ปูนซีเมนต์

การเลือกใช้ปูนซีเมนต์ ให้เหมาะสมกับ งานก่อสร้าง แต่ละประเภทเป็นลำดับแรก ทั้งนี้เนื่องมาจากงานก่อสร้างทุกชนิดจะต้องมีงาน โครงสร้าง ก่ออิฐถือปูนเป็นหนึ่งในงานที่สำคัญลำดับต้น ๆ อยู่ทุกงาน โดยนำเสนอประวัติพัฒนาการ และ กรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเภทของปูนซีเมนต์ ที่เหมาะสำหรับงานที่แตกต่างกันไป ตามลักษณะภูมิประเทศและสภาพดินฟ้าอากาศ ตลอดจนความจำเป็นในการใช้งานไว้พอเป็นสังเขป เพื่อสะดวกใน การเลือกใช้งาน การจัดวางเพื่อการเก็บรักษาปูนซีเมนต์ที่เหมาะสม และบทสรุป เพื่อเป็นแนวทางใน การเลือกปูนซีเมนต์ ที่เหมาะสม

หินปูนบวกดินเหนียว >> ที่มาของปูนซีเมนต์

ปูนซีเมนต์ มิได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเอง ตามธรรมชาติ แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น จากการดิ้นรนเพื่อสร้างที่อยู่ ที่อาศัยจึงมี การพัฒนาอุปกรณ์และวิธีการในการสร้างความสุขความสบายให้กับตนเองและหมู่คณะขึ้น ในอดีตมีผู้คิดค้นผลิต ปูนซีเมนต์ มากมายหลายคน แต่ไม่ได้ทำการจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐานจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1824 นายโจเซฟ แอสปดิน ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้น การผลิตปูนซีเมนต์ ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ และทำการจดทะเบียน การผลิตปูนซีเมนต์ อย่าง ถูกต้อง ส่วนผสมของการผลิต ปูนซีเมนต์ ในครั้งนั้น คือการนำเอาหินปูน และดินเหนียวมาเผาให้สุกได้ที่ทิ้งเอาไว้จนเย็น นำมาบดให้ละเอียด จะได้เนื้อปูน ซีเมนต์ที่มีสีเหลือง-เทา ซึ่งมีสีคล้ายกับหินในเกาะของ เมืองปอร์ตแลนด์ ประเทศอังกฤษ เมื่อสีของ ปูนซีเมนต์ ออกมาเป็นเช่นนั้น นายโจเซฟ แอสปดิน จึงตั้งชื่อของ ปูนซีเมนต์ ที่ผลิตขึ้นว่า "ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์" การผลิตปูนซีเมนต์ ในครั้งนั้นยังคงได้ ปูนซีเมนต์ ที่มีคุณภาพต่ำ อันเนื่องมาจากการใช้ส่วนผสม และความร้อนยังไม่ถูกต้อง ไม่สัมพันธ์กัน ทำให้การรวมตัวกันยังไม่ดีพอ กล่าวโดยสรุป ก็คือ ปูนซีเมนต์ เป็นผลของผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจาก การบดปูนเม็ด ซึ่งเป็นผลึกอันเกิดจากการเผาส่วนผสมต่าง ๆ เช่น ปูนขาว ซิลิก้า เหล็กออกไซด์ และอลูมิน่า จนรวมตัวกันเป็น ก้อนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว เผาให้ส่วนผสมดังกล่าวสุก จากนั้นก็ทำให้เย็น ลงตามกรรมวิธีการผลิต นำไปบดให้ละเอียดตามมาตรฐาน ก็จะได้ ปูนซีเมนต์ เพื่อที่จะนำไปใช้ใน งานก่อสร้าง ศาสนสถาน อาคาร บ้าน เรือนทั่ว ๆ ไป ถนน ท่อระบายน้ำ สะพาน เขื่อน สนามบิน และงานก่อสร้างอื่น ๆ โดยมีคุณสมบัติ ที่สำคัญ อย่างหนึ่ง คือสามารถแข็งตัว ได้ทั้งในน้ำและในอากาศ

