การจัดหาเงินทุนระยะสั้น

การจัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะสั้น เป็นการจัดหาเงินทุนเพื่อใช้สําหรับความต้องการใช้ระยะสั้น ส่วนมากคือ ความต้องการเงินทุนสําหรับเงินทุนหมุนเวียนโดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียนตามฤดูกาล วิธีการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่

การจัดหาเงินทุนเป็นหน้าที่หนึ่งของผู้จัดการทางการเงิน ซึ่งต้องเลือกแหล่งเงินทุนให้เหมาะสมกับการใช้เงินทุนนั้น ๆ การจัดหาเงินทุนระยะสั้น หมายถึง เงินทุนที่ธุรกิจได้จัดหามาเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินกิจการที่มีระยะภายใน 1 ปี

สําคัญแบ่งออกได้เป็น 3 วิธีใหญ่คือ

1. การจัดหาเงินทุนระยะสั้นจากประเพณีทางการค้าหรือได้มาโดยอัตโนมัติ แหล่งเงินทุนระยะสั้นเหล่านี้ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าและค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

2. การจัดหาเงินทุนระยะสั้นโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์คํ้าประกัน แหล่งเงินทุนแบบนี้ส่วนใหญ่จะได้จากธนาคารพาณิชย์ทั้งในรูปแบบของการเบิกเงินเกินบัญชี การกําหนดวงเงินกู้ เงินกู้แบบหมุนเวียนและเล็ตเตอร์ออฟเครดิต (L/C)

3. การจัดหาเงินทุนระยะสั้นโดยต้องมีหลักทรัพย์คํ้าประกัน หลักทรัพย์ที่นิยมใช้คํ้าประกัน ได้แก่ บัญชีลูกหนี้และสินค้าคงเหลือในการจัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นต่างๆดังกล่าว จําเป็นต้องคํานวณต้นทุนที่แท้จริงของการจัดหาเงินทุนระยะสั้นจากแหล่งเหล่านั้น ในอัตราร้อยละต่อปี เพื่อนํามาเปรียบเทียบและเลือกหาเงินทุนระยะสั้นจากแหล่งที่มีต้นทุนที่แท้จริงที่ตํ่าการคํานวณต้นทุนที่แท้จริงดังกล่าว ต้องพิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ยที่ระบุ วิธีการคิดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการดํารงเงินฝากคงเหลือไว้ที่สถาบันการเงินผู้ให้กู้

นอกจากต้นทุนของการจัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการกู้ยืมเงินแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของผู้กู้จํานวนเงินที่ขอกู้ ระยะเวลาของความต้องการเงินกู้ สภาวะทางการเงินขณะนั้นและหลักประกันด้วย การจัดหาเงินทุนระยะสั้นอย่างมีประสิทธิภาพ จะทําให้กิจการมีสภาพคล่องที่ดีและมีต้นทุนของเงินทุนตํ่า อันจะทําให้ผลการดําเนินงานของกิจการเป็นไป ตามวัตถุประสงค์

 

การวางแผนจัดหาเงินทุนระยะสั้น

สมมติว่ากิจการสามารถระดมทุนได้จากกู้เงินจากธนาคารที่อัตราดอกเบี้ย8% ต่อปีทบต้น4 ครั้งต่อปี(2% ต่อไตรมาส) ซึ่งกิจการสามารถกู้ได้สูงสุด$40mเลื่อนจ่ายหนี้สินไปไตรมาสต่อไปแต่ต้องจ่ายเพิ่ม5% (อัตราที่แท้จริง= 1.054 -1 = 21.6% ต่อปี) ตอนต้นปีกิจการถือตราสารตามความต้องการของตลาดอยู่$5mกู้เงินจากธนาคารถูกกว่า

