พฤติกรรมมนุษย์ - ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตนั้น แม้มนุษย์จะถูกจัดอยู่ใน อาณาจักรของสัตว์ แต่มนุษย์มี คุณสมบัติทางชีวภาพ ที่มี ประสิทธิภาพ ในการทำงานสูงกว่า สัตว์อื่น ๆ ทำให้สามารถปรับตนเองให้ สมดุลกับ สภาพแวดล้อม ได้โดยอาศัย พฤติกรรม หรือการกระทำของตัวเอง ปัจจัยด้านชีวภาพที่สำคัญ ของ มนุษย์ประกอบด้วยพันธุกรรม และ ระบบการทำงาน ของร่างกาย
1. พันธุกรรม
มีผู้เสนอสมการว่า พฤติกรรม = พันธุกรรม + สิ่งแวดล้อม + ระยะเวลา (จิราภา เตร็งไตรรัตน์และคณะ, 2542) จากสมการนี้แสดงว่า พฤติกรรมมนุษย์ ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่ได้ถูกกำหนดโดย พันธุกรรม (Heredity)
ซึ่งหมายถึง การถ่ายทอดลักษณะของบรรพบุรุษ หรือต้นตระกูล มายังรุ่นลูกหลานด้วยกระบวนการสืบพันธุ์ การถ่ายทอดนั้น กำหนดโดย สารพันธุกรรม ที่เรียกว่า ยีนส์ (Genes) ซึ่งเรียงตัวกันอยู่ใน โครโมโซม (Chromosome)
ภายในนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ จุดเริ่มต้นของพันธุกรรมมาจาก เซลปฏิสนธิ ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ระหว่างไข่จาก แม่กับอสุจิจากพ่อ ในเซลล์ ปฏิสนธิของมนุษย์จะมีโครโมโซม ซึ่งมีโครงสร้างบิดเป็นเกลียว เรียงตัวกันเป็นคู่
ๆ รวม 23 คู่ ข้างหนึ่งจะมาจากพ่อ และอีกข้างหนึ่งจะมาจากแม่ โครโมโซมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 22 คู่แรก เรียกว่า ออโตโซม เป็นโครโมโซมที่ควบคุม ลักษณะและหน้าที่ ของร่างกาย 1 ทั้งเพศชายและเพศหญิงจะเหมือนกัน
คู่หลัง เรียกว่า โครโมโซมเพศ ประกอบด้วย x และ y โครโมโซมเพศชาย จะประกอบด้วย xy ส่วนโครโมโซมเพศหญิงประกอบด้วย xx โครโมโซมบรรจุด้วย สารพันธุกรรม เป็นโมเลกุลเชิงซ้อน เรียกว่า DNA (Deoxyribonucleic
acid) ถือเป็น รหัสพันธุกรรม เพราะเป็นตัวที่ควบคุม ลักษณะทางพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่ หน่วยที่ถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม คือ ยีนส์ แต่ละลักษณะของคนเรา จะได้รับอิทธิพลจากยีนส์แต่ละชนิด
ซึ่งจับตัวกันเป็นคู่ เมื่อยีนส์ทำงาน เพื่อแสดงอิทธิพล ต่อลักษณะของบุคคล ยีนส์ ตัวหนึ่งอาจจะข่มอีกตัวหนึ่ง ด้วยหลักการนี้เอง ยีนส์ จึงแบ่งเป็น ยีนส์ข่ม และยีนส์ด้อย โดยปรกติหากยีนส์ข่ม และยีนส์ด้อยมาจับคู่กัน
ยีนส์ข่ม จะแสดงลักษณะออกมาให้เห็นในตัวบุคคล ยีนส์ด้อย จะแสดงผลก็ต่อ ยีนส์ทั้งคู่ เป็นยีนส์ด้อยเท่านั้น แต่การ ถ่ายทอดลักษณะ ดังกล่าวค่อนข้างจะซับซ้อน เนื่องจากใน โครโมโซม ของมนุษย์ ประกอบด้วย
ยีนส์ประมาณ 50,000 ยีนส์จากพ่อหรือแม่แต่ละข้าง ในการปฏิสนธิ แต่ละครั้ง การจับคู่กันของยีนส์จึงมีเป็นสิบ ๆ ล้านแบบ โอกาสที่จะเกิดลักษณะใด ๆ จึงมี ความเป็นไปได้ จำนวนมาก
สิ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอันมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ประกอบด้วย
- ลักษณะ ทางกาย เช่น ความสูงต่ำ ลักษณะเส้นผม สีของผิว ชนิดของโลหิต
- เชาวน์ปัญญา ซึ่งพบว่าระดับของเชาวน์ปัญญาจากกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันทางยีนส์จะคล้ายคลึงกัน
- ความผิดปรกติทางจิตบางชนิด โดยเฉพาะจิตเภท อาการซึมเศร้าและอาการทางประสาท แต่มิได้หมายความว่าเลี่ยงไม่ได้เป็น แต่มีแนวโน้มสูง กว่า คนที่มิได้มีความสัมพันธ์กันทางยีนส์เท่านั้น
- บุคลิกภาพบางประเภท เช่น การหันเข้าหาตนและการหันออกห่างตน ความเห็นใจและความห่วงใย เป็นต้น
2. การทำงานของระบบในร่างกาย
ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วย อวัยวะในระบบต่าง ๆ หลายระบบที่ทำงานประสานเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ชีวิตดำรง อยู่ได้อย่าง เหมาะสม หรือรักษา ความสมดุลทางกายไว้ให้ดีที่สุด บางระบบอวัยวะร่างกาย จะทำหน้าที่ เพื่อให้มนุษย์มีชีวิต เช่น การหายใจ การย่อยอาหาร การขับถ่ายเป็นต้น แต่ บางระบบของร่างกาย เชื่อมโยงกับกับการคิด ความรู้สึก อารมณ์ การศึกษาระบบของร่างกายในที่นี้ จะได้จำแนกเป็น ระบบประสาท สมอง ต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ
2.1 การทำงานของระบบประสาท (Nervous System)
การศึกษาการทำงานของระบบประสาท ทำให้เข้าใจระบบการทำงาน ภายในร่างกายซึ่งทำงานประสานกัน ได้ภายใต้การควบคุม และประสาน เชื่อมโยงของระบบประสาท เซลล์ประสาท จำนวนเป็นพันล้านเซลล์ที่กระจาย อยู่ตามอวัยวะต่าง
ๆ และในสมองของมนุษย์ จะทำงานโดยส่ง กระแสประสาทและสารเคมีเพื่อสื่อสารถึงกัน สารเคมีนี้เป็น สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) มีหน้าที่ถ่ายทอดคำสั่งระหว่างจุดเชื่อม
ต่อประสาท เพื่อให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องทำงาน หรือหยุดการทำงาน การทำงานของระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) และ ระบบประสาทส่วนนอก (Peripheral Nervous
System)
