ท่อประปา
ชนิดของท่อประปา
ท่อประปาทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำดี หรือน้ำประปา จ่ายผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ก๊อกน้ำ ฝักบัวอาบน้ำ ฟลัชวาล์ว และหม้อน้ำชักโครกเป็นต้น ท่อเมนประปาที่ใช้ตามบ้าน ใช้กันที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว - 1 นิ้ว วัสดุที่ใช้ทำท่อประปาในบ้านเมื่อก่อนใช้ ท่อเหล็กอาบสังกะสี จากนั้นก็พัฒนามาเป็นท่อ พีวีซี ท่อพีอี
ชนิดของท่อประปาท่อประปา แบ่งได้ 5 ประเภท
1. ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี ทำจากเหล็กกล้าซึ่งเป็นสนิมได้ยาก ผ่านการอาบ สังกะสี สามารถทำเกลียวได้ง่าย ท่อเหล็กอาบสังกะสี ส่วนใหญ่จะผลิต มายาว 6 เมตร ปลายท่อทำเกลียวมาให้พร้อม มีแบบหนาปานกลาง ที่ท่อจะคาดสีน้ำเงิน และอย่างหนาที่ท่อคาดสีเหลือง
ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆ เช่น เครื่องทำน้ำร้อน
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน
2. ท่อ PVC (PVC ย่อมาจาก Poly Vinyl Chloride ) ในไทย ส่วนใหญ่ มีความยาว 4 เมตร ยกเว้นท่อ PVC บางประเภท ซึ่งอาจยาว 3 หรือ 6 เมตรบ้าง แบ่งแยกการใช้ งาน ตามสีต่างๆ เช่น สีฟ้า สีเหลือง สีเทา หรือ สีขาว
ข้อดี น้ำหนักเบา (1/5 ของเหล็ก) ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า
ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง
ชนิดของท่อพีวีซี (PVC.)
ท่อพีวีซี (PVC.) แบ่งตามชนิดการใช้งาน โดยใช้สี ดังนี้
1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภท การใช้งาน (มีหลายเกรด)
ท่อ PVC สีฟ้า
เป็นท่อใช้งานสำหรับ ระบบน้ำดื่ม หรือ งานท่อระบายน้ำ มีความหนาตามระดับการรับแรงดัน ตั้งแต่ ชั้น PVC 5 ,8.5 และ 13.5 ตาม มาตรฐาน มอก.17-2532 ชั้นหนาสุดก็คงเป็น PVC 13.5
ตัวเลข13.5 เป็นค่าแรงดันใช้งาน มีหน่วยเป็น kgf/cm2
ในไทยมีบริษัทหลายบริษัท ผลิต ท่อ ขึ้นมาขาย ซึ่งมีตั้งแต่ บริษัทขนาดใหญ่ ตั้งแต่ ท่อน้ำไทย นวพลาสติกฯ CP และบริษัท อื่นๆมากมาย ท่อน้ำไทย จะผลิตท่อ มา 3 เกรด 3 ยี่ห้อ โดยมีตราของ ท่อน้ำไทยประทับไว้บนท่อ คือ ท่อน้ำไทย Hilon และ ท่อโพลี ส่วน นวพลาสติก ก็ผลิตท่อ 2 เกรด 2 ยี่ห้อ คือ ตราช้าง และ ตราเสือ
ท่อเกรดดีๆ คงเป็น ท่อเกรด ท่อน้ำไทย และ ตราช้าง รองลงมาก็ เสือ และ Hilon ส่วนอื่นๆ ก็รองลงมา ตามส่วนผสมของวัสดุ ที่ผสมเข้าไป
3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน คุณภาพที่ดี ก็มีของ ตราช้าง รองลงมา ก็เป็น ท่อ สีเขียวขี้ม้า ชื่อ OK ของ ตราช้าง เช่นเดียวกับท่อเทาเกษตรของ ท่อน้ำไทย ใช้ชื่อว่าท่อ 5 ดาว ค่อนข้างแข็ง และกรอบเร็ว นอกจากนี้ก็มีท่อเกษตร ยี่ห้ออื่นๆอีก ไม่ว่าจะเป็นของ อริยะ CP TSD เป็นต้น
3. ท่อไซเลอร์ ภายนอกเป็นท่อเหล็ก GSP. ภายในเป็นท่อ PE.
ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันได้มากกว่า 20 บาร์ และอุณหภูมิสูง ถึง 95 องศา ไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับ ใช้ติดตั้งใน โรงแรม อาคารขนาดใหญ่ สถานที่ ๆ ต้องการความทนทานสูง หรือสถานที่ ที่ยากต่อการซ่อมแซม
ข้อเสีย ราคาสูง
4. ท่อพีพีอาร์ เกิดจากการ Random Copolymer Polypropylene ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง(Thermo Plastic) ที่นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้น พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีระบบท่อประปาพลาสติกภายใต้คุณสมบัติด้านฟิสิกส์ และเคมีทำให้ท่อพลาสติกที่ทำด้วยวัสดุพิเศษ
ข้อดี การเชื่อมต่อระหว่างท่อ กับข้อต่อ ใช้วิธีการให้ความร้อน โดยคุณสมบัติพิเศษของจึงทำให้ท่อและข้อต่อสามารถเชื่อมผสานกันเป็นเนื้อ เดียว จึงมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาการรั่วซึม ที่บริเวณจุดต่อเชื่อมระหว่างท่อและข้อต่อ ทนอุณหภูมิได้สูง ถึง 95 องศา แข็งแรง ทนแรงดันได้สูงถึง 20 บาร์ อายุการใช้งาน ยาวนานกว่า 50 ปี ไม่เป็นสนิม สะอาด สามารถใช้เป็นท่อน้ำดื่มได้ เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งใน บ้านพักอาศัย คอนโด ตึกแถว อาคารขนาดเล็ก ขนาดใหญ่
ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรง ๆ ไม่เหมาะกับการติดตั้งใต้พื้นดิน หรือพื้นคอนกรีตที่มีการทรุดตัวมาก
5. ท่อ PE - Poly Ethylene ท่อโพลีเอทิลีน (HDPE) เป็นวัสดุทางเคมีที่มีค่าความหนาแน่นสูง "ไม่น้อยกว่า 950 Kg/m3" ที่มีคุณสมบัติทางเคมี,ไฟฟ้าและทางกลที่ดีเยี่ยม สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้เป็นวัสดุที่เหมาะสม กับสภาวะการใช้งานในวงการต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งท่อโพลีเอทิลีน หรือ เอชดีพีอี หรือบางหน่วยงานก็เรียกว่า ท่อพีอี PE นั้น ก็คือท่อโพลีเอทิลีน (HDPE) ที่ผลิตจากวัสดุโพลีเอทิลีนที่มาจากขั้นตอนทางเคมีทั้งสิ้น
- น้ำหนักเบา 1/5 ของท่อเหล็ก สะดวกในการเคลื่อนย้าย
- ยืดหยุ่นได้ดี ทนแรงกระแทก
- ไม่มีสารพิษ
- ขดเป็นม้วนได้ (ยาวสูงสุดได้ถึง 400 เมตร)
- ทนสารเคมี อายุการใช้งานยาวนาน
- ทนแสงอาทิตย์
- ผิวในท่อเรียบ ของเหลวไหลสะดวก
วิธีการเดินท่อประปา โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้าน จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. การเดินท่อแบบลอย คือ การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น การเดินท่อแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน สามารถ ซ่อมแซมได้ง่าย เมื่อเกิดปัญหา แต่จะดูไม่สวยงาม
2. การเดินท่อแบบฝัง คือ การเจาะสกัดผนัง แล้ว เดินท่อ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือเดินซ่อนไว้ใต้ เพดานก็ได้ ซึ่งจะดูเรียบร้อยและสวยงาม แต่เมื่อมีปัญหาแล้ว จะซ่อมแซมยาก
- วิธีการเดินท่อประปาในส่วนที่อยู่ใต้ดิน
การเดินท่อประปาจะมีทั้งท่อส่วนที่อยู่บนดิน และบาง ส่วนจะต้องอยู่ใต้ดิน ในส่วนที่อยู่บนดิน อาจใช้ท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี (GAVANIZE) ก็ได้ แต่สำหรับท่อ ที่อยู่นอกอาคาร โดยเฉพาะท่อที่อยู่ใต้ดิน บริเวณใต้อาคาร ควรใช้ท่อ PE ท่อชนิดนี้ มีคุณสมบัติ พิเศษ ในการบิดงอโค้งได้ ในกรณีเดินผ่านเสาตอม่อ หรือคานคอดิน สำหรับท่อธรรมดา จะมีข้อต่อมากซึ่งเสียงต่อการรั่วซึม และที่ สำคัญ เมื่อมีการทรุด ตัวของอาคาร หากเป็นท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี จะ ทำให้ท่อแตกร้าวได้ แต่ถ้าเป็นท่อ PE จะมีความ ยืดหยุ่นกว่า ถึงแม้จะมีราคาที่สูง แต่ก็คุ้มค่า เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมแล้วจะ ไม่สามารถทราบได้เลย เพราะอยู่ใต้ดิน
- วิธีการใช้สต๊อปวาล์ว เมื่อติดตั้งสุขภัณฑ์
โดยทั่วไปการติดระบบประปากับสุขภัณฑ์ เพียงต่อท่อ น้ำดีเข้ากับตัวเครื่องสุขภัณฑ์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเกิด ปัญหาที่จะต้องการซ่อมแซม ก็จะต้องปิดมิเตอร์น้ำด้านนอก เพื่อหยุดการใช้น้ำ ซึ่งจะทำให้ภายในบ้านทั้งหมดไม่สามารถใช้ น้ำได้ ทางออกที่ดีก็คือ ให้เพิ่มสต๊อปวาล์วในบริเวณส่วนที่จ่าย น้ำเข้ากับสุขภัณฑ์ เพื่อที่เวลาทำการซ่อมแซม สามารถที่จะปิด วาล์วน้ำได้ โดยที่น้ำในห้องอื่นๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้
- วิธีการตรวจสอบระบบประปา
ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยปิดก็อกที่มีอยู่ ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อน แสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึม หรือมีอุปกรณ์ บางอย่างแตกหักหรือชำรุด ก็จัดการหาช่างมาแก้ไขให้เรียบร้อย นอกจากภายในบ้านแล้ว ยังสามารถตรวจสอบการรั่ว ไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่นอกบ้าน โดยสังเกตพื้นดินบริเวณ ท่อแตกรั่วนั้น จะมีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา และบริเวณนั้นจะ ทรุดตัวต่ำกว่าที่อื่น นั่นคือสาเหตุที่ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน ลง ก็ควรแจ้งไปยังสำนักงานประปาในเขตนั้น