การออกแบบบ้าน

“บ้าน” ควรจะสร้างเพื่อความสุขตามอัตภาพของผู้อยู่อาศัย และความเป็นมนุษย์คือการได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้สัมผัสธรรมชาติ และได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ในการออกแบบบ้านสิ่งที่สำคัญในการนำมาพิจารณา ก็มีอยู่หลายประการ ดังนี้

  1. การจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน การจัดพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นสัดส่วนสามารถลดปัญหาขัดแย้งภายในบ้านได้เช่น การฟังเพลง การดูโทรทัศน์ การทำการบ้าน การนอน การทานอาหาร การทำครัว การสังสรรค์ หรือประหยัดพลังงานเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศ หรือป้องกันเสียง และกลิ่นรบกวน หรือป้องกันยุง
  2. แสงธรรมชาติ การจัดให้ทุกพื้นที่ได้รับแสงธรรมชาติ ช่วยสร้างให้เกิดบรรยากาศที่น่า แสงธรรมชาติควรจะมาจาก ส่วนบนของห้อง จะทำให้การกระจายแสงดี และแสงไม่จ้า ดังนั้น สีของเพดานจึงควรจะเป็นสีออกสว่าง ส่วนสีผนัง หากใช้สีสว่างเกินไปจะจ้า จึงควรคล้ำลงบ้าง
  3. การระบายอากาศ ห้องที่ควรจะใช้หลักการระบายอากาศตามธรรมชาติ ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องทานอาหาร ห้องพักผ่อน เป็นต้น
  4. การปรับอากาศ ห้องนอนซึ่งเป็นห้องที่คนใช้เวลาอยู่มากที่สุด ใช้เครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่ ห้องนอนจึงต้องออกแบบให้มีสภาพของห้องเย็น คือมีฉนวนป้องกันความร้อนอย่างดี จึงจะใช้เครื่องปรับอากาศเล็กนิดเดียว แล้วจะได้ไม่เปลืองไฟ ตำแหน่งของเครื่องระบายความร้อน ต้องไม่รบกวน และไม่นำความร้อนกลับเข้ามา ส่วนของเครื่องเป่าลมเย็น จะต้องไม่เป่าโดนตัวให้การกระจายลมดี และทำความสะอาดได้ง่าย
  5. การป้องกันเสียง เสียงรบกวนมักจะมาจาก เสียงรบกวนจากข้างบ้าน จากถนน กิจกรรมในบ้าน เครื่องระบายความร้อน ห้องน้ำ ดังนั้น จึงควรป้องกันเสียงจากที่ต่างๆนี้ เช่น การใช้หน้าต่าง ที่ไม่เปิดรับเสียงรบกวนจากภายนอกโดยตรง, การจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน, การกั้นผนังห้องน้ำยันพื้นเพดาน และใช้ประตูทึบ, การกั้นผนังห้อง การตั้งเครื่องระบายความร้อน ไม่ให้เสียงรบกวนบ้านของตัวเอง และบ้านของคนอื่น
การออกแบบบ้าน
การออกแบบห้องน้ำ
  • ห้องน้ำ
  • การวางแผน
  • การออกแบบห้องน้ำ
  • หลักในการจัด
  • เครื่องใช้ในห้องน้ำ
การออกแบบห้องนอน
  • ห้องนอน
  • การออกแบบห้องนอน
  • องค์ประกอบห้องนอน
  • การจัด
การออกแบบห้องนั่งเล่น
  • ห้องรับแขก
  • การออกแบบห้องนั่งเล่น
  • การวางผังห้องนั่งเล่น
  • เครื่องเรือนในห้องรับแขก
การออกแบบห้องครัว
  • ห้องครัว
  • การวางแปลนครัว
  • การออกแบบห้องครัว
  • การจัดวางแผนผังห้องครัว
  • เครื่องใช้ในครัว
การออกแบบห้องรับประทานอาหาร
การออกแบบห้องนอนเด็ก
การออกแบบห้องทำงาน
การออกแบบห้องนอนเด็ก
การออกแบบห้องทำงาน
ทิศทางของแสงแดด

คุณลักษณะของบ้านที่ดี

บ้านที่ดีควรจะมีลัษณะอย่างไร? คำถามนี้สำหรับบางคนอาจจะตอบได้อย่างรวดเร็วโดยแทบไม่ต้องคิดเลยว่าบ้านที่ดีควรจะเป็น บ้านที่มี ขนาดใหญ่โต ออกแบบไว้อย่างหรูหรา และมีราคาแพง อันที่จริงคำตอบเช่นนี้ก็คงมีส่วนถูกอยู่บ้างสำหรับบางมุมมองหรือ สำหรับบางคน แต่คงไม่ถูกต้องเสมอไปสำหรับทุกๆ คน เพราะบ้านหลังใหญ่ก็ย่อมจะมีปัญหาด้านการดูแลรักษาเป็นธรรมดา บ้านที่หรู หราเกินไป อาจจะไม่ตรงกับรสนิยมของบางคน ซ้ำร้ายยังอาจเป็นเครื่องล่อตาล่อใจบรรดาโจรขโมยได้เป็นอย่างดี ส่วนบ้านที่มีราคาแพง ก็อาจจะ เกิดจากผู้ขาย หรือผู้รับเหมาต้องการกำไรสูงๆ มากกว่าการที่จะได้บ้านดีสมราคาก็เป็นไปได้เช่นกัน ถ้าเช่นนั้นแล้วบ้านที่ดีควรจะ
เป็นอย่างไร บ้านแบบไหนจึงจะเรียกได้ว่าเป็นบ้านที่ดีสำหรับทุก ๆ คนโดยไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เรามาลองพิจารณา ถึงคุณลักษณะของบ้านที่คิดว่าน่าจะเป็นบ้านที่ดีสำหรับทุกๆ คน แล้วลองถามตนเองดูว่าเห็นด้วยกับสิ่งเหล่า นี้หรือไม่ บ้านที่ดีจะต้อง ประกอบด้วย คุณลักษณะพื้นฐานอย่างน้อย 4 ประการ ดังต่อไปนี้

  1. มีความสวยงามเรียบร้อย
  2. มีความมั่นคงแข็งแรง
  3. ให้ประโยชน์ใช้สอยได้ดี
  4. บำรุงรักษาง่าย

จากคุณลักษณะทั้ง 4 ประการดังกล่าว จะเห็นได้ว่าบ้านที่ดีอย่างน้อยควรมีลักษณะที่สอดคล้องกับ ความต้องการพื้นฐานของคน ทั่วๆ ไป กล่าวคือ สามารถให้ความสุข และความสะดวกสบายแก่ผู้อยู่อาศัยโดยมิได้ขึ้นกับ ขนาด ความหรูหราหรือ ราคาเท่านั้น เพราะสิ่ง เหล่านี้ ไม่อาจรับประกันได้ว่าจะก่อให้เกิดความสุข และความพอใจแก่ผู้อยู่อาศัยได้เสมอไป และการที่คุณลักษณะของบ้านที่ดีทั้ง 4 ประการนี้ จะเกิดขึ้นได้นั้นย่อมต้องเริ่มจากขั้นตอนการปลูกสร้างบ้านอย่างมีคุณภาพแล้วทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างบ้านที่มีคุณภาพเพื่อให้ ได้บ้าน ที่ดีตามคุณลักษณะข้างต้นได้ เรามาลองพิจารณาถึงองค์ประกอบที่สำคัญอันจะส่งผลต่อคุณภาพของบ้านในหัวข้อต่อไป

องค์ประกอบที่มีผลต่อคุณภาพของบ้าน

คุณภาพของบ้านจะต้องเกิดจากองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการดังนี้

1. การออกแบบ
2. การเลือกใช้วัสดุ
3. ขั้นตอน และกรรมวิธีการปลูกสร้าง
4. ฝีมือช่าง

องค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้มีผลต่อคุณภาพของบ้านอย่างไรจะขออธิบายโดยสังเขปตามลำดับดังต่อไปนี้

การออกแบบ

การออกแบบถือเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างบ้าน เพราะแบบบ้านจะเป็นสิ่งที่ระบุถึงรูปร่างหน้าตา และขนาด ของบ้าน โครงสร้างตั้งแต่การลงเสาเข็มรวมทั้งการวางเสา และคาน ตลอดจนถึงการกำหนดข้อมูลจำเพาะต่างๆ (specification) และ วัสดุที่จะนำมาใช้ การสร้างบ้านจะต้องยึดถือข้อกำหนด และรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฎในแบบเป็นพื้นฐาน ถ้าการออกแบบไม่ดีหรือการ ให้ข้อกำหนด ในแบบผิดพลาด บ้านที่ออกมาก็จะผิดพลาดตามแบบไปด้วย เช่น การกำหนดเหล็กเส้นผิดขนาด การกำหนดเสาเข็มผิด ขนาด การออกแบบเสา และคานที่ไม่สัมพันธ์กับ การรับน้ำหนัก เป็นต้น ข้อผิดพลาดเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวบ้านได้ ทั้งใน
ด้านของรูปแบบ โครงสร้าง และความแข็งแรง อีกทั้งการแก้ไขในภายหลังก็อาจกระทำได้ลำบาก จึงควรมีการศึกษาแบบบ้านให้รอบ คอบก่อน การสร้างบ้าน หรืออย่างน้อยก็ควรจะใช้ แบบบ้านของผู้ออกแบบ ที่ผลงานมีมาตรฐาน และได้รับความเชื่อถือใน การสร้างบ้านมาก่อน

การเลือกใช้วัสดุ

วัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านนับว่ามีความสำคัญต่อตัวบ้านควบคู่กันกับการออกแบบบ้านเลยทีเดียว เพราะในแบบบ้านแต่ละ ฉบับจะมี การระบุถึงวัสดุที่เกี่ยวข้องเกือบทั้งหมดอยู่แล้ว ยกเว้นเพียงวัสดุ ในแง่ของความสวยงามบางอย่างเท่านั้นซึ่ง อาจละไว้ให้เจ้า ของบ้าน ระบุเพิ่มเติมเองในภายหลัง วัสดุที่ใช้จะมีผลต่อคุณภาพของบ้านโดยตรง ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพย่อมส่งผลให้บ้าน นั้นมีความ มั่นคงแข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่ต้องซ่อมแซมกับบ่อยๆ ในภายหลัง โดยเฉพาะวัสดุที่ต้องติดตรึงเข้ากับตัวอาคาร หรือเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร หรือสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยากในภายหลัง ควรจะมีการศึกษา และพิจารณากันเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น การเลือกชนิดของท่อน้ำประปา ท่อร้อยสายไฟ บ้านพับประตู ลูกบิดประตู วัสดุทำหลังคา และฝ้าเพดาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ถ้าเจ้าของบ้านมีโอกาสได้ศึกษาหาข้อมูล และมีโอกาสได้เลือกหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดก็จะเป็นประโยชน์มาก เพราะจะช่วยให้บ้านที่ ปลูกนั้นให้ประโยชน์ใช้สอยได้เต็มที่ตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย อีกทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนานด้วย

ขั้นตอน และกรรมวิธีการปลูกสร้าง

ขั้นตอน และกรรมวิธีการปลูกสร้างนับเป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งซึ่งหลายคนอาจมองข้ามหรือไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ ควรเพราะคิดว่า ทุกอย่างถ้าทำตามแบบก็น่าจะเพียงพอแล้ว อันที่จริงแม้ว่าบ้านจะออกแบบไว้ดีเพียงใดหรือเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพดี ขนาดไหนก็ตาม ถ้าขั้นตอนหรือกรรมวิธีการปลูกสร้างทำได้ไม่ถูกต้องก็อาจจะก่อให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงต่อบ้านหลังนั้นได้ เช่น การผสมคอนกรีต ไม่ถูกส่วน การเชื่อมรอยต่อของเหล็กโครงหลังคาไม่แน่นหนา การให้พื้นรับน้ำหนักขณะที่คอนกรีตที่ใช้เทพื้นยังแข็งตัว ไม่เต็มที่ การทาสี โดยไม่ทำ ความสะอาดพื้นผิวเสียก่อน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อคุณภาพของบ้านทั้งสิ้นทั้งในแง่ของการใช้งาน และ ความสวยงาม
การป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้นเลยนั้นมักกระทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยการควบคุมดูแลจากหลายฝ่ายอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่เริ่มปลูกบ้านจนกระทั่งแล้วเสร็จ แต่การลดปัญหาดังกล่าวก็อาจทำได้โดยการเลือกผู้รับเหมา
ที่มีความชำนาญงาน และไว้ใจได้ ในขณะเดียวกันเจ้าของบ้านก็ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้บ้าง หรืออย่างน้อยก็ควรจะสละ
เวลาไปตรวจสอบดูแลการปลูกสร้างบ้าน สิ่งเหล่านี้ถึงแม้จะก่อให้เกิดความลำบาก และเสียเวลาบ้างในช่วงแรก แต่ถ้าได้บ้านที่เรียบร้อย
และมีคุณภาพตามที่คาดหวังไว้แล้วผู้อยู่อาศัยก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุขไปได้อีกนานเท่านาน

ฝืมือช่าง

บ้านที่ปลูกสร้างได้อย่างสวยงามมีความประณีตเรียบร้อยย่อมจะเป็นที่ตรึงตาตรึงใจแก่ผู้พบเห็นหรือผู้มาเยือน และสร้างความสุข ความภูมิใจใ ห้แก่เจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัย การสร้างบ้านแต่ละหลังจำเป็นต้องใช้ความรู้ทั้งทางด้านเทคนิค และศิลปะควบคู่ กันไป หรือกล่าว อีกนัยหนึ่งคือ ต้องมีทั้งศาสตร์ และศิลป์ผสมผสานอยู่ด้วยกัน บ้านที่ขาดประณีตศิลป์ ในการปลูกสร้าง อาทิ การปูกระเบื้อง ที่ไม่ได้แนว หรือเว้นห้องห่างเกินไป การก่อผนังที่ไม่ได้ฉาก หรือผนัง มีลักษณะเป็นคลื่นเป็นลอน การทำร่องประตู หรือหน้าต่างใหญ่เกินไป การติดตั้ง ดวงโคมเอียง หรือไม่ได้แนว เป็นต้น จริงอยู่ถึง แม้ว่าสิ่งเหล่านี้ จะยังคงสามารถ ใช้งานได้ แต่บ้านที่ได้ก็ ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น บ้านที่สมบูรณ์เรียบร้อย ทำให้เจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัย อาจจะยังมีความขัดข้องใจแฝงอยู่

การป้องกันปัญหาเหล่านี้เจ้าของบ้านสามารถทำได้โดยการหาโอกาสศึกษาจาก ตัวอย่างบ้านที่ปลูกเสร็จแล้วหลายๆหลังแล้ว นำมา เปรียบเทียบกัน และปรึกษากับผู้รับเหมาถึงรายละเอียดต่างๆในจุดที่ต้องการ เพื่อให้การปลูกสร้างบ้านกระทำอย่างระมัดระวังยิ่ง ขึ้นซึ่งจะช่วยแก้ หรือลดปัญหาเหล่านี้ได้ ถ้าปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงคิดแก้ไขภายหลังก็อาจจะเหลือวิธีแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียว เท่านั้นนั่น คือ การทำใจให้ยอมรับสภาพบกพร่องที่เกิดขึ้น

ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ก็เพื่อ เป็นแนวทางให้ได้ทราบว่า บ้านที่ดีหรือบ้านที่มีคุณภาพดีควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร บ้านที่ดีเกิดจาก องค์ประกอบ อะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อ่านมองเห็นภาพของการปลูกสร้างบ้านได้กว้างขึ้น และเพื่อเป็นแนวทาง พิจารณาถึง ความต้องการ ของแต่ละคนว่าต้องการจะได้บ้านอย่างไร และทำอย่างไรจึงจะได้ผลตามที่ต้องการนั้น เพราะการปลูกบ้าน หรือ ซื้อบ้าน แต่ละหลังอาจจะหมายถึง การใช้เงินทองที่เก็บสะสม มาทั้งชีวิต และบ้านก็อาจเป็นถาวรวัตถุอันมีค่าที่จะอยู่กับเราไปตราบ ชั่วชีวิต ฉะนั้นการเตรียมการให้พร้อม และเข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ เท่าที่โอกาสจะอำนวยย่อมจะช่วยให้บ้านอันมี ค่าเสร็จสมบูรณ์ และได้ผลดังใจปรารถนา

Resource : คำนวณ คุณาพร

การออกแบบบ้าน นั้นมีตัวแปร สิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เป็นหลัก คือ

- ประโยชน์ใช้สอย (Function)
- วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง (Material)
- สภาพแวดล้อมคือภูมิอากาศ และภูมิประเทศ (Environment)

ตัวแปรเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบ จะเห็นได้ว่าตัวแปรที่กล่าวข้างต้นต่างเป็นส่วนหนึ่ง ที่นำมาคำนึงถึง เพื่อสร้างสภาวะ ที่เหมาะสมสำหรับผู้อยู่อาศัยภายในบ้านทั้งสิ้น ตัวแปรเหล่านี้สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสภาวะที่เหมาะสม ทั้งที่สามารถ มองเห็น และสัมผัสได้ทันที คือ ห้องที่เหมาะสมทั้งตำแหน่งที่ตั้ง ขนาด สภาพของภายใน ตลอดจนความสวยงาม ที่เป็นรูปธรรม ส่วนสภาวะที่เหมาะสม ที่ไม่สามารถมองเห็นนั้น เป็นสภาวะที่สัมผัสได้ และมีอิทธิพลต่อพวกเราอย่างมาก คือ สภาวะของ ความเหมาะสม ที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสบาย เราไม่สามารถกำหนดหรือบอกได้เป็น อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง (Temperature) เท่านั้น ยังมีความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) ความเร็วลม (Velocity) และอื่น ๆ ที่มีส่วนสัมพันธ์ในการสร้างสภาวะน่าสบาย (Comfort Zone) ให้เกิดขึ้นได้ เราสามารถสังเกตได้จาก เรือนไทย ไม่ว่าจะเป็นเรือนโบราณ หรือเรือนไทยในปัจจุบัน เรามักจะสัมผัสได้ อย่างชัดเจนว่า เราจะรู้สึกเย็นสบาย ถึงแม้ว่า อุณหภูมิรอบตัว หรือ สภาพแวดล้อมในขณะนั้นจะไม่ได้อยู่ในสภาวะน่าสบายก็ตาม

ลักษณะของวิธีการสร้างสภาวะน่าสบาย (Comfort Zone) มี 2 ประเภทด้วยกันคือ

Passive เป็นวิธีการที่สามารถประหยัดพลังงานมากเพราะใช้ระบบตามธรรมชาติมาเป็นเครื่องสร้างสภาวะน่าสบาย เช่น การวางแนวยาว ของอาคารขวาง กับทิศทางของลม เพื่อให้ลมพาเอาความเย็นเข้ามา หรือพาเอาความร้อนออกไป การใช้ต้นไม้ และร่มเงาไม้ควบคุมทิศทางลม การใช้หลังคาทรงสูงเพื่อลดอุณหภูมิของห้อง และสร้างปรากฏการณ์ เลียนแบบธรรมชาติ เพื่อควบคุม การไหลของลม ลักษณะวิธีการสร้าง สภาวะน่าสบาย แบบนี้จำเป็นต้องใช้หลายวิธีด้วยหลักการบูรณาการ (Integration) เข้ามาร่วม เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

Active เป็นวิธีการที่ง่าย และได้สภาวะน่าสบายที่รวดเร็วที่สุด ในปัจจุบันใช้อย่างแพร่หลาย คือ ระบบการปรับอากาศ (Air condition system) การใช้ระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อปรับสภาพภายในบริเวณที่เราต้องการให้เกิดสภาวะน่าสบายเกิดขึ้น แต่เป็นวิธีการที่ต้องใช้ พลังงานสูง และคนส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และมากเกินความจำเป็น

ปัจจัยในการสร้างสภาวะน่าสบาย และการประหยัดพลังงานสำหรับบ้าน

การวางตำแหน่ง และทิศทางของบ้าน (Orientation) เป็นปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเร็วลม เราสามารถที่จะวางอาคาร เพื่อขวางกับ ทิศทางของลม เพื่อให้ลมพาเอาอุณหภูมิสูงออกจากตัวบ้านไป โดยทั่วไปแนะนำให้วางอาคารแนวยาวหันไปทางทิศเหนือ-ใต้ เพื่อรับลมมรสุมตามฤดูกาล และลดผนัง ไม่ให้แนวยาวหันไปทางทิศตะวันออก-ทิศตะวันตกที่รับเอาแสงอาทิตย์ โดยตรง (Direct Sun) มากจนเกินไป การวางอาคารไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมใกล้กับแหล่งน้ำ บ่อน้ำ ต้นไม้ใหญ่ จะสามารถลดอุณหภูมิของลม ก่อนที่จะเข้าสู่ บริเวณบ้าน รวมทั้งใช้ร่มเงา ในการป้องกันความร้อนได้
การปรับสภาพแวดล้อมของบ้าน อาจมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางตำแหน่งอาคาร หากเราวางตำแหน่งอาคารอย่างเหมาะสมแล้ว อาจไม่เพียงพอ การปรับสภาพแวดล้อมก็สามารถ กระทำควบคู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน เราสามารถปลูกต้นไม้ หรือ ขุดบ่อน้ำ เพื่อปรับสภาพแวดล้อม ให้เกิดความเหมาะสมได้เช่นกัน

รูปแบบลักษณะอาคาร เป็นที่น่าสนใจที่ลักษณะเรือนไทยที่เป็นเรือนเล็ก ๆ เชื่อมต่อด้วยระเบียง หรือชานบ้านนั้น เป็นวิธีที่ช่วยให้ ลมสามารถพัดพา เอาความร้อนออกไปได้อย่างดี การยกใต้ถุนสูงเป็นการสร้างพื้นที่ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสม กับสภาพภูมิ อากาศ ของประเทศ อย่างยิ่ง ลมสามารถพัดพา เอาความร้อน ออกไปสามารถใช้ความเย็น จากพื้นดินอีกทั้ง สามารถป้องกัน น้ำท่วม ได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านให้มีลักษณะที่โปร่งให้ลมสามารถพัดผ่านไปในส่วนต่าง ๆ ของบ้าน จะสามารถลดการใช้ เครื่องปรับอากาศได้มาก

การออกแบบที่ว่าง และการวางผังภายในอาคาร

การวางผัง และการออกแบบที่ว่างของบ้านเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยได้มาก เราสามารถนำ พฤติกรรม การใช้ที่ห้องต่าง ๆ เป็นตัวกำหนด ตำแหน่งที่เหมาะสมได้ ซึ่งวิธีการนี้เราจะสามารถลดการใช้พลังงานในการปรับอากาศในห้องต่าง ๆ ได้

  • เราสามารถใช้ห้องน้ำหรือช่องบันไดเป็นส่วนปะทะความร้อนทางด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ เพื่อป้องกัน ความร้อน เข้าสู่บ้าน หรือห้องอื่น ๆ ได้ เนื่องจาก ห้องน้ำ เป็นส่วนที่มีความชื้นสูงรวมทั้งเราใช้เวลาในการอยู่ในห้องน้ำไม่นานมาก และความจำเป็น ที่ต้องใช้ การปรับอากาศน้อย เช่นเดียวกันเราสามารถใช้ห้องเก็บของหรือห้องที่ไม่ได้ใช้เวลาอยู่ภายในนั้น เป็นเวลานานมาก เป็นส่วน ปะทะ ความร้อน ได้เช่นเดียวกันโดย หลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งห้องที่ต้องการการปรับอากาศ และห้องที่ใช้ เกือบตลอดเวลา ไว้ที่ตำแหน่งรับความร้อนโดยตรง
  • การใช้ฝ้าเพดานที่สูงนั้นเหมาะสมกับการใช้การสร้างสภาวะน่าสบายแบบ Passive เพราะอากาศที่ร้อนจะน้ำหนักเบากว่า จะลอยตัวสูงขึ้นทำให้ อากาศเย็นที่มีน้ำหนักมากกว่าลอยต่ำลงมา ในทางกลับกันหากต้องการใช้ การสร้างสภาวะน่าสบายแบบ Active นั้นการทำฝ้าเพดานที่ต่ำจะทำให้ภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศลดลง และสามารถ ควบคุมอุณหภูมิของห้อง ได้อย่างสม่ำเสมอ จึงควรเลือกลักษณะที่ว่างให้เหมาะสม
    ผนัง หลักที่สำคัญคือออกแบบผนังให้ถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านน้อยที่สุด การใช้วัสดุที่ไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ อุณหภูมิ ภายในบ้านหรือห้องสูง จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการปรับลดอุณหภูมิภายในมากขึ้น เนื่องมาจาก ความร้อน สามารถถ่ายเท (Heat transfer) เข้ามาสะสมภายในผิวอาคารได้มาก การใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพสูง ในการประหยัด พลังงานนั้น อาจจะทำให้งบประมาณในการก่อสร้างสูงขึ้นมากจึง ควรเลือกใช้กับผนัง ที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดรายจ่าย เพราะบางกรณีอาจจะเปลืองหรือเกินความจำเป็นได้
  • ใช้ผนังที่มีการออกแบบใช้ฉนวนกันความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพกับผนังด้านทิศตะวันตก และทิศใต้ เพราะเป็นด้าน ที่หันเข้าหาแสง และรับความร้อนจากอาทิตย์โดยตรง (Direct sun)
  • -ควรใช้ผนังที่ก่อขึ้นจากคอนกรีตมวลเบาแทนผนังทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติ ในการกันความร้อน ได้ดีในระดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตบล็อก หรืออิฐมอญทั่วไปโดยมีราคาสูงกว่าไม่มากแต่สามารถก่อสร้างได้รวดเร็วกว่า และมี น้ำหนักค่อนข้างเบา
  • -ควรเลือกใช้ผนังสีอ่อนทั้งภายใน และภายนอกเพื่อการสะท้อนแสงรวมทั้งลดการดูดกลืนความร้อนของผนังอีกด้วย การใช้ผนังสีอ่อน จะช่วยให้ห้องภายในสว่างขึ้นสามารถลดการใช้แสงจากไฟฟ้าได้ และสามารถใช้ แสงธรรมชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เลือกคุณสมบัติของวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การใช้ผนังคอนกรีต ที่มีความหนามาก หรือมวลมาก กับห้องที่ใช้ เฉพาะช่วง เวลากลางวัน เพราะช่วงเวลากลางวันนั้นภายในจะเย็น เนื่องจากตัวผนัง ที่มีมวลมากสามารถหน่วงเวลา การส่งผ่านความร้อนได้ดี ผนังจะมี การสะสมความเย็น ไว้เกือบตลอดทั้งคืนแล้ว มาคายความเย็นออกมาในเวลากลางวัน ส่วนหลังจากนั้นความร้อน จะถูกสะสมเข้ามา แทนที่ทำให้ผนัง มีความร้อนสะสม อยู่มากทำให้ห้องนั้นร้อน ไม่เหมาะสม ในการใช้งานในช่วงเวลาหัวค่ำถึงกลางคืน จะสามารถทำให้ลด การใช้วัสดุราคาแพงได้บ้าง
  • การใช้ผนังสองชั้นที่มีช่องอากาศอยู่ภายในก็สามารถช่วยป้องกันความร้อนที่ส่งผ่านเข้ามาในบ้านได้มาก หากมีการออกแบบ ให้มีการระบายความร้อน ออกจากช่องอากาศที่อยู่ตรงกลางจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น
    ช่องแสง เป็นส่วนหนึ่ง ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงอย่างยิ่ง เนื่องจากความร้อน สามารถผ่านเข้ามาใน อาคารได้ง่ายมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ส่วนที่เป็นกระจก ฉะนั้นการเลือกกระจก ที่มีคุณสมบัติ การสะท้อนความร้อนสูง จะช่วยให้เราสามารถ ลดความร้อน ที่จะเข้ามาในตัวอาคารได้มาก แต่ในทางกลับกัน ช่องแสงทำให้เราสามารถใช้แสงธรรมชาติได้มาก ลดการใช้แสง จากไฟฟ้าด้วย
  • หากมีงบประมาณสูงเราสามารถใช้กระจกสองชั้น (Double Glazing) ที่มี ช่องว่างอากาศ เพื่อป้องกัน ความร้อนลักษณะเฉพาะ ของกระจกชนิดนี้ จะมีการเคลือบสารบางอย่างในการสะท้อนความร้อน รวมทั้ง บรรจุก๊าซบางชนิด เพื่อลดการเกิด ความชื้นภายใน กระจกชนิดนี้ สามารถ ให้แสงผ่านได้ในปริมาณสูง
  • การใช้กระจกสะท้อนแสง และความร้อน (Reflective glass) กระจกนี้จะมีคุณสมบัติต่ำกว่ากระจกสองชั้น (Double Glazing) แต่สามารถลดทั้งปริมาณความร้อน และแสงสว่างที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร ในขณะเดียวกัน ก็เป็น กระจกที่สามารถเก็บกัก ความร้อนอีกด้วย เหมาะแก่เมืองหนาวมากกว่า
  • หากไม่มีงบประมาณมากการใช้กระจก ชนิดที่มีราคาต่ำกว่า แต่เลือกใช้กระจกสี เช่น สีชา ก็สามารถช่วย ได้มากกว่า การใช้กระจกธรรมดา ช่องอากาศ การเพิ่มความเร็วลม ที่เข้าสู่ตัวบ้าน ให้เกิด การระบายอากาศภายในบ้าน ช่วยให้สามารถ ลดการใช้การปรับอากาศภายในได้มาก -การเพิ่มช่องเปิด จะเพิ่มความเร็วลม ที่เข้าสู่ตัวบ้าน การใช้ และการเจาะช่องเปิด ที่เหมาะสมจะช่วยให้การสะสมความร้อนภายในบ้านลดลง -การเจาะช่องเปิดด้านเดียว ลมไม่สามารถผ่านเข้าในห้องได้มากนัก ควรเปิดหน้าต่างที่อยู่ห่างกันมากที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายอากาศ (Single ventilation)
  • การเจาะช่องเปิดที่ผนังตรงกันข้าม และมีขนาดเท่ากัน ที่ตำแหน่งเดียวกันนั้นจะทำให้เกิดการระบายอากาศได้ดีที่สุด (Cross ventilation)
  • การเจาะช่องเปิดที่ทางเข้าของลมต่ำ และให้ทางออกอยู่สูงกว่า จะทำให้เกิดกระแสลมที่เย็นสบาย เป็นการสร้างสภาวะธรรมชาติ เพื่อให้อากาศ เกิดการแลกเปลี่ยน ความกดอากาศกัน อากาศเย็นไล่อากาศร้อนออกไปจากห้อง
  • การเจาะช่องเปิดให้อยู่ในระดับสูงทั้งสองทาง จะทำให้พื้นที่ส่วนล่างของห้องอับลม ไม่สามารถ ระบายอากาศภายในห้อง ได้มากเท่าไรนัก
  • ช่องเปิดที่มีทางออกของอากาศใหญ่กว่าทางเข้าจะช่วยให้เกิดกระแสลมเร็ว และแรงที่ด้านลมเข้า ในทางกลับกัน ถ้าทางเข้าใหญ่กว่า กระแสลมที่เข้ามาในห้องก็จะต่ำ
  • กันสาด และชายคา (Shading devices) การใช้กันสาดจะช่วยลดหรือเลี่ยงมิให้ผนังรับแสงแดดโดยตรงจากดวงอาทิตย์การใช้ Shading devices นี้เป็นการลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารโดยตรง การใช้ Shading devices พบว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก ในการป้องกันความร้อน สามารถช่วยให้ลดการใช้พลังงาน ภายในบ้านได้มาก ลักษณะของ Shading devices ได้แก่ กันสาด และชายคา ที่ให้ร่มเงากับช่องเปิด รวมทั้งผนังของอาคารด้วย Shading devices บางชนิด ถูกออกแบบมา เพื่อเป็นอุปกรณ์ ในการป้องกันความร้อนโดยตรงก็ได้
  • Shading devices ในแนวตั้ง (Vertical shading devices) มีประสิทธิภาพในการป้องกันผนังด้านที่รับแสงโดยตรง และเป็นเวลานาน ผนังด้านที่ควรติดตั้ง Shading devices ชนิดนี้คือ ด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก
  • Shading devices ในแนวนอน (Horizontal shading devices) มีประสิทธิภาพในการป้องกันผนังด้าน ที่ได้รับแสง ในมุมที่สูง อย่างแสงใน ช่วงเวลากลางวัน หรือด้านที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง Shading devices ชนิดนี้ สามารถให้ แสงที่สะท้อน จากสภาพแวดล้อมเข้ามาได้มาก ผนังด้าน ที่ควรติดตั้ง Shading devices ชนิดนี้คือด้านทิศเหนือ และทิศใต้ Shading devices
  • Shading devices แบบตารางเป็นShading devices ที่รวมเอาคุณสมบัติของ Shading devices ในแนวนอน และแนวตั้งไว้ด้วยกัน แต่ขึ้นอยู่กับขนาด และความเหมาะสมด้วย
    หลังคา เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากเนื่องจากเป็นส่วนที่สัมผัสกับความร้อนจากแสงอาทิตย์มากที่สุด ลักษณะหลังคาบ้านเรือนไทยนั้น เป็นลักษณะของหลังคา ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศมาก เพราะมีความลาดชันมากระบายฝนได้รวดเร็ว รวมทั้งความร้อน จะลอยตัวขึ้นสูง ฉะนั้นการที่หลังคามี ความลาดชันสูงมาก ทำให้ความร้อนภายใน จะไปรวมตัวที่จุดที่สูงที่สุด ทำให้อากาศภายในห้อง ด้านล่างมีเพียงอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
  • หลังคาที่มีสองชั้นซ้อนทับกัน โดยหลังคาส่วนที่ซ้อนอยู่ข้างบนมีขนาดเล็ก (ลักษณะคล้ายการใส่หมวก) ก็เพียงพอที่ จะช่วยให้ การสะสมความร้อน ที่ผิวของหลังคาลดลง จะมีประสิทธิภาพเมื่อมีช่องระบายอากาศที่บริเวณหน้าจั่วทั้งสองด้าน ความร้อน จะสามารถระบายออกได้ดี
  • สำหรับบ้านที่มีดาดฟ้าแล้วการปลูกต้นไม้บนดาดฟ้า ก็เป็นส่วนหนึ่งใน การช่วยให้ ลดความร้อน ที่สัมผัสกับ ผิวของดาดฟ้า ได้โดยตรง เช่นเดียวกับการใช้ Shading devices หรือการปรับดาดฟ้าให้เกิดความลาดชันมากเพียงพอ
  • ควรใช้แผ่นสะท้อนความร้อน (Foil) ในส่วนที่เป็นฝ้าเพดานใต้หลังคา หรือดาดฟ้า เพื่อเป็น การลดความร้อน ที่จะเข้ามา ภายในบ้านได้ หันด้าน ที่เป็นมันออกไปด้านนอก การติดแผ่นสะท้อนความร้อน ร่วมกับ ฉนวนป้องกันความร้อน จะช่วยให้ ฉนวนป้องกันความร้อนมีอายุยาวนานมากขึ้น ถึงแม้ว่าแผ่นสะท้อนความร้อน จะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อยับหรือมีฝุ่นบนผิว
การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน
  • ปลูกต้นไม้ทรงสูงเพื่อบังแสงอาทิตย์ โดยที่จะต้องให้มีกระแสลมเย็นพัด ผ่านใต้พุ่มใบในความเร็วที่พอเหมาะ เพื่อลด อุณภูมิภายนอก ใกล้บริเวณบ้านและ ป้องกันลมพัดผ่านเข้าตัวบ้านมากเกินไป โดยควรปลูกต้นไม้ในทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตก
  • ควรเลือกชนิดต้นไม้ที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นร่มเงาที่มีอยู่ตามท้องถิ่น เช่น ต้นปีบ ต้นอินทนิล ต้นสัตบัน ต้นสุพรรณิกา เป็นต้น เพื่อลดการใช้ปุ๋ย ยาฆ่า แมลงการดูแลรักษา เนื่องจากต้นไม้เหล่านี้มีความเคยชินกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ในประเทศไทยอยู่แล้ว
  • นำหลักภูมิสถาปัตย์มาใช้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมรอบๆ บริเวณบ้านให้ เย็นสบาย โดยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกหญ้า จัดแต่งสวน จัดทำน้ำตกจำลอง เป็นต้น
  • ถมดินบริเวณรอบบ้านให้สูง เพื่อให้พื้นและผนังบางส่วนต่ำกว่าดิน ทำให้สามารถนำความเย็นจากดินมาใช้ และปลูกไม้พุ่ม บริเวณผนังบ้าน
  • ในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด อาจจะปลูกต้นไม้ดัด หรือไม้เลื้อยตามระเบียง หรือรั้ว เพื่อลดลมร้อนพัดผ่านเข้าตัวบ้าน และลด ความแรงของแสงแดดที่ ส่องผิวอาคาร
  • ทำรางน้ำและท่อระบายน้ำจากหลังคา หรือส่วนต่างๆ ภายในบ้าน ให้ เหมาะสม เพื่อป้องกันความชื้นซึมเข้าไปในบ้าน หรือ อาจจะทำท่อระบายน้ำที่ได้จาก การซักล้างไปใช้รดน้ำต้นไม
  • ถ้าต้องการทำที่จอดรถ ควรทำที่จอดรถพร้อมหลังคาในด้านทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก เพื่อเป็นการช่วย ลดความร้อน ผ่านเข้ามาในตัวบ้านโดยตรง
  • บุฉนวนกันความร้อนที่หลังคาและผนัง โดยความหนาของฉนวนที่ใช้ต้อง ขึ้นอยู่กับภาระทำความเย็น แต่ส่วนใหญ่ใช้ ฉนวน ที่มีความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว ( 50-75 มม.) ฉนวนสำหรับหลังคาและผนังมีหลายชนิด ได้แก่ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนเยื่อกระดาษ ฉนวนเซรามิก
  • ทาสีผนังด้านนอกของบ้านเป็นสีอ่อน ใช้วัสดุที่มีผิวมันและกันความชื้น
  • ใช้กระเบื้องหลังคาสีอ่อน เพื่อสะท้อนความร้อนได้ดี
  • สำหรับผนังด้านที่มีระเบียงยื่น ควรเลือกใช้ประตูหรือหน้าต่างชนิดบานพลิก ซึ่งสามารถควบคุม ปริมาณลม ได้ดีกว่า การใช้ประตู หรือหน้าต่างชนิดบานเลื่อน
  • ติดตั้งหน้าต่างกระจกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น โดยให้เพียงพอในการรับแสง สว่างจากธรรมชาติ และควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก
  • ทำกันสาดให้กับหน้าต่างกระจก โดยกันสาดแนวราบเหมาะสมกับหน้าต่าง ที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ เพราะสามารถบัง แสงอาทิตย์ ในช่วงเที่ยงและช่วง บ่าย ส่วนกันสาดแนวดิ่งเหมาะสมกับหน้าต่างที่อยู่ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
  • ติดตั้งผ้าม่านหรือมู่ลี่บริเวณหน้าต่างกระจก เพื่อป้องกันความร้อนจากแสง อาทิตย์เข้าภายในตัวบ้าน ส่วนการติดฟิล์มกรองแสง ที่กระจกหน้าต่างนั้น แม้จะป้องกัน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายสูงกว่า จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม
  • สำหรับห้องนอนหรือห้องที่ต้องการปรับอากาศที่ตั้งอยู่บริเวณชั้นสองเหนือ บริเวณที่จอดรถหรือระเบียง ควรมีการทาหรือพ่น ฉนวนที่ฝ้าเพดานของที่จอดรถ หรือระเบียงนั้นๆ เพื่อป้องกันการนำความร้อน จากภายนอกผ่านใต้พื้นห้องเข้า สู่ตัวห้อง
  • ติดตั้งพัดลมระบายอากาศบนหลังคา เพื่อดูดอากาศร้อนใต้หลังคาออกไป ภายนอก
  • ทำระเบียงยื่นพร้อมติดกันสาดในทิศตะวันออกและทิศตะวันตก สำหรับใช้ เป็นที่นั่งทานอาหารว่าง หรือใช้ทำ ครัวนอกบ้านแล้ว ยังช่วยลดความร้อนเข้ามา ในบ้านอีกด้วย
  • อุดรอยรั่วด้วยซีเมนต์หรือซิลิโคน ( Silicone ) ที่ช่องติดตั้งโคมไฟ ช่องติด ตั้งพัดลมเพดาน ช่องที่เตรียมไว้สำหรับเดินท่อน้ำ เป็นต้น เพื่อป้องกันความ ร้อนจากภายนอกผ่านเข้าช่องเพดาน
  • อุดรอยรั่วตามรอยต่อ ระหว่างผนังขอบประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันความ ร้อนและความชื้นจากภายนอกผ่านเข้าไปในบ้าน ในกรณีที่ห้องนั้นเป็นห้อง ปรับอากาศ
  • จัดวางตู้และชั้นวางของให้เหมาะสม ไม่บังลม ไม่กีดขวางการระบาย อากาศ และไม่บังแสง
  • จัดวางโต๊ะเขียนหนังสือให้หันหน้าไปในผนังด้านที่รับแสงธรรมชาติได้
  • หมั่นดูแลรักษาทำความสะอาด พรม ผ้าม่าน โซฟา ไม่ให้เปียกชื้น เพื่อลดภาระทำความเย็นเนื่องจากความร้อนแฝง
  • จัดแบ่งห้องใช้สอยโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน โดยจัดห้องที่ใช้ ตอนเช้าอยู่ในทิศตะวันออก ส่วนห้องที่ใช้สอย เกือบทั้งวัน ให้อยู่ทิศเหนือ เพราะจะเย็นสบายที่สุด เช่น ห้องนั่งเล่นอยู่ในทิศเหนือ เป็นต้น
  • ควรติดตั้งคอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศในที่ร่ม หรือใต้ต้นไม้ และต้องไม่มี สิ่งกีดขวางทางลมเข้า และออกจาก คอนเดนเซอร์ ในด้านทิศ เหนือของบ้าน เป็นด้านที่เหมาะสม ที่จะติดตั้ง คอนเดนเซอร์ มากที่สุด แต่ถ้าไม่ สามารถติดตั้งใน ด้านทิศเหนือ ก็สามารถติด ทางทิศใต้ที่มีกันสาดแทนได้
  • ควรติดตั้งคอนเดนเซอร์ในที่ๆ สามารถดูแลบำรุงรักษาสะดวก และใน ที่ๆ ไม่ส่งเสียงรบกวนเข้ามาภายในห้อง
  • ควรติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ ( Thermostat ) ภายในห้องปรับอากาศ ให้เหมาะสม คือ ไม่ควรโดนแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะจะทำให้ เทอร์โมสตัท อ่านค่าผิดพลาด และควรติดตั้งในบริเวณที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้ง่ายและ และสะดวกต่อ การปรับตั้งค่าอุณหภูมิตามต้องการ
  • ควรติดตั้งเครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า ในบริเวณที่ไม่ปรับอากาศและเปิดโล่ง เช่น ที่จอดรถ ระเบียงนอกบ้าน เพื่อระบายความร้อน และลดความชื้นที่ปลด ปล่อยมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ แต่ถ้าต้องติดตั้งในห้องปิด ควรจะต้องติด ตั้งพัดลมระบายอากาศ เพื่อป้องกันการสะสมความร้อนและความชื้นภายในห้อง
  • พิจารณาทำห้องครัวให้อยู่นอกตัวบ้าน แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ห้องครัวที่อยู่ ภายในตัวบ้านควรมีการระบายความร้อนที่ดี เพราะห้องครัวมักประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด เช่น เตาอบ เตาหุงต้ม กาต้มน้ำร้อน ตู้เย็น ซึ่งเป็น แหล่งปลดปล่อยความร้อนที่สำคัญ
  • ติดตั้งเครื่องดูดกลิ่นหรือดูดควันในบริเวณที่ทำการหุงต้ม และอากาศ ที่ใช้กับเครื่องดูดกลิ่นหรือดูดควันนี้ ควรมาจาก ภายนอกบ้านไม่ควรใช้อากาศ เย็นจากเครื่องปรับอากาศโดยตรง
  • เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง นอกจากจะประหยัด พลังงานจากตัวมันเองแล้ว ยังลดความร้อน ที่ถูกปล่อยออกมา ในเวลาใช้งาน อีกด้วย เช่น ใช้ตู้เย็นประสิทธิภาพสูง ใช้หลอดไฟประสิทธิภาพ