ในปัจจุบันการผลิต ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก มีการใช้วัตถุดิบ หลายอย่าง เพิ่มเติมลงไปในส่วนผสมรวมกับวัตถุดิบ เช่น ประเภทที่ให้ธาตุคัลเซี่ยม อาทิ หินปูน ดินสอพอง ดินปูนขาว ประเภทที่ให้ธาตุ ซิลิกอนและอลูมิเนียม ได้แก่ หินเชล ดินเหนียว หินชนวน นอกจากนี้แล้วยังมีวัตถุดิบอย่างอื่นอีก เช่น แร่เหล็ก ใส่เพิ่มเติมลงไปในส่วน ผสมดังกล่าว ในกรณีที่ปริมาณของเหล็กในส่วนผสมต่ำกว่ามาตรฐาน ที่กำหนดซึ่งแร่เหล็ก ดังกล่าวปกติจะมีอยู่ในหินเชล ดินเหนียว เป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คุณภาพที่ได้ตรงตามความต้องการใช้งานในแต่ละประเภท ซึ่งการเติมสินแร่เหล่านี้ต้องมีการวิจัยค้นคว้า เป็นกรณีพิเศษตามลักษณะงานและมีสูตรลับเฉพาะของแต่ละบริษัทผู้ผลิตสินค้าชนิดนั้น ๆ สำหรับในกรณีที่ต้องการเร่งหรือหน่วงการ ก่อตัวของ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ก็จะนำเอายิบซัมมาผสมลงในส่วนผสมของ การผลิตปูนซีเมนต์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเครื่องมือ เทคนิค กรรมวิธีต่าง ๆ ในการผลิตที่แตกต่างกันออกไปตามที่มีการพัฒนาให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น และมีมาตรฐานมากขึ้น จึงได้ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่มีคุณภาพดี สามารถที่จะแข็งตัวได้ตามที่ต้องการทั้งในน้ำและในอากาศ ซึ่งใน การผลิตปูนซีเมนต์ จะมีการผลิตอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ ถ้าวัตถุดิบมีน้ำผสมอยู่มากก็จะใช้การผลิตแบบผสมเปียก แต่ถ้าวัตถุดิบมีน้ำอยู่น้อยหรือไม่มีน้ำผสมอยู่เลย จะใช้การผลิต แบบผสมแห้ง ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ จะได้ คุณภาพของปูนซีเมนต์ ที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันจากที่กล่าวมาข้างต้น คงพอมองเห็นแล้วว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เป็น ปูนซีเมนต์มาตรฐาน ใช้เป็นส่วนผสมในการทำคอนกรีต เมื่อนำมาผสมกับหิน กรวด ทราย และน้ำ ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม จะได้เป็นคอนกรีตสด ซึ่งก็คือคอนกรีตที่ผสมเสร็จใหม่ ๆ ยังไม่ได้เทลงแบบหล่อ เมื่อนำไปเทลงในแบบหล่อแล้วทำการกระทุ้งให้แน่น เพื่อไล่ฟองอากาศออก ทิ้งเอาไว้ให้เกิดการแข็งตัว และสามารถรับน้ำหนักได้ จะมีความทนทานแข็งแรงคล้ายหินตัวอย่างสิ่งก่อสร้าง คอนกรีตเหล่านี้ ได้แก่ ฐานรากของอาคารทุกชนิด เสาตอม่อ เขื่อนขนาดเล็กและใหญ่กำแพงกั้นดิน ถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ ถังเก็บน้ำ เมื่อเสริมด้วยเหล็กเส้นและ เหล็กรูปพรรณ ก็จะเป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

ประเภทของปูนซีเมนต์ ประเด็นสำคัญในการเลือกใช้งาน

การเลือกใช้ปูนซีเมนต์ให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างแต่ละประเภท มีแนวทางในการเลือกใช้โดยการแบ่งประเภทของปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ ตามลักษณะภูมิประเทศ และสภาพดินฟ้าอากาศ ตลอดจนความจำเป็นในการใช้งานการก่อสร้างที่มีแตกต่างกัน โดยยึดถือ ตามการแบ่งประเภท ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทย (ม.อ.ก. 15) เป็นหลัก ซึ่ง แบ่ง ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 5 ประเภท คือ ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ธรรมดา ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งเร็ว ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ และ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนซัลเฟตสูง แต่ละประเภท มีรายละเอียดดังนี้

ปูนซีเมนต์ประเภทหนึ่ง

ปูนซีเมนต์ประเภทหนึ่ง Normal Portland Cement

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา เป็น ปูนซีเมนต์ ที่ใช้ในการผสมทำคอนกรีตในงานโครงสร้างทั่ว ๆ ไป ซึ่งอยู่ในสภาวะของ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศที่เป็นปกติไม่ร้อนจัด ไม่หนาวจัด ไม่มีอันตรายจากซัลเฟต ซึ่งได้แก่ ความเปรี้ยว ความเค็มของน้ำ และดิน เป็นปูน ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ใช้ทำคอนกรีตในส่วนของโครงสร้างอาคาร ตั้งแต่ ฐานราก เสาตอม่อ คานคอดิน พื้น กันสาด เสาเอ็น เสาของอาคารแต่ละชั้น ถนนรถยนต์ สะพาน ท่อระบายน้ำ ถังเก็บน้ำชนิดที่เป็นถังสูง และ ถังที่อยู่เสมอดินรวมไปถึงอาคารที่มีห้องใต้ดิน ทำกำแพงกันดินกันน้ำซึม เป็นต้น
งานที่ไม่ควรนำปูนชนิดนี้มาใช้ก็คือ งานก่ออิฐ งานฉาบปูน งานปั้น งานฉาบปูนทำบัว ทำลวดลายต่าง ๆ ของอาคารหรือศาสนสถาน เพราะจะทำให้เกิดการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการแข็งตัวของ ปูนซีเมนต์ ที่ค่อนข้างเร็ว ทำให้ช่างอาจจะตกแต่งไม่ทันปูก็แข็งตัวแล้ว ฉะนั้นจึงไม่ควรนำมาใช้กับงานประณีตที่ต้องใช้ระยะเวลาของการตกแต่งเป็นเวลานาน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาที่มีจำหน่าย ในท้องตลาดมีอยู่ด้วยกันหลายตรา เช่น ตราช้าง ตราพญานาคสีเขียว ตราเพชรเม็ดเดียว และตราพีทีไอสีแดง ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดธรรมดานี้จะมีอยู่ 4 ตรา ถ้าตราหนึ่งตราใดไม่มีจำหน่ายก็สามารถใช้ตราใดตราหนึ่งแทนได้เช่นกัน

ปูนซีเมนต์ประเภทสอง Modified Portland Cement

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง เป็น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาใช้สำหรับ ผสมทำคอนกรีตหรือผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกิดความร้อน และทนซัลเฟตได้ปานกลาง กล่าวคือในบริเวณการก่อสร้างมีความเค็ม ความเปรี้ยวของน้ำและดินไม่มากนัก สามารถใช้ปูนประเภทสองนี้ได้ ตัวอย่างงานคอนกรีตที่ใช้ปูนประเภทนี้ได้แก่ งานก่อสร้างเขื่อน คอนกรีต กำแพงกันดินหนา ๆ หล่อท่อคอนกรีตขนาดใหญ่ เสาตอม่อ สะพาน ฐานรากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลงนี้จะมีจำหน่าย ในท้องตลาด เพียงตราเดียวเท่านั้น คือ ตราพญานาคเจ็ดเศียร ซึ่งตามปกติค่อนข้างจะหาซื้อได้ยาก เนื่องจากมีผู้ใช้น้อยอาจจะต้องมีการ สั่งพิเศษเฉพาะงานเท่านั้น

ปูนซีเมนต์ประเภทสาม High-early Strength Portland Cement

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งเร็ว เป็น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่ผลิตให้มีคุณภาพพิเศษไปกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา ด้วยการเปลี่ยนแปลง สัดส่วนของ วัตถุดิบ และเติมสารบางอย่างลงไป รวมทั้งเผาให้เม็ดปูนสุกระอุมากกว่าเดิม เมื่อนำมาบดให้เป็น ผงละเอียดจะบดให้มีความละเอียดมากกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา ทำให้ได้ปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถแข็ง ตัวได้เร็วกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ตามปกติโดยทั่วไป ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาจะแข็งตัว และสามารถรับน้ำหนักได้เต็มที่เมื่อคอนกรีตมีอายุได้ 14 วัน ภายหลังจากการเทคอนกรีตเข้าไปใน แบบหล่อแล้ว แต่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งเร็ว จะแข็งตัวและสามารถรับน้ำหนักได้เต็มที่ เมื่อคอนกรีตมีอายุได้เพียง 7 วัน หลังจากการเทคอนกรีตเข้าไปในแบบหล่อแล้ว ปูนซีเมนต์ ประเภทสามนี้เหมาะที่จะนำไปใช้ใน การหล่อคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็วถอดแบบได้เร็ว เพราะงานบางงานมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จโดยเร็วเพื่อหลีกเหลี่ยงภัย ธรรมชาติ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น น้ำป่า น้ำท่วม ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันทำให้งาน ล่าช้ากว่าปกติ ฯลฯ งานดังกล่าว สามารถ ที่จะแก้ไขได้ด้วยการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งเร็ว เพื่อให้งานนั้นสำเร็จทันต่อความต้องการใช้งานงานที่นิยมใช้ปูนประเภท สามกันมาก คือการหล่อเสาเข็มคอนกรีต ถนน พื้น คานที่ต้องการถอดแบบเร็ว สนามบินงานคอนกรีตที่ต้องการถอดแบบเร็ว งานคอนกรีตที่ต้องการนำไปใช้งานเร็วเพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาด ในขณะที่สินค้าดังกล่าวขายดิบขายดีจนขนาดตลาด เช่น เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง พื้นสำเร็จรูป คานสำเร็จรูป เสารั้วสำเร็จรูป เป็นต้น
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งเร็ว มีจำหน่ายในท้องตลาด 3 ตรา คือ ตราเอราวัณ ตราเพชร 3 เม็ด ตราพญานาคสีแดง ซึ่งทั้ง 3 ตรานี้ สามารถใช้ทดแทนกันได้ในกรณีที่ตราหนึ่งตราใดไม่มีจำหน่ายหรือขาดตลาดการนำเอาปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งเร็ว มาใช้กับงานจะต้องมีความประณีตเป็นพิเศษ เพราะเมื่อผสมทำเป็นคอนกรีตสด ซึ่งเป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้ เทลงบนแบบหล่อ จะเกิดความร้อนมาก ความร้อนดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งตัวเร็วเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ ฉะนั้นเมื่อเทคอนกรีตสดลงแบบแล้วกระทุ้งในแน่น แต่งและปาดผิวหน้าเรียบร้อยแล้ว น้ำในคอนกรีตจะระเหยไปเร็ว เมื่อคอนกรีต แข็งตัวในวันรุ่งขึ้นจะต้องเอาน้ำมาราดเพื่อเป็นการบ่มคอนกรีต และแทนการระเหยของน้ำดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าไม่ทำ เช่นนี้ คอนกรีตดังกล่าว จะเกิดการแตกร้าว ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ได้ออกแบบเอาไว้ ด้วยเหตุนี้จึงนิยมใช้ปูนชนิดนี้ใน การหล่อคอนกรีตสำเร็จรูปตามโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานหล่อเสาเข็ม โรงงานหล่อเสารั้ว โรงงานหล่อพื้นสำเร็จรูป เพราะตามโรงงานดังกล่าวสามารถเตรียมน้ำไว้ล่วงหน้าได้ นอกจากนี้บางแห่งอาจใช้การอบไอน้ำ ซึ่งเป็นการบ่มคอนกรีตที่ได้ผลดี มากอีกวิธีหนึ่งแทน

ปูนซีเมนต์ประเภทสี่

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ (Low-heat Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ ที่ให้ความร้อนต่ำสุด เหมาะในการ สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้ คอนกรีต ที่มีปริมาณมาก ๆ หรือที่เรียกกันว่าคอนกรีตหลานั่นเอง เนื่องจากการที่เขื่อนคอนกรีต มีขนาดใหญ่มาก ต้องใช้ ปริมาณของคอนกรีต เป็นจำนวนมาก หากใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา จะมีความร้อนเกิดขึ้น ขณะบ่มปูนความร้อนดังกล่าว จะเผาให้น้ำในเนื้อของคอนกรีต ระเหยออกไป เนื่องจากคอนกรีตมีความหนามาก ทำให้การระเหยของน้ำ ภายใน บริเวณตรงกลาง ของเขื่อน ไม่สามารถที่จะระเหย ออกมา ได้ทันเวลา เป็นผลให้เกิดการเบ่งตัวของไอน้ำที่ระเหย อาจจะทำให้เกิด การระเบิดขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากการสะสมของไอน้ำ และอาจก่อให้เกิด โพรงขึ้นในเนื้อของคอนกรีต ฉะนั้นเพื่อป้องกัน มิให้ปัญหาดังกล่าว เกิดขึ้น จึงมีการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่เนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เป็นงานเฉพาะกิจที่นาน ๆ ปีจึงจะมีการก่อสร้างจึงไม่มี การผลิตปูนซีเมนต์ ประเภทนี้ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดเหมือนกับปูน ซีเมนต์ประเภทอื่น ๆ ต้องมีการสั่งเป็นคราว ๆ ไปเท่านั้น

