จริยธรรมทางธุรกิจ

ความหมายของจริยธรรม

“จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ

อลิสโตเติล กล่าวว่า พฤติกรรมที่เหมาะสม คือควรปฏิบัติตามกฎการเดินสายกลาง golden mean of moderation คือการไม่ทำอะไร สุดโต่ง เช่น ร่ำรวยเกินไป ยากจนเกินไป

ความหมายของจริยธรรมธุรกิจ

จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานคุณค่าแห่งความดีงามของการกระทำหนึ่ง ๆ และหรือพฤติกรรมโดยรวม ธุรกิจ หมายถึง บุคคล นิติบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ที่ดำเนินการผลิตสินค้าบริการเพื่อผลตอบแทนในการลงทุน (กำไร) จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง มาตรฐานการผลิตสินค้าและการให้บริการเพื่อผลตอบแทนตามคุณค่าของการลงทุนโดยเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริโภค ผู้รับบริการรัฐบาล สังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจร่วมกัน

 

องค์ประกอบสำคัญของจริยธรรม

  1. ความเฉลียวฉลาด (wisdom)
  2. ความกล้าหาญ (courage)
  3. ความรู้จักเพียงพอ (temperance)
  4. ความยุติธรรม (justice)
  5. ความมีสติ (conscience)

 

ประโยชน์ของจริยธรรมธุรกิจ

  1. จริยธรรมก่อให้เกิดความมุ่งมั่นของพนักงานในองค์กร
  2. จริยธรรมก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร
  3. จริยธรรมก่อให้เกิดความมั่นใจของนักลงทุน
  4. จริยธรรมก่อให้เกิดความสงบสุขของสังคม
  5. จริยธรรมก่อให้เกิดความเจริญของประเทศชาติ

 

ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมธุรกิจ

  1. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน
  2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
  3. เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
  4. เพื่อรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม

 

ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย

  1. การบังคับใช้
  2. เหตุแห่งการเกิด
  3. บทลงโทษ
  4. การยกย่องสรรเสริญ
  5. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน

 

โดยสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

  1. การบังคับใช้
    - กฎหมายเป็นสิ่งที่ผู้นำตั้งขึ้นตามความเหมาะสม จะปฎิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
    - จริยธรรมขึ้นอยู่กับบุคคล อยู่ที่จิตใต้สำนึก ไม่บังคับใช้อยู่ที่ความสมัครใจ
  2. เหตุแห่งการเกิด
    - กฎหมายเกิดอย่างเป็นกระบวนการเป็นทางการสามารถเปลี่ยนตามสภาวะสังคม
    - จริยธรรมเกิดจากพื้นฐานทางสังคมที่แท้จริงโดยอาศัยระยะเวลาในการยอมรับ
  3. บทลงโทษ
    - กฎหมายมีการกำหนดบทลงโทษไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
    - จริยธรรมมีการกำหนดบทลงโทษแตกต่างกันไม่มีกำหนด
  4. การยกย่องสรรเสริญ
    - บุคคลที่สามารถปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎหมายได้ถือเป็นพลเมืองดี
    - จริยธรรมต้องสั่งสมและต้องสร้างจากภายในออกสู่ภายนอก
  5. เกณฑ์การใช้ในการตัดสิน
    - หลักกฎหมายมีระบุชัดเจน เกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีผิด,ไม่ผิด
    - จริยธรรมมีความยืดหยุ่นมาก เกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีควรหรือไม่ควร

สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ สิ่งที่เป็นจริยธรรม (ethics) นั้นจะมีความแตกต่างจาก กฎหมาย (law) อยู่หลายประการ คือ
- สิ่งที่เป็นจริยธรรม ก่อเกิดจากภายในตัวของผู้กระทำเอง เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในระดับสูง การลงโทษก็เป็นการควบคุม
- ส่วนกฎหมายนั้น เป็นเรื่องของการบังคับให้ปฏิบัติ มิได้ก่อเกิดจากรากฐานภายในจิตใจ และกฎหมายอาจเป็นดั่งบรรทัดฐาน (norms) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งจริยธรรมและกฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำให้สังคมนั้นดีจากสังคม (social sanction)

 

ความหมายของคำว่าจริยธรรมและจริยธรรมทางธุรกิจ


จริยธรรม (ethics) หมายถึง หลักแห่งความประพฤติหรือแนวทางของความประพฤติ
จริยธรรมทางธุรกิจ (business ethics) หมายถึง การแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

 

จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ

มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET) ได้เสนอหลักจริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจไว้เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติได้แก่

  1. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อลูกค้า
    - ขายสินค้าและบริการในราคาที่ยุติธรรม
    - สินค้าและบริการต้องมีคุณภาพ
    - ดูแลให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน
    - ละเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ราคาสูงขึ้นโดยไม่มีเหตุผล
    - ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีน้ำใจ
  2. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อคู่แข่งขัน
    - ละเว้นจากการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
    - ควรให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เช่น การให้ข้อมูลความรู้ในด้านต่าง ๆ
  3. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อหน่วยงานราชการ
    - การทำธุรกิจควรตรงไปตรงมา
    - ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายในการทำธุรกิจ
    - ละเว้นจากการติดสินบนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ
    - ไม่สนับสนุนข้าราชการทำทุจริต
    - ละเว้นการให้ของขวัญหรือของกำนัลแก่ข้าราชการ
    - มีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อถือต่อหน่วยงานราชการ
    - ให้ความร่วมมือเป็นพลเมืองที่ดี
  4. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อพนักงาน
    - ให้ค่าจ้างเหมาะสม
    - เอาใจใส่ต่อสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงาน
    - พัฒนาให้ความรู้เพิ่มความชำนาญ
    - ให้ความเป็นธรรม และโอกาสที่เท่าเทียมกัน
    - ศึกษานิสัยใจคอและความถนัดของพนักงาน
    - เคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
    - ให้ความเชื่อถือและไว้เนื้อเชื่อใจ
    - ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา
    - สนับสนุนให้พนักงานเป็นคนดี
  5. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อสังคม
    - ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อมลง
    - ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    - เคารพสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น
    - ให้ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคม
    - ให้ความสนใจเรื่องการสร้างงานแก่คนในสังคม
  6. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อนักธุรกิจ
    - มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน
    - รักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของนายจ้างให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
    - ระมัดระวังเรื่องการวางตัวในสังคม
    - หลีกเลี่ยงการขัดผลประโยชน์ของนายจ้าง
    - ละเว้นการทำงานให้ผู้อื่น
  7. คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ
    - มีความรับผิดชอบในการทำงานไม่ว่าจะได้กำไรหรือขาดทุน
    - กล้าเสี่ยงพอสมควร
    - มีความมั่นใจในตนเอง
    - มั่นใจในการประเมินผลงานกิจการของตนเอง
    - กระตือรือร้นในการทำงาน
    - มองการณ์ไกล
    - มีความสามารถในการคัดคนเข้าทำงาน
    - คำนึงถึงความสำเร็จของงานมากกว่าคน
    - มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ
    - มนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพดี
    - มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
    - มีความชำนาญในงานที่ทำ
    - มีความสามารถในการจัดการและการวางแผน
    - มีจริยธรรมหรือจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตนเอง

จริยธรรมทางธุรกิจคือการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม พยายามสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใด เพื่อให้ธุรกิจมีความก้าวหน้าและเติบโตไปได้อย่างมั่นคง

 

ผู้บริหารกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ

 

จรรยาบรรณทางธุรกิจ (business ethics) เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและกล่าวถึงอยู่เสมอในแวดวงของการบริหารงานยุคใหม่ โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการ จะต้องตระหนักและเสริมสร้างให้เกิดขึ้นกับพนักงานและองค์การของตน

จรรยาบรรณทางธุรกิจ มีความหมายครอบคลุมถึงหลักการ กฎเกณฑ์ที่บ่งบอกว่าพฤติกรรมหรือการกระทำใดที่จัดว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี เลว ผิด ถูก ซึ่งจะช่วยให้พนักงานในองค์การ สามารถแยกแยะปฏิบัติได้ว่าการกระทำใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำ การกระใดเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ละเว้นหรือไม่ควรปฏิบัติ การสร้างหลักเกณฑ์นั้นอาจไม่ยากเท่ากับการโน้มน้าวให้พนักงานนำไปปฏิบัติจริง ลักษณะของการประพฤติบางอย่างต้องวินิจฉัยว่าผิดหรือถูกจรรยาบรรณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากพอควรที่จะปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตาม การประพฤติผิดจรรยาบรรณจะสามารถบรรเทาลงได้หากผู้บริหารให้ความสนใจจริงจังที่จะแก้ไข และกระทำการอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้สังคมและองค์การของตนดีขึ้นในอนาคต

 

แนวทางที่ธุรกิจสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดการกระทำที่มีจรรยาบรรณได้นั้นมีอยู่หลายหนทาง อาทิ

