การบริหารสมอง brain activation

การบริหารสมอง (brain activation) หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อ corpus callosum ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒ ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (brain wave) จะลดความเร็วลง คลื่นบีตา (beta) เป็นแอลฟา (alpha) ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

1. การบริหารปุ่มสมอง
ใช้ มือขวาวางบริเวณที่ใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้าจะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนังใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุ่มตื้นๆ 2 ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ 1 นิ้วหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ะละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 30 วินาที และให้เอามือซ้ายวางไปที่ตำแหน่งสะดือ ในขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายและจากพื้นขึ้นเพดาน

ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง

- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
- ช่วยสร้างให้ระบบการสือสารระหว่างสมอง 2 ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การบริหารปุ่มสมอง
ใช้มือซ้ายวางบริเวณที่ใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้าจะมีหลุมตื้น ๆ บนผิวหนัง
ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุ่มตื้นๆ 2 ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ 1 นิ้วหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาด
ร่างกายของแต่ะละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 30 วินาที และให้เอามือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือ ในขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายและจากพื้นขึ้นเพดาน

ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง

-เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
-ช่วยสร้างให้ระบบการสือสารระหว่างสมอง 2 ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปุ่มขมับ
1. ใช้นิ้วทั้งสองข้างนวดขมับเบาๆวนเป็นวงกลม ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที
2. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน

ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ

- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
- ทำให้การทำงานของสมองทั้ง 2 ซึก ทำงานสมดุลกัน
ปุ่มใบหู
1. ให้นิ่วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง 2 ข้าง
2. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง 2 ข้างพร้อมๆกันให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบา ๆ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น

ประโยชน์ของการนวดใบหู

- เพื่อกระตุ้นเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
- สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น
2. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Crawl)
ท่าที่ 1 นับ 1-10

ประโยชน์ของการบริหารท่านับ 1-10

- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
- เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
- เพื่อกระตุ้นความจำ
ท่าที่ 2 จีบ L
1. ยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ส่วนนิ้วอื่นๆให้เหยียดออกไป
2. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
3. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้างทำเช่นเดียวกับข้อที่ 1 ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวเเอล (L)เช่นเดียวกับข้อ 2
4. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา

- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
- เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุลย์ให้มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
- เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ท่าที่ 3 โป้ง-ก้อย
1. ยกมือทั้งสองข้างให้มือขวาทำท่าโป้งโดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
2. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
3. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบโป้ง-ก้อย

- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด
ท่าที่ 4 แตะจมูก-แตะหู
1. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)

ประโยชน์ของการบริหารท่า แตะจมูก-แตะหู

- ช่วยให้มองเห็นภาพด้านซ้ายและขวาดีขึ้น
ท่าที่ 5 แตะหู
1. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวาส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย

ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย,แตะจมูก-แตะหู,แตะหู

- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด
3. การผ่อนคลาย
ยื่นใช้มือ ทั้ง 2 ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบา ๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ 5-10 นาที

ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย

- ทำให้เกิดสมาธิเป็นการเจริญสติ

มาบริหารสมองกันเถอะ

คุณอยากมีอาการหัวใสคิดอะไร "ปิ๊ง ปิ๊ง" ตอนทำงานทุกครั้งหรือเปล่า ?
จริงๆ แล้วไม่มีใครอยากบื้อไบ้รับประทานหรอก เวลาเจอโจทย์ยากๆ หรือแม้แต่คำถามง่ายๆ
อย่างนี้เราลองมาบริหารสมองกันดูซิว่าจะได้ผลตามที่คาดหวังหรือเปล่า

1. ประสานงานสมอง
การเขียนเลข 8 ในอากาศด้วยมือทั้ง 2 ข้างๆ ละ 5 ครั้ง
โดยเริ่มจากด้านซ้ายของเลขก่อน แล้วเขียนวนไปให้เป็นเลข 8
วิธีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอ่าน และการทำความเข้าใจดีขึ้น
และทำให้สมองด้านซ้ายและด้านขวาประสานงานกัน

2. น้ำเปล่าหล่อเลี้ยงสมอง
วางขวดน้ำไว้ใกล้ๆโต๊ะของคุณเป็นประจำ และคอยจิบทีละน้อย
วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจและร่างกายของคุณตื่นตัวตลอดเวลา
และสมองก็จะเปิดว่าง สามารถรับสารหรือข้อมูลได้ดี
เพราะน้ำจะช่วยปรับสารเคมีที่สำคัญในสมองและระบบประสาท
ถ้าเวลาที่รู้สึกเครียด เพราะขาดน้ำ จึงควรจิบน้ำเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพื่อไปหล่อเลี้ยงระบบของร่างกาย

3. นวดใบหูกระตุ้นความเข้าใจ
วิธีนี้ทำได้โดยการนั่งพักสบายๆ แตะปลายนิ้วทั้ง 2 ข้างที่ใบหู
เคลื่อนนิ้วไปยังส่วนบนของหู จากนั้นบีบนวดและคลี่รอยพับของใบหูทั้ง 2 ข้างออก
ค่อยๆเคลื่อนนิ้วลงมานวดบริเวณอื่นๆของใบหู ดึงเบาๆ เมื่อถึงติ่งหู ดึงลง
ให้ทำซ้ำกัน 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการได้ยิน และทำให้ความเข้าใจดีขึ้น
เพราะเป็นการคลายเส้นประสาทบริเวณใบหูที่เชื่อมสมอง

4. บริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่
ให้มือซ้ายจับไหล่ขวา บีบกล้ามเนื้อให้แน่นพร้อมหายใจเข้า
จากนั้นหายในออกและหันไปทางซ้ายจนสามารถมองไหล่ซ้ายของตัวเอง
จากนั้นสูดลมหายใจลึกๆ วางแขนซ้ายลงบนไหล่ขวา พร้อมกับห่อไหล่
ค่อยๆ หันศีรษะกลับไปตรงกลางและเลยไปด้านขวา จนกระทั่งสามารถมองข้ามไหล่ของคุณได้
ยืดไหล่ทั้ง 2 ข้างออก ก้มคางลงจรดหน้าอกพร้อมกับสูดลมหายใจลึกๆ
เพื่อให้กล้ามเนื้อของคุณได้ผ่อนคลาย เปลี่ยนมาใช้มือขวาจับไหล่ซ้ายบ้างและทำซ้ำกันข้างละ 2 ครั้ง
วิธีนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อตรงส่วนลำคอและไหล่ การได้ยิน, การฟัง
และช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานานอีกด้วย

5. นวดจุดเชื่อมสมอง
วาง มือข้างหนึ่งไว้บนสะดือ มืออีกข้างหนึ่งใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้วางบนกระดูกหน้าอกบริเวณใต้ กระดูกไหปลาร้า และค่อยๆนวดทั้ง 2 ตำแหน่งประมาณ 10 นาที
วิธีนี้จะช่วยลดความงงหรือสับสน กระตุ้นพลังงานและช่วยให้มีความคิดแจ่มใส

6. บริหารขา
โดยการยืนตรงให้เท้าชิดกัน ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง
โดยยกส้นเท้าขึ้น งอเข่าขวาเล็กน้อยแล้วโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย
ก้นของคุณจะอยู่ในแนวเดียวกับส้นเท้าขวา สูดลมหายใจเข้าและผ่อนออก
ในขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนี้ ค่อยๆกดส้นเท้าซ้ายให้วางลงบนพื้นพร้อมกับงอเข่าขวาเพิ่มขึ้น
หลังเหยียดตรง สูดลมหายใจเข้าแล้วกลับไปตั้งต้นใหม่อีกครั้ง เปลี่ยนจากขาข้างซ้ายเป็นข้างขวา
โดยออกกำลังในท่านี้ทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน การบริหารท่านี้เหมาะสำหรับการปรับปรุงสมาธิ
รวมทั้งช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านหนังสือ และยังช่วยให้กล้ามเนื้อต้นขา และกล้ามเนื้อน่องผ่อนคลายอีกด้วย

7. กดจุดคลายเครียด
ใช้นิ้ว 2 นิ้ว กดลงบนหน้าผากทั้ง 2 ด้าน ประมาณกึ่งกลางระหว่างขนคิ้ว และตีนผม
กดค้างไว้ประมาณ 3-10 นาที วิธีนี้จะช่วยคลายความตึงเครียดและเพิ่มการหมุนเวียนโลหิตเข้าสู่สมอง

8. บริหารสมองด้วยการเขียน
เขียนเส้นขยุกขยิกด้วยมือทั้ง 2 ข้าง พร้อมๆ กัน
ลายเส้นที่เขียนอาจจะดูเพี้ยนๆ แต่ได้ผลดีต่อระบบสมองเป็นอย่างดีทีเดียว
วิธีนี้จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงการประสานงานของสมอง ด้วยการทำให้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานพร้อมกัน
และเพิ่มความชำนาญด้านการสะกดคำและคำนวณดีและรวดเร็วขึ้นอีกด้วย

การบำรุงรักษา และฝึกฝนสมอง

การ พัฒนาของสมองจะมีมากที่สุดในช่วงที่ยังเป็นเด็กเล็ก และอัตราการพัฒนาของสมองจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น การบำรุงรักษาสมองให้ดี สามารถทำได้โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง
และเซลล์ประสาท เช่น พืช ผักและผลไม้ที่มีวิตามิน B1 วิตามิน B6 และวิตามิน B12
ที่มีในข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง

นอกจากนี้ มีหลักฐานจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วย
จะสามารถช่วยบำรุงเซลล์ประสาทให้ทำงานได้ดี รักษาความจำให้ดีขึ้นได้

ในทางตรงข้าม การดื่มเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
หรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เช่น ยากล่อมประสาท ยาบ้า
จะมีผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาท หรือระบบประสาททำให้เซลล์ประสาททำงานผิดปกติ
และทำให้มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดปกติ เช่น
เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงหลอนและทำให้แสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติได้
สำหรับผู้ใหญ่วัยกลางคน หรือผู้สูงอายุ การรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ

และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
และโรคเบาหวาน อันจะนำไปสู่การป้องกันการเกิดโรคสมองขาดเลือด

การฝึกฝนความจำทั้งความจำระยะสั้น และระยะยาว การฝึกฝนการคิดคำนวณ
การฝึกความคิดสร้างสรรค์อย่างสม่ำเสมอ
จะช่วยเพิ่มเส้นใยประสาทของเซลล์ประสาทให้มีการเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น

พร้อมกันนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีที่บรรจุอยู่ที่ปลายประสาทให้มีมากเพิ่มขึ้นด้วย

มี หลักฐานงานวิจัยประมาณไว้ว่า สมองของมนุษย์มีประมาณ 1,000,000,000,000 เซลล์ (หนึ่งล้านล้านเซลล์) และแต่ละเซลล์อาจเชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทอื่นๆ อีกประมาณ 80,000 - 100,000 เซลล์ ความเชื่อมโยงของเซลล์ประสาททั้งหมดในสมองมีอยู่จำนวนมหาศาลคือ
ประมาณ 1 แล้วตามด้วยเลขศูนย์ประมาณ 800 ตัว (10800) !

ดังนั้น พอจะอนุมานได้ว่า พลังสมองที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน
เป็นเพียงพลังสมองที่คิดเป็นเศษเสี้ยวของพลังสมองทั้งหมดที่มีอยู่

ศักยภาพของสมองมนุษย์มีอยู่มากมายมหาศาล
และพลังของสมองนั้นไม่มีขอบเขตจำกัด

.......

อาหารบำรุงสมอง

อาหารมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมอง ไม่แพ้การพัฒนาทางร่างกายเป็นความจริง ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
ดัง นั้น คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย จึงปรนเปรออาหารการกินให้กับลูกๆ ด้วยหวังว่าอาหารเหล่านี้ จะทำให้ความคิดแล่นความจำดีสมองโปร่งใสทำให้ลูกเฉลียวฉลาดได้
อาหารที่เชื่อกันว่าช่วยบำรุงสมองมีอยู่หลายอย่าง เช่น
เนื้อสัตว์ นม ไข่ น้ำซุปไก่เป็นต้น แต่ที่ขึ้นชื่อที่สุดเห็นจะเป็นปลา

ผู้ใหญ่มักให้เด็กกินปลา โดยอ้างว่าปลาบำรุงสมอง กินปลาแล้วจะฉลาดขึ้น
และถ้ากินหัวปลาได้ จะยิ่งฉลาดเข้าไปใหญ่
หากอาหารสามารถบำรุงสมองได้จริงเช่นนั้น เชื่อว่าเด็กส่วนใหญ่ในประเทศไทยคงไม่สอบตก

