ห้องทํางาน
คนเราโดยปกติแล้ว ต้องใช้ชีวิตอยู่กับ การทำงาน ในสถานที่ทำงาน หรือหน่วยงานต่างๆ วันหนึ่งๆ ประมาณ 8 ชม. เป็นอย่างน้อย แต่มิใช่ว่าเรา จะทำงาน เพียงแค่นั้น เพราะบางครั้ง เรายังต้องหอบหิ้วงานการ กลับมาทำ ที่บ้านด้วย หรือบางคนมักจะกล่าวว่า ทำงานที่บ้าน หัวสมองแล่น กว่าที่ทำงาน ฉะนั้นจะเห็น ได้ว่ามุม หรือห้องทำงาน จึงจำเป็น อย่างมากในบ้าน ซึ่งเราควรมี ห้องทำงาน ที่เหมาะสม เอื้ออำนวย และสร้างบรรยากาศที่ดี ในการทำงานได้ เพื่อจูงใจ ให้อยากทำงาน หรือ บางครั้งการมีห้องทำงาน ที่ตกแต่งได้ดี ยังอาจช่วย ผ่อนคลายเรื่องเครียดๆ ได้อีกด้วย
ห้องทำงาน เป็นห้องที่ประกอบไปด้วย อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีล้ำนำสมัยอยู่ เสมอจึงสะท้อน ความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ งานออกแบบตกแต่งภายใน มาตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ในอดีตภายในห้องอาจมี เพียงแค่ เครื่องเสียงไฮไฟ โทรทัศน์ และ เครื่องเล่นวิดีโอ เท่านั้น แต่ปัจจุบันภายใน ห้องทำงาน มีทั้ง เครื่องเล่นดีวีดี ระบบเสียงรอบทิศทาง คอมพิวเตอร์ แฟกซ์ และ พริ้นเตอร์ รวมถึง ห้องอื่นๆ ภายในบ้าน ก็อาจต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้เช่นกัน นอกจาก บ้านสมัยใหม่ ทั่วไป มักมี การติดตั้ง ระบบรักษาความปลอดภัย ที่ทันสมัย เพื่อคุ้มครอง ทรัพย์สินมีค่าภายในบ้านอีกด้วย
ในอดีตที่ผ่านมา อุปกรณ์เทคโนโลยี เหล่านี้ มักถูกซ่อน หรือ ปกปิดไว้อย่าง มิดชิด แต่สำหรับบางคน กลับชอบที่จะโชว์ สิ่งเหล่านี้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โทรทัศน์ และ จอคอมพิวเตอร์ แต่จะซ่อนอุปกรณ์ประกอบที่ไม่สวยงาม เช่น Hard Drive พริ้นเตอร์ เครื่องเล่นดีวีดี และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ช่วยสร้าง ระบบบันเทิง สมบูรณ์แบบ เอาไว้ใน ตู้เก็บของ ที่ถูก ออกแบบ สร้างขึ้นมา ให้กลม
กลืนกับ ห้องอย่างลงตัว สำหรับ " สายไฟ " ที่ดูเหมือน จะเป็นตัวปัญหาเสมอ ใน อดีต เพราะสายไฟที่ยุ่งเหยิงมักจะทำให้เกิดภาพ ภายในห้อง ที่ไม่น่าด ูเท่าไหร่นัก แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน คุณสามารถรวม สายไฟ หลายๆ เส้นไว้ใน สายเคเบิล เพียงเส้นเดียวได้ และในอนาคต อีกไม่นานปัญหานี้ ก็จะหมดไปด้วย เทคโนโลยีีไร้สาย ที่ทันสมัยที่สุด
การเลือกห้องทำงานมีหลักดังต่อไปนี้
1. ควรเป็นห้องที่มีอากาศถ่ายเท หมุนเวียนตลอดเวลาโดยมีช่องเปิด เช่น หน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ อย่างเพียงพอ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของพื้นที่ห้อง
2. มีแสงสว่างพอเพียงกับการทำงาน ไม่จ้าเกินไป หรือน้อยเกินไป คือควรมีแสงสว่างไม่ต่ำกว่า 30-40 ฟุต แรงเทียน
3. เนื่องจากการทำงานต้องใช้สมาธิมาก ดังนั้น ห้องทำงาน จึงจำเป็นต้องมีความสงบเงียบ ปราศจาก เสียงรบกวน ซึ่งควรมีเสียงดังไม่เกิน 30 เดซิเบล
4. กลิ่นนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการรบกวนประสาทสัมผัส ดังนั้นห้องทำงาน จึงไม่ควรอยู่ใกล้กับแหล่ง ที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นเน่าเหม็น กล่นสารเคมี เป็นต้น
5. ในห้องทำงานไม่ควรมีควันฝุ่น เพราะสิ่งนี้ มีอันตราย โดยตรงต่อร่างกาย คือ ทำให้ร่างกาย อ่อนเพลีย อารมณ์เครียด และอาการเจ็บป่วย
ข้อแนะนำในการจัดตกแต่งห้องทำงาน ก่อนอื่น เราต้องคิดก่อนว่า ห้องทำงานนั้นจะใช้ทำกิจกรรมใดบ้าง เพื่อจะได้ออกแบบ และแต่งห้องได้เหมาะสม กับประโยชน์ใช้สอย ในกิจกรรมแต่ละประเภท ซึ่งได้แก่ หากเป็นงานประเภทขีดๆ เขียนๆ ควรจัดในห้อง ที่โปร่งสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวก สีสันของห้อง ควรเป็นโทน สีกลางๆ เย็นตา มีอุปกรณ์ เครื่องใช้ ประเภท โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ โต๊ะพิมพ์ดีด ที่สูงไม่เกิน 72 เซนติเมตร ไว้วาง เครื่องพิมพ์ดีด
ห้องสำหรับงานฝีมือ อาจจัดเพียงมุมใดมุมหนึ่งของห้อง ห้องทำงานประเภทนี้ควรมีลักษณะสีสัน นุ่มนวล สวยงาม พื้นทำความสะอาด ได้ง่าย และไม่ควรทำให้พื้นเป็นรอยสกปรก เพราะเมื่อเข็ม หรืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ หล่นไปจะได้ หาไม่ยาก ควรมีโต๊ะอย่างน้อย 2 ตัว ตัวหนึ่งบนโต๊ะควรปูด้วยพื้นพีวีซี เพราะจะทนต่อการถูกกรีด จากการตัดเย็บ อีกตัวหนึ่งสำหรับการตัดเย็บผ้าด้วยจักร และมีเก้าอี้ 2 ตัว เพราะการนั่งเย็บจักร กับการเย็บผ้าด้วยมือมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน
การทำงานฝีมือเป็นงานที่ละเอียด และต้องการ ความประณีตอย่างมาก ดังนั้นห้องจึงควรมี แสงสว่าง ที่เพียงพอ ไม่เกิดเงากัน คือถ้าทำงาน ฝีมือธรรมดา ควรมีแสงสว่างไม่ต่ำกว่า 50 ฟุตแรงเทียน และถ้าเป็น งานฝีมือที่ประณีตมากๆ ควรมีความสว่าง ไม่ต่ำกว่า 100-150 ฟุตแรงเทียน โดยอาจมีแสงไฟเป็นโคม หรือนีออน ติดในระดับตา ในกรณีแสงไม่พอ ในห้องเย็บจำเป็น ต้องมีที่เก็บของ เพื่อความ เป็นระเบียบ และหยิบใช้สะดวก คือ ควรมีหิ้งที่จะวางผ้า เป็นพับๆได้ มีที่วางกล่องเข็ม กระดุม ด้าย เทป ชอล์กเขียนผ้า และกระจก ลองแบบเสื้อที่สำหรับรีดผ้า และราวแขวนเสื้อ เป็นต้น
การจัดห้องทำงาน
1) ตำแหน่งโต๊ะทำงานควรมองเห็นประตูเข้าออกห้องอย่างชัดเจนเพื่อให้เห็นคนที่เดินเข้าออกจากห้องอย่าง ชัดเจน โดยไม่ควร อยู่ใกล้ประตูทางเข้านั้นจนเกินไปเพื่อให้เวลาคนเดินเข้ามาติดต่อ นั้นเราสามารถมองเห็นท่าทางของคนที่เข้าแล้ว ทำให้เราตั้งตัว หรือปรับอารมณ์ ความคิดที่จะพูดคุยกับคนที่เข้ามาติดต่อได้ทัน นอกจากนี้ตำแหน่งโต๊ะทำงานนั้น ไม่ควรหันหน้าเข้าหากำแพง เนื่องจากสภาพกำแพงนั้นทึบทำให้ความคิดนั้นไม่ โปร่งใส ทางที่ดีคือ ควรให้ตำแหน่งนั่งนั้นมองเห็นวิวภายนอก ที่กว้างไกล ก็จะช่วยเสริม เรื่องความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานให้ดีขึ้น
2) บริเวณประตูทางเข้าห้องไม่ควรมีสิ่งกีดขว้างเนื่องจากประตูทางเข้าเป็นทิศที่มีพลังงานเข้าห้องได้สูงสุด ซึ่งหากสามารถวาง ตำแหน่งประตูได้ในทิศทางที่ดีนั้น พลังงานที่ดีก็สามารถเข้ามาสะสมในห้องได้มากก็จะช่วยกระตุ้นให้สามารถคิดเรื่องงานได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรมีสิ่งของมาบดบังบริเวณประตูเพื่อกั้นพลังงานที่เข้ามาในห้อง ถ้าให้ดีบริเวณประตูควรมีพื้นที่โล่งพอสมควร เพื่อให้พลังงานที่เข้ามาสะสมในห้องได้ง่ายขึ้นหรือถ่ายเทไปยังบริเวณอื่นในห้องได้ดีขึ้น
3) ด้านหลังโต๊ะทำงานนั้น ควรเป็นกำแพงทึบมากกว่าเป็นพื้นที่โปร่งโล่งเนื่องจากสภาพทึบด้านหลังนั้นทำ ให้รู้สึกปลอดภัย เพราะมุมมองของสายตาคนไม่สามารถมองเห็นด้านหลังได้ ในทางตรงกันข้าม หากด้านหลังตำแหน่งนั่งนั้น ตรงกับประตูทางนั้น เมื่อเวลาที่คนเดินเข้าด้านออกประตูด้านหลังที่หนังก็จะทำให้เราตกใจเมื่อเกิดขึ้นบ่อย ครั้งก็จะทำให้เกิดความระแวง และสามารถสะสม จนติดเป็นนิสัยขี้ระแวงได้
4) แสงสว่างในห้องต้องเพียงพอเนื่องจากแสงสว่างนั้นจะช่วยกระตุ้นให้มีความรู้สึกกระฉับกระเฉงและมีพลังในการทำงาน ในทางกลับกันหากห้องทำงานมืดก็จะทำให้เกิดสภาพซึมเซาหรือเสื่อมในการทำงาน
5) โต๊ะทำงานที่ดีนั้น บริเวณขาโต๊ะควรเป็นขาโต๊ะที่ โปรงไม่ทึบแน่นตัน เนื่องจากหลักการของฮวงจุ้ยนั้น พิจารณากระแสพลังงาน เป็นหลัก ซึ่งกระแสพลังงานนี้ก็มาจากช่องประตู หน้าต่าง แอร์ที่มีลมหรืออากาศเคลื่อนไหว หรือแม้แต่ตัวคน ที่เคลื่อนไหวเดินเข้ามา ที่โต๊ะทำงานก็สามารถลากกระแสพลังงานอ่อนๆหรือลมอ่อนๆเข้ามาได้ ซึ่งหากโต๊ะนั่งที่มีขาโต๊ะนั่งทึบแน่นตับ ก็จะทำให้กั้นพลังงาน เหล่านี้ มาสู่ตำแหน่งเก้าอี้ที่มีใช้นั่งทำงานทำให้ได้รับกระแสพลังงานน้อยลงไป ดังนั้นโต๊ะนั่งทำงานควรมีสภาพโปร่งเพียงพอ ให้กระแสพลังงานเข้ามาถึงคนนั่งได้ ส่วนโต๊ะที่สภาพทึบนั้นอาจพิจารณาใช้งานเป็นบางกรณีก็เสริมเป็นฮวงจุ้ยที่ดีได้
ภาพโต๊ะทำงานที่มีสภาพโปร่ง รวมถึงเก้าอี้หน้าโต๊ะทำงานที่มีขาโปร่งเช่นเดียวกัน ทำให้กระแสไหลเวียนมาถึงผู้นั่งโต๊ะได้ โดยห้องมีแสงสว่างเพียงพอและตำแหน่งนั่งหันหน้าสามารถมองเห็นคนเข้าออกห้องได้ดี
6) ตู้เก็บเอกสาร ควรเป็นตู้ที่มีหน้าบานตู้เนื่องจากตู้เอกสารที่ไม่มีหน้าบานนั้นจะทำให้กระแสอากาศที่ดีนั้น ไปกักเก็บตามซอกเอกสาร โดยเฉพาะตู้ที่มีเอกสารที่เรียงไม่เป็นระเบียบ ซึ่งถือว่าการไหลเวียนของสภาพอากาศในห้องนั้นไม่ดี ซึ่งหากตู้ที่มีหน้าบานตู้ ไม่ว่าจะเป็น กระจก เหล็ก ไม้นั้นก็จะช่วยกันสภาพอากาศในห้องไม่ให้เข้าไปสู่ตู้เปรียบเสมือนตู้นั้น เหมือนผนังเรียบจึง ทำให้สภาพอากาศนั้น ไหลเวียนได้ดี ซึ่งกรณีผู้อยู่อาศัยที่มีตู้เอกสารที่ไม่มีหน้าบานสามารถแก้ไขได้โดยการ เรียงของในตู้เอกสาร ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยก็จะช่วยให้กระแสอากาศนั้นไหลเวียนได้ดีขึ้น
7) การวางของในห้องทำงาน ควรเป็นระเบียบเรียบร้อยซึ่งจะช่วยให้กระแสอากาศนั้นไหลเวียนภายในห้องได้ดี ซึ่งหลายคน อาจจะจัดห้องเรียบร้อยแต่บนโต๊ะทำงาน มีเอกสารวางเต็มไปหมดอย่างไม่เป็นระเบียบนั้นก็ควรทำ การจัดเรียงให้เป็นระเบียบ ด้วยเช่นเดียวกัน
8) ไม่ควรมีคาน หรือฝ้าหลุม เนื่องจากว่า ฮวงจุ้ยที่ดีนั้นต้องการอากาศไหลเวียนได้ดีซึ่งขัดกับการที่ห้องมี ฝ้าหลุมหรือคาน เนื่องจากเมื่อกระแสอากาศไหลเวียนที่ปะทะกับคานจะโดนคาน บังคับให้กระแสกดต่ำลงมาใต้คาน ทำให้บริเวณใต้คานนั้น มีกระแสกดต่ำลงมากเป็นพิเศษ เป็นสาเหตุให้คนที่นั่งใต้คานนั้นหงุดหงิดได้ง่าย ในกรณีที่ห้องนั้น มีคานควรเลื่อนตำแหน่งเก้าอี้ และโต๊ะทำงานให้พ้นบริเวณสันของคาน
9) ตำแหน่งเครื่องปรับอากาศไม่ควรอยู่เหนือบริเวณที่นั่ง โดยเครื่องปรับอากาศที่ติดผนังนั้น เปรียบเสมือนสภาพคาน อย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน จึงไม่ควรไปนั่งทำงานใต้เครื่องปรับอากาศ
โฮม-ออฟฟิศ
