การเลือกทำเลที่ตั้ง

ความหมายของการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ

การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ หมายถึง การจัดหาหรือสรรหาสถานที่ สำหรับประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึง กำไร ค่าใช้จ่าย พนักงาน ความสัมพันธ์กับลูกค้าความสะดวก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ดีตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจนั้น

ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ

การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การธุรกิจ กล่าวคือหากเลือกทำเลที่ไม่เหมาะสม จะทำให้องค์การธุรกิจ ประสบปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ค่าขนส่งสูง เนื่องจากสถานประกอบธุรกิจอยู่ไกลจากแหล่งวัตถุดิบ และตลาด นอกจากนี้ อาจขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ โดยทั่วไปลักษณะของทำเล จะไม่มีลักษณะใด ที่ดีกว่ากันอย่างชัดเจน แต่จะเกิดจากการพิจารณาลักษณะดีของแต่ละทำเล นำมาประกอบกัน เพื่อการตัดสินใจเลือกที่ใช้ตั้ง สถานประกอบธุรกิจ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต ให้น้อยที่สุดการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ โดยทั่วไปมักจะพยายามหาแหล่ง หรือทำเลที่ทำให้ต้นทุนรวม ของการผลิตสินค้าและ บริการที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แต่ลักษณะของการประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบกิจการย่อมแตกต่างกันในเรื่องของชนิดสินค้า ค่าใช้จ่ายและการลงทุน ดังนั้นการพิจารณาเลือกทำเลจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ หลายประการเพราะการเลือกทำเลที่ตั้ง มีความสำคัญต่อการ ดำเนินงานขององค์การธุรกิจต่าง ๆ เช่น การวางแผนระบบการผลิต การวางผังโรงงาน การลงทุน และรายได้ เป็นต้น

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ

ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบใช้ในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ มีดังนี้

  1. แหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ
    การตั้งสถานประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม ส่งที่นำมาใช้ในการผลิตคือ วัตถุดิบ เช่นโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง วัตถุดิบ คือ อะไห่และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ วัตถุดิบ คือ ไม้ ฯลฯ ดังนั้นในการจัดตั้งสถานประกอบการธุรกิจ จึงต้องคำนึงถึง แหล่งวัตถุดิบ ที่นำมาใช้ในการผลิต ควรจะอยู่ในแหล่งวัตถุดิบหรืออยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เพื่อสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งย่อมลดลง เช่น โรงงานผลิตปลากระป๋อง ควรตั้งอยู่ใกล้ ชายฝั่งทะเลจะได้วัตถุดิบราคาถูก คุณภาพดี แต่ถ้าโรงงานผลิตปลากระป๋อง ตั้งอยู่ไกลจากชายฝั่งทะเลมาก วัตถุดิบที่จัดหาอาจไม่มีหรือมีจำนวนน้อยทำให้วัตถุดิบราคาสูง คุณภาพไม่ดี และต้องเสียค่าขนส่งสูง เป็นต้น นอกจากนั้น ต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติด้วย เช่น น้ำ อากาศ เนื่องจากในการผลิต ส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการผลิต ส่วนใหญ่ต้องอาศัยน้ำ กิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จึงตั้งอยู่ ใกล้แม่น้ำ หรือแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการนำน้ำมาใช้ในการผลิต
    ในการตั้งสถานที่ประกอบการใกล้แม่น้ำ ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมด้วย เช่น ในการผลิตจะมีของเสียจากการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีระบบในการกำจัดน้ำเสีย ไม่ถ่ายเทน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลองหรือเปลี่ยนสภาพจากน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนที่จะ ถ่ายเทลงในแม่น้ำคลอง กรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมเมื่อทำการผลิตแล้ว มีฝุ่นละอองหรือควันเสีย จะต้องทำการป้องกันมิให้อากาศเป็นพิษด้วย การประกอบการธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ประเภท พาณิชยกรรม หรือประเภทอุตสาหกรรมการเลือกทำเลที่ตั้งสถานที่ประกอบการจะ ต้องคำนึงถึงแหล่งจัดซื้อ เพื่อให้การจัดซื้อได้สินค้า หรือวัตถุดิบราคา ที่เหมาะสม เสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อต่ำ คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นตาม ที่ต้องการ และได้ทันเวลาที่มีความต้องการของตลาด หรือการผลิต
    การจัดซื้อเพื่อให้มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนดังนี้
    1.1 กำหนดรายละเอียดของสินค้าหรือวัตถุดิบ ที่ต้องการซื้อทั้งคุณภาพและปริมาณ
    1.2 สำรวจแหล่งขาย โดยผู้ประกอบการจะต้องทราบถึงแหล่งขายสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการจัดซื้อว่าอยู่ที่ใด มีผู้ขายกี่ราย แต่ละรายกำหนดราคาขายเท่าไร คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขในการขายอย่างไรบ้าง เมื่อสำรวจแหล่งขายแล้ว คาดว่าจะจัดซื้อ จากผู้ขายรายใด ควรมีการเจรจาตกลง ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดซื้อ ในกรณีจัดซื้อครั้งละเป็นจำนวนมาก การเจรจาระหว่าง ผู้จัดซื้อและผู้ขาย ควรจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการเป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้
    1.3 การสั่งซื้อ หลังจากได้มีการเจรจาตกลงกันแล้ว ผู้จัดซื้อจัดทำใบสั่งซื้อ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ วัน เดือน ปี ที่สั่งซื้อ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้จัดซื้อ ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขในการส่งมอบ เงื่อนไขในการชำระเงิน
    1.4 การรับสินค้าหรือวัตถุดิบ เมื่อผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้จัดซื้อ จะต้องมีใบกำกับสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ที่ส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ ปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้สั่งซื้อ ผู้จัดซื้อจะต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ได้รับให้ตรงตามใบสั่งซื้อและใบกำกับสินค้า
  2. แหล่งแรงงาน
    แรงงาน หมายถึง สิ่งที่ได้จากความสามารถของมนุษย์ทั้งแรงงาน ที่ได้จากแรงกายและแรงงาน ที่ได้จากความคิด เพื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้า และบริการ ตามที่ต้องการ แรงงานที่ผู้ประกอบการต้องการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    2.1 แรงงานที่มีฝีมือหรือแรงงานที่มีความชำนาญ (Skilled Labour)
    2.2 แรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานทั่วไป (Unskilled Labour)
    ผู้ประกอบการจะมีความต้องการแรงงานประเภทใด จะรู้ได้โดยการจัดทำรายละเอียดหน้าที่ของตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่ง ต้องการแรงงานจำนวนเท่าใด และเมื่อใด โดยการเสนอจากแต่ละหน่วยงานในองค์การธุรกิจ ในการจัดหาสถานที่ประกอบการ ต้องคำนึงถึง แหล่งแรงงานที่ธุรกิจมีความต้องการ ซึ่งควรจะเป็นแหล่งที่จัดหาแรงงานได้ง่าย อัตราค่าจ้างต่ำและมีคุณภาพตามที่ต้องการ เช่น ในการดำเนินกิจการโรงงานผลิตปลากระป๋อง แรงงานที่ต้องการใช้ส่วนใหญ่เป็นประเภทแรงกาย แรงงานไร้ฝีมือ สถานที่ประกอบการตั้งในต่างจังหวัดจะหา แรงงานได้ง่าย และอัตราค่าจ้างต่ำ แต่ถ้าเป็นโรงงานผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย แรงงานที่ใช้เป็นประเภทแรงงานที่ใช้ ความคิด แรงงานที่มีความชำนาญ สถานที่ประกอบการควรตั้งในเมืองใหญ่หรือใกล้เมืองใหญ่ จึงจะหาแรงงานได้ตามที่ต้องการ
  3. ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