ฉะนั้นจะหวังให้อาหารช่วยให้ฉลาดขึ้นคงจะเป็นไปไม่ได้เพราะอาหารช่วยบำรุงสมองได้
ในระยะที่สมองเติบโต หรือในระยะเริ่มแรกของชีวิตเท่านั้น
เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนสมองเติบโตเต็มที่เสียแล้ว
ไม่ว่าจะทำนุบำรุงเรื่องอาหารเพียงใดก็ย่อมไม่ทำให้เฉลียวฉลาดขึ้น
ความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน

ส่วน หนึ่งขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ ถึงกรรมพันธุ์จะเป็นตัวกำหนด ขีดขั้นตอนสติปัญญา แต่เด็กมักจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเต็มขั้นตามกรรมพันธุ์กำหนดหรือไม่ ยังขึ้นอยู่กับอาหารที่คุณแม่รับประทานในช่วงตั้งครรภ์และอาหารที่ลูกกินใน ช่วงแรกของชีวิต

ถ้าหากในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่รับประทานอาหารครบห้าหมู่และ
มี ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เซลล์สมองของลูกจะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่เป็นรากฐานที่มั่นคง เมื่อได้รับการศึกษาได้เล่าเรียนฝึกฝนก็ย่อมมีโอกาสที่จะมีสติปัญญาเฉลียว ฉลาดได้เต็มขั้นตามที่กรรมพันธุ์กำหนด
ตรงกันข้าม เมื่อขาดแคลนอาหารทั้งในปริมาณ
และคุณภาพเซลล์สมองไม่อาจเจริญเติบโตอย่างเต็มที่

เมื่อสมองหยุดเจริญเติบโตแล้วจำนวนเซลล์สมองของเด็กเหล่านี้
อาจ น้อยกว่าเด็กที่ได้รับอาหารอย่างเพียงพอถึงร้อยละ 15 ถึง 20 อาการซึมเศร้า และเชื่องช้าที่ปรากฏภายนอกเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นผลของจำนวนเซลล์ ที่น้อยกว่าปกติ
แม้จะได้รับการศึกษาเล่าเรียน มีโอกาสได้รับการฝึกฝนเท่าเทียมกับเด็กคนอื่น ก็ไม่อาจมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเต็มขีดขั้นที่กรรมพันธุ์กำหนดได้

หรืออีกนัยหนึ่งถึงพ่อแม่จะฉลาดหลักแหลมเพียงใดลูกก็ไม่มีโอกาสฉลาดเท่าเทียมพ่อแม่ได้
ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า อาหารมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสมองตั้งแต่ก่อนเด็กเกิด

นับตั้งแต่ปฏิสนธิขึ้นในครรภ์ของแม่เลยทีเดียว อาหารบำรุงสมองของเด็ก
จึงเป็นอาหารในระยะตั้งครรภ์ของแม่ และอาหารของเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 1-2 ปี

ในขณะคุณแม่ตั้งครรภ์ จึงควรเอาใจใส่อาหารการกิน อย่างน้อยที่สุดต้องกินให้ครบห้าหมู่
เพิ่มอาหารที่ให้โปรตีนสูง ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ และนม
ถ้าหากมีรายได้น้อยอาจพึ่งโปรตีน จากถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง เป็นต้น

ถ้าคุณแม่บางรายกินนมวัวไม่ได้ ก็ควรเลี่ยงไปกินนมถั่วเหลืองแทน
อาหารบำรุงสมองที่ดีที่สุดของทารกแรกเกิด คือนมแม่
เมื่อเด็กอายุครบ 4 เดือนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ ควรให้อาหารอื่นเพิ่มเติม
ไม่ใช่เฉพาะข้าวกับกล้วยเท่านั้น ควรหัดให้เด็กกินไข่ เนื้อปลา ผักและผลไม้ต่าง ๆ
และถือโอกาสปลูกฝังนิสัยการกินอาหารที่ดีเสียแต่เนิ่น ๆ

(Cover จาก โภชนาการดี ชีวีมีสุข กองโภชนาการ กรมอนามัย)