ออกกำลังสมอง

คุณก็อยากมีอาการหัวใส ตอนทำงานได้ทุกครั้งใช่ใหมคะ ? ไม่ยากค่ะ คุณสามารถทำให้ สมองไหลลื่นไปได้ด้วยการบริหารและออกกำลังสมอง หรือ Brain Gym ซึ่งคิดค้นพัฒนาขึ้นในช่วง 20 ปีมานี้โดย ดร. พอล เดนนิสัน แห่ง Educational Kinesiology Foundation ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อช่วยให้สมองทั้งด้านซ้ายและสมองด้านขวาทำงานประสานกันได้ดี

ในช่วงแรก ดร. พอล คิดค้นวิธีการนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยคนตาบอดและผู้ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ แต่แล้วก็พบว่า ไม่แต่คนตาบอดเท่านั้น ที่จะได้ประโยชน์ การรวบรวมพลังสมองให้ทำงานเป็นหน่วยเดียวกัน จะช่วยพัฒนาการทำงานตลอดจนกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย ด้วยการลดความกดดันและความเครียดอีกด้วย เหมาะกับสาวๆ ทำงานเลย แต่ก่อนที่จะไปออกกำลังกายสมอง หรือ Brain Gym นั้น มาศึกษากันสักนิดนะคะ ว่าการทำงานของสมองคนเรานั้น.. เป็นอย่างไร

สมองของคนเราแบ่งได้เป็น 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวา โดยมีกลุ่มไฟเบอร์เชื่อมสมองทั้ง 2 ซีกเข้าด้วยกัน ในคนส่วนมาก 1.สมองข้างซ้าย ควบคุมการทำงานของดวงตาข้างขวา แขน หู และขาข้างขวา อันเป็นข้างที่สามารถ ขบคิด ถึงเหตุและผล ได้ดีที่สุด สมองซีกซ้ายนี้เอง มีความสามารถทาง ด้านการคำนวณ ความชำนาญด้านภาษา การฟังและความเข้าใจ 2.ส่วนสมองซึกขวา จะเป็นแหล่งของจินตนาการ อารมณ์ ความรู้สึก สัญชาติญาณและ ลางสังหรณ์ ความสามารถทางด้านศิลปะ และ บ่อเกิดของความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ดังนั้น ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่คุณอ่านรายงาน สมองซีกซ้ายของคุณก็จะทำหน้าที่ ถอดความหมายคำพูด ในระหว่างที่สมองซีกขวา จะรวบรวมความคิดเข้าไว้ด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเราเหนื่อยหรือเครียด สมองจะทำงานได้เพียงข้างเดียวเท่านั้น ความสามารถในการใช้สมาธิจึงลดลง และ เราก็จะไม่สามารถ รวบรวมความคิด หรือ พูดอธิบายอะไรออกไปได้ อย่างชัดเจน รวมทั้งไม่สามารถที่จะคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้ เช่น ถ้าหากสมองข้างที่ทำหน้าที่รวบรวมเหตุผลของ เราถูกปิด ( ก็คือสมองซีกซ้าย )

เราอาจจะยังอ่านข้อความบนหน้ากระดาษได้ แต่ก็จะไม่สามารถอธิบายความหมายของข้อความนั้นได้เต็มที่นัก หรือไม่ก็ อาจจะตะกุกตะกัก ติดขัด อยู่กับอารมณ์หรือ ความรู้สึกยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ และไม่สามารถคิดใคร่ครวญหรือแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เพราะเหตุนี้เอง การแก้ไขปัญหา ความอ่อนล้าของสมองที่เกิดขึ้นกับคุณ ด้วยการบริหารสมอง จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย เพราะเมื่อใดที่สมองของเรา ทำงานประสานกันได้ดี ก็จะส่งผลให้เราสงบนิ่ง และ ติดต่อสื่อสาร รวมทั้งประเมินสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักเหตุผลดีขึ้น ความสามารถในการรับรู้ความคิดเห็นของผู้อื่นก็ จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

เมื่อใด ที่คุณพบว่าคุณเกิดอาการ คิดอะไรไม่ออก หัวปั่น และว้าวุ่นกับการทำอะไร ให้เสร็จเรียบร้อย ล่ะก็ ลองฝึก Brain Gym ดูสิคะ ..การฝึกก็มีดังต่อไปนี้

  1. น้ำเปล่าใสปิ๊ง หล่อเลี้ยงสมองให้สดใส วางขวดน้ำไว้ประจำโต๊ะ สำหรับคอยจิบทีละน้อย วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจและร่างกายคุณตื่นตัวตลอดเวลา และสมองก็จะเปิดว่าง สามารถรับข่าวสาร และข้อมูลได้ดี เพราะน้ำช่วยปรับสารเคมีที่สำคัญในสมอง และ ระบบประสาท และเวลาที่เรารู้สึกเคร่งเครียด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ร่างกายของเรา ขาดน้ำ เราจึงควรจิบน้ำเปล่า อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงระบบของร่างกาย
  2. บริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ ใช้มือซ้ายจับไหล่ขวา บีบกล้ามเนื้อให้แน่น พร้อมกับหายใจเข้า ลำดับต่อไป ให้หายใจออก และ หันศีรษะไปทางซ้าย จนกระทั่งคุณสามารถมองข้ามไหล่ซ้ายของตัวเองไปได้ จากนั้น ให้สูดลมหายใจลึกๆ วางแขนซ้าย ลงบนไหล่ขวา พร้อมกับห่อไหล่ ค่อยๆ หันศีรษะกลับ ไปตรงกลาง และเลยไปด้านขวา จนกระทั่งคุณสามารถมองข้ามไหล่ขวาของตัวคุณเองได้ ยืดไหล่ทั้ง 2 ข้างออก ก้มคางลง จรดหน้าอก พร้อมกับ สูดหายใจลึกๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อของคุณ ได้ ผ่อนคลาย เปลี่ยนมาใช้มือขวาจับไหล่ซ้ายบ้าง และทำซ้ำกัน ข้างละ 2 ครั้ง วิธีบริหารแบบนี้ จะช่วยกระตุ้นความชำนาญด้านการฟังและการได้ยิน โดยการเหยียดกล้ามเนื้อ ตรงส่วนลำคอและไหล่ทั้ง 2 ข้าง เพราะกล้ามเนื้อ ดังกล่าวเชื่อมต่อกับเส้นประสาทในสมองที่ควบคุมหู และ ดวงตาทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ ยังช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ อันเกิดจากการนั่ง ทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานานอีกด้วย
  3. บริหารขาสวย ส่งผลดีต่อสมอง ยืนตรงให้เท้าชิดกัน ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง โดยยกส้นเท้าขึ้น งอเข่าขวาเล็กน้อย แล้วโน้ม ไปข้างหน้าเล็กน้อย ก้นของคุณจะอยู่ในแนวเดียวกับส้นเท้าขวา สูดลมหายใจเข้า และ ผ่อนออก ในขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนี้ ค่อยๆ กดส้นเท้าซ้าย ให้วางลงบนพื้นพร้อมกับ งอเข่า ขวาเพิ่มขึ้น หลังเหยียดตรง สูดลมหายใจเข้า แล้วกลับไปตั้งต้นใหม่อีกครั้ง เปลี่ยนจากขาข้าง ซ้ายเป็นขาข้างขวา โดยออกกำลังในท่านี้ทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน การบริหารในท่านี้จะดีสำหรับการปรับปรุงสมาธิ รวมทั้งจะช่วยเพิ่ม อัตราความเร็วในการอ่านหนังสือ และช่วยให้กระบวน การขบคิดข้อมูลดีขึ้น นอกจากนี้ ยังจะช่วยให้กล้ามเนื้อต้นขา และ กล้ามเนื้อน่องผ่อนคลาย ช่วยคลายความตึงเครียดตรงส่วนหลังตลอดทั้งแนว
  4. ขีดๆ เขียนๆ บริหารสมอง เขียนเส้นขยุกขยิก หรือ อะไรก็ได้ลงบนกระดาษ โดยเขียนด้วยมือทั้งสองข้างพร้อมกัน ลายเส้นที่ได้อาจจะดูเพี้ยนๆ แต่ได้ผลดี ต่อระบบสมองมากวิธีนี้จะช่วยปรับปรุง ระบบการประสานงานของสมอง ด้วยการทำให้สมองทั้ง 2 ซีก ทำงานพร้อมกัน ผลดีที่ได้ก็คือทำให้การประสานงานของสมองดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำในเรื่องทิศทาง และทำให้ความชำนาญด้านการสะกดคำ และ คำนวณ ดีและรวดเร็วขึ้นอีกด้วย เสริมสร้างความเป็นทีม ให้กับสมอง วิธีที่ว่า ก็คือการเขียนเลข 8 ในอากาศนั่นเอง อาจจะเขียนด้วยนิ้ว หรือ ด้วยสายตาก็ได้ ถ้าเขียนด้วยนิ้ว ให้ยื่นแขนออกไปข้างหน้า เริ่มเขียนจากด้านซ้ายของเลข 8 โค้งจากข้างบน ลงมา ผ่านกึ่งกลางของตัวเลข เลี้ยวไปทางขวา โค้งลงหาแนวกึ่งกลางอีกครั้ง คราวนี้โค้งวนซ้าย ไปหากึ่งกลาง โค้งขวาไปจรดจุดเริ่มต้น ได้เลข 8 พอดี ทำซ้ำกัน 5 ครั้ง ( สลับแขนคนละข้างด้วย นะจ๊ะ.. ก็บอกแล้วว่า " เสริมสร้างความเป็นทีม " ) วิธีนี้จะช่วยให้ประสิทธิภาพ ในด้านการอ่าน และ การทำความเข้าใจดีขึ้น เพราะเป็นการเชื่อม ต่อการทำงานของสมองด้านซ้ายและด้านขวาให้ประสานกัน ลองทำตามข้อนี้ก่อนการอ่านเอกสาร รายงานใด ๆ จะช่วยให้คุณสามารถจับใจความสำคัญของรายงานนั้นได้เป็นอย่างดี และ จะไม่ทำให้เกิดอาการง่วงง่ายด้วย
  5. นวดใบหู กระตุ้นความเข้าใจ
    นั่งพักสบายๆ แตะปลายนิ้วทั้ง 2 ข้างที่ใบหู เคลื่อนนิ้วไปยังส่วนบนของหู จากนั้นบีบนวด และ คลี่รอยพับของใบหูทั้ง 2 ข้างออก ค่อยๆ เคลื่อนนิ้ว ลงมานวดบริเวณอื่น ๆ ของใบหู ดึงเบาๆ เมื่อถึงติ่งหู ดึงลง ให้ทำซ้ำกัน 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการได้ยิน และ ทำให้ความเข้าใจดีขึ้น เพราะเป็นการคลายเส้นประสาทบริเวณใบหูที่เชื่อมสมอง รวมทั้งยังจะช่วยนวดเยื่อ แก้วหูอีกด้วย นอกจากนี้ การที่ขากรรไกร และ ลิ้น ผ่อนคลาย ยังช่วยปรับปรุง ความชำนาญทาง ด้านการพูดได้มากทีเดียว
  6. นวดจุดเชื่อมสมอง
    วางมือข้างหนึ่งไว้บนสะดือ ส่วนมืออีกข้างหนึ่ง ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ และ นิ้วชี้ วางบนกระดูก หน้าอกบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า ค่อยๆ นวดทั้ง 2 ตำแหน่งประมาณ 10 วินาที วิธีการนี้จะช่วยลดความงง หรือความสับสน และกระตุ้นพลังงาน ช่วยให้มีความคิดแจ่มใส
  7. กดจุด คลายเครียด ใช้นิ้ว 2 นิ้วกดลงบนหน้าผากทั้ง 2 ด้าน ประมาณกึ่งกลางระหว่างขนคิ้ว และ ตีนผม กดค้างไว้ประมาณ 3 - 10 นาที วิธีนี้จะช่วยคลายความตึงเครียด และ เพิ่มการหมุนเวียนโลหิตเข้าสู่สมองลองให้เวลากับตัวเองสัก 10-20 นาที กับการบริหารสมองดูบ้างนะคะ บางทีผลที่คุณได้รับ อาจจะทำให้คุณแปลกใจไปเลย

