ทักษะชีวิต (Life skills)
การเรียนรู้ทักษะชีวิต
ทักษะชีวิต (Life skills) หมายถึงทักษะที่มนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องมีและต้องใช้ใน ชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยให้ตนเองมีความสุข สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และประสบความสำเร็จ ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มีอยู่ 2 อย่างคือ ทักษะทั่วไป (Generic Skills) กับ ทักษะวิชาชีพ (Profession Skills) ทักษะทั่วไปเป็นทักษะที่มนุษย์ต้องใช้ทุกวันเพื่อการมีชีวิตอยู่ แต่ทักษะวิชาชีพเป็นทักษะ ที่มนุษย์จำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการหาเลี้ยงชีพ
ในอดีต มนุษย์ยังไม่เห็นความสำคัญของทักษะวิชาชีพเท่าใดนักเนื่องจาก ประชากรยังมีน้อย การแข่งขันในการทำงานก็ไม่มากนัก แต่ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา โลกของการทำงานและโครงสร้างของงานได้เปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ เกิดโลกาภิวัตน์ทางด้านการค้าและอุตสาหกรรม (Globalization of commerce and industry) และมีการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในการทำงานมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้คนงานที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศและด้านเทคโนโลยีประสบปัญหาในการทำงาน บางคนต้องออกจากงาน เพราะเหตุนี้จึงทำให้สถานศึกษาต่าง ๆ ต้องปรับปรุงหลักสูตรและรายวิชาในโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและความเชี่ยวชาญในสาขาที่จะออกไปประกอบอาชีพ
ทักษะชีวิตเพื่อความสำเร็จในอาชีพ (Life Skills for Vocational Success)
- ทักษะทางสังคม (Social Skills) ซึ่งได้แก่
1.1 ทักษะในการติดต่อสื่อสาร (Communication skills)
- การจัดการกับความโกรธ (Anger management)
- การจัดการกับความขัดแย้ง (Conflict resolution)
- การผูกมิตร (Make friends)
- การสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Get along with co-workers)
- ทักษะในการใช้เวลาว่าง (Leisure skills)
2. ทักษะในการตัดสินใจ (Decision-making skills) และการแก้ไขปัญหา (Solving problem)
3. ความสามารถในการทำงาน (Employability) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้
- การจัดการเรื่องเวลา (Time management)
- การเริ่มต้นงานในวันแรกของการทำงาน (first day on the job)
- การแต่งกายได้เหมาะสม (Proper attire)
- ทักษะทางสังคมในสถานที่ทำงาน (Social skills in the workplace)
- การวางตัวในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม (Acting appropriately on the job)
- พฤติกรรมทางเพศในสถานที่ทำงาน (Sexual behavior in the workplace)
- ผลงานและคุณภาพในการทำงาน (Productivity and quality on the job)
- การมีเจตคติที่ดี (Good attitude)
- การปรับตัวให้พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง (Adapt to change)
- ความปลอดภัยในการทำงาน (Safety on the job)
- การปฏิบัติงานตามสายงาน (Following chain of command)
4. การบริหารการเงิน (Money management)
4.1 การขอความช่วยเหลือด้านการเงิน
4.2 สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงาน (Benefits of the job)
4.3 การใช้บริการของธนาคาร (Using bank services)
4.4 ความเชื่อถือทางด้านการเงิน (Credit)
4.5 การทำงบประมาณ (Creating a budget)
4.6 วิธีเก็บรักษาเงินของตนเอง (How to protect your money)
4.7 ปัญหาหนี้สิน (Problems with debt)
4.8 เปรียบเทียบการไปซื้อของ (Comparative shopping)
4.9 การจ่ายใบเสร็จ (Paying bills)
5. การเดินทางไปทำงาน (Transportation)
- การเดินทางโดยรถประจำทาง
- การให้ความไว้ใจแก่คนที่รู้จักเพื่อการเดินทาง
- การเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัว
6. สุขภาพ (Health)
6.1 การออกกำลังกาย (Physical fitness)
6.2 โภชนาการ (Nutrition)
6.3 การจัดการกับความเครียด (Stress management)
6.4 การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำลายตนเอง (Avoid destructive behaviors)
6.5 การไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ได้ถูกต้อง (Seek and follow appropriate
medical advice)
6.6 การสร้างสุขนิสัยที่ดี (Adopt Good personal health habits)
6.7 การหลีกเลี่ยงโรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases)
6.8 การใช้วันลาป่วยอย่างฉลาด (Using sick time benefits wisely)
7. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว (Family responsibilities)
7.1 การตั้งครรภ์ (Pregnancy)
7.2 การเลี้ยงดูเด็ก (Child care)
7.4 เรื่องอื่น ๆ ในครอบครัว (Other family issues)
8. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย (Basic understanding of the law)
8.1 การกระทำผิดด้านอาชญากรรม (Criminal violation)
8.2 กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Laws related to the workplace)
8.3 การเล่าประวัติด้านอาชญากรรมให้นายจ้างทราบ (Explaining a criminal history to employers)
8.4 การจ้างนิติกร (Hiring a lawyer)
9. ทักษะการใช้โทรศัพท์ (Telephone skills)
9.1 การค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ (Finding phone numbers)