ปูนซีเมนต์ประเภทห้า

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนซัลเฟตสูง (Sulfate-resistant Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่ผลิตขึ้นมา เพื่อใช้ใน พื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึง หรืออยู่ใน ทะเล หรือในที่ที่พื้นดินมีความเปรี้ยวมาก ทั้งนี้เพราะความเค็มและความเปรี้ยว จะทำให้เหล็กเสริม เป็นสนิม ผุกร่อนง่าย จึงมีการผลิต ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนซัลเฟตสูงขึ้นมา ใช้ผสมกับหิน ทราย และน้ำจืด เป็นคอนกรีตสดเทลงไป ในแบบหล่อ ซึ่งมีเหล็กเส้นเสริม อยู่ โดยให้คอนกรีตหุ้มเหล็กหนากว่าปกติถีงสองเท่า กล่าวคือ ตามปกติทั่วไปคอนกรีตหุ้มเหล็กหนา 1 นิ้ว ก็เพิ่มเป็น 2 นิ้ว เพื่อป้องกัน การผุกร่อนของเหล็กนั่นเอง เมื่อคอนกรีตแข็งตัว สามารถที่จะป้องกันการซึมของน้ำเค็ม ไม่ให้ทำปฏิกิริยา กับเหล็กเสริมได้ คอนกรีต เสริมเหล็กดังกล่าว ก็จะคงสภาพอยู่ได้นาน ปูนซีเมนต์ประเภทห้า สามารถใช้ในการสร้างฐานราก เสาตอม่อของสะพาน อาคารที่อยู่ ติดทะเล ท่าเทียบเรือ เขื่อนริมทะเล ประภาคาร บ่อกักเก็บกากในทางอุตสาหกรรม บ่อบำบัดน้ำเสีย ที่มีสารเคมีปะปน มากับน้ำ ฯลฯ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทห้ามีการผลิตเพียงตรงเดียวในประเทศไทยเท่านั้น คือ ตราปลาฉลาม

นอกจากนี้ยังมี ปูนซีเมนต์ อีกหลาย ตราที่ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาด เช่น ปูนซีเมนต์ตราเสือ ตรางูเห่า ตรานกอินทรี ตราดอกบัว และ ตราพีทีไอ เป็นต้น ปูนซีเมนต์ เหล่านี้ผลิตจากการนำเอาปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่ง ผสมกับทรายที่บดละเอียด 25-30 เปอร์เซ็นต์ แล้วบรรจุลงถุงกระดาษ ออกจำหน่ายตามท้องตลาด การผสมกับทรายบดละเอียดเพื่อให้คุณภาพของ ปูนซีเมนต์ มีความแข็งตัวช้ากว่า ปกติเกิดความร้อนน้อยหรือ ไม่เกิดความร้อนเลย เหมาะสำหรับใช้กับงานที่ต้องการความประณีต เพราะทรายบดละเอียด จะเป็นตัวยืดเวลาการก่อตัว และการแข็งตัว ออกไปอีก ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ ตกแต่งชิ้นงาน ได้อย่างเหมาะสม ไม่ต้องรีบร้อน เช่น งานปั้น และสลักต่าง ๆ รูปหล่อที่ต้องการ ความประณีตในทางศิลปงานก่ออิฐ งานฉาบปูน งานทำบัว งานทำซุ้มประตูหน้าบันโบสถ์ งานแต่งผิวหน้าของผนังฉาบปูน งานทำปูน สลัดเม็ด ปูนแตะดึง งานปั้นปูนเป็นเกล็ดปลา เป็นต้น ปูนซีเมนต์ ดังกล่าวมีชื่อเรียก ทางวิชาการว่า ซิลิก้าซีเมนต์หรือซีเมนต์ผสม (Mixed Cement) ทั้งปูน ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และ ปูนซีเมนต์ ผสมจะบรรจุในถุงกระดาษซึ่งมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม

นอกจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และ ปูนซีเมนต์ ผสมแล้วยังมี ปูนซีเมนต์ขาว(White Portland Cement) ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานหินล้าง หินขัด งานตกแต่งปูกระเบื้องห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว ลานซักล้าง ระเบียงหน้าบ้าน ผนังของอาคาร งานยาแนวของ เครื่องสุขภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ขาว จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ตรา คือ ตราช้างเผือก ตรากิเลน และ ตราเสือ ปูนซีเมนต์ขาว จะบรรจุอยู่ในถุงกระดาษสีขาว มีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม สำหรับ ปูนซีเมนต์ขาวตราช้างเผือก และตรากิเลนส่วน ปูนซีเมนต์ขาวตราเสือ ก็จะบรรจุอยู่ในถุงกระดาษสีขาวเช่นกัน แต่มีน้ำหนักเพียง 20 กิโลกรัมเท่านั้น

นอกจากปูนซีเมนต์ทั้ง 5 ประเภทแล้ว ยังมีปูนซีเมนต์ที่ผลิตขึ้นมาโดยดัดแปลงเพื่อให้เหมาะกับงาน และราคาถูกลง ที่มี จำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปได้แก่

