มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

ดร. สวัสดิ์ บรรเทิงสุข
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1. ความหมายขององค์การ(Organizations):

กล่าวโดยทั่วไป องค์การคือกลุ่มของบุคคลที่มีความเกี่ยวพันธ์กันอย่างมีระบบ มีหน้าที่ที่แน่นอน มีจุดหมายที่แน่นอน และตลอดจนมี การกระทำร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้ Hicks กล่าวว่า "องค์การคือโครงสร้างที่จัดทำขึ้นอย่างมีกระบวนการ ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลร่วมกัน ปฏิบัติหรือ กระทำร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้" 1 แม้แนวความคิด และความก้าวหน้าทางเทคโนโลย ีจะมีมากขึ้น เป็นลำดับ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์ต่าง ๆ แต่ลักษณะของ "องค์การ" ก็ยังคงความหมายที่ชัดเจนมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการที่ Mooney และ Reiley 2 ให้คำจำกัดความของ องค์การไว้ว่า องค์การหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้มี การทำงาน จนนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายร่วมกันได้ องค์การจะประกอบไปด้วยหน้าที่ หรือภาระกิจที่สัมพันธ์ และ สอดประสานกัน อย่างแนบแน่น จนมีความเกี่ยวพันธ์กันระหว่างหน้าที่กลุ่มต่าง ๆ ภายในองค์การนั้น ๆ ด้วย
เมื่อองค์การมีความหมายเป็นดังที่กล่าวมาแล้ว จึงมีประเด็นที่สมควรพิจารณาให้ละเอียดไปอีกระดับหนึ่ง คือ

1) องค์การประกอบด้วยบุคคล (Persons)
2) บุคคลในองค์การจะต้องมีความเกี่ยวข้อง และปฎิสัมพันธ์ (Interaction) ต่อกันอย่างมีระเบียบ หรืออย่างมีโครงสร้าง (Organizational Objectives)
3) บุคคลในองค์การต่างก็มีจุดมุ่งหมายทั้งที่เป็นระดับส่วนบุคคล และ ส่วนรวมอยู่ตลอดเวลา (Personal Objectives และ Organizational Objectives)

2. ธรรมชาติขององค์การ:

ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกกำหนดขึ้นตามความหมายขององค์การ ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ย่อมทำให้เกิดสภาวะการณ์ภายในองค์การที่คล้าย ๆ กันประการหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นองค์การใดก็ตาม นั่นคือ ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลภายในองค์การหาได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นจนบรรลุวัตถุประสงค์ง่ายดาย แต่องค์การแทบทุกองค์การจะมีอุปสรรค ความไม่สะดวก ความไม่ราบรื่นอยู่บ้างไม่มากก็น้อย จนแทบจะกลายเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งขององค์การไปเสียแล้ว แต่ ตราบใดที่อุปสรรค และความไม่ราบรื่นเกิดขึ้นเพียงระดับหนึ่งที่พอจะทำให้องค์การสามารถดำเนินไปสู่ จุดหมายปลายทางได้เป็นส่วนใหญ่ได้แล้ว ก็สมควรที่จะกล่าวว่า องค์การนั้น ๆ ยังอยู่ในภาวะปกติวิสัย ในทางตรงกันข้าม หากองค์การใดองค์การหนึ่งเต็มไปด้วยความไม่ราบรื่นนานัปการ จนตกกระทบถึงจุดหมายปลายทางขององค์การเป็นต้นว่า ผลเสียมากกว่าผลดี ในทางคุณภาพ และได้ผลน้อยกว่าที่คาดในทางปริมาณเช่นนี้แล้ว ก็สมควรกล่าวว่า องค์การควรได้รับการปรับปรุงดัดแปลงหรือแก้ไขไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะองค์การเช่นนี้อยู่ในสภาวะปกติ ความนัยที่กล่าวถึง
สาเหตุที่จะทำให้องค์การใดองค์การหนึ่งอยู่ในสภาวะที่ปกติได้อย่างไรหรือไม่นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับ บุคลากรในองค์การ กล่าวคือหากปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์การเป็นไปในรูปแบบหนึ่ง ก็จะเกิดสภาวะหรือผล (Out Put) แบบหนึ่งขึ้นในองค์การนั้น ซึ่งย่อมแตกต่างไป จากสภาวะการณ์ ของในอีกองค์การหนึ่ง ที่ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลกรเป็นไปในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หากปฏิสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การเปลี่ยนแปรก็จะทำให้ผลงานหรือสภาวะการณ์ในองค์การนั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
กล่าวโดยสรุป ปฏิสัมพันธ์ต่อกันของบุคคลในองค์การใด ๆ ย่อมมีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จขององค์การนั้น ๆ อย่างไม่ต้องสงสัยทีเดียว
ดังนั้น ในขณะที่มีแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการวางแผน และการจัดองค์การให้มีสิทธิภาพ โดยเน้นการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องพิจารณาโดยประณีตนั้น ก็จะต้องพิจารณาถึงประเด็นของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ควบคู่กันไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกประการหนึ่งเป็นสำคัญด้วย ทั้งนี้เพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นเรื่องของบุคคล เป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์

3. ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations):

กล่าวโดยทั่วไป มนุษยสัมพันธ์อาจพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ
1) ระดับบุคคล : มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงความสามารถของบุคคลในอันที่ จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และผู้อื่นก็ไม่มีความทุกข์
2) ระดับบริหาร : มนุษยสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการทำให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาทำงานอย่างเต็มความสามารถ
อย่างไรก็ตาม ถ้านิยามความหมายของมนุษยสัมพันธ์ให้แน่ชัดลงไปก็จะพบว่าผู้ให้นิยามไว้แตกต่างกันอยู่บ้าง
Birtha ได้ให้ทรรศนะของมนุษยสัมพันธ์ว่า " เป็นเรื่องพฤติกรรม ของแต่ละบุคคลกับการปฏิบัต ิของสถาบันที่ก่อให้เกิดผลต่อขอบเขต และความสามารถของ บุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขา และความสามารถของบุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขา และผู้อื่น อีกทั้งสามารถที่จะใช้ความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น" 1
พนัส หันนาคินทร์ ให้คำอธิบายว่า "มนุษยสัมพันธ์คือความสามารถที่บุคคลจะถ่ายทอดความรู้สึก หรือความคิดไปยังผู้อื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเข้าใจความคิด และความรู้สึกของผู้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจในกิจการที่บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน" 1 สมควรกล่าวย้ำไว้อีกด้วยว่า ปฏิสัมพันธ์ (Interactions) และมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) นั้นแตกต่างกัน แต่ต่างก็เป็นเรื่องของบุคคล โดยตรง
หากจะมีคำถามว่า ปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่นั้น อาจจะมิใช่ประเด็นหลักหรือคำถามที่สำคัญ แต่เพื่อให้เห็น และเข้าใจความแตกต่างกับป้องกันมิให้มีความเข้าใจว่า ทั้วสองสิ่งนี้คือสิ่งเดียวกัน จึงสมควรที่จะพิจารณาเฉพาะในที่นี้เพื่อสะดวกแก่การอธิบายบางประการโดยอาศัยข้อเปรียบเทียบเพียง 3 ประการ ดังแผนภูมิ

ปฏิสัมพันธ์ ( Interactions ) มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relations )

1.เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลในวงงาน หรือในองค์การ

2.เป็นการกระทำที่เน้นเอาบทบาท หรือ หน้าที่เป็นแนวทาง

3. มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และ ชัดเจนเมื่อบทบาทหน้าที่ เปลี่ยนแปลง

1.เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลโดยทั่วๆ ไปมิใช่เฉพาะองค์การ

2.เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแห่ง ความเป็น มนุษย์ เป็นพื้นฐาน

3.เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงนิสัย ใจคอ และน้ำใจไมตรี

แผนภูมิ เปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์


1) เงื่อนไขเฉพาะขององค์การ
2) เงื่อนไขทั่วไปขององค์การ
3) ลักษณะการจัดองค์การ (Organizings) การสั่งการ (Directings) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffings) และการควบคุมงาน (Controllings) เป็นต้น
4) ทฤษฎี และแนวความคิดทางการบริหาร (Management Thought) เป็นต้น

4. ความสัมพันธ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ :

เมื่อพิจารณาจากความหมาย และความแตกต่างของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ (Interactions and Human Relations) แล้ว สิ่งที่น่าสนใจที่สุดก็คือ การพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ กล่าวโดยสรุป ทั้งปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ จะมีความใกล้ชิดเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ และเอื้ออำนวยต่อกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพิจารณาปรากฏการณ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ทั้งสองสิ่งนี้จะต้องประสาน และสอดคล้องกันดุจเหรียญ ซึ่งต้องมีทั้งสองด้าน จะขาดด้านใดด้านหนึ่งเสียมิได้ ฉันใดก็ฉันนั้น กล่าวคือ หากมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การเป็นไปด้วยดี ก็จะเป็นสิ่งกระตุ้น และชักนำให้ปฏิสัมพันธ์ในองค์การนั้นดำเนินไปด้วยดี และถ้าหากปฏิสัมพันในองค์การเป็นไปอย่างราบรื่นก็จะเป็นผลให้เกิดมนุษยสัมพันธ์โดยทั่วไปของบุคคลในองค์การนั้น ๆ เป็นไปอย่างแนบแน่นองค์การบรรลุจุดมุ่งหมายได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย หรืออีกนัยหนึ่ง หากใช้แผนภูมที่ I เป็นสื่อนำความคิดในที่นี้ก็จะสามารถกล่าวได้ว่า ลักษณะ และรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ในองค์การใด ๆ ย่อมส่งผลต่อลักษณะ และรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ขององค์การนั้น ๆ จนก่อให้เกิดความสำเร็จ หรือความล้มเหลวขององค์การได้ในที่สุด

5. การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

นับตั้งแต่หน่วยงานเล็ก จนถึงหน่วยงานใหญ่ องค์การระดับเล็กจนถึงระดับใหญ่ ย่อมจะให้ ความสำคัญต่อ มนุษยสัมพันธ์ ในองค์การของตนอยู่เสมอ ปัญหามีอยู่ประการเดียวก็คือ การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ นั้นจะเริ่มต้นขึ้น ได้อย่างไร เพราะเป็นสิ่ง ที่ไม่ง่ายนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ยาก จนไม่อาจกระทำได้
การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ควรเป็นเรื่องของทางวิชาการแทนการปล่อย ปะละเลยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ เป็นเรื่องที่มีแต่ได้กับได้เท่านั้น แต่เนื่องจากผลเสียของการละเลยเรื่องมนุษยสัมพันธ์นี้ไม่ส่งผลชัดเจนขึ้นทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ เสื่อมโทรม และร่วงโรยลงทีละน้อย ๆ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ความเจริญก้าวหน้าทางมนุษยสัมพันธ์ในองค์การเป็นไปอย่างเชื่องช้า เช่นเดียวกับโรคฟัน มักจะปล่อยทิ้งไว้จนถึงระดับหนึ่ง เท่านั้นจึงจะไปรับการรักษาเยียวยาจาก ทันตแพทย์
แท้ที่จริงแล้วการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และสามารถกระทำหรือก่อให้เกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก ทั้งนี้โดยการให้ความรู้ความเข้าใจตลอดจนพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ เช่น

1) การพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจในวิชาจิตวิทยา
2) การพัฒนาทางด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
3) การเสริมสร้างลักษณะนิสัย และการฝึกปฏิบัติต่าง ๆ เช่น กระบวนการกลุ่ม และพฤติกรรมสัมพันธ์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามมนุษยสัมพันธ์ในองค์การใด ๆ จะเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไรหรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อีกด้วย

6. สรุป
1) บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้น และชี้ให้เห็นความสำคัญของมนุษสัมพันธ์ในองค์การ โดยการยกประเด็น ปฏิสัมพันธ์ (Interactions) ในองค์การมาเป็นเครื่องชี้นำ, เปรียบเทียบ และแสดงความสัมพันธ์ ของปฏิสัมพันธ์กับมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)
2) กรณีการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การนั้น มิได้แสดงเป็นรายละเอียดไว้ เพราะเห็นว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเฉพาะเจาะจงลงไป จึงแสดงไว้เป็นหัวข้อเท่านั้น
3) ผู้เสนอบทความนี้ มีความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์นั้นมีความจำเป็นอย่างมากในทุกองค์การ และประสิทธิภาพของมนุษยสัมพันธ์ จะมีมากเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ อีกด้วย เช่น เงื่อนไขขององค์การ รูปแบบ และทฤษฎีหรือแนวความคิดในการบริหารองค์การ เป็นต้น