ยาลดความอ้วน
- Tab 1
- Tab 2
- Tab 3
- Tab 4
- Tab 5
"ยาลดความอ้วน" แบ่งได้เป็น 8 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ยาทำให้ไม่อยากอาหาร
ยากลุ่มนี้เมื่อรับประทานแล้วจะมีผลทำให้รูสึกเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็วขึ้น ดังนั้นเมื่อร่างกายรับอาหารน้อยลง และหากพลังงานที่ได้รับจากอาหารนี้น้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องการ ร่างกายจะต้องหันมาใช้ไขมันสะสมเป็นพลังงานแทน ก็เป็นผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้ ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส บริเวณที่เป็นศูนย์ควบคุมการกินอาหาร และบางชนิดยัง มีฤทธิ์เพิ่มกลูโคสในกล้ามเนื้อ ผลนี้จะเปรียบเสมือนกับการออกกำลังกายเบา ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้ร่างกายได้ใช้พลังงานมากขึ้น และยาบางชนิดยังออกฤทธิ์สลายไขมันและกรดไขมันอีกด้วย
2. ยาขับน้ำหรือยาขับปัสสาวะ
ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ขับน้ำออกจากร่างกาย ทำให้ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมากขึ้น จึงทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว นิยมใช้ในพวกนักมวยที่ต้องการรีดน้ำหนักให้เท่ากับพิกัดในระยะเวลาสั้น ๆ โดยมากแพทย์จะใช้ยานี้ในการักษาโรคความดันโลหิตสูง ภาวะบวมน้ำ เป็นต้นยาเหล่านี้หากใช้ในระยะเวลา อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง กระหายน้ำ คอแห้ง ปากแห้ง เนื่องจากร่างกายสูญเสียเกลือแร่และน้ำไปทางปัสสาวะ แต่ยากลุ่มนี้บางชนิดเป็นยาขับปัสสาวะที่สามารถสงวนเกลือแร่บางอย่าง โดยเฉพาะโปแตสเซียมได้ จึงทำให้อาการต่าง ๆ ที่เกิดจาการขาดเกลือแร่ลดลง
3. ยาฮอร์โมน
โดยมากมักจะเป็น ”ธัยรอยด์ฮอร์โมน” ซึ่งออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น เมื่อพลังงานสะสมถูกใช้ไปมากขึ้น น้ำหนักก็ลดลง แต่หากใช้ยาในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการใจสั่น เหงื่อออกมาก หรือมีอาการคล้ายกับคนที่เป็นโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษได้
4. ยาระบาย หรือยาถ่าย
ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด บางชนิดออกฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ให้บีบตัว บางชนิดก็ทำให้อุจจาระอ่อนตัว หรือเพิ่มปริมาณอุจจาระ ทำให้ถ่ายมาก หรือบ่อยขึ้น ยาในกลุ่มนี้มีทั้งที่เป็นน้ำและเป็นเม็ด หลังจากรับประทานแล้วจะรู้สึกอยากถ่าย และอุจจาระจะค่อนข้างเหลว เหมาะสำหรับคนที่ท้องผูก ถ่ายยาก
5. ยาลดกรด
ยาลดกรดทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จึงทำให้ไม่รู้สึกหิว แต่เป็นเพียงชั่วขณะเท่านั้น ยาลดกรดจะมีสารประกอบที่เป็นอะลูมินัม (Aluminum) ซึ่งแพทย์มักจะใช้ยานี้เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และบรรเทาอาการปวดท้อง ผลข้างเคียงที่อาจ เกิดขึ้นจาก การรับประทานยานาน ๆเช่น ท้องผูก หรือขาดสารอาหารบางอย่าง เนื่องจากยาลดกรดไปรบกวนการดูดซึมของสารอาหาร โดยเฉพาะ Fluoride และ Phosphate เป็นต้น
6. ยาหรือสารเคมีที่ผลิตจากใบพืช
มักจะอยู่ในรูปอาหารสำเร็จรูป ซึ่งปรุงแต่งให้มีพลังงานต่ำ สาวนประกอบทั่วๆ ไปคือ เส้นใยอาหาร สารอาหารอื่น ๆ คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน รวมทั้งเกลือแร่และวิตามินต่าง ๆเพื่อนำไปรับประทานอาหารปกติ เพื่อลดปริมาณพลังงานที่ได้จากอาหารได้น้อยลง เนื่องจากเมื่อ รับประทานอาหารเข้าไปแล้ว เส้นใยอาหารจะพองตัว ทำให้เพิ่มปริมาณของอาหารในกระเพาะ จึงทำให้รู้สึกไม่หิว และหากรับประทาน อาหารอื่นได้น้อยลง และอิ่มเร็วขึ้น ปัจจุบันมีการปรุงแต่งอาหารเหล่านี้ทำให้น่ารับประทานมากขึ้น มีทั้งที่เป็นอาหารของสำหรับชงดื่ม