  1. จัดทำสิ่งพิมพ์ ที่ระบุว่าสิ่งใดเป็นข้อความปฏิบัติหรือจรรยาบรรณที่พึงประสงค์ สิ่งใดที่องค์การไม่ยอมรับ หรือถือว่าผิดจรรยาบรรณ การระบุเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับการจำแนกตัวอย่างให้เห็นอย่างเด่นชัด เป็นวิธีแรกที่ธุรกิจสามารถกระทำได้
  2. จัดให้มีการอบรมและสัมมนา เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจให้แก่ระดับผู้บริหารหรือระดับหัวหน้า และมอบหมายให้แต่ละคน แต่ละฝ่าย นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดพร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเองทราบและยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
  3. จัดให้มีโครงการยุติธรรมภายในองค์การธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกระทำที่ถูกต้องและขจัดการกระทำที่ไม่ถูกต้องให้หมดไปจากองค์การ อาทิ การจัดให้มีการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้ที่ได้รับการกระทำที่ไม่เป็นธรรมจากผู้บริหารหรือจากผู้ร่วมงานต่าง ๆ และเมื่อพิจารณาผลการร้องทุกข์ดังกล่าวแล้ว ก็จะมีการประกาศผลให้ทราบโดยทั่วกัน ให้พนักงานตระหนักว่าบริษัทให้ความสำคัญกับนโยบายเรื่องนี้ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นตัวอย่างและบรรทัดฐานแก่ผู้อื่นที่จะไม่ทำให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นอีก
  4. จัดให้มีคณะกรรมการติดตามสอดส่องการปฏิบัติงาน ให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณที่ควรจะเป็นหากมีการกระทำที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้น ก็ให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการชุดนี้เพื่อวินิจฉัยหาหนทางปรับปรุงแก้ไขและดำเนินการตามแต่กรณีไป
    5. จัดให้มีระบบการตอบแทนหรือการให้รางวัล แก่ผู้ที่มีความประพฤติดี เหมาะสมแก่องค์การ ในทางกลับกันกำหนดให้มีบทลงโทษผู้ที่ประพฤติปฏิบัติผิดกฎเกณฑ์ โดยทุกอย่างต้องกระทำอย่างชัดเจนโปร่งใสให้พนักงานได้ทราบโดยทั่วกัน

 

บทสรุป


จริยธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทุกด้านขององค์การ การทำงานภายใต้ระบบทุนนิยมและกระแสเศรษฐกิจใหม่ ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องจริยธรรม จะสร้างผลกระทบในทางลบได้อย่างรุนแรงและกว้างขวางมากกว่ายุคใด ๆ

 

แนวทางในการเสริมสร้างปลูกฝังจริยธรรม มีอยู่ 4 รูปแบบ

  1. วิธีการกระจ่างค่านิยม (Value Clarification หรือ VC)
  2. วิธีการให้เหตุผลทางจริยธรรม (Moral Reasoning หรือ MR)
  3. วิธีการปรับพฤติกรรม (Behavior Modification หรือ BM)
  4. วิธีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning หรือ SL)


ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบันมักมีแรงกดดันทางสังคมอยู่อย่างน้อย 6 ประการ ที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาให้เราตัดสินใจประกอบด้วย

  1. ประเด็นว่าด้วยนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม
  2. ปัจจัยที่เป็นผลในการทำงาน
  3. ปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
  4. แรงกดดัน ความต้องการ และความจำเป็นของโลก
  5. ความสมดุลระหว่างจริยธรรมและเศรษฐกิจ
  6. กำหนดหุ้นส่วนทางสังคม

จริยธรรมถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์ประกอบหนึ่งของการเพิ่มผลผลิตผู้ผลิต หรือผู้ให้บริการที่มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ย่อมได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากลูกค้า ผู้ขาย ผู้ถือหุ้น คู่แข่งขัน พนักงาน ข้าราชการและประชาชนทั่วไป การดำเนินงานทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรมที่สำคัญมี 10 ประการ เช่น

  1. ไม่เบียดเบียนลูกค้า
  2. ไม่เบียดเบียนผู้จัดส่งวัตถุดิบ
  3. ไม่เบียดเบียนพนักงาน
  4. ไม่เบียดเบียนผู้ถือหุ้น
  5. ไม่เบียดเบียนผู้ร่วมงาน
  6. ไม่เบียดเบียนผู้ให้กู้ยืม
  7. ไม่เบียดเบียนคู่แข่ง
  8. ไม่เบียดเบียนราชการ
  9. ไม่เบียดเบียนสังคม
  10. ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม

 

เมื่อเกิดความเสียหายในธุรกิจสิ่งที่สังคมแสวงหาคือความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรม ในการประกอบธุรกิจ เรื่องจริยธรรมเป็นเรื่องของรูปแบบของการตีความว่า พฤติกรรมใดผิดและพฤติกรรมใดถูก การพิจารณาสิ่งที่ควรทำและไม่ผิดจริยธรรมนั้นสามารถพิจารณาได้ใน 3 ประเด็นคือ

  1. เรื่องต้นทุนและผลประโยชน์
  2. ต้องไม่ขัดกับสิทธิมนุษยชน
  3. ความเสมอภาคและยุติธรรม

 

จรรยาบรรณทางธุรกิจ มีความหมายครอบคลุมถึงหลักการ กฎเกณฑ์ที่บ่งบอกว่าพฤติกรรมหรือการกระทำใดที่จัดว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี เลว ผิด ถูก แนวทางที่ธุรกิจสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดการกระทำที่มีจรรยาบรรณได้นั้นมีอยู่หลายหนทาง คือ

  1. จัดทำสิ่งพิมพ์ที่ระบุว่าสิ่งใดเป็นข้อความปฏิบัติหรือจรรยาบรรณที่พึงประสงค์
  2. จัดให้มีการอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ
  3. จัดให้มีโครงการยุติธรรมภายในองค์การธุรกิจ เพื่อที่จะให้เป็นตัวอย่างและบรรทัดฐานแก่ผู้อื่น
  4. จัดให้มีคณะกรรมการติดตามสอดส่องการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณ
  5. จัดให้มีระบบการตอบแทนหรือการให้รางวัลแก่ผู้ที่มีความประพฤติดี ในทางกลับกันกำหนดให้มีบทลงโทษผู้ที่ประพฤติปฏิบัติผิดกฎเกณฑ์

 

โดยสรุป จริยธรรมคือหลักความประพฤติ แนวทาง แบบแผน หรือหลักการที่ว่าด้วยความดีงามซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการของศาสนา ยึดประโยชน์ส่วนรวมหรือหลักของการพัฒนาประเทศ เพื่อความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข การปลูกฝังจริยธรรมเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของมนุษย์ในสังคม

อ้างอิง

ผศ.กิตติภูมิ มีประดิษฐ์. 2550. จริยธรรมทางธุรกิจ : การพัฒนาคุณภาพจิตที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของมนุษย์ในสังคม. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2553. จากเว็บไซต์http://www.thailandindustry.com/home/TOPStory_preview.php?id=1698&section=8&rcount=Y

 

บรรณานุกรม
- กองวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ . ระบบการศึกษาไทยในรอบ 200 ปี : สมรรถนะของระบบและผลกระทบและแนวโน้มในอนาคต . สำนักนายกรัฐมนตรี . กรุงเทพฯ . ม.ป.ป.
- ชัยพร วิชชาวุธ. “ แนวทางการพัฒนาจริยธรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ” จริยธรรมกับการศึกษา. ธีระพร อุวรรณโณ, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
- ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. รายงานการวิจัยเรื่อง จริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2520.
- วริยา ชินวรรณโณ . “จริยธรรมในวิชาชีพ” .เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง จริยธรรมในวิชาชีพ วันที่ 24 –26 มีนาคม 2541 โรงแรมเอเซีย กรุงเทพมหานคร .
- สุมน อมรวิ วัฒน์ . การสอนโดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ . กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตส์ , 2530.
- Boninger, David S. “Origins of Attitude Importance : Self-Interest, Social Identification. And Value Relevance.” Journal of Personality and Social Psychology. Volume 68. 1995 : 61-80.
- Super, Donald E. “The Work Values Inventory.” In Contemporary Approaches to Interest Measurement. Pp. 189-205. Edited by Donal G. Zytowski. Minneapolis : University of Minnesota Press, 1973

 

การดำเนินงานทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรม

 

จริยธรรมถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์ประกอบหนึ่งของการเพิ่มผลผลิต ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการที่มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ย่อมได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากลูกค้า ผู้ขาย ผู้ถือหุ้น คู่แข่งขัน พนักงาน ข้าราชการและประชาชนทั่วไป ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน เพราะการเพิ่มผลผลิตโดยยึดหลักจริยธรรม จะไม่ก่อให้เกิดการเบียดเบียนผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกันนำความสุขความเจริญมายังหน่วยงาน สังคมและประเทศชาติโดยส่วนรวม

ตัวอย่างการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรมที่สำคัญ 10 ประการ เช่น

 

  1. ไม่เบียดเบียนลูกค้า ได้แก่ ไม่ปลอมปนสินค้าหรือไม่ส่งสินค้าที่มาตรฐานต่ำกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ ไม่กักตุนสินค้าเพื่อขึ้นราคา ไม่ค้ากำไรเกินควร เป็นต้น
  2. ไม่เบียดเบียนผู้จัดส่งวัตถุดิบ ผู้จัดส่งวัตถุดิบ มีชื่อเรียกอีกหลายอย่าง เช่น ซัพพลายเออร์ (supplier) เวนเดอร์ (vender) เป็นต้น การไม่เบียดเบียน ได้แก่ การไม่กดราคาซื้อให้ต่ำลงมากเกินไป การไม่ยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปมากเกินควร การปิดบังข้อมูลบางอย่าง การไม่ตำหนิวัตถุดิบหรือการไม่สร้างหลักฐานเท็จเพื่อเรียกร้องให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น
  3. ไม่เบียดเบียนพนักงาน ได้แก่ การจ่ายค่าแรงให้อย่างเป็นธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย ตรงต่อเวลา การใช้แรงงานอย่างไม่กดขี่ ทารุณ การจัดสวัสดิการและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม การจัดหาอุปกรณ์ในการทำงานให้ตามสมควรไม่ต้องให้พนักงานไปซื้อหามาเองโดยไม่จำเป็น การไม่เก็บเงินค่าประกันต่าง ๆ จากพนักงานโดยไม่จำเป็น การจ่ายค่าล่วงเวลาให้เมื่อมีการทำงานล่วงเวลาอย่างถูกต้อง เป็นต้น
  4. ไม่เบียดเบียนผู้ถือหุ้น ได้แก่การไม่สร้างหลักฐานเท็จหรือไม่สร้างข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นหลงผิดในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผลให้ตามสมควร การไม่ปิดบังข้อมูลที่แท้จริง การไม่เอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นไปฝากธนาคารไว้กินดอกเบี้ยเฉย ๆ โดยไม่นำไปลงทุนตามที่ได้สัญญาไว้ การไม่นำเงินลงทุนไปใช้ผิดประเภท การตั้งใจบริหารบริษัทให้เต็มความสามารถ การไม่ปั่นหุ้นให้มีราคาสูง เป็นต้น
  5. ไม่เบียดเบียนผู้ร่วมงาน ได้แก่ การไม่ปิดบังข้อมูลที่ผู้ร่วมงานหรือบริษัทร่วมทุนควรจะได้รับรู้ การบริหารงานอย่างซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา การไม่ทุจริตคอรัปชั่น การไม่เอาเปรียบกินแรงผู้ร่วมงาน เป็นต้น
  6. ไม่เบียดเบียนผู้ให้กู้ยืม ได้แก่ การไม่นำเงินที่กู้ยืมไปใช้ผิดข้อตกลง การไม่ยืดระยะเวลาชำระหนี้โดยไม่มีเหตุอันควร การไม่สร้างหลักฐานเท็จเพื่อหลอกลวงผู้ให้กู้ยืม เป็นต้น
  7. ไม่เบียดเบียนคู่แข่ง ได้แก่ การไม่ปล่อยข่าวลือหรือไม่สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จทำให้คู่แข่งเสียหาย การไม่ปลอมสินค้าคู่แข่ง การไม่ติดสินบนเพื่อแย่งลูกค้าจากคู่แข่ง การปฏิบัติตามข้อตกลงหรือพันธะผูกพันอย่างเคร่งครัด การไม่นอกลู่นอกทางหรือปฏิบัตินอกกติกา เป็นต้น
  8. ไม่เบียดเบียนราชการ ได้แก่ การไม่ติดสินบนข้าราชการเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย การจ่ายภาษีถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่มีการทำบัญชี 2-3 ชุด ไม่หลีกเลี่ยงภาษีโดยวิธีการอาศัยช่องว่างของกฎหมาย การไม่สร้างหลักฐานเท็จเพื่อหลอกลวงทางการ เป็นต้น
  9. ไม่เบียดเบียนสังคม ได้แก่ การไม่โฆษณาหลอกลวงหรือไม่โฆษณาเกินจริงหรือไม่โฆษณาให้หลงผิด การไม่ฉวยโอกาสขายของแพง การไม่ผลิตสินค้าหรือบริการที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ เป็นต้น
  10. การไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่ทำให้น้ำเสีย ไม่ทำให้อากาศเป็นพิษ การจัดให้มีระบบการจัดการกับของเสียหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่น จัดให้มีการจัดการกับกากอุตสาหกรรมที่เป็นพิษอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นต้น

 

ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมทางธุรกิจ

เมื่อเกิดความเสียหายในธุรกิจสิ่งที่สังคมแสวงหาคือความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ เรื่องจริยธรรมเป็นเรื่องของรูปแบบของการตีความว่า พฤติกรรมใดผิดและพฤติกรรมใดถูกสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ จริยธรรมเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในทุกสถาบัน มักมีการพูดถึงว่าเราควรมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมดังกล่าวอาทิ การป้องกันไม่ให้ข่าวสารรั่วไหลออกเพื่อผลประโยชน์ในการซื้อขายหลักทรัพย์แก่เพื่อนฝูงที่ใกล้ชิดหรือการไม่ใช้โฆษณาหลอกลวงแก่ผู้บริโภค หรือการไม่รวมกลุ่มธุรกิจเพียงเพื่อต้องการจะขึ้นราคาสินค้าเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ควรจะเลิกไปเสีย เพราะเป็นพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

 