    การเลือกสถานที่ประกอบการ จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ดังนี้
    3.1 ค่าขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานเพื่อทำการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ผลิตส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมากและต้องใช้ในปริมาณที่สูง การเลือกสถานที่ประกอบการจึงควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบเพื่อเสียค่าขนส่งในอัตราที่ถูก แต่ถ้าไม่ตั้งสถานที่ประกอบการใกล้แหล่งวัตถุดิบ ก็ควรพิจารณาระบบการขนส่งที่เหมาะสม เพื่อให้วัตถุดิบไปยังโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
    3.2 ค่าขนส่งสินค้าไปเพื่อเก็บรักษา เมื่อผลิตสินค้าเสร็จก่อนนำออกจำหน่ายสินค้าจะต้องได้รับการดูแลรักษา ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อคุณภาพที่ดีของสินค้าสถานที่ประกอบการควรอยู่ใกล้คลังเก็บสินค้า เพื่อสะดวกในการขนสินค้าจากโรงงานไปเก็บรักษาในคลังสินค้า และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
    3.3 ค่าขนส่งสินค้าออกจำหน่าย เพื่อความสะดวกของผู้บริโภค การเลือกสถานที่ประกอบการ ควรตั้งให้ใกล้แหล่งผู้บริโภค และประหยัดค่าใช้จ่าย
  4. สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
    การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ ควรคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้
    4.1 สาธารณูปโภค การเลือกสถานที่ประกอบการควรคำนึงถึงระบบการให้บริการด้านการประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และการส่งไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภท โรงงานอุตสาหกรรม หรือประเภทซื้อขายสินค้า เพราะเครื่องอำนวยความสะดวกดังกล่าว มีส่วนทำให้การประกอบธุรกิจมีความคล่องตัวสูง
    4.2 สถานพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง การเลือกสถานที่ประกอบการควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการขนส่งในการเดินทาง
  5. แหล่งลูกค้า
    สำหรับการประกอบกิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรม การจำหน่ายสินค้าจะจำหน่ายครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้มาซื้อคือ ผู้ค้าคนกลาง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้อง เลือกสถานที่ตั้งใกล้ผู้บริโภคโดยตรง แต่ถ้าเป็นการประกอบกิจการประเภทผู้ค้าคนกลางที่ต้อง จำหน่ายสินค้าแก่ผู้บริโภคโดยตรง ควรเลือกสถานที่ตั้ง ใกล้ผู้บริโภค เพื่อความสะดวกในการจำหน่ายและเสียค่าขนส่งต่ำ
  6. กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ
    การเลือกสถานที่ประกอบการจะต้องศึกษากฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของสถานที่ประกอบการ เพื่อไม่ให้การประกอบการ นั้นขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือประเพณีอันดีงามของสถานที่นั้น เช่น ในประเทศไทย พื้นที่สีเขียวจะกำหนดไว้สำหรับการประกอบการ เกษตร จะตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมในพื้นที่สีเขียวไม่ได้ เป็นต้น
  7. แหล่งเงินทุน
    การเลือกสถานที่ประกอบการต้องคำนึงถึงเงินทุนที่ต้องใช้ ได้แก่ ราคาที่ดิน อัตรา ค่าแรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมและภาษี ที่ต้องจ่ายให้องค์การของรัฐใน การดำเนินการจัดตั้งสถานที่ประกอบการ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเลือกสถานที่ประกอบการทั้งสิ้น จากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ประกอบการ โดยผู้ประกอบการควรคำนึงถึงผลตอบแทน ที่คาดว่าจะได้รับจาก การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบ โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
    7.1 ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบการ ต้องคำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ เกิดขึ้นในการเลือก สถานที่นั้น เป็นสถานประกอบการ เช่น การประกอบการโรงงานผลิตไม้แปรรูป วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม้แปรรูป คือ ซุงซึ่งเป็นวัตถุดิบมีน้ำหนักมาก การขนส่งค่อนข้าง ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ส่วนสินค้าสำเร็จรูป คือ ไม้แปรรูปมีน้ำหนักเบากว่าวัตถุดิบ การขนส่งค่อนข้างสะดวก และเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่า สถานที่ประกอบกา รโรงงานผลิตไม้แปรรูป จึงควรตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่าตั้งใกล้ ผู้บริโภค เพราะจะทำให้เสียค่าขนส่งที่ถูกกว่า กรณีหาสถานที่ประกอบการในแหล่งวัตถุดิบ ไม่ได้ก็ควรหาสถานที่ตั้งใกล้แม่น้ำ เนื่องด้วยการขนส่ง ซุงสามารถใช้วิธีล่องซุงมาตามแม่น้ำ ทำให้เสียค่าขนส่งต่ำ นอกจากต้นทุนค่าขนส่งแล้ว ต้นทุนหรือ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจ เลือกสถานที่ประกอบการ ได้แก่ ค่าแรงงาน อัตราภาษี ค่าบริการต่าง ๆ
    7.2 กำไรที่สูงสุด การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบการ นอกจากคำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดแล้ว ควรคำนึงถึงรายรับประกอบการ ตัดสินใจด้วย หากสามารถตั้งสถานประกอบการ ในแหล่งที่ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายรวมต่ำกว่า ก็จะมีโอกาสหา รายรับได้มากกว่าคู่แข่ง จะทำให้ได้เปรียบ คือ กำไรสูงสุด
    7.3 การเรียงลำดับปัจจัยต่าง ๆ ตามความสำคัญ เนื่องจากปัจจัยแต่ละปัจจัยมีความสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการประกอบการแต่ละประเภท ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องจัดลำดับความสำคัญ และรวมคะแนนแล้วจึงตัดสินใจเลือกสถานที่ประกอบธุรกิจจากการพิจารณาคะแนนที่สูงสุด

แหล่งอ้างอิง
- อรทัย วานิชดี. ธุรกิจทั่วไป. กรุงเทพฯ : ประสานมิตร, 2545.
- สุดาทิพย์ ตันตินิกุลชัย และศักดา หงส์ทอง. ธุรกิจทั่วไป. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด, 2547.

http://lpn.nfe.go.th/e_learning/LESSON6/unit6.htm+unit6_1.htm

 

ทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจขนาดย่อม

ความหมายและความสำคัญของทำเลที่ตั้ง

ทำเลที่ตั้ง หมายถึง แหล่งที่จะทำให้ธุรกิจสามารถประกอบกิจกรรมทางธุรกิจได้สะดวกที่สุด โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทุกด้านที่จะได้รับ เช่น กำไร ค่าใช้จ่าย การติดต่อสื่อสารต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมภายนอก จนสิ้นสุดการดำเนินธุรกิจนั้น อย่างไรก็ตามเมื่อตัดสินใจจะทำธุรกิจใดแล้วมักจะกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจการไว้ชัดเจนว่าจะผลิตอะไร เพื่อใคร ตลาดเป้าหมายใด และมีคุณภาพมากน้อยอยู่ในระดับใด เป็นต้น

ความสำคัญของทำเลที่ตั้ง

ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนต่อความสำเร็จของธุรกิจคือ การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งที่เป็นไปได้และการเลือกทำเลที่ตั้งเฉพาะเจาะจง ทำเลที่ตั้งอาจจะเป็นปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเมื่อลูกค้าจ่ายซื้อสินค้าในร้านค้าในร้านค้าหนึ่ง เนื่องจากมีความพอใจร้านค้านั้น ๆ

รูปแบบทำเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อม

รูปแบบของทำเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อม (Location Types) มีดังนี้
1) ศูนย์กลางธุรกิจ
2) ศูนย์การค้า
3) ธุรกิจตั้งขึ้นมาเองโดยลำพัง
4) ธุรกิจบริการ

 

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจขนาดย่อม

การประกอบธุรกิจขนาดย่อมทุกประเภทจำเป็นต้องมีสถานประกอบการที่แน่นอนเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ทำเลที่ตั้งของธุรกิจนับว่ามีส่วนช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจขนาดย่อมแต่ละประเภทประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ เพราะมีผลกระทบต่อการเข้าถึงลูกค้า และต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ให้ได้แหล่งที่ตั้งเหมาะสมที่สุด ดังนั้น การเลือกทำเลที่ตั้งจึงควรพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้