คุกกี้ ขนมเค้ก เวเฟอร์ เม็ดหรือแคปซูล ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีปริมาณแคลอรี่แตกต่างกัน มักจะระบุไว้ที่ฉลาก ดังนั้นหากต้องการลดความอ้วน และเลือกรับประทานอาหารเหล่านั้นแทน ก็ควรพิจารณาเกี่ยวกับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน ก็จะไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย เส้นใยอาหารยังช่วย ขัดขวางการดูซึมของไขมัน ด้วย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก และนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มกากอาหาร ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติด้วย
7. สารสกัดจากส้มแขก
ปัจจุบันได้มีการสกัดสารชนิดหนึ่งจากผลส้มแขก หรือชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia Cambogia ซึ่งเชื่อว่ามีผลในการลดไขมันได้ ปัจจุบันจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่คนอ้วน ที่ต้องการลดน้ำหนักสารสกัดที่สำคัญที่ว่า คือ ไฮดรอกซีซิตริแอซิด (Hydroxycitic Acid) หรือที่เรียกย่อ ๆว่า HCA ซึ่ง อย. รับรองความปลอดภัยแล้วในลักษณะของ ”ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” แต่ไม่ได้รับรองสรรรพคุณ ในแง่ลดความอ้วน ที่มาที่ไปของสารที่เรียกว่า HCA ที่ว่านี้คือเมื่อประมาณ 25 ปีมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ Brandeis ได้ค้นพบ HCA ในส้มแขกสามารถยับยั้ง การทำงานเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับ การสังเคราะห์กรดไขมันและโคเลสเตอรอลได้ เมื่อประกาศการค้นพบ นักวิทยาศาสตร์อื่น ๆหลายคนก็เริ่มสนใจ HCA ในแง่การลดไขมันและโคเลสเตอรอล จากจุดนี้เองที่ทำให้มีการศึกษาอย่างจริงจัง และพบว่า HCA ไม่ใช่กรดผลไม้ทั่วไป แต่มีคุณสมบัติที่ช่วยยับยั้งไม่ให้ร่างกายของคนเราเปลี่ยนแป้งจากอาหารไปเป็นไขมันได้ ในภาวะปกติ เมื่อรับประทานอาหารจำ พวกอาหารคาร์โบไฮเดรตเข้าไปก็จะถูกย่อยสลายกลายเป็นกลูโคส ซึ่งหากร่างกายได้รับอาหารมากเกินไป กลูโคสที่เหลือก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน โดยอาศัยเอ็นไซม์ที่ชื่อ ATP-Citrate Lyase ไขมันที่เกิดขึ้นก็จะถูกเก็บสะสมไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย ซึ่งหากรับประทาน HCA เข้าไป ก็จะมีผลไปยับยั้งเอ็นไซม์ที่ว่านี้ ดังนั้นแทนที่กลูโคสจะเปลี่ยนเป็นไขมัน ก็กลับเปลี่ยนไปเป็น ไกลโคเจนแทน สะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ จึงช่วยลดไขมันในเลือดและโคเลสเตอรอลได้ แต่ในแง่การลดความอ้วนแล้ว จะพบว่า HCA มีผลในการลดน้ำหนักตัวน้อย หรือไม่เห็นผลเลย สาเหตุที่ไม่ได้ผลอาจจะเป็นเพราะ HCA ยับยั้งเฉพาะอาหารประเภทแป้งได้เท่านั้น ดังนั้นหากรับประทานไขมันเข้าไป HCA ก็ไม่มีผลอะไรเลย
8. แอบซอร์บิทอล(Absorbital)
ปัจจุบันมีการค้นพบเส้นใยอาหารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไคโตซาน(Chitosan) ที่ได้จากส่วนนอกหรือเปลือกของสัตว์เช่น เปลือกกุ้ง หรือปู ซึ่งเมื่อนำมาย่อยสลายแล้วจะได้โคโตซาน ซึ่งมีคุณสมบัติในการจับไขมันได้ดี ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาอนุพันธ์ของโคโตซาน เพื่อให้สามารถ จับกับไขมันได้ดีในทางเดินอาหารของมนุษย์ มีชื่อเรียกว่า”แอบซอร์บิทอล” หรือ L112 ไบโอโพลิเมมอร์ (Enhance Chitosan Derivative) แอบซอร์บิทอลจะมีลักษณะเป็นเส้นใยเล็ก ๆ ที่มีพื้นผิวสูงสามารถ ถูกจับกับไขมันใน ทางเดินอาหาร และรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน และสามารถถูกขับถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ ปัจจุบันจึงมีการใช้แอบซอร์บิทอล ในการควบคุมน้ำหนักและลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และวิตามินบางชนิดในเลือด การใช้แอบซอร์บิทอลนั้นควรระมัดระวังการขาดวิตามินบางชิดได้ โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายในไขมันได้ เช่น เอ, ดี, อี และเค แอบซอร์บิทอลจึงมีประโยชน์ในการลดการดูดซึมไขมันที่ได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป แต่ในคนที่ต้องการลดความอ้วน ซึ่งไขมันสะสมอยู่มากมายตามส่วนต่าง ๆของร่างกาย ซึ่งแอบซอร์บิทอลไม่สามารถกำจัดได้ จึงจำเป็นต้องออกกำลังกายควบคู่กันไป เพื่อให้ร่างกายใช้พลังมากขึ้น จึงจะมีการเผาผลาญไขมันสะสมให้ลดน้อยลง และที่สำคัญก็แอบซอร์บิทอลไม่ได้มีส่วนในการกำจัดสารอาหารอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารอาหารพวกโปรตีน หรือคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นสารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายเช่นกัน ดังนั้นแม้ว่าแอบซอร์บิทอล จะช่วยกำจัดไขมันก็ตาม แต่หากต้องการจะลดน้ำหนัก ก็ควรจะควบคุมการรับประทานอาหารให้น้อยลง และหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ จึงจะสามารถลดน้ำหนักได้
การใช้ ยาลดความอ้วน อย่างถูกวิธี
ยาลดความอ้วน
จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ ร้านที่จะขายได้ต้องมีใบอนุญาต ฤทธิ์ของยาจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ลดความถี่ของความรู้สึกหิว
การใช้ยาลดน้ำหนักทุกชนิดจะทำให้น้ำหนักลดลงได้ในช่วงที่กินยา แต่น้ำหนักจะสูงกลับขึ้นเท่าเดิมเมื่อหยุดยาด้วยอาการที่เรียกว่า yo-yo effect คือผู้ใช้ยาจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะร่างกายปรับสภาพให้เผาผลาญพลังงานน้อยไป
ยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ จัดเป็นอนุพันธ์ของ แอมเฟตามีน(amphetamine) ที่เป็นยาประเภทเดียวกับยาบ้า แต่พัฒนายาให้มีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทน้อยกว่า
ข้อควรระวัง
ข้อควรระวังของยาที่เตือนโดยบริษัทยาผู้ผลิต ว่าอาจเกิดผลข้างเคียง ที่พบบ่อยคือนอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ สั่น ตาพร่า หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการติดยาและห้ามใช้ยาลดความอ้วนในผู้ป่วยที่มีประวัติเคยใช้ยาในทางที่ผิด หรือมีภาวะซึมเศร้า
แต่การใช้ยาลดความอ้วนช่วยในการลดน้ำหนักได้บ้าง หากปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยออกกำลังกาย ลดอาหารอย่างเหมาะสมควบคู่กันไป ส่วนคนที่ใช้ยาลดความอ้วน แต่ไม่มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ยังกินอาหารเหมือนเดิม ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อเผาผลาญพลังงาน ยาก็ใช้ไม่ได้ผล ทำให้หลายคนใช้วิธีเพิ่มปริมาณยามากขึ้น เพราะหวังว่าจะสามารถควบคุมน้ำหนักได้ ซึ่งเมื่อใช้ยาเกินปริมาณก็จะทำให้เกิดอันตรายจากผลข้างเคียงของยา
ประชาชนที่ซื้อยาลดความอ้วนรับประทานเอง จึงเป็นอันตรายมาก
ส่วนใหญ่คนที่ใช้ยาลดความอ้วน เมื่อวัดปริมาณค่าดัชนีมวลกาย มักพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ความต้องการลดความอ้วนมักมาจากเกิดจากกระแสเลียนแบบดารา หรือต้องการทำตามเพื่อน
การหาดัชนีมวลกาย
การหาดัชนีมวลกายทำได้ง่ายๆ คือนำน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง แล้วนำมาวัดค่ามาตรฐานสากล หากต่ำกว่า 20 หมายความว่าน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน 20.0-24.9 หมายถึง น้ำหนักปกติสำหรับประเทศไทยอยู่ที่ 18.5-24.9 ค่า 25.0-29.9 หมายถึงน้ำหนักเกิน ค่า 30.0-39.9 หมายถึงโรคอ้วนมากกว่า 40 หมายความว่าโรคอ้วนรุนแรงการคำนวณวิธีนี้ ไม่ใช้กับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต สตรีมีครรภ์ และนักกีฬา
ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
