อิทธิพลของสังคม Social Facilitation
พฤติกรรมทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลในสังคม ก็คือ ศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของบุคคลอื่นที่มีต่อความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของบุคคล หรือที่เราเรียกว่าปฏิสัมพันธ์ทาสังคม เช่น พฤติกรรมของอาจารย์มีอิทธิพลต่อพฤติต่อ พฤติกรรมของนักเรียน ถ้าอาจารย์มองนิสิต นิสิตจะตั้งใจและสนใจมากขึ้น ในขณะเดียวกันพฤติกรรมของอาจารย์ด้วย ถ้านิสิตทำท่าเบื่อหน่ายไม่สนใจอาจารย์ อาจารย์ก็เกิดความรู้สึกท้อถอยที่จะสอนต่อไป ถ้าศึกษาทางด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ก็คือ การศึกษาทางด้านจิตวิทยาสังคมนั่นเอง
จิตวิทยา สังคมแตกต่างจากจิตวิทยาสาขาอื่นๆ ดังนี้
บุคคลเปลี่ยนแปลงตามการรับรู้และการตัดสินของผู้รับรู้ แต่ก็แตกต่างจากการรับรู้ วัตถุซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น พวกท่านเตะลูกฟุตบอลกี่ครั้งๆๆก็แล้ว แต่วัตถุหรือลูกฟุตบอล ก็ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงแต่ ถ้าท่านเตะผู้อื่นการรับรู้ของเรา ที่มีต่อบุคคลนั้น จะมัการเปลี่ยนเเปลงไปตลอดเวลา เราจะต้องดูว่า เขามีปฏิกิริยาอย่างไร เพื่อเราจะโต้ตอบได้ แต่เขาจะเตะตอบหรือไม่นั้นเรามัก เลือกคนที่เราคิดว่าเขาจะไม่เตะตอบเราเป็นเป้าหมายในการระบายความคับข้องใจ
การตัดสินทางสังคมของบุคคลไม่เที่ยงตรงและไม่มีรากฐานอย่๔บนความเป็นจริง เหมือนการตัดสินวัตถุ ถ้าเราวัดเส้นตรงได้ยาว ๒นิ้วหรือชั่งของสิ่งหนึ่งได้ ๓ กิโลกรัมทุกคนย่อมวัดความยาวและชั่งน้ำหนักนี้ได้ผลเท่ากัน แต่ในการรับรู้หรือตัดสินบุคคลนั้น ผลที่ได้อาจแตกต่างกัน เมื่อผู้รับหรือผู้ตัดสินแตกต่างกัน เช่น ก. อาจเห็นว่า ข. เป็นคนดี ซื่อสัตย์แต่ ค. กลับเห็นตรงข้ามกับ ก. เป็นต้น
นักจิตวิทยาสังคมสนใจศึกษาปฏิกิริยาการตอบสนองของบุคคลทั่วไปที่มีต่อสถานการณ์ที่กำหนด ขณะที่จิตวิทยาสาขาอื่น เช่น จิตวิทยาบุคลิกภาพ หรือจิตวิทยาพัฒนาการ สนใจการตอบสนองของปัจเจกบุคคล หรือ ประเภทของปัจเจกบุคคลที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ กันอาจยกตัวอย่างได้ดังนี้ นักจิตวิทยาสังคมจะศึกษาว่า คนทั้งหลายมีการตอบสนองอย่างไรเมื่อเกิดไฟไหม้ แต่จิตวิทยาบุคลิกภาพจะศึกษาว่าคนที่ชอบเก็บตัวจะมีพฤติกรรมอย่างไรเมื่ออยู่คนเดียวและเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น
จิตวิทยาสังคมเน้นโลกตามการรับรู้ซึ้งมีผลต่อการตอบสนองของบุคคล ถ้าเรารับรู้ว่าบุคคลอื่น ๆ เป็นคนโกง ดุร้าย ไม่มีความคิด หรือเป็นมิตร สิ่งนี้จะมีผลต่อการตอบสนองหรือพฤติกรรมของเราที่มีต่อบุคคลนั้น ๆด้วย โลกตามการรับรู้ของบุคคลมักลำเอียง และบิดเบือนไปตามความต้องการและความปรารถนาของผู้รับรู้ เช่น ถ้าเราดูการแงฟุตบอลระหว่างทีมไทยกับเกาหลี โดยเราเชียร์ทีมไทย เรามักรู้สึกว่ากรรมการบงโทษทีมไทยด้วยความลำเอียงแต่ลงโทษทีมเกาหลีด้วยความยุติธรรมหรือน่าจะลงโทษมากกว่านี้ด้วยซ้ำไป และมักจะเห็นว่าผู้ทีมเกาหลีเล่นแรงกว่าผู้เล่นทีมไทย
สรุปได้ว่า จิตวิทยาสังคมมุ่งศึกษาบุคคล อิทธิพลของบุคคลที่มีการแสดงพฤติกรรมต่อกันและกัน รวมทั้งการรับรู้และการตอบสนองของบุคคลทั่ว ๆ ไปที่มีต่อสถานการณ์หนึ่ง ๆ ดังนั้นขอบเขตของการศึกษาทางจิตวิทยาสังคมจึงได้แก่ อิทธิพลของสังคมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
อิทธิพลของสังคม
อิทธิพลทางสังคม หมายถึง การที่พฤติกรรมของบุคคลหนึ่ง ๆ มีอิทธิพบต่อพฤติกรรมและทัศนคติของบุคคลอื่นในลักษณะทางเดียว ส่วนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหมายถึง การที่พฤติกรรมของบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและทัศนคติซึ่งกันและกันในลักษณะที่มีการโต้ตอบ และมีปฏิกิริยาต่อกันและกัน
อิทธิพลทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมของมนุษย์
อิทธิพลทางสังคมโดยไม่ตั้งใจ
เนื่องจากวิชาจิตวิทยาสังคมเป็นการศึกษาบุคคลในสังคม ดังนั้น บุคคล จึงเป็นสิ่งเร้าที่มีผลต่อพฤติกรรมของเรา ซึ่งจะกระทำโดยผ่านกระบวนการ ๓ กระบวนการ คือ การเร้าการเสริมแรง และการเปรียบเทียบทางสังคม อิทธิพลทางสังคมนี้เกิดขึ้นโดยที่บุคคลอื่นไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
- การเร้าทางสังคม
ถ้าเราสังเกตุพฤติการรมในชีวิตประจำวันจะพบว่า การเพียงแต่ปรากฏกายของยุคคลอื่น ๆ โดยที่เขาไม่ได้ทำอะไรเลยก็มีผลต่อพฤติกรรมของเรา เช่น เราได้ซักซ้อมการกล่าวสุนทรพจน์ไว้เป็นอย่างดีแต่เมื่อต้องพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก เราอาจลืมข้อความบางข้อความที่เตรียมไว้แล้วก็ได้ ถ้าเราวิ่งออกกำลังกายมาพักใหญ่รู้สึกเมื่อยล้าและวิ่งช้าลงแล้ว แต่เมื่อมาพบนักวิ่งอีกกลุ่มหนึ่ง เราจะรู้สึกว่ามีกำลังและวิ่งได้เร็วขึ้น
บรูช เบอร์กุม และโดนัลด์ ลีรหร์ รายงานว่า บุคคลจะกระทำพฤติกรรมมากขึ้นเมื่อมีผู้อื่นอยู่ด้วย เช่น เราขึ้นธรรมาสน์เทศน์ ซึ่งมีคนมาฟังเทศน์มากมายทุกวัย ซึ่งเราก็ขึ้นเทศน์เป็นครั้งแรก ทำให้เราเกิดความสี่น ประหม่า เสียงสั่น แต่มีนักจิตวิทยาพบว่า ถ้าให้บุคคลเรียนคำที่ไม่มีความหมายบุคคลจะเรียนได้ดี ถ้าอยู่คนเดียว หรือ เราอ่าน หนังสือ ตอนกลางคืนคนเดียวทำให้มีสมาธิ สามารกอ่านหนังสือได้ยาวนาน
โรเบิร์ต ซาจอนซ์ ได้อธิบายความแตกต่างของข้อค้นพบนี้ในลักษณะของการเร้า โดยสร้างทฤษฎีการเร้าขึ้น ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การปรากฏกายของบุคคลอื่นจะกระตุ้นพลังงานและระดับแรงขับของเรา แรงขับที่เพิ่มขึ้นจะทำให้พฤติกรรมของบุคคลที่เด่นหรือดีอยู่แล้ว เด่นหรือดียิ่งขึ้น และทำให้พฤติกรรมที่ด้อยอยู่แล้วยิ่งด้อยลง ถ้างานง่ายหรือเป็นสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วอย่างดี บุคคลจะทำน้าที่ได้เร็วและดีขึ้น แต่ถ้าเป็นงานที่ยากหรือซับซ้อนไม่คุ้นเรยซึ่งปกติบุคคลจะทำผิดได้ว่าย อยู่แล้ว เมื่อมีคนอื่นอยู่ด้วยจะทำให้งานนั้นดูเหมือนยากจึงและทำผิดบ่อยขึ้น
นิคโคลัส คอตเตรล ได้ขยายทฤษฎีของ ซาจอนซ์ โดยกล่าว่าว การปรากฏกายชองผู้อื่นไม่เพียงแต่เร้าบุคคล และเพิ่มพฤติกรรมที่เด่นของบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถประเมินพฤติกรรมของบุคคลด้วย ในการวิจัยของ คอตเตรล และ คณะ พบว่าเมื่อให้ระลึกคำโดยมีผู้อื่นถูกปิดตาอยู่ด้วย การปรากฏกายของผู้อื่นไม่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ร่วมการทดลองแต่อย่างใดการปรากฏกายของผู้อื่นจะมีผลต่อเมื่อผู้ที่อยู่ด้วยเป็นผู้มีความสามารถ ที่จะประเมินพฤติกรรมของบุคคล
ดังนั้น การเร้าจึงช่วยเสริมพฤติกรรมที่เด่นอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และทำให้พฤติกรรมที่ด้อยยิ่งด้อยลง การปรากฏกายของผู้สังเกตการณ์จะเพิ่มการตอบสนอง ที่เด่นอยู่แล้ว ให้เด่นขึนถ้าผู้สังเกตมีความสามารถในการประเมินพฤติกรรมของผู้การทำ - การเสริมแรงทางสังคม
การเสริมแรงทางสังคมยังเป็นีักวิธีหนึ่งที่บุคคลอื่นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเราซึ่งมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งที่ให้รางวัล และแหล่งของการลงโทษมนุษย์ด้วยกัน เช่น
การให้รางวัล คือ พวก เงิน คะแนน การกอด การจูบ การยกย่อง เป็นต้น
การลงโทษ เช่น การขู่ การตี ทำให้รู้สึกผิด ตัดออกจากสังคม เป็นต้น
บุคคลจะให้แรงเสริมปฐมภูมิ ต่อการดำเนินชีวิต เข่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย
บุคคลจะให้แรงเสริมทุติยภูมิ เช่น เงิน การยอมรับ ความรัก เป็นต้น ที่จริงแล้ว ตัวเงิน ไม่อาจให้รางวัลแก่เราโดยตรงได้ไม่ทำให้เราอิ่ม หรือหายกระหาย แต่สามารถนำเงินไปซื้ออาหารมาบำบัดได้ความหิวหรือกระหาย ทำให้เรามีความสุขได้ - การเสริมแรงทางภาษา
เช่น พ่อแม่ มักจะใช้การเสริมแรงภาษาในการอบรมสั่งสอนลูก เช่น เมื่อลูกพูดจาไพเราะพ่อแม่ชมว่า เก่ง แต่พ่อแม่มักให้ความสนใจ และความรักแก่ลูกมากเกินไปทำให้การเสรมแรงด้อยประสิทธิภาพลง ถ้ามีคนแปลกหน้าเป็นผู้ให้อาจมีประสิทธิภารมากว่า เช่น นักวิจัยพบว่า ในการศึกษาเด็กวัยก่อนเรียนที่กำลังเล่น หยอดลูกหิน ลงหลุมอยู่นั้นเมื่อผู้ใหญ่แปลกหน้าให้แรงเสริมทางภาษา เช่น เก่ง ยอดไปเลย สุดยอด ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของเด็กมากกว่าการเสริมแรงที่พ่อแม่ให้อย่างมาก
เชสเตอร์ อินสโกะ ได้ศึกษาอิทธิพลของการเสริมแรงทางภาษาที่มีต่อทัศนคติและความเชื่อของบุคคล โดยการสัมภาษณ์นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ทางโทรทัศน์ เกี่ยวกับ ความรู้สึกทั่มีต่อการจัดงานฉลองฤดูใบไม้ผลิวานหนึ่ง ครึ่งของนักศึกษาจำนวนนั้นจะได้รับการเสริมแรงทางภาษาว่า ดีทุกครั้งที่พูดสนับสนุน การจัดงานส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะได้รับรางวัลเมื่อพูดต่อต้านการจัดงานส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะได้รับรางวัลเมื่อพูดต่อต้านการจัดงาน หนึ่งอาทิตย์ต่อมา อินสโกะ สำรวจความคิดเห็นทั่ว ๆ ไปของนักศึกษาทั้งหมด โดยมีคำถามอยู่ข้อหนึ่งในคำถามทั้งหมดที่จะถามความคิดเห็นต่อการจัดงานดังกล่าว พบว่า นักศึกษาที่ได้รับแรงเสริมเมื่อต่อต้านการจัดงาน แสดงว่าการเสริมแรงทางภาษาที่ใช้เมื่อสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์มีผลต่อทัศนคติและ ความคิดเห็นในระยะหลังของนักศึกษา
การเสริมแรงทางสังคมสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ นอกเหนือจากการเสริมแรงงทางภาษา การแสดงการยอมรับอาจกระทำได้โดยไม่ต้องพูด เพียงแต่ยิ้ม พยักหน้า หรือแม้แค่ประสานสายตาก็แสดงถึงการยอมรับ การใช้ภาษาท่าทางเพื่อแสดงการยอมรับ หรือเพื่อเป็นการให้แรงเสริมทางสังคมนี้ สามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลเช่นกัน และสามารถนำไปใข้ได้ในหลายลักษณะการเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เราต้องการ เช่น นักจิตวิทยาคลีนิคอาจจะนำไปใช้กับคนป่วย หรือแม้แต่นักการเมืองก็สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี
ความพึงพอใจระหว่างบุคคล
ความพึงพอใจระหว่างบุคคล คือ การศึกษาสาเหตุที่เราชอบหรือไม่ชอบผู้อื่น แนวความคิดส่วนใหญ่เชื่อว่ารางวัลที่บุคคบอื่นให้แก่เราทั้งโดยตรง และโดยทางออ้ม คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดความพึงพอใจระหว่างยุคคล ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เราชอบหรือไม่ชอบบุคคลอื่น ได้แก่
ความใกล้ชิด บุคคลจะชอบผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ตน หรือทำวานใกล้กับตนมากกง่าคนที่อยู่ไกล ๆ กันเพราะการอยู่ห่างไกลกันนั้นมิตรภาพย่อมเกิดขึ้นได้ยากกว่า ผลที่พบล้วนสนับสนุนว่าความใกล้ชิดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจระกว่างงบุคคล เช่น การศึกษาของ ทีโอดอร์ นิวคอมบ์ ซึ่งได้ศึกษานักศึกษาที่สมัครเข้าอยู่ในหอพักได้ฟรี จากนั้นจัดให้นักศึกษาที่ไม่รู้จักกันอยู่ร่วมห้องกันเป็นเวลา ๑ ปี เขาพบว่านักศึกษาที่อยู่ร่วมห้องจะกลายเป็นเพท่อนกัน แม้ทัศนคติที่มีต่อกันในระยะแรก ๆ จะไม่ต้องกันก็ตาม
ความคุ้นเคย ความใกล้ชิดทำให้เกิดความพอใจ เพราะการที่เราเห็นบ่อย ๆ จะกลายเป็นความคุ้นเคยขึ้นและจะนำไปสู้ความชอบ การได้เห็นหน้าใครคนหนึ่งบ่อย ๆ แม้จะไม่มีการติดต่อกันก็ทำให้ชอบบุคคลนั้นได้ ได้มีการทดลองโดยให้นักศึกษาเดินไปตามห้องทดลองต่าง ๆ เพื่อชิมเครื่องดื่มทั้งที่อร่อยและไม่อร่อยขณะที่เดินไปเดิรมาตามห้องต่าง ๆ นี้ก็จะได้พบนักศึกษาอื่น ๆ ที่ร่วมการทดลองเช่นเดียวกัน ผู้ทดลองได้จัดให้นักศึกษาพบกันผู้ร่วมการทดลองบางคนบ่อยครั้ง และพลกับบางคนน้อยครั้ง เมื่อสิ้นสุดการทดลองได้ถามความชอบที่มีต่อผู้ร่วมการทดลอง ผลปรากฏว่า ผู้ที่พบกันบ่อย ๆ จะมีความชอบกันมาาว่าผู้ที่ไม่ค่อยได้พบกันแม้จะอยู่ในสภาพการณ์ที่ต้องดื่มที่ไม่อรอยก็ตาม
ความคล้ายคลึงกัน บุคคลมักชอบผู้ที่คล้ายคลึงกับตน ความคล้ายคลึงกันนี้เป็นไปได้ตั้งแต่บุคลิภาพ ทัศนคติ ความคิดเห็นทางการเมือง จนกระทั้งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ถิ่นเกิด ลักษณะท่งกายภาพ และความสามารถทางกีฬา แม้การใช้คอมพิวเตอร์เลือกคู่ก็ดูจากข้อมูลที่คล้ายคลึงกัน ของชายหนุ่มและหญิงสาวนั่นเอง
บายร์ ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาผลของความคล้ายคลึงกันที่มีต่อความชอบ โดยให้ผู้ร่วมการทดลองตอบคำถามซึ่งจะถามเกี่ยวกับ ทัศนคติที่มีต่อเรื่องบางเรื่อง จากนั้นจะให้อ่านคำตอบของผู้ร่วมการทดลองคนอื่น ๆ ซึ่งอาจคล้ายคลึงหรือแตกต่างกับความคิดของตน ( ความจริงคำตอบของผู้ร่วมการทดลองคนอื่น ๆ นั่นเป็นคำตอบที่ผู้ทดลองทำขึ้นเอง ) จากนั้นจะให้ประเมินความชอบที่มีต่อเจ้าของคำตอบที่ตนได้อ่าน พบว่า บุคคลจะชอบคนที่มีทัศนคติคล้ายตนมากกว่าแตกต่างจากตน
เหตุที่ความคล้ายคลึงกันนำไปสู่ความพึงพอใจ เพราะผู้ที่มีส่วนคล้ายเราสามารถให้รางวัลเราในหลาย ๆ ลักษณะ กล่าวคือ การปฏิสัมพันธ์กับปู้ที่มีความสนใจและทัศนคติคล้ายเรานั้น ทำให้เกิดมิตรภาพได้ง่าย เพราะไม่ต้องใช้ความพยายามในการชักชวนให้เขาชอบสิ่งที่เราชอบเลย ความสัมพันธ์จึงมักราบรื่นสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องที่ชอบเหมือน ๆ กันได้ จึงมีเรื่องคุยกันได้มาก นอกจากนั้น การคบกับผู้ที่มีความเชื่อและทัศนคติคล้ายกับเรายังเป็นการสนับสนุนความเชื่อที่เรามีต่อเรื่องต่าง ๆ ด้วย
ความแตกต่าง
เราย่อมชอบคนที่มีอะไรคล้าย ๆ กับเรา แต่บางครั้งความคล้ายคลึงกันอาจทำให้เกิดปัญหาได้ในบางสถานการณ์ เช่น คนที่ชอบเป็นผู้นำ ๒ คน อาจอยู่ร่วมกันไม่ได้ เพราะต่างก็ต้องการนำซึ่งกันและกัน ไม่มีใครยอมตามใคร ดังนั้น บางครั้งความแตกต่างกันก็ทำให้เกิดความพึงพอใจระหว่างกันได้ เช่น คนที่ชอบพูดย่อมอยากอยู่กับคนที่ชอบฟังมากกว่าที่จะอยู่กับคนชอบพูดด้วยกัน หรือคนที่ชอบเป็นผู้ตามย่อมอยากอยู่กับคนที่ชอบเป็นผู้นำ แม้ในชีวิตสมรสก็เช่นกัน ความคล้ายคลึงกันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเริ่มต้นความสัมพันธ์ แต่ความแตกต่างกันบ้างในบางกรณีเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการเริ่มต้นความสัมพันธ์ แต่ความแตกต่างกันบ้างในบางกรณีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่อย่างราบรื่น
ความสมดุล ฟริทซ์ ไฮเดอร์ ได้เสนอทฤษฎีความสมดุลเกี่ยวกับความพึงพอใจระหว่างบุคคล โดยกล่าวว่า บุคคลพยายามแสวงหาความสมดุลในความคิด ความรู้นึก และพฤติกรรมขงตน ถ้าเกิดความไม่สมดุลขึ้น บุคคลจะพยายามลดความขัดแย้งนี้โดยเปลี่ยนทัศนคติหรือความเชื่อของตน เพื่อให้เกิดความสมดุลซึ่งเป็นการให้รางวัลแก่ตนเอง ตามแนวคิดของ ไฮเดอร์ถ้าบุคคลสองคนชอบหรือไม่ชอบซึ่งกันและกันจัดอยู่ในสภาวะสมดุล ถ้าบุคคลหนึ่งชอบเพื่อนแต่เพื่อนไม่ชอบตอบก็จัดอยู่ในสภาวะไม่สมดุล กล่าวคือ การตอบแทน เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดความพึงพอใจระหว่างบุคคล เราชอบคนที่ชอบเรา และไม่ชอบคนที่ไม่ชอบเรา ถ้าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เราชอบคนที่ชอบเรา และไม่ชอบคนที่ไม่ชอบเรา ถ้าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ๓ คน ความสมดุลจะเกิดขึ้นในกรณีที่คนทั้งสองชอบซึ่งกันและกัน หรือในกรณีที่คน ๒ คนชอบกิน และคนทั้ง ๒ นี้ชอบ หรือไม่ชอบบุคคลที่ ๓ เหมือนกัน
อีกอย่างหนึ่งมาดูพฤติกรรมของวัยรุ่บางซึ่งเป็นหัวเลียวหัวต่อของประเทศ
เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่สร้างความรู้สึกมั่นคงทางสังคม โดยเข้ากลุ่มเพื่อนสนิท เมื่ออยู่ในกลุ่มจะรู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ความรู้สึกสองอย่างนี้ เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับวัยรุ่น ในกลุ่มสมาชิกจะแต่งกาย ทำพฤติกรรมและมีทัศนคติเหมือนกัน การอยู่ร่วมกับกลุ่มเพื่อนสนิททำให้เด็กวัยรุ่นมีโอกาสฝึกฝนทักษะทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ต่อไปนี้
มีวุฒิภาวะทางเพศ ทำให้พฤติกรรมทางสังคมเปลี่ยนไป คือ เริ่มเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนต่างเพศ จะเล่นกีฬาแข่งกันเพื่อให้ดูดีในสายตาคนอื่น วัยรุ่นตอนต้นเวลาเข้ากลุ่มจะมีผู้นำที่มาจากการคัดเลือก มักใช้เวลาคุยกันเรื่องไร้สาระ ส่วนวัยรุ่นตอนปลายจะเป็นอิสระจากกลุ่มมากขึ้น และยึดความคิดของตนน้อยลง
ทำตามกลุ่ม วัยรุ่นจะทำตามกลุ่มทางด้นการแต่งกาย ความประพฤติและความคิดของกลุ่ม ถึงจะมีความคิดของตนเองแล้วก็ยังยอมทำตามเพื่อนมากกว่า เพื่อให้เพื่อนยอมรับ วัยรุ่นต้องการต่างจากคนอื่น ขณะ ด้วยกันอยากทำตามกลุ่มด้วย ฉะนั้น เมื่ออยู่ในกลุ่มวัยรุ่นจึงสามารถทำตนให้ต่างจากคนอื่น และทำตามกลุ่มได้ในเวลาเดียวกัน และมีวัยรุ่นอีกหลายคนที่รักษาเอกลักษณ์ของตนไว้ได้หลาย ๆ ด้าน
การรับรู้สังคม วัยรุ่นส่วนมากไม่เข้าใจสังคมและตนเองอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง วัยนี้จะมีปัญหาเรื่องการไม่รู้จักตนมากที่สุด ไม่รู้ว่าตนเป็นใคร มีจุดมุ่งหมายในชีวิตในชีวิตอย่างไร ควรจะทำอะไรดี และมีบทบาทหน้าที่อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ ยังสับสนในบทบาทของตน เนื่องจากต้องแสดงบทบาทตามที่สังคมคาดหวังและยอมรับ ไม่ใช่มีบทบาทตามที่วัยรุ่นเลือก จึงทำให้วัยรุ่นไม่ค่อยได้ดำเนินตามแนวทางที่คิดไว้ ในด้านการมองตนเองก็มักมองโดยเปรียบเทียบกับลักษณะในอุดมคติ เช่น เด็กผู้หญิงคิดว่าตนไม่สวย เพราะนำรูปร่างหน้าตาของตนไปเปรียบกับ ดาราภาพยนตร์ หรือ เด็กผู้หญิงมักรู้สึกด้อยเมื่อแข่งขันกับผู้ใหญ่ไม่สำเร็จ แต่วัยรุ่นก็ค่อย ๆ รู้จักมองตัวให้สัมพันธ์กับบุคคลในสังคมทีละน้อย
การเข้าร่วมกลุ่ม วัยรุ่นต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม อาจเป็นกลุ่มระหว่างพี่น้อง เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมชั้น และคนที่มีความสนใจเหมือนกัน ถ้าพิจารณาลักษณะของกลุ่มที่วัยรุ่นเข้าร่วม จะช่วยให้ทราบความต้องการทางสังคมของวัยรุ่น ลักษณะของกลุ่มมี ๓ อย่าง คือ
กลุ่มที่มีกฎเกณฑ์ที่สมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่มยอมรับ กลุ่มนี้จะมีทัศนคติและพฤติกรรมตามที่สมาชิกคาดหวัง
กลุ่มที่สมัครใจ ถ้ากลุ่มมีความร่วมมือกัน ก็จะมีคนทำตามกฎเกณฑ์ของกลุ่มมากขึ้น
กลุ่มที่ไม่สมัครใจ เป็นกลุ่มที่แต่ละคนถูกบังคับให้มาอยู่ร่วมกัน เช่น กลุ่มทหาร จะควบคุมสมาชิกโดยใช้ระบบเชื่อฟังหัวหน้า ถ้าใครทำผิดกฎเกณฑ์จะถูกลงโทษ
กลุ่มเพื่อน ถ้ากลุ่มสนิทกันมักจะเป็นกลุ่มเล็กและไม่เป็นแบบแผน สมาชิกอายุเท่ากัน มีสถานะเหมือนกัน เช่น เรียนอยู่ชั้นเดียวกัน ภายในกลุ่มจะกำหนดค่านิยมใจของกลุ่มแต่ไม่มีกฎระเบียบเป็นทางการ สมาชิกจะคิดและทำคล้ายกันเพื่อนสนองความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในกลุ่มและเพื่อให้หายเหงา กลุ่มที่สนิทกันอาจไม่ได้อยู่ใกล้กัน แต่พบกันทุกวันในโรงเรียน หรือสนามกีฬา หรือจากการไปค่ายลูกเสือ กลุ่มชนิดนี้จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่ออายุประมาณ ๑๔ ปี นอกจากนี้การรวมกลุ่มอาจเกิดจากมีความสนใจหรือความถนัดเหมือนกัน ฉะนั้น จึงรวมกลุ่มกันได้ดี จากการวิจัยพบว่า กลุ่มเพื่อนจะรวมกันได้ดีเพราะมีวิธีการคักเลือกที่แน่ใจว่าแต่ละคนจะเข้ากันได้ เวลาทำสิ่งต่าง ๆ เช่น คุยกัน ดูโทรทัศน์ กิน เที่ยว วัยรุ่นจะพยายามไม่ให้ผู้ใหญ่มาคอยแนะนำปรึกษา
ในระยะวัยรุ่น กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤตอกรรมของวัยรุ่นมากทั้งดีและไม่ดี ในด้านดีมีดังนี้
- ช่วยสนองความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
- เปิดโอกาสให้ระบายความกดดันต่าง ๆ เมื่ออยู่ในบรรยากาศที่เป็นมิตร
- เปิดโอกาสให้พัฒนาทักษะทางสังคม
- ช่วยส่งเสริมความสำคัญของแต่ละคน
- สถานะในกลลุ่มทำให้วัยรุ่นได้รับการยกย่องจากเพื่อน
- เป็นเครื่องจูงใจให้ทำพฤติกรรมที่เป็นผู้ใหญ่
- ช่วยป้องกันในด้านมี่วัยรุ่นพยายามจะเป็นอิสระ
- ทำให้วัยรุ่นมีประสบการณ์ด้านมนุษยสัมพันธ์จากการได้ลองถูก
อิทธิพลทางด้านไม่ดี
- จำกัดขอบเขตการพัฒนาเอกลักษณ์ของสมาชิกกลุ่ม
ทำให้ไม่เป็นมิตรกับสมาชิกนอกกลุ่ม
การลงโทษ
การลงโทษเป็นการเสริมแรงทางสังคมอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับการให้รางวัล และการลงโทษมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลเหมือนการให้รางวัล มนุษย์เราหลีกเลี่ยงการได้รับโทษทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการไม่ยอมรับหรือลดฐานะทางสังคม เราไม่ต้องการที่จะได้รับการมองว่าแตกต่างไปจากปทัสฐานของกลุ่ม การลงโทษในที่นี้จะกล่าวถึง การเบี่ยงเบนจากกลุ่มและการไร้มนุษยธรรม
การเบี่ยงเบนจากกลุ่ม
การเบี่ยงเบนนี้ หมายถึง พฤติกรรมที่แตกต่างจากปทัสฐานของกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด ได้มีการทดลองเพื่อดูว่า ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจาก พฤติกรรมที่กลุ่มยอมรับกลุ่มจะทำอย่างไรต่อบุคคลผู้นี้ เช่น การทดลองของแชคเตอร์ (schachter, 1951) ซึ่งผู้ร่วมจัดการทดลองขึ้นเป็นกลุ่ม เพื่ออภิปรายหัวข้อหนึ่งๆ ร่วมกัน แต่ละกลุ่มมีหน้าม้าสามคน หน้าม้าคนที่หนึ่งจะคล้อยตามความคิดของกลุ่มตลอดเวลา คนที่สองมีความเห็นค้านกับกลุ่มตลอดเวลา และคนที่สามเริ่มจากมีความคิดเห็นขัดแย้งกับกลุ่มแล้วค่อยเปลี่ยนมาคล้อยกับกลุ่ม เมื่ออภิปรายกลุ่มเสร็จ จะมีการแบ่งสรรงานให้สมาชิกในกลุ่มด้วย พบว่า กลุ่มจะลงโทษผู้เบี่ยงเบนโดยจัดสรรงานที่ไม่มีใครต้องการให้และเมื่อถามความชอบพอกันระหว่างสมาชิก ก็พบว่า กลุ่มไม่ชอบผู้เบี่ยงเบนจากกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด ส่วนหน้าม้าที่เบี่ยงเบนแล้วในที่สุดคล้อยตามกลุ่มนั้นไม่ถูกลงโทษแต่อย่างใด จะเห็นได้ว่า ผู้เบี่ยงเบนจากกลุ่มจะถูกลงโทษได้รับการปฏิเสธ หรืออาจถูกตัดออกจากกลุ่มก็ได้ ซึ่งเป็นการลงโทษที่รุนแรง
การที่บุคคลมีพฤติกรรมสังคมคล้อยตามปทัสถานของกลุ่มหรือสังคมที่อยู่แวดล้อมตนนั้น อาจเกิดจากการชื่นชอบ และเห็นคุณค่าของพฤติกรรมนั้นๆ หรืออาจเกิดจากการกลัวที่จะถูกลงโทษก็ได้
การไร้มนุษยธรรม
การไร้มนุษยธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในฝูงชน ถ้าบุคคลประกอบอาชญากรรมเพียงลำพัง เขาจะคาดว่าตนต้องถูกลงโทษแน่ แต่เมื่อเขาเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มและสมาชิกทุกคนในกลุ่มกระทำอย่างเดียวกัน เขาจะรู้สึกไม่กลัวที่จะถูกลงโทษ กลุ่มทำให้บุคคลไม่ต้องเปิดเผยตัวเอง ทำให้บุคคลรู้สึกว่า ตนไม่ต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตนเอง ความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นก็ลดลง พฤติกรรมไร้มนุษยธรรมจึงมักเกิดขึ้นในกลุ่ม
การอยู่ในฝูงชนจะเป็นการลดการเผชิญหน้าลง และถ้ามีการปกปิดชื่อและใบหน้าด้วยแล้ว พฤติกรรมไร้มนุษยธรรมจะยิ่งมีมากขึ้น ได้มีการทดลอง เพื่อดูว่า การปกปิดชื่อและหน้าจะมีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างไร โดยผู้จัดร่วมการทดลองเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกติดป้ายชื่อที่เสื้อ และพยายามให้มีการแรกชื่อบ่อยๆ ส่วนกลุ่มหลังจะสวมชุดทำการทดลอง ใส่ถุงปิดหน้าและไม่ติดชื่อ พบว่ากลุ่มหลังก้าวร้าวมากกว่าและร่วมในพฤติกรรมต่อต้านสังคมมากกว่ากลุ่มแรก
พฤติกรรมไร้มนุษยธรรมนี้เห็นได้อย่างชัดเจนจากการกระทำของฝูงชนในเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 อาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นโดยผู้กระทำไม่มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อการกระทำของตน และไม่นึกถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
การเป็นแหล่งข้อมูล
บุคคลนอกจากเป็นสิ่งเร้า เป็นแหล่งของแรงเสริมแล้ว ยังเป็นแหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเราด้วย เราสังเกตพฤติกรรมของบุคคลเมื่ออยู่ใน สถานการณ์หนึ่ง เพราะพฤติกรรมของเขาจะให้ข้อมูลแก่เราว่าควรจะทำอย่างไรในสถานการณ์ในขณะนั้น เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่น ผู้ใหญ่ก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่คลุมเคลือไม่แน่ชัดว่าควรแสดงพฤติกรรมอย่างไรออกมา
การมองผู้อื่นเพื่อหาข้อมูลในการกระทำพฤติกรรมของตนนี้เรียกว่า การเปรียบเทียบทางสังคม เฟสตินเจอร์ (Festinger) เป็นผู้เสนอทฤษฎีเปรียบเทียบทางสังคม ขึ้นในปี ค.ศ. 1954 ทฤษฎีนี้กล่าวว่า เมื่อบุคคลเกิดความไม่พอใจเกี่ยวกับความคิดเห็นและการตัดสินใจของตน
บุคคลจะมองผู้อื่นเพื่อหาข้อมูลและพฤติกรรมการตอบสนองของผู้อื่นจะเป็นเครื่องชี้แนะพฤติกรรมการตอบสนองของบุคคล
การเปรียบเทียบทางสังคมเกิดขึ้นได้เสมอ ๆ เช่น เราต้องการรู้ว่า เราเก่งคณิตศาสตร์มากเพียงใด เราจะเปรียบเทียบคะแนนสอบของเรากับผู้อื่น พฤติกรรมติดต่อและการให้ความช่วยเหลือ เป็นพฤติกรรมที่อาศัยการเปรียบเทียบทางสังคมเป็นสำคัญ
การเปรียบเทียบทางสังคมเกิดได้จากกระบวนการต่อไปนี้
3.1 การเข้ากลุ่ม
การเข้ากลุ่ม หมาถึง ความปรารถนาที่จะเกี่ยวข้องและปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น แชคเตอร์ ( , 1959)ตั้งสมมติฐานไว้ว่า ความกลัวทำให้เกิดการติดต่อกัน เพราะเกิดความกลัวบุคคลจึงต้องการติดต่อกับผู้อื่นเพื่อให้ได้ข้อมูลมาช่วยในการประเมินความรู้สึกของตน เขาทำการทดลองโดยแบ่งผู้ร่วมการทดลองเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการบอกว่า ในการทดลองครั้งนี้จะถูกช็อคไฟฟ้าซึ่งเจ็บมาก กลุ่มหลังได้รับการบอกว่า การช็อคไฟฟ้าไม่เจ็บเลย สนุกด้วยเขาให้ทั้งสองกลุ่มเลือกที่จะอยู่คนเดียวหรืออยู่กับคนอื่น ขณะที่คอยติดตั้งเครื่องมือพบว่ากลุ่มแรกเลือกคอยกับผู้อื่นมากกว่าที่จะคอยคนเดียวซึ่งตรงกันข้ามกับกลุ่มหลัง ทั้งนี้เป็นเพราะกลุ่มแรกกลัวมากกว่า ซึ่งจะนำไปสู่ความต้องการติดต่อกับผู้อื่นมากกว่ากลุ่มหลัง นอกจากนั้น แชคเตอร์ยังพบอีกว่า บุคคลที่ร่วมการทดลองต้องการติดต่อด้วย คือ ผู้ที่เข้าร่วมการทดลองในลักษณะเดียวกันมิใช่ใครก็ได้ แสดงว่าบุคคลต้องการเข้ากลุ่ทกับผู้อื่นเพื่อได้ข้อมูลมาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของตน
3.2 การให้ความช่วยเหลือ
ในสถานการณ์ฉุกเฉินพฤติกรรมของบุคคลอื่นเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับการตัดสินทีจะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกไป ถ้าเราเดินไปตามถนนเห็นหญิงชราหกล้ม เราจะทำอย่างไร หญิงชรานั้นจะลุกขึ้นมาได้เองไหม หรือขาแผลงลุกเองไม่ได้เราควรทำเฉย ๆ ไหมในกรณีนี้การมองว่าคนอื่นมีปฏิกิริยาอย่างไรจะช่วยให้เราตัดสินใจได้ ถ้าเราอยู่คนเดียว ข้อมูลจากบุคคลอื่นไม่มีความจำเป็น เรามักตัดสินใจช่วยทันที แต่ถ้าอยู่กันหลายคน คนอื่นช่วย เราก็จะช่วย คนอื่นทำเฉย เราอาจเฉยด้วย หรือใช้เวลานานกว่าจะตัดสินใจเข้าไปช่วย