การประเมินผลแผนการจัดหาเงินทุนระยะสั้น

แผนการระดมทุนของ DMC มีข้อด้อยคือ การระดมทุนด้วยการเลื่อนจ่ายเป็นวิธีที่แพงซึ่งDMC น่าจะทำได้ดีกว่านี้คำถามที่ผู้บริหารการเงินของDMC ควรถามDMC ต้องสำรองเงินสดหรือหลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาดไว้(กันลูกหนี้ไม่จ่ายเงินตามเวลา) มากกว่านี้หรือไม่?แผนการระดมทุนนี้ทำให้อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(Current Ratio) และอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว(Quick Ratio) อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่คำถามที่ผู้บริหารการเงินของDMC ควรถาม เจ้าหนี้จะให้ความเชื่อถือน้อยลงหรือไม่ถ้าDMC ยืดระยะเวลาจ่ายหนี้ออกไป?สภาวะทางการเงินของDMC ตอนปลายปีอยู่ในระดับดีหรือไม่จากแผนการดังกล่าว?ควรกู้ระยะยาวหรือไม่?ควรแยกชำระหนี้สินออกเป็น2 ช่วงหรือไม่ (เพื่อลดกระแสเงินสดออกขนาดใหญ่ในไตรมาสแรก)?

 

แหล่งเงินทุนระยะสั้น

 

1. เครดิตการค้า ( Trade Credit )
2. ตราสารพาณิชย์ ( Commercial Paper )
3. เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ ( Short Term Loans)

 

เครดิตการค้า ( Trade Credit )

เครดิตการค้า มี 3 รูปแบบคือ

1. บัญชีเงินเชื่อ ( Open Account ) หมายถึง ผู้ขายสินค้าส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อพร้อมทั้งใบแจ้งหนี้ ซึ่งแสดงรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับราคาสินค้า จำนวนสินค้า ยอดเงินที่ต้องชำระโดยผู้ซื้อไม่ต้องเซ็นหลักฐานใดๆที่แสดงความเป็นหนี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายจะมีการตรวจสอบฐานะทางการเงินของผู้ซื้อก่อน

2. ตั๋วเงินจ่าย ( Note Payable ) ในกรณีนี้ผู้ขายจะขอให้ผู้ซื้อลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อรับรองสภาพการเป็นหนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้จะระบุวันที่ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินไว้อย่างชัดเจน

3. ตั๋วแลกเงิน ( Trade Acceptance ) เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อต้องเซ็นรับรองการเป็นหนี้ไว้เป็นหลักฐาน ผู้ขายจะออกดราฟท์ให้ผู้ซื้อเซ็นรับรองว่าจะชำระหนี้ภายในกำหนด และเมื่อถึงกำหนดจะให้นำดราฟท์นั้นไปขึ้นเงินที่ธนาคารใด เมื่อผู้ซื้อเซ็นแล้วดราฟท์ก็จะกลายเป็นตั๋วแลกเงิน และตั๋วแลกเงินนี้สามารถนำไปขายลดในท้องตลาดเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที

 

ตราสารพาณิชย์ ( Commercial Paper)

ตราสารพาณิชย์ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุสั้นประมาณ 3 วัน - 9เดือน ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ออกโดยบริษัทที่มีชื่อเสียง มีฐานะทางการเงินน่าเชื่อถือ และสัญญาว่าจะจ่ายเงินแก่ผู้ถือตั๋ว

ตลาดตราสารพาณิชย์ แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

1. ตลาดตราสารพาณิชย์ที่ขายผ่านผู้ค้าหลักทรัพย์ ( Dealer Market ) ซึ่งผู้ค้าหลักทรัพย์จะคิดค่านายหน้าจากผู้ออกตราสาร
2. ตลาดตราสารพาณิชย์ที่ขายโดยผู้ออกโดยตรง ( Direct Placement Market ) วิธีนี้ผู้ออกตราสารจะขายให้นักลงทุนโดยตรง
ผู้ซื้อตราสารอาจจะเป็นธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หรือบริษัททั่วไป โดยซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร หารายได้

 

เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ ( Short Term Loans )

เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Unsecured Loans )

เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Unsecured Loans ) คือ เงินกู้ประเภทที่สามารถชำระหนี้คืนในตัวมันเอง ( Self - liquidating ) ซึ่งหมายความว่าสินทรัพย์ที่จัดหามาโดยการใช้เงินกู้ยืมนี้ รายได้ที่ได้กลับมาเปลี่ยนเป็นเงินสดไหลเข้ามาพอเพียงที่จะชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวภายใน 1 ปี

2. เงินกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Secured Loans )

เงินกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Secured Loans ) กรณีที่ธนาคารเห็นว่าผู้กู้มีความสามารถในการจ่ายเงินคืนไม่เพียงพอ จึงกำหนดให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อลดความเสี่ยงภัยทางการเงิน ซึ่งพิจารณาจาก
1. กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจ
2. เงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน