อ๊อกซิโตซิน (oxytocin) ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน
อ๊อกซิโตซิน: ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน
พอดีผมได้เปิดดูรายการเกมเศษฐีความรู้ ซึ่งมีคำถามว่า ฮอร์โมนใดจัดเป็นฮอร์โมนแห่งความผูกพัน หลายท่านก็คงมีคำตอบ ในใจนะครับ แต่คำตอบที่ถูกก็คือ อ๊อกซิโตซิน (oxytocin) มีเหตุผลอะไรบ้างที่สนับสนุนคำกล่าวนี้ ผมจะได้อธิบายในบทความนี้ครับ
อ๊อกซิโตซินจัดเป็นนิวโรเปปไตด์ (neuropeptide) หมายถึง สายเปปไทด์ที่สร้างในระบบประสาทซึ่งเกิดจากกรดอะมิโนต่างชนิดกัน 9 โมเลกุลมาต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ (nonapeptide)
อ๊อกซิโตซินถูกสังเคราะห์โดยเซลล์ที่ชื่อ magnocellular neurosecretory cells ที่อยู่ในกลุ่มของเซลล์ประสาทที่ชื่อว่า supraoptic nucleus และ paraventricular nucleus ของสมองส่วนไฮโปธาลามัส นอกจากออกฤทธิ์เป็น สารสื่อประสาทแล้ว ยังถูกส่งไปยัง ต่อมพิธูอิตารีเพื่อหลั่งสู่กระแสเลือดจากต่อมพิธูอิตารีไปทำหน้าที่ในอวัยวะที่อยู่ห่างไกล ซึ่งเราจัดว่าเป็นคุณสมบัติของฮอร์โมน (neurohypophyseal hormone) อ๊อกซิโตซินมีบทบาทสำคัญในหลายอวัยวะโดยเฉพาะในสามส่วนหลัก คือ ไฮโปธาลามัส ต่อมพิธูอิตารี (pituitary gland) และต่อมหมวกไต ที่เรียกว่า hypothalamic pituitary adrenal (HPA) axis ซึ่งปัจจุบันนี้มีการศึกษาวิจัย เรื่องประสาทวิทยาของต่อมไร้ท่อมาเป็นเวลาช้านานถึงบทบาทในด้านความผูกพันทางสังคม (social attachments) และความรัก ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสืบพันธุ์ ทำให้รู้สึกว่ามีความปลอดภัย รวมทั้งยังช่วยลดความกังวลและความเครียดได้อีกทางครับ
การทำงานของอ๊อกซิโตซินแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ดังนี้
- ออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนภายนอกสมอง
1. อ๊อกซิโตซินออกฤทธิ์ที่ต่อมน้ำนม mammary glands เพื่อกระตุ้นให้เต้านมแม่หลั่งน้ำนมให้ลูก
2. การบีบรัดตัวของมดลูกในระหว่างการคลอดบุตร
3. เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศ โดยพบว่าช่วงระยะจุดสุดยอดของการมีเพศสัมพันธ์ (orgasm) มีปริมาณอ๊อกซิโตซินในเลือดสูงขึ้น และยังเชื่อว่ามีส่วนช่วยลำเลียงอสุจิในระหว่างการหลั่งน้ำเชื้อ (ejaculation) ของผู้ชายอีกด้วย - ออกฤทธิ์ภายในสมอง
1. อ๊อกซิโตซินที่หลั่งออกมาจากต่อมพิธูอิตารีและเข้าไปยังกระแสเลือดแล้ว ไม่สามารถที่เข้าสู่สมองได้อีกครั้ง เนื่องจากมีโครงสร้างช่วย ปิดกั้นไว้ ที่เรียกว่า blood-brain barrier ดังนั้นอ๊อกซิโตซินที่มีผลต่อสมอง จึงถูกสร้างและใช้ในสมอง โดยไม่ได้หลั่งออกสู่เลือด ทางต่อมพิธูอิตารี บริเวณวสมองที่ไปออกฤทธิ์มีหลายแห่งซึ่งวัดจากปริมาณอ๊อกซิโตซินตัวรับอ๊อกซิโตซิน (Oxytocin receptors) ที่ตรวจจับได้บนเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทของสมองส่วน amygdala, ventromedial hypothalamus, septum และ brainstem รวมทั้งยังพบตัวรับอ๊อกซิโตซินของในไขสันหลังอีกด้วย
2. ความตื่นตัวทางเพศ พบว่าถ้าฉีดอ๊อกซิโตซินเขาไปในน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ของหนูทำให้อวัยวะเพศตั้งตัวขึ้นได้เอง (spontaneous erection)
3. การจับคู่ ในสมองของผู้หญิงหลั่งอ๊อกซิโตซินเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีกิจกรรมทางเพศ และทำให้เขาปักใจรักเดียว ใจเดียวกับคู่ขาคนนั้น และยังพบว่าระดับของอ๊อกซิโตซินในเลือดสูงขึ้นในคนที่กำลังตกหลุมรัก
4. อ๊อกซิโตซินทำให้เกิดพฤติกรรมของแม่ที่มีต่อลูก มีการทดลองในหนูที่เป็นโสด เมื่อได้รับอ๊อกซิโตซินก็มีพฤติกรรม เสมือนว่าตนเป็นแม่
5. ลดความเครียด อาจเนื่องจากลดระดับความดันโลหิตและฮอร์โมนคอร์ติซอล และมีผลลดความเจ็บปวดและคลายกังวล
6. เพิ่มความเชื่อมั่นและลดความหวาดกลัว ซึ่งเชื่อว่าอ๊อกซิโตซินไปออกฤทธิ์ที่สมองส่วน amygdala ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความหวาดกลัว
มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ปี ค.ศ. 2005 โดยนักวิจัยที่ University of Zurich ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้ดำเนินการศึกษา เมื่อให้อ๊อกซิโตซินในรูปแบบสเปรย์ที่ฉีดเข้าจมูก (Nasal spray) ซึ่งมีขายทั่วไปที่ร้านยาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่าทำให้คนเราเกิดการตอบสนองทางสังคม โดยเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ กับผู้อื่นมากขึ้นซึ่งอาจมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจพอสมควรครับ ดังนั้นผลงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การศึกษาในสาขาวิชาประสาทเศรษฐศาสตร์ (neuroeconomics) มีความสำคัญยิ่งขึ้นในปัจจุบัน และนอกจากนี้บทบาทที่ช่วยเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจนี้ อาจเป็นประโยชน์ใน การรักษาคนที่มีอาการกลัวผู้คนไม่กล้าเข้าสังคม (social phobia) หรือในอาการออติซึม (autism) เป็นต้น
ความรัก ความใคร่
ห ญิ ง ,,, ช า ย
ไ ม่ เ ห มื อ น กั น
ความรักและความใคร่มีความสัมพันธ์กันเปรียบเสมือนวงกลมสองวงที่ซ้อนกันบางอย่าง.เซ็กซ์บางส่วนไม่มีความรักเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น การข่มขืน การขายบริการทางเพศ. แต่บางส่วนของความรักก็ไม่มีความใคร่เข้าไปเจือปน เช่น พ่อรักลูกสาว แม่รักลูกชาย คุณครูรักศิษย์ รวมทั้งความรักต่างเพศแบบกัลยาณมิตร โดยไม่มีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาว
เรามักพบว่าผู้หญิงมีความทุกข์ในเรื่องความรัก ในขณะที่ผู้ชายมีปัญหาเรื่องเซ็กซ์ เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงและชายไม่เหมือนกัน
ฮอร์โมนเพศหญิง (estrogen) เป็นฮอร์โมนแห่งความรัก ส่วนฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) เป็นฮอร์โมนแห่งเซ็กซ์ และความความก้าวร้าว เพราะฉะนั้นผู้ชายส่วนใหญ่จึงสนใจหรือสนใจหรือหมกมุ่นในเรื่องทางเพศมากกว่าผู้หญิง มีพฤติกรรมรุนแรง มากกว่า และสนใจกีฬาประเภทฟุตบอล ในขณะที่ผู้หญิงชอบอ่านหนังสือแนวโรแมนซ์ ติดละครทีวีและช้อปปิ้งมากกว่าเพศชาย
นอกจากนี้ผู้หญิงยังมีฮอร์โมนแห่งความเป็นแม่ (progesterone) ซึ่งจะหลั่งออกจากสมองเมื่อเห็นเด็กทารก ภาพลักษณ์ที่มีลักษณะอ้วนๆ กลมๆ จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากอุ้มอยากดูแลเอาใจใส่.
นอกจากฮอร์โมนแห่งความรักและความเป็นแม่แล้ว ผู้หญิงยังมีฮอร์โมนอ็อกซิโตซิน (oxytocin) ผลทางกาย คือ ทำให้มดลูกบีบตัวเป็นจังหวะ แต่ผลทางจิตใจ คือ เป็นฮอร์โมนแห่งความผูกพัน จะหลั่งจากสมองใน 3 กรณี ได้แก่
·หญิงตั้งครรภ์ท้องแก่ใกล้คลอด เมื่อมดลูกบีบตัวและคลอดลูกออกมา คุณเม่จึงรู้สึกผูกพันกับเด็กทันทีเมื่อตอนแรกเกิด
·ขณะที่คุณแม่ให้นมลูก สมองจะหลั่ง oxytocin ทำให้แม่เกิดความผูกพันกับลูกน้อย
·เวลาผู้หญิงมีเซ็กซ์กับผู้ชาย oxytocin หลั่งจากสมอง ทำให้มดลูกบีบตัวและผู้หญิงก็จะผูกพันกับผู้ชายที่เธอมีเซ็กซ์ด้วย
แต่ผู้ชายไม่มี oxytocin เพราะฉะนั้นโดยธรรมชาติแล้วเพศชายจึงไม่รักเดียวใจเดียว และไม่รู้สึกผูกพันกับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย. ในขณะที่ผู้หญิงหลายคนเข้าใจว่า ผู้ชายคงรู้สึกแบบเดียวกัน คือ ผูกพันเป็นของกันและกัน
ผู้หญิงบางคนใช้เพศสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการผูกมัด แต่ผู้ชายส่วนใหญ่กลับรู้สึกหมดความตื่นเต้น หรือ game over แล้วไปแสวงหาความเร้าใจจากคนใหม่ต่อไป นำไปสู่ความผิดหวังเรื่องความรัก เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติที่แตกต่างของชายหญิง
อารมณ์และการตื่นตัวทางเพศในวัยหนุ่มสาว มีธรรมชาติอยู่ 3 ประการ คือ
1.) เป็นผลพวงของฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ผู้ชายมีมาก (ระดับสูงสุด ในช่วงอายุ 15 25 ปี) ส่วนผู้หญิงมีน้อย
(ระดับสูงสุด ในช่วงอายุ 30 40 ปี) เด็กเล็กยังไม่มี และคนแก่ก็ลดลงกว่าตอนหนุ่มสาว
2.) ผู้ชายตื่นตัวทางเพศง่ายและรวดเร็วกว่าผู้หญิง.. ผู้ชายตื่นตัวง่ายเหมือนเตาแก๊ส ส่วนผู้หญิงตื่นตัวช้าเหมือนเตาถ่าน เพราะฉะนั้นต้องรู้ว่าธรรมชาติของผู้ชายเป็นวัตถุไวไฟ
3.) สิ่งเร้าทางตากระตุ้นได้ไวที่สุด และรองลงมา คือ ทางผิวหนัง ผิวหนังส่วนที่ไวต่อการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวทางเพศ เรียกว่า erogenous zone (พื้นที่สัมผัสเสน่หา หรือพื้นที่วาบหวิวสยิวเสียว)
นอกจากนี้ เรายังพบว่าผู้หญิงอาจมีการตื่นตัวทางเพศได้อีกสองกรณี ได้แก่
· เมื่ออยู่ใกล้คนรัก เพราะอารมณ์รักนำไปสู่ความปรารถนาในการมีสัมผัสทางผิวหนัง
เมื่อมีไข่ตก (ช่วงกลางระหว่างรอบเดือน) และประมาณ 1 2 วันก่อนมี
· ประจำเดือน (เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงและมีเลือดเข้าไปคั่งในบริเวณอุ้งเชิงกรานมากกว่าปกติ) ส่วนเพศชาย อาจเกิดการล่วงเกินทางเพศกับผ่ายหญิงได้ โดยมักมีเหตุปัจจัยสองประการ ได้แก่
· อยู่ด้วยกันตามลำพังสองต่อสอง ในที่ลับหูลับตา แล้วบรรยากาศพาไป
· ฝ่ายหญิงแต่งตัวโป๊ล่อแหลม กระตุ้นเร้าการตื่นตัวทางเพศในฝ่ายชาย
ผู้หญิงจึงควรหลีกเลี่ยงสองสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อป้องกันตนเองในเรื่องภัยทางเพศ
ฮอร์โมนแห่งความผูกพันธ์
ฮอร์โมนแห่งความผูกพันธ์ ความผูกพันเป็นแค่เพียงความรู้สึกใช่ไหม และมีปฏิกิริยาทางเคมีอะไรที่ทำให้เราผูกพันธ์กับคนที่เรารัก ฮอร์โมน Oxytocin ฮอร์โมนของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมทำหน้าที่เป็นนิวโรทรานสมิตเตอร์ (neurotransmitter)ในสมอง
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการศึกษาโดยเริ่มทดลองพบว่า ฮอร์โมนตัวนี้ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมอันหลากหลายรวมทั้งอารมณ์ทางเพศ การยอมรับในสังคม การจับคู่ ความโกรธ ความเชื่อใจ ความรักและพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการเป็นแม่ เจ้าฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนแห่งพลัง พบในทั้งเพศหญิงและชายจะถูกปลดปล่อยออกมาในเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ มันช่วยทำให้คู่รักมีความรู้สึกที่สนิมสนมใกล้ชิดกันมากขึ้น หลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว ทางทฤษฏีกล่าวว่าคู่รักคู่ไหนยิ่งมีเพศสัมพันธ์มากเท่าใดความรู้สึกผูกพันธ์ลึกซึ้งยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
นอกจานี้สารเคมีตัวนี้ยังเป็นตัวที่ทำให้แม่กับลูกมีความผูกพันกัน อย่างมาก ซึ่งจะปลดปล่อยออกมาในช่วงการคลอดบุตร มีอยู่ในน้ำนมของแม่จะออกมาโดยทันทีเมื่อได้เห็นหน้าลูกหรือได้ยินเสียงของ ลูก อีกหนึ่งฮอร์โมนที่สำคัญมีชื่อว่า วาโซเพรสซิน (Vasopressin) จะถูกหลั่งออกมาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทำงานร่วมกับไตของเราเพื่อที่จะควบคุมระดับความสมดุลของน้ำในร่างกาย
นักวิทยาศาสตร์พบว่าสารเคมีตัวนี้มีบทบาทในความสัมพันธ์ของคู่รักที่อยู่ด้วยกันมายาวนาน โดยดูจากผลทดลองในหนู ที่อยู่ในทุ่งหญ้าแพรรี่ เมื่อหนูนาเพศผู้ได้รับยาที่ลดฮอร์โมนวาโวเพรสซิน ทำให้ความรู้สึกผูกพันธ์ที่มีต่อคู่ของมันลดลงทันทีทันใด เนื่องจากพวกมันได้สูญเสียความต้องการที่จะเสียสละเพื่อคู่ของมัน และไม่หึงหวงคู่ของมันจากหนูนาเพศผู้ตัวอื่น
ฮอร์โมน Oxytocin เป็นฮอร์โมนที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกและระหว่างคู่ครอง ดังนั้นมันจึงได้ชื่อว่าเป็น "ฮอร์โมนแห่งความรัก" แต่ความรักก็มีด้านมืด เพราะนักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้วว่า Oxytocin ยังไปมีผลกระตุ้นให้คนเกิดความคลั่งชาติ คลั่งเผ่าพันธุ์ ได้ด้วย จนในที่สุดอาจจะลุกลามไปจนถึงการเหยียดเผ่าพันธุ์หรือชนชาติอื่น, อคติ, และความรุนแรง
นักจิตวิทยา Carsten de Dreu แห่งมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ได้ทำการทดลองทั้งหมด 5 ชุดกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชายชาวดัตช์ (ชาวเนเธอร์แลนด์) จำนวน 280 คน แล้วได้สรุปผลการทดลองว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับ Oxytocin จะมีความรู้สึกรักและผูกพันกับคนที่มีชนชาติดัตช์เหมือนกันมากกว่าชาวต่าง ชาติ
ตัวอย่างเช่น เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างคำที่มีความหมายในแง่บวก หรือในแง่ลบกับชื่อของคนเชื้อชาติต่างๆ (เช่น ชื่อดัตช์ ชื่ออาหรับ ชื่อเยอรมัน เป็นต้น) กลุ่มตัวอย่างที่ได้ดมสเปรย์ที่มี Oxytocin สามารถจับคู่คำที่มีความหมายในแง่บวกกับชื่อชาวดัตช์ได้เร็วกว่ากลุ่ม ตัวอย่างที่ดมยาปลอม (placebo) อย่างมีนัยสำคัญ
หรือในการทดลองที่สมมติให้กลุ่มตัวอย่างเลือกว่าจะช่วยชีวิตคน 5 คนโดยต้องยอมเสียสละคนใดคนหนึ่งในห้าคนนั้น คนในตัวอย่างสมมติมีทั้งชื่อที่เป็นชาวดัตช์และชื่อของชาวต่างชาติรวมๆ คละๆ กันอยู่ กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับ Oxytocin ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกเสียสละชีวิตชาวต่างชาติเพื่อปกป้องชีวิตของคนที่มี ชื่อดัตช์เหมือนกันมากกว่า
นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเชื่อว่าผลการทดลองนี้สมเหตุสมผลพอสมควร เพราะแม้ว่า Oxytocin จะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้สัตว์สังคมเชื่อใจกันและผูกพันกัน แต่มันก็มีผลกระตุ้นให้สัตว์มีพฤติกรรมก้าวร้าวในการปกป้องอาณาเขตหรือปก ป้องลูกอ่อนด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาอันหนึ่งที่คาใจนักวิจัยก็คือ "ทำไมบางคนและบางครั้ง Oxytocin ก็ไม่กระตุ้นให้เกิดอคติรักเผ่าพันธุ์พวกพ้องได้" มันอาจจะมีสภาวการณ์เฉพาะอะไรสักอย่างในการกระตุ้นให้เกิดด้านมืดของ Oxytocin ในจิตใจมนุษย์ก็เป็นได้
นมแม่และฮอร์โมนอ๊อกซิโทซิน : การสร้าง "ความเป็นแม่"
เขียนโดย พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
คุณแม่คะ...เคยสังเกตไหมคะว่า ทำไมเวลาอุ้มกอดลูกเพื่อให้ลูกดูดนมแม่ จะรู้สึกว่าลูกดูน่ารักเหลือเกิน อยากจะกอดกันอย่างมีความสุขอย่างนี้ให้นานที่สุด นี่เป็นผลจากฮอร์โมน อ๊อกซิโทซินค่ะ
อ๊อกซิโทซิน : วิถีธรรมชาติเพื่อสร้าง "ความเป็นแม่"
ในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายและสมองของคุณแม่จะมีการเตรียมพร้อมเพื่อตอบสนองต่อฮอร์โมนแห่งความเป็นแม่นี้ ในช่วงขณะคลอดตามธรรมชาติ ระดับฮอร์โมนนี้ จะขึ้นสู่ระดับสูงทั้งในแม่และลูก ทำให้แม่คุ้นเคยกับกลิ่นลูก อยากอยู่ใกล้ๆลูก ลูกก็จะผ่อนคลาย และชอบที่จะเข้าหากลิ่นของแม่ ช่วงหลังคลอดใหม่ๆนี้คือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่แม่ลูกจะได้พบกัน และเริ่มการให้นมแม่ค่ะ
เกิดอะไรขณะให้นม
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการให้นม มี 2 ชนิด คือ โพรแลคตินและออกซีโทซิน เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการสร้าง การผลิต และการให้นมแม่ค่ะ ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ผลิตจากต่อมใต้สมอง คือ ต่อมพิทูอิตารี โดยโปรแลคตินถูกสร้างจากต่อมส่วนหน้า ส่วนออกซีโตซินผลิตจากส่วนหลังของต่อมเดียวกัน
โพรแลคติน จะถูกกระตุ้นให้หลั่งเพิ่มขึ้นเมื่อทารกดูดนมแม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างน้ำนมขึ้นในต่อมน้ำนม โพรแลคตินจะขึ้นสูงค้างอยู่หลังจากลูกดูดนม นานประมาณ 30 นาที แล้วก็จะตกลง หากลูกไม่ได้ดูดนมต่อเนื่องบ่อยๆ สมองก็จะไม่ผลิตโพรแลคตินออกมาอีก น้ำนมก็จะผลิตออกมาน้อยตามไปด้วยค่ะ นี่คือเหตุผลที่จะต้องให้ลูกดูดนมแม่กันบ่อยแทบจะตลอดเวลาในช่วง1-3 วันแรกนี้โดยไม่ต้องให้นมอื่นเสริม
ออกซีโทซิน หรือ cuddle hormone (การกอด) หรือ bonding hormone (ฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความรักความผูกพัน) จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงใกล้คลอด และหลังจากคลอดแล้วออกซีโทซินก็จะไปกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมของความเป็นแม่ค่ะ
ทุกครั้งที่ลูกดูดนมแม่ สมองจะผลิตฮอร์โมนชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความรักความผูกพันระหว่างคุณแม่และลูกน้อยเพิ่มมากขึ้น และลูกก็จะได้รับออกซีโทซินจากนมแม่โดยตรงด้วยค่ะ เพราะในน้ำนมแม่มีฮอร์โมนชนิดนี้อยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ลูกเกิดความรู้สึกผูกพันกับคุณแม่
นอกจากนั้น ออกซีโทซินยังทำให้เกิดการหลั่งน้ำนมด้วย คือ การที่คุณแม่มีน้ำนมพุ่งออกมาจากเต้า เพราะออกซีโทซินกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ ต่อมน้ำนม และกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่พันอยู่รอบๆ ท่อน้ำนมมีการบีบตัว ทำให้น้ำนมไหลไปสู่ลูกอย่างต่อเนื่องค่ะ
อารมณ์ดี...น้ำนมไหลดี
ฮอร์โมนออกซีโทซินจะไวต่ออารมณ์และความรู้สึกของคุณแม่มากค่ะ หากคุณแม่รู้สึก เครียด กังวล เกิดความกลัว หรือเหนื่อยอ่อนจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะทำให้สมองผลิตฮอร์โมนชนิดนี้น้อยลง ทำให้ปริมาณน้ำนมน้อยลงไปด้วยเช่นกันค่ะ
ในทางตรงข้าม สิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนนี้หลั่งได้ดีขึ้น ก็คือจิตใจที่มีความสุขของแม่เองค่ะ คุณแม่บางคนแค่คิดถึงหรือได้กลิ่นลูกฮอร์โมนหลั่งออกมาได้เลย อย่างเช่นคุณแม่บางคนเวลาจะปั๊มนมจะต้องเอาผ้าที่ลูกเคยใช้ไปนั่งดม พอได้กลิ่นลูกก็มีความสุข น้ำนมก็ออก บางคนเอารูปลูกไปดูก็มีความสุข น้ำนมก็ออกเช่นกัน
ดังนั้น หากต้องการให้ฮอร์โมนหลั่งดี น้ำนมมาในปริมาณมาก คุณแม่ก็ต้องทำใจให้สบาย ไม่เครียด เพราะถ้าเครียดน้ำนมก็จะยิ่งน้อยค่ะ
การให้นมแม่จะเป็นไปตามธรรมชาติค่ะ ลูกร้องไห้หิวนมก็ให้กินนม กินแล้วก็นอน พอร้องใหม่ก็ให้กินใหม่ ลูกนอนหลับก็นอนด้วย ตื่นขึ้นมาหิวก็กินใหม่ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงเดือนแรกซึ่งแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะเด็กในช่วงเดือนแรกต้องการอยู่กับคุณแม่เท่านั้นค่ะ