ลาตาเน่ และ ดาร์ลีย์ ( และ ,1970) ได้อธิบายลำดับการตัดสินใจช่วยเหลือหรือไม่ช่วยเมื่อประสบการณ์ฉุกเฉินว่า
- ขั้นแรก บุคคลต้องมองเห็นเหตุการณ์นั้น
- ขั้นสอง แปลาความว่า เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน ต้องการความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วหรือไม่ ถ้าคิดว่าไม่ใช่ ก็ไม่ช่วย ถ้าคิดว่า ใช่ อาจให้ความช่วยเหลือต่อไป
- ขั้นสาม คิดว่าตนเองต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นั้นหรือไม่ เช่น เห็นหญิงชราหกล้ม เราคิดว่าจะต้องช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์หรือไม่ ถ้าคิดว่าไม่ใช่ธุระก็จะเฉยเสีย
ขั้นสี่ ถ้าคิดว่าควรช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในขั้นนี้ บุคคลจะพิจารณาว่าตนเองรู้วิธีช่วยเหลือที่เหมาะสมหรือไม่ ถ้าไม่รู้จะช่วยอย่างไร อาจตัดสินใจไม่ช่วย แต่ถ้ารู้ก็จะช่วย นอกจากการตัดสินใจดังกล่าวข้างต้นแล้ว จำนวนผู้ร่วมเหตุการณ์ก็มีส่วนที่จะทำให้บุคคลตัดสินใจช่วยหรือไม่ช่วยด้วย
ในการทดลองเพื่อศึกษาเรื่องนี้ ผู้ทดลองได้แบ่งผู้ร่วมการทดลอง เป็น 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มแรก ผู้ร่วมการทดลองรับรู้ว่า มีตนและเพื่อนอีกคนร่วมทดลองอยู่
- กลุ่มสอง ผู้ร่วมการทดลองรับรู้ว่า มีตนและเพื่อนอีกสองคนร่วมการทดลองด้วย
กลุ่มสาม ผู้ร่วมการทดลองรับรู้ว่า มีตนและเพื่อน 5 คนอยู่
เมื่อการทดลองดำเนินไปสักครู่ ผู้ร่วมการทดลองซึ่งอยู่คนเดียวในห้อง (แต่สามารถได้ยินเสียงของคนอื่น ๆ จากเครื่องไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้) จะได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ร่วมการทดลองอีกคน ผู้ทดลองสังเกตพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือของบุคคล พบว่า ยิ่งรู้ว่ามีคนอยู่มากการให้ความช่วยเหลือยิ่งน้อย ทั้งนี้เพราะเกิดการกระจายความรับผิดชอบขึ้นบุคคลอาจคิดว่าถึงตนไม่ช่วย ก็ยังมีคนอื่น ๆ อีกหลายคนที่ช่วย จึงมักทำเฉย
3.3 การคล้อยตาม
การเปรียบเทียบทางสังคมเกิดจากการที่บุคคลมีความต้องการที่จะรู้ว่าตนเองมีความเชื่อ หรือ อะไร ๆ คล้าย ๆ คนอื่น ๆ ในสังคม ในหลายกรณีบุคคลเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เหมือนของกลุ่ม นั่นคือ บุคคลคล้อยตามกลุ่ม การคล้อยตามนี้อาจเป็นไปในลักษณะของการยอมตามผู้อื่นหรือการยอมรับเป็นส่วนตน การยอมตามผู้อื่นเกิดขึ้นเพราะบุคคลเกรงว่าจะได้รับแรงเสริมทางลบ เมื่อกลัวจะถูกลงโทษก็ยอมทำตาม กรณีนี้การยอมรับเป็นส่วนตนจะไม่เกิดขั้นกล่าวคือบุคคลจะไม่เปลี่ยนควาเชื่อของตน เมื่อใดที่ไม่มีการลงโทษบุคคลจะแสดงพฤติกรรมตามความคิดเห็นและควาเชื่อของตนทันที ส่วนการยอมมรับเป็นส่วนตนนั้นเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความเชื่อสอดคล้องกับความเชื่อของสังคมไปด้วย ดังนั้น แม้จะไม่มีการควบคุมทางสังคม หรือไม่มีการลงโทษแล้วบุคคลก็ยังคงแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ อยู่ คือบุคคลเปลี่ยนทั้งความเชื่อและพฤติกรรมของตน
การคล้อยตามอาจเกิดขึ้นเพราะบุคคลต้องการข้อมูลจากผู้อื่น ซึ่งจะเกิดเมื่อสภาพการณ์คลุมเคลือ บุคคลไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร ดังนั้น พฤติกรรมของผู้อื่นในสังคมจึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่จะให้บุคคลรู้ว่าควรแสดงพฤติกรรมอย่างไร กรณีที่สถานการณ์ไม่คลุมเคลือ การคล้ายตามเกิดขึ้น เพราะบุคคลต้องการการยอมรับ ต้องการเสริมแรงทางบวก และหลีกดลี่ยงการถูกสงโทษจากกลุ่มสังคม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการคล้อยตาม มีดังนี้
3.3.1 ความคลุมเคลือ : สถานการณ์ยิ่งคลุ่มเคลือ การคล้อยตามยิ่งมีมาก เพราะบุคคลต้องการข้อมูลจากพฤติกรรมของบุคคลอื่นมาช่วยตันสินในกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3.3.2 ความเชื่อมั่นในตัวเอง : บุคคลที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง จะคล้อยตามน้อยตรงข้ามกับบุคคลที่ไม่เชื่อมั่นในตัวเองจะคล้อยตามสูง
3.3.3 จุดมุ่งหมายของกลุ่ม : ถ้าสมาชิกในกลุ่มยืดจุดมุ่งหมายของกลุ่มเป็นสำคัญการคล้อยตามกันจะมีมากขึ้น
3.3.4 เพื่อน : ถ้ามีเพื่อนที่มีความคิดเห็นเหมือนเราอีกเพียงคนเดียว การคล้อยตามจะลดลง เพราะถ้ามีกลุ่มย่อยเกิดขึ้นการลงโทษจากกลุ่มคงจะลดลง หรือ แม้จะถูกต้องออกจากกลุ่มก็ยังมีเพื่อนร่มชะตากรรมอีกคนหนึ่ง
ความกลมเกลียว : ถ้าสมาชิกในกลุ่มมีความพึงพอใจระหว่างกันสูงถึงความ
กลมเกลียวกันมาก โอกาสที่สมาชิกจะคล้อยตามกันก็มีมาก ถ้าความกลมเกลียวกันในกลุ่มมีน้อย สมาชิกย่อมคล้อยตามกันน้อย
3.4 การเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเอง
นอกจากจะศึกษาอิทธิพลที่ผู้อื่นมีต่อเราแล้ว จิตวิทยาสังคมยังศึกษาการที่บุคคลอื่นช่วยให้เราเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองด้วย
การเปรียบเทียบทางสังคมเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เราทราบความคิดเห็น ความสามารถการตัดสินใจ และอารมณ์ของเรา การที่บุคคลอื่นปฏิบัติต่อเรา และการรับรู้ตนเองก็เป็นวิธีที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองอีกสองวิธี
เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองจากการที่บุคคลอื่นปฏิบัติต่อเรา เพราะนั่นย่อมสะท้อนให้เห็นการที่เขาประเมินเรา และเราประเมินตัวเราเอง กล่าวคือ บุคคลมักจะประเมินตนเองตามการประเมินของบุคคลอื่น เช่น การทดลองของโรเบิร์ต เคร้าท์ ( , 1973 )
ซึ่งจัดให้ผู้ทดลองขอรับเงินบริจาคจากชาวบ้านที่มีฐานะปานกลาง ครึ่งหนึ่งของผู้บริจาคจะได้รับคำชมว่า “คุณเป็นคนใจดี ฉันอยากให้มีคนอย่างคุณมาก ๆ” อีกครึ่งหนึ่งของผู้บริจาคจะไม่ได้รับอะไรทั้งสิ้น ส่วนผู้ที่ไม่บริจาคก็เช่นกัน ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ไม่ได้บริจาคจะได้รับคำกล่าวว่า
“ยังไงก็ตามฉันจะให้ของที่ระลึกแก่คุณ เพราะฉันให้ทุกคน แม้แต่คนไม่มีกุศลจิตเช่นคุณ” อีกสองอาทิตย์ต่อมา ผู้ทดลองอีกชุดหนึ่งไปขอบริจาคในรายการกุศลอื่นจากชาวบ้านกลุ่มเดิมพบว่ากลุ่มที่ได้รับคำชมว่าเป็นคนใจดี ใจกุศลบริจาคเงินมากขึ้น ขณะที่กลุ่มซึ่งไม่ได้บริจาคและได้รับการประเมินว่าไม่มีกุศลจิตนั้น บริจาคน้อยยิ่งกว่ากลุ่มที่ไม่บริจาค แและไม่ได้รับคำประเมินดังนั้นการประเมินของผู้อื่น จึงมีผลต่อภาพพจน์เกียวกับตนเองของบุคคลนั้น ๆ
บุคคคลเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองจากการสังเกตและรับรู้พฤติกรรมภายนอกของตน เช่น ถ้าเราสังเกตว่าตนเองรับประทานอาหารมื้อนี้ได้มากเป็นพิเศษ เราจะรับรู้ว่าวันนี้ตนเองหิวมากหรือเราสังเกตว่าตนนเองดูรายการโทรศัทน์จนปิดสถานี เรารับรู้ว่าเป็นเพราะเราชอบรายการที่เราดู ถ้าสังเกตตนเองว่าชอบทำลายข้าวของเวลาโกรธก็จะรับรู้ว่าตนเป้นคนโมโหร้าย
อิทธิพลทางสังคมโดยตั้งใจ
อิทธิพลที่ผู้อื่นมีต่อพฤติกรรมของเราในบางตรั้งเกิดขึ้นจากความทฃตั้งใจหรือจงใจให้เกิด เช่น ตำรวจออกกฏจราจรโดยตั้งใจให้เราปฏิบัติตาม นักโฆษณาพยายามชักชวนให้เราซื้อผลิตภัณฑ์ที่เขาโฆษณา หรือนักการเมืองพยามยามโน้มน้าวให้เราเลือกเขา เป็นต้น อิทธิพลทางสังคมโดยตั้งใจอาจอยู่ในรูปแบบของการเชื่อฟังผู้มีอำนาจ การชักชวน การขัดแย้ง และการล้างสมอง
การเชื่อพังผู้มีอำนาจ
อิทธิพลทางสังคมโดยตั้งใจที่เห็นได้ชัด คือ พฤติกรรมของผู้ มีอำนาจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล การเชื่อฟังคำสั่งของผู้มีอำนาจนำมาซึ่งความหายนะได้ เช่น คนจำนวนมากตายในสงครามก็เพราะเชื่อฟังผู้มีอำนาจ เหตุการณ์เมื่อ 6 ตุลาคม ก็เช่นกัน หรือการตายหมู่ที่ โจนส์ทาวน์ ประเทศกายานา เมื่อ 4-5 ปีก่อน ล้วนเกิดจากการเชื่อฟังผู้มีอำนาจ
จากการศึกษาของสแตนเลย์ มิลแกรม ( , 1963) พบว่า มีคนจำนวนมากที่เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้มีอำนาจ เขาทดลองโดยหลอกผู้ร่วมการทดลองว่า กำลังศึกษาผลของการลงโทษที่มีต่อการเรียนรู้ ทั้งนี้เขาได้ให้ผู้ร่วมการทดลองเล่นบทบาทสมมติเป็นครูให้หน้าม้าเป็นผู้เรียน ครูจะถามคำถามให้ผู้เรียนตอบ ถ้าตอบผิดจะถูกลงโทษโดยการช็อคไฟฟ้าจาก 15 โวลท์ ถึง 450 โวลท์ซึ่งเป็นขั้นอันตราย ระยะแรก ๆ ของการทดลองผู้เรียนตอบถูกและเริ่มตอบผิดมากขึ้น ถูกทำโทษมากขึ้น เมื่อถูกทำโทษที่ระดับ 90 โวลท์ ครูจะได้ยินเสียงผู้เรียนร้องด้วยความเจ็บปวด ที่ระดับ 150 โวลท์ ผู้เรียนขอออกจากการทดลอง ที่ระดับ180 โวลท์ผู้เรียนเริ่มทุบข้างฝา ที่ระดับ 285 โวลท์ ผู้เรียนโหยหวน จากระดับ 330-450 โวลท์ไม่มีเสียงใด ๆ จากผู้เรียนเสียงต่าง ๆ นี้เป็นเสียงเทปที่ผู้ทดลองจัดทำขึ้น ผู้ทำหน้าที่ครูจะได้รับคำสั่งให้ดำเนินการทดลองสงไปเรื่อย ๆ ก่อนกาทดลองมิลแกรมคิดว่า จะมีคนเพียงจำนวนน้อยที่ลงโทษผู้เรียนถึงระดับสูงสุด แต่เมื่อสิ้นสุดการทดลองเขาพบว่ามีถึง 65 % ที่เชื่อฟังคำสั่งผู้ทดลองลงโทษผู้เรียนที่ระดับ 450 โวลท์
การศึกษาในระยะหลัง ๆ ของมิลแกรม พบว่า ถ้าผู้เรียนและผู้ร่วมการทดลองซึ่งสวมบทบาทเป็นครูอยู่ใกล้กันเท่าใด การเชื่อฟังผู้มีอำนาจจะลดลงเท่านั้น ถ้าผู้ร่วมการทดลองไม่เห็นหรือไม่ได้ยินเสียงของผู้เรียน การเชื่อฟังจะมีมากขึ้น นอกจากนั้นยังพบอีกว่า ระยะทางระหว่างผู้ร่วมทำการทดลองกับผู้ทดลองห่างกันมากเท่าใด การเชื่อฟังก็ลดลงเท่านั้น ถ้าผู้ทดลองไม่อยู่ในห้องผู้ร่วมการทดลองจะช็อคไฟฟ้าในระดับต่ำสุด
การชักชวน : การเปลี่ยนทัศนคติโดยเปลี่ยนการรับรู้
ผู้มีอำนาจนั้นมุ่งให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมโดยตรง แต่การชักชวนเป็นการพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมของเราโดยทางอ้อม การชักชวนมุ่งที่จะให้เกิดการเปลี่ยนทัศนคติซึ่งหวังว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมในภายหลัง และเป็นการเปลี่ยนทัศนคติโดยเปลี่ยนการรับรู้ของเรา
ทัศนคติ หมายถึง ระดับความชอบที่บุคคลมีสิ่งต่าง ๆ อาจเป็นสิ่งของบุคคล หรือสภาพการณ์ก็ได้ การวัดทัศนคติทำได้โดยให้บุคคลตัดสินใจสิ่งบใดสิ่งหนึ่งในมาตราที่กำหนดให้ว่า “ดี” หรือ “เลว” “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย”
ทุกคนมีทัศนคติต่อเรื่องต่าง ๆ เพราะทัศนคติช่วยจัดประเภทสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ยาก ๆให้ง่ายต่อการรับรู้ของเรา เช่น จัดประเภทสิ่งของเป็น “ดี” - “เลว” ทัศนคติเกิดได้หลายวิธี อาจเกิดจากการเปรียบเทียบทางสังคม จากข้อมูลทางสังคม จากกระบวนการรับรู้ตนเองจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ จากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค และจากความคุ้นเคย
การเปลี่ยนทัศนคติ อันเนื่องมาจากการชักชวนต้องอาศัยผู้สื่อสารซึ่งจะต้องน่าเชื่อถือและดึงดูดใจ ผู้สื่อสารที่น่าเชื่อถือสามารถทำให้ผู้รับข่าวสารสามารถคล้อยตามได้ จะเห็นได้ว่าในการโฆษณาสินค้าต่างๆมักใช้โฆษณาที่น่าเชื่อถือเช่น โฆษณายาสีฟันโดยผู้โฆษณาแต่งตัวเป็นแพทย์ หรือโฆษณาอาหารโดย ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ผู้มีชื่อเสียงในการชิมอาหาร เป็นต้น ความดึงดูดใจหรือน่าพึงพอใจของผู้สื่อสารเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติดังเช่นการโฆษณาที่นิยมใช้หนุ่มเท่ห์ สาวสวย เป็นนายแบบและนางแบบ เหตุที่ความดึงดูดใจของผู้สื่อสารทำให้เกิดความเปลี่ยนทัศนคติ เพราะผู้รับข่าวสารมีความปรารถนาจะเป็นเหมือนผู้สื่อสารนั่นเอง
การขัดแย้ง : การเปลี่ยนทัศนคติโดยเปลี่ยนพฤติกรรม
ความขัดแย้งเป็นการเปลี่ยนทัศนคติโดยให้บุคคลกระทำพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติของตน ทั้งนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่า บุคคลชอบความสอดคล้องระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมของตน เมื่อใดก็ตามที่บุคคลมีพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติขิงตนจะเกิดความขัดแย้ง ซึ่งเป็นภาวะที่เครียด บุคคลจะลดภาวะนี้ลงด้วยวิธีการ 2 อย่างคือ ลดการไม่สอดคล้องทางความคิดลงด้วยการเปลี่ยนทัศนคติหรือเพิ่มการสอดคล้องทางความคิดขึ้น โดยสรุปว่าตนถูกบังคับให้แสดงพฤติกรรม ซึ่งบุคคลมักจะเลือกการเปลี่ยนทัศนคติมากกว่า
การรับรู้ทางสังคม
การเรียนรู้ทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลมีการรับรู้และแปลความพฤติกรรมของบุคคลที่ตนมีความสัมพันธ์ด้วย ซึ่งการรับรู้นี้จะมีผลต่อปฏิกิริยาการตอบสนองของบุคคล เช่นถ้าเรารับรู้ว่าเพื่อนบ้านเป็นคนโกงและโกหก การรับรู้มีผลให้เราไม่อยากคบหาสมาคมด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าในการรับรู้บุคคลอื่นนั้น เรามักรับรู้โดยจัดบุคคลเข้าประเภทต่าง ๆ เช่น เป็นคนขยัน ซื่อสัตย์ ใจดี เก็บตัว ก้าวร้าว ฯลฯ การรับรู้ทางสังคมประกอบด้วย 2 กระบวนการคือ ความประทับใจ และการระบุสาเหตุ
ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อความประทับใจ ได้แก่ Stereotype
การรับรู้กลุ่มบางกลุ่มว่ามีลักษณะหรือบุคลิกภาพเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่า Stereotype มักเป็นการรับรู้ตามกลุ่มเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ กลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มโรงเรียนเช่น มักมีการรับรู้ว่า คนจีนนั้นขยัน ฉลาด ค้าขายเก่ง คนไทยนั้นเป็นคนที่ชอบ 3 ส. คือ สนุก สะดวก สบาย
ความประทับใจครั้งแรก – ครั้งหลัง
ความประทับใจที่เรามีต่อผู้อื่นนั้นอาจเกิดจากข้อมูลหรือลักษณะต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นในระยะแรก ๆ ที่เรียกว่า ความประทับครั้งแรก ซึ่งมีผลต่อการรับรู้ทั้งทางบวกและทางลบ ที่มีต่อบุคคลนั้นๆ ได้ ความประทับใจครั้งแรกอาจทำให้เกิดความชอบหรือไม่ชอบขึ้นได้ และเป็นเครื่องชี่แนะพฤติกรรมการตอบสนองของเราต่อบุคคลๆ นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เมื่อรู้จักกันมากขึ้นได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นมาก ๆ ความรู้สึกที่ได้เกิดขึ้นในระยะแรก ๆ อาจเปลี่ยนไป เกิดความรู้สึกและทัศนคติใหม่ขึ้น เพราะเกิดความประทับใจในข้อมูลครั้งหลัง เช่น เมื่อแรกรู้จักอาจไม่รู้สึกไม่ชอบ แต่เมื่อรู้สึกมากขึ้นขึ้นกลับรู้สึกชอบมากขึ้น เป็นต้น
จากการศึกษาพบว่า ความประทับใจครั้งแรกมีอิทธิพลต่อการับรู้ทางสังคมมากกว่าการประทับใจครั้งหลัง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเมื่อแรกรู้จักกันนั้น เราต้องการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่รู้จักให้มากๆ เพื่อที่จะรู้จักเขาให้มากขึ้น เราจึงสนใจข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขามาก และเกิดความประทับใจขึ้น ซึ่งความประทับใจนี้มักคงอยู่เป็นเวลานาน ทำให้ข้อมูลระยะหลังมีอิทธิพลน้อยกว่าข้อมูลที่ได้รับในระยะแรกๆ
การล้างสมอง อิทธิพลทางสังคมระดับสูง
อิทธิพลทางสังคมโดยตั้งใจในระดับสูง คือ การล้างสมอง ซึ่งเชื่อว่ากระทำได้หลายวิธี คือ การทำให้เจ็บ ควบคุมสิ่งแวดล้อม ความน่าพึงพอใจของผู้ล้างสมองกับการสารภาพ
- การทำให้ผู้ถูกล้างสมองรู้สึกเจ็บด้วยการทำให้ต่ำต้อยหรือสึกผิดจะทำให้ล้างสมองง่ายขึ้น
- ควบคุมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การควบคุมข่าวสารต่างๆ ตลอดจนรางวัลและการลงโทษพยายามไม่ให้ผู้ถูกล้างสมองติดต่อกับผู้ไม่พึงประสงค์
- ถ้าผู้ถูกล้างสมองมีลักษณะน่าพึงพอใจ มีความกลมเกลียวกัน น่าเชื่อถือสำหรับผู้ถูกล้างสมองแล้ว การล้างสมองย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย
- การสารภาพ วิธีการล้างสมองอีกประการหนึ่ง คือ การสารภาพถึงสิ่งที่ทำไปแล้ว และขอเริ่มต้นใหม่ด้วยการให้ผู้ถูกล้างสมองมีอิสระในการเลือก
ซึ่งตามทฤษฏีความขัดแย้งทางความคิดแล้ว บุคคลน่าจะเปลี่ยนทัศนคติของตนตามความพฤติกรรมที่ได้กระทำแล้ว คือ จะเห็นว่า ผู้ล้างสมองและองค์การนี้เป็นสิ่งที่ไม่เลวทีเดียว
อิทธิพลทางสังคมที่มักพบเห็นสิ่งต่าง ๆ เสมอ คือ อิทธิพลที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ แต่ก็มีไม่น้อยที่เกิดจากความตั้งใจ หรือจงใจให้เกิดขึ้นดังได้กล่าวมาแล้ว