การบริหารเงินทุนหมุนเวียน
การบริหารกิจการให้สำเร็จนั้น ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความสมดุลของเงินทุนหมุนเวียนในอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม โดยสามารถดูหรือคาดคะเนได้จาก การพยากรณ์การตลาด การจัดทำงบการเงินโดยคาดคะเนและการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสม
การบริหารเงินทุนหมุนเวียน การตัดสินใจทางการเงิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน
2. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน
3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการปันผล
แผนกลยุทธ์
การวางแผนกลยุทธ์จะสามารถช่วยให้เราสามารถคาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งการวางแผนกลยุทธ์ที่มีความสำคัญในสายตาผู้บริหารมี 4 ประการคือ
1. การวางแผนกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในปัจจุบันที่มีผลต่ออนาคต
2. การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการ
3. การวางแผนกลยุทธ์เป็นปรัชญา
4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นโครงสร้างของแผน
เงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนของธุรกิจ
เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ คือ ผลต่างระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เงินทุนหมุนเวียนถาวร คือ มูลค่าของเงินทุนหมุนเวียนที่ธุรกิจต้องการอย่างต่ำที่สุด เพื่อรักษาไว้ซึ่งการดำเนินงานตามปกติ
2. เงินทุนหมุนเวียนผันแปร คือ มูลค่าของเงินทุนหมุนเวียนที่ธุรกิจต้องรักษาไว้ ซึ่งการดำเนินงานตามฤดูกาลหรือในกรณีพิเศษ
การกำหนดนโยบายเงินทุนหมุนเวียน
พิจารณาจากการแลกเปลี่ยนชดเชยระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนซึ่งเกี่ยวข้องกันจาก
1. สัดส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร
2. สัดส่วนระหว่างหนี้สินหมุนเวียนและเงินทุนระยะยาวใช้ในการลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียน
การกำหนดนโยบายแบ่งเป็น 4 แบบ คือ
1. นโยบาย Matching กำหนดให้ธุรกิจจักหาเงินทุนตามอายุของสินทรัพย์ที่ธุรกิจต้องใช้ นโยบายนี้จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องจากไม่สามารถคาดคะเนการแสเงินสดได้อย่างถูกต้อง
2. นโยบาย Conservative ไม่แบ่งแยกสินทรัพย์หมุนเวียนออกเป็นส่วนและส่วนผันแปร ในนโยบายนี้ฝ่ายบริหารมีนโยบายที่จะจัดหาเงินทุนเพื่อนำมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนผันแปรหลังจากหักเจ้าหนี้การค้าและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายด้วยการก่อนหนี้ระยะยาว การจัดหาเงินทุนในลักษณะนี้ ความเสี่ยงในเรื่องการชำระหนี้เงินกู้ระยะยาวนั้นไม่มี ธุรกิจจะมีความคล่องตัวสูง ลีเงินเหลือใช้ในบางเวลา
3. นโยบาย Aggressive ใช้เงินทุนระยะสั้นจัดหาสินทรัพย์ส่วนผันแปรและสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรบางส่วน และใช้เงินทุนระยะยาวจัดหา สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรที่เหลือ และสินทรัพย์ถาวร นโยบายนี้สามารถทำกำไรได้สูงสุด เนื่องจากใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น แต่จะมีความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องสูง เกิดจากการที่ธุรกิจต้องจัดหาเงินทุนระยะสั้น ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยไม่แน่นอนอยู่เสมอ หรือเกิดจากความไม่สมดุลของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
4. นโยบาย Balanced ใช้เงินทุนระยะยาวจัดหาสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรตลอดจนสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนผันแปบางส่วน และใช้เงินทุนระยะสั้นจัดหาสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนผันแปรส่วนที่เหลือ นโยบายนี้จะทำให้ธุรกิจมีส่วนสำรองเพื่อความปลอดภัย
นโยบายเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ
1. ความสามารถในการคาคะเนจำนวนและระยะเวลาของกระแสเงินสด
2. Cash Vonversion Cycle ธุรกิจจะต้องมีระดับเงินทุนหมุนเวียนสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดสภาพคล่อง
3. ทัศนคติของผู้บริหาร
ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นและระยะยาว
ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้น
1. ต้นทุนต่ำกว่า เพราะกิจการจะชำระดอกเบี้ยของทุนเฉพาะช่วงที่นำมาใช้เท่านั้น
2. เกิดความสัมพันธ์กับธนาคารอย่าใกล้ชิด กู้ยืมเฉพาะเวลาที่ต้องการและชำระคืนทันทีเมื่อหมดความต้องการ
ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว
1. ลดความเสี่ยง
2. ให้ความมั่นคง
3. เพิ่มสภาพคล่อง
การวางแผนและพยากรณ์ทางการเงิน
1. การพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผ่านมาทั้งหมดของรายการทางการเงินที่ได้ถูกพยากรณ์ขึ้น ขึ้นอยู่กับแนวโน้มในอดีตและ ความถูกต้องตามฤดูกาล
2. การพยากรณ์โดยใช้อัตราส่วน แสดงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลทางการเงินสองชนิด แสดงในรูปอัตราส่วน ซึ่งการพยากรณ์รายการทางการเงินแต่ละรายการได้สูตร ดังนี้ Financial Variable = Ratio x base Variable
3. การพยากรณ์โดยใช้กราฟและสถิติ เป็นวิธีการที่ให้ผลค่อนข้างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพิจารณาดูความสัมพันธ์ของรายการทางการเงินสองรายการที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อใช้ในการพยากรณ์
ปัญหาในการพยากรณ์ทางการเงิน
ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะต้องเกิดขึ้นจริงตามที่ไดพยากรณ์ไว้เสมอไป การพยากรณ์ที่ดีและให้ผลค่อนข้างแน่นอนนั้นขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนตัว รวมกับการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นผู้จัดการทางการเงินจะต้องเลือกใช้วิธีพยากรณ์ที่จะให้ผลออกมาสมเหตุสมผลใกล้เคียงกับความจริงได้
งบประมาณและแผนทางการเงิน
งบประมาณ คือ แผนการที่คาดไว้ว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงออกมาเป็นตัวเลขงบประมาณ อาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวนชั่วโมงเครื่องจักร
งบประมาณสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการบริหารธุรกิจทั้ง 5 หน้าที่ คือ
1. การวางแผน คือการกำหนดเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องจัดทำในอนาคตไว้ล่วงหน้า
2. การจัดการองค์การ คือ การระบุให้ชัดว่าหน้าที่ใดเป็นหน้าทีหลัก
3. การมอบอำนาจหน้าที่ คือ การบรรจุพนักงานให้เหมาะสมกับตำแหน่ง
4. การอำนวยการ คือ การอำนวยกรในการปฏิบัติงานหน้าที่ในการจัดการองค์การ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ และการอำนวยการทั้งสามหน้าที่นี้
5. การควบคุม คือ การจัดทำรายงานการปฏิบัติงานขององค์การ
ชนิดของงบประมาณ
ชนิดของงบประมาณ แบ่งตามชนิดของการวางแผนได้เป็น 2 ชนิด คือ งบประมาณระยะสั้นแลพระยะยาว งบประมาณระยะสั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. งบประมาณดำเนินการ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในหน่วยงานทุกแผนก
2. งบประมาณการเงิน ข้อมูลที่อยู่ในงบประมาณดำเนินการสามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเลขได้
งบประมาณขาย เกิดจากการที่แผนกขายประมาณปริมาณการขายในหน่วยงานของตน มักจะทำในระยะสั้นและระยะยาว
งบประมาณสินค้าคงเหลือ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดปริมาณที่จะทำการผลิตหรือปริมาณสินค้าคงเหลือ กิจการจะต้องมีสินค้าคงเหลือเผื่อไว้สำหรับกรณีที่ต้องการสอนมากกว่าปกติ
งบประมาณการซื้อ ต้องอาศัยงบประมาณของคงคลัง เพื่อทราบจำนวนของคงเหลือทั้งต้นและปลายงวด ละงบประมาณวัตถุดิบเพื่อทราบปริมาณที่ต้องใช้ในแต่ละงวด
งบประมาณการผลิต ต้องอาศัยข้อมูลต่างๆประกอบ ดังนี้
- ปริมาณสินค้าจะขาย
- ปริมาณสินค้าคงเหลือ
- นโยบายสินค้าคงเหลือ
- สมรรถภาพของโรงงานและปัจจัยการผลิตอื่นๆ
- นโยบายการผลิต
- นโยบายการผลิตคงที่
- นโยบายการผลิตผันแปรตามยอดขาย
- นโยบายการผลิตผันแปรตามความเหมาะสม
การจัดทำงบประมาณการผลิต เป็นการวางแผนล่วงหน้าทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิตลงได้
งบประมาณวัตถุดิบ ต้องอาศัยงบประมาณการผลิต เพื่อทราบหน่วยที่ต้องผลิต
งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ นำข้อมูลจากงบประมาณขายหักด้วยงบต้นทุนสินค้าโดยประมาณ และงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
งบประมาณเงินสด เป็นการประมาณจำนวนเงินสดรับและเงินสดจ่ายของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
งบประมาณค่าแรงโดยตรง ค่าแรงที่ทำการผลิตสินค้าโดยตรงเท่านั้น การทำงบประมาณค่าแรงโดยตรงจึงต้องการข้อมูล
1.งบประมาณการผลิต เพื่อทราบหน่วยของสินค้าที่ต้องการผลิตในงวด
2. อัตราค่าแรงที่ต้องจ่าย มี 2 ประเภท คอ อัตราค่าแรงต่อสินค้าหนึ่งหน่วยและอัตราค่าแรงต่อชั่วโมง
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตสินค้ามักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายผันแปร ซึ่งผันแปรไปตามปริมาณของสินค้าที่ผลิต
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นการประมาณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแผนกงานนั้นๆ ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประมาณค่าใช้จ่ายนี้ คือ หัวหน้างานฝ่ายขายและฝ่ายบริหารทั่วไป
งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ นำข้อมูลจากงบประมาณขายหักด้วยงบประมาณต้นทุนสินค้าโดยประมาณ งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ
งบประมาณรายจ่ายลงทุน เป็นการประมาณการลงทุนของกิจการในระยะยาว ซึ่งการประมาณนี้มักจะทำควบคู่กับการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ การลงทุนในรายจ่ายประเภทนี้ผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา
การวิเคราะห์ทางการเงิน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางการเงินที่นิยมใช้กันแพร่หลาย อาจแบ่งได้เป็น
1. อัตราส่วนสภาพคล่อง
2. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร
3. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการก่อหนี้
4. อัตราส่วนต่อการประเมินผลของกิจการโดยส่วนรวม
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน มีเครื่องมือ เช่น วิเคราะห์จุดคุ้มทุนของกิจการ การประมาณการงบการเงิน