ลำดับแรกคงต้องเริ่มจากความมุ่งมั่น จากนั้นรับประทานอาหารให้น้อยลงวันละ 500 กิโลแคลอรี่ น้ำหนักตัวจะลดลงได้ประมาณ 0.45 กิโลต่อสัปดาห์ ถ้าปฏิบัติได้จริงในช่วง 10 เดือน จะลดได้ 18 ก.ก.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากมีผลต่อน้ำหนักตัวที่ลดลงแล้ว ยังทำให้ร่างกายแข็งแรง ความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆลดลง แนะนำให้ออกกำลังกายครั้งละ 20-30 นาที 5-7 วันต่อสัปดาห์
พฤติกรรมการรับประทาน
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่นรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้ช้าลง เคี้ยวอาหารให้นานขึ้นก่อนกลืนอาหาร จะทำให้รู้สึกอิ่ม จะบริโภคได้น้อยลง เป็นต้น
ที่สำคัญต้องไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจอันตรายถึงชีวิต
การทานยาลดความอ้วนนานๆ จะทำให้เกิดปัญหาตามมา โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอาการไม่พึงประสงค์ของยาซึ่งขึ้นอยู่กับว่ารับประทานยาลดความอ้วนกลุ่มไหน โดยยาลดความอ้วนแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม หลักๆ คือ
1. Noradrenergic Agents (กลุ่ม แอมเฟตามีน) เช่น เฟนเตอร์มีน, Amfepramone, Mazindolเป็นต้น ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีฤทธิ์กดการทำงานของศูนย์ควบคุมความหิวทำให้มีอาการเบื่ออาหาร มีฤทธิ์ทำให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า norepineprine เพิ่มขึ้น
อาการไม่พึงประสงค์ของยา
ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว (palpitations) หัวใจเต้นผิดจังหวะ นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ มึนงง หงุดหงิด สั่น กระสับกระส่าย เหงื่อออก คลื่นไส้ ท้องผูก ความดันโลหิตสูง ติดยา
2. Serotonergic Agents เช่น Fenfluramine, Dexfenfluramine, Fluoxetine, Sertraline เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะเพิ่มระดับของ serotonin กระตุ้นศูนย์ควบคุมความอิ่มทำให้ความอยากอาหารลดลง
อาการไม่พึงประสงค์ของยา
ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ง่วงงุน มึนงง สั่น การทำงานของลิ้นหัวใจบกพร่อง(cardiac valvular insufficiency) ความดันโลหิตที่ปอดสูง(Primary Pulmonary Hypertension, PPH) คลื่นไส้ ท้องเสียอาเจียน Serotonin Syndrome ซึ่งจะมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 3 อย่าง คือ ไข้ สับสน มือสั่น เดินโซเซ วิตกกังวล สั่น เหงื่อออกมาก ท้องเสีย
3. Noradrenergic / Serotonergic Agent เช่น Sibutramine ยาจะออกฤทธิ์ลดความอยากอาหารและยับยั้งการเก็บกลับของสารสื่อประสาทที่ชื่อ norepinephrine(NE), serotonin
อาการไม่พึงประสงค์ของยา
ปากแห้ง ใจสั่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ท้องผูก มึนงง คลื่นไส้
4. Lipase Inhibitors เช่น Orlistat ยาจะออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ gastrointestinal lipase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยไขมัน เมื่อเอนไซม์นี้ถูกยับยั้ง ทำให้ไขมันไม่ถูกย่อยเป็นกรดไขมันอิสระ ทำให้ไขมันถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยลง
อาการไม่พึงประสงค์ของยา
อุจจาระเป็นมัน นุ่ม ท้องอืด ไม่สบายท้อง ปวดท้อง กลั้นอุจจาระไม่ค่อยได้ ร่างกายขาดวิตามินที่ละลายในไขมัน
นอกจากนี้ยังมียากลุ่มอื่นที่ใช้ร่วมกันเพื่อลดน้ำหนัก ได้แก่
1. ยาระบายหรือยาถ่าย แบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ
1.1 ยาที่ทำให้อุจจาระเป็นก้อนหรือเพิ่มกาก เช่น สารสกัดจากเม็ดแมงลัก, สารสกัดจากเทียนเกล็ดหอย ยากลุ่มนี้จะพองตัวเมื่อสัมผัสกับของเหลวในท้องหรือน้ำ ทำให้รู้สึกอิ่ม อืด ไม่อยากอาหาร
