การสร้างมนุษยสัมพันธ์
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ซึ่งอาจจะเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลในหน่วยงาน องค์การต่าง ๆ ในลักษณะที่มุ่งจะให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความร่วมมือประสานความเข้าใจอันดี ระหว่างกัน และสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสุข
ความสัมพันธของมนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญหลายด้านด้วยกัน คือ
1. ด้านการทำงาน ผู้มีหน้าที่ติดต่อกับบุคคลอื่น จำเป็นจะต้องทำงานที่ติดต่อของ ความร่วมมือ จากผู้ร่วมงาน และติดต่อกับบุคคลนอกหน่วยงานด้วย จึงจำเป็นต้องรู้ และเข้ามาในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ ผลของการวิจัยส่วนมากพบว่า สาเหตุที่ทำให้บุคคลล้มเหลวในการทำงานไม่ได้เลื่อนฐานะ ถูกปลดออกจากงาน
เพราะขาดความสามารถในการเข้ากับคนมากกว่าขาดความรู้
2. ด้านศาสนา มีการกล่าวถึงความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในคำสอน และศาสตร์ต่าง
ๆ ได้แก่
- ศาสนาคริสต์มีคำสอนเป็นกฏว่า “จงปฏิบัติต่อเพื่อนบ้านท่านเหมือนที่ท่าน
ปฏิบัติต่อตัวของท่านเอง”
- ศาสนาพุทธ มีคำสอนเกี่ยวกับความเมตตากรุณาว่า “ให้รู้จักคิดถึงอกเขาอก
เรา”
3. ด้านการเมืองและการปกครอง มนุษยสัมพันธ์ช่วยให้พรรคการเมือง รัฐบาลทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ด้านเศรษฐกิจ มีคำกล่าวว่า “มนุษยสัมพันธ์เพิ่มผลผลิตได้”
5. ด้านสังคม ความรักใคร่ปรองดองสามัคคีกันเป็นหลักทางมนุษยสัมพันธ์ ที่จะช่วยให้
สังคมมีความสมัครสมานสามัคคี เป็นปึกแผ่นมั่นคง
เราอาจกล่าวได้ว่า มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ทั้งในกลุ่มคน เล็ก ๆ ไปจนถึงกลุ่มคนในสังคม ประเทศชาติ และแม้แต่ในสังคมโลก มนุษยสัมพันธ์ทำให้การประกอบกิจกรรมการทำงาน และการดำเนินชีวิตผ่านไปได้ด้วยความพึงพอใจและเป็นสุข
การปรับปรุงตนเองเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
แนวทางในการปรับปรุงตนเองเพื่อให้เกิดความราบรื่นใรการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลทั่วไปนั้น ได้มีผู้ให้ทัศนะไว้หลากหลาย ดังจะได้นำเสนอให้เลือกพิจารณา ใช้เป็นแนวคิดดังต่อไปนี้
โรเบิร์ต คอลคลิน (Robert conclin) ได้เสนอความคิดในการปรับปรุงตนเองไว้ดังนี้ (“พลวัต” 2531:1)
- ให้สิ่งที่คนอื่นอยากได้
- เปลี่ยนแปลงตัวคุณเองก่อน
- สร้างความประทับใจกับความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์
- จูงใจคนให้เป็น
- จงขจัดความขัดแย้ง และความบาดหมางออกจากสัมพันธภาพ
- สร้างความอดกลั้นและความพยายามเข้าใจผู้อื่น
- รู้จักเป็นผู้ฟังที่ดี
- จงมองผู้อื่นให้ถูกต้อง มองปัญหาให้ถูกจุด
วิจิต อาวะกุล (วิจิตร อาวะกุล 2526 : 64-65) ได้กล่าวถึงการปรับปรุงตนเองเพื่อมนุษยสัมพันธ์ไว้ดังต่อไปนี้
- ท่านต้องมีความรู้สึก อยากคบหาสมาคมเป็นมิตรกับคน ถ้ายังไม่มีต้องสร้างสิ่งนี้ให้ เกิดขึ้น ยิ้มแย้มแจ่มใสทักทายพูดคุยกับผู้อื่นเสียบ้าง
- หัดมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือคนอื่นโดยที่เขาไม่ต้องขอร้อง เช่น ช่วยถือของรับโทรศัพท์ให้เพื่อนด้วยความเห็นใจ อย่าเป็นคนใจดำ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้
- ไม่ตระหนี่ แบ่งปันของให้กับเพื่อนแม้ของเล็ก ๆ น้อย ๆ
- มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน หรืองานที่ทำร่วมกันกับเพื่อนให้ได้ดี
- เลิกเป็นคนแข็งกระด้าง เพื่อความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกิดความประทับใจ และชอบพอของคนทั่วไป
- มีความเกรงใจผู้อื่น ไม่ล่วงล้ำสิทธิของผู้อื่น เอาเปรียบเพื่อนเอาแต่ได้ มิได้นึกถึงผู้อื่น หยาบคาย ไร้มารยาท
- หัดเป็นคนให้ความร่วมมือ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เฉพาะประโยชน์ส่วนตัวจึงจะทำ
- ต้องไม่เลือกคบเลือกพูดกับคนบางคนเท่านั้น แต่ควรจะทักทายพูดคุย กับคนทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการโต้เถียงที่ไม่จำเป็น ถ้าเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นก็ควรปลีกตัวหนีไปเสียจะดีกว่า
- หัดเป็นคนคิดก่อนพูด ก่อนการกระทำเสมอ
- หัดตรงต่อเวลาในการนัดหมาย ท่านเคยผิดนัดกับใครบ้างหรือไม่ สายเป็นประจำจนคนอื่นรำคาญหรือเปล่า
- มีความจริงใจ มีความสัตย์จริงต่อเพื่อน และมิตรสหาย อย่าเป็นคนไม่น่าไว้ใจหรือไว้ใจไม่ได้
- ไม่รับของเพื่อฝ่ายเดียว ท่านต้องให้ตอบแทนเขาบ้างเมื่อท่านมีโอกาส และท่านต้องไม่เอาเปรียบเพื่อน คอยแต่กอบโกยผลประโยชน์จากเพื่อน
- ไม่พูดจาหยาบคาย กระด้าง ห้วย กระโชก แต่ต้องพูดสุภาพ หัดพูดมีหางเสียงเสียบ้าง กิริยาควรสุภาพเรียบร้อย
- เป็นผู้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกิจการงานส่วนรวมของที่ทำงานอยู่เสมอ
- ไม่นินทาผู้อื่น ให้ร้ายป้ายสีผู้อื่นลับหลังแต่ต่อหน้าทำดี
- อย่าเป็นคนโหดร้าย ทารุน แต่ควรมีความกรุณาปราณี
วิทยา เทพยา (วิทยา เทพยา 2521 : 17) ได้เสนอแนวทางการปรับปรุงตนเองในด้านทั่วไป ด้านเจตคตินิสัยในการทำงาน และมารยาทในสำนักงานไว้ดังนี้
การปรับปรุงตนเองทั่ว ๆ ไป
- ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี
- ต้องเป็นผู้แต่งกายเรียบร้อย เหมาะสม และสวยงาม
- ต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย และเครื่องแต่งกาย
- การปรากฏตน และการวางตนให้เหมาะสม
- การพูดจาและน้ำเสียง
- มีความซื่อสัตว์ และภักดี
- ความขยันหมั่นเพียร และไว้วางใจได้
- เป็นผู้สุภาพอ่อนน้อม และมีไหวพริบ
- การรู้จักเคารพยำเกรงผู้ที่ควรเคารพ รับฟังการติชม คำวิพากษ์วิจารณ์ และคำแนะนำจากผู้อื่น
- ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
- มีความร่วมมือกระตือรือร้น และมานะในทางดี
- สามารถที่จะสมาคมกับบุคคลทุกประเภท
- มีความไว้วางใจ
เจตคติอันพึงประสงค์
- ยิ้มแย้มแจ่มใส และมีอัธยาศัยไม่ตรีที่ดี
- ให้ความร่วมมือและไว้วางใจได้
- มีความคิดริเริ่ม และรู้จักรับผิดชอบ
- ทำงานได้ดีเกินคาด
- รักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีในการปฏิบัติงาน
- ความภักดีต่องานและต่อนายจ้าง
- ความซื่อสัตย์
- ความเข้าใจในแง่คิดของผู้อื่น เช่นผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน
- การรู้จักฟัง
นิสัยในการทำงานอันพึงประสงค์
- มาทำงานทันเวลา
- ความเป็นระเบียบ และความเรียบร้อย และระมัดระวังเครื่องมือเครื่องใช้
- ความแม่นยำ
- ตรวจก่อนจะให้ผ่านไป
- ทำงานให้เสร็จทันกำหนด
- ทำงานที่ควรทำก่อน ต้องทำก่อน
- ประหยดเวลาและวัสดุ
- รายงาน และแก้ไขข้อผิดพลาด แทนที่จะปิดบังอำพราง
- ถาม และตอบอย่างชัดเจน
วิธีศึกษาเพื่อให้เข้าใจผู้อื่น
การศึกษาผู้อื่นให้เกิดความพอใจ เป็นวิธีการของวิชามนุษย์สัมพันธ์ที่สำคัญประการหนึ่ง เราอาจศึกษาผู้อื่นได้จาก ภาษาพูด และท่าทาง โดยยึดหลักดังนี้
- พิจารณาจากใบหน้า เช่น ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส หน้าบึ้ง หน้าแดง
- พิจารณาจากสายตา เช่น ถ้ามองคนในระดับสายตา ถือว่าปกติ มองในระดับต่ำกว่าสายตา จ้องตา หลบตา ถือว่ามีความในใจผิดปกติ
- พิจารณาจากบุคลิก เช่น มือสั่น หายใจแรง ผุดลุกผุดนั่ง หรือสงบ เคร่งขรึม เย็นชา การพูดด้วยเสียงปกติ หรือรีบร้อน
- พิจารณาจากเจตนา เช่น พฤติกรรมบางอย่าง ปิดประตูเสียงดังเพราะโกรธหรือไม่ตั้งใจพูดเสียงแข็ง เยาะเย้ยหรือล้อเล่น มาทำงานสายเพราะเบื่อหน่าย มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานหรือเพราะไม่สบาย
วิธีปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์
การปฏิบัติต่อผู้อื่นเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้น ควรปฏิบัติด้วยความเข้าใจ ในลักษณะ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” และต้องศึกษาเพื่อทำควาวเข้าใจถึง ธรรมชาติของความแตกต่าง ระหว่างบุคคล โรเบอร์ต เฮช.ลอสัน (Robert H> Lorson) ได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 5 ประเภท และได้เสนอแนะ วิธีปฏิบัติกับบุคคลแต่ละประเภท ไว้ดังนี้
- พวกดื้อรั้น เป็นพวกที่ชอบคัดค้าน ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง และจะแสดงความไม่พอใจเมื่อให้ปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
วิธีปฏิบัติ - ใช้คำสั่งเชิงขอร้องก่อนที่จะใช้อำนาจสั่งให้ปฏิบัติ
- ไม่ควรพยายามชี้ให้เขายอมรับความผิด แต่ควรชี้ให้เห็นผลประโยชน์ ของส่วนร่วม และความยุติธรรม
- เมื่อเขาให้ความร่วมมือในเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรถือโอกาสชมเชยทันที
- พยายามให้กำลังใจช่วยให้เขาแสดงความสามารถเชิงปฏิบัติออกมา - พวกเฉื่อยชา เป็นพวกที่คิดแล้วคิดอีก และเสียเวลานานกว่าจะตัดสินใจทำอะไร
วิธีปฏิบัติ - เวลาออกคำสั่ง ควรพูดช้า ๆ ให้คำง่าย ๆ และชัดเจน อาจต้องทวนคำสั่ง ด้วยและให้เวลาในการปฏิบัตินานพอสมควร
- ต้องทำให้เขารู้สึกว่ามีความสำคัญ และได้รับความเห็นใจ
- ให้คำชมเชยยกย่องการปฏิบัติของเขาโดยเร็วเพื่อให้กำลังใจ
- แสดงท่าทีเป็นมิตร และชี้ข้อบกพร่องอย่างตรงไปตรงมา และให้เวลา พอสมควรในการปรับปรุงแก้ไข
- อธิบายเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน และให้เขาได้ซัก ถามจนเข้าใจแจ่มแจ้ง และพอใจ - อารมณ์อ่อนไหว เป็นประเภทที่เห็นเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ ถูกกระทบไม่ได้โมโหง่ายและไม่พอใจเมื่อถูกสั่งให้ทำ
วิธีปฏิบัติ - เอาใจใส่เขาในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ความเห็นอกเห็นใจ และให้เขาได้ระบายความในใจ
- ให้คำชม หรือ คำเยินยอให้มากแล้ว จะได้รับความร่วมมือที่ดี รวมทั้งพยายามส่งเสริมจุดเด่น ชี้แจงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลง ให้เขาหายสงสัย - พวกขลาดกลัว เป็นพวกขี้อาย ไม่ค่อยมีความคิดริเริ่ม ไม่ค่อยกล้าซักถาม และเมื่อไม่พอใจก็ไม่แสดงออก
วิธีปฏิบัติ - อธิบายทุกอย่างให้ชัดเจน และทวนคำสั่งเสมอ
- คอยสังเกตความผิดปกติเพื่อให้รู้ว่าไม่พอใจสิ่งใด และให้โอกาสเปิดเผยความในใจ
- รีบชมเชย ยกย่อง เมื่อเขาแสดงความคิดริเริ่มที่เป็นประโยชน์
- พยายามไม่เอ่ยถึงข้อบกพร่องและความผิดพลาด แต่ควรพูดจาให้เขารู้สึกสบายใจ และชี้แจงถึงการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม - พวกกล้าแสดงออก (กล้าแข็ง) เป็นพวกที่กล้าพูด กล้าโต้เถียง ถือความคิดตนเองเป็นครั้งคราวอาจขาดความรอบคอบในการทำงานต้องตรวจสอบอยู่เสมอ
วิธีปฏิบัติ - ใช้การขอร้องแทนการออกคำสั่ง และแสดงความเชื่อมั่นในตัวเขา แต่บางครั้งอาจขาดความรอบคอบในการทำงานต้องตรวจสอบอยู่เสมอ
- อาจต้องรับฟังเรื่องต่าง ๆ ที่เขาร้องเรียนบ่อย ๆ ควรใช้คำพูดเชิงเห็นใจ แต่อย่าชมเชยพร่ำเพรื่อ ยกเว้นงานที่เด่นจริง ๆ
- การชี้แจงเหตุผล และข้อเท็จจริงกันแบบตัวต่อตัวจะได้ผลดี เพราะเขาเป็นบุคคลประเภทไม่ค่อยยอมรับความจริง
- ใช้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงได้เพราะเป็นพวกที่ปรับตัวได้รวดเร็ว
กลวิธีการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ทำได้หลายวิธีและควรกระทำด้วยวิธีต่าง ๆ ทำไปพร้อม ๆ กันให้เหมาะสมกับสถานการณ์เวลาและบุคคล กลวิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีหลักการดังนี้
- สร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตนเอง
การสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตนเอง เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้เกิดความคิดที่มุ่งมั่น ยินดี และเต็มใจที่จะสร้างแต่สิ่งที่ดี ๆ ให้เกิดขึ้น ความรู้สึกที่ดี ๆ ของคนเรานั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เรามีแนวคิดที่ดี เช่น แนวคิดดังต่อไปนี้
- ถ้าทำให้คนอื่นได้รับความสุข เราก็จะมีความสุขด้วย
- จงเชื่อมั่นว่าท่านทำได้ แล้วท่านจะทำได้
- เตรียมพร้อมสำหรับวันข้างหน้าทำในสิ่งที่ถูก เพราะว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
- ถ้าเราให้สิ่งทีดี ๆ กับคนอื่น เราก็จะได้รับสิ่งที่ดี ๆ เช่นกัน - ใช้เทคนิคการสนทนาเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
การสนทนา คือ การติดต่อสื่อสารความหมายกับบุคคลอื่น การสนทนาที่ดีจะทำให้ใช้ชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เทคนิคการสนทนาเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์มี 4 ประการ คือ
2.1 การสนทนาให้เกิดความอุ่นใจ (Rapport) แบ่งเป็น 3 ประการ คือ
1) ใช้ภาษาพูดและภาษาท่าทาง ได้แก่ การทักทาย หยอกล้อ จับแขน จับมือ แตะไหล่
2) ใช้คำพูดชมเชย เช่น ชมสิ่งของ เสื้อผ้า เครื่องประดับ บ้าน รถยนต์
3) ใช้คำพูดถามถึงครอบครัว เช่น ถามทุกข์สุข ลูกหลาน พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย
การสนทนาให้เกิดความอบอุ่นใจ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น ที่สำคัญจะต้องใช้สายตาที่แสดงถึงความสนใจและจริงใจประกอบไปด้วยเสมอ
2.2 การใช้คำถาม (Asking skill)
การใช้คำถามเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ หลักการใช้ คำถาม มีดังนี้
1) ถามถึงความสามารถที่เป็นจุดเด่น หรือความสำเร็จของเขา เช่น เรื่องการเล่นกีฬา การประกอบอาชีพ
2) ถามถึงเรื่องที่น่าสนใจ กำลังเป็นข่าวอยู่ในเวลานั้น เช่น ข่าวการขึ้นการฉลองปีใหม่ ข่าวการเมือง
3) ถามทุกสุขเพื่อให้เขาได้ระบายหรือเล่าเรื่องต่าง ๆ คำถามในข้อนี้ ใช้สำหรับคนที่สนิทสนมกันจริง ๆ เท่านั้น
2.3 การฟัง (Listening Skill)
หลักการฟังที่ดีมีดังนี้
1) เงียบ เพื่อให้ผู้พูดได้พูดเต็มที่
2) ผงกศรีษะ เพื่อให้รู้ว่าเราสนใจ และตั้งใจฟัง
3) เปล่งเสียงรับ เช่น ฮือ, หือ, อ๋อ, อ้อ
4) ตอบรับ เช่น ใช่… ค่ะ, ครับ, ต่อไป
5) แสดงสีหน้าท่าทางประกอบ เช่น หัวเราะ ยิ้ม ทำหน้าเศร้าแสดงแววตาฉงนสนเท่ห์
2.4 การทวนคำพูด (Restatement)
การทวนคำพูดเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีในการสนทนา ช่วยให้ผู้พูดรู้ว่าเราสนใจฟัง
เรื่องที่เขาพูดมาโดยตลอด หลักการทวนคำพูด มีดังนี้
1) ทวนคำพูดทุกคำ แต่เปลี่ยนสรรพนาม เช่น เขาพูดว่า “ผมอยากไปพักผ่อนสัก ระยะ” จะทวนว่า “คุณอยากไปพักผ่อนสักระยะใช่ไหม
2) ทวนคำพูดท้ายประโยค เช่น เขาพูดว่า “ผมกลุ้มใจเรื่องเพื่อนในที่ทำงาน” จะทวน ว่า “เพื่อนในที่ทำงาน” หรือ “เพื่อนเหรอ”
การทวนคำพูดทั้ง 2 แบบ จะต้องรู้จักเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสม อย่าใช้พร่ำเพรื่อ เพราะจะทำให้ถูกมองว่าเป็นคนพูดซ้ำ พูดตาม หรือ ล้อเลียนผู้อื่น - ใช้หลักการสนทนาเพื่อช่วยเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์
การสนทนา ที่ทำให้คู่สนทนาเกิดความรู้สึกที่ดี สบายใจ สนุกสนาน และพอใจที่จะสนทนากับเรา ควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1.1 แสดงสีหน้าท่าทาง การยิ้ม การทักทาย เพื่อสื่อความหมายว่าเป็นมิตร
1.2 ให้ความสนใจกับเรื่องที่กำลังสนทนาด้วยความจริงใจ
1.3 ทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ขัดจังหวะ ไม่ขัดคอ และไม่ทำท่าทางเหมือนซุบซิบนินทา
1.4 แสดงความรู้ของตนเองบ้าง แต่ระวังอย่าให้กลายเป็นการอวดรู้ จะทำให้ผู้ฟังกระอัก
กระอ่วนใจ หรือความหมั่นไส้
1.5 ไม่ทำตัวเป็นคนเจ้าปัญหา ถามปัญหาสารพัน หรือถามแบบสอดรู้จนคู่สนทนเกิด
ความรำคาญ
1.6 ไม่ควรเจาะจงสนทนากับใครคนหนึ่ง แต่ควรสนทนากับทุก ๆ คนและพยายามให้การ
สนทนาลงรอยกันไม่ให้เกิดความเครียดหรือความขัดแย้งใด ๆ - ใช้ศิลปะในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
ศิลปะง่าย ๆ ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
4.1 มีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
4.2 มีความสดชื่นรื่นเริง
4.3 ไม่เห็นแก่ตัว
4.4 มีความเยือกเย็น
4.5 มีความสม่ำเสมอ
4.6 รับฟังผู้อื่น
4.7 ทำตัวง่าย ๆ ไม่เป็นกันเอง
4.8 เป็นคนเปิดเผย
4.9 มีความอดทน
4.10 สุภาพอ่อนโยน
4.11 มีความเมตตากรุณา
4.12 ทักทายผู้อื่นก่อน
4.13 จำชื่อผู้อื่นให้ได้มากที่สุด
4.14 ตอบรับเมื่อได้รับคำชม
4.15 มีอารมณ์ขัน
4.16 มีความจริงใจ