เมลาโทนิน Melatonin

ในช่วงปี คศ.1980 Melatonin ได้ถูกนำมาใช้โดยแพทย์ในสหรัฐอเมริกาในการรักษา ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการนอนหลับ และต่อจากนั้นมาก็ได้มีการกล่าวถึงคุณสมบัติอื่นๆ ของตัว Melatonin นี้เองในการลดอาการ jet lag, เพิ่มภูมิคุ้มกัน, ต้านเนื้อร้ายของโรคมะเร็ง และทำให้ชีวิต ยืนยาวขึ้น เป็นต้น ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้มียอดขายที่สูงมากในร้านยา และร้านจำหน่ายอาหารเสริมสุขภาพ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและแม้กระทั่งในทวีปเอเซีย

Melatonin คืออะไร Melatonin หรือที่อาจจะรู้จักในชื่อทางเคมีคือ N-acetyl-5-methoxytryptamine หรือ N-[2-(5-Methoxy-1H-indol-3-yl) ethyl] acetamide เป็นฮอร์โมนธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งถูกสร้าง โดย Pineal gland ที่สมอง การหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดยความมืดและถูกยับยั้งโดยแสง เมื่อการหลั่งของ Melatonin เพิ่มขึ้นคนเราจะมีความรู้สึกตื่นตัวลดลงหรือเฉื่อยชาลงนั่นเอง รวมถึง อุณหภูมิของร่างกายก็เริ่มลดต่ำลง ทำให้เหมาะสำหรับการนอนมากขึ้น และระดับ Melatonin จะลดลง อย่างรวดเร็วในช่วงเช้ามืดของวันใหม่ ส่วนระดับของ Melatonin ในระหว่างวันนั้นต่ำมากจนกระทั่ง นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตรวจวัดได้ รูปที่ 1 โครงสร้างทางเคมีของ N-acetyl-5-methoxytryptamine ด้วยเหตุที่ระดับของ Melatonin ขึ้นลงตาม วงจรของความมืด-ความสว่าง (light-dark cycle) ทำให้ทั้งมนุษย์หรือแม้กระทั่งพืชซึ่งก็มีฮอร์โมนนี้เช่นกันมีความตื่นตัวในระหว่างวัน โดยที่ระดับ ของ Melatonin จะเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเวลา 2.00 น. ในเด็กที่มีสุขภาพดีทั่วไป และจะเพิ่มขึ้นสูงที่สุด เมื่อเวลา 3.00 น. ในผู้ที่สูงอายุ นอกจากนี้แล้วปริมาณการผลิต Melatonin โดยร่างกายยังลดลงเมื่อ อายุมากขึ้น ซึ่งก็เป็นอีกคำตอบหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุต้อง พบกับปัญหาในการนอนไม่หลับมากกว่าผู้ที่อายุยังน้อย

ต่อมไพเนียลเป็นต่อมขนาดเล็ก ขนาดเท่ากับเม็ดข้าวมีสีแดงปนน้ำตาล เรียกชื่อเต็มว่าเอน อะเซทิล ไฟฟ์เมทอคซิทริพทามีน( N acetyl -5- methoxytryptamine) เนื่องจากรูปร่างคล้ายลูกสน (pine cone) จึงเรียกว่าต่อมไพเนียล (pineal gland)

ต่อมนี้ยื่นมาจากด้านบนของไดเอนเซฟฟาลอน หรืออยู่ด้านล่างสุดของโพรงสมองที่สาม ประกอบด้วยเซลล์ 2 ประเภท คือเซลล์ไพเนียล( pinealocytes) และเซลล์ไกลอัน (glial cell) ต่อมไพเนียลจัดอยู่ทั้งในระบบประสาท คือการรับตัวกระตุ้นจากการมองเห็น (visual nerve stimuli) และระบบต่อมไร้ท่อ คือการสร้างฮอร์โมน

1.เซลล์ไพเนียล( pinealocytes) เป็นระบบประสาทที่ผลิตเมลาโทนินตามการสั่งงานของไฮโพทาลามัส ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเพศ (gonads) ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อ (ไม่ใช่เมลานินที่หลั่งโดยเซลล์ เมลาโนไซท์)

2. เซลล์ไกลอัล (glial cells) เป็นเซลล์ประสาทที่มีตำแหน่งอยู่บนโครงข่ายประสาทของเซลล์ไพเนียล หน้าที่ยังไม่ชัดเจน

มื่อแสงสว่างหายไปจากจอรับภาพในตา ต่อมไพเนียลจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโน ชื่อทริปโตเฟน (tryptophan) โดยนอร์อิพิเนฟรินจากเส้นประสาทซิมพาเทติกจะจับกับตัวรับสัญญาณบนเยื่อเซลล์กระตุ้นเซลล์ในต่อมไพเนียล (pinialocyte) สังเคราะห์ cAMP แล้วกระตุ้นสารเร่งปฏิกิริยาเอน อะเซทิลทรานส์เฟอเรส (N-acetyltransferase, NAT) เปลี่ยนซีโรโทนินเป็นเอนอะซิทิลเซอโรโทนิน (N-acetylserotonin) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนโดยไฮดรอกซิอินโดล์ โอ เมทธิลทรานส์เฟอเรส (hydroxyl-indole-O-methyl transferase : HIOMT) ให้เป็นเมลาโทนินอีกทอดหนึ่ง

ต่อมไพเนียลทำหน้าที่เหมือนตัวกลางที่จะรับรู้ความยาวของกลางวันและกลางคืนและส่งสัญญาณในรูปของฮอร์โมนเมลาโทนินไปยังระบบต่างๆ เมื่อแสงสว่างผ่านเลนส์แก้วตาไปตกกระทบกับจอรับภาพบริเวณส่วนหลังสุดของลูกตาที่เรตินา (retina) ที่มีใยประสาทมาเลี้ยง จะส่งกระแสประสาทไปที่ ศูนย์รวมเส้นประสาทที่อยู่เหนือใยประสาทที่ไคว้กันเหนือสมองหรือ นิวเคลียสซูพราไคแอสมาติก ( suprachiasmatic nuclei) ผ่านเส้นประสาทซิมพาเทติกจนถึงที่ปมประสาทซูพีเรีย เซอร์วิคัล (superior cervical ganglion) แล้วส่งต่อไปที่ต่อมไพเนียล

การสังเคราะห์เมลาโทนิน

 

การสร้างเมลาโทนินจึงถูกกระตุ้นโดยความมืดและการหลั่งจะถูกยับยั้งโดยแสงสว่าง นั่นคือเมื่อมีแสงสว่าง ต่อมไพเนียล จะหลั่งเมลาโนโทนิน น้อยลง ถ้าไม่มีแสงสว่างจะมีผลให้มีการผลิตเมลาโทนินมากขึ้น มีความเชื่อว่า ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาตามวงจรชีวิต หรือวัฎจักรประจำวัน (biological rhythm) ใน 24 ชั่วโมงที่เกี่ยวข้องกับแสงสว่างและความมืด (circadian rhythm) เช่นวงจรการตื่นและการหลับ ฤดูกาลผสมพันธุ์

การเปลี่ยนจากซีโรโทนินไปเป็นเมลาโทนินเพิ่มขึ้นในเวลากลางคืน ทำให้เห็นในเวลากลางคืนได้ดีขึ้น ทำให้สายตาเห็นได้ดี เมื่ออยู่ในที่สลัวๆหรือเมื่อมีแสงสว่างน้อย

การสร้างเมลาโทนินจึงถูกกระตุ้นโดยความมืดและการหลั่งจะถูกยับยั้งโดยแสงสว่าง นั่นคือเมื่อมีแสงสว่าง ต่อมไพเนียล จะหลั่งเมลาโนโทนิน น้อยลง ถ้าไม่มีแสงสว่างจะมีผลให้มีการผลิตเมลาโทนินมากขึ้น มีความเชื่อว่าฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมา ตามวงจรชีวิตหรือวัฎจักรประจำวัน (biological rhythm)ใน 24 ชั่วโมงที่เกี่ยวข้องกับแสงสว่างและความมืด (circadian rhythm) เช่นวงจรการตื่นและการหลับ ฤดูกาลผสมพันธุ์

การเปลี่ยนจากซีโรโทนินไปเป็นเมลาโทนินเพิ่มขึ้นในเวลากลางคืน ทำให้เห็นในเวลากลางคืนได้ดีขึ้น ทำให้สายตาเห็นได้ดีเมื่ออยู่ในที่สลัวๆ หรือเมื่อมีแสงสว่างน้อย

เมลาโทนินหลั่งเฉพาะกลางคืนเท่านั้นหรือ ?

