ระบบกันซึม
งานระบบกันซึม Leakage & Waterproof System
1. งานทำระบบกันซึม (Waterproof system) แบบ Waterproof Membrane ด้วย Liquid Membrane
Waterproof Membrane เป็นระบบกันซึมชนิดพิเศษ "ชนิดเหลว" (Liquid Membrane) ซึ่งเป็นวัสดุ "Polymer" ที่มีความทนทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
และมีความยืดหยุ่นสูง 400% สามารถให้ตัวได้ แม้กรณีอาคารมีการ Movement
และการแตกร้าวของพื้นคอนกรีต สามารถใช้งานบนพื้นผิวได้ และสะท้อนแสง UV และรังสีความร้อน ได้มากกว่า 80% ทำให้สามารถประหยัดพลังงาน ในตัวอาคารได้อย่างมาก
พื้นที่ ที่สามารถใช้ระบบ Waterproof Membrane ได้แก่ ดาดฟ้าอาคาร, ระเบียง, ผนังอาคาร
2. งานทำระบบกันซึม (Waterproof system) แบบ Waterproof Cement ด้วย Cement Base เป็นวัสดุกันซึมคล้ายซีเมนต์ และส่วนของเหลว ประเภทผสมเสร็จ จากโรงงาน (Acrylic Co-Polymer) มี คุณสมบัติ เมื่อแข็งตัวแล้ว จะไม่เห็นรอยต่อที่เกิดจาก การทา สามารถซึมแทรกเข้าในช่องว่างเล็ก ๆ ที่ผิวคอนกรีตได้ หรือรอยตามด จะคงสภาพอยู่ถาวร เหมือนเป็นเนื้อเดียวกับคอนกรีต ไม่เป็นพิษ สามารถทาใน Tank น้ำดื่มได้.สระว่ายน้ำ,กระถางต้นไม้ และอื่นๆ
3. งานซ่อมน้ำรั่วซึม ( Water Leak) ด้วย Polyurethane Foam High Pressure Injection (PU-FOAM Injection) PU Foam จะทำปฏิกิริยากับน้ำในคอนกรีต และขยายตัว (ประมาณ 10 เท่า) อัดแน่นจนสิ้นสุดปฏิกิริยาในรูปของ Foam และปิดทางน้ำ ทำให้ไม่รั่วซึม การซ่อมป้องกันน้ำรั่วซึมด้วย Polyurethane Foam High Pressure Injection สามารถซ่อมงานในพื้นที่ดังต่อไปนี้
- ถังเก็บน้ำ (Water Tank) ที่เป็นโครงสร้างคอนกรีต
- สระว่ายน้ำ (Swimming Pool)
- พื้น และผนังชั้นใต้ดิน (D-wall, Slab, King Post, Basement)
- รอยต่อโครงสร้างคอนกรีต (Construction Joint)
- โครงสร้างคอนกรีตที่เป็นรูพรุน และมีน้ำรั่วซึม (Honey Comb)
- บ่อลิฟต์ (Lift Pitch, Sump Pitch)
1. ระบบกันซึมแบบแผ่นสำเร็จรูป มาปูปิดทับ มีกรรมวิธีในการติดตั้งหลักอยู่ 2 วิธีการ แบบที่มีกาวอยู่ในตัวเอง แกะกระดาษออก แปะได้เลย เหมือนกับ แปะ พลาสเตอร์ กับ แบบที่ต้องพ่นไฟ เพื่อให้ แผ่นรองที่เป็นสารพวก พลาสติกใต้แผ่น ละลาย กลาย เป็นกาวเหลว ยึดติดกับแผ่น หลังคา
- ผู้ออกแบบ มัก กำหนดให้ใช้ในกรณีที่เป็นพื้นที่กว้างโล่ง ไม่มีเหลี่ยมมุมมาก ไม่มีแท่นเครื่อง มากมาย เพราะหากมีซอกมุมมาก หรือแท่นอุปกรณ์ ต่างๆมาก การ ตัดชิ้น งานเพื่อแปะเข้าเหลื่ยมมุมให้ได้ดี เนี้ยบ และ ไม่มีจุดอ่อนให้ รั่วทำ ได้ยากมากครับ และต้องมั่นใจว่าจะไม่มีการเข้ามาเจาะพื้น (เพื่อยึดจานดาว เทียม,เสาอากาศทีวี,etc.) เพราะการเข้ามาเก็บงานของระบบนี้กระทำ ได้ยากกว่า ระบบทา และหากการเก็บงานไม่ดีพอเกิดการรั่วซึม มีโอกาสต้องรื้อทำใหม่สูง เนื่องจากหาตำแหน่งที่รั่วไม่พบ และไล่น้ำที่อยู่ตรงกลางระหว่างแผ่นกันซึมกับ แผ่นคอนกรีตออกไม่ได้ หรือได้ไม่หมด (ลักษณะเหมือน Sandwich) เลยไม่รู้ ว่าSlab Concrete รั่วที่บริเวณใด "ต้องรื้อขึ้นมาทำใหม่ทั้งหมด"
- ในระบบแผ่นสำเร็จรูปนี้ สถาปนิกนิยมกำหนดให้ใช้การติดตั้งแบบพ่นไฟมากกว่าแบบ กาวติด เพราะมีการยึดเกาะดีกว่าแบบกาว เนื่องจากบ้านเรามีฝุ่นผงมาก แม้จะทำการ ล้างกำจัดอย่างดีแล้วก็ตาม โอกาสหลุดร่อนของแบบกาวในตัวจึงมีมากอีกทั้งคนงาน หากติดตั้งขอบแผ่นไม่ดี ก็อาจโดนการเดินขณะทำงานเตะจนขอบเปิดให้น้ำเข้าไป สะสมได้ ยกเว้น บาง กรณีที่มี เงื่อนไข ไม่สามารถ ใช้ระบบพ่นไฟ จึงจะมีการนำมา พิจารณาใช้ (เช่น อยู่ใกล้แหล่งเชื้อเพลิง เป็นต้น )
ระบบกันซึมแบบแผ่นสำเร็จรูป ผมพบว่าประมาณ 95% เป็นพวกสาร Bitumen ซึ่งเป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม แล้วเสริมด้วยเส้นใย Fiber ต่างๆ เช่น Glass fiber หรือ Polyester ลักษณะคล้ายSandwich คือ เป็นพวก Bitumen + Fiber +Bitumen เพื่อให้มีความยืดหยุ่น แข็งแรง ไม่ฉีกขาดง่าย ส่วนผิวบนจะเป็นเม็ดทราย หรือ เม็ดหินสี หรือผิวดำๆของ Bitumen ที่รอการเท topping ทับ ทั้งนี้แล้วแต่ทางผู้ออกแบบจะกำหนด
- Bitumen ที่ทางผู้ออกแบบ มักกำหนดเลือกกัน เป็น Modified Bitumen APP. (Atactic PolyPropylene) เพราะมีคุณสมบัติที่ทนต่อรังสีUV. ได้ดี เหมาะกับ สภาพอากาศบ้าน เรา รับแรงดึงและแรงกระแทกได้ดีพอประมาณ ไม่น่าใช้ Modified Bitumen SBS. แม้ จะรับแรงต่างๆได้ดีกว่าก็ตาม เพราะ SBS. ไม่สามารถทน UV. ได้
- Fiber ที่ทางผู้ออกแบบกำหนดมักให้ใช้เป็นพวก Polyester มากกว่าพวก Glass fiber เพราะมีความยืดหยุ่นตัว และรับแรงต่างๆได้ดีกว่า (ความหนาแน่น น่าใช้ที่ไม่ต่ำ กว่า 180 กรัมต่อตารางเมตร)
****การติดตั้ง ส่วนใหญ่ผู้ผลิตมักแนะนำให้ทารองพื้นด้วยพวก Asphalt primer เพื่อเพิ่มการยึดเกาะและช่วยเก็บรอยแตกร้าว
2. ระบบกันซึมแบบของเหลวนำมาพ่นหรือทา ในแบบนี้พบว่ามีสารที่นำมาใช้กันหลักๆ ในปัจจุบันอยู่ประมาณ 3 ตัวหลักๆ
2.1. พวก Bitumen เหลว เนื่องจากเป็นผลผลิตจากน้ำมันที่มีคุณสมบัติกันน้ำและความชื้นได้ดี แต่มักไม่ใช่ Modified Bitumen จึงแพ้แสง UV. ค่อนข้าง มาก จึงควรมีสีทับหน้าเพื่อป้องกันการเสื่อมเมี่อโดนแสงแดด (เป็นเหตุผล ที่ทำไม เชลล์เวเธอร์โค้ท เบอร์ 3 ที่ชาวบ้านนิยมใช้ จึงมีอายุในการเป็นสารกันรั่วซึมได้เพียง1-2ปี )
2.2. พวก Acrylic rasin เนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นพวก Polymer เหลวทาแล้วเป็นแผ่นฟิลม์ และทนแสงUV. ได้ดีกว่าพวก Bitumen ธรรมดา จึงมี การนำมาใช้มาก แต่ต้องไม่ลืมว่า Acrylic เป็นพวก Thermoplastic ที่โดนความร้อนแล้วอ่อนตัว
2.3. พวก Polyurethane ด้วยลักษณะที่เป็นทั้ง โฟม สารเคลือบผิวแข็ง ที่ทาแล้วต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน และยืดหยุ่นตัวได้บ้าง จึงมีการนำมาใช้เป็นสารกันซึมด้วยเหมือนกัน (ความยืดหยุ่นน่าจะน้อยกว่า Acrylic) แต่ทนแสงUV. ไม่ค่อยดี จึงควรมีสีหรือสารเคลือบเพื่อป้องกันเหมือนพวก Bitumen
- ผู้ออกแบบมักกำหนดให้ใช้กับพื้นที่ไม่ใหญ่มาก หรือพื้นที่ที่มีซอกมุมมาก หรือ มีแท่นเครื่อง ขาของตัวเครื่องต่างๆบน ดาดฟ้าอยู่เยอะ เพราะพวกระบบทาจะทาเก็บ งานบริเวณลักษณะน้ำได้ดีกว่า แบบแผ่นสำเร็จ ที่ต้องตัดพับเข้ามุม (การเข้าเก็บงาน ที่มีการเจาะสกัดพื้นที่ทำระบบกันซึมแล้ว ทำได้ง่ายกว่าแบบแผ่น )
- แต่ปัญหาอยู่ที่การควบคุมความหนาให้ได้เท่ากันทั้งหมดตามที่ระบุค่อนข้างยาก เพราะเป็นการพ่น หรือ ทา นั้นจะควบคุมความหนาด้วย"ปริมาตรต่อพื้นที่เป็นตาราง เมตร" คนดูแลต้องคุมให้เข้มงวด และพื้นที่ทำต้องเรียบได้ ระดับสม่ำเสมอ (มิ เช่นนั้น อาจโดนอำ หรือ ไม่ได้ปริมาตร/ตรม.ตามกำหนดเพราะพื้นไม่เรียบ)
- หากต้องมีการเสริมเส้นใย Fiber ไม่ว่าในกรณี เพราะมีรอยแตกร้าวใหญ่ หรือเพื่อ กันการขยับตัวของตัวอาคาร หรือ เพื่อให้สามารถขึ้นไป ใช้งานได้บ้าง Fiber ที่ ใช้ควรเป็นแบบ Non woven Polyester มากกว่าพวก Glass fiber
3. ปัจจุบันเริ่มมีการใช้น้ำยาเคมีเหลวใสที่ใช้พ่นทับผิวคอนกรีต แล้วจะทำปฏิกิริยาเกิดเป็นผลึก Crystal ในเนื้อคอนกรีตเป็น ตัวป้องกันน้ำ แทนที่ระบบ membrane
(จริงๆเข้ามาตั้งแต่ตอนปลายยุคฟองสบู่) มักโฆษณาว่าจะแทรกซึมเข้าไปตามรอยแตกร้าวแล้วตกผลึกกันน้ำ และหากมีการแตกร้าว ที่อื่นเพิ่มก็จะแตกตัวเข้าอุดรูนั้นได้อีก ผมไม่เคยใช้ไม่ทราบว่าดีหรือไม่แต่ มีวิศวกรโครงสร้างทักว่า หากจะลองใช้ให้ดูว่า ผลึกนั้นไม่ควรเป็นผลึกที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากับ Silicate ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของคอนกรีต เพราะยังไม่ผลทดสอบ ที่เชื่อได้ว่าไม่ทำให้คอนกรีตเสียคุณสมบัติที่ดีไปในการใช้งานระยะยาว (เพราะประเทศเราไม่เคยมีเขื่อนเพื่อกั้น หรือคุ้มครองผู้บริโภค ในเรื่องของมาตรฐาน ,การที่ต้องผ่านการทดสอบก่อน นำมาขายในประเทศไทยไม่เคยมี ใช้การ ทดลองใช้งานจริงกันเอาเอง ถ้าเฮงก็ดีไป แต่ถ้าซวยก็ทิ้งเงินเปล่า ไม่รู้จะทำอย่างไรดีเหมือนกัน)
การทำหลังคาดาดฟ้าที่ดีไม่รั่วน่าที่จะเริ่มจาก
1. ทำให้ผืนหลังคามีความลาดเอียงมากที่สุด โดยจะต้องวางแผนไว้ตั้งแต่ตอนทำ Shop Drawing เพราะต้องทำ การยกระดับคาน ช่วยในการทำ Slope ไม่เช่นนั้น ตรงปลายสุดของพื้นจะบางมาก หรือหากใช้การเท Topping ปรับระดับ ปูนทรายที่ใช้เทปรับระดับนั้นจะหนามาก (พื้นอาจพังก่อนจะรั่วก็ได้)
2. หลังคาคอนกรีตควรเป็นพื้นที่มีความหนา(design) ไม่น้อยกว่า 0.15 ม. เพื่อให้มีความทึบน้ำมากพอ คือให้หน่วงน้ำฝนไหลลงท่อระบายน้ำหมดก่อนแทรกซึมลงด้านล่าง และคอนกรีตที่ใช้เทดาดฟ้าต้องผสมน้ำยากันซึม ในปริมาตรที่พอดี (มากไปคอนกรีตจะไม่ค่อนแข็งตัว น้อยไปอาจทำให้ทึบน้ำไม่พอ)
3. อย่าทำการขัดมันพื้นดาดฟ้า เพราะการขัดมันมีขั้นตอนที่ทำให้เกิดการแตกร้าวได้มาก การทำขัดมัน ผู้รับเหมาจะ ดำเนินการโดย โรยผงซิเมนต์บนผิวหมาดของคอนกรีต แล้วปั่นด้วยเกรียงเหล็ก เมื่อแห้งจะเกิดเป็นฟิลม์ขัดมัน ที่ผิวคอนกรีตบางๆ เมื่อเจออุณหภูมิที่แตกต่างมากก็จะแตกร้าวได้อย่างง่าย เข้าข่ายแข็งแต่เปราะ (แถมดันบางอีก) แล้วรอยแตกที่ผิวเล็กๆนี้ก็จะเป็นตัวนำน้ำเข้ามา ทำให้คอนกรีตดีด้านล่างเกิดการแตกร้าวตามไปด้วยในที่สุด ดาดฟ้าจึงควรทำผิวเพียงการปาดเรียบเท่านั้น
4. งานระบบต่างๆที่อยู่บนพื้นดาดฟ้า ไม่ว่าระบบ Drain,ระบบระบายอากาศ ควรฝังตัวจริงที่จะใช้งานไว้เลย อย่าทำ การวาง Sleeve เพื่อมาเดินท่องานระบบภายหลังมีโอกาศรั่วมาก แต่หากจำเป็นที่จะต้อง Sleeve เพื่อกลับมา ติดตั้งงาน ระบบให้สกัดขอบของรู Sleeve ให้หยาบ แล้วเทเก็บกันการรั่วด้วย Non Shrink พร้อมกับการปั้น Curb ขังน้ำทดสอบไว้อย่างน้อย 1 วัน หาก ไม่ซึมหยดลงด้านล่างถือว่าใช้ได้ ถ้ายังรั่วให้สกัดออก ทำใหม่
5. หากดำเนินการตาม 4 ข้อข้างต้น ระบบกันซึมทั้งหลายที่กล่าวถึง เกือบไม่จำเป็นเลย แต่เพื่อความสบายใจ หากเป็นดาดฟ้าที่ไม่มีการใช้งาน ให้พ่นหรือ ทาด้วยวัสดุบางๆ(ราคาได้ไม่สูงมาก) หรือหากมีการใช้งานดาดฟ้าใช้ที่มีความหนา มีสารเคลือบกันการเสียดสี
ชื่อทาง การค้า | Imper | Elvalex | Solex | Sea Chief | Tamseal 10 F | Ceramic Coating |
ชนิดวัสดุ | แผ่นยาง Polyester? หนา 3-4 มม. ผิวบน เป็นเม็ดหินสีดำ | Flexible Polymer หนา 1.5-2มม. เป็น แผ่นยางสีเทา | Acrylic rasin ทาหนารวม 1.5 ของเหลว+แผ่น+topcoat |
สาร Poly urethane (โฟม) ทาหนารวม 3 มม.เป็นของ เหลว+topcoat | สาร Polymer ทาหนา2-3 มม เป็นของเหลว | Powder Ceramic mix in Acrylic rasin (สีอะครีลิค) พ่นหนา 0.3 มม. |
การติดตั้ง | ทารองพื้น ด้วย As-pheltic primer นำแผ่นมา ปูทับกัน ยึดติด ด้วย การพ่นไฟ | ทารองพื้น ด้วย As-pheltic primer นำแผ่นมา ปูทับกัน ยึดติดด้วยการพ่นไฟ | เป็นระบบ ทาทับเป็น ชั้น 1. รองพื้น ด้วย acry- lic poly-mer เก็บรอบร้าว 2. ปู poly- ester เสริม เฉพาะที่มี รอยร้าว ขนาดใหญ่ 3. ทารองพื้นทับด้วย สาร acrylic topcoat 4. พ่นทับหน้าด้วย สาร ceramic |
เป็นระบบทาทับเป็น ชั้น 1. รองพื้นด้วย primer poly-urethaneปิดเก็บอุด รอยแตก ร้าวที่พื้น 2. เท PU.water- proof 3. ทาทับ ด้วยสาร top coat |
ระบบทา | เป็น ระบบพ่นหรือทา |
ข้อดีพิเศษ | ป้องกันสารเคมีได้ดี ทนแสง UV.ได้ดี มีความยืด- หยุ่นสูง | ป้องกันสารเคมีได้ดี ทนแสง UV.ได้ด ีมีความยืดหยุ่นสูง | ป้องกัน สารเคมีได้ดีทนแสง UV.ได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง |
ป้องกันสารเคมีได้ดี ทนแสง UV. ด้ด ีมีความยืด- หยุ่นสูง | ป้องกัน สารเคมีได้ดี ทนแสง UV.ได้ดี มีความยืด หยุ่นสูง | |
ข้อควรระวัง | อาจอ่อนตัวเมื่อโดนร้อน | ติดไฟเกิด สารพิษ | ||||
ราคา บาท/ตรม | 450 | 600 | 700 | 700 | 450 | 220-300 |
รับประกัน | 5 ปี | 3 ปีที่ความหนา 2มม. 5 ปีที่ความหนา 3มม. | 3 ปี |
ตารางเปรียบเทียบระบบกันซึม
ชนิดของวัสดุ |
อะคริลิค |
บิทูเม็น |
แผ่นปู |
เมมเบรน PU |
เกรดสูงPU |
เคลือบบาง |
สี |
ขาว เขียว เทา |
ดำ |
ดำ |
เขียว |
เลือกได้หลายสี |
ดำ |
ความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ | 3 |
5 |
2 |
1 |
1 |
1 |
ความทนทานต่อแสงแดด | 2 |
5 |
4 |
1 |
1 |
3 |
ความคงทนเมื่อแช่น้ำ | 3 |
3 |
2 |
1 |
1 |
1 |
ความทนทานต่อการสึกกร่อน | 3 |
4 |
3 |
3 |
1 |
2 |
ความยืดหยุ่น | 3 (>300%) |
2 (>500%) |
2 (>500% ) |
1 (>600%) |
1 (>500%) |
1 (>500%) |
อายุการใช้งาน | 5 |
5 |
3 |
2 |
1 |
2 |
ข้อดี | ราคาถูก ไร้รอยต่อ ซ่อมแซมง่าย |
ไร้รอยต่อ มีความ ยืดหยุ่นดี |
มีความหนา มาก (3-5 มิลลิเมตร) |
ทนต่อสภาพ ภูมิอากาศ ยืดหยุ่นดี ไร้รอยต่อ |
คุณภาพ ดีที่สุด ในทุกด้าน ใช้เป็นที่ จอดรถได้ |
ทนต่อสภาพ ภูมิอากาศ ไร้รอยต่อ มีความยืด หยุ่นดีที่สุด |
ข้อเสีย |
บาง มีความแข็ง แรงน้อย ความยืดหยุ่น ด้อยลง หลังจาก1ปี |
บาง มีความแข็ง แรงน้อย ไม่ทนทาน ต่อแสงแดด และสภาพ ภูมิอากาศ ต้องมีชั้น ทับหน้า |
มีรอยต่อ ซึ่งเป็นจุด เสี่ยงต่อการ รั่วซึม |
บาง มีความแข็ง แรงน้อย ราคาสูง |
ราคาสูง | ไม่ทนทาน ต่อแสงแดด และต้องมี วัสดุทับหน้า |
*** ค่าในตาราง 1-5 1 คือ ดีที่สุด 5 คือ ด้อยที่สุด