2.1.1 ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย สมอง (Brain) และไขสันหลัง (Spinal cord)
- สมอง เป็นศูนย์สั่งการ ควบคุมพฤติกรรมและประสานการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ สมองประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก ที่รวมตัวกันอยู่ ในกะโหลกศีรษะ มีน้ำหนักประมาณ 2% ของน้ำหนักร่างกาย เป็นศูนย์กลางการประมวลผลการสัมผัส
การรับรู้ การคิด การจำ การเข้าใจ
- ไขสันหลัง เป็นเซลล์ประสาทที่อยู่ในโพรงกระดูกสันหลัง เป็นส่วนเชื่อมต่อจากสมอง เป็นตัวกลางที่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่าง ประสาทส่วนนอก กับสมอง และเป็นศูนย์ควบคุมปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexes) ต่าง ๆ ของร่างกาย
2.1.2 ระบบประสาทส่วนนอก เป็นเซลล์ประสาทที่อยู่นอกกระโหลกศีรษะ และนอกกระดูกสันหลังประกอบด้วย ปมประสาท (Ganglia) ซึ่งเป็นที่รวมของตัวเซลล์ประสาท และใยประสาท ซึ่งทำหน้าที่รับสัมผัสจากภายนอก และรับข่าวสารคำสั่งจากสมอง ถือเป็นส่วนที่ติดต่อ โดยตรงกับโลก หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ระบบประสาทส่วนนอก แบ่งเป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทโซมาติก (Somatic System) และระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic System)
- ประสาทโซมาติก ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอวัยวะสัมผัสต่าง ๆ ส่งรายงานไปยัง ประสาทส่วนกลาง และรับการ ถ่ายทอดคำสั่ง เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหว จากประสาทส่วนกลาง สั่งการ ไปยังกล้ามเนื้อลายให้ยืดหรือหดตัว
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในส่วนอวัยวะนั้น ๆ ตามความต้องการ ระบบประสาทโซมาติก ประกอบด้วยประสาทสมอง (Cranial Nerves) 12 คู่ และประสาทไขสันหลัง (Spinal Nerves) 31 คู่
- ประสาทอัตโนมัติ เป็นระบบที่เชื่อมประสาทส่วนกลาง กับอวัยวะที่ทำงานด้วยกล้ามเนื้อเรียบ ทำหน้าที่อย่างอิสระ นอกเหนือ การรับรู้ของจิต ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ภายใน เช่น ต่อมไร้ท่อ กล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อเรียบ ของ ผนังอวัยวะภายใน และ เส้นเลือด ควบคุมอัตรา การหายใจ การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด การย่อยอาหาร อุณหภูมิในร่างกาย
ระบบนี้แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ ประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic) มีหน้าที่เพิ่มพลังงาน และ ความพร้อมให้ร่างกายมี ความตื่นตัว ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กลัว โกรธ เตรียมพร้อมจะต่อสู้หรือหนีภัย ประสาทพาราซิมพาเธติก (Parasympathetic) ทำงานเพื่อประหยัดพลังงาน ควบคุมร่างกาย ให้อยู่ใน สภาพปรกติ เมื่อร่างกายตื่นตัวมากเกินไป ระบบนี้จะค่อย ๆ ลดระดับให้มาสู่สภาพเดิม ทั้งสองระบบ จะทำงานในทางตรงกันข้ามกัน แต่ก็ช่วยเหลือกัน
ความรู้ทางประสาทวิทยา มีความสำคัญสำหรับ การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ เนื่องจากเป็น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สมองกับพฤติกรรม ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นปกติและผิดปกติ มีการศึกษาใน ด้านโครงสร้างของสมอง เพื่อทำความเข้าใจ พฤติกรรม ที่เป็นผลกระทบทั้งโดย ทางตรงและทางอ้อม
2 .2 สมอง
สมองเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง จำแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ
2 .2.1 สมองส่วนล่าง (Lower Brain) ถือเป็นสมองส่วนที่ต่อกับไขสันหลังส่วนบน มีหน้าที่กำกับ พฤติกรรมพื้นฐาน ในการมีชีวิต เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ ประกอบด้วย ก้านสมอง (Brain stem) และ ซีรีเบลลัม (Cerebellum) ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในการควบคุมระบบทำงานของร่างกาย
ก. ก้านสมอง (Brain stem) ประกอบด้วย
- เมดูลลา (Medulla) ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมอัตโนมัติ เช่น การไหลเวียนของเลือด การหายใจ นอกจากนี้ยังคุมการเคี้ยว และการกลืน อาหาร การหลั่งน้ำลาย และการเคลื่อนไหวบนใบหน้า และเป็นตำแหน่งที่เส้นประสาท
จากซีกหนึ่งของสมอง เชื่อมต่อกับ เส้นประสาทจาก ซีกตรงกันข้าม ของร่างกาย ถ้าเมดูลลาเสื่อมชำรุด จะทำให้ความดันโลหิตต่ำ การหายใจขัดข้อง
- พอนส์ (Pons) เป็นจุดต่อเชื่อมของสมองส่วนล่างกับส่วนเหนือ ขึ้นไป มีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหลับ และการตื่นตัวของ ร่างกาย ถ้าสูญเสียส่วนนี้จะทำให้มีอาการโคม่า
- ระบบกระตุ้น (Reticular activating system) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีเส้นประสาทไขว้กันเป็นร่างแห อยู่ในแกนในของก้านสมอง เป็นส่วนที่ทำให้สมองส่วนบนมีความตื่นตัว สนใจสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะทำงาน ทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลจาก การสัมผัสว่าจะให้ความสำคัญ ต่อส่วนใดในการรับรู้ที่เป็นระบบของการแปลความหมาย
ข. ซีรีเบลลัม (Cerebellum) หรือสมองเล็ก ติดอยู่กับด้านหลังของ ก้านสมอง ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว และความสมดุล ในการเคลื่อนไหว ของบุคคลและประสาน การทำงานของกล้ามเนื้อในการรับรู้ของจิตในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดิน การเตะหรือขว้างลูกบอล เต้นรำ พิมพ์ดีด และยิมนาสติก ถ้าซีรีเบลลัมทำงานบกพร่อง เราไม่สามารถทำการเคลื่อนไหว ดังกล่าวข้างต้นได้ราบรื่น
2 .2.2 สมองส่วนกลาง (Central Brain) หรือ ระบบลิมบิก (Limbic System) อยู่ใต้สมองส่วนบน ระบบลิมบิกรวมโครงสร้างอื่น อีกหลายส่วนคือ ธาลามัส (Thalamus) อะมีกดาลา (Amygdala) ฮิบโปแคมปัส (Hippocampus) และไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ทำหน้าที่เกี่ยวกับ แรงจูงใจ การตอบสนองทางอารมณ์ และพฤติกรรมเฉพาะเผ่าพันธุ์ เช่น การต่อสู้ และพฤติกรรมทางเพศ
- ธาลามัส (Thalamus) เป็นตัวเชื่อมส่วนบนของสมองกับอวัยวะสัมผัสต่าง ๆ และทำหน้าที่เหมือนสถานีถ่ายทอดสัญญาณ จากสัมผัส เช่น จากการเห็น การได้ยิน การรู้รสและสัมผัสทางกาย ไปยังสมองส่วนบน และคำสั่งจาก
เซเรบรัม ที่ส่งไปยัง ประสาท ส่วนนอก ยกเว้นสัมผัสกลิ่นที่ไม่ผ่านธาลามัส ซึ่งเป็นคำอธิบายว่า เหตุใดกลิ่น จึงทำให้เกิดอารมณ์ได้เร็วกว่า สัมผัสประเภท อื่น ๆ
- อะมีกดาลา (Amygdala) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการโกรธ การกลัว ความดุร้าย การก้าวร้าว ในส่วนบนอะมีกดาลา ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความกลัว ถ้ากระตุ้นจะทำให้หลบหนี แต่ถ้าเสื่อม หรือถูกตัดออกไป จะทำให้ไม่กลัวสิ่งใด
และเกิดความดุร้าย
- ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) เกี่ยวข้องกับการจำและอารมณ์ ช่วยให้อธิบายได้ว่าทำไมคนเรา จึงจำเหตุการณ์ ที่สะเทือนอารมณ์ ได้ดีกว่า เหตุการณ์ธรรมดา ถ้าฮิปโปแคมปัส ถูกทำลาย จะทำให้คนเรา จำเหตุการณ์ใหม่
ๆ ไม่ได้ แม้จะเข้าใจเรื่องปัจจุบันได้ดี แต่ไม่อาจ เก็บบันทึกไว้ เพื่อระลึกในภายหลังได้
- ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) อยู่ใต้ธาลามัส ควบคุมระดับอุณหภูมิใน ร่างกาย และเกี่ยวข้องกับ การทำงานของ ระบบประสาทอัตโนมัติ กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนของต่อม ต่าง ๆ ควบคุมอารมณ์โกรธและกลัว และเกี่ยวข้องกับ การเกิดแรงขับพื้นฐานทางกาย เช่น หิว กระหายน้ำ การหลับ แรงขับทางเพศ วงจรของกิจประจำวันของร่างกาย (Circadian System) นอกจากนี้ยังเป็น ศูนย์แห่งความสุข หากถูกกระตุ้น
2 .2.3 สมองส่วนบน (Upper Brain) หรือ เซเรบรัม (Cerebrum) ผิวด้านนอกของ เซเรบรัม เรียกว่า คอร์เทกซ์ (Cortex) หรือ มันสมอง เป็นที่รวมเซลล์ประสาทจำนวนมาก เป็นสมองใหม่ (New Brain) ที่เกิดใน วิวัฒนาการ
ของสัตว์ แต่จะพบ ความซับซ้อน มาก ในสัตว์ชั้นสูงเท่านั้นมี ความสำคัญยิ่งต่อ ความสามารถ ขั้นสูง ของมนุษย์ เช่น การคิด การใช้ภาษา การแก้ปัญหา การมีเหตุผล
เซเรบรัม มี 2 ซีก คือซีกซ้ายและซีกขวา แต่เชื่อมต่อกันด้วยใยประสาทมัดใหญ่ เรียกว่า Corpus Callosum ซีกซ้ายเกี่ยวข้องกับ ความสามารถ ในการเข้าใจภาษาและการพูด และ ควบคุมการทำงานของร่างกายซีกขวา
สมองซีกขวาเกี่ยวข้องกับ ความสามารถเชิงมิติสัมพันธ์ จินตนาการ ความสามารถทางดนตรี การเข้าใจเสียงอื่นที่ไม่ใช่เสียงพูด ควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย คนส่วนมากถนัดขวา เพราะเซเรบรัมซีกซ้าย ทำหน้าที่มากกว่า
เซเรบรัมแต่ละซีกมี 4 กลีบ (Lobes) คือ กลีบหน้า (Frontal Lobe) อยู่หลังหน้าผาก กลีบบน (Parietal Lobe) อยู่ใต้ส่วนบน กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลีบหลัง (Occipital Lobe) อยู่ที่ส่วนฐานของกะโหลกศีรษะ
หรือท้ายทอย และกลีบข้าง (Temporal Lobe) อยู่บริเวณขมับ
การแบ่งกลีบสมองทางลักษณะกายวิภาค มีความแตกต่างไปจาก การแบ่งสมองตามหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์การศึกษา สมองจะศึกษาหน้าที่ของแดนสมองต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
- แดนการเคลื่อนไหว (Motor Cortex) ควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะ อยู่บริเวณส่วนหลังของกลีบหน้า
- แดนสัมผัส (Somatosensory Cortex) ควบคุมการรับรู้จากสัมผัสทางผิวกาย อยู่บริเวณส่วนหน้าของกลีบบน
- แดนการเห็น (Visual Cortex)รับรู้สัมผัสทางตาหรือการเห็นอยู่ที่บริเวณกลีบหลัง
- แดนการได้ยิน (Auditory Cortex) รับรู้สัมผัสการได้ยิน อยู่ที่บริเวณส่วนบนของกลีบข้าง
- แดนความสัมพันธ์ (Association Cortex) อยู่กระจายทั่วไปไม่อาจกำหนดได้ แน่นอน ส่วนใหญ่อยู่ที่ด้านหน้าของกลีบหน้า ในเซเรบรัม เป็นบริเวณที่ติดต่อกันระหว่างแดนสัมผัสและแดนการเคลื่อนไหว และเป็นที่รวมกระบวนการทางจิตขั้นสูง
ถ้าสมองส่วนนี้ถูกทำลาย ไปจะมีผลต่อพฤติกรรมอย่างกว้างขวาง อาจเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพทั้งหมดไปเลย
- แดนภาษา (Language Area) มี 2 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางภาษา คือ
ก. บรอคา (Broca's Area) อยู่บริเวณกลีบหน้าของสมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ควบคุมการพูด (speech) ในปี ค.ศ.1861 แพทย์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Paul Broca พบว่าคนป่วยที่สมองบริเวณนี้ถูกตัดออกจะไม่สามารถพูดได้เหมือนคนปกติ พูดจาฟังเข้าใจยาก ใช้คำไม่ถูกต้อง แต่เข้าใจเรื่องที่ คนอื่นพูด
ข. เวอร์นิค (Wernicke's Area) อยู่บริเวณกลีบข้างของสมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ ควบคุมความเข้าใจภาษา (Language Comprehension) ในปี ค.ศ.1874 นักประสาทวิทยา ชาวเยอรมัน ชื่อ Karl Wernicke พบว่าคนที่สมองส่วนนี้ เสียหายจะไม่สามารถเข้าใจคำพูดต่าง ๆ ได้ แต่สามารถพูดได้ การศึกษาสมองมนุษย์เริ่มจากการศึกษาจาก สมองของสัตว์เพื่อตรวจดูว่ามีผลต่อพฤติกรรม หรือการทำงานของอวัยวะส่วนอื่น ในลักษณะต่าง ๆ ในปัจจุบัน สามารถศึกษาการทำงานของสมอง ของคนปกติได้โดยตรง โดยเครื่องมือตรวจสอบสมองที่เหมาะกับจุดประสงค์ ได้แก่
1.) EEG (Electroencephalogram) ใช้ตรวจและบันทึกกระแสประสาทหรือคลื่นสมอง
2.) CAT scan (Computerized Axial Tomogram) เครื่องถ่ายภาพ X-ray สมองจากภาคตัดขวางเพื่อดูโครงสร้างได้
3.) MRI (Magnetic Resonance Imaging) เป็นเครื่องมือวัดสนามแม่เหล็กของโมเลกุลในสมอง ให้ภาพสมอง ตามภาคตัดขวางได้
4.) PET scan (Positron Emission Tomogram) เป็นเครื่องมือตรวจสมองโดย ฉีดสารบางอย่างเข้าไปในสมอง ทำให้เห็นการทำงาน ของเซลล์ในสมองว่าปกติหรือผิดปกติอย่างไร
3.ระบบต่อมต่าง ๆ ( Glandular System )
ในระบบต่อมต่าง ๆจะมีเซลจำนวนมากที่ทำหน้าที่ผลิตสารประกอบทางเคมีขึ้นเรียกว่าฮอร์โมน (Hormone) ซึ่งฮอร์โมนจะทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมลักษณะบุคลิกภาพ รวมถึงพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าฮอร์โมนจะทำหน้าที่ส่งผลกระทบต่อระบบร่างกายและจิตใจของคนเรา ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะศึกษาระบบต่อมต่าง ๆ ภายในร่างกาย
ประเภทของระบบต่อม ระบบต่อมมี 2 ประเภท คือ
1. ต่อมมีท่อ (Duct Glands)
2. ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Glands) ดังจะอธิบายรายละเอียดต่อไปนี้
1. ต่อมมีท่อ (Duct Glands) คือ ต่อมที่มีท่อส่งสิ่งที่ต่อมผลิตได้ออกไปนอกร่างกายหรือไป ยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ต่อมมีท่อที่สำคัญได้แก่ ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำนมและไต ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ. (2538:69-70) มีลักษณะดังนี้คือ
1.1 ต่อมน้ำลาย (Salivary Glands) คนเรามีต่อมน้ำลายอยู่ 3 แห่งคือ ใต้ลิ้น มุมขากรรไกรบนใต้หูซ้าย และหูขวา มีหน้าที่ขับน้ำลายซึ่งประกอบด้วย น้ำ 5 %เพื่อละลายอาหาร น้าเมือก 95% สำหรับหล่อลื่นอาหารที่เรา รับประทานเข้าไป น้ำเมือกช่วยในการคลุกเคล้าอาหารให้เข้ากัน และมีไทอะลินช่วยเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล
1.2 ต่อมน้ำตา (Tear Glands) อยู่ที่ขอบด้านบนของตาทำหน้าที่ช่วยสร้างน้าหล่อเลี้ยงตาให้ชุ่มชื้น
1.3 ต่อมเหงื่อ (Sweat Glands) มีหน้าที่ขับเหงื่อออกมาตามรูขุมขนและช่วยปรับอุณหภูมิร่าง
กายให้อยู่ระดับปกติ
1.4 ต่อมน้ำนม (Mamary Glands) ช่วยสร้างน้ำนมในเวลาที่มีลูกอ่อน ต่อมนี้มีเฉพาะในเพศหญิง
1.5 ไต (Kidneys) ฝังอยู่ในเยื่อบุช่องท้องส่วนเอว 2 ข้าง รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วหนา นิ้วครึ่ง มีหน้าที่ กรองของเสียออกจากเลือด และจะส่งผ่านไปยังกระเพาะปัสสาวะก่อนที่จะขับออกทางอวัยวะสืบพันธุ์ ช่วยควบคุม ปริมาณกรดในเลือด และรักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย
2. ต่อมไร้ท่อ (The endocrine System) เป็นต่อมที่ทำงานโดยการสร้างผลิดฮอร์โมนออกมา
ฮอร์โมน (Hormone) จะทำหน้าที่เป็นสารสื่อข่าว (Chemical messenger) และสร้างขึ้นเพียงปริมาณเล็กน้อย แล้วหลั่งออกสู่กระแสเลือด ส่งผลต่ออวัยวะเป้าหมาย (Target Organ) ที่อยู่ห่างออกไป ระบบต่อมไร้ท่อจะมีอยู่ทั่วร่างกาย และมีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์
ต่อมไร้ท่อเป็นต่อม ไม่มีท่อสำหรับให้สารที่ต่อมผลิตออกมาผ่านไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นสารเคมีที่ถูกผลิต ออกมาจากต่อมนี้ จึงซึมเข้าสู่กระแสโรหิต สำหรับสารเคมีที่ต่อมไร้ท่อผลิตออกมานั้นเราเรียกว่า ฮอร์โมน ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ มีอิทธิพลต่อ พฤติกรรม ของคนเรามากที่เดียว ต่อมไร้ท่อมีหลายชนิดด้วยกันคือ
2.1 ต่อมพิทูอิทารี หรือต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) มีขนาดประมาณเมล็ดถั่วลิสง เป็นต่อมที่สำคัญมาก และมีอิทธิพลเหนือ ต่อมไร้ท่อชนิดอื่น ๆ ต่อมนี้ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ต่อมนี้ผลิตฮอร์โมนหลายชนิดแต่ที่เราได้ยินควรรู้จักคือ "โกร๊ธฮอร์โมน" (Growth Hormone) ซึ่งถ้าฮอร์โมนชนิดนี้ถ้ามากเกินไปจะทำให้บุคคลมีรูปร่างใหญ่โตผิดปกติ ถ้าผลิตออกมาน้อยจะทำให้ผู้นั้นมีร่างกายแคระแกน
2.2 ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) เป็นต่อม 1 คู่ ตั้งอยู่บริเวณลูกกระเดือก ผลิตฮอร์โมนซึ่งทำหน้าที่ ช่วยในการเผาผลาญ อาหารซึ่งฮอร์โมนจากต่อมนี้มี 2 ชนิด คือ
ไทร็อกซิน (Thyroxin) ซึ่งมีส่วนประกอบของไอโอดีน และกรด อมิโนไทร๊อกซิน จะทำหน้าที่เกี่ยวกับความเจริญเติบโตของร่างกายมาก และควบคุมอัตราการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ ในกรณีที่มีฮอร์โมนไทร็อกซินผลิตน้อยกว่าปกติ จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า "โอโปไทรอยอีสม์"(Hypothyroidism) ภาวะเช่นนี้เกิดในเด็กจะทำให้ร่างกายแคระแกรน ซึ่งเรียกว่า Cretinsm แต่ก็เกิดในวัยผู้ใหญ่ เราเรียกว่า Myxedema gxHoการเกิดอาการบวมใสใต้ผิวหนังกล้ามเนื้อไม่มีแรง ผิวหนังแห้งซีด กรตอบสนองสิ่งเร้าต่าง ๆ เชื่องช้าลลง ส่วนในกรณีที่มีการหลั่งฮอร์โมนไทร็อกซินมากกว่าปกติจะเกิดภาวะที่เรียกว่า "คอพอกเป็นพิษ" ผู้ป่วยหายใจเร็วและแรง มีการเผาผลาญอาหารมากเกินไป ร่างกายผอมน้ำหนักลด
ไทโรแคลซิโตนิน (Thyrocalcitonin) ฮอร์โมนชนิดนี้ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แคลเซียมในเลือดสูงเกินไป
2.3 ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyrold Gland) ต่อมไร้ท่อชนิดนี้ประกอบด้วยต่อมเล็กๆ จำนวน 4 ต่อมฝังอยู่ในเนื้อของต่อมไทรอยด์อีกที่หนึ่ง ต่อมพาราไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า "พาราธอร์โมน" ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญอาหารในร่างกาย และรักษาระดับแคลเซียมในเลือด ถ้าต่อมนี้ทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดอาการปวดกระดูกมาก และมีเลือดไหลไม่หยุดเวลาเกิดบาดแผล
2.4 ต่อมหมวกไตหรือต่อมแอดรีนับ (Adrenal Cland) มี 2 ต่อม อยู่เหนือส่วนบนของไตทั้งสองข้าง ลักษณะคล้ายเป็นหมวกครอบอยู่ส่วนบนของไต ต่อมแอครีนัล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนชั้นนอก เรียกว่า "แอครีนับคอร์แทกซ์" (Adrenal Cortex) ส่วนชั้นในเรียก "แอดรีนับเมดดัลลา"
แอดรีนับคอร์แทกร์ ผลิตฮอร์โมน 3 ชนิดด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงฮอร์โมนที่ชื่อว่า "คอร์ติน" ฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผาผลาญอาหารในร่างกายขึ้น ถ้าแอครีนับคอร์เทกซ์ได้รับอันตรายหรือเสียหาย อาจจะทำให้ผู้นั้นถึงตายได้
2.5 ตับอ่อนหรือต่อมแพนเครียส (Pancreas ) อยู่ในช่องท้องด้านหลังยาวทอดขวางกับลำตัวของเรา จากลำไส้เล็กส่วนบนซึ่งติดกับ กระเพาะอาหารจนถึง ม้าม ตับอ่อน ทำหน้าที่ทั้งเป็นต่อมมีท่อ และต่อมไร้ท่อ ตับอ่อนผลิดฮอร์โมนที่เรียกว่า "อินซูลิน" (Insulin) ซึ่งทำหน้าที่รักษา ระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าน้ำตาลในเลือดมีมากเกินระดับปกติ อินซูลินจากตับอ่อนนี้จะเป็นตัวทำให้ตับสะสมน้ำตาล เอาไว้มากเกินไป แต่ถ้าน้ำตาลในเลือดน้อย ตับจะกลั่นน้ำตาลออกมามากในรูปของกลูโคส สภาพของโรคเบาหวานเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมาน้อย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และบางส่วนน้ำตาลจะถูกขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ
2.6 ต่อมเพศ หรือต่อมโกนาด (Gonads) ต่อมเพศหรือต่อมโกนาดนี้ หมายถึง อัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง
อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างตัวอนุจิ (Spermatozoa) และ ผลิตฮอร์โมนเพศชาย ที่เรียกว่า "แอนโดรเจน" และ "เทสโตสเตอโรน" ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมพัฒนาการของลักษณะทางเพศ เช่น ขนที่อวัยวะเพศ และลักษณะของเพศชาย เช่น ลักษณะร่างกายที่แข็งแรง เสียงห้าว หนวดเครา เป็นต้น
รังไข่ ทำหน้าที่สร้างไข่ และผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่า "เอสโตรเจน" และชื่อว่า "โปรเจสเตอ-โรน" เอสโตรเจนทำหน้าที่กระตุ้นให้เต้านมเจริญเติบโต กระดูกเชิงกรานขยายออก ส่วนโปรเจสเตอโรนทำหน้าที่เตรียมมดลูกไว้สำหรับการฝังตัวของไซโกต และกระตุ้นการสร้างน้ำนม
2.7 ต่อมไทมัส (Thymus Gland) มีอยู่ 2 ข้าง อยู่ที่บริเวณคอ เหนือขั้วหัวใจ รูปร่างไม่แน่นอน ในระยะวัยเด็กขนาดจะใหญ่มากที่สุด และจะค่อย ๆ เล็กลง หรือหดหายเมื่อย่างเข้าวัยผู้ใหญ่ เป็นต่อมที่มีความสำคัญต่อพฤติกรรมของบุคคล
2.8 ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) มีลักษณะเป็นรูปไข่อยู่ที่เหนือสมองส่วนกลางต่อมนี้ผลิตฮอร์โมนที่ชื่อว่า "เมลาโทนิน" (Melatonin) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศในคนและสัตว์ประเภทที่เลี้ยงลูกด้วยนม ดังแสดงในตารางการทำงานของต่อมไร้ท่อในตาราง 4.2
ต่อมไร้ท่อ |
ฮอร์โมน |
หน้าที่ |
Anterior Pituitary
|
Follicle – stimulating hormone
Luteinzing hormone
Thyrotropin
Adrenocorticotropin
Groeth hormone
Prolactin |
เกี่ยวกับการเกิดเซลล์สืบพันธุ์ของหญิงและชายเกี่ยวกับวุฒิภาวะของไข่ , อสุจิ ขับ Thyroxin
ขับ Thyroxin
ขับ Corticosteroids
ขับ Somatomedin สังเคราะห์โปรตีน
เกี่ยวกับการเจริญเติบโต และขับน้ำนม |
Posterior Pituitary
|
Vasopressin
Oxytocin |
การเก็บน้ำ เพิ่มความดันโลหิต
การหดตัวของมดลูก การผลิตน้ำนม |
Ovaries
|
Estrogens
Progesterone |
ลักษณะทุติยภูมิทางเพศของหญิง แรงขับทางเพศของหญิง การเกิดเซลล์สืบพันของหญิง
การบำรุงรักษาการตั้งครรภ์ |
Testis
|
Androgens
|
ลักษณะทุติยภูมิทางเพศของชาย แรงขับทางเพศของชาย การผลิตอสุจิ |
Thyroid |
Thyroxin |
เพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกาย |
Parathyroid |
Calcitonin |
การเก็บหรือคงไว้ของแคลเซียม |
Adrenal Cortex
|
Corticosteroids
Aldosterone
Androgens
Estrogens |
การใช้พลังงานการยับยั้งการก่อตัวของ แอนติบอดี้ และการอักเสบ
การเก็บโซเดียม
ลักษณะทุติยภูมิทางเพศชาย
ลักษณะทุติยภูมิทางเพศหญิง |
Adrenal medulla |
Epinephrine |
การปลุกการตอบสนองของระบบซิมพาเทติก |
Pancreas
|
Insulin
Glucagon
|
ลดน้ำตาลในเลือด เปลี่ยนน้ำตาลเป็นGlycagen ไปเก็บในตับอ่อน
เพิ่มน้ำตาลในเลือดและทำหน้าที่เปลี่ยนไขมันสะสมเป็น กูลโคส
|
Pineal |
Melatonin |
ควบคุมการเจริญเติบโตตั้งแต่เกิดจนถึง 7 ขวบ |
Thymus |
Thymovidin |
ควบคุมการเจริญเติบโตให้เป็นไปตามวัย |
4. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)
กล้ามเนื้อในร่างกายคน มีขนาดต่างกันมาก ตั้งแต่เส้นใยขนาดเล็กไปจนถึงมัดขนาดใหญ่ กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ อยู่เป็นคู่ ๆ แต่อยู่กันคนละซีก ของร่างกาย กล้ามเนื้อจะมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับหน้าที่ของกล้ามเนื้อนั้น
แต่โดยทั่วไป คือ ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายคง ความเป็นปรกติและช่วยป้องกันอวัยวะส่วนที่บอบบาง
4.1 โครงสร้างของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อของคนมีปริมาณตั้งแต่ 1 ใน 2 ถึง 1 ใน 3 ของน้ำหนักตัว โดยมีกล้ามเนื้อ โครงกระดูก ที่ประกอบด้วย กล้ามเนื้อแขน ขา และก้น ซึ่งคนเราใช้ในการเคลื่อนไหวเป็นประจำ
นอกจากนั้น ยังมี กล้ามเนื้อเรียบ ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ เพื่อรักษาการ ทำงานของร่างกาย ให้เป็นปรกติและกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทำงาน อยู่ตลอดเวลาไม่มีการหยุดพัก
4.2 การทำงานของกล้ามเนื้อ เมื่อได้รับคำสั่งจากระบบประสาท กล้ามเนื้อ รวมทั้ง เส้นใยของกล้ามเนื้อ จะหดตัวสั้น และหนาขึ้น หลังจากหดตัวแล้ว ตามปรกติ เส้นใยกล้ามเนื้อ จะคลายตัวอย่างรวดเร็ว เว้นแต่จะได้รับคำสั่งจาก ระบบประสาท อีกและยิ่งมีเส้นใยที่ได้รับคำสั่งมากเท่าใด กล้ามเนื้อก็จะยิ่งหดตัวมากเท่านั้น มีข้อน่าสังเกตว่า เมื่อกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งเริ่มทำงาน อีกส่วนหนึ่งก็จะเริ่มทำงานด้วย แต่จะเป็นไปในทิศทาง ตรงกันข้ามเสมอ เมื่อกล้ามเนื้อคลายตัวลงเต็มที่แล้ว จะมีความอ่อนนุ่ม แต่ระบบประสาท จะส่งสัญญาณ ไปกระตุ้นให้ กล้ามเนื้อ หดตัวเบา ๆ ตลอดเวลา เพื่อให้กล้ามเนื้อได้มีโอกาส ออกกำลัง เพราะหากกล้ามเนื้อไม่ถูกใช้งานนาน ๆ จะเสื่อมสมรรถภาพ และมีขนาดเล็กลง
4.3 พลังงานสำหรับกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ จะได้รับพลังงานจากสาร ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีอยู่ ทั่วร่างกาย เมื่อร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงานสารนี้ จะแตกตัวออกเป็นสารใหม่ เรียกว่า ADP (Adenosine Diphosphate) พร้อมกับปล่อยพลังงาน ออกมาให้ กล้ามเนื้อได้ใช้ หลังจากนั้น ADP ก็กลับคืนสู่สภาพ ATP อีกครั้งหนึ่ง ปฏิกิริยาของ ATP ทำให้มี ของเสียเกิดขึ้น ได้แก่ น้ำ ความร้อน ก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ และ กรดแลคติก (Lactic Acid) ก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ จะถูกกำจัดผ่านทางลมหายใจ เมื่อผสมกับออกซิเจน ก็จะสลายตัวไป ในกรณีที่เราออกพลังงานมากจนร่างกายกำจัดของเสียไม่ทัน จะมีการสะสมของกรดแลคติค ทำให้รู้สึก เจ็บปวดและอ่อนเพลียได้ (ไบรอัน อาร์วาร์ด, มปป.)
ระบบกล้ามเนื้อ (The Muscles) ศิรินภา จามรมาน 2537:85 อธิบายไว้พอสรุปว่า กล้ามเนื้อและระบบกระดูก มีความรับผิดชอบต่อ การเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยปกติระบบกล้ามเนื้อจะอยู่ในสภาพเตรียมพร้อมที่จะตอบสนอง คือ มีการบีบตัวเล็กน้อย ในการตอบโต้ ต่อสิ่งเร้าโดยตรง หรือต่อกระแสประสาทบงการจากสมองนั้น กล้ามเนื้อจะบีบตัวก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว การบีบตัวของกล้ามเนื้อ เมื่อตอบโต้ต่อสิ่งเร้าจะใช้ระยะเวลาสั้นกว่าการบีบตัวในสภาวะปกติ เมื่อเกิดการตอบโต้ต่อสิ่งเร้าแล้ว กล้ามเนื้อก็จะคืนสู่สภาพ การบีบตัว ที่เล็กน้อย ซึ่งเป็นสภาวะที่เซลมีประสิทธิภาพมากที่สุด สภาวะนี้เรียกว่า Muscle Tone ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อของแต่ละบุคคลนั้น Muscle Tone จะถูกควบคุมโดยระบบรีเฟล็กส์ (Reflex) และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อบุคคลออกกำลังกาย บุคคลที่ออกกำลังกายบ่อยๆ หรือทำงานที่มีกิจกรรมสูงมักจะมี Muscle Tone สูงซึ่งเป็น ผลดีต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ของมนุษย์ อย่างไรก็ตามคนบางคนอาจจะมี Muscle Tone ที่สูงมากจนเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายต่อ การทำงาน ของร่างกาย บางส่วนที่ต้องอาศัยระดับ Muscle Tone ที่ต่ำ โดยนักจิตวิทยาได้พบว่า คนบางคนมีระบบกล้ามเนื้อ ที่ค่อนข้างตึงเครียด และไม่สามารถ จะผ่อนคลายได้นั้น ความตึงเครียดอันนี้มาจากการเกร็งกล้ามเนื้อ โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บุคคลผู้นั้นกำลังประสบ ความยุ่งยากมาก ของระบบกล้ามเนื้อ
ประเภทของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ กล้ามเนื้อลาย (Striated muscles)ทำหน้าที่ควบคุมท่าทางการเคลื่อนไหวของโครงกระดูก ลิ้น กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscles) ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายใน รวมทั้งหลอดโลหิต และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscles) ทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ ดังจะอธิบายละเอียด Stephen Worchel and Wayne Shebilske.1989:58-59
1. กล้ามเนื้อลาย (skeletal muscles )ที่ชื่อกล้ามเนื้อลายเพราะมีการเชื่อมโยงกับโครงกระดูกโดยทั่วไปแล้วกล้ามเนื้อลายจะทำงานเป็นคู่ ๆ กล่าวคือ เมื่อกล้ามเนื้ออันหนึ่ง บีบตัวอีกอันหนึ่งจะคลายตัว ลักษณะคู่ของกล้ามเนื้อเรียกว่า antagonistic muscles ซึ่งใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวในขณะ เดิน วิ่งเต้นรำ หรือการเคลื่อนไหวโดยทั่ว ๆ ไป การทำงานของ antagonistic muscles เป็นไปตาม reciprocal innervation ซึ่งเป็นการสมดุลของกระแสประสาทที่ก่อให้เกิดคู่ของ antagonistic muscles บีบตัวในขณะที่คู่ของมันคลายตัว ในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ ได้อธิบายว่า ระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อคือ ระบบมอเตอร์ ในระบบมอเตอร์จะมีศูนย์ควบคุม 3 แห่ง คือ
1.1 Basal ganglia เป็นกลุ่มของมวลสารสีเทา 4 มวลที่อยู่ลึกลงไปในสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่หลายอย่างที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจนัก แต่เรารู้แน่ว่าหน้าที่ประการหนึ่ง คือการควบคุมกล้ามเนื้อใน "ฉากหลัง" โดยทั่วไป basal ganglia ทำการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อใหญ่ทั่ว ๆ ไปเพื่อเตรียมสำหรับการเคลื่อนไหวที่ละเอียดมากขึ้น เช่น เวลาเราเขียนหนังสือ Basal ganglia ของก็จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนแขนท่อนบนตึง เพื่อเตรียมสำหรับการเคลื่อนไหวของมือ
1.2 Motor cortex คือ ส่วนที่เกิดแรงกระตุ้นทางมอเตอร์ Motor cortex มีเซลขนาดใหญ่ เรียกว่า pyramidal cell โดยแอกซอน (axon) ยาวผ่านสองลงไปยังเซลประสาทในไขสันหลัง (spinal cord) มีแรงกระตุ้นมอเตอร์จะเดินทางตรงไปยังกล้ามเนื้อ เซลปิรามิ ส่วนใหญ่ในสมองซีกซ้าย จะส่งแรงกระตุ้นไปยังร่างกายซีกขวา และสมองซีกสมองซีกขวาส่งไปร่างกายซีกซ้าย เซลพวกนี้ จะควบคุม การเคลื่อนไหว ที่ละเอียดขึ้น เช่น การเคลื่อนไหวของมือ และการพูด Motor cortex ส่วนใหญ่จะควบคุมกล้ามเนื้อ จำนวนหนึ่ง ที่เรามักใช้เท่านั้น
1.3 cerebellum มีส่วนในการควบคุมการเคลื่อนไหวอันละเอียดอ่อนของกล้ามเนื้อ มันจะ "เบรค"(puts a brake) แรงกระตุ้นมอเตอร์ เพื่อทำให้มันอ่อนตัวลงและลื่นไหลมากขึ้น
เราอาจกล่าวได้ว่า กล้ามเนื้อลายส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับกระดูก มีลักษณะลาย ๆ เป็นเส้นใยขาว มีลายขาวและดำ สลับกันตามขวาง กับความยาว ของเส้นใน มีการทำงานที่ควบคุมมาวางระบบประสาท ทำหน้าที่เคลื่อนไหว เช่นการวิ่ง การพูด การเขียน การกิน เป็นต้น อย่างไรก็ดี การทำงานของกล้ามเนื้อลายอยู่ในความควบคุมของจิตใจ (Voluntary Muscle)
2. กล้ามเนื้อเรียบ ( Smooth Muscles ) ได้แก่กล้ามเนื้อม่านตาและที่อยู่ในผนังหลอดอาหาร ผนังในของเส้นเลือด กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ การหดและการคลายตัวของกล้ามเนื้อในผนังหลอดอาหารทำให้อาหารเคลื่อนที่สู่กระเพาะอาหาร การบีบตัวของ กระเพาะอาหารเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ การขยายตัวหรือการหดม่านตาก็เป็นการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ เช่นกัน กล้ามเนื้อเรียบ ทำงานช้ากว่ากล้ามเนื้อลายมาก การหดตัวของกล้ามเนื้อลาย ใช้เวลาน้อยกว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อลาย ใช้เวลามากกว่ามาก การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscles) กล้ามเนื้อหัวใจมีอันเดียวทำงาน โดยการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ กล้ามเนื้อของ หัวใจ เป็นกล้ามเนื้อพิเศษพบเฉพาะที่หัวใจเท่านั้นเป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะพิเศษมีทั้งลักษณะของกล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ คือ เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อที่มีลาย และ แตกแขนงมาก และมีลายสีเข้มเพิ่มเติมพาดขวางอยู่เป็นระยะ ๆ อีกด้วย (ลายนี้เรียกว่า intercalated dies) มีลักษณะของกล้ามเนื้อเรียบคือ การหดและคลายตัวอยู่เหนืออำนาจการควบคุมของจิตใจลักษณะที่พิเศษ ก็คือ สามารถหดและคลายตัวได้ อย่างอัตโนมัติ แม้ว่าจะไม่ได้รับการกระตุ้นจากระบบประสาท และเป็นระบบการหดคลายตัว ที่มีการติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการทำงาน ที่พร้อมเพียงมาก ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน ในลักษณะเช่นนี้พบว่า การสูบฉีดโลหิตแต่ละครั้งจะวุ่นวายมาก
กล้ามเนื้อหัวใจ มีวิธีการทำงานที่ประสานกันตลอดทั้งหมด คือ ถ้าเซลล์กล้ามเนื้อเพียงแห่งเดียวถูกกระตุ้นโดยกระแสประสาท การกระตุ้นนั้น จะได้รับการถ่ายทอดไปยังเซลล์ข้างเคียงต่อ ๆ ไป กันอย่างรวดเร็ว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหดตัว อย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อหัวใจหด และคลายตัว อยู่ตลอดเวลาและถ้าเซลล์กล้ามเนื้อได้รับการหล่อเลี้ยงอย่างบริบูรณ์ เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่ล้าอย่างง่ายดายเหมือนกล้ามเนื้ออื่น ๆ
พฤติกรรมภายนอกทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นการพูด การกิน การนอน การเล่นดนตรี การเล่นกีฬาชนิดต่างๆ เรียกว่าพฤติกรรมโมลาร์ หรือการทำงานของหัวใจ ลำไส้ กระเพาะอาหาร ต่อมเหงื่อ เรียกพฤติกรรมนี้ว่า พฤติกรรมโมเลกุลล้วนเป็น การปฏิบัติงานของระบบกลไก ที่คอยปฏิบัติตามคำสั่งของสมองระบบกลไกนี้เรียกว่า ระบบอินเฟคเตอร์ ซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscles )และกล้ามเนื้อเรียบ ( Smooth Muscles )นั่นเอง
ข้อเปรียบเทียบ
ชนิดของเซลล์ |
ลักษณะ
|
ตำแหน่งที่พบ |
ระบบประสาท
ที่ควบคุม |
การหดตัว
ของกล้ามเนื้อ |
กล้ามเนื้อเรียบ |
ยาว เรียว แหลม
ไม่มีลายพาดขวาง
มี 1 นิวเคลียด |
บุตามอวัยวะภาย
ใน (visceral organ) |
ระบบประสาทอัตโนมัติ |
ช้า |
กล้ามเนื้อลาย
|
ยาว ทรงกระบอก
พาดขวางมีลาย
นิวเคลียส |
กล้ามเนื้อยืดเกาะ
กับกระดูก (Skeletal
muscle) |
ระบบประสาทรอบนอก |
เร็วที่สุด |
กล้ามเนื้อหัวใจ
|
สั้น ทรงกระบอก
มีลายพาดขวางมี
หลายนิวเคลียส |
หัวใจ |
ระบบประสาทอัตโนมัติ |
ปานกลาง |