กอดกันวันละนิด สร้างฮอร์โมนแห่งความผูกพันเราคงได้ยินบ่อยครั้งว่า อ้อมกอดของแม่มีผลต่อสุขภาพจิตของลูกซึ่งจะเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายของความรักและกำลังใจ
แต่อย่างไรก็ตาม คำอธิบายเกี่ยวกับการกอดส่วนใหญ่ฟังดูเป็นนามธรรมเสียมากกว่าจนกระทั่งเร็วๆ นี้นี่เองที่มีคำอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์ระบุว่าการสวมกอดช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนแห่งความผูกพันขณะที่ฮอร์โมนความเครียด และความดันโลหิตลดลง
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาทำการศึกษาผลจากการกอดของคู่รัก 38 คู่ซึ่งพบว่าการกอดช่วยเพิ่มระดับออกซิโทซิน หรือ "ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน"และลดความดันโลหิต ที่เท่ากับช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
อย่างไรก็ดี นักวิจัยระบุไว้ในรายงานที่เผยแพร่ผ่านทางวารสารไซโคโซเมติก เมดิซินว่าระดับความดันโลหิตของผู้หญิงลดลงมากกว่าผู้ชายภายหลังการกอด
ระหว่างการศึกษานั้นผู้ชายและผู้หญิงจะถูกแยกห้องกันเพื่อวัดความดันโลหิตและระดับออกซิโทซินซึ่งจะหลั่งออกมาระหว่าง การคลอดบุตรและการให้นม รวมถึงระดับคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเมื่อมีความเครียด
จากนั้นหญิงชายจะกลับมานั่งรื้อฟื้นช่วงเวลาแห่งความสุขร่วมกัน และดูภาพยนตร์โรแมนติก 5นาทีก่อนถูกปล่อยให้นั่งคุยกันอีก 10 นาทีถัดจากนั้นนักวิจัยจะขอให้คู่รักกอดกัน 20 วินาที
ผลปรากฏว่าภายหลังการกอดระดับฮอร์โมนออกซิโทซินเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายซึ่งปกติแล้วผู้ที่กำลังมีความรัก มักพบฮอร์โมนชนิดนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าฮอร์โมนชนิดอื่น
ทว่าการศึกษาพบว่าผู้หญิงทุกคนในการสำรวจมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล และความดันโลหิตลดลงภายหลังการกอด
ดร.คาเรน เกรเวน ผู้นำการวิจัยชี้ว่าการให้การสนับสนุนประคับประคองกันของคู่รักมีส่วนเกี่ยวพันกับการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนออกซิโทซินทั้งในผู้หญิง และผู้ชายกระนั้นก็ตามออกซิโทซินอาจส่งผลดีต่อหัวใจผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ดร.ชาร์เมนี กริฟฟิธ โฆษกของมูลนิธิหัวใจแห่งอังกฤษเสริมว่าปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์มีความสนใจมากขึ้นเกี่ยวกับความเป็น ไปได้ที่ภาวะอารมณ์ที่ดีอาจส่งผลดีต่อหัวใจ โดยการศึกษานี้ตอกย้ำผลการวิจัยก่อนๆที่ว่าการสนับสนุนจากคู่ของตนซึ่งกรณี นี้คือการกอดของคนรักอาจส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจ
กริฟฟิธสำทับว่านักวิจัยของมูลนิธิหัวใจแห่งอังกฤษเคยแสดงความเชื่อมโยงระหว่างภาวะอารมณ์ดีเช่น การมีความสุขกับการลดต่ำของระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล
งานวิจัยล่าสุดเน้นย้ำความสำคัญของการสนับสนุนทางสังคมต่อทุกคน ไม่เฉพาะระหว่างคู่รักเท่านั้น
ฮอร์โมน Oxytocin ช่วยยับยั้งการกลัวการเข้าสังคม
นักวิจัยสวีเดนและอังกฤษได้แสดงการใช้ functional magnetic resonance imaging (fMRI) เพื่อแสดงให้เห็นว่า ฮอร์โมน Oxytocin สามารถยับยั้ง ความวิตกกังวลส่วนบุคคล การค้นพบดังกล่าวสามารถนำไปสู่ความเข้าใจที่ดีขึ้นและการปรับปรุงการรักษาผล กระทบทางจิตในคนที่มีอาการเครียด เมื่อต้องเข้าสังคม เช่นกลุ่มคนออทิสติกหรือพวกกลัวสังคม
Oxytocin เป็นเปปไทด์ประสาท ที่หลั่งออกจากร่างกายในระหว่างการนวด คลอดบุตร การให้นมบุตร เพื่อทำให้เกิดอาการสงบ หรือมีผลบรรเทาปวด การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่า Oxytocin ส่งเสริมการเข้าสังคม เช่น ในการจับคู่ของสัตว์ ฮอร์โมนจะไปมีผลโดยตรงกับ amygdala ซึ่งเป็นสมองในส่วนที่มีความสำคัญต่อปฏิสัมพันธ์ทางสัมคม และจำแนกการแสดงออกทางอารมณ์ในขณะนั้น รายงานวิจัยครั้งล่าสุดจากสถาบันคาโรลินสก้า มหาวิทยาลัยการแพทย์สวีเดน และ Welcome Trust Functional Imaging Laboratory ในอังกฤษ แสดงให้เห็นว่า Oxytocin มีผลมากกว่าการผลทางความรู้สึกทั่วไปหรือการทำคัวตามสบาย
กลุ่มตัวอย่างจะถูกแสดงรูปภาพหน้าที่แตกต่างกัน 4 หน้า โดย 2 หน้านั้นจะมีการใช้กระแสไฟฟ้าช๊อตเพียงให้รู้สึกเจ็บเล็กน้อย ซึ่งใบหน้าที่มีการช๊อตกระแสไฟฟ้าเข้าไปนั้นย่อมทำให้รู้สึกไม่ดีแน่นอน นักวิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มโดยกลุ่มแรกจะถูกพ่นด้วยฮอร์โมน Oxytocin และอีกกลุ่มให้พ่น placebo แทน
นักวิจัยได้ผลออกมาว่า เมื่อแสดงภาพใบหน้า 2 อันที่มีกระแสไฟฟ้าช๊อตต่อกลุ่มที่ให้ฮอร์โมน Oxytocin นักวิจัยกลับพบว่า กลุ่มดังกล่าวไม่มีการแสดง ความไม่พอใจ ซึ่งต่างจากกลุ่มที่ได้รับ placebo จะยังมีอาการดังกล่าวอยู่
ด้วยการใช้เครื่องแสกน fMR นักวิจัยพบว่ากลุ่มที่มีการพัฒนาการรู้สึกวิตกกังวลจากใบหน้าที่มีการช๊อตก ระแสไฟฟ้า เมื่อแสดงหน้าดังกล่าว จะพบกิจกรรมของสมองสูงในบริเวณ 2 ที่ในสมอง คือ amygdale และ fusiform face ซึ่งอันหลังเป็นบริเวณที่แสดงอารมณ์ไม่พอใจและกลัวทางใบหน้า ซึ่งจะลดลงเมื่อให้ฮอร์โมน Oxytocin แต่กลุ่มที่ให้ placebo จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น
นี้เป็นการบ่งชี้ว่า Oxytocin สามารถลดอาการวิตกกังวลและเพิ่มโอกาสการติดต่อสื่อสารทางสังคมในกลุ่มคนที่มีปัญหาทางจิตบางประเภท และการศึกษาครั้งเก่ายังพบว่า Oxytocin ยับยั้งกิจกรรมของ amygdala ซึ่งนี้สามารถจะกลายมาเป็นหนทางการรักษาแบบใหม่ได้
ที่มา - foosci.com