1) ธุรกิจการผลิต
ปัจจัยในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งที่สำคัญมีดังนี้
1.1 ที่ดิน
1.2 การขนส่ง
1.3 ตลาดจำหน่ายสินค้า
1.4 วัตถุดิบ
1.5 แรงงาน
1.6 สาธารณูปโภค
1.7 ทัศคติของชุมชนบริเวณใกล้เคียง
1.8 การสนับสนุนจากรัฐบาล
2) ธุรกิจเหมืองแร่
ผู้ประกอบการธุรกิจเหมืองแร่ จะต้องศึกษาทำเลที่ตั้งนั้นว่ามีแร่หรือทรัพยากรธรรมชาติคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ นอกจากนั้นต้องดำเนินการขอสัมปทานจากกรมทรัพยากรธรณี จึงจะเข้าไปทำการขุดค้นหาแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ โดยคำนึงถึงปัจจัย อื่น ๆ เช่น การขนส่ง และพลังงาน ตลอดจนการคมนาคม เป็นต้น
3) ธุรกิจค้าส่ง
ผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่ง ซึ่งมีลูกค้าส่วนมากเป็นร้านค้าปลีก และมีการซื้อข่ยสินค้าครั้งละจำนวนมาก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเน้นการตั้งร้านค้าให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคคนสุดท้ายปัจจัยที่ธุรกิจค้าส่งต้องพิจารณา คือ พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า และการขนส่งเข้าหรือการขนส่งออกธุรกิจค้าส่งบางประเภทเลือกทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ตลาดโบ้เบ้ ตลาดประตูน้ำ ตลาดไท เป็นต้น
4) ธุรกิจค้าปลีก
การเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีกจำเป็นต้องคำนึงถึงย่านชุมชนหนาแน่นมากที่สุด ธุรกิจค้าปลีกมีปัจจัยที่ควรคำนึงถึงดังนี้
4.1 ความต้องการสินค้าหรือประเภทสินค้าที่จำหน่าย
4.2 จำนวนประชากร และนิสัยการซื้อหรือพฤติกรรมผู้บริโภค
4.3 การแข่งขัน
4.4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
4.5 ค่าเช่า หรือราคาของที่ดิน
4.6 ความปลอดภัย
4.7 ความหนาแน่นของการจราจร
5) ธุรกิจบริการ
การเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อมประเภทบริการจะมีลักษณะคล้ายกับธุรกิจค้าปลีก ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของการบริการนั้น ๆ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายในการเข้ามารับบริการของลูกค้ามากที่สุด เพราะเป็นจุดที่สร้างความประทับใตให้กับลูกค้าได้

 

หลักในการเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจขนาดย่อม

การเลือกจุดที่ตั้งของกิจการแต่ละแห่งจะมีหลักเกณฑ์ที่เลือกแตกต่าง กันออกไป แล้วแต่สภาพของกิจการนั้น ๆ เช่น ธุรกิจการผลิตจะพิจารณาถึงแหล่งวัตถุดิบ แรงงาน การขนส่ง ลูกค้าส่วนธุรกิจบริการจะคำนึงถึงการเข้าถึงลูกค้า แต่ทุกกิจการต้องคำนึงถึงต้นทุนเกี่ยวกับที่ตั้งกิจการ ดังนั้น ในการเลือกทำเลที่ตั้งจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อความสำเร็จของกิจการดังหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1) ความพอใจส่วนบุคคล
2) ด้านลูกค้า
3) แหล่งวัตถุดิบ
4) การขนส่ง
5) สภาพการแข่งขัน
6) ทัศนคติของท้องถิ่นที่มีต่อกิจการใหม่
7) ด้านกฎหมายและภาษีอากร
8) ด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อม
9) ด้านสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง
10) การเจริญเติบโตในอนาคต

การตัดสินใจเช่า สร้าง หรือซื้อ
เมื่อเลือกทำเลที่ตั้งแล้ว ผู้ประกอบการก็จะมีทางเลือกว่าจะเช่า สร้างขึ้นใหม่ หรือซื้ออาคารที่มีอยู่เดิมเพื่อดำเนินกิจการ ดังนี้
1) การเช่า
2) การซื้อ
3) การสร้างใหม่

 

สรุป

การเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจขนาดย่อม ควรพิจารณาดูยอดขายที่คาดว่าจะได้รับต้นทุน การลงทุน และต้นทุนการขนส่ง รวมทั้งค่าแรงงาน สิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค อละโอกาสต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล การเลือกทำเลที่ตั้งที่ดี จะส่งผลทำให้ธุรกิจขนาดย่อมประสบความสำเร็จได้ ผู้ประกอบการจึงต้องเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจ ควรคำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่าย และแนงทางในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งพิจารณาด้วยว่าจะซื้อจากผู้อื่นที่สร้างไว้แล้ว สร้างขึ้นใหม่ หรือเช่า