Resource : นิตยสาร ผู้หญิงวันนี้

การบริหารสมองนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มท่า คือ

1. การเคลื่อนไหวสลับข้าง ( Cross Over Movement )
เป็นท่าที่ช่วยให้การทำงานของสมองสองซีกถ่ายโยงข้อมูลกันได้ เช่น สมองซีกซ้ายสามารถนำจินตนา การและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จาก สมองซีกขวามาใช้ช่วยในการอ่าน เขียน และช่วยให้กล้ามเนื้อ ทำงาน ประสานกันได้ดี การให้เด็กทำท่าเหล่านี้ จะทำให้ทราบว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องการทำงาน ประสานกันของตามือ และเท้าหรือไม่ หากพบจะได้ช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงที
1.1 ยกขาขวางอให้ตั้งฉากกับพื้นพร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า คว่ำมือลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว ตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้น แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ที่ด้านหน้า พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำเช่นเดียวกัน
1.2 ก้าวเท้าขวาวางหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปด้านหน้า มือคว่ำลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว ตรงข้ามกับขาที่ก้าวออกไป แกว่งแขนทั้งสองข้างกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับชักเท้าขวาวางที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนเท้า ทำเช่นเดียวกัน
1.3 ยกขาขวางอไปด้านหลัง พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า มือคว่ำลง แกว่งแขนทั้งสอง ไปด้านข้างลำตัวตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้น ให้มือซ้ายแตะส้นเท้าขวา แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำซ้ำ เช่นเดียวกัน
1.4 วิ่งเหยาะๆ อยู่กับที่ช้าๆ
1.5 นั่งชันเข่า มือสองข้างประสานกันที่ท้ายทอย เอียงข้อศอกซ้ายแตะที่หัวเข่าขวา ยกข้อศอกซ้ายกลับ ไปที่เดิม เปลี่ยนเป็นเอียงข้อศอกขวา ทำเช่นเดียวกัน
1.6 กำมือซ้ายขวาไขว้กันระดับหน้าอก กางแขนทั้งสองข้างออกห่างกันเป็นวงกลมแล้วเอามือกลับมา ไขว้กันเหมือนเดิม
1.7 กำมือสองข้าง ยื่นแขนตรงไปข้างหน้า ให้แขนคู่กัน เคลื่อนแขนทั้งสองข้างพร้อมๆกัน หมุนเป็นวงกลมสองวงต่อกันคล้ายเลข 8 ในแนวนอน
1.8 ยื่นแขนขวาออกไปข้างหน้า กำมือชูนิ้วโป่งขึ้น ตามองที่นิ้วโป่ง ศีรษะตรงและนิ่ง หมุนแขนเป็น วงกลม 2 วงต่อกันคล้ายเลข 8 ในแนวนอน ขณะหมุนแขนตามองที่นิ้วโป้งตลอดเวลา เปลี่ยนแขน ทำเช่นเดียวกัน

2. การยืดส่วนต่างๆของร่างกาย (Lengthening Movement)
เป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองส่วนหน้าและส่วนหลัง ทำให้มีสมาธิในการเรียนรู้และการทำงาน 2.1 ยืนหันหน้าเข้าผนัง เว้นระยะห่างเล็กน้อย ยกมือสองข้างดันฝาผนัง งอขาขวา ขาซ้ายยืดตรง ยกส้นเท้าขึ้น เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย พร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ วางส้นเท้าลง ตัวตรงหายใจออกช้าๆ งอขาซ้าย ทำเหมือนขาขวา
2.2 ยืนไขว้ขาทั้งสองข้าง ยื่นทรงตัวให้ดี หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ก้มตัวลงไขว้แขน หายใจออกช้าๆ ยืดตัวขึ้น เปลี่ยนขาทำเช่นเดียวกัน
2.3 นั่งไขว่ห้าง กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง พร้อมกับนวดขาช่วงหัวเข่าถึงข้อเท้า เปลี่ยนขาทำเช่นเดียวกัน
2.4 มือขวาจับไหล่ซ้าย พร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ ตามองมือขวา ดึงหัวไหลเข้าหาตัว พร้อมกับหัน หน้าไปทางขวา ทำเสียง " อู " ยาวๆ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน
2.5 ใช้มือทั้งสองข้างทำท่ารูดซิปขึ้น (สุดแขนด้านล่าง แล้วยกขึ้นเหนือศีรษะ) หายใจเข้าช้าๆ ทำท่ารูดซิปลง หายใจออกข้าๆ

3. การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น ( Energizing Movement )
เป็นท่าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระแสประสาท ทำให้เกิดการกระตุ้นความรู้สึกทางอารมณ์ เกิดแรงจูงใจเพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น
3.1 ใช้นิ้วชี้นวดขมับเบาๆ ทั้งสองข้างวนเป็นวงกลม
3.2 จุดตำแหน่งต่างๆ ในร่างกายที่จะกระตุ้นการทำงานของสมอง
3.2.1 ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้วางบริเวณกระดูกคอ ลูบเบาๆ อีกมือวางที่ตำแหน่งสะดือ กวาดตามอง จากซ้ายไปขวา และจากพื้นขึ้นเพดาน เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน
3.2.2 ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางแตะเหนือริมฝีปาก อีกมือวางที่ตำแหน่งกระดูกก้นกบ กวาดตามองจาก พื้นขึ้นเพดาน หายใจเข้า-ออก ช้าๆ ลึกๆ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน
3.2.3 ใช้มือนวดกระดูกหลังใบหูเบาๆ อีกมือวางที่ตำแหน่งสะดือ ตามองตรงไปข้างหน้าไกลๆ จินตนาการวาดรูปวงกลม ด้วยจมูก เปลี่ยนมือ ทำเช่นเดียวกัน
3.2.4 ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางที่ใต้คาง อีกมืออยู่ที่ตำแหน่งสะดือ หายใจเข้า-ออก ช้าๆ ลึกๆ สายตามองจากไกลเข้ามาใกล้เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน
3.3 นวดใบหูด้านนอกเบาๆ ทั้งสองข้าง แล้วใช้มือปิดหูเบาๆ ทำช้าๆ หลายๆครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือ
3.4 ใช้มือทั้งสองเคาะที่ตำแหน่งกระดูกหน้าอก โดยสลับมือกันเคาะเบาๆ

4. ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ ( Useful )
4.1 นั่งบนเก้าอี้ ยกเท้าขวาขึ้นพาดบนขาซ้าย มือกุมฝ่าเท้าขวา หายใจเข้า ออกช้าๆ ลึกๆ 1 นาทีแล้ววางเท้าลงบนพื้นเหมือนเดิม ให้เท้าทั้งสองข้างแตะพื้น กำมือเข้าด้วยกัน แล้วใช้ปลายลิ้นกดที่ฐาน ฟันล่างประมาณ 1 นาที จะเป็นท่าทีมีประสิทธิภาพสูงมาก ช่วยลดความเครียด ความอึดอัด และความคับข้องใจ เปลี่ยนขา ทำซ้ำเช่นเดียวกัน
4.2 กำมือทั้งสองข้าง ยกขึ้นไขว้กันระดับตา ตามองมือที่อยู่ด้านนอก เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน
4.3 วางมือซ้อนกันที่ด้านหน้า หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ คว่ำมือลง หายใจออกช้าๆ แล้ววาดมือออกเป็นวงกลม วางมือไว้ที่เดิม
4.4 ใช้มือทั้งสองปิดตาที่ลืมอยู่เบาๆ ให้สนิท จนมองเห็นเป็นสีดำมืดสนิทสักพัก แล้วค่อยๆ ,เอามือออก เริ่มปิดตาใหม่ ควรจะทำก่อนอ่านหนังสือ
4.5 ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างเคาะเบาๆทั่วศีรษะ จากกลางศีรษะออกมา ด้านขวาและซ้ายพร้อมๆกัน

เรื่อง...นันทิยา ตันศรีเจริญ
สานปฎิรูป พ.ค 2545

9 เทคนิคฝึกสมองไบรท์

โดย วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจาก ม.ฮาร์วาร์ด

ผู้หญิงสมัยนี้ อยากสวย ฉลาด และสุขภาพดี ทุกคนจึงพากันดูแลรูปร่าง ด้วยการออกกำลังกายเคร่งครัด เรื่องอาหารการกิน แต่ไม่เคยมีใครสนใจว่า จะดูแลสมองอย่างไรให้มีสุขภาพดี ทั้งที่สมองเป็นอวัยวะที่ตัดสินใจทุกเรื่องของชีวิต เราจึงควรเอกเซอร์ไซส์สมองให้ไบรท์ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ต่อไปนี้

1. จิบน้ำบ่อย ๆ (Drink water very often) สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมอง ก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยว ซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
2. กินไขมันดี (Enjoy good Omega 3) คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วยปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที (Meditation 12 min a day) หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
4. ใส่ความตั้งใจ (Program the brain: have specific intention) การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ (Laugh and Smile) ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้น ให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ
6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน (Learn new thing everyday) สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และ สร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน (Forgive yourself, reduce brain stress) ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง
8. เขียนบันทึก Graceful Journal (Write graceful journal, good things in life every day) ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มี ครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9. ฝึกหายใจลึก ๆ (Deep breath) สมองใช้ออกชิเจน 20 25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 % การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม

วิธีการฆ่าความคิดและวิธีการส่งเสริมความคิด

เป็นเรื่องง่ายมากที่จะฆ่าความคิดยิ่งกว่าการสนับสนุนความคิด และเปลี่ยนมันให้เป็นทางออก หรือวิธีการแก้ปัญหา อันเป็น ประโยชน์. ให้เราระมัดระวัง อย่าไปทำลายไอเดีย ของผู้คน หรือทำให้พวกเขาหยุด ที่จะบอกอะไรกับเรา และพูดคุยกับ คนอื่นๆเป็น เรื่องยากมากจริงๆ ที่จะรับฟัง เรื่องเกี่ยวกับ ไอเดียความคิดเห็นต่างๆ เมื่อใครบางคน บอกกับเรา เกี่ยวกับ ความคิดอันหนึ่ง ที่เขามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่า ไอเดียอันนั้น ดูเหมือนว่า จะฟังดูโง่ๆ และไม่ทำงาน (ไม่ได้เรื่อง). แต่จำไว้เสมอว่า โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนไม่ปรารถนา ที่จะนำเสนอไอเดียที่เลวๆ ในภาวะปกติ และเราควรจะพยายาม ทำความเข้าใจ เป็นอันดับแรกเลยว่า ทำไมพวกเขาจึงบอกกับเรา เกี่ยวกับความคิดอันนั้น. เป็นไปได้ที่บางสิ่ง บางอย่าง ในไอเดียนั้น จะเป็นประโยชน์กับเรา. และในอีกทางหนึ่ง เราจะมีโอกาสที่จะช่วยเหลือเขาให้เข้าใจว่า ทำไมความคิด อันนั้น มันจึงไม่ทำงาน.

วิธีการหาไอเดีย ด้วยคำพูดของเราเองบางอย่าง

1. ที่เสนอมานั้นมันเป็นความคิดที่ดี, แต่…, (หรือ) ในทางทฤษฎีนั้นมันฟังดูดี, แต่…
2. ในทางปฏิบัติ, ความคิดนั้นมันดูเป็นเรื่องของอนาคตมากเกินไป
3. โอ้...ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการ(ชอบ)มันหรอก
4. ที่เสนอมานั้น ต้นทุนสูงเกินไป (หรือ) ไม่มีงบประมาณแล้ว,บางทีอาจรอไปปีหน้า
5. ไม่ต้องเริ่มต้นอะไรใหม่อีกแล้ว (หรือ) เราโต้เถียงกันมากไปแล้ว
6. ที่พูดมามันต้องศึกษาเพิ่มเติมมากกว่านี้ (หรือ) เรื่องนี้ขอให้เราไปสำรวจมาก่อน
7. อันนี้สวนกันกับนโยบายบริษัท(หรือ องค์กร)ของเรา
8. ที่พูดมานั้น มันไม่ได้เป็นงานในหน้าที่รับผิดชอบของคุณ
9. นั่นมันไม่เป็นปัญหาสำหรับเรา
10. เรื่องนี้ยากมากต่อการจัดการ (หรือ) เราไม่เคยทำแบบนั้นมาก่อนเลย
11. ถ้ามันดีมาก ทำไมจึงไม่มีใครเสนอมันไปแล้วล่ะ
12. ถึงต่อไปข้างหน้า ผู้คนก็จะยังไม่พร้อมสำหรับมันอยู่ดี
13. นั่งลงก่อน พักสักครู่
14. มีใครแล้วบ้างที่พยายามทำมันจนสำเร็จขึ้นมา
15. เราเคยทำมาแล้ว แต่มันไม่ทำงาน(ไม่ได้เรื่อง)

คำพูดต่างๆเหล่านี้ มักจะไปตัดทอนโอกาสในการแสดงความคิดหรือการเสนอไอเดียของคนอื่นๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิดบรรยากาศของการสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ดังนั้น จงตรองดูว่า สิ่งที่จะพูดไปนั้น จะไปตัดทอนความคิดหรือไอเดียของคนอื่นหรือไม่ ?

หนทางที่สนับสนุนไอเดีย

1. ใช่, และ…(พูดสนับสนุน), ดูมันน่าตื่นเต้นและน่าสนใจมาก
2. ฟังและพยายามทำความเข้าใจว่า ทำไมมันจึงถูกนำเสนอ
3. อย่าไปขัดจังหวะ จนกว่าเขาจะเสนอจนจบ, ปล่อยให้พวกเขาก่อรูปไอเดียขึ้นมา
4. นั่นเป็นไอเดียที่ดี หรือประเด็นสำคัญ ข้อคิดเห็นที่เยี่ยม, ว่าต่อ…
5. ยอดมาก, พยายามต่อไป…
6. ต้องการทรัพยากรใดบ้าง ที่ต้องใช้ในการทำมันขึ้นมา
7. ที่เสนอมา เราสามารถทำให้มันทำงานได้อย่างไร ช่วยเล่าให้ฟังต่อหน่อยซิ
8. ให้พยายามและทดสอบมันดู
9. ที่เสนอมานั้น ทำให้มันเป็นแผนในเชิงปฏิบัติเลยได้ไหม ?
10. อะไรที่ผมสามารถช่วยได้สำหรับการทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นมาได้
11. สิ่งที่ฟังดูเป็นเพียงส่วนเล็กๆของไอเดีย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีในสถานการณ์ปัจจุบัน
12. ทำอย่างไร เราจึงจะชักจูงคนอื่นๆให้เชื่อมั่นได้

ข้างต้นนี้หวังว่า เราจะเห็นถึงหนทางต่างๆอันมากมายซึ่งสามารถที่จะช่วยสร้างไอเดียความคิดขึ้นมา. สิ่งเหล่านี้เป็น การส่งเสริม สนับสนุนไอเดียความคิด โดยไม่ต้องกล่าวคำว่าเห็นด้วย หรือว่าเราจะทำมัน เพียงแต่ระมัดระวัง อยู่เสมอสำหรับ ตัวของเราเอง ที่จะเสนอไอเดียอันหนึ่งลงมาเร็วเกินไป โดยไม่เข้าใจเหตุผลในเชิงบวกต่างๆสำหรับการที่มันถูกนำเสนอ

ไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับบรรยากาศในการระดมสมอง

เนื้อที่ส่วนนี้อุทิศให้กับบรรยากาศในการระดมสมองที่ช่วยให้ความคิดใหม่ๆผุดขึ้นมาได้ ทดลองเอาไปปฏิบัติ และดูว่ามัน ทำงาน ไหม หรือไม่ก็ใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการระดมสมองที่เราเคยทำๆกัน

1. ใช้วิดีโอเทปหรือเครื่องบันทึกเสียง(ไม่โจ่งแจ้งเกินไปจนทำให้รู้สึกเกร็ง)เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวต่างๆ เพื่อไม่ให้ไอเดียใด หลุดรอดไปได้.
2. หรี่ไฟลงเพื่อให้บรรยากาศในห้องทำให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายหรือเป็นการพักผ่อน
3. มีตุ๊กตาหรือของเล่นที่น่าสนใจเพื่อกระตุ้นไอเดียและทำให้พวกเรารู้สึกผ่อนคลาย
4. ใช้ห้องที่อยู่นอกสำนักงานที่เราทำงานประจำเพื่อผลที่จะเกิดมาพิเศษใหม่ๆ
5. มีห้องเตียมไว้อีกห้องเพื่อฟื้นความสดใหม่ขึ้นมา และส่งเสริมให้ผู้คนได้พบปะและพูดคุยกันในช่วงพัก
6. ปิดสายโทรศัพท์หรือเคลื่อนย้ายมันออกไปจากห้อง จะได้ไม่มีอะไรมารบกวนหรือทำลายบรรยากาศ
7. ปิดม่านลง หากว่าข้างนอกมันมีสิ่งรบกวนทำให้เขวไปได้
8. เปิดเพลงเบาๆที่กระตุ้นอารมณ์ หรือลองสุ่มเพลงจาก CD สักสองแผ่น
9. จัดให้มีหนังสือพิมพ์เก่า เทปกาว กรรไกร เชือก เพื่อว่าใครที่มีไอเดียจะทดลองสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา ตามที่เขาคิด ให้เป็นรูป เป็นร่าง
10. มีดินสอสี หรือปากกาเมจิกอยู่ทั่วๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้ทันที
11. สร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดการหัวเราะ บรรยากาศแบบเล่นๆ มักก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆอยู่เสมอ
12. ให้ผู้คนยืนบ้างนั่งบ้างตามความสะดวกสบาย หรือถ้าเคยนั่งประชุมก็ยืนประชุม
13. หันหน้าออกนอกกำแพงแทนที่จะหันหน้าเข้าหากำแพง

การสร้างบรรยากศใหม่ๆข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า สไตล์การระดมสมองและเทคนิคดังกล่าว สามารถเปลี่ยนแปลงพลิกแพลงไปได้ เพื่อทำให้มันมีชีวิตชีวา การระดมสมอง ไม่ควรเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ หรือมีรูปแบบตายตัว ลองเปลี่ยนแปลงมันไปเรื่อยๆแล้วดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง

Resource : http://www.midnightuniv.org/midnightuniv/newpage72.htm

การพัฒนาสมอง

1.สมองมีหน้าที่สำคัญที่สุดคือสั่งให้มนุษย์เอาชีวิตรอด
2.สมองจะเจริญเต็มที่เมื่ออายุ 25 ปี
3.สมองซึกซ้ายเป็นเรื่อง ดนตรี ศิลปะ จินตนาการ ซีกขวา เป็นเรื่อง ตรรก เหตุผล คำนวณ
4.สมองสามารถพัฒนารับรู้สิ่งใหม่ๆ ได้จนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต
5.คนที่ฉลาดคือคนที่เข้าใจ ระบุปัญหา และแก้ปัญหาได้ คนที่เป็นอัจฉริยะคือคนที่แก้ปัญหา หรือคิดค้นสิ่งที่ยังไม่มีใครค้นพบหรือแก้ปัญหานั้นได้
6.คนที่เป็นอัจฉริยะคือคนที่มีเส้นสมองมากและมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่สมองมีรอยหยักลึกตามที่เคยคิดกัน
7.สมองส่วนท้ายทอยจนถึงกลางกระหม่อม จะเป็น ส่วนรับรู้ (Recognition) ส่วนหน้าจนถึงกลาง จะเป็นส่วน วิเคราะห์ คิด ประมวล (Strategic) ตรงกลางภายใน (Affective Network)จะเป็นส่วนดูแลอารมณ์ และจะห่อหุ้ม Amygdala ที่ทำหน้าที่เก็บความทรงจำที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก สมองจะทำงานไปด้วยกัน อาการ Amygdala Hijack คืออาการที่สมองส่วนอื่นหยุดทำงาน Amygdala จะทำงานส่วนเดียวเพื่อให้มนุษย์เอาตัวรอดในยามคับขัน เช่น ยกตู้เย็นหนีไฟไหม้
8.สมองประกอบด้วย น้ำ 72% ไขมัน 10% และโปรตีน 2% จึงควรจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อบำรุงสมอง สิ่งที่ทำให้สมองสูญเสียน้ำ (Dehydrate) คือ กาแฟ น้ำอัดลม และ Alcohol ซึ่งหากต้องการดื่ม ต้องดื่มน้ำเปล่าตามเพื่อทดแทนเยอะๆ
9.มื้อเช้าควรทานอาหารประเภทโปรตีนมากกว่าอย่างอื่นเพื่อบำรุงสมอง แต่โปรตีนย่อยยากจึงควรทานน้อยในมื้อเย็น เพราะทำให้นอนไม่ค่อยหลับ
10.สมองส่วนบันทึกความจำทำงานตอนเรานอนกลางคืน หากนอนน้อยจะบันทึกความจำได้ไม่ยาวนาน เช่นอ่านหนังสือดึกเกินไป จะจำได้เพียงช่วงสั้นๆ สำหรับใช้เพื่อสอบเท่านั้น พอสอบเสร็จความจำอาจจะหายไปอย่างรวดเร็ว
11.สมองต้องการ Oxygen จำนวนมาก จึงควรฝึกหายใจลึกๆ ให้เป็นนิสัย การนั่ง ยืน หลังงอทำให้ปอดส่วนล่างกดทับกับอวัยวะอื่นจะหายใจได้ไม่เต็มที่
12.ส่วนบันทึกความจำและการเรียนรู้ในสมองประกอบด้วยไขมัน Omega 3 ซึ่งมีในปลาทะเลน้ำลึกเช่น Salmon Sardine Tuna
13.คนคิดบวกมีอายุยืนยาว ฝึกเป็นคนคิดบวก ยิ้มแย้มแจ่มใส ปกติสมองจะจดจำสิ่งที่เป็นเชิงลบได้ยาวนานกว่าสิ่งที่เป็นเชิงบวก
14.เวลาเครียดให้นั่งหลับตา ฟังเพลงเพราะๆ จินตนาการถึง ดอกไม้สวยๆ หอมๆ หรือสถานที่สงบๆ ที่อยากไป ยิ้ม
15.การอ่านหนังสือ Note ด้วย Mind Map จะทำให้จำได้ดีขึ้น สมองจะจดจำภาพได้ดีกว่าตัวหนังสือ และระหว่างอ่าน ประสาทสัมผัสด้านกลิ่นจะช่วยให้สมองจดจำได้ดีขึ้น ควรจัดให้มีกลิ่นหอมจากดอกไม้ หรือเทียนหอมในห้องอ่านหนังสือ หรือระหว่างอ่านจิบชากลิ่นดอกไม้ที่ชอบ

การทำ Brain Gym บ่อยๆ สมองจะปลอดโปร่ง อารมณ์ดี และป้องกัน Alzheimer
1. จิบน้ำ
2. นวดจุดสมอง- บริเวณระหว่างใต้ไหปลาร้าด้านใน ต่ำลงไป 1 นิ้ว นวดด้วยนิ้วชี้เป็นวงกลม
- พลิกใบหูเริ่มจากด้านบนจนมาถึงด้านล่าง เมื่อถึงติ่งหูให้คลึงติ่งหู
- นวดขอบปาก ด้วยนิ่วชี้และนิ้วโป้ง วางนิ้วโป้งอยู่ด้านล่างขอบปาก นิ้วชี้อยู่เหนือริมฝีปาก ถูไปมาเบาๆ
3. ฝึกการใช้สมองข้ามซีก ยืนตรงเอามือขวาตั้งกลางหน้า วาดมือจนสุดแขนวกไปแตะขาเข่าซ้ายหรืออ้อมไปแตะส้นเท้าซ้าย เอามือซ้ายวางกลางหน้า วาดมือสุดแขนไปแตะเข่าขวา อาจทำอ้อมไปแตะส้นเท้าขวา
4. นั่งตัวตรง เท้าแนบพื้น ยกมือสองข้างขึ้นระดับจมูก จรดนิ้วทั้งสิบเข้าหากันเป็นรูปสะพานโค้ง แล้วฝึกสมองสั่งให้นิ้วให้แตะปล่อย ๆ เบาๆ ไล่ทีละนิ้ว จากนิ้วก้อยแตะนิ้วก้อย จนถึงนิ้วโป้ง จากนั้นสั่งให้ทำงานทีละ 2 นิ้ว เช่นให้นิ้วโป้ง กับนิ้วชี้ทำงาน โดยนิ้วโป้งมือขวาแตะนิ้วโป้งมือซ้าย พร้อมๆ กันนิ้วชี้มือขวาแตะนิ้วชี้มือซ้าย ฝึกไปเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนนิ้วตามที่สมองสั่ง
ข้อสำคัญหายใจเข้าออกลึกๆ ตลอดเวลาที่ทำ
เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่นเรียนภาษา หัดประกอบ และรื้อสิ่งของ หางานอดิเรกใหม่ทำ ปีละอย่าง ป้องกัน Alzheimer ได้ดี
ลองฝึกกันดู