งานบันได
เรื่องของบันได Stair จะเริ่มขั้นแรกอย่างไรตำแหน่งควรวางอย่างไร ให้ดูสวยด้วยสง่าภูมิฐาน ไม่ว่าเป็นบันไดแบบโมเดิร์น หรือคลาสสิคก็ตาม บันไดขั้นแรกต้องเป็นลักษณะอย่างไร ลูกตั้งลูกนอนควรสูง – กว้างแค่ไหน การเดินการก้าว จึงจะสะดวก เดินขึ้นลงด้วย ท่าทางที่สง่าภูมิฐาน ของท่านเจ้าของบ้าน ราวจับบันได , ราวกันตกบันได ควรมีขนาดเท่าไร ดีไซน์ของราวบันได ก็เป็นจุดเด่นของบันไดเหมือนกัน มิใช่ว่าออกแบบ ทำเสร็จสวยแต่ขึ้นแล้ว ไม่สบาย เดินแล้วเหนื่อย มีลูกตั้งที่สูงไม่เท่ากันเป็นของแถมมาให้ เวลาเดินหน้าจะคะมำตกบันได เอาดื้อๆ สำหรับคนสูงอายุ ก็น่าเป็นห่วงใหญ่ แบบบันไดปกติ เช่น บันไดขึ้นตรง , บันไดตัวยู บันไดตัวเอล หรือบันไดโค้ง
บันได เป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าส่วนอื่น ๆ ของอาคาร ใช้เป็นทางขึ้นลงระหว่างชั้นต่าง ๆ ในอาคาร จำเป็นต้องมีสัดส่วนพอเหมาะ ใช้ประโยชน์ได้เพียงพอ และปลอดภัย รวมทั้งความสวยงามของราวบันได สำหรับอาคารพักอาศัยความกว้างไม่ต่ำกว่า 0.90 เมตร และตามเทศบัญญัติที่ท้ายบทได้กำหนดขนาดกว้าง ความสูงของบันได ลูกบันไดไว้ ผู้เขียนแบบจะต้องแม่นยำในกฎเกณฑ์ของการประกอบการก่อสร้างบันได
บันได คือ ส่วนของอาคารที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างชั้นล่าง และชั้นบน ซึ่งอาจทำด้วยไม้ อิฐ หิน คอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเหล็กล้วน ๆ ตามความเหมาะสมของแบบ และประโยชน์ใช้สอย
บันไดไม้ มี 2 ลักษณะ
1. บันไดทึบ มีลูกตั้ง + ลูกนอน
2. บันไดลอย ไม่มีลูกตั้ง โดยเอาลูกนอนไปฝากไว้กับแม่บันได หรือวางบนพุกไม้ยึดแม่บันได
บันได คสล. มี 2 ลักษณะ
1. หล่อกับที่ ( Cast in place concrete stair )
2. หล่อสำเร็จ ( Precast concrete stair ) เหมาะสำหรับทำเป็น module ในปริมาณมากๆ ใช้กับอาคารสูงๆที่ต้องมีบันไดเยอะๆ
ลักษณะบันไดแบบชนิดของบันได ค.ส.ล.
มีพื้นตันพาดทางช่วงกว้างระหว่างคานบันได บันไดแบบนี้มีแม่บันไดขนาบทั้งสองข้างของแต่ละช่วง และออกแบบเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทางเดียว ที่มีแม่บันไดเป็นฐานรอง ซึ่งเป็นช่วงสั้น ๆ เท่ากับความกว้างของบันได พื้นบันไดแบบนี้มีความหนาน้อยกว่าแบบอื่น
1.1 บันไดแบบพาดทางช่วงยาว
บันไดแบบนี้ออกแบบเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทางเดียว พาดทางช่วงยาวระหว่างคานพื้น และคานที่ชานพัก ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานรอง บันไดแบบนี้อาจออกแบบเป็นพื้นตัน หรือพื้นหยักตามขั้นบันได ซึ่งเรียกว่าบันไดพับผ้า ข่วงยาวบันไดเป็นระยะในแนวราบ ระหว่างคานพื้นกับชานพัก
1.2 บันไดแบบพับผ้า
รูปตัดแบบนี้แม่บันไดอยู่ในตัวพื้นบันไดที่พับไปมา ช่วยให้แข็งแรงด้วยการเสริมเหล็ก
เอก เส้นผ่าศูนย์กลางใหม่ถึง 12 มม. พื้น และขั้นบันไดอยู่ในเนื้อเดียวกัน
1.3 บันไดแบบคานบันไดอยู่ในแนว หรือชิดกับกำแพง และยื่นขั้นออกจากคานบันไดที่เป็นแม่บันได ซึ่งพาดระหว่างเสา และแนบไปตามกำแพง
อาจออกแบบเป็นบันไดแบบพื้นตัน หรือแบบบันไดพับผ้า แต่แบบหลังประหยัดกว่า เพราะน้ำหนักบันไดน้อยกว่าแบบแรก
1.4 บันไดเวียน
ทำเฉพาะในงานออกแบบพิเศษ เปลืองเนื้อที่สำหรับอาคารสาธารณะ ถ้าเป็นบ้านพักอาศัย มักจะเป็นเหล็กปนกับไม้แบบบันไดเวียนคอนกรีตเสริมเหล็กความกว้างประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร ระยะลูกตั้ง 0.15 ขึ้นไปไม่เกิน 0.20 ดังตัวอย่างของงานไม่เกี่ยวกับเรื่องของบันไดเวียนเช่นเดียวกัน
บันไดประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ คือ
ส่วนประกอบของบันได
1. ลูกนอน Tread
คือ ส่วนที่เป็นพื้นยกพื้นเป็นระดับต่อ ๆ กันขึ้นไปจากพื้นชั้นล่างถึงพื้นชั้นบน จำนวนของลูกนอนรวมกันเข้าเป็นความยาวของบันได ลูกนอนแต่ละอันใช้กันตั้งแต่ 0.20 – 0.30 ม. หรือกว่านั้น ความหนา 1.5” – 2” บันไดภายนอกมักใช้กว้างกว่าบันไดภายใน
2. ลูกตั้ง Riser
คือ ส่วนที่เป็นความสูงของบันไดแต่ละขั้น จำนวนลูกตั้งทั้งหมดรวมกันเข้าเป็นความสูงของบันได ลูกตั้งแต่ละอันใช้กันตั้งแต่ 0.15 – 0.20 ม. ลูกตั้งของบันไดบางแบบประกอบด้วยไม้บังชั้น และบางแบบเปิดโล่งก็มี ปัจจุบันถูกตั้งเป็นไม้ หรือเหล็ก ฉะนั้น การใช้คำอธิบายว่าลูกตั้งจะหมายถึงระยะลูกตั้ง
3. แม่บันได Stringer
คือ ส่วนที่เป็นคานรับน้ำหนักบันไดวางในแนวเอียง มุมของแม่บันไดขึ้นอยู่กับการกำหนดลูกตั้ง และลูกนอนว่าใช้มากน้อยเพียงไร ถ้าเราใช้ลูกตั้งสูงมากขึ้นเท่าไรก็จะได้บันไดชันมากขึ้นตามส่วน ทั้งจะสัมพันธ์กับลูกนอนซึ่งจะลดจำนวนลงไปด้วย การวางแม่บันไดจึงจะกำหนดลูกตั้งและลูกนอนเสียก่อน แม่บันไดนั้นตามปกติใช้ 2 ตัว แต่อาจออกแบบให้มีตัวเดียวตรงกลาง หรือไม่มีปรากฏให้เห็นเลยก็ได้ เช่นแบบที่ฝังอยู่ในผนัง
4. พุกบันได Bearer or Cleat
คือ ส่วนของบันไดที่ทำหน้าที่เหมือนตงรับถ่ายทอดน้ำหนัก จากลูกนอนแต่ละขั้นลงสู่แม่บันได พุกบันไดมีด้วยกันหลายแบบ บันไดบางแบบอาจไปใช้พุกโดยฝังปลายลูกนอนไว้กับแม่บันไดเลยก็ได้
5. เสาบันได Post
ทำหน้าที่รับน้ำหนักของชานบันได ซึ่งแม่บันไดไปพาดอยู่ หรือหมายถึงเสาค้ำยันตรงปลายล่าง และบนของบันได ซึ่งรับราวบันไดก็ได้ เสาบันไดนี้บางแบบก็ไม่จำเป็นต้องใช้
6. ราวบันได Handrail
คือ ส่วนที่ใบใช้สำหรับเกาะพยุงตัวในการขึ้นบันได จำเป็นต้องมีในช่วงบันไดสูง ๆ อย่างน้อย 1 ข้างใช้เสารับเป็นระยะ หรือจะตรึงติดผนังก็ได้แล้วแต่แบบความสูงของราวบันไดวัดตั้งแต่พื้นไม่เกิน .80 เมตร
7. ลูกกรงบันได Buluster
คือ ส่วนของบันไดที่ทำหน้าที่กันตก ใช้ยึดกับราวบันไดตลอดแนว ลูกกรงนี้มีแบบ และขนาดมากมายแล้วแต่วัสดุที่ใช้
8. ช่วงบันได Flight
หมายถึง บันไดในตอนหนึ่ง ๆ บันไดยาว ๆ อาจแบ่งออกเป็นหลายช่วง ช่วงหนึ่ง ๆ ไม่ควรเกิน 11 – 12 ขั้น (ลูกตั้ง) และแต่ละช่วงต้องมีชานบันได หรือพื้นห้องคั่นไว้เป็นที่พัก บันไดในอาคารแต่ละหลังมี 1, 2, 3 ช่วงก็ได้ แล้วแต่การออกแบบ
9. พักบันได Landing
หมายถึง ที่มีบันไดหลายช่วง และส่วนเชื่อมช่วงบันได แต่ละช่วงพักบันไดเป็นตัวเชื่อมพักบันไดกว้างเท่ากับความกว้างของบันไดไม่น้อยกว่านี้
10. จมูกบันได Nosing
หมายถึง ขอบของลูกนอนที่ยื่นออกมาจากแนวลูกตั้งถ้าเป็นไม้ประมาณ 1” และจะมีมนโดยรอบ แสดงคงความประณีตในงานลักษณะของงานไม้ และขึ้นอยู่กับการเขียนแบบแสดงให้ชัดเจน
การกำหนดจำนวนขั้นบันไดใช้หลัก
จำนวนลูกตั้ง = ระยะความสูงของห้องจากพื้นถึงพื้น / ระยะลูกตั้ง
จำนวนลูกนอน = จำนวนลูกตั้ง – 1
ความยาวของช่วงบันได = จำนวนลูกนอน x ระยะความกว้างลูกนอน
กำหนดความกว้างของบันได ให้พิจารณาจากกฎเกณฑ์ในเทศบัญญัติท้ายบทภาคผนวกช่วยในการพิจารณาเขียนแบบให้ถูกต้อง
ความสัมพันธ์ของขนาดลูกตั้งลูกนอน
1. ผลบวกลูกตั้ง + ลูกนอน ไม่น้อยกว่า 42.5 ซม. และไม่มากกว่า 45 ซม. ( ไม่รวมจมูกบันได )
2. 2 เท่าของลูกตั้ง + ลูกนอนไม่น้อยกว่า 60 ซม. และไม่มากกว่า 62.5 ซม.
ลักษณะและชนิดของบันได
1. บันไดช่วงเดียว ( single flight / straight flight ) ประหยัดพื้นที่ ในอาคารสาธารณะ สูง 4 m อาคารพักอาศัย สูง 3 m2. บันไดตรงมีชานพัก
3. บันไดมีชานพักและหักเลี้ยว 90 องศา
4. บันไดมีชานพักและเลี้ยวกลับ ( single dog leg ) ให้ความรู้สึกสั้นกว่าบันไดช่วงเดียว
5.บันไดเลี้ยวกลับรูปตัว U ( half turn open well )
6. บันไดเลี้ยวกลับรูปตัว U ไม่มีชานพัก
7. บันไดโค้ง หรือบันไดพัด
8. บันไดประติมากรรม สวย แต่เปลืองเนื้อที่
9. บันไดเวียน ประหยัดเนื่อที่แต่ใช้งานยาก ใช้ไม่บ่อย
10. บันไดลิง ใช้เป็นทางหนีไฟในโรงงาน ควรมีราวจับ 2 ข้าง สูงไม่เกิน 4 m ใช้เป็นบันไดหลักไม่ได้
ขนาดและส่วนประกอบของบันได
1. ลูกนอน ( tread ) ชั้นเหยียบมีขนาดพอดีเท้า
2. ลูกตั้ง ( บังขั้น , riser ) ยกขึ้นพอดีกับระยะก้าว
3. จมูกบันได ( nosing ) ส่วนยันลูกนอนจากขอบลูกตั้ง
4. ราวบันได ( hand rail ) เป็นที่จับยึด กันตก สูงจากพื้น 80-90 cm หรือเท่ากับระยะมือจับ ขนาดจับ พอดีมือและได้สัดส่วนกับบันได เส้นผ่านศูนย์กลาง 2" , 2 1/2"
5. ลูกกรง เป็นที่จับยึดราวกันตกให้แข็งแรง ออกแบบได้หลากหลาย โปร่ง-ทึบ ตั้ง-นอน
6. แม่บันได เหมือนคานของบันได เป็นโครงสร้างรับลูกตั้งลูกนอนบันไดไม้ มี 2 ลักษณะ
1. บันไดทึบ มีลูกตั้ง + ลูกนอน
2. บันไดลอย ไม่มีลูกตั้ง โดยเอาลูกนอนไปฝากไว้กับแม่บันได หรือวางบนพุกไม้ยึดแม่บันได
คุณลักษณะที่ดีของบันได
1. วัสดุที่เลือกใช้ วัสดุแต่ละประเภทที่ใช้ทำบันไดจะมีความเหมาะสมกับตำแหน่งที่ติดตั้งการให้ความรู้สึกแก่ผู้ใช้และรูปแบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน เช่น
-บันไดไม้ เหมาะกับใช้ภายในบ้าน ซึ่งหากต้องการอารมณ์ความรู้สึกแบบธรรมชาติของไม้ภายนอกอาคาร ก็สามารถเลือกวัสดุที่ทำผิวสัมผัสคล้ายกับไม้เพื่อทดแทนกันได้ เช่น พลาสติก หรือแผ่นไม้เทียม
-บันไดเหล็ก เหมาะกับการใช้งานทั้งภายในภายนอกอาคาร แต่ต้องทำการเคลือบผิวไว้เป็นอย่างดีเพื่อกันการเกิดสนิม นิยมใช้ในงานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ติดตั้งรวดเร็ว สามารถทำรูปแบบบันไดได้หลากหลาย
-บันไดคอนกรีต สามารถทำได้หลายประเภท เช่น งานขัดมัน ทรายล้าง หรือคอนกรีตเปลือย ข้อดีก็คือ ทำความสะอาดง่าย และมีอายุการใช้งานยาวนาน
2. ขนาดของบันไดที่เหมาะสม เพื่อให้การเดินขึ้นลงภายในบ้านสะดวก ขนาดของบันไดที่ดีควรจะมีขนาดดังนี้ คือ ความกว้างไม่ควรต่ำกว่า 1 เมตร ขนาดที่เหมาะสมที่สุดอยู่ที่ 1.2-1.5 เมตร ความสูงอยู่ที่ระหว่าง 16-20 ซม. โดยความสูงที่ดีที่สุดอยู่ที่ 17.5 ซม. และความลึกของบันไดอยู่ที่ 25-30 ซม. หากความลึกน้อยกว่านี้จะทำให้การเดินนั้นอันตรายและไม่สะดวก
