แหล่งที่มาของรายได้และรายจ่าย
เงิน
เงินคือ สิ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมหนึ่ง ๆ ให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยมีการกำหนดค่าขึ้นเป็นหน่วยเงินตรา และพยายามรักษาค่าให้คงที่อยู่เสมอเช่น หน่วยเงินตราไทยเป็นบาท หน่วยเงินตราอังกฤษเป็นปอนด์สเตอร์ลิง หน่วยเงินตราสหรัฐเป็นดอลลาร์ เป็นต้น
สาเหตุในการถือเงินสดของบุคคลก็เพื่อผลประโยชน์ 3 ประการคือ
1. เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็น ( Undertake Transfaction ) ในชีวิตประจำวัน วันหนึ่ง ๆคนเราย่อมมีความผูกพันเกี่ยวกับ การใช้จ่ายหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น การซื้อหาอาหารรับประทาน
2. เพื่อเป็นเงินสดสำรองไว้ยามฉุกเฉิน ( Emergency Reserves ) ในกรณีเกิดฉุกเฉินขึ้นมาเมื่อจำเป็นต้องมีเงินใช้จ่าย ก็สามารถมีได้เช่น การป่วย เกิดตกงานไม่มีรายได้หรือมีอุบัติเหตุต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นต้น
3. เพื่อการสะสมมูลค่า ( Store of value )
เงินในส่วนที่เราเก็บสะสมเอาไว้ใช้จ่าย เช่น เงินออม เป็นต้น ซึ่งอาจจะเอามาใช้ในวันนี้หรือเอามาใช้ในอนาคตข้างหน้า
เวลา และกลยุทธ์การบริหารเวลา
การวางแผนการใช้เวลา
1. การจัดสรรเวลา พิจารณาดูว่าเวลา 24 ชั่วโมงที่มีอยู่นั้น จะใช้ทำอะไรบ้าง ในสัดส่วนเท่าไรจึงจะเหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งทางด้านอาชีพ การงาน สุขภาพ และอื่น ๆ สิ่งที่จะช่วยให้เห็นชัดถึงการใช้เวลาก็คือ
การจดบันทึกการทำงานและการใช้เวลา
2. ทำงานตามจังหวะเวลา ด้วยการทำสิ่งต่างๆที่ได้วางแผนไว้ให้สอดคล้องกับเวลาที่มีอยู่ เช่น เวลาทำงานก็ทำเต็มความสามารถ
3. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เวลาที่ว่างเว้นจากการทำงาน หรือเพื่อสรรสร้างสุขภาพย่อมเป็นเวลาว่าง ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะเลือกใช้ได้ตามความถนัดและความพอใจ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการทำงานอดิเรกจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
งานอดิเรก คือ งานพิเศษที่ทำในเวลาว่างเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ไม่ควรเคร่งเครียด การทำงานอดิเรกก็เป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่ง เพราะทำให้เกิดความเพลิดเพลินและเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคนจำนวนมากที่ใช้เวลาว่างในการ เช่น การเก็บรวบรวมหรือการสะสมสิ่งที่น่าสนใจ การประดิษฐ์งานฝีมือ การทำอาหารและขนมต่างๆการปลูกต้นไม้ การเป็นพนักงานขาย การเลี้ยงสัตว์ การเล่นดนตรี การเขียนหนังสือ ฯลฯ
การบริหารเงินสด และสินทรัพย์สภาพคล่องของบุคคล
การดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคล ย่อมมีการจับจ่ายใช้สอยอยู่เสมอ จึงควรต้องมีเงินที่สามารถหยิบมาใช้ได้อย่างสะดวก และคล่องมืออยู่อย่าง เพียงพอ
ความหมาย และความจำเป็นในการถือสินทรัพย์สภาพคล่องของบุคคล
สินทรัพย์สภาพคล่อง ( Liquid Assets ) คือ สินทรัพย์ในรูปของเงินสด และสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสด แต่สามารถเปลี่ยน เป็นเงินสดได้ง่าย โดยไม่ลดมูลค่า