บ่อดักไขมัน
บ่อดักไขมันใช้สำหรับบำบัดน้ำเสียจากครัวของบ้านพักอาศัย ห้องอาหารหรือภัตตาคาร เนื่องจาก น้ำเสียดังกล่าว จะมีน้ำมัน และไขมัน ปนอยู่มาก หากไม่กำจัดออกจะทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน โดยลักษณะน้ำเสีย จากครัวของ บ้านพักอาศัย กรณีที่ไม่ผ่านตะแกรง จะมีน้ำมัน และไขมันประมาณ 2,700 มิลลิกรัม/ลิตร หากผ่านตะแกรง จะมีน้ำมันและไขมันประมาณ 500 มิลลิกรัม/ลิตร สำหรับลักษณะน้ำเสีย จากครัวของภัตตาคาร จะมีน้ำมัน และไขมันประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/ลิตร ดังนั้น บ่อดักไขมัน ที่ใช้จะต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ ที่จะกักน้ำเสีย ไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ไขมันและน้ำมัน มีโอกาสลอยตัวขึ้นมาสะสมกันอยู่บนผิวน้ำ เมื่อปริมาณไขมัน และน้ำมัน สะสมมากขึ้น ต้องตักออกไปกำจัด เช่น ใส่ถุงพลาสติก ทิ้งฝากรถขยะ หรือนำไป ตากแห้งหรือหมักทำปุ๋ย บ่อดักไขมัน จะสามารถ กำจัดไขมัน ได้มากกว่าร้อยละ 60 บ่อดักไขมันมีทั้งแบบสำเร็จรูป ที่สามารถซื้อและติดตั้งได้ง่าย หรือสามารถสร้างเองได้ โดยใช้ วงขอบซีเมนต์หรือ ถังซีเมนต์หินขัด ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า แบบสำเร็จรูป และสามารถปรับ ให้เหมาะสมกับ พื้นที่และปริมาณน้ำที่ใช้
การสร้างบ่อดักไขมัน
การออกแบบบ่อดักไขมัน สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีอุณหภูมิสูง การจับตัว ของไขมัน ช้า ดังนั้นระยะเวลากักพัก (Detention Time) ของบ่อดักไขมัน จึงไม่ควรน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำมันและไขมัน มีโอกาสแยกตัว และลอยขึ้น มาสะสมกันอยู่บนผิวน้ำ และตักออกไปกำจัด เมื่อปริมาณไขมัน และน้ำมันสะสมมากขึ้น
เนื่องจากบ่อที่ใช้สำหรับบ้านเรือน จะมีขนาดเล็ก ทำให้ไม่คุ้มกับ การก่อสร้าง แบบเท คอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนั้นอาจ ก่อสร้างโดยใช้วงขอบซีเมนต์ ที่มีจำหน่าย ทั่วไป นำมาวางซ้อนกัน เพื่อให้ได้ปริมาตรเก็บกัก ตามที่ได้คำนวณไว้ โดยทางน้ำเข้าและ ทางน้ำออกขอ งบ่อดักไขมัน อาจจะใช้ท่อรูปตัวที (T) หรือ แผ่นกั้น (Baffle) สำหรับในกรณี ที่น้ำเสียมีปริมาณมากอาจก่อสร้างจำนวนสองบ่อ หรือมากกว่าตาม ความเหมาะสม แล้วแบ่งน้ำเสีย ไหลเข้าแต่ละบ่อ ในอัตราเท่า ๆ กัน
ขนาดมาตรฐานบ่อดักไขมันแบบวงขอบซีเมนต์สำหรับบ้านพักอาศัย
จำนวนคน |
ปริมาตรบ่อที่ต้องการ (ลบ.ม.) |
ขนาดบ่อ |
จำนวนบ่อ (บ่อ) |
|
เส้นผ่านศูนย์กลาง |
ความลึกน้ำ (ม.) |
|||
5 |
0.17 |
0.8 |
0.40 |
1 |
5-10 |
0.34 |
0.8 |
0.70 |
1 |
10-15 |
0.51 |
1.0 |
0.70 |
1 |
15-20 |
0.68 |
1.2 |
0.60 |
1 |
20-25 |
0.85 |
1.2 |
0.80 |
1 |
25-30 |
1.02 |
1.0 |
0.70 |
2 |
30-35 |
1.19 |
1.0 |
0.80 |
2 |
35-40 |
1.36 |
1.2 |
0.60 |
2 |
40-45 |
1.53 |
1.2 |
0.70 |
2 |
45-50 |
1.70 |
1.2 |
0.80 |
2 |
หมายเหตุ : ความสูงของวงขอบซีเมนต์ทั่วไปประมาณ 0.33 ม. ดังนั้นถ้าหากความลึกน้ำ = 0.40 ม. จึงต้องซ้อนกันอย่างน้อยสองวง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของระดับฝาบ่อด้วย
ที่มา : คู่มือเล่มที่ 2 สำหรับผู้ออกแบบและผู้ผลิตระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่, กรมควบคุมมลพิษ 2537
การใช้งานและดูแลรักษา
ปัญหาสำคัญของบ่อดักไขมัน ก็คือ การขาด การดูแล รักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้ เกิดความ สกปรก และกลิ่นเหม็น เกิดการอุดตัน หรืออาจเป็น ที่อยู่อาศัย ของแมลงสาบและอื่นๆ ได้ รวมทั้งทำให้ บ่อดักไขมัน เต็มและ แยกไขมัน ได้ไม่มี ประสิทธิภาพ เพียงพอ ซึ่งการดูแลรักษา ควรดำเนินการ อย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
1. ต้องติดตั้ง ตะแกรงดักขยะ ก่อนเข้า บ่อดักไขมัน
2. ต้องไม่ทะลวง หรือแทงผลักให้ เศษขยะ ไหลผ่านตะแกรงเข้าไปในบ่อดักไขมัน
3. ต้องไม่เอา ตะแกรงดักขยะออก ไม่ว่าจะชั่วคราวหรือถาวร
4. ต้องหมั่นโกยเศษขยะ ที่ดักกรองไว้ได้ หน้าตะแกรง ออกสม่ำเสมอ
5. ห้ามเอาน้ำจากส่วนอื่นๆ เช่น น้ำล้างมือ น้ำอาบ น้ำซัก น้ำฝน ฯลฯ เข้ามาในบ่อดักไขมัน
6. ต้องหมั่นตักไขมันออกจาก บ่อดักไขมัน อย่างน้อยทุกสัปดาห์ นำไขมันที่ตักได้ใส ่ภาชนะปิดมิดชิด และรวมไปกับขยะมูลฝอย เพื่อให้รถเทศบาล นำไปกำจัดต่อไป
7. หมั่นตรวจดู ท่อระบายน้ำ ที่รับน้ำจาก บ่อดักไขมัน หากมีไขมันอยู่เป็น ก้อนหรือคราบ ต้องทำตามข้อ 6 ถี่มากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ยังมีบ่อดักไขมันสำเร็จรูป ดังนั้นการพิจารณาใช้ควรคำนึงถึงขนาดของถังที่ได้ตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ รวมถึง ประสิทธิภาพการกำจัดไขมันและต้องตรวจสอบกับมาตรฐานอุตสาหกรรมที่กำหนด เพื่อให้ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค