หัวใจ สั่งสมอง

หัวใจ สั่งสมอง !!!!

ในทศวรรษ 1970 จอห์นและเบียทริส ลาเซ แห่งสถาบันวิจัยเฟลส์ ได้ค้นพบว่า สมองไม่ได้ออก คำสั่งหัวใจให้ทำงานเท่านั้น ประการแรกหัวใจอาจจะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่สมองสั่งมาทุกครั้ง โดยที่บางครั้งหัวใจก็ไม่ปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ประการที่สอง พวกเขายังได้ค้นพบว่า หัวใจมีคำสั่ง กลับไปที่สมองอีกด้วย และสมองก็เชื่อและปฏิบัติตาม เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการค้นพบว่า ในเซลที่ประกอบขึ้นเป็นหัวใจนั้น มีอยู่สี่หมื่นเซลที่เป็นเซลสมอง จึงแสดงให้เห็นว่าหัวใจคิดได้ หัวใจเป็นแหล่งที่มาของปัญญา

การสื่อสารระหว่างหัวสมองกับหัวใจ

การสื่อสารเป็นไปได้สี่หนทางด้วยกันคือ หนึ่งผ่านเส้นประสาท สองผ่านระบบชีวเคมี คือฮอร์โมน ต่างๆ สามผ่านชีวฟิสิกส์หรือ ผ่านคลื่นแรงดัน ส่วนหนทางที่สี่นั้นผ่านปฏิสัมพันธ์ของสนามแม่เหล็ก ไฟฟ้า

การสื่อสารแบบที่หนึ่งโดยผ่านระบบประสาทนั้น

ในปี 1991 ดร.เจ. แอนดรู อาเมอร์ แห่ง มหาวิทยาลัยดาลฮูซี่ เมืองฮาลิแฟกซ์ แคนาดา ได้นำเสนอหลักฐานที่ว่ามีสมองอยู่ในหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นเซลประสาทที่มีอยู่หลายประเภท เซลประสาทที่ส่งผ่านสัญญาณ โปรตีนและเซลสนับ สนุนต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นวงจรในตัวเองอย่างพิถีพิถัน พอที่จะกล่าวได้ว่า กลุ่มเซลประสาทเหล่านี้ ทำงานเป็น สมองอย่างเป็นอิสระจากสมองที่หัว โดยที่สามารถเรียนรู้ จดจำ รู้สึกและรับรู้ จากผลงานวิจัยของดร.อาเมอร์ นี้เอง ที่ภาพใหม่ของหัวใจได้เผยปรากฏขึ้น ทุกครั้งที่มีการเต้นของหัวใจ จะมีการส่งสัญญาณ จากหัวใจไปยังสมอง หัวใจจะรับรู้อัตราการหลั่ง ของสารฮอร์โมนต่างๆ อัตราการเต้นของหัวใจ และแรงดันแปรสัญญาเหล่านี้ ให้เป็นสัญญาณในระบบ ประสาทและสังเคราะห์ ข้อมูลเหล่านี้เป็นการภายใน แล้วจึงส่งข้อมูลไปยังหัวสมอง ผ่านเส้นประสาทเวกัส และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงไปสู่ไขสันหลัง หนทางนี้เป็นหนทางเดียวกันกับที่มีการส่งความเจ็บปวดและ ความรู้สึกต่างๆไปยัง หัวสมอง และเส้นทางเดินของข้อมูลนี้จะเข้าสู่สมองในสมองส่วนที่เรียกว่า เมดูลลา ที่อยู่ที่ฐานของสมอง ข้อมูลเหล่านี้ที่หัวใจ ส่งไปยัง หัวสมอง จะมีผลต่อการกำกับการทำงานของสมองผ่าน ระบบประสาทอัตโนมัติ ที่กำกับดูแลการทำงานของเส้นเลือด ต่อมฮอร์โมนต่างๆ ระบบอวัยวะภายในต่างๆ รวมทั้งหัวใจด้วย นอกจากนี้สัญญาณจากหัวใจยังส่งผ่านต่อไป โดยลำดับจนถึง สมองส่วนนอก (cortex ซึ่งกำกับการทำงานของเหตุผลและความคิดที่สูงขึ้น) โดยมีผลและอิทธิพล ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ต่อการทำงานของสมองส่วนนี้ สัญญาณจากหัวใจยังมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทในสมองส่วนที่เรียกว่า อมิกดาลา (amygdala ศูนย์กลางอันนี้มีส่วนสำคัญต่อการกำกับเรื่องของอารมณ์) ซึ่งสมองส่วนนี้สามารถยับยั้ง หรือเอื้ออำนวยต่อขบวนการ ทำงาน ของสมองชั้นนอกด้วย สมองส่วนนี้เป็น สมองชั้นกลาง และมีบทบาทในการให้ค่าทางอารมณ์ความรู้สึกกับสิ่งที่รับรู้ อมิกดาลานี้มีอิทธิพลต่อ การทำงานของสมองมาก เพราะอะไรก็ตามที่จะเข้าสู่การคิด และความทรงจำของสมองได้นั้น จะต้องมีความหมายทางอารมณ์ความรู้สึกกำกับเสียก่อน และอมิกดาลาก็ทำหน้าที่ส่วนนี้ อมิกดาลาเป็น ส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลาง อันเป็นฐานที่ตั้งของ ปัญญาอารมณ์หรือ อีคิว ปัญญาอารมณ์ก็คือ ปัญญาแห่ง ความสัมพันธ์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเข้ามาสู่ การทำงานของสมอง และความทรงจำได้จะต้องผ่านการทำ เครื่องหมายทางอารมณ์หรือทางความสัมพันธ์ก่อน ปัญญาอารมณ์นี้จะเร็วกว่าปัญญาทางพุทธิปัญญา หรือปัญญาแห่งความคิดในสมองชั้นนอก เมื่อหัวใจโยงใยอยู่กับสมองส่วนกลาง หัวใจย่อมมีอิทธิพลต่อ สมองส่วนนอกไปโดยปริยาย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่รับรู้ ทั้งจากโลกภายนอกและความทรงจำภายใน จะเข้ามาที่สมองส่วนกลางก่อน การแปรค่าตีความของสมองส่วนกลางย่อมมีอิทธิพลต่อการทำงานของ สมองส่วนนอกอย่างแน่นอน

การสื่อสารอย่างที่สองนั้นเป็นการผ่านระบบชีวเคมี

ในปี 1983 ได้มีการจัด ประเภทให้แก่หัวใจใหม่ ว่าอยู่ในระบบอวัยวะที่ให้ฮอร์โมนด้วย เพราะในบริเวณอาเตรีย (atria) ของหัวใจได้รับการค้นพบว่าผลิตฮอร์โมนบางประเภทที่เรียกว่า Atrial atriuretic Factor หรือเรียกอย่าง ย่อๆ ว่า เอเอ็นเอฟ (ANF) หรืออาเตรียนเพ็บไตด์ ฮอร์โมนตัวนี้กำกับดูแลความดันในเส้นเลือด การกักเก็บน้ำและสมดุลย์ทางไฟฟ้า (Electrolyte Homeostasis) ได้ชื่อเล่นว่า ?ฮอร์โมนความสมดุลย์? มันมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อระบบต่างๆ เช่นหลอดเลือด ไต ต่อมอดรีนาล และหลายๆ ส่วนในหัวสมองที่ทำงานเกี่ยวกับการกำกับดุลยภาพ นอกจากนี้ เอเอ็นเอฟ ยังเป็นตัวหยุดหรือห้ามการหลั่งฮอร์โมนความเครียด มีบทบาทต่อขบวนการทำงาน ของฮอร์โมนอื่นๆ ในเรื่องการทำงานและการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ มีความเป็นไปได้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับระบบฮอร์โมนทั้งระบบ ยิ่งไปกว่านั้น การทดลองบางประการยังแสดง ให้เห็นว่า เอเอ็นเอฟ มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นพฤติกรรม ต่อไปจากนี้ แม้นักวิทยาศาสตร์จะค้นพบบทบาทการทำงานของฮอร์โมนจากหัวใจได้มากขึ้น หรือชัดเจน ขึ้นอย่างไรหรือไม่ก็ตาม ณ ความรู้ที่มีอยู่นี้ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ระบบแห่งอารมณ์ นั้นไม่ได้มีที่ทาง อยู่เฉพาะในหัวสมองเท่านั้น แต่ได้มีที่ทางอยู่ในหัวใจด้วย

ส่วนอีกระบบหนึ่งของการสื่อสารคือระบบชีวฟิสิกส์ หรือคลื่นของแรงดัน

คลื่นแรงดันนี้นอกจากเป็นตัวขับดันการส่งลำเลียงเลือกไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้ว การอัดบีบของความดันต่อเซลในร่างกาย ยังก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นอีกด้วย เมื่อความดันของเลือดเข้า ไปยังสมอง มีการค้นพบการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของเซลสมอง อย่างเห็นได้ชัด แน่นอนทั้งแรงดันที่เซลทั้งมวลในร่างกายสัมผัส ตลอดจนกระแสไฟฟ้าที่เกิด นี้คือภาษาอีกภาษาหนึ่งที่แม้ ยังถอดรหัสได้ไม่หมด แต่มันก็น่าจะมีความหมายอะไรบางประการ

ท้ายสุดที่หัวใจสื่อสารกับสมองก็โดยผ่านปฏิสัมพันธ์ ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

ดังที่แพทย์หลายคนก็รู้ว่า หัวใจได้ส่งสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปทั่วร่างกาย ดังที่พวกเราสมัยนี้จะคุ้นเคยกับโทรศัพท์มือถือและวิทยุ และรู้ว่าในบรรยากาศมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์มือถือและวิทยุอยู่ทั่วไป ก็ในเมื่อเราสามารถนำพาข้อมูลไปใน บรรยากาศ โดยผ่านคลื่นสนามแม่เหล็กได้ นักวิทยาศาสตร์บางคน ก็เริ่มตั้งสมมติฐานว่า หัวใจสื่อสารข้อมูลโดยผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของหัวใจ มีการวัดว่าพลังของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของหัวใจนั้นมีกำลังแรงที่สุดของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าใดๆ ใน ร่างกาย และมีกำลังแรงกว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากหัวสมองถึงห้าพันเท่า และสนามของหัวใจนี้ไม่เพียงแต่ผ่านไปทั่วทุกเซลในร่างกายของเราเท่านั้น หากยังแผ่รัศมีออกไปนอก ร่างกายด้วย โดยวัดได้ว่าไปไกลถึง 8 ถึง 10 ฟุต การทดลองค้นคว้าของแกรี่ ชวาต (Gary C. Schwartz) แห่งมหาวิทยาลัยอริโซนา ได้ค้นพบว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้าของหัวสมองกับหัวใจมีการปฏิสัมพันธ์กัน ในสภาวะที่มีการน้อมนำความใส่ใจมา อยู่ที่บริเวณหัวใจนั้น ความบรรสานสอดคล้องแห่งท่วงทำนองของหัวสมองกับหัวใจจะมีมากขึ้น นอกจากนี้ สนามหัวใจของคนหนึ่งอาจจะสื่อไปถึงคนอื่นได้ด้วย นักวิจัยแห่งสถาบันหทัยคณิตได้ค้นพบว่า เมื่อ ก. สัมผัสตัว ข. แบบแผนของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของหัวใจ ก. จะไปปรากฏอยู่ในแบบแผนของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของหัวสมองของ ข. และในทางกลับกัน แบบแผน ของคลื่นหัวใจของ ข. ก็จะไปปรากฏอยู่ในแบบแผนคลื่นสมองของ ก. ด้วย และเมื่อมีการฝึกการบรรสานสอดคล้องแห่งคลื่นหัวใจกับคลื่นสมองมากขึ้น บุคคลสามารถสื่อคลื่นหัวใจของเขาหรือเธอไปยังคนอื่นได้ โดยเพียงแต่เข้ามาอยู่ใกล้กันโดยไม่ต้อง แตะต้องตัว

ในศตวรรษที่สิบเจ็ด นักประดิษฐ์ชาวยุโรป ชื่อคริสเตรียน ฮอยเกนส์ ผู้ชื่นชอบในการสะสมนาฬิกาลูก ตุ้ม วันหนึ่งเขาค้นพบว่า ลูกตุ้มของนาฬิกาที่เขามีอยู่ทั้งหมดแกว่งไกวในจังหวะเดียวกัน เขาทดลองจัดตุ้มนาฬิกาใหม่ให้แก่วงไกวคนละจังหวะ แต่แล้วในเวลาหนึ่ง ลูกตุ้มทั้งหมดก็กลับมาแกว่งในจังหวะเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตอนนั้นเขายังไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ต่อมาก็มีผู้ค้นพบว่า ลูกตุ้มใหญ่จะเหนี่ยวนำลูกตุ้มเล็กให้ปรับจังหวะให้มาแกว่งในจังหวะเดียวกัน หัว ใจก็เช่นเดียวกัน หัวใจที่มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แรงที่สุดได้เหนี่ยวนำหัวสมองและระบบอวัยวะอื่นๆ ให้เข้ามาทำงานในท่วงทำนองเดียวกัน อย่างบรรสานสอดคล้อง แต่ขบวนการตามหัวขบวนนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหัวใจเต้นอย่างบรรสานสอดคล้องด้วยตัวเองก่อน ได้มีการค้นพบว่า ในสภาวะที่ระบบทั้งมวลในร่างกายตามหัวขบวนอย่างบรรสานสอดคล้องนี้ ก็คือสภาวะสูงสุดของความเป็นไปได้แห่งประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย การสูญเสียพลังงาน น้อยที่สุด และเป็นสภาวะที่ร่างกายมีพลังในการซ่อมแซมส่วนสึกหรอสูงสุด ประสิทธิภาพของปัญญาแห่งการเรียนรู้ของมนุษย์ก็สูงสุดด้วย

สิ่งหนึ่งที่เลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นกับชีวิตของมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์โดยส่วนใหญ่ ก็คือเราแยกแยะไม่ออกระหว่างความเป็นปกติกับ อาการของความเครียดเรื้อรัง มีการศึกษาว่าชีวิตสมัยใหม่ที่การทำงานภายในหนึ่งชั่วโมง ต้องดูแลเรื่องราวต่างๆ ที่แตกต่างประ เด็นกัน 7-8 ครั้ง และแรงบีบคั้นที่ต้องทำงานอันหลากหลายเหล่านี้ให้เสร็จตามเวลากำหนด (deadline) ทำให้เกิดความเครียดเกือบตลอดเวลา และในทางสรีระแล้ว การตอบสนองต่อความเครียดมีอยู่สอง ระบบ ระบบหนึ่งก็คือระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ไปสั่งระบบอวัยวะที่ทำงานโดยอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติทั้งหลายเช่นการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการทำงานของระบบย่อยอาหารเป็นต้น ส่วนนี้เมื่อเกิดขึ้นก็จะคลี่คลายไปได้อย่างไม่ค้างคาเนิ่น นาน แต่อีกระบบหนึ่งคือระบบฮอร์โมนนั้น แม้ว่าเรื่องราวผ่านพ้นไปแล้วแต่ระบบนั้นยังทำงานอยู่อีก เป็นเวลาเนิ่นนาน แม้แต่ระบบอวัยวะที่ถือกันว่าอยู่นอกระบบฮอร์โมนเช่นกระเพาะและไต ก็จะหลั่งฮอร์โมนเพื่อตอบสนองต่อความเครียดเช่นกัน เท่าที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากความเครียดนี้ เป็นวงจรที่เกี่ยวข้องกันอย่างน้อย 1600 ปฏิกิริยา แต่เพื่อความเข้าใจง่ายๆ เราก็จะรู้จักฮอร์โมนอย่างเช่นแอดดรีนาลีน ซึ่งจะกระตุ้น อัตราการเต้นของหัวใจ แรงดันเลือด การเกร็งของกล้ามเนื้อ เร่งการหายใจให้เร็วขึ้น เตรียมตัวเรา ให้เผชิญหน้ากับภัยคุกคาม ฮอร์โมนอื่นๆ ก็ถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาในเวลาที่เครียดเหมือนกัน อย่างน้อยอีกสองตัวที่น่าจะทำความรู้จักเอาไว้ก็คือ นอราดรีนาลีนและคอติโซล (cortisol) เพราะถ้า หากไม่มีการตระหนักรู้ ฮอร์โมนสองตัวนี้จะกัดกร่อนอวัยวะต่างๆ เช่นเดียวกับน้ำกรดเลยทีเดียว มี การศึกษาพบว่า แม้เวลาผ่านไปหลายชั่วโมงแล้ว ระดับฮอร์โมนสองตัวนี้ ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูง คอติโซลนี้ได้เข้ามาเป็นตัวฮอร์โมนที่รับรู้กันว่าเป็น ?ฮอร์โมนความเครียด? เพราะมีบทบาทอย่างกว้างขวางมากเมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น ปกติคอติโซลนี้จะเป็นส่วนที่จำเป็น ต่อสุขภาวะของร่างกาย แต่ถ้ามีอยู่ในระดับสูงก็จะเป็นอันตรายต่อระบบของเรา เมื่อตกอยู่ภายใต้ ภาวะความเครียดเรื้อรัง ร่างกายของเราจะผลิตคอติโซลในระดับสูง ในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน อันนี้ทำให้ตัวตัดการผลิตโดยอัตโนมัติปรับตัวเองใหม่ ทำให้ร่างกายของเราจะมีคอติโซลอยู่ใน ปริมาณสูงกว่าปกติ โดยการควบคุมอัตโนมัติของสมองส่วนนั้นมองไปว่าคอติโซลระดับสูงในร่าง กายคือความเป็นปกติ การมีคอติโซลระดับสูงอยู่ในร่างกายนี้จะมีผลต่อการทำความเสียหายให้กับ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดประสิทธิภาพการใช้กลูโคส ทำให้กระดูกเสื่อมและเปราะบาง ลดความหนาแน่นของกล้ามเนื้อ เพิ่มการสะสมไขมัน (โดยเฉพาะบริเวณเอวและสะโพก) ทำให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้เสื่อมทรามลง และทำลายเซลสมอง ภาพทั้งหมดนี้คงจะพอเพียงที่จะทำให้เราเห็นได้อย่างหนักแน่นและชัดเจนแล้วว่า ความเครียด โดยเฉพาะความเครียดเรื้อรังทำอะไรกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเราได้บ้าง!