ฮวงจุ้ยบันได
จากเหตุผลข้อนี้ เราจะพบว่าบ้านของเราทุกคนมี “บันได” เป็นส่วนประกอบ ซึ่งถือเป็นจุดที่ซินแสนั้นจะต้องให้ความสำคัญในการจัดฮวงจุ้ยเป็นอย่างมาก เนื่องจากลักษณะของบันไดนั้นมีลักษณะเป็นขั้นๆไล่ลงมาจากสูงลงต่ำ ดังนั้นหากเรามองในภาพรวมแล้ว เราจะเห็นว่าลักษณะของบันไดนั้นจะเหมือนกับ Slope ที่เทออกเป็นอย่างมาก ซึ่งก่อให้เกิด “กระแสลม” เคลื่อนไหวเอื่อยๆอยู่บริเวณบันไดตลอดเวลา ดังนั้นหลักการของการจัดฮวงจุ้ยของบันไดบ้านให้ถูกหลักมีดังนี้
1. บันไดไม่ควรทิ่มออกมาตรงปากประตูบ้าน เนื่องจากซินแสมักจะจัดประตูบ้านของเราให้รับกระแสพลังงานประจำยุค ซึ่งปัจจุบันคือยุคที่ 8 ตามระบบของฮวงจุ้ยในระบบ เสวียนคงปวยแช หรือ ดาวเหิน ( Xuan Kong Flying Star) ในระหว่างปี พศ.2547-2567 โดยซินแสจะต้องจัดชัยภูมิในภาพรวมให้กระแสลมสามารถพัดผ่านเข้าปากประตูบ้าน ได้สะดวกที่สุด ดังนั้นหากบันไดที่มีสภาพเหมือนกับ Slope เทออกอยู่ตลอดเวลาทิ่มออกมาที่ปากประตู จะมีสภาพเหมือนกับการนำเอากระแสลมจากบันได มาต้านกระแสลมจากภายนอกบ้าน ดังนั้นการวางบันไดบ้านให้ทิ่มออกมาตรงปากประตูบ้านโดยตรงจึงถือว่าผิดกับ หลักฮวงจุ้ย
หากสภาพปัจจุบันของบันไดบ้านของท่านเป็นเช่นนี้ ให้ท่านลองสังเกตว่าสมาชิกในครอบครัวยังเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน โชคลาภ สุขภาพ และ ความสัมพันธ์หรือไม่ หากท่านมีปัญหาในเรื่องต่างๆเหล่านี้ บันไดที่ทิ่มออกหน้าประตูบ้านอาจจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบในทางศาสตร์ฮวงจุ้ย ได้เช่นเดียวกัน ท่านสามารถแก้ไขได้โดยการนำฉาก, โต๊ะ, ชั้นวางของเล็กๆ มาวางขวางตรงทางลงบันไดไว้ เพื่อไม่ให้กระแสอากาศที่เกิดจาก Slope เทออกของบันได มาต้านกระแสลมที่พัดผ่านเข้ามาจากประตูหน้าบ้านได
2. บันไดบ้านไม่ควรเทออกจากประตูห้องนอนในระยะกระชั้น เนื่องจากที่บันไดจะมีสภาพเหมือน Slope เทออกตลอดเวลา ดังนั้นกระแสอากาศจะไหลออกจากประตูสม่ำเสมอ หากประตูห้องนอนของท่านรับพลังงานจากองศาทิศทางที่ดี จะมีผลให้เกิดการนำพาพลังงานที่ดีนั้นออกไปอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นเดียวกัน โดยสภาพของบันไดที่กระชั้นกับประตูห้องนอนเกินไปนั้นคือระยะที่ต่ำกว่า 1-2 เมตร
3. ควรมีชานพักคั่นกลางบันได เพื่อป้องกันการสภาพการไหลของกระแสอากาศที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาบริเวณบันได ไม่ให้มีอัตรเร่งของการไหลที่สูงจนเกินไปนัก การทำชานพักที่กลางระยะความสูงรวมของบันได ถือว่าจะเป็นตัวที่ช่วยในการชะลอการไหลของกระแสอากาศได้ โดยในหลักการข้อนี้จะสอดคล้องกับหลักการทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ต้องการชาน พักบันได้ เพื่อช่วยให้คนใช้งานบันไดได้พักในขณะเดินได้ ในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุ หรือ ถือของหนักๆ ดังนั้นบันไดเวียนจะถือว่าเป็นบันไดที่ไม่ถูกต้องทั้งหลักฮวงจุ้ยและหลัก สถาปัตยกรรมศาสตร์ครับ (ยกเว้นในกรณีที่ไม่มีที่พอนะครับ)
4. บันไดบ้านควรมีจำนวนขั้นเป็นเลขคี่ (นับตั้งแต่ขั้นที่เริ่มจนถึงขั้นสุดท้ายก่อนถึงชานพักหรือชั้นถัดไป) ในข้อนี้ไม้เกี่ยวกับความเป็นมงคลของเลขคี่แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะในทางสถาปัตยกรรมศาสตร์นั้น สถาปิกส่วนใหญ่จะชอบออกแบบตามหลักการที่ว่า หากเราเริ่มเดินด้วยเท้าข้างใด ควรจะจบขั้นสุดท้ายด้วยเท้าอีกข้าง เพื่อจะทำให้เกิดความสมดุลย์ของการทรงตัวในขณะที่เดินขึ้นและลงบันได (เช่นเริ่มต้นเดินด้วยเท้าขวาและจบด้วยเท้าซ้าย) อย่างไรก็ตามสำหรับหลักการในข้อนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องหลักที่ซินแสให้ความสำคัญมากนัก
5. ขนาดของบันไดที่เหมาะสม เพื่อให้การเดินขึ้นลงภายในบ้านสะดวก ขนาดของบันไดที่ดีควรจะมีขนาดดังนั้น ความกว้างไม่ควรต่ำกว่า 1 เมตร ขนาดที่เหมาะสมที่สุดอยู่ที่ 1.2-1.5 เมตร ความสูงอยู่ที่ระหว่าง 15-20 ซม. โดยความสูงที่ดีที่สุดอยู่ที่ 17.5 ซม. และความลึกของบันไดอยู่ที่ 25-30 ซม. หากความลึกน้อยกว่านี้จะทำให้การเดินนั้นอันตรายและไม่สะดวก
โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดของการวางบันไดในหลักการตามศาสตร์ฮวงจุ้ยในเชิงองศา ทิศทาง ( Compass Feng Shui Theory ) คือซินแสจะวางบันไดบ้านอยู่ในองศาทิศทางที่ดีประจำยุค เพราะเนื่องจากบันไดนั้นเปรียบเสมือนสิ่งที่สร้างความเคลื่อนไหวอยู่ตลอด เวลา ผลของการวางบันไดที่ดีนั้นไม่ได้มีน้อยไปกว่า การเลือกตำแหน่งของประตู หน้าต่าง น้ำล้น น้ำพุ และ เครื่องปรับอากาศ ซักเท่าไร ดังนั้นเพื่อการจัดฮวงจุ้ยให้ได้ผลที่ดีที่สุดนั้นการวางบันไดควรได้รับการ วางให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ยตั้งแต่ช่วงออกแบบบ้านครับ เพราะบันไดนั้นถือเป็นโครงสร้างนึงของบ้านที่ไม่สามารถแก้ไขทีหลังได้แล้ว ครับ