรียนปกติจะทำให้การเติบโตเป็นเส้นตรง แต่ การเรียนโดยมีผลทวีคูณจะได้ผลการแสดงที่ดีที่สุด เนื่องจากจะมีพี่เลี้ยงมืออาชีพมาช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ดีที่สุดนั่นเอง

3. ความอึดทน - โอกาสที่นักแสดงมืออาชีพ จะผลิตงานที่ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยในตลอดอาชีพงานของเขา, นี่สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Dean Keith Simoton, นักเบสบอลมืออาชีพในช่วงที่ดีที่สุดของเขา มี % การถูก strike out พอๆ กับช่วงปีแรกๆ ของอาชีพเขา, นักแสดงมืออาชีพนั้นดูเหมือนว่าจะมีโอกาสที่แสดงพลาดเล็กๆ น้อยๆ ตลอดอาชีพของเขา

ผู้ที่ประสบความสำเร็จมากนั้นโดดเด่นออกมา เพราะว่าประมาณงานที่เขาผลิตออกมาจำนวนมาก, พวกเขาผลิตงานมากซะจน ในที่สุดต้องมีงานบางชิ้นที่หลุดรอดการคัดกรองตามธรรมชาติ และโดดเด่นขึ้นมาเป็นผลงานชิ้นเอก, เทรดเดอร์ที่ยิ่งใหญ่อาจจะเทรดเสียจำนวนมาก, แต่ด้วยทุนที่มากกว่า และ Risk management ที่ดี ทำให้เขาสามารถอยู่ในตลาดได้นานพอที่จะผลิตออเดอร์ชนะที่ใหญ่ จนเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในอาชีพ, นี่ต้องการความสมารถในการทนความพ่ายแพ้ และความผิดหวังจำนวนากที่เรียกว่า "ความอีดทน" ซึ่งถ้าไม่มีแล้วมันจะทำให้คนอื่นๆ เลิกเสียก่อนที่จะไปถึงเชิงเขาแห่งการผลิตงานจำนวนมากด้วยซ้ำไป

คุณได้อยู่บนเส้นทางแห่งมืออาชีพหรือยัง ? ลองตอบคำถาม ใช่/ไม่ใช่ เหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา แล้วมันจะช่วยให้คุณประเมินตัวเองได้

A) คุณมีกระบวนการไหมที่จะระบุ จุดแข็ง (Strength) และ จุดอ่อน (Weakness) ในการเทรดของคุณ แล้วใช้สิ่งเหล่านี้ในการพัฒนาผลการเทรดในอนาคต

B) คุณได้ใช้เวลาในการวิเคราะห์ และพัฒนาการเทรดของคุณ (หรือมากกว่า) เทียบกับการเทรดจริงของคุณ

C) การเทรดของคุณได้ใช้พรสวรรค์ (มีติดตัวตลอดชีวิต) และทักษะ (ได้มาจากการฝึกฝน) ในการเทรดไหม, (ซึ่งพรสวรรค์ และทักษะเหล่านี้ น่าจะเห็นได้จากพวกมันจะทำให้ชีวิตในด้านอื่นๆ ของคุณประสบความสำเร็จ)

ให้เขียนบันทีกหรือคุยกับโค้ชเทรดของเรา ซึ่งนี่ก็ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่ง และนักกีฬาระดับโอลิมปิคก็ใช้เช่นกัน, บันทึกกับโค้ชนั้นจะช่วยได้ดีในเรื่องไอเดียทั่วไป แต่สุดท้ายแล้วผลการแสดงนั้นมันขึ้นอยู่กับการอยู่กันมันแบบ "อึดทน" ผ่านการเรียนรู้แบบ "ผลทวีคูณ" ในเส้นทางแห่ง "กระบวนการพัฒนา", ลองคิดถึงนักกีฬา/นักไวโอลินระดับโลก แล้วคุณจะเริ่มได้ไอเดีย ว่าจะสร้างความเป็นมืออาชีพในการเทรดได้อย่างไร (หรือวงการอื่่นๆ ด้วย)

Part 27 : เอาเท่าที่ตลาดให้คุณ

 

ตอนที่ผมเข้าร่วมบริษัทเทรดในฐานะนักจิตวิทยาในบริษัท มีประโยคหนึ่งที่ผมได้ยินซ้ำๆ คือ "เอาเท่าที่ตลาดให้คุณ", เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ในบริษัทนั้นค่อนข้างทำได้ดีในตลาด แต่อาจจะเสียบ่อยๆ ในภาวะตลาดที่เงียบและแกว่งตัวแคบๆ , ปัญหาการเทรดที่ถูกพูดถึงบ่อยๆ คือ "over trading", Over Trade หมายถึงการเข้าเทรดโดยปราศจากความได้เปรียบในตลาด, Over Trade คือการกระทำตรงกันข้ามกับ "การเอาเท่าที่ตลาดให้คุณ"

ตลาดวันจันทร์เป็นสภาวะที่เหมาะที่สุดสำหรับการ Over Trade, ช่วงการแกว่งของวันอยู่ที่ 6.25 จุดในตลาด Future, เป็นหนึ่งในวันที่ตลาดวิ่งช้าที่สุดในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา, เทรดเดอร์ที่จ้องจะเล่น Break out หรือพยายามตามโมเมนตัมไป เป็นเทรดเดอร์ที่มีโอกาสพลาดสูง ในตลาดเช่นนี้, แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าตลาดจะให้อะไรกับคุณ ?

ยังโชคดีที่มีวิธีหนึ่งที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยได้มากทั้งในการเทรดของผม และงานในฐานะนักจิตวิทยาช่วยเทรดเดอร์, เรารู้ว่า Volume สัมพันธ์กันอย่างชัดเจนกับความผันผวน, และเรารู้อีกว่า ความผันผวนเป็นตัวแสดงออกถึงค่าที่เรียกว่า ความสัมพันธ์เชิงอนุกรม (Serial Correlation) ที่จะเป็นค่าที่บอกว่า Volume ของช่วงถัดไปนั้นสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญกับ Volume ของช่วงปัจจุบัน, ถ้าเราสามารถมองที่ Volume ของตลาดในช่วงที่กำลังเปิด เราอาจจะเห็นล่วงหน้าถึงความผันผวนที่เหลือตลอดทั้งวัน

ยกตัวอย่างเช่น ผมดูค่าของตลาด ES ตลอดเดือนสิงหาคม (จากตัวอย่างรวม N=74 วันเทรด) และพบว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 15 นาทีตอนเปิดตลาดอยู่ประมาณ 48,000 สัญญา, อย่างไรก็ตาม Volume ของตอนเปิดวันจันทร์อยู่แค่ประมาณ 33,000 สัญญา, เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ดูได้จาก มีเพียง 13 วัน จาก 74 วันเทรดที่มีค่า Volume ต่ำ

ภายในช่วงนี้พบอีกว่า,สิบวันที่มีค่า Volume ตอนเปิดต่ำสุด มีค่าเฉลี่ยช่วงกว้างระหว่างวัน 10 จุด
สิบวันที่มีค่า Volume ตอนเปิดสูงสุด มีค่าเฉลี่ยช่วงกว้างระหว่างวัน 15.5 จุด
หกวันที่มีค่า Volume ตอนเปิดต่ำสุด มีค่าเฉลี่ยช่วงกว้างระหว่างวัน ต่ำกว่า 10 จุด
มีเพียงหนึ่งวันจากในหกวันนี้ที่มีค่าเฉลี่ยช่วงกว้างระหว่างวันสูงกว่า 10 จุด
มีเพียงสองวันจากสิบวันที่มีค่า Volume ตอนเปิดต่ำสุด มีค่าเฉลี่ยช่วงกว้างระหว่างวันสูงกว่า 10 จุด
มีถึงแปดวันจากสิบวันที่มีค่า Volume ตอนเปิดสูงสุด มีค่าเฉลี่ยช่วงกว้างระหว่างวันสูงกว่า 10 จุด

(Note ผู้แปล : จากชุดตัวเลขสถิติในย่อหน้าบน ผู้เชียนคงต้องการให้เห็นว่า ถ้าเราเฝ้าติดตาม Volume ตอนเปิดตลาด 15 นาทีแรกได้ เราจะสามารถคาดการณ์ช่วงกว้างระหว่างวันได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ)

การรู้ความสัมพันธ์ปัจจุบันระหว่าง Volume กับพฤติกรรมของตลาดจะทำให้เรารู้ถึงการคาดคะเนต่อความผันผวน, และนั่นเป็นความรู้ที่สำคัญมากที่จะนำเราไปสู่โอกาส, การเปิดตลาดที่เงียบอาจจะไม่สามารถบอกคุณได้ว่าเทรดอย่างไร แต่ก็สามารถช่วยบอกได้ว่าอย่า Over Trade ในตลาดเช่นนี้

Credit : www.chiangmaifx.com บทความนี้แปลจาก ต้นฉบับของ Dr.Brett N. Steenbarger/ www.brettsteenbarger.com