เมลาโทนินหลั่งในรอบ 24 ชั่วโมงอย่างไร

การหลั่งของเมลาโทนินในรอบประมาณ 24 ชั่วโมง (circadian rhythm) ของคนวัยเจริญพันธุ์ ในเวลากลางคืนจะมีการสร้างเมลาโทนินมาก โดยจะเริ่มสร้างตั้งแต่เวลา 2100-22.00 น. และมีการสร้างมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับสูงสุดเวลา 02.00-04.00น. คือประมาณ 60-70 พิโคกรัมต่อมิลลิเมตรของพลาสมา (1 พิโคเท่ากับ 10 -12) แล้วจะลดลงเรื่อยๆจนกระทั่ง 07.00-08.00น.ถึงหยุดสร้าง ซึ่งจะเหลือค่าต่ำสุดประมาณ 7 พิโคกรัมต่อมิลลิเมตร

จริงหรือไม่ เมลาโทนินชะลอความชราได้ ?

ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะได้รับเมลาโทนินผ่านทางรกของมารดา แต่เมื่อทารกกำเนิดต่อมไพเนียลของทารกต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงจะเจริญจนผลิตฮอร์โมนได้และจะผลิตเพิ่มได้สูงสุดเมื่ออายุประมาณ 1ปีและจะสูงในระดับนี้จนอายุประมาณ 5-6 ปีหลังจากนั้น จะลดต่ำลง โดยเฉพาะในวัยรุ่นเมลาโทนินจะลดลงมาก เมื่ออายุ 70-80 ปีอาจวัดไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ การวิจัยที่พบว่า ในวัยรุ่นที่มีเมลาโทนินสูง จะเป็นหนุ่ม สาวช้ากว่ากำหนด

ดังนั้นจะเห็นว่าเมื่ออายุมากขึ้นทั้งระดับเมลาโทนินและฮอร์โมนอื่นจะลดน้อยลง เช่น เทสโทสเทอโรน อีสโทรเจน โพรเจสเทอโรน และโกรทฮอร์โมน ทำให้นักวิจัยสนใจว่า ถ้าให้ฮอร์โมนเหล่านี้ และเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนเสริม จะสามารถชะลอการชราภาพได้หรือไม่ ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยของนักวิจัยหลายท่านสนับสนุนความเห็นนี้

นอกจากหน้าที่ในการปรับร่างกายให้รับรู้เวลากลางวันกลางคืนในรอบ 24 ชั่วโมงแล้ว เมลาโทนินยังทำหน้าที่อื่นดังนี้

1. การพัฒนาระบบอวัยวะสืบพันธุ์ มีบางคนเชื่อว่าเมลาโทนินมีผลต่อการสร้างโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่งฮอร์โมน (GnRH) แม้ว่ายังไม่มี ข้อสรุปชัดเจน เกี่ยวข้องกับขบวนการหลั่งของเมลาโทนิน แต่มีความเชื่อว่าน่าจะระงับการหลั่ง โกนาโดโทปิน รีลิสซิ่งฮอร์โมนจาก ไฮโพทาลามัส และควบคุมการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ โดยจะมีการยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเพศ เช่นในช่วงที่มีฤดูหนาวที่มีกลางคืนยาวนาน ผู้หญิงชาวเอสกิโมจะไม่มีประจำเดือน และถ้ามีฮอร์โมนนี้มากจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้ากว่าที่ควร ในผู้ชายจะมีอัณฑะขนาดเล็กลงได้

2. ส่งเสริมการนอนหลับและกิจกรรมต่างๆ ใช้ในการรักษาผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ (sleep disorder) เช่น ผู้ทำงานเป็นกะ (shift workers ) หรือผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ (elderly insomnia) แก้ไขการหลงเวลาจากการเดินทางโดยเครื่องบิน (jet lag) เมื่อไปในประเทศที่เวลาไม่เหมือนกัน เช่นเมื่อเดินทางจากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาที่เวลาห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง จะทำให้เวลากลางวันและกลางคืนกลับกัน ซึ่งจะทำให้นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะได้ ถ้าได้รับฮอร์โมนเมลาโทนินจะทำให้ปัญหาเหล่านี้หายไปหรือน้อยลง

3. การรักษาโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์ มีงานวิจัยหาความสัมพันธ์ระหว่างเมลาโทนินและภาวะซึมเศร้า พบว่าในประเทศที่มีฤดูหนาวที่ยาวนาน อากาศสลัวๆ ซึ่งเมลาโทนินหลั่งมากขึ้นจะมีผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามากกว่า และเป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมเราจึงรู้สึกสดชื่นในวันที่ท้องฟ้าสดใส มากกว่าในช่วงที่มีอากาศสลัวๆ ของช่วงฤดูหนาว

