การสร้างผู้นำ

สร้างผู้นำ ๑๐๑ สิ่งที่ผู้นำทุกคนควรรู้

สร้างผู้นำ ๑๐๑ สิ่งที่ผู้นำทุกคนควรรู้
การเตรียมบุคลากรให้พร้อมในการเป็นผู้นำเป็นวิถีทางอันทรงพลังสูงสุด สู่ความสำเร็จ เป้าหมายของหนังสือสร้างผู้นำ ๑๐๑ สิ่งที่ผู้นำทุกคนควรรู้ นี้ คือการช่วยให้ผู้อ่านประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงใน ๔ ด้าน ที่สำคัญยิ่ง ได้แก่
๑. มนุษยสัมพันธ์
๒. ทัศนคติที่ดี
๓. การเป็นผู้นำ
๔. การสร้างผู้นำ
หนังสือสร้างผู้นำ ๑๐๑ สิ่งที่ผู้นำทุกคนควรรู้ อยู่ในชุดเดียวกับหนังสือชื่อ
มนุษยสัมพันธ์ ๑๐๑ ทัศนคติ ๑๐๑ และ ผู้นำ ๑๐๑

สรุปประเด็นเนื้อหา

 

JOHN C. MAXWELL ได้กล่าวว่า “สำหรับผู้นำแล้ว ความสำเร็จก็คือการนำเอาความสามารถของคนรอบตัวเขามาใช้ให้ถึงจุดสูงสุด”
ทำไมจึงต้องสร้างผู้นำ?
แม้เราจะชื่นชอบคนที่ประสบความสำเร็จด้วยลำแข่งของตนเองเพียงใดก็ตาม แต่ที่จริง ไม่มีใครทำสิ่งใดโดยตนเองคนเดียวได้ จริงอยู่ว่าแม้ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ซึ่งความสำเร็จของบรรดาผู้นำมีความสามารถ ที่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่โลกนี้ แต่บุคคลเหล่านั้น ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานเสมอ ภาษิตจีนกล่าวไว้ว่า “ เบื้องหลังผู้ยิ่งใหญ่ ก็มีผู้ยิ่งใหญ่คนอื่นๆ อยู่เสมอ” ความจริงก็คือ การทำงานเป็นทีมนั้นเป็นหัวใจของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ดังนั้น เรายอมรับในความจริงดังกล่าวและพยายามเป็นผู้ร่วมงานที่ดีขึ้นในทีมหรือไม่ คนเพียงคนเดียวก็น้อยไปที่จะไปถึงความยิ่งใหญ่ คุณไม่สามารถทำสิ่งอันมีคุณค่าอย่างแท้จริงโดยลำพังตัวคุณเองได้ หากคุณใส่ใจในข้อนี้อย่างแท้จริง คุณก็จะเริ่มเห็นคุณค่าของการพัฒนาและสร้างคนในทีมของคุณ
ซี. จีน วิลค์ส ตั้งข้อสังเกตไว้ในหนังสือ คำสอนของพระเยซูเรื่องการเป็นผู้นำ ว่า
 ทีมประกอบไปด้วยจำนวนคนที่มากกว่า ดังนั้นจึงมีทรัพยากร แนวความคิด และพลังที่มากกว่าบุคคลเพียงคนเดียว
 ทีมสามารถเพิ่มศักยภาพสูงสุดให้แก่ผู้นำ และลดข้อบกพร่องของเขาลงให้เหลือน้อยที่สุด แต่ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยจะมีปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในแต่ละคน
 ทีมจะมีหลายมุมมองในการสนองตอบความต้องการ หรือบรรลุถึงเป้าหมาย ดังนั้นจึงสามารถเสนอแนะได้หลากหลายทางเลือกในแต่ละสถานการณ์
 ทีมแบ่งปันทั้งคำสรรเสริญสำหรับชัยชนะ และคำติเตียนสำหรับความพ่ายแพ้ จึงก่อให้เกิดการถ่อมตนอย่างจริงใจ และความเป็นพรรคพวกที่เกื้อหนุนกันและกันอย่างแท้จริง
 ทีมช่วยให้ผู้นำยอมรับการตรวจสอบจากทีม ว่าด้วยเป้าหมายต่างๆ
 ทีมย่อมทำได้มากกว่าบุคคลเพียงคนเดียว

ทำไมเราถึงยืนอยู่โดยลำพัง?

๑. ถือตน มีน้อยคนนักที่จะยอมรับว่าตนเองไม่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ คุณต้องเลิกถือตัวและพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของทีม
๒. ขาดความมั่นใจในตนเอง ผู้นำบางคนไม่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และล้มเหลวในการสร้างคนในทีมให้เป็นผู้นำ เนื่องด้วยความรู้สึกหวาดหวั่นคนรอบข้าง มีผู้นำกล่าวว่า “วิธีแรกสุดที่จะประเมินความเฉลียวฉลาดของผู้นำ ก็คือ การมองดูคนที่อยู่รอบข้างเขา” ผู้นำที่รู้สึกมั่นใจเท่านั้น ที่จะกล้ามอบหมายอำนาจแก่ผู้อื่น
๓. อ่อนหัด พวกเขามักประเมินความยากลำบากในการทำการใหญ่ต่ำเกินไปเพราะขาดประสบการณ์ ผลก็คือ เขาทดลองทำเองโดยลำพัง ต้องตระหนักว่า ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายโดยลำพังตนเองได้ และรู้จักปรับตัวโดยอาศัยการสร้างทีมเป็นหนทางสู่ความสำเร็จ
๔. ลักษณะนิสัยส่วนตัว

วิธีลงทุนในทีมของคุณ

๑. ตัดสินใจสร้างทีม - นี่คือจุดเริ่มต้นของการลงทุนในทีม
๒. รวบรวมคนให้ได้ทีมที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ – เพื่อยกระดับศักยภาพของทีม
๓. ลงทุนเพื่อพัฒนาทีม – เพื่อประกันการเติบโตของทีม
๔. ทำสิ่งๆ ร่วมกันเป็นทีม – เพื่อสร้างความเป็นพรรคพวก
๕. ให้อำนาจในการนำแก่สมาชิกในทีม ด้วยการมอบหมายความรับผิดชอบ และอำนาจในการตัดสินใจ – เพื่อเป็นการสร้างผู้นำสำหรับทีม
๖. ยกความดีความชอบในความสำเร็จให้แก่ทีม – เพื่อสร้างขวัญของทีม
๗. ติดตามผลของการลงทุนในทีม – เพื่อให้ทีมได้รับการตรวจสอบ
๘. หยุดการลงทุนในคนที่ไม่เติบโต – เพื่อขจัดความเสียหายมิให้เกิดขึ้นต่อทีมมากกว่านี้
๙. สร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับทีม – เพื่อให้ทีมปรับปรุงตนเอง
๑๐. ช่วยให้ทีมมีโอกาสสูงสุดที่จะประสบความสำเร็จ - เพื่อเป็นหลักประกันผลตอบแทนสูงสุดสำหรับทีม

เลือกสรรคน

 กลุ่มคนที่ใกล้ชิดผู้นำที่สุด ก็บ่งบอกถึงระดับความสำเร็จสูงสุดของเขา
 ผู้มีศักยภาพผู้นำ ช่วยแบกภาระได้
- ผู้นำรอบตัวช่วยสะท้อนความคิดเห็น
- ผู้นำรอบตัวมีความคิดแบบผู้นำ
 ผู้นำย่อมดึงดูดผู้มีศักยภาพในการนำ
- ผู้นำมีความคิดเหมือนเขา
- ผู้นำแสดงความรู้สึกที่ผู้นำคนอื่นเข้าใจได้
- ผู้นำสร้างบรรยากาศที่ดึงดูดผู้มีศักยภาพผู้นำ
- ผู้นำไม่รู้สึกกลัวคนที่มีศักยภาพสูง
 ผู้นำที่คุณได้เตรียมให้พร้อมแล้ว จะขยายและยกระดับอนาคตขององค์กร
 ยิ่งคุณนำคนมากขึ้น คุณก็ยิ่งต้องการผู้นำมากขึ้น

คุณลักษณะที่มีศักยภาพผู้นำ

 เลือกถูกคน
กุญแจไปสู่การเลือกสรรคนอย่างถูกต้องนั้น ขึ้นอยู่กับ ๑) ความสามารถในการมองภาพโดยรวม และ ๒) ความสามารถในการวินิจฉัยผู้สมัครในระหว่างการคัดเลือก
 คุณสมบัติที่ควรมองหาในตัวผู้นำ
๑. คุณธรรม มีหลายคุณสมบัติที่แสดงถึงคุณธรรมอันดีงาม ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส การมีระเบียบวินัยในตนเอง การรับฟังคำว่ากล่าวตักเตือน การเป็นคนที่พึ่งพาได้ ความมุมานะบากบั่น ความรอบคอบ รวมไปถึงจรรยาบรรณในการทำงานอย่างขยันขันแข็ง อาจประเมินหรือสังเกตได้จาก
- ไม่ยอมรับผิดชอบในการกระทำของเขาเองหรือในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- ไม่ทำตามที่สัญญาไว้หรือไม่ทำสิ่งที่มอบหมายให้แล้วเสร็จ
- ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด
๒. มีอิทธิพล การเป็นผู้นำ คือการมีอิทธิพลต่อผู้อื่น ผู้นำทุกคนมีคุณลักษณะ ๒ ประการ คือ ๑) รู้ว่าจะไปไหน
๒) สามารถชักชวนให้คนอื่นร่วมทางไปด้วยกัน
๓. ทัศนคติที่ดี บุคคลผู้มีทัศนคติที่ดี สามารถมองทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตไปในแง่ดีได้หมด ทำให้เริ่มต้นวันใหม่แต่ละวันด้วยจิตใจอันแจ่มใส
๔. ทักษะในการเข้ากับผู้อื่นได้ดีเยี่ยม
๕. ความสามารถพิเศษที่เห็นได้ชัด
๖. มีประวัติการทำงานดีเยี่ยม
๗. มีความเชื่อมั่น
๘. มีวินัยในตนเอง
๙. มีทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล
๑๐. ไม่พึงพอใจในสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ คือมีวิสัยทัศน์ในการมองเห็นสิ่งที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ และพยายามก้าวขึ้นไปสู่ความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้นๆ เสมอ

สร้างอย่างไร?

 พัฒนาความสัมพันธ์ส่วนตัวกับคนที่คุณสร้าง
 แบ่งปันความฝันของคุณ “จงให้คนอื่นมีส่วนในความฝัน แล้วฝันนั้นจะยิ่งใหญ่ เกินกว่าที่คุณเคยหวังไว้เสียอีก”
 แสวงหาความอุทิศทุ่มเท
 ตั้งเป้าหมายสำหรับการเติบโต – เป้าหมายเหมาะสม สามารถทำได้ วัดได้ ชัดเจน ท้าทาย เขียนเป้าหมาย
 สื่อความเข้าใจในสิ่งที่สำคัญ
 ฝึกคนด้วยกระบวนการ ๕ ขั้นตอน
ขั้นที่ ๑ เป็นแบบอย่าง
ขั้นที่ ๒ เป็นพี่เลี้ยง
ขั้นที่ ๓ เฝ้าสังเกต
ขั้นที่ ๔ ให้กำลังใจ
ขั้นที่ ๕ เพิ่มพูน
 มอบหมาย “สามสิ่งหลัก” ได้แก่ ความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ และการตรวจสอบได้
 ให้อุปกรณ์ที่ต้องใช้
 ดูแลอย่างเป็นระบบ
 จัดประชุมเสริมสร้างความเป็นผู้นำเป็นระยะๆ

บุคลิกลักษณะของผู้นำที่ยกระดับ

 เห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมทีม
 เห็นคุณค่าของสิ่งที่เพื่อนร่วมทีมเห็นคุณค่า
 เพิ่มคุณค่าให้เพื่อนร่วมทีม
 ทำให้ตนเองมีคุณค่า
วิธีเป็นผู้ยกระดับ
๑. เชื่อมั่นในผู้อื่นก่อนที่ผู้อื่นจะเชื่อมั่นในตัวคุณ
๒. รับใช้ผู้อื่นก่อนที่เขาจะรับใช้คุณ
๓. เพิ่มคุณค่าให้ผู้อื่นก่อนที่เขาจะเพิ่มคุณค่าให้คุณ

สร้างสู่ความเป็นเลิศ

 “ ถูกคน ถูกตำแหน่ง คือหัวใจแห่งความสำเร็จของแต่ละบุคคลและทีมงาน ” ลองมาพิจารณาว่า ประสิทธิภาพของทีมเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างตามการวางแผน
ผิดคน อยู่ ผิดตำแหน่ง = ถดถอย
ผิดคน อยู่ ถูกตำแหน่ง = ขัดเคือง
ถูกคน อยู่ ผิดตำแหน่ง = สับสน
ถูกคน อยู่ ถูกตำแหน่ง = ก้าวหน้า
ถูกคนทั้งทีม อยู่ ถูกตำแหน่งทั้งทีม = ทวีคูณ
 วางคนให้ถูกตำแหน่ง
๑. รู้จักทีมงาน – ต้องรู้วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ วัฒนธรรม หรือ ความเป็นมาของทีม
๒. รู้จักสถานการณ์ – แม้ว่าวิสัยทัศน์หรือวัตถุประสงค์ของทีมจะคงที่ แต่สถานการณ์ก็แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ คุณต้องรู้ดีว่าทีมกำลังอยู่ตรงจุดใด และจะต้องทำอย่างในสถานการณ์ที่เป็นอยู่
๓. รู้จักผู้เล่น - พิจารณาคุณลักษณะของแต่ละคน เพื่อจัดวางคนให้ถูกตำแหน่ง
 เริ่มด้วยการค้นหาที่ๆ เหมาะสมสำหรับตัวคุณ
หากคุณไม่อยู่ในตำแหน่งที่จะวางผู้อื่นในทีม คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งของทีมได้ดังนี้
- มีความเชื่อมั่น
- รู้จักตนเอง
- วางใจในผู้นำของคุณ
- มองเห็นภาพโดยรวม
- พึ่งในประสบการณ์

อ้างอิง

สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ/เอกสาร
สร้างผู้นำ ๑๐๑ สิ่งที่ผู้นำทุกคนควรรู้ เขียนโดย JOHN C. MAXWELL แปลโดย จตุรงค์ โสมมนัส


สรุปเนื้อหา โดย นางเตือนใจ อุ่นจันทร์ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก กรมการพัฒนาชุมชน