  • ปูนซีเมนต์ผสม (Mixed Cement) มีชื่อเรียก ทางวิชาการว่า ซิลิก้าซีเมนต์หรือซีเมนต์ผสม เป็นการนำปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 ผสมกับทรายหรือหินบดละเอียด ประมาณ 25-30% แล้วบรรจุลงถุงกระดาษ ออกจำหน่ายตามท้องตลาด การผสมกับทรายบดละเอียดเพื่อให้คุณภาพของ ปูนซีเมนต์ มีความแข็งตัวช้ากว่า ปกติเกิดความร้อนน้อยหรือ ไม่เกิดความร้อนเลย เหมาะสำหรับใช้กับงานที่ต้องการความประณีต เพราะทรายบดละเอียด จะเป็นตัวยืดเวลาการก่อตัว และการแข็งตัว ออกไปอีก ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ ตกแต่งชิ้นงาน ได้อย่างเหมาะสม ไม่ต้องรีบร้อน เช่น งานปั้น และสลักต่าง ๆ รูปหล่อที่ต้องการ ความประณีตในทางศิลปงานก่ออิฐ งานฉาบปูน งานทำบัว งานทำซุ้มประตูหน้าบันโบสถ์ งานแต่งผิวหน้าของผนังฉาบปูน งานทำปูน สลัดเม็ด ปูนแตะดึง งานปั้นปูนเป็นเกล็ดปลา เป็นต้น
  • ปูนซีเมนต์ขาว (White Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ที่มีส่วนผสมหลัก คือ หินปูนและวัตถุดิบอื่นๆที่มีปริมาณของ แร่เหล็กน้อยกว่า 1% ลักษณะของผงสีปูนที่ได้จะเป็นสีขาว สามารถผสมกับสีฝุ่นเพื่อทำให้เป็นปูนซีเมนต์สีต่างๆ ตามต้องการ จึง นิยมใช้ในงานตกแต่งต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานหินล้าง หินขัด งานตกแต่ง ปูกระเบื้องห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว ลานซักล้าง ระเบียงหน้าบ้าน ผนังของอาคาร งานยาแนวของ เครื่องสุขภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ขาว จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ตรา คือ ตราช้างเผือก ตรากิเลน และ ตราเสือ ปูนซีเมนต์ขาว จะบรรจุอยู่ในถุงกระดาษสีขาว มีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม สำหรับ ปูนซีเมนต์ขาวตราช้างเผือก และตรากิเลนส่วน ปูนซีเมนต์ขาวตราเสือ ก็จะบรรจุอยู่ในถุงกระดาษสีขาวเช่นกัน แต่มีน้ำหนักเพียง 20 กิโลกรัมเท่านั้น

จากการทดสอบเปรียบเทียบหากำลังอัดของปูนซีเมนต์ ทั้ง 5 ประเภท ในสภาพปัจจัยเดียวกัน ที่อายุคอนกรีต 1 , 7 , 28 และ 90 วัน ตามลำดับโดยกำหนดให้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 เป็นตัวเปรียบเทียบที่ 100 % ผลที่ได้ดังตาราง

เปรียบเทียบกำลังอัดของปูนซีเมนต์ ทั้ง 5 ประเภท

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
กำลังอัดเป็นเปอร์เซ็นเมื่อเทียบกับประเภท 1
1 วัน
7 วัน
28 วัน
90 วัน
ประเภท 1
100
100
100
100
ประเภท 2
75
85
90
100
ประเภท 3
190
120
110
100
ประเภท 4
55
55
75
100
ประเภท 5
65
75
85
100

 จากข้อมูลข้างต้นผู้อ่านคงจะได้ทราบถึงประวัติและประเภทของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อถึงเวลาต้องใช้
ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้าง ก็หวังว่าข้อมูลจากบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องเป็นอย่างดี

"ความชื้น" ปัญหาใน การจัดเก็บปูนซีเมนต์

ปูนซีเมนต์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานที่จำกัด ฉะนั้นการเก็บรักษาจำเป็นต้องกระทำเป็นพิเศษทั้งนี้เพื่อป้องกันความชื้น ที่อาจทำให้ ปูนซีเมนต์ เกิดการแข็งตัว และเสื่อมคุณภาพไม่สามารถนำมาใช้งานได้การกอง ปูนซีเมนต์ ควรกองไว้เป็นกองวางอยู่บน ไม้กระดานที่ทำเป็นพื้นยกให้สูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันความชื้น และน้ำฝนที่จะไหลมาจากที่อื่น มีหลัง คาคลุมกันน้ำ ละอองน้ำ มีฝาผนังทั้ง 4 ด้าน เพื่อป้องกันความชื้นจากอากาศมาทำปฏิกิริยากับ ปูนซีเมนต์ ทำให้เกิดการแข็งตัวได้ การกอง ปูนซีเมนต์ ควรกองซ้อนกัน 5 ชั้น แล้ววางสลับแบบขวางอีก 5 ชั้น ควรกอง ปูนซีเมนต์ เป็นพวก ๆ ไม่ให้ปะปนกัน กองใดมาก่อนก็นำ ไปใช้ก่อน กองใดมาทีหลังก็นำไปใช้ทีหลัง ไม่ควรกอง ปูนซีเมนต์ ติดกับฝาผนังเพื่อป้องกันการชื้น ควรกองให้ห่างจาก ฝาผนังประมาณ 80-100 เซนติเมตร กรณีที่ต้องการใช้ ปูนซีเมนต์ ในปริมาณมาก ๆ ควรสั่งซื้อ ปูนซีเมนต์ มาใส่ลงในถังใหญ่ หรือไซโล ถังใหญ่ดังกล่าว จะเป็นคอนกรีตหรือไม้ก็ได้ และควรป้องกันความชื้นที่จะมาทำปฏิกิริยากับ ปูนซีเมนต์ ทำให้เกิดการแข็งตัวได้ เพราะปกติ ปูนซีเมนต์ จะสามารถแข็งตัวได้ทั้งในน้ำ และในอากาศ

บทสรุป

งานก่อสร้างในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่ สิ่งที่เป็นวัสดุหลักที่สำคัญ คือ ปูนซีเมนต์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายตรา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตรงจุดประสงค์ของเจ้าของอาคาร ฉะนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับก่อสร้างทุกท่านควรที่จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการนำมาใช้งานของ ปูนซีเมนต์ ประเภทต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ใช้ให้ถูกต้อง ทำให้เกิดความแข็งแรง ทนทาน ประหยัด ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่เจ้าของอาคารต้องการ การนำเอา ปูนซีเมนต์ มาใช้กันอย่างผิด ๆ นอกจากจะทำให้ได้งานที่ขาดคุณภาพแล้ว ยังเป็นการไม่ประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย ค่าแรงงาน และยังทำให้เกิด อันตรายแก่ตัวอาคาร เพราะอาจจะเกิดการแตกร้าว ทรุดตัวของอาคาร อันจะมีผลทำให้อาคารดังกล่าวเกิดการพังทลายลงมาได้ใน อนาคต ฉะนั้นก่อนการก่อสร้างอาคาร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรจะเลือกวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะ ปูนซีเมนต์ ให้มีความเหมาะสมกับงาน ที่ทำเสมอ

 

ปูนซีเมนต์

ปูนซีเมนต์ (cement) คือ ของผสมที่มีปริมาณของแคลเซียมออกไซด์ (CaO) ซิลิกา (SiO2) อะลูมินา (Al2O3) และเหล็กออกไซด์ (Fe2O3) ในสัดส่วนพอเหมาะ ซึ่งเมื่อรวมตัวกับน้ำแล้วจะจับตัวแข็งและมีกำลังอัดสูง จึงสามารถเป็นตัวประสานวัสดุชนิดเม็ด (aggregates) เช่น ทรายหยาบ และกรวด ให้เกาะตัวกันแน่นเป็นคอนกรีตได้ สำหรับปูนซีเมนต์ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันเรียกว่า ปอร์ตแลนด์ ซีเมนต์ (Portland cement)” เนื่องจากสีของปูนที่คล้ายคลึงกับสีหินบนเกาะปอร์ตแลนด์ในประเทศอังกฤษ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1) วัตถุดิบเนื้อปูน (calcareous component) มีปริมาณมากถึง 80% ในส่วนผสมก่อนการเผา (raw mix) คือวัตถุดิบที่ประกอบด้วยแร่แคลไซต์ (CaCO3) เป็นส่วนใหญ่ อาจเป็นหินปูน (limestone) ดินสอพองหรือดินมาร์ล (marl) หินอ่อน (marble) หรือหินชอล์ก (chalk) ก็ได้ แต่สำหรับโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศไทยนั้น ทุกแห่งใช้หินปูนเป็นวัตถุดิบ

2) วัตถุดิบเนื้อดิน (argillaceous component) มีสัดส่วนประมาณ 15-18% ในส่วนผสมก่อนการเผา และมีส่วนประกอบหลักเป็นซิลิกา (SiO2) และอะลูมินา (alumina, Al2O3) มีสนิมเหล็ก (Fe2O3) ปนอยู่ในปริมาณเล็กน้อย วัตถุดิบในกลุ่มนี้ได้แก่ หินดินดาน (shale) หรือดินเหนียว (clay)

3) วัตถุดิบปรับคุณภาพ (corrective component) คือวัตถุดิบที่มีองค์ประกอบที่มีเนื้อปูน อะลูมินา ซิลิกา หรือสนิมเหล็กสูง ใช้เติมส่วนผสมของวัตถุดิบหลักสองตัวแรกในกรณีที่วัตถุดิบทั้งสองมีองค์ประกอบไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เช่นมีอะลูมินาต่ำเกินไป ต้องเติมตัวปรับคุณภาพที่เป็นแร่บอกไซต์ [Al(OH)3] หรือถ้าเหล็กต่ำ ก็เติมแร่เหล็กหรือเศษเหล็กลงไป เพื่อให้ส่วนผสมมีองค์ประกอบตามเกณฑ์ที่กำหนด

4) สารเติมแต่ง (additive) คือวัตถุดิบที่เติมลงในปูนเม็ดภายหลังการเผา เพื่อปรับคุณสมบัติบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แร่ยิปซัม (gypsum) เพื่อหน่วงเวลาแข็งตัวของปูนให้ช้าลงเมื่อมีการผสมน้ำลงไปเพื่อใช้งาน ปริมาณของยิปซัมที่ใช้จะอยู่ในช่วง 3-5 % โดยน้ำหนักของปูนเม็ด ในบางกรณี การเติมตัวเติมลงไปก็เพียงเพื่อเพิ่มเนื้อปูน เช่นการเติมหินปูนบดในปริมาณ 10-20 % โดยน้ำหนักลงไปในปูนเม็ด ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่มีผลกระทบกับคุณภาพของปูนซีเมนต์

 

ประเภทปูนซีเมนต์ และเครื่องหมายการค้าต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

 

1. ปูนซีเมนต์เทา (Grey Cement)

1.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland Cement) ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่หนึ่ง คุณสมบัติ: ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.15 เล่ม 1-2532 และ ASTM C150 การใช้งาน: ในที่ก่อสร้างที่ต้องการกำลังอัด (Compressive Strength) ของคอนกรีตสูง เช่นงาน โครงสร้างขนาดใหญ่ ถนน เขื่อน สะพาน และผลิตภัณฑ์คอนกรีต เช่น บล้อกผนัง บล็อกปูถนน กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน แผ่นพื้นสำเร็จรูป และท่อน้ำ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland Cement) ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่หนึ่ง
1.2 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เกิดกำลังอัดสูงเร็ว (High Early Strength Portland Cement) ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่สาม คุณสมบัติ: ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.15 เล่ม 1-2532 และ ASTM C150 การใช้งาน: เหมาะกับงานก่อสร้าง หรือสำหรับทำผลิตภัณฑ์ คอนกรีตอัดแรงที่ต้องการให้คอนกรีตรับแรงอัดได้ เร็วในการทำงานแข่งกับเวลา สามารถถอดแบบ และรับน้ำหนักได้เร็วกว่าปกติ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เกิดกำลังอัดสูงเร็ว (High Early Strength Portland Cement)ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่สาม
1.3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนซัลเฟตได้สูง (Sulphate Resistance Portland Cement) ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ห้า คุณสมบัติ: ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.15 เล่ม 1-2532 และ ASTM C150 การใช้งาน: มี ไตรคัลเซี่ยมอลูมิเนต (C3A) ต่ำ เพื่อลดการทำลายเนื้อคอนกรีตซึ่งเกิดจากซัลเฟต ให้กำลังอัดช้า และความร้อนต่ำกว่าปูนซิเมนต์ประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับโครงสร้างที่ต้องสัมผัส ซัลเฟต เช่น โครงสร้างที่อยู่ใกล้ทะเล แม่น้ำ คลอง น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือน้ำใต้ดิน เป็นต้น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนซัลเฟตได้สูง (Sulphate Resistance Portland Cement) ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ห้า
1.4 ปูนซีเมนต์สำหรับงานขุดเจาะบ่อน้ำมัน (Oil Well Cement) คุณสมบัติ: ตามมาตรฐานของ API Specification 10 A (API = American Petroleum Institute) คุณสมบัติที่สำคัญคือต้องมีความหนืดต่ำในช่วงต้น เพื่อให้สามารถสูบไป ได้ในระดับความลึกที่ต้องการ และแข็งตัวได้รวดเร็ว ภายในเวลาที่กำหนด ทนทานต่ออุณหภูมิ ความดัน และการกัดกร่อนของน้ำทะเล การใช้งาน: เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมงานขุดเจาะบ่อน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์สำหรับงานขุดเจาะบ่อน้ำมัน (Oil Well Cement)
1.5 ปูนซีเมนต์ผสม (Mixed Cement) ปูนซีเมนต์ที่ได้จากการผสมวัสดุเฉื่อย เช่น ทราย หรือหินปูน ลงไปบดพร้อมกับปูนเม็ดของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา คุณสมบัติ: ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.80-2517 การใช้งาน: เหมาะกับงานก่ออิฐ ฉาบปูน เนื่องจากมีความลื่น ทำ ทำงานง่าย ยืดหดตัวน้อยทำให้พื้นผิวสวยเรียบ คงทน ไม่หลุดล่อน นิยมใช้กับงานก่อสร้างอาคารบ้านพักอาศัยขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และงานปั้น เป็นต้น ปูนซีเมนต์ผสม (Mixed Cement)

2. ปูนซีเมนต์ขาว (White Cement)

2.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สีขาว (White Portland Cement) ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่งซึ่งมีสีขาว คุณสมบัติ: ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.133-2518ซึ่งให้กำลังการยึดเกาะสูง สามารถใช้ผสมกับแม่สีที่ไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีกับปูนซีเมนต์ การใช้งาน: เหมาะที่จะใช้กับงานตกแต่งอาคาร ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ หินขัด หินล้าง ทรายล้าง กรวดล้าง และใช้ในการทำผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ต้องการความสวยงาม ควบคู่กับความแข็งแรง ทนทาน

2.2 ปูนซีเมนต์ผสมสีขาว (White Mixed Cement) ปูนซีเมนต์ขาวที่มีวัสดุเฉื่อย เช่น ทราย หรือหินปูนบดละเอียดรวมอยู่ด้วย การใช้งาน: เหมาะสำหรับใช้งานตกแต่ง และยาแนวกระเบื้องเพราะมีคุณสมบัติเหนียว นุ่ม ยึดเกาะได้ดี มีระยะเวลาแห้งตัวพอเหมาะกับการใช้งาน และมีการยืดหดตัวน้อย ทำให้ได้ผลงานที่สวยงาม ไม่หลุดล่อน

3. ปูนสำเร็จรูป (Dry Mortar)

ปูนสำเร็จรูป คือวัสดุผสมระหว่างปูนซีเมนต์ วัสดุคละ และสารเคมีชนิดพิเศษที่มีการคัดเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของงาน โดยส่วนผสมต่างๆ จะผลิตสำเร็จจากโรงงานให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งาน ซึ่งมีหลายประเภทเหมาะกับการใช้งานได้หลากหลาย ผู้ใช้งานเพียงแต่ผสมน้ำให้ตรงตามสัดส่วนที่กำหนดก็สามารถนำมาใช้งานได้ทันที

3.1 ปูนก่อ (Masonry Mortar) คุณสมบัติ: ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนก่อ มอก. 598-2528 การใช้งาน: เหมาะสำหรับงานก่อผนังต่างๆ เช่น ผนังก่ออิฐมอญ หรือคอนกรีตบล็อค เนื่องจากมีสารผสมของสารเคมีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มการทรงตัวของเนื้อปูนขณะใช้งาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะทำให้ผนังแข็งแรงทนทาน

3.2 ปูนฉาบ (Plastering Mortar) คุณสมบัติ: ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอร์ต้าร์สำหรับฉาบ มอก.1776-2542 มีส่วนผสมของวัสดุยึดประสานวัสดุคละ และสารเคมีผสมพิเศษ ที่ทำให้ฉาบง่าย และอุ้มน้ำได้ดี นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะ ลดการแตกร้าวได้ โดยทั่วไปสามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

3.2.1 ปูนฉาบทั่วไป (General Plaster Mortar) การใช้งาน: เหมาะสำหรับงานผนังทั่วไปที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ผนังฉาบเรียบสม่ำเสมอ และสวยงาม ใช้ได้กับผนังก่ออิฐ หรือคอนกรีตบล็อคทุกประเภททั้งภายใน และภายนอกอาคาร
3.2.2 ปูนฉาบละเอียด (Fine Plaster Mortar) การใช้งาน: เหมาะสำหรับงานฉาบตกแต่งผนังที่ต้องการเพิ่มความประณีตสวยงาม เนื้องานมีความละเอียด ความเรียบเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถใช้ฉาบแต่งผิวทับหน้า หลังจากฉาบด้วยปูนฉาบทั่วไปในชั้นแรกก่อน
3.2.3 ปูนฉาบผิวคอนกรีต (Concrete Plaster Mortar) การใช้งาน: เหมาะสำหรับงานฉาบบนผนังคอนกรีต เช่น โครงสร้างอาคาร เสา คานคอนกรีต ซึ่งใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร มีส่วนผสมของสารเคมีที่มีคุณสมบัติยึดเกาะสูง ลดปัญหาการหลุดล่อนของปูนฉาบ และลดขั้นตอนการทำงานโดยไม่ต้องสลัดดอกก่อนฉาบ
3.2.4 ปูนฉาบบาง (Skim Coat) การใช้งาน: เหมาะสำหรับการฉาบบางเป็นพิเศษ เพื่อตกแต่งผนัง เพดาน หรือพื้นผิวอิฐที่ฉาบแล้ว รวมถึงพื้นผิวคอนกรีตให้เรียบสวย (เป็นปูนสำเร็จรูปที่นอกเหนือจากมอก. กำหนด)

3.3 ปูนเทปรับพื้น (Floor Screed Mortar) การใช้งาน: เหมาะสำหรับใช้ในการเทพื้นเพื่อปรับระดับพื้นผิวให้เรียบพร้อมสำหรับการติดวัสดุตกแต่งพื้นเช่น กระเบื้อง ปาเก้ เป็นต้น เพราะมีสารเคมีที่ช่วยไหลลื่น ทำให้เท ปรับพื้นผิวได้ง่ายยิ่งขึ้น 3.4 ปูนซ่อมเอนกประสงค์ (Repair Mortar) การใช้งาน: เหมาะสำหรับงานซ่อมแซมต่างๆ สำหรับบริเวณพื้นที่ขนาดเล็ก เช่นซ่อมรอยแตกร้าว หลุดล่อนบนผนัง และพื้น งานซ่อมปะติดกระเบื้องเซรามิค และงานซ่อมจุดปะรอยแตก หรือรอยเจาะฝังท่อ กันซึม

4. กาวซีเมนต์ (Tile Adhesive)

4.1 กาวซีเมนต์ปูกระเบื้องเซรามิค (Tile Adhesive for Ceramic Tiles) ได้จากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่หนึ่ง ผสมกับหินปูนบดละเอียด และสารเคมีต่างๆ ทำให้มีแรงยึดเกาะมากกว่าปูนซีเมนต์ธรรมดา คุณสมบัติ: การยึดเกาะตัวสูง ยืดหดตัวน้อย สามารถทำงานได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา และแรงงาน ลดการเกิดคราบเชื้อรา หรือคราบน้ำที่ทำให้กระเบื้องหลุดล่อนภายหลัง การใช้งาน: สำหรับใช้ในงานปูกระเบื้องเซรามิคโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร 4.1 กาวซีเมนต์ปูกระเบื้องเซรามิค (Tile Adhesive for Ceramic Tiles)

4.2 กาวซีเมนต์ปูหินอ่อน แกรนิต หรือกระเบื้องเซรามิคขนาดใหญ่ (Tile Adhesive for Marble, Granite and Large Ceramic Tiles) ได้จากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่หนึ่ง ผสมกับหินปูนบดละเอียด และสารเคมีพิเศษต่าง ๆ ทำให้มีแรงยึดเกาะสูงมากขึ้น คุณสมบัติ: เหมือนกับคุณสมบัติของกาวซีเมนต์ปูกระเบื้องเซรามิคแต่ให้แรงยึดเกาะที่สูงกว่า การใช้งาน: เหมาะใช้งานปูกระเบื้องเซรามิคขนาดใหญ่ แผ่นหินอ่อน หรือหินแกรนิต และช่วยลดคราบขาวของเกลือ (Efflorescence) ที่เกิดจากปฏิกิริยาของน้ำฝนกับปูนซีเมนต์บนหินอ่อน หรือหินแกรนิต

4.3 กาวซีเมนต์ปูทับพื้นเดิม (Tile Adhesive for Application Over Existing Tiles) ได้จากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่หนึ่ง ผสมกับหินปูนบดละเอียด และสารเคมีผสมพิเศษต่างๆ ที่ทำให้มีแรงยึดเกาะมากเป็นพิเศษ คุณสมบัติ: เหมือนกับคุณสมบัติของกาวซีเมนต์ 2 ชนิดแรก แต่ ให้แรงยึดเกาะที่สูงที่สุด การใช้งาน: เหมาะใช้งานปูทับพื้นผิวเดิม เช่น กระเบื้องเซรามิค กระจก ยิปซั่ม และปูบนพื้นที่ที่มีแรงสั่นสะเทือน เช่น อาคารใกล้ถนนที่มีรถบรรทุกหนักแล่นผ่าน ประหยัดเวลา และแรงงานรื้อกระเบื้องเดิม

4.4 กาวยาแนว (Tile Grout) ได้จากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สีขาว ผสมกับหินปูนบดละเอียด และสารเคมีผสมพิเศษที่ช่วยเพิ่มแรงยึดเกาะ ลดการแตกร้าว ลดการซึมผ่านของน้ำ และผสมสีต่าง ๆ ให้สวยงาม การใช้งาน: เหมาะใช้งานตกแต่ง หรือยาแนว กระเบื้องเซรามิคโมเสก หินอ่อน แกรนิต และสุขภัณฑ์ สามารถเลือกสีได้ตามต้องการ