ปรับระบบความคิด พิชิตอัฉริยภาพ
สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ปรับระบบความคิด พิชิตอัฉริยภาพ" โดย นางสาววนิษา เรซ ในการสัมมนาเครือข่ายสัมพันธ์ครั้งที่ 2 "เตรียมคนไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นนทบุรี
ภารกิจหลักของสมองที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตที่สมองอยู่ในร่างกายนั้น สมองของมนุษย์มีคนละ 1 ก้อน ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้
- ส่วนคิด ส่วนเปลือกสมองใหม่ อยู่ตรงส่วนท้ายทอยเติบโตมาช้าที่สุด เก็บข้อมูลที่เป็นความทรงจำระยะยาวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นมนุษย์ บุคลิกภาพ การทำงาน การวางแผนระยะยาว ลิงชิมแปนซีซึ่งมีดีเอ็นเอซ้ำกับมนุษย์ถึง 99.5 % ก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์
- ส่วนอารมณ์ อยู่ในเปลือกสมองใหม่ มีองค์ประกอบเยอะมาก เป็นชิ้นเล็กๆ เป็นศูนย์บัญชาการควบคุมอารมณ์ทุกชนิด ดีใจ โกรธ เศร้า มีความหวัง มีความทุกข์ ความสุข ทำงานไม่มีวันหยุด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์
- ส่วนอัตโนมัติ ก้านสมองต่อจากระดูกสันหลัง ดูแลเรื่องระบบอัตโนมัติ เราควบคุมไม่ได้เพราะเขาทำงานเอง เช่นการ หายใจ การสูบฉีดโลกหิต ระบบการย่อยอาหาร การขับถ่าย จะอยู่ในนี้ สัตว์เลื้อยคลานก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์
ความจำระยะสั้น
เมื่อเราลืมตาตื่นขึ้นมาสมองส่วนทีเก็บความจำระยะสั้นก็จะเริ่มทำงานเ ก็บข้อมูลช่วงสั้น 30 วินาทีต่อเนื่องทั้งวัน เก็บข้อมูลได้ครั้ง 3-7 ข้อมูล หากเกินกว่า 30 วินาที เราจะจำไม่ได้ เราก็ต้องจด สมองนี้อยู่ในส่วนคิด และจะถูกปิดทันทีเมื่อระบบหลัก คือการเอาชีวิตรอดทำงาน
Amygdala
สมองส่วนนี้มีลักษณะเหมือนเมล็ดอัลมอนด์ จะอยู่นิ่งๆ ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับการเอาตัวรอด ประเมินสภาพแวดล้อม ทางกายภาพ ที่มีลักษณะที่คุกคาม ประเมินทางจิตวิทยา ที่อาจจะเป็นอันตรายกับชีวิตได้ เมื่อพบแล้วจะมีปรากฏการณ์ อามิดาลาไฮแจ็ค เกิดขึ้นในสมองส่วนอื่นๆเพื่อหยุดกระบวนการคิด และเกิดกระบวนการเอาตัวรอด สภาพร่างกายจะอยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะหนีหรือต่อสู้ สารเคมีในการต่อสู้หลั่งออกมา คือสารอดรีนาลิน จะตกค้างอยู่ในระบบ ทำให้หัวใจเต้นแรงไม่มีความสงบมีแต่ความหวาดกลัว ร่างกายจะถูกบังคับให้เคลื่อนไหวโดยไม่รู้ตัว วิธีแก้ก็คือการออกกำลังกายเป็นประจำในลักษณะของการเคลื่อนไหว
สมอง 3 ส่วน อีกรูปแบบหนึ่ง
รูปแบบนี้จะอธิบายกระบวนการรับและจัดการข้อมูลของสมองที่มีลักษณะเป็น network โดยส่งข้อมูลเป็นประจุไฟฟ้าและสารเคมี
- Recognition network คือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สมองส่วนนี้เริ่มจากท้ายทอยต่อจากด้านสมอง ขึ้นมาทางกกหูของเรา ภาพที่ทุกคนมองอยู่จะตกกระทบที่ตาและถูกนำไปเก็บไว้ในส่วนของสมองที่ลึกที่สุด ภาพที่เรามองเห็นมาตั้งแต่เด็ก จะถูกบันทึกไว้ในความทรงจำระยะยาวที่นี่ ส่วนเสียงจะเก็บไว้ใกล้ๆที่กกหู
- Strategic Network เมื่อเรารับข้อมูล มาจากสภาพแวดล้อมแล้วจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยบัญชาการข้อมูล ที่หน้าผาก มาถึงประมาณ กลางกระหม่อม เป็นสมองส่วนหน้าสุด เป็นสมองส่วนของหัวหน้า เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
- Affective Network อยู่ในเปลือกสมอง อยู่ส่วนกลาง บัญชาการอารมณ์ทั้งหมด ทุกการทำงาน ทุกการตัดสินใจ ทุกลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์ สมองส่วนอารมณ์เป็นตัวที่เริ่มตัดสินใจให้เราก่อน แล้วจึงมาที่สมองส่วนคิด สมอง 2 ส่วนแรก ทำงานไม่ได้ ถ้าสมองส่วนนี้ทำงานไม่สมประกอบ
เซลล์สมองและเส้นใยสมอง
ประกอบไปด้วยนิวเคลียสและเส้นประสาท หน้าที่หลักคือประมวลผลข้อมูล โดยทำการส่งข้อมูลในสมองทุกอย่างที่เราทำในชีวิต ทุกการตัดสินใจ ทุกการคิด เกิดขึ้นในเซลล์สมอง เกิดจากการส่งปฏิกิริยาเคมี และส่งประจุไฟฟ้าเล็กๆ โดยเซลล์สมอง มีเส้นใยสมองทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับเส้นใยอื่นๆเหมือนกับสายโทรศัพท์ 1 เซลล์มี 1 หมื่นเส้น สามารถติดต่อกับเซลล์อื่นได้ 1 หมื่นเซลล์ เซลล์สมองของคนมี 1 แสนล้านเซลล์ สามารถทำงานพร้อมกันได้มากกว่า 10 โปรแกรม โดยไม่ทำให้การทำงานช้าลง การส่งข้อมูลเกิดขึ้นทุกวินาที แม้ในเวลาเราหลับหรือในเวลาที่ป่วยแบบไม่รู้สึกตัว ซึ่งเซลล์สมองและเส้นใยสมองสามารถสร้างได้ใหม่ทุกวัน
กระบวนการบันทึกข้อมูลในสมองลงสู่ความจำ มี 5 กระบวนการด้วยกัน
- รับข้อมูลผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ข้อมูลไม่สำคัญสมองจะผ่านไป เช่น บิลบอร์ดที่อยู่ข้างทางที่เรามองเห็น อยู่ริมถนนสมองจะชะล้างข้อมูลนั้นออกไป ถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้อยู่ในความสนใจของเรา
- ถ้าสมองเราคิดและตัดสินใจแล้วว่าน่าสนใจ จะส่งข้อมูลไปที่ Hippocampus อวัยวะที่ทำหน้าที่บันทึกจากความทรงจำระยะสั้น ลงสู่ความทรงจำระยะยาว
- Amygdala จะเป็นตัวบอกว่าข้อมูลนี้มีประจุทางอารมณ์สูงหรือน้อยแค่ไหน ข้อมูลที่ถูกเก็บได้ดีจะมีประจุทางอารมณ์สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์บวกหรือลบ ทุกข้อมูลต้องผ่าน อามิดาลาหมด
- ท้ายที่สุดจะส่งไป Hippocampus อีกครั้งหนึ่งเพื่อบันทึกความจำลงสู่เปลือกสมองด้านนอกหรือ Cortex หรือ การเก็บข้อมูลความทรงจำระยะยาว โดยสถานที่เก็บข้อมูลต่างๆมักจะแยกกันอยู่ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาพ จะถูกเก็บไว้ที่ท้ายทอย ข้อมูลเสียงจะถูกเก็บที่ใกล้กกหู ข้อมูลการเคลื่อนไหวของร่างกายจะถูกเก็บอยู่ที่สมองน้อย
ถ้าข้อมูลถูกบันทึกมาถึงขั้นตอนที่ 5 เราสามารถดึงข้อมูลนั้นมาใช้ได้ตลอดชีวิต แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ของมนุษย์เราจะเดินทาง ไม่ถึงขั้นตอนที่ 5 จะค้างอยู่ขั้นที่ 3 หรือขั้น ที่ 2
กระบวนการจำมี 3 ขั้นตอน
- Registration การรับข้อมูลเข้าสู่สมอง การรับข้อมูลผ่านการมอง ฟัง และการสัมผัส แต่ละบุคคลมีการรับข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้การรับรู้จึงแตกต่างกัน
- Retention เก็บเอาไว้
- Retrieval ดึงออกมาใช้
Adoping a Brain-friendly Lifestye
วิธีการใช้ชีวิตที่จำเป็นสำหรับการใช้สมองในชีวิตประจำวัน
สังคมในปัจจุบัน การทำงาน การเดินทาง ทั้งหมดนี้เป็นการรุมทำร้ายสมองมาก สมองเป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่นมาก แต่ก็บอบบางมาก การดูแลเป็นเรื่องที่ไม่ใช้เงิน แต่เป็นการใช้ความคิด สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
• Goal setting
การวางเป้าหมายในชีวิต ทำให้เราทำงานได้อย่างเต็มที่ สมองชอบมาก สมองถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการมีชีวิตรอด หากเราไม่มีเป้าหมาย ที่ชัดเจน จะเป็นเรื่องที่อันตราย เพราะสมองชอบสิ่งที่ปลอดภัย คาดเดาได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผน และเป้าหมายในชีวิต ที่จะบอกล่วงหน้าว่าเราจะทำอะไร การวางเป้าหมายเป็นการทำให้สมอง ไม่กลัวการถูกคุกคาม และสามารถใช้พลังงานได้อย่างเต็มที่
• Eating right
การกินอาหารที่ถูกต้อง สมองเราแบ่งอาหารออกเป็น 2 หมวด คือ Good-mood food อาหารที่กินแล้วอารมณ์ดี และ Bad-mood food อาหารที่กินแล้วอารมณ์เสีย หากเราอารมณ์เสียโดยไม่มีสาเหตุ ให้มองกลับไปว่าก่อนหน้าที่เรากินอะไร การแยกอาหารสองชนิดนี้คือ Slow-release สมองของเราหากได้รับประทานอาหารที่ปล่อยพลังงานช้าๆ สมองจะมีการรับคลื่นพลังงานอย่างช้าๆ ต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติ ถ้าเรากินอาหารที่ให้พลังงานสูงและเร็วมาก เช่น น้ำตาลทรายขาว คลื่นพลังงานของเราจะขึ้นมาสูงมาก นาทีที่คลื่นขึ้นสูง เราจะสันดาปอาหารทันที พลังงานก็จะตกทันที เมื่อพลังงานตกทันที เราจำเป็นต้องเสริมพลังงานใหม่เข้าไป คลื่นก็จะขึ้นสูงอีกครั้งและตกทันที ลักษณะที่คลื่นขึ้นสูง-ต่ำ ผิดธรรมชาติแบบนี้ หากเรากินแบบนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จะทำให้เราเป็นคนอารมณ์แปรปรวนง่ายมาก หากเป็นเด็กมีอารมณ์แปรรวน และจะฝังอยู่ใน ความทรงจำของเขา ทำให้เขากลายเป็นคนอารมณ์แปรปรวนง่ายตลอดชีวิต
Good-mood food Bad-mood food
- Cereal & milk
- ข้าวซ้อมมือหรือขนมปังโฮลวีท
- นมไม่พร่องมันเนย
- แพนเค้ก
- ผลไม้
- ผักสด
- ผักปรุง
- พืชหัว เมล็ดพืช
- เครื่องดื่มผลไม้ เครื่องดื่มซ่อมแซมโปรตีน - คุ้กกี้
- ขนมหวานมากๆ
- ชาปริมาณมากๆ
- กาแฟปริมาณมากๆ
- ชีสจำนวนมาก
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
- น้ำตาลทรายขาว
ดังนั้นเราจึงต้องบำรุงสมองด้วยวิตามินดังนี้
- วิตามิน B12 และ Folate มีในส้ม ผักโขม ผักบร็อคโคลี่ ช่วยซ่อมแซมและดูแลการเสื่อมของเซลล์สมอง
- ธาตุเหล็ก มีในตับ และผักใบเขียวจัด ช่วยในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
เมื่อสมองประกอบไปด้วย โปรตีน 8 % ไขมัน 10 % และ น้ำ 72 % ดังนั้นในการดูแลสมองเราจึงควรจิบน้ำตลอดทั้งวัน เป็นการเติมน้ำให้สมอง เพราะเซลล์สมองต้องการน้ำ หากมีน้ำไปเลี้ยงน้อย จะมีอาการเดียวกับพืชขาดน้ำ คือหดเล็กลง ช่องที่จะส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ก็จะกว้างขึ้น ทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้ามาก เวลาที่เราคิดอะไรไม่ออกเป็นไปได้ว่า เราลืมดื่มน้ำ การดื่มน้ำจึงจำเป็นมาก
สารเคมีอีกชนิดที่ใช้สำหรับ การดูแลสมองคือ "ออกซิเจน" ทำได้ด้วยท่าการนั่งและท่าการยืน ถ้าเรานั่งนานตัวเราจะงอลง มีผลต่อปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอย่างมาก ท่าที่ถูกต้องก็คือการยืดตัว หรือการยืนตัวตรงหลังไหล่ไม่ค้อม ทำให้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น 20%
• Exercising regularly ออกกำลังกายเป็นประจำ
1. จำเป็นมากสำหรับการดูแลเรื่องเส้นเลือดในสมอง ถ้าฝึกเป็นประจำโอกาสที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จะน้อยมากเมื่อเราอายุมากขึ้น
2. เมื่อเราออกกำลังกาย สมองของเราจะหลั่งสารเคมีเอนโดรฟินหรือความสุขออกมา มีลักษณะเสพติดได้คล้ายยาเสพติด ชื่อ มอร์ฟีน ซึ่งมีโครงสร้างเดียวกันกับ เอนโดรฟิน จะทำให้มีความสุขและมีความหวังไปพร้อมๆกัน ช่วยในการมองอนาคตระยะยาว
หากเราออกกำลังกายเป็นประจำแล้วหยุด การไม่ได้ออกกำลังจะหงุดหงิดมาก เป็นอาการเดียวกับการถอนยาหรือลงแดง เพราะสมองเราไม่ได้รับสารเคมีในเวลาที่ควรจะได้รับ และจะต้องออกกำลังได้นานขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งการออกกำบังกายนี้ ช่วยในการสร้างเซลล์สมองใหม่ใน Hippocampus และมีออกซิเจนในเลือดมากขึ้น และเซลล์สมองถูกฆ่าได้ด้วยสารเคมีที่เกิดจากความเครียด ถ้าเซลล์สมองนี้ตายไปมากจะเป็นโรคความจำเสื่อม
• Learning new things การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยธรรมชาติแล้วเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าผู้ใหญ่
เมื่อเราอายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของสมองน้อยลง แต่เราสามารถหลอกสมองได้ ด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกวันเป็นประจำ สมองจะคิดว่า สภาพแวดล้อมต้องเรียนรู้เยอะมาก เพราะต้องมีชีวิตรอด ต้องเรียนรู้ใหม่ทุกวันเพื่อเก็บ Brain practice ให้อยู่กับเราได้นานๆ