อาการไม่พึงประสงค์ของยา
ท้องอืด ท้องเฟ้อ เกิดการอุดตันของลำไส้ โดยเฉพาะเมื่อใช้ในขนาดสูงและใช้เป็นเวลานาน
1.2 ยาหล่อลื่น เช่น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม, mineral oil ยาช่วยทำให้อุจจาระหล่อลื่นขึ้น
1.3 ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เช่น bisacodyl ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
1.4 ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม เช่น dioctyl sodium sulphosuccinate ยาทำให้อุจจาระนิ่ม
1.5 Osmotic laxative เช่น lactulose ยาทำให้เกิดการดูดน้ำเข้ามาในลำไส้ใหญ่
อาการไม่พึงประสงค์ของยา
มีการทำลายเยื่อบุลำไส้ใหญ่ (myenteric plexus) ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว อารมณ์ไม่ปกติ เมื่อหยุดใช้ยาจะทำให้ถ่ายอุจจาระเองไม่ได้
2. ยาขับปัสสาวะ เช่น Furosemide, Hydrochlorothiazide (HCTZ) ยาจะทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะเพิ่มขึ้น
อาการไม่พึงประสงค์ของยา
สูญเสียน้ำและเกลือแร่ ทำให้ ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
ระดับแคลเซียมในเลือดสูง กรดยูริกในเลือดสูงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
เป็นตะคริว หัวใจเต้นผิดจังหวะ(cardiac arrythmia)
3. ไทรอยด์ฮอร์โมน เช่น Levothyroxine ยาจะทำให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น
อาการไม่พึงประสงค์ของยา
มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
จากอาการอิ่มอาหาร หิวน้ำมาก ใจหวิวๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นอาการที่เกิดได้จากยาลดความอ้วนหลายกลุ่ม คือ
อาการอิ่มอาหาร เกิดได้จากยากลุ่ม Noradrenergic Agents (กลุ่ม แอมเฟตามีน) , Serotonergic Agents, Noradrenergic / Serotonergic Agent, ยาระบายกลุ่มที่ทำให้อุจจาระเป็นก้อนหรือเพิ่มกาก
อาการหิวน้ำมาก เกิดได้จากยากลุ่ม Noradrenergic Agents (กลุ่ม แอมเฟตามีน) , Serotonergic Agents, Noradrenergic / Serotonergic Agent, ยาระบายกลุ่มที่ 2-5, ยาขับปัสสาวะ, ไทรอยด์ฮอร์โมน
อาการใจหวิวๆ เกิดได้จากยากลุ่ม Noradrenergic Agents (กลุ่ม แอมเฟตามีน) , Serotonergic Agents, Noradrenergic / Serotonergic Agent, ยาระบาย, ยาขับปัสสาวะ, ไทรอยด์ฮอร์โมน
เมื่อผอมแล้วถ้ามีการหยุดยาทันทีจะมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น คือ
ยากลุ่ม Noradrenergic Agents
(กลุ่ม แอมเฟตามีน) จะมีอาการถอนยา คือ ทำให้อยากอาหารเพิ่มขึ้น นอนหลับนาน มีภาวะซึมเศร้า อ่อนเพลีย
ยากลุ่ม Serotonergic Agents จะทำให้มีอาการซึมเศร้าอย่างมาก
ดังนั้น ยา 2 กลุ่มนี้ จึงต้องค่อยๆลดขนาดยาลงจนกระทั่งเลิกใช้และต้องมีการปรับพฤติกรรมการ
รับประทานอาหารร่วมด้วย มิฉะนั้นจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิมเนื่องจากมีการอยากอาหารเพิ่มขึ้น
ยากลุ่ม ยาระบาย จะทำให้ท้องผูกหลังหยุดใช้ยา
เอกสารอ้างอิง
1. กองควบคุมวัตถุเสพติด. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. โรคอ้วนและปัญหาการใช้ยาลดความอ้วนในประเทศไทย. (online) Available:
http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/addict/obesity.html
2. องอาจ ไพรสณฑรางกูล, 2536.ท้องผูก. อาการของโรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อยและการบำบัด. กรุงเทพมหานคร, พี.บี. ฟอเรน บุคส์ เซนเตอร์: หน้า 207-212.
3. Gessner P.K., 1995. Substance Abuse. Essentials of Pharmacology. A Division of Harcourt Brace Company., pp.516-517.
4. Mandl D.L., Iltz J.L., 2000. Obesity and Eating Disorders. Textbook of Therapeutics. 7th edition. Lippincott Wiliams & Wilkins, pp. 1271-1280.
5. Peter J.V., Khan M.A., 2002. Obesity. Pharmacotherapy. 5th edition. The McGraw-Hill Companies,Inc., pp. 2548-2559.
ผลเสียต่อร่างกาย จากการใช้ยาลดความอ้วน
1.มีรายงานการเกิดภาวะความดันโลหิตในหัวใจห้องขวา และในระบบไหลเวียนของปอดสูงขึ้นได้จากยาลดความอ้วน กลุ่ม anorexic drug(กลุ่มที่ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร)
2.มีรายงานพบว่า การรรับประทานยาลดความอ้วน จะเกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่วได้
3.อาการข้างเคียงอย่างอื่น เช่น ใจสั่น,หงุดหงิด เป็นลม หน้ามืด หรือ ท้องผูกได้ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสูตรยาที่ใช้(regimens) ต้องสอบถามจากแพทย์ผู้นั้นโดยตรง เพราะว่าอาจมียาอื่นเสริมมาด้วย เช่น ยาทัยรอยด์ฮอร์โมน,ยาขับปัสสาวะ,ยาระบาย ซึ่งอาจมีผลต่อระบบสรีรวิทยาของร่างกาย (metabolism&physiology)ด้วย
ยาลดความอ้วนเฉพาะส่วน เท่าที่ทราบยังไม่มี ยกเว้นการออกกำลังโดยวิธีที่ถูกต้อง อาจทำให้ลดไขมันจากบางแห่งได้ดี กินอย่างไรไม่ให้อ้วน ก่อนอื่นคุณต้องทราบก่อนว่า เราประเมินความอ้วนโดยใช้ความสัมพันธ์ของน้ำหนักและส่วนสูง ที่เรียกว่า Body Mass Index (BMI = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วย ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง) ในผู้ใหญ่อายุ 20-29 ปี ค่า BMI ที่เหมาะสมคือ 27.8 ในผู้ชาย และ 27.3 ในผู้หญิง ถ้า BMI สูงกว่านี้จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหินสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ความอ้วนอาจเกิดจาก การใช้ยา หรือสารบางอย่าง เช่น Steroid หรือ อาจเป็นจากโรคฃองต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต เป็นต้น
แต่ในคนปกติทั่วไป สาเหตุมักมาจากการกินอาหาร หรือได้รับพลังงานมากเกินที่ใช้ชีวิตประจำวันทำให้ พลังงานที่เหลือใช้ถูกเก็บไว้ในรูปเนื้อเยื่อไขมัน และในระยะยาว ก็จะกลายเป็นคนอ้วนในที่สุด โดยทั่วไปปริมาณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี่ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน มากหรือน้อยขึ้นกับการทำงาน และการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน หากอยากลดน้ำหนักต้องทำให้ขาดดุลของพลังงาน (คือใช้มากกว่ารับ) ถึง 7700 กิโลแคลอรี่ จึงจะลดไขมัน ได้ 1 กิโลกรัม หรือขาดดุล 1100 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์จึงลดไขมันได้ 1 กิโลกรัม สำหรับปริมาณพลังงาน (แคลอรี่) ที่จะได้รับจากอาหาร เช่น ผลแอปเปิ้ลขนาดใหญ่ 1 ลูก ให้ 101 kcal, เบคอน 2 ชิ้นให้ 96 kcal เบียร์ 1 แก้ว ให้ 114 kcal ขนมปังทาเนย ให้ 78 kcal ไก่ทอด ครึ่งชิ้นหน้าอก ให้ 232 kcal ไข่ทอด ให้ 110 kcal แฮม 2 ชิ้น ให้ 167 kcal ส้ม 68 kcal แฮมเบอร์เกอร์ 350 kcal เป็นต้น ลองพิจารณาดูกันเอาเองค่ะ
โดย ผู้จัดการออนไลน์
ในปัจจุบัน ยาลดความอ้วนที่ใช้มีอยู่หลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติและความเหมาะสมในการใช้แตกต่างกันไป
ในเรื่องนี้เภสัชกรวิโรจน์ สุ่มใหญ่ ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลโดยแบ่งยาลดความอ้วน ออกเป็นชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้
ยาที่ทำให้ไม่อยากอาหาร
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ อนุพันธ์ของแอมเฟตามีน หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไป ก็คือ กลุ่มของยาบ้า ซึ่ง อย.อนุญาตให้นำเข้ายาที่ใช้ลดความอ้วน 4 ชนิด คือ Diethylpropion, D-norpseudoephedrine, Phenylpropanolamine และ Phentermine
ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ที่สมองส่วนไฮโปทาลามัสบริเวณ ที่เป็นศูนย์ควบคุมการกินอาหาร ทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อยลง การที่ร่างกายได้รับอาหารน้อยลง หรือได้รับพลังงานน้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้ ร่างกายก็จะไปดึงเอาพลังงานที่สะสมอยู่ในรูปของไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายออกมาใช้ ส่งผลให้น้ำหนักของร่างกายลดลง หรือผอมลงได้
อย่างไรก็ตาม ยากลุ่มนี้จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภทที่ 2 ซึ่งห้ามจำหน่ายในร้านขายยาและสถานที่ทั่วไป ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อเสียคือ ทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อผู้ใช้ได้ เช่น มีอาการนอนไม่หลับ มือสั่น ใจสั่น กระสับกระส่าย หงุดหงิด ปวดศีรษะ มึนงง ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังมีข้อจำกัดสำหรับผู้ใช้บางราย ที่มีการใช้ยารักษาโรคประจำตัวร่วม เช่น โรคปวดหัวไมเกรน หรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะติดยาอยู่แล้ว รวมทั้งผู้ที่มีอาการซึมเศร้าและผู้ที่มีอาการเครียดทางอารมณ์สูงอยู่แล้ว
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการใช้ยากลุ่มนี้ คือ ผลข้างเคียงของยา อาจจะเกิดกับผู้ใช้ มากหรือน้อย โดยไม่สามารถระบุได้ชัดเจน อีกทั้งพบว่า ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ได้ผล สามารถใช้ยาได้ประมาณ 12 สัปดาห์ และหากไม่จำเป็น แพทย์จะให้ลดปริมาณยาลง จนกระทั่งเลิกใช้ เพราะการใช้ยาเป็นระยะเวลานาน อาจไม่ได้ผลในการลดน้ำหนักลงอีก แต่จะเกิดการติดยาแทนได้ และที่สำคัญ การใช้ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น
ยาขับน้ำ หรือยาขับปัสสาวะ
ยาในกลุ่มนี้ จะออกฤทธิ์ขับน้ำออกจากร่างกาย ทำให้ปัสสาวะบ่อย และปริมาณมากขึ้น จึงทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว นิยมใช้ในกลุ่มนักมวย ที่ต้องการลดน้ำหนัก ให้เท่าพิกัดในระยะเวลาสั้น โดยปกติแล้วแพทย์จะใช้รักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะที่ร่างกายบวมน้ำ เนื่องจากไม่สามารถขับน้ำปัสสาวะออกเองได้ตามปกติ ผู้ที่ใช้ยานี้เป็นระยะเวลานาน จะสูญเสียเกลือแร่และน้ำ ออกไปทางปัสสาวะมาก อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง กระหายน้ำ คอแห้ง ปากแห้ง เป็นต้น
สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกประการหนึ่งคือ ยากลุ่มนี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไขมันในเนื้อเยื่อของร่างกายแต่อย่างใด จึงไม่สามารถใช้ เพื่อลดน้ำหนักในระยะยาวได้ เพราะหากผู้นั้นดื่มน้ำเข้าไป น้ำหนักที่ลดลงไป ก็จะกลับมาเหมือนเดิม จึงถือว่ายากลุ่มนี้ไม่ควรใช้ในการลดความอ้วน
ยาฮอร์โมน
ยากลุ่มนี้คือ ธัยรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งแม้ว่าจะมีผลให้ผู้ใช้เกิดอาการเบื่ออาหาร แต่จะทำให้การหลั่งของธัยรอยด์ฮอร์โมนตามธรรมชาติผิดปกติ และมีผลกระตุ้นหัวใจ ตับ ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้นและมีผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การใช้ยาในปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการข้างเคียง คือ ใจสั่น เหงื่อออกมาก รวมทั้งอาจมีอาการ คล้ายกับคนที่เป็นโรคธัยรอยด์เป็นพิษ
ยาระบายหรือยาถ่าย
ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในรูปของยาเม็ดและยาน้ำ บางชนิดจะออกฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ บางชนิดจะทำให้อุจจาระอ่อนตัว หรือเพิ่มปริมาณอุจจาระทำให้ถ่ายมากหรือบ่อยขึ้น โดยหลังจากรับประทานยาแล้วจะรู้สึกอยากถ่าย และอุจจาระค่อนข้างเหลว ซึ่งจะเหมาะกับผู้ที่มีอาการท้องผูก ถ่ายยาก
สิ่งที่ควรคำนึงในการใช้ คือ ไม่ควรใช้บ่อยๆ หรือใช้เป็นระยะเวลานาน เพราะมีผลทำให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่มาก ซึ่งการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก นอกจากนี้ อาจเกิดอาการข้างเคียงซึ่งจะแตกต่าง ตามแต่ชนิดยาในภายหลังได้ รวมทั้งอาจทำให้ระบบขับถ่าย ในร่างกายเสียสมดุล และเกิดความผิดปกติได้
ยาลดกรด
ยาลดกรดที่นิยมใช้ทั่วไปจะประกอบด้วยเกลืออลูมิเนียม ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง โดยจะออกฤทธิ์เร็ว เป็นระยะเวลาสั้น ไปทำลายการทำงานของน้ำย่อย ที่เป็นกรดในกระเพาะอาหาร และทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จึงไม่รู้สึกหิว ยาในกลุ่มนี้แพทย์ใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร และลดอาการปวดท้องที่เกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การที่ยามีฤทธิ์ทำลายการทำงาน ของน้ำย่อยอาหาร และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร ที่จำเป็นได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการข้างเคียงอื่นจากการใช้เป็นประจำ เช่น ท้องผูก ท้องเดิน และอาการอื่นๆ ตามแต่ชนิดของยา
ยาหรือสารเคมีที่ผลิตจากใยพืช
ยาหรือผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ มักจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น อาหารสำเร็จรูปที่ปรุงแต่ง ให้มีพลังงานต่ำ ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มักผลิตมาจาก พืชที่มีเส้นใยอาหารมาก เช่น หัวบุก ทำให้เป็นแบบสำเร็จรูป สามารถรับประทานได้อย่างสะดวก บางชนิดเมื่อกินเข้าไปแล้ว จะพองตัวในกระเพาะอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่ม ไม่หิวแต่ไม่ให้คุณค่าสารอาหารท ี่ต้องการอย่างเพียงพอ ดังนั้น จึงไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ประเภทนี้แทนอาหารมื้อหลัก แต่สามารถใช้ในกรณีที่ผู้นั้นมีนิสัยการกินอาหารปริมาณมากๆ ในแต่ละมื้อ การกินก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง จะทำให้กินอาหารได้น้อยลงและอิ่มเร็วขึ้น
สารสกัดจากส้มแขก
ปกติ อย.ให้ขึ้นทะเบียนในลักษณะของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงไม่สามารถรับรองผลในด้านลดความอ้วนได้เลย โดยสารสกัดจากผลส้มแขก ที่สำคัญในการนำมาลดน้ำหนัก คือ สารไฮ ดรอกซีซิตริกแอซิค (Hydroxycitric Acid) เรียกย่อๆ ว่า HCA
สาร HCA นี้สามารถยับยั้ง การทำงานของเอ็นไซม์ ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดไขมัน และโคเลสเตอรอลได้ และยังมีคุณสมบัติ ช่วยยับยั้งไม่ให้ร่างกายของคน เปลี่ยนสารอาหารจำพวกแป้งไปเป็นไขมัน
สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อลดน้ำหนักนั้น จะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า สาร HCA มีผลต่อสารอาหารประเภทแป้งเท่านั้น ไม่ใช่กับอาหารทุกชนิดที่กินเข้าไป ซึ่งมีทั้งสารอาหาร ประเภทไขมัน-โปรตีนที่สามารถเก็บสะสมในร่างกายได้เช่นกัน จึงควรพิจารณาประเภทอาหาร ที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงความอ้วนประกอบด้วย
แอบซอร์บิทอล (Absorbttal)
ผลิตภัณฑ์นี้ มีลักษณะเป็นเส้นใยอาหารชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ไคโตซานที่ผลิตจากส่วนนอก หรือเปลือกของสัตว์ เช่น เปลือกกุ้ง เปลือกปู เป็นต้น โดยเมื่อนำมาย่อยสลายแล้วจะได้สารไคโตซาน ที่มีคุณสมบัติในการจับไขมันได้ดี อย.ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงไม่สามารถรับรองผลในการลดความอ้วนได้เช่นกัน ปัจจุบันมีการใช้แอบซอร์บิทอลในการควบคุมน้ำหนักลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และโคเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งการใช้แอบซอร์บิทอล จะต้องระมัดระวัง ในเรื่องของการขาดสารอาหารจำพวกวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และเค
สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ การใช้แอบซอร์บิทอล จะมีผลในด้านลดการดูดซึมไขมันจากอาหาร ที่กินเท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปดึง ไขมันที่ร่างกาย สะสมอยู่ในรูปของ เนื้อเยื่อไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ รวมถึงไม่สามารถลดการสะสมของสารอาหารอื่นเช่นกัน