การจัดที่ทำงานในบ้าน ซึ่งจัดเป็นบริเวณที่สำคัญที่สุดอีกที่หนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการความสงบในการทำงาน และความสะดวกสบาย การจัดวางของในตำแหน่ง ที่สามารถนำมาใช้งานอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดก็ว่าได้ เพราะว่าจะทำให้การทำงานเป็นระบบ ไม่ล่าช้า ในห้องนั้นอาจมีรูปแบบที่เก็บของ ของตู้ติดผนังซึ่งเก็บเอกสาร ไว้ในตู้ชิดผนังหรืออาจเลือกรูปแบบ ของอุปกรณ์ที่เหมาะสม ในการเก็บ เช่น การเก็บเครื่องบันทึกเทป, แผ่นดิสท์ และหนังสือ หรือของใช้ที่จำเป็นในการทำงาน ก็ควรเป็นลักษณะทรงลูกบาศก์ ที่หยิบใช้งานได้ทั่วทิศทาง ทุก ๆ บริเวณในบ้านหลังหนึ่ง ๆ นั้นเราสามารถตกแต่ง ที่เก็บของในเนื้อที่ใช้สอยได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่พื้นห้อง มุมห้องต่าง ๆ จรดถึงเพดานเลยทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้บริเวณไหน ที่เหมาะสมกับการจัดเก็บของสิ่งใด ในตำแหน่งใด โดยอาศัยการออกแบบ ที่ดูสวยงาม และเหมาะสมกับพื้นที่ จากความคิดของเรานั่นเองเป็นสำคัญ
การจัดห้องทำงานประเภทซักรีด
งานซีกรีดเป็นงานที่ต้องการความสะอาด การติดตั้ง อุปกรณ์ซักรีด ควรต้องวางพื้นที่ที่ติดตั้งให้แน่นอน เพราะระบบดังกล่าว จะมีการถ่ายน้ำเสีย และมีเสียง รบกวน (เครื่องซักผ้า) ดังนั้นจึงควรจัดวาง ให้อุปกรณ์ในการซักรีด อยู่ห่างกันสักเล็กน้อย ซึ่งอุปกรณ์ซักรีด ได้แก่
1. อ่างแช่น้ำสกปรก แปรง ผงซักฟอก ตู้แขวน เสื้อผ้า ที่ซักแล้ว ที่เก็บผงซักฟอก และถังที่ใช้ ในการซักรีด
2. เครื่องซักผ้า มีระบบน้ำที่นำไปใช้ในการซักผ้าทิ้งระบบน้ำเข้าและน้ำออก ซึ่งปัจจุบัน เครื่องซักผ้า ได้ผลิตขึ้นมาใช้อย่างทันสมัย มีระบบอัตโนมัติต่างๆ ที่ช่วยให้การซักผ้าเป็นไปได้สะดวกมากยิ่งขึ้น สำหรับการวางเครื่องซักผ้า ต้องวางในพื้นที่ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ทนน้ำได้ ส่วนผนังใกล้เครื่องซักผ้า ควรทาสีที่ทนทานต่อการโดนน้ำ หรือความชื้น
การจัดมุมห้องเครื่องมือ-เครื่องใช้
เป็นมุมที่ต้องการ เก็บของ และวางเครื่องมือ เครื่องใช้ให้เรียบร้อย เวลาหยิบจับมาใช้ ตามประเภทวัสดุ การจัดมุมห้องขั้นแรก ต้องวัดขนาด สัดส่วนต้องการ กว้าง ยาว เท่าไร แล้วหาแผ่นเมโซไนท์ ชนิดที่เจาะรูเรียบร้อยแล้ว และก่อนที่จะตีเข้ากับผนัง ควรหาราวไม้รองรับ แผ่นเมโซไนท์ไว้ก่อน เพื่อจะได้มีช่องห่าง ระหว่างแผ่นเมโซไนท์ กับผนัง ไว้สำหรับเสียบตะขอ
งานบางอย่างอาจมีเครื่องมือ ที่แหลมคม หรือเป็น อันตราย ดังนั้นควรจะแยก ยก หรือเก็บไว้ ในที่สูง กว่าที่เด็กจะหยิบถึง เช่น สวิทช์ไฟฟ้า เครื่องมือกล และถ้าทำงานที่อาจจะเกิดอัคคีภัย ควรจัดหา เครื่องมือดับเพลิงเตรียมไว้ใกล้มือเสมอ ถ้าการทำงาน ที่เสียงมาก ก็ควรบุฝ้าเพดาน หรือผนังเพื่อช่วยลดเสียง และความสั่นสะเทือน ไปรบกวนผู้ที่อยู่ห้องข้างเคียงด้วย