9.2 การสอบถามข้อมูล (Asking information)
9.3 งานที่ต้องอาศัยทักษะการใช้โทรศัพท์ (Work related telephone skills)
9.4 การใช้โทรศัพท์ทางไกล (Making long-distance phone calls)
ทักษะชีวิต หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการจัดการกับปัญหาและสิ่งท้าทายต่างๆรอบตัวอย่างเหมาะสม ทักษะชีวิตมีความสำคัญในการตัดสินใจ ในการสื่อสารเพื่อการปฏิเสธ คัดค้าน การเจรจาต่อรอง การสื่อสารเพื่อรักษาจุดยืนของตัวเอง โดยเสนอแนวทางที่ดีกว่าและรู้จักหาเหตุผลโน้มน้าวให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างละมุนละม่อม
องค์ประกอบของทักษะชีวิต ทักษะชีวิตพื้นฐานหรือทักษะชีวิตหลักโดยภาพรวมมี 10 ประการ คือ
- การตัดสินใจ (Decision making) กระบวนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
* ขั้นการวิเคราะห์สถานการณ์
* ขั้นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
* ขั้นการวิเคราะห์ทางเลือก
* ขั้นการเปรียบเทียบทางเลือก
* ขั้นการตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด - การแก้ปัญหา (Problem Solving) ใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)
- ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking)
- การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication)
- ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (Interpersonal relationship)
- ความตระหนักในตนเอง (Self awareness)
- ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy)
- การจัดเก็บอารมณ์ (Coping with emotion )
- การจัดการความเครียด (Coping with Strest)
การประยุกต์ใช้ทักษะชีวิต
การประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตที่สำคัญ โดยเฉพาะในเยาวชน มี 3 ระยะ
1. การเตรียมความรู้ความเข้าใจ(Cognitive Preparation) เป็นการให้เหตุผลเพื่อชักชวนและจูงใจให้เข้าร่วมโปรแกรม
2. ความจำเป็นของทักษะชีวิต (Skill Acquisition) เป็นการสาธิตและยกตัวอย่างของการนำทักษะชีวิตไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3. การฝึกปฏิบัติทักษะชีวิต(Practice of Skill) เช่นการแสดงบทบาทสมมุติ
ทักษะชีวิต ในความหมายของ ครูสมใจ ปราบพล (ครูต้นแบบปี 2542) ..ได้ยกคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (WHO)
หมายถึง พฤติกรรมการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ ..
1. ด้านพุทธิพิสัย ประกอบด้วย
· ทักษะด้านความคิด วิเคราะห์วิจารณ์ (Critical Thinking)
คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล ข่าวสาร ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ รอบตัว
· ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
คือ ความสามารถในการคิดออกไปอย่างกว้างขวางโดยไม่ยึดติดอยู่ในกรอบ
2. ด้านจิตพิสัย ประกอบด้วย
· ทักษะด้านความตระหนักรู้ในตน (Self-awareness)
คือ ความสามารถในการค้นหาและเข้าใจในจุดดี จุดด้อยของตนเอง เข้าใจเรื่องธรรมชาติของความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ว่าจะในแง่ความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา สีผิว สุขภาพ หรือท้องถิ่น
· ทักษะด้านความเห็นใจผู้อื่น (Empathy)
คือ ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึก และเห็นอกเห็นใจบุคคลที่แตกต่างจากเรา ไม่ว่าในด้านเพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ฯลฯ
· ทักษะด้านความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem)
คือ ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
· ทักษะด้านความมีน้ำใจ รู้จักให้ รู้จักรับ ค้นพบและภูมิใจในความสามารถต่างๆ
เช่น สังคม ดนตรี กีฬา และศิลป์ ของตนเอง โดยมิได้สนใจอยู่กับรูปร่างหน้าตา เสน่ห์ หรือความสามารถทางเพศ หรือการเรียนเก่ง เท่านั้น
· ทักษะด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Social-responsibility)
คือ ความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
3. ด้านทักษะพิสัย
· ทักษะด้านการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร (Interpersonal relationship and Communication skill)
คือ ความสามารถในการใช้คำพูด และภาษาท่าทางเพื่อการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตนเอง และความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแสดงความต้องการ ความชื่นชม การปฏิเสธ การสร้างสัมพันธภาพ
· ทักษะการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา (Decision making and Problem solving)
คือ ความสามารถในการรับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา การหาทางเลือก วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก การประเมินทางเลือก นำไปสู่การตัดสินใจเลือกทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
· ทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด
คือ ความสามารถในการประเมินอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของตน นำไปสู่การเลือกใช้วิธีการจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการระบุสาเหตุของความเครียดของตน เรียนรู้วิธีการควบคุมระดับความเครียด รู้วิธีผ่อนคลาย สามารถหลีกเลี่ยงสาเหตุและเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่พึงประสงค์