4. ชะลอการชราภาพ มีบางรายงานกล่าวถึงเมลาโทนินซึ่งตัวต้านออกซิเดชัน(antioxidation)ซึ่ง เป็นสารที่ป้องกันไม่ให้ เซลล์ในร่างกาย ถูกทำลายจากสารที่เป็นอนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งมักจะไปทำปฏิกิริยาเป็นลูกโซ่และทำลายเซลล์อื่นได้มาก ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่นมะเร็ง หลอดเลือดหัวใจขาดเลือด ซึ่งถ้ามีอนุมูลอิสระที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมมาก จะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ต่อเยื่อบุผิวเซลล์ หรืออาจเข้าไปในนิวเคลียส ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัว หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้เกิดการชราภาพของเซลล์ เมลาโทนินจะไปจับหรือกำจัดอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ดีและปกป้องเซลล์จากการทำลายของไขมันในเยื่อหุ้มเซลล์ได้ด้วย ทำให้ชะลอการชราภาพได้ และมีรายงานว่าสามารถนำมาใช้ฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ได้ดี

ถ้ามีมากเกินไปจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตอวัยวะสืบพันธุ์ เนื่องจากพบว่า เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเมลาโทนินจะลดน้อยลง

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีอาการซึมเศร้าจะมีฮอร์โมนนี้มากกว่าคนปกติ จากการวิจัยพบว่าในประเทศแถบสเกนดิเนเวีย ที่ในฤดูหนาวมีเวลา กลางคืนยาวนานมาก จะมีผู้มีอาการซึมเศร้ามากขึ้น

Resource : www.promma.ac.th/special_science

ในระยะนี้ มีผู้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ "Melatonin" เข้ามายังส่วนวิชาการและข้อมูลกันมาก อาทิเช่น
"Melatonin สามารถช่วยเพิ่มความจำได้หรือไม่ ?" ......... "Melatonin สามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้
จริงหรือ ?"......... ลองอ่านบทความเกี่ยวกับ Melatonin ที่ผู้เขียนสืบค้นมาจาก "สื่อมหัศจรรย์ Internet"
ดูซิคะว่าจะสามารตอบปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่

Melatonin เป็นฮอร์โมนหลักที่สร้างจาก pineal gland ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาสมดุลของระดับ endocrine hormone, immune system integrity และ circadian rhythm (daily metabolic balance) ขณะนี้มีการนำ melatonin มาศึกษาในการใช้ป้องกันอาการ jet-lag, seasonal affective disorder (SAD), depression และมะเร็ง

นอกจากนี้ยังพบว่าฮอร์โมนที่สกัดจาก pineal gland ประเภท polypeptide นี้มีแนวโน้มที่จะนำมาใช้ได้ในการ
ยับยั้งการเกิด atherosclerosis, สามารถลดระดับ triglyceride ในเลือด, ปรับปรุงภูมิคุ้มกันของเซลล์ และทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น (ในสัตว์ทดลอง)
Pineal Gland ทำหน้าที่เปรียบเสมือนนาฬิกาชีวิตในร่างกาย (biological clock) โดย pineal gland จะผลิต สาร melatonin ออกมาในเวลากลางคืน ระดับ melatonin ในกระแสโลหิตจะค่อยๆ สูงขึ้นจนถึงระดับสูงสุด ในเวลาประมาณตี 2 สำหรับวัยหนุ่ม-สาว ส่วนผู้สูงอายุ ระดับ melatonin ในกระแสโลหิตจะขึ้นสูงสุดในเวลา ประมาณตี 3 และพบว่า ปริมาณ melatonin สูงสุดที่หลั่งออกมาในกระแสโลหิตของผู้สูงอายุจะมีเพียงครึ่งหนึ่งของวัยหนุ่มสาว
ในเวลากลางวันระดับ melatonin จะลดลงต่ำ และเมื่อถึงเวลาค่ำ pineal gland ก็จะเริ่มหลั่งสาร melatonin ออกมาเรื่อยๆ จนถึงระดับสูงสุด หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ลดลงจนถึงระดับต่ำในตอนเช้า ระดับของ melatonin ในกระแสโลหิต จะมีผลต่อการทำงานเกี่ยวกับ neuroendocrine ดังนั้น หากความเข้มข้นหรือระยะเวลาในการหลั่ง melatonin ผิดปกติไป เช่น อาจเนื่องจากอายุ ความเครียด หรือ jet-lag จะส่งผลถึง physiological และ mental functions physiological และ mental functions ของร่างกาย