3. บันไดบ้านควรมีจำนวนขั้นเป็นเลขคี่ (นับตั้งแต่ขั้นที่เริ่มจนถึงขั้นสุดท้ายก่อนถึงชานพักหรือชั้นถัดไป) ในข้อนี้ไม้เกี่ยวกับความเป็นมงคลของเลขคี่แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะในทางสถาปัตยกรรมศาสตร์นั้น สถาปนิกส่วนใหญ่จะชอบออกแบบตามหลักการที่ว่า หากเราเริ่มเดินด้วยเท้าข้างใด ควรจะจบขั้นสุดท้ายด้วยเท้าอีกข้าง เพื่อจะทำให้เกิดความสมดุลย์ของการทรงตัวในขณะที่เดินขึ้นและลงบันได (เช่นเริ่มต้นเดินด้วยเท้าขวาและจบด้วยเท้าซ้าย) อย่างไรก็ตามสำหรับหลักการในข้อนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องหลักที่ซินแสให้ความสำคัญมากนัก
การออกแบบบันได มีกฎเกณฑ์ดังนี้
1. ประเภทผู้ใช้งาน หรือประเภทอาคาร
2. หน้าที่ใช้สอย
- เลือกใช้ประเภท ชนิดบันไดให้เหมาะสม
- ขนาดบันไดตามปริมาณการสัญจร
3. ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย
- ขนาดลูกตั้ง ลูกนอน ราวกันตก มือจับ
- ความยาวช่วงบันได ( flight )
- จมูกบันได
- การเลือกใช้วัสดุ โครงสร้าง
4. ถูกต้องตามเทศบัญญัติ
5. ความสะดวก VS ความถูกต้อง
6. ความงาม ให้คิดว่า บันไดเป็นงานศิลปะ 3 มิติ มี 6 ด้าน ต้องพิจารณาความสัมพันธ์แต่ละด้าน
7. ความต้องการพิเศษ
- Sculpture
- ทางสัญจร + ที่นั่ง
- แสดงเอกลักษณ์ เช่น อาคารคนพิการ บันไดจะอยู่ในรูปของ ramp
ข้อควรพิจารณาในการออกแบบบันได
1. ความปลอดภัย
2. การหักกลับของราวบันได
3. ลูกเล่นต่างๆ
ข้อจำกัดในการออกแบบภายใต้เทศบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522
1.บันไดที่พักอาศัยกว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 0.80 m
- 1 ช่วง ( 1 flight ) สูงไม่เกิน 3.00 m
- อาคารสาธารณะ อุตสาหกรรม พาณิชย์ กว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 1.50 m
- 1 ช่วง ( 1 flight ) สูงไม่เกิน 4.00 m
2. บันไดที่พักอาศัย ลูกตั้งสูงไม่เกิน 0.20 m ลูกนอนไม่ต่ำกว่า 0.22 m
- อาคารสาธารณะลูกตั้งสูงไม่เกิน 0.19 mลูกนอนไม่ต่ำกว่า 0.24 m
3. บันไดที่สูงเกินกำหนดจะต้องมีชานพักกว้าง / ยาวไม่น้อยกว่าความกว้างบันได
4. บันไดเวียน ลูกนอนช่วงที่แคบที่สุดต้องไม่ต่ำกว่า 0.10 m
อาคารสูง
- บันไดหนีไฟในอาคารสูง กว้างไม่ต่ำกว่า 0.80 m ชานพักไม่ต่ำกว่า 0.90 m
- มีราวบันได 1 ด้าน
- ลูกนอนไม่ต่ำกว่า 0.22 m ลูกตั้งไม่สูงเกิน 0.20 m
*ห้ามใช้บันไดเวียนเป็นบันไดหนีไฟในอาคารสูง
กรณีเป็นบันไดของอาคารอยู่อาศัย ลักษณะกายภาพของบันได ให้พิจารณาตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ ข้อ 23 ส่วนกรณีบันไดหนีไฟ ให้พิจารณาตาม กฎฯ ข้อ 24 ส่วนที่จะต้องมีชานพักหรือไม่ ถ้าบันไดตามข้อ 23 และ 24 ที่เป็นแนวโค้งเกิน 90 องศา จะไม่มีชานพักบันไดก็ได้ ตาม กฎฯ ข้อ 26
"ข้อ 23 บันไดของอาคารอยู่อาศัยถ้ามีอย่างน้อยหนึ่งบันไดที่มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80
เซนติเมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เมตร เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันได
เหลื่อมกันออกแล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และต้องมีพื้นหน้าบันไดมีความกว้างและยาว
ไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร หรือน้อยกว่านั้น และชานพักบันไดต้อง
มีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได ระยะดิ่งจากชั้นบันไดหรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุด
ของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร
ข้อ 24 บันไดของอาคารอยู่อาศัยรวม หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก สำนักงานอาคารสาธารณะ
อาคารพาณิชย์ โรงงาน และอาคารพิเศษ สำหรับที่ใช้กับชั้นที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันไม่เกิน
300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร แต่สำหรับบันไดของอาคารดังกล่าวที่ใช้กับชั้น
ที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันเกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ถ้า
ความกว้างสุทธิของบันไดน้อยกว่า 1.50 เมตร ต้องมีบันไดอย่างน้อยสองบันไดและแต่ละบันไดต้องมีความ
กว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร
บันไดของอาคารที่ใช้เป็นที่ชุมนุมของคนจำนวนมาก เช่น บันไดห้องประชุมหรือห้องบรรยายที่มี
พื้นที่รวมกันตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดห้องรับประทานอาหารหรือสถานบริการที่มีพื้นที่
รวมกันตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดของแต่ละชั้นของอาคารนั้นที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 2,000
ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร อย่างน้อยสองบันได ถ้ามีบันไดเดียวต้องมีความ
กว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร
บันไดที่สูงเกิน 4 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 4 เมตร หรือน้อยกว่านั้นและระยะดิ่งจากขั้น
บันไดหรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุด ของอาคาร ที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร
ชานพักบันไดและพื้นหน้าบันไดต้องมีความกว้างและความยาวไม่น้อยกว่าความกว้างสุทธิของ
บันได เว้นแต่บันไดที่มีความกว้างสุทธิเกิน 2 เมตร ชานพักบันไดและพื้นหน้าบันไดจะมีความยาวไม่เกิน
2 เมตรก็ได้
บันไดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องมีลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้น
บันไดเหลื่อมกันออกแล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร และต้องมีราวบันไดกันตก บันไดที่มี
ความกว้างสุทธิเกิน 6 เมตร และช่วงบันไดสูงเกิน 1 เมตร ต้องมีราวบันไดทั้งสองข้าง บริเวณจมูกบันไดต้อง
มีวัสดุกันลื่น "
"ข้อ 26 บันไดตามข้อ 23 และข้อ 24 ที่เป็นแนวโค้งเกิน 90 องศา จะไม่มีชานพักบันไดก็ได้
แต่ต้องมีความกว้างเฉลี่ยของลูกนอนไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร สำหรับบันไดตามข้อ 23 และไม่น้อยกว่า
25 เซนติเมตร สำหรับบันไดตามข้อ 24 "