โยคะ

โยคะ คือ การบริหารกาย ลมหายใจ และ การผ่อนคลาย (อาสนะ และ ปรารณายาม) โดยเว้นหรือข้ามส่วนที่เป็นการฝึกจิตโดยตรง ขณะเดียวกัน ยังคงแฝงนัยแห่ง การฝึกจิดโดยอ้อมอยู่อย่างครบถ้วน

คำว่า อาสนะ มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า อาส ซึ่งหมายถึง มีอยู่ อาศัยอยู่ใน นั่ง เงียบ ๆ อยู่อาศัย พำนัก ตามศัพท์ อาสนะ หมายถึง การนั่งหรือนั่งในท่าใดท่า หนึ่ง ในเรื่องโยคะอาสนะ หมายถึง ท่าและตำแหน่งตางๆ ในการฝึกโยคะ เช่น การยืนด้วยศีรษะ (ศีรษะอาสนะ) ท่าดอกบัว (ปัทมอาสนะ) ฯลฯ

อาสนะ นับเป็น หนึ่งในแปด แขนงของ โยคะ แบบดั้งเดิม ใน ตำราโยคะสูตร มีส่วนที่ ว่าด้วย ปรัชญาของโยคะ คือ "ปธังชลี" ซึ่งให้คำจำกัดความ อาสนะ ด้วยคำ 2 คำ คือ เสถียร และสุขุม เสถียรหมายถึง ความมั่นคง ความคงที่ ความแน่วแน่ โดยมากจากราศัพท์ว่า สถ ซึ่งหมายถึง การยืน สุขุม หมายถึง การผ่อนคลาย สบาย ความสุขเมื่อจิตของกายอยู่ในสภาวะที่ตรงข้ามกับเสถียรและสุขุม กล่าวคือ อยู่ในสภาวะไม่คงที่จำกัด ร้อนรนและไม่มีสมาธิจะทำให้เรามีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตอย่างยาก ลำบาก ขัดแย้ง เครียด และขาดความสุข การฝึกโยคะ ช่วยสร้าง ความคงที่ และ ผ่อนคลาย ที่สัมผัสได้ ผ่านจิตของกาย อันจะก่อประโยชน์ทั้งด้านสมาธิและชีวิตประจำวันโดยทั่วไป

การฝึกโยคะ นั้นต่างจาก การออกกำลังกาย แบบอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมกัน เช่น แอโรบิค ยกน้ำหนัก หรือวิ่งอย่างสิ้นเชิง จุดประสงค์ของ การฝึกอาสนะ ไม่ใช่การ พัฒนาความแข็งแรงของกล้าม เนื้อ หรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ (แม้โยคะ จะมีประโยชน์เช่นนั้น ด้วยก็ตาม) แต่โยคะมีจุด ประสงค์เพื่อฟื้นฟูจิตของกายให้กลับมาสู่สภาวะความเป็นอยู่ที่ดี ผ่อนคลาย และตื่นตัวอยู่เสมอ

การฝึกโยคะ มีผลต่อ จิตของกาย ในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านร่างกายโดย ผ่อนคลาย รักษา และสร้างความแข็งแรง ยืดเส้นยืดสาย ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ ระบบการย่อยอา หาร ต่อมต่างๆ ในร่างกาย และระบบประสาท ผลทางด้านจิตใจ จะเกิดผ่าน การสร้างจิตใจ ที่สงบ ความตื่นตัวและสมาธิ ผลทางด้านจิตวิญญาณ คือ การเตรียมพร้อม สำหรับ การทำสมาธิ และ สร้างความแข็งแกร่ง จาก "ภายใน"

ปัจจุบันมนุษย์ในเมืองใหญ่ ๆ ทั้งหลาย ระบบชีวิตของมุนษย์ ได้ถูกกระทำจาก สภาพแวดล้อม ในด้านต่าง ๆ รวมถึงอาชีพต่าง ๆ ในลักษณะที่ก่อผล ด้านลบต่อสิ่งที่เราเรียกว่า ชีวิต มากยิ่งขึ้น ในด้านร่างกาย ต้องทำงานตรากตรำวันละหลาย ๆ ชั่วโมง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แห่งความอยู่รอด ใน สภาพการณ์ เช่นนี้ได้ทำให้ มนุษย์อ่อนแอลง ทุก ๆ ขณะ

จิตใจมนุษย์ ก็อ่อนล้าเช่นเดียวกับ ร่างกาย ระบบสังคม ที่ดำเนินไปด้วย ความเร่งรัด แข่งขัน เอารัดเอาเปรียบ ทำให้ จิตใจของมนุษย์ ต้อง ต่อสู้ดิ้นรน อย่างเต็มที่ ลักษณะรวม ที่เด่นชัดของมนุษย์ในยุคปัจจุบันคือ ความรู้สึกไม่พอใจในสิ่งที่ตนมี ความรู้สึกทะยานไป ไปข้างหน้าตลอดเวลา ในสภาพเช่นนี้ อยากที่ มนุษย์ จะพอ สันติสุข คงมีแต่ความทุกข์ กล่าว โดยรวม มนุษย์สมัยใหม่ ดำเนินชีวิต อยู่ในท่ามกลาง ความทุกข์ ความอ่อนแอ ของทั้ง ร่างกาย และจิตใจ โยคะเพื่อสุขภาพ

ถ้าเช่นนั้นมนุษย์จะมี ทางออกสำหรับ สภาพการณ์ ที่เป็นอยู่นี้อย่างไรกัน ในด้านหนึ่ง มนุษย์ ควรได้มี การงานที่เหมาะสม ที่ทำให้ ร่างกายทุกส่วนได้ เคลื่อนไหว อย่างสมดุล ซึ่งเป็น เรื่องที่ยากในสังคมสมัยใหม่ หาไม่แล้ว มนุษย์ ก็ควรมีเวลาสำหรับ การออกกำลังกาย เพื่อ เสริมสร้าง สมดุลของร่างกาย ดังกล่าว ในอีกด้านหนึ่ง มนุษย์ควรสร้าง ความเข้าใจในวิถึชีวิต ของ ตน มองเห็น คุณค่าของ การอยู่ร่วมกัน อย่าง สมัครสมาน สามัคดี ยินดีใน ความร่วมมือช่วยเหลือ มากกว่า การแก่งแย่งแข่งขัน และไม่ผูกชีวิตอยู่กับ ความสำเร็จใจ ด้านปัจจัยยังชีพจนเกินสม ควร ในขณะเดียวกัน ก็ควร ฝึกจิตใจ ให้เข้มแข็งให้มี ความมั่นคง พร้อมที่จะเผชิญกับ สภาพการณ์ต่าง ๆ ของชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ในด้านแรกเรารู้จักกันในรูปแบบต่าง ๆ ของ การบริหารกาย ไม่ว่าจะเป็น การกีฬา ประเภทต่าง ๆ การวิ่ง มวยจีน หรือ การเต้นแอโรบิค และในด้านหลัง ซึ่งเรารู้จักในนามของ ศาสนธรรม ปรัชญาชีวิต หรือ การฝึกสมาธิ มนุษย์ต้องการ ทั้งสองด้านเพื่อ จิตที่สมดุล จะมี ระบบอะไร หรือไม่ที่รวมเอา การบริหารกาย และ การฝึกฝนจิตใจ ไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งเมื่อเราปฏิบัติ หรือฝึกฝนแล้ว จะได้รับผลดีทั้ง 2 ด้านพร้อม ๆ กัน คำตอบก็คือ "โยคะ" เนื่องจาก โยคะ เป็นการ บริหาร ที่ต้องอาศัยการสังเกต และ ความละเอียดอ่อน รวมทั้งความแน่วแน่ มั่นคงของจิตใจ พร้อม กันไป โยคะจึงเป็น ทางออกที่ดี วิถีทางหนึ่งสำหรับ สภาพการณ์ปัจจุบันของมนุษย์