สีในงานตกแต่งภายใน
น้ำหนักของสี SHADE : ค่าของสี Value
Value V หมายถึง : ตีค่า , ตีราคา , ประเมิณคุณค่า , ยกย่อง N หมายถึง : ค่า , ราคาประเมิณ , กำลังซื้อ , ค่านิยม , ประโยชน์ , ความหมาย
ในแง่ของสี หมายถึงค่าของสีใด ๆ ที่มีความเข้มหรือ อ่อนไปจากแก่สุดเข้มสุดไปยังอ่อนสุดหรือสว่างสุด ถ้าเรารู้จักสังเกตวัตถุ หรือ เครื่องเรือน ของประดับตกแต่งใดๆ ภายในบ้านเรือน ร้านค้า สถานที่ทำงานของเราที่เป็นสี เราจะ เห็นว่ามีสีอ่อน สีกลาง ๆ สีเข้ม รวม ๆ กันอยู่ เช่น อาจจะมีหมอนสี เหลืองอ่อน ชมพูอ่อน ฟ้าอ่อน สีเขียว สีน้ำเงิน น้ำตาลของโซฟา ฯลฯ สีเหลืองหรือชมพูหรือสีเนื้อ จะมีน้ำหนักหรือค่าความเข้ม อ่อน กว่าสีเขียว แม้เมื่อเป็นสีเหลืองจากหลอดหรือขวด กระป๋องสีโดย ตรง ในขณะที่สีน้ำเงินหรือน้ำตาลจะมีน้ำหนักหรือค่าของสีเข้ม กว่า เราจะเห็นสิ่งเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ถ้าเราแปลงเป็น ภาพ ขาว - ดำ ( Black and White) สิ่งที่เป็นสีจะปรากฏเป็น น้ำหนัก ขาว เทา ดำ อย่างชัดเจน อย่างถูกต้องที่สุด บางครั้ง ผู้ออกแบบ นักออกแบบในสาขาตกแต่งภายในที่เชี่ยว ชาญจะใช้งาน ขาว - ดำ นี้เป็นตัวเริ่มต้นที่จะเลือกหรือกำหนดสี จริงให้กับ Furniture หรือโครงสีต่าง ๆ ภายในห้อง เพราะสีน้ำ- เงินเข้มจะเป็นสีเทาเกือบดำในภาพ ขาว - ดำหรือสีฟ้าอ่อน (น้ำเงิน อ่อนเกือบขาว) จะเป็นสีเทาอ่อนเกือบขาวเช่นเดียวกัน ถ้าเรากำหนดให้สีใดสีหนึ่งมีความเข้มอย่างที่สุด ยกตัวอย่าง ด้วยสีน้ำเงินถ้าผสมด้วยสีดำจะเป็นสีมิดไนท์บลู ซึ่งในทางทฤษฎี สีเรากำหนดว่าสีที่เข้มมากๆสีที่มีค่าของสีต่ำ โดยในทางกลับกัน สีน้ำเงินที่เจือขาวจนเกือบขาวจะเป็นสีที่มีค่าของสีสูง
ค่าของสี น้ำหนักของสี คือ Value และ shade ซึ่งมีความหมายเสมอกันเพียงแต่เรามักจะเรียกว่า ค่าของสี ( Value of Colors ) มากกว่าคำว่า น้ำหนักของสี ( Chade of Colors ) อย่างไรก็ตาม คำว่าค่าของสี ในความรู้สึกจะเป็นเรื่อง นามธรรม แต่ เราสามารถจัดการด้วยวิธีง่าย ๆ ให้เป็น รูปธรรม ได้ดังนี้
รูปที่ 1 การไล่น้ำหนักของดินสอดำจากอ่อนไปหาแก่ ( ซ้ายไปขวา )
รูปที่ 2 เป็นรูปเปรียบเทียบการไล่น้ำหนักของสีน้ำเงิน จากอ่อนไปแก่ ( ซ้ายไปขวา )
ความเข้มสี Intensity
Intensity : เป็นนาม ( N ) = ความเข้มข้น ความหนาแน่น ความแรงกล้า ความรุนแรง จิตรกร จะรู้จักคำว่า Intensity ดีในงานจิตรกรรม หมายถึง สีที่มีความเข้มข้น ใช้ระบายโดยบีบจากหลอดสีโดยไม่เจือจางหรือ ผสมสีใด ๆ คุณสมบัติของสีเหล่านี้จะคงความสดใสเข้มข้นเสมอ เช่น สีส้ม สีเหลือง สีแดง จากหลอดสีโดยตรง เป็นต้น ในทางอื่นหรือศิลปะแขนงอื่น เช่น งานออกแบบตกแต่ง ภายใน (Interior Design) นั้นผู้ออกแบบ (Designer) ใน ที่นี้คือผู้ออกแบบได้ดังนี้
ตกแต่งภายใน (Interior Designer) เพราะถ้า Designer เฉย ๆ อาจหมายความถึง Designer ในสาขาใด ๆ ก็ได้เช่น FashionDesigner = ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย หรือ Graphic Designer = ผู้ออกแบบงานศิลปะเกี่ยวกับการวาด รูปโดยใช้เครื่องมือ
ขอกลับมาเรื่อง Intensity ในงานตกแต่งภายในกันบ้าง สีที่มีคุณสมบัติความเข้มในตัวเองหมายถึงสีสด ๆต่าง ๆ ไม่จำกัด ว่าจะเป็นวรรณะร้อนหรือเย็น เพราะวัตถุดิบหรือเคมีต้นทางใน การผสมหรือผลิตสีที่ใช้พ่น เคลือบ ทา ย้อม เหล่านี้ ในปัจจุบัน มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ซึ่งหากท่านใดสนใจในราย ละเอียดที่มากไปกว่านี้ ผมขอเรียนให้ท่านค้นคว้าจากข้อมูล เรื่องสีในประเภทต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีทาบ้าน เช่น สีน้ำ หรือสี พลาสติก หรืออะคริลิค แล้วแต่จะกำหนดกัน หรือสีน้ำมัน ฯลฯ บริษัทผู้ผลิตสีในเชิงอุตสาหกรรมรายใหญ่ ๆ ทั้งหลาย มีหลาย ยี่ห้อครับ ลองเข้าไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็ได้ครับ หรือใน คอลัมน์ของท่าน ผศ.ปัญญา ดีพึ่งตน ที่เป็นบทความลงในสยาม รัฐนี้ก็ได้ครับ สีต่าง ๆ ที่เราใช้เมื่อใดที่เราใช้สด ๆ จากกระป๋อง จากแกลอนอะไรก็ตามแต่ ต้องไม่เป็นที่ถูกเจือจางด้วยสีอื่น ใด เช่น ขาว ดำ น้ำตาล น้ำเงิน อันจะทำให้สีเหล่านั้นเสียความ สดใสเข้มข้นไป เราก็จะได้สีสดสำหรับเน้น หรือในบริเวณที่เรา ต้องการชี้เฉพาะเจาะจง ให้เป็นสีสดเช่นภายในห้อง ๆ หนึ่ง มีผนัง 4 ด้าน มีผนังเป็นประธาน 1 ด้าน และเราต้องการ เน้นให้ผนังด้านประธานมีสีที่สดใส เพื่อเรียกความสน ใจหรือแก้ความน่าเบื่อของสีในผนังด้านอื่น ๆ ที่เหลือ 3 ด้าน สีสดจะเป็นสีที่มีพลังกระตุ้นมีความเข้ม สดใส ในตัว มันเองได้ดี
โดยอาชีพแล้วมัณฑนากร (ผู้ออกแบบตกแต่งภายใน) ทุกท่านล้วนเคยมีประสบการณ์กับการใช้สีสด ๆ ให้เป็น ประโยชน์มาบ้างแล้ว เช่น ในงานรูปแบบสมัยใหม่ ( Modern Style) ที่จะมีเฟอร์นิเจอร์ สีสันสดใสให้ เลือกใช้มากมาย เพราะสีสดของเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จะเด่น ชัดกว่าสิ่งอื่น ๆ โดยที่สีของสิ่งอื่น ๆเครื่องเรือนอื่น ๆอยู่ในสี ที่เป็นกลางด้วยการดึงสีของสีตรงข้ามมาผสมเข้าไปเพื่อให้ สีที่เราไม่ต้องการเน้นหม่นลงเพื่อให้สีประธาน วัตถุประธาน เด่นชัดสมดังเจตนารมณ์ผู้ใช้งาน สัดส่วนของสีที่เป็นสีเข้ม ( Intensity ) ต้องใช้ใน สัดส่วนร้อยละ 10 ของโครงสีรวม ๆ ที่เป็นสีหม่นที่ถูกลด ด้วยสีตรงข้าม ดังนี้ สีเข้ม Intensity 10 % : สีหม่น 90 % ในทางปฏิบัติแล้วสีต่าง ๆ ที่มีในงานตกแต่งภายในต่อ 1 ห้องหรือ 1 ส่วน นั้นเป็นสีที่เกิดจากวัสดุที่มีข้อจำกัดเรื่องสีที่ไม่ สามารถเป็นได้ทุกสีเหมือนกับงานจิตรกรรมของจิตรกร ซึ่ง ต้องระมัดระวังในเรื่องการใช้สี หรือวัสดุมีสีใด ๆ กับแสงไฟ ภายในที่เป็นแสงเทียมกับแสงธรรมชาติ บ่อยครั้งที่เราเลือกใช้สีขาวซึ่งดูเป็นสีขาวจริง ๆ ภายใต้แสง อาทิตย์ปกติของวัน แต่เมื่อเป็นกลางคืนหรือเปิดไฟแสงไฟฟ้า จะมีอิทธิพลอย่างมากโดยเฉพาะหลอดไฟที่ให้ไฟแสงสีออกส้ม เช่น ฮาโลเจน หรือหลอดไส้ทั่วไป แสงสีขาวตอนกลางวันกับ งานตกแต่งด้วยสีขาวจะกลายเป็นสีส้มอมเหลืองอ่อน ๆ ไปทั้ง หมดและยิ่งแย่เข้าไปใหญ่หากเป็นสีม่วงในผ้าบุม่าน หรือภาพ เขียนประดับผนังต่างๆ ในทางกลับกัน แสงไฟประเภทนี้ถ้า ใช้กับสีสดโดยเฉพาะสีในกลุ่มสีร้อนจะให้ผลเป็นบวก ( + ) มาก เราสามารถใช้ไฟส่องเฉพาะจุดเน้น และสร้างให้เกิดสี เข้มในบริเวณที่เราต้องการได้ โดยเฉพาะยามค่ำคืนที่แสง ไฟทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ และต้องไม่ลืมสัดส่วนของความเข้ม สีที่ 10 % ของสีรวมภายในพื้นที่หรือห้องนั้น คงจะไม่มีอะไรอธิบายได้ดีกว่าภาพของงานตกแต่งภายใน ต่อไปนี้ที่จะบอกเล่าถึงความเป็น Intensity อย่างไร และ ท่านสามารถทำได้เช่นเดียวกับมืออาชีพเหมือนกัน
สีเอกรงค์ Monochrome
สีเอกรงค์ หมายถึง สีที่แสดงความเด่นชัดรวม ๆ ออกมา เป็นสีเดียว หลักการคือ สีสดที่เป็นประธานและส่วนรอง ต้อง ลดความสดลงและ"ต้องนำสีสดที่เป็นหลักผสมลงไปด้วยทุกๆ ส่วนที่เป็นส่วนรอง" ตัวอย่างเช่น สีฟ้าสดเป็นสีหลัก สีรองอื่นๆ อาจถูกลดลงด้วยสีดำ เช่นสีฟ้าอมดำ เทาดำ ฟ้าเทาอ่อน หรือ น้ำเงิน ดำ ฟ้าดำ น้ำเงินเทา เป็นส่วนประกอบโดยรอบและ สีเอกรงค์ จะไม่มีสีตรงข้ามอยู่ในโครงสีเลย
ในทางการตกแต่งภายในสีเอกรงค์ดูเหมือนจะใช้ใน งานสำนักงานหรือร้านค้ามากว่า เช่นร้านเสื้อผ้า สำนักงาน ทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสีเพียง 1 - 2 สี หรืออย่าง มากก็ไม่เกิน 3 สี โครงสีส่วนใหญ่จะเป็นขาว ครีม เทา เพราะโครงสีเหล่านี้ไม่รบกวนสินค้าที่ต้องการจะขาย ส่วน สำนักงานโครงสีจะออกเทา เพราะสีเทาจะให้ความรู้สึกสงบ กว่าและมีสมาธิกว่า