การพิจารณาสิ่งที่ควรทำและไม่ผิดจริยธรรมนั้นสามารถพิจารณาได้ใน 3 ประเด็นคือ

  1. เรื่องต้นทุนและผลประโยชน์ ผู้บริหารจะต้องเปรียบเทียบว่าสิ่งที่ตนตัดสินใจปฏิบัติลงไปนั้นจะเกิดต้นทุน (cost) กับผลประโยชน์รับ (benefit) อย่างไร โดยใช้หลักการผลประโยชน์ต้องมากกว่าต้นทุนที่ลงไป และผลประโยชน์ที่ว่านี้ มิใช่มองแต่ผลกำไรที่จะเข้ามาเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงผลประโยชน์ที่จะตกอยู่กับกลุ่มคนที่เราเกี่ยวข้องด้วย เช่น ผู้บริโภคจะมีความเป็นอยู่ที่ดีหรือไม่ สุขภาพอนามัยและประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้าหรือบริการดีหรือไม่ เหล่านี้หมายถึงผลตอบแทนที่ถูกจริยธรรมและเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาหากคำตอบเป็นไปในทางบวก คือ นอกจากผลตอบแทนที่เราจะได้แล้ว ผลประโยชน์ต้องตกอยู่กับคนทั่วไป และมีมากกว่าต้นทุนที่ได้ลงไป สิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือเป็นจริยธรรมที่นักธุรกิจต้องคำนึงถึง
  2. ต้องไม่ขัดกับสิทธิมนุษยชน การพิจารณาว่าสิ่งที่ทำเป็นพฤติกรรมที่มีความถูกต้องทางจริยธรรมหรือไม่ ต้องดูว่าสิ่งนั้นขัดกับสิทธิมนุษยชน (human right) หรือไม่ อาทิ การกระทำดังกล่าวไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ เช่น การแสดงออก สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการเลือกตั้งหรือการดำเนินชีวิตอย่างอิสระ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย สิทธิส่วนบุคคล ตลอดจนรวมถึงเกียรติยศและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในขณะเดียวกัน หากยังคลุมเครือหรือไม่อาจตัดสินได้อย่างชัดเจน นั่นหมายถึงว่า การกระทำของเรายังคาบเกี่ยวกับปัญหาการขาดจริยธรรมเช่นเดียวกัน
  3. ความเสมอภาคและยุติธรรม สิ่งที่กระทำจะต้องมีความยุติธรรมและมีความถูกต้อง มีการกระทำอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะในเรื่องจัดสรรผลประโยชน์ต่าง ๆ ไปยังบุคคลหรือกลุ่มชน การกระทำต้องไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ได้รับประโยชน์มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมกับอีกฝ่ายหนึ่งอาทิ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง หรือเลือกปฏิบัติกับกลุ่มคนในองค์การหรือพนักงานคนใดคนหนึ่ง เป็นพิเศษหรือหากมีใครทำผิดกฎเกณฑ์แล้วไม่ลงโทษหากเรามีการกระทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นผู้บริหารที่ไม่มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

 

การเสริมสร้างและปลูกฝังจริยธรรม

แนวทางในการเสริมสร้างปลูกฝังจริยธรรมนั้น มีผู้เสนอแนวความคิดโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และทำการพัฒนา ต่อมาให้เป็นทฤษฎีในการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรม ซึ่งมีอยู่ 4 รูปแบบ (ชัยพร วิชชาวุธ 2530) คือ

  1. วิธีการกระจ่างค่านิยม (Value Clarification หรือ VC) ทฤษฎีนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่า ค่านิยมเป็นหลักที่บุคคลยึดไว้เป็นมาตรฐานในการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม จุดมุ่งหมายของทฤษฎีนี้ก็คือ ให้ได้ค้นพบด้วยตนเองว่าหลักการหรือมาตรฐานที่ตนยึดอยู่นั้นมีความถูกต้องเพียงใด และหลักการที่ถูกตลอดจนหลักการที่ผิดมีลักษณะเป็นอย่างไร วิธีการนี้จะช่วยให้เกิดการกระจ่างแจ้งในค่านิยมของตนเอง ทำให้ได้รู้จักจุดดีและจุดด้อยที่ตนมีอยู่และจะได้หาทางรักษาส่วนที่ดีและเสริมสร้างส่วนที่ด้อยให้สมบูรณ์ขึ้น โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม 7 ประการเป็นหลัก ซึ่งได้แก่
    1. การเลือกกระทำโดยอิสระ ไม่มีการบังคับ
    2. การเลือกจากทางเลือกหลาย ๆ ทาง
    3. เลือกโดยพิจารณาผลของทางเลือกนั้นแล้ว
    4. การรู้สึกภูมิใจและยินดีที่ได้เลือกกระทำ
    5. ยืนยันการตัดสินใจเลือกของตนเองอย่างเปิดเผย
    6. การกระทำตามสิ่งที่ตนตัดสินใจเลือก
    7. การกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก
  2. วิธีการให้เหตุผลทางจริยธรรม (Moral Reasoning หรือ MR) โดยเชื่อว่าการอ้างเหตุผลเชิงจริยธรรม มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทางด้านอื่น ๆ ของบุคคลนั้น โดยเฉพาะทางด้านสติปัญญาซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมประเภทต่าง ๆ ของบุคคล แนวคิดพื้นฐานที่เด่นของทฤษฎีคือ ความเชื่อที่ว่า จริยธรรมคือ กฎเกณฑ์ที่มนุษย์ใช้ตัดสินความถูกผิดของการกระทำ ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับการพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอายุของบุคคล ดังนั้นหากยังไม่ถึงวัยอันสมควรการเสริมสร้างจริยธรรมบางลักษณะจึงไม่อาจกระทำได้กิจกรรมหลักที่นักทฤษฎีกลุ่มนี้ใช้ในการเสริมสร้างจริยธรรมให้เกิดขึ้นก็คือ การอภิปรายแลกเปลี่ยนทัศนะซึ่งกันและกันโดยสิ่งที่นำมาอภิปรายกัน จะไม่มีการตัดสินความผิดหรือถูก จุดเน้นการอยู่ที่การให้เหตุผลทางจริยธรรมได้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์หนึ่ง ๆ
  3. วิธีการปรับพฤติกรรม (Behavior Modification หรือ BM) นักทฤษฎีกลุ่มนี้ได้ประยุกต์เอาทฤษฎีการเสริมแรงของสกินเนอร์มาใช้ในการปรับพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปในแนวทางที่ต้องการโดยความเชื่อพื้นฐานที่ว่า มนุษย์ถูกควบคุมโดยเงื่อนไขของการเสริมแรงหรือลงโทษ หากมีการแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาและได้รับการเสริมแรงในทางบวก บุคคลก็มีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมนั้นได้อีก ในทางตรงกันข้ามถ้าหากการแสดงพฤติกรรมได้รับการเสริมแรงในทางลบ พฤติกรรมนั้นก็จะค่อย ๆ หดหายไป แนวความคิดของนักทฤษฎีกลุ่มนี้จึงตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า “การเรียนรู้ย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม” ดังนั้นหากต้องการเสริมสร้างพฤติกรรมจริยธรรมที่ต้องการก็จะใช้วิธีการเสริมแรงในทางบวกและการขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ก็จะต้องเสริมแรงในทางลบ
  4. วิธีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning หรือ SL) นักทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าจริยธรรมเป็นความเข้าใจกฎเกณฑ์ที่ใช้สำหรับประเมินความถูกผิดของพฤติกรรมของคน ซึ่งความเข้าใจของกฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของบุคคลในสังคม แนวความคิดพื้นฐานของนักทฤษฎีเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ ส่วนหนึ่งเกิดจากประสบการณ์ตรงของตนเอง อีกส่วนหนึ่ง เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่น และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการฟังคำบอกเล่าและการอ่านบันทึกของผู้อื่น ๆ ซึ่งการเรียนรู้ประเภทหลังนี้ช่วยให้มีความรู้ว่าอะไรคืออะไร และการเรียนรู้จะทำให้เกิดความเชื่อและความเข้าใจว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไร อย่างไร โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและผลของพฤติกรรมนั้น ๆ ซึ่งความเชื่อของมนุษย์ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงเสมอไป ทั้งนี้เพราะข้อจำกัดในการสังเกตและการคิดรวมทั้งความซับซ้อนของความสัมพันธ์มีอยู่มาก หลักการเสริมสร้างปลูกฝังจริยธรรมตามวิธีการของนักทฤษฎีนี้จึงต้องจัดประสบการณ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้เกิดความเชื่อว่า พฤติกรรมอะไรจะนำไปสู่ผลกรรมอะไร และผลกรรมนั้นน่าปรารถนาเพียงไร

 

แรงกดดันต่อการตัดสินใจกับคุณค่าทางจริยธรรม


ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบันมักมีแรงกดดันทางสังคมอยู่อย่างน้อย 6 ประการ ที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาให้เราตัดสินใจ ซึ่งพร้อมที่จะทำให้ผู้บริหารขององค์การนั้นกลายเป็น พระเอก หรือผู้ร้าย ในสายตาสาธารณชนได้ทันที สิ่งท้าทายเหล่านี้จะประกอบด้วย

1. ประเด็นว่าด้วยนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม สาธารณชนต้องการให้ธุรกิจแก้ไขปัญหาให้มีสมดุลระหว่างการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม ความต้องการใช้พลังงาน และความจำกัดของธรรมชาติ เช่น
1.1 การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อันตรายลงมาที่ระดับต่ำสอดคล้องกับต้นทุนทางเศรษฐกิจเทคโนโลยี
1.2 การสงวนพลังงานที่มีอยู่และพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ เพื่อรักษาการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมในระดับสูงไว้

2. ปัจจัยที่เป็นผลในการทำงาน สาธารณชนต้องการให้ธุรกิจปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และอิสรภาพส่วนบุคคลของลูกจ้าง ขณะเดียวกันก็เพิ่มพูนความชำนาญในการทำงานที่มีผลผลิตเพิ่มเพื่อให้บรรลุตามต้องการของสังคม ในข้อนี้ธุรกิจจำเป็นจะต้องดำเนินการ เช่น
2.1 การเพิ่มคุณภาพของชีวิตการทำงาน ลดอัตราอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน และสนับสนุนให้ทุกกลุ่มมีโอกาสในการจ้างงานเท่าเทียมกัน
2.2 การจัดตั้งสหภาพแรงงานที่ถูกกฎหมายทางด้านการจัดการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการต่อรอง ให้มีความยุ่งเหยิงน้อยลง
2.3 เมื่อจะต้องย้ายโรงงาน เพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ จะต้องช่วยเหลือลูกจ้างและชุมชนซึ่งไม่ได้ย้ายตาม
2.4 ส่งเสริมให้ลูกจ้างมีส่วนร่วมในการวางแผนงานออกแบบการทำงาน ไม่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของลูกจ้าง ปฏิบัติต่อลูกจ้างในฐานะคน ๆ หนึ่ง จัดหาสวัสดิการที่เหมาะสม และบำเหน็จบำนาญ

3. ปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต สังคมต้องการให้ธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยน economic and social inputs เป็น economic and social outputs ซึ่งผลกระทบของมันจะช่วยให้การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตทั้งของธุรกิจและสังคมโดยส่วนรวมเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวภาคธุรกิจถูกคาดหวังให้ดำเนินการเช่น
3.1 ปกครองลูกจ้างด้วยวิธีสร้างสรรค์ และมีบทบาทให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการทำงานเพื่อจุดประสงค์การเพิ่มผลผลิต
3.2 ร่วมมือกับสหภาพแรงงานและหน่วยงานรัฐบาลเพื่อลดต้นทุน
3.3 ปรับปรุงกฎระเบียบให้ยืดหยุ่น
3.4 ปฏิรูปนโยบายเพื่อสนับสนุนการคิดค้นทางเทคโนโลยี
3.5 มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อประชาชนชุมชน

4. แรงกดดัน ความต้องการ และความจำเป็นของโลก ประชาชาติของโลกต้องการให้ธุรกิจคำนึงถึง และตอบสนองต่อปัญหาด้านการพัฒนาของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ยากจน ซึ่งมีประชากรมากและยากจนเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว จำเป็นต้องดำเนินการ เช่น
4.1 ผลิตสินค้าและบริการที่จำเป็น ขายสินค้าในราคายุติธรรมในตลาดปิด และตลาดเสรีนานาชาติ
4.2 ซื้อวัตถุดิบ สินค้าและบริการ จากประเทศด้อยพัฒนา และในสัดส่วนที่สมเหตุสมผล
4.3 เพิ่มลงทุนในประเทศด้อยพัฒนา เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ การดำเนินงานข้ามชาติจะแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจและความแปรเปลี่ยนของวัฒนธรรม ประเพณีและคุณค่าของผู้อื่น
4.4 พิจารณาถึงผลกระทบจากการเข้ามาดำเนินงานของต่างชาติ ในด้านการตลาด งาน และชุมชน ความสมดุลระหว่างผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจกับต้นทุนที่เกิดจากการเคลื่อนย้าย

5. ความสมดุลระหว่างจริยธรรมและเศรษฐกิจ สังคมต้องการให้ภาคธุรกิจบรรลุผลทั้งด้านเศรษฐกิจ และการมีมาตรฐานด้านจริยธรรมสูงทั้งสองด้านพร้อม ๆ กัน เรื่องนี้กว้างมาก ต้องใช้ความพยายามมาก เพื่อให้บรรลุหัวข้อนี้จำเป็นจะต้องประสมประสานจริยธรรมและเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน โดยการ
5.1 ริเริ่มในการนำจริยธรรมมาใช้ในธุรกิจ เพื่อว่าบริษัทอาจจะวางรากฐานบางส่วนบนกฎของกำไรต้นทุนสิทธิมนุษยชน และความเที่ยงธรรมของสังคมใช้อำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในการส่งเสริมเป้าหมายของสังคม
5.2 คุณค่าและธรรมเนียมไม่ใช่แสวงหาเฉพาะผลกำไรของธุรกิจเพียงอย่างเดียว
5.3 ปกป้องผลประโยชน์และสิทธิของหุ้นส่วนในฐานะเจ้าของและผู้ให้ทุน
5.4 เคารพสิทธิของลูกจ้าง ลูกค้า คู่แข่ง และชุมชน โดยป้องกันเขาเหล่านี้จากอันตราย ซึ่งอาจเป็นผลจากการดำเนินงานของบริษัท
5.5 รับเอาบทบาทที่รับผิดชอบต่อการรักษาและพัฒนาเมืองไว้ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของความศิวิไลซ์ ในขณะเดียวกันก็พยายามลดผลกระทบที่ยุ่งเหยิงจากการตัดสินใจเคลื่อนย้ายทางด้านเศรษฐกิจ
5.6 ช่วยเหลือองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ซึ่งเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่ทำให้ชีวิตชุมชนสมบูรณ์พูนสุข
5.7 หลักความประพฤติ แสดงความเคารพต่อสิทธิของอนุชนรุ่นหลัง โดยการประหยัดการใช้ทรัพยากรทางด้านอุตสาหกรรม
5.8 ออกแบบให้ขบวนการผลิตลดอิทธิพลของระบบนิเวศวิทยาด้านลบลง
5.9 พิจารณาผลกระทบทางด้านลบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีผลต่อวัฒนธรรม จริยธรรม ธรรมเนียม โดยลดผลกระทบเหล่านี้ลงเท่าที่เป็นไปได้

6. กำหนดหุ้นส่วนทางสังคม สังคมต้องการให้ภาคธุรกิจมีความสัมพันธ์กับกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น รวมทั้งรัฐบาลและสหภาพแรงงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาสังคมที่สำคัญ ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้จำเป็นจะต้องดำเนินการ
6.1 ใช้วิธีการทำงานแบบกระจายจากจุดกลาง ซึ่งจะทำให้เกี่ยวข้องกับทุกกลุ่ม
6.2 ใช้วิธีร่วมกันแก้ปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วไปทั้งในรัฐบาล ธุรกิจ และแรงงาน
6.3 ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการร่วมงานกันระหว่างรัฐบาลและกลุ่มชุมชนต่าง ๆ แทนที่จะดำเนินงานเพียงหน่วยเดียว