Melatonin for Jet-lag

Jet-lag เป็นอาการที่เกิดเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานของร่างกาย ซึ่งมักเกิดจากการเดินทางโดยเครื่องบินข้าม time zones ระหว่างโซนตะวันออก-ตะวันตก
ลักษณะอาการ jet-lag ได้แก่ มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ มึนงง และมีระดับภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ซึ่งอาการเหล่านี้จะกลับสู่สภาพปกติได้ในระยะเวลาตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ขึ้นกับระยะทางที่เดินทาง และอายุ (พบว่าผู้สูงอายุจะใช้เวลา ในการปรับตัว มากกว่าวัยหนุ่ม-สาว) นอกจากนี้ ลักษณะอาการ jet-lag ที่กล่าวข้างต้น ยังอาจเกิดได้กับคนที่ทำงานในเวลากลางคืน เช่น แพทย์ เภสัชกร หรือทหารที่อยู่เวรในเวลากลางคืน ซึ่งจะเรียกอาการที่เกิดขึ้นนี้ว่า "artificial jet-lag syndromes" ภายหลังจากการเดินทางข้าม time zones การรับประทาน melatonin ในเวลาตอนเย็นของสถานที่ที่เดินทางไปถึง จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวให้เข้ากับเวลาของสถานที่ใหม่และป้องกันการเกิดอาการ jet-lag ได้มีการทดลองในอาสาสมัคร 17 คน ซึ่งเดินทางโดยเครื่องบินจาก San Francisco ไป London (เวลาต่างกัน 8 time zones) โดยให้อาสาสมัคร 8 คน รับประทาน melatonin 5 mg. ส่วนอาสาสมัครอีก 9 คน รับประทานยาหลอก ปรากฏว่าอาสาสมัครทั้ง 8 คน ที่รับประทาน melatonin ไม่มีอาการ jet-lag และมีระดับ jet-lag scale ต่ำกว่า 17 ขณะที่อาสาสมัคร 6 ใน 9 คน ที่รับประทานยาหลอก มีระดับ jet-lag scale สูงกว่า 50 (Arendt, et
al., 1986) และมีการทดลองโดย Claustrat (ค.ศ. 1992) พบว่าผู้ที่ได้รับ melatonin ก่อนนอน ภายหลังจากการเดินทาง จะนอนหลับได้ดี และตื่นขึ้นในวันรุ่งขึ้นด้วยความสดชื่นและไม่มีอาการ jet-lag
นอกจากนี้ยังพบว่า การรับประทาน melatonin ก่อนนอนในคนทั่วไปที่ไม่ได้มีปัญหาจากการปรับตัว ของร่างกาย (circadian disturbance) ก็ยังช่วยให้นอนหลับได้สนิทขึ้นและสามารถทำงานในวันรุ่งขึ้นด้วย ความกระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น และพบว่า melatonin จะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด เมื่อรับประทานในเวลาก่อนนอน

Dose Melatonin Improve or Impair Mental Performance ?

มีรายงานเกี่ยวกับ adverse effects ของ melatonin ในการทำให้เกิดอาการเฉื่อยชา (less alert and more sleepy) และ ทำให้ความจำเลวลง ซึ่งเมื่อได้ศึกษารายละเอียดของรายงานเหล่านั้นจะพบว่าเวลาที่ให้อาสาสมัครรับประทาน melatonin เป็นเวลากลางวัน ดังนั้น จะเห็นว่าเวลาในการรับประทาน melatonin มีผลอย่างมาก
สำหรับการออกฤทธิ์ของมัน กล่าวคือ หากรับประทาน melatonin ในเวลาที่สวนทางกับการปลดปล่อย melatonin ตามธรรมชาติแล้ว จะก่อให้เกิดอาการคล้ายคลึง กับอาการ jet-lag หรือทำให้เกิดอาการหลงลืมได้
ในทางตรงกันข้าม หากให้ melatonin ในเวลาเดียวกันกับการหลั่ง melatonin ตามธรรมชาติ มันจะออกฤทธิ์ ในทางช่วยเพิ่ม mental performance

Melatonin Extends Lifespan

มีการทดลองให้ melatonin แก่หนูทุกเย็น พบว่า หนูที่ได้รับ melatonin จะมีสุขภาพดีกว่า และมีอายุโดยเฉลี่ยยาวกว่าหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับ melatonin ถึง 20% นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่า ระดับของ melatonin ในกระแสโลหิตที่หลั่งโดยธรรมชาติจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอายุ โดยเมื่ออายุสูงขึ้น ระดับ melatonin จะลดลงเรื่อยๆ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีอาการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน และรู้สึกอ่อนเพลียในเวลากลางวัน ซึ่งการรับประทาน melatonin ในเวลาก่อนนอนจะช่วยแก้ไข อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้

Melatonin for Cancer Treatment

ในประเทศอังกฤษ มีการศึกษาการให้ melatonin ในคนไข้โรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ จำนวน 14 คน สรุปได้ว่า melatonin มีแนวโน้มที่จะยับยั้งการเจริญ ของเนื้อร้าย และช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
นอกจากนี้การที่ melatonin มีผลกับระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงจะมีการศึกษาการให้ melatomin ร่วมกับยาต้านมะเร็งตัวอื่นๆ อีกต่อไป

Dosage

Dr. Piperpaoli นักวิจัยที่ทดลองเกี่ยวกับ Melatonin พบว่า dose ที่ใช้ได้ผลสำหรับ melatonin มีตั้งแต่ 0.1 ถึง 200 mg ขึ้นกับแต่ละบุคคล ดังนั้น จึงมีคำแนะนำว่า แต่ละบุคคลควรปรับ dose ที่เหมาะสมสำหรับตนเอง โดยควรเริ่มรับประทานครั้งแรก 3 mg ในเวลา 5 ทุ่ม และถ้าพบว่า dose ขนาดนี้ทำให้หลับได้ดี แต่เมื่อตื่นเช้าจะมีอาการมึนงง ก็ควรลด dose ลงครึ่งหนึ่ง ในทางกลับกัน ถ้าพบว่า dose 3 mg ไม่สามารถทำให้หลับได้ดี ก็ให้เพิ่มปริมาณของ melatonin อีกคืนละ 3 mg จนกว่าจะได้ผลดีในการนอนหลับ จากรายงานการใช้ melatonin พบว่าบางคนใช้ได้ผลดีใน dose น้อยกว่า 1 mg ขณะที่อีกหลายคนต้องใช้ใน dose ถึง 20 mg แต่โดยทั่วไปแล้วพบว่า dose ที่ให้ผลดีที่สุดอยู่ในระหว่าง 3 ถึง 10 mg

Precautions

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า เวลาในการรับประทาน melatonin มีผลอย่างมากกับการออกฤทธิ์ของ melatonin
นอกจากนี้ ความแตกต่างของแต่ละบุคคลก็มีผลต่อ dose และเวลาที่รับประทาน melatonin อย่างมาก มีการทดลองโดย Dr. Tzischinsky (Israel 1992) ในผู้ชายตาบอดอายุ 18 ปี ซึ่งทุกข์ทรมานจากการอ่อนเพลียและ งีบหลับในเวลากลางวัน แต่กลับตื่นในเวลากลางคืนหลังจากที่ชายผู้นี้ได้รับประทาน melatonin ใน ขนาด 5 mg และ 10 mg ก่อนนอน (5ทุ่ม - 5ทุ่มครึ่ง) ปรากฏว่าอาการต่างๆ ยังไม่ดีขึ้น Dr.Tzischinsky ได้ทดลองเปลี่ยนการให้ melatonin เป็น 5 mg เวลา 2 ทุ่ม เป็นเวลา 3 อาทิตย์ ปรากฏว่าได้ผลดีอย่างมาก และสามารถแก้ปัญหาของชายผู้นี้ลงได้ จาก case ที่เกิดขึ้นนี้แสดงให้เห็นชัดถึงความสำคัญของทั้ง dose และเวลาที่รับประทาน melatonin

Melatonin Product

ขณะนี้ Melatonin จัดเป็น supplements ที่ขายดีที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการโฆษณาว่าสามารถช่วยให้นอนหลับ และทำให้อายุยืนยาวขึ้น โดยอาศัยกลไกทางธรรมชาติ ดังนั้น จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือฤทธิ์ข้างเคียง ผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายมีทั้งที่อยู่ในรูป melatonin เดี่ยวๆ และที่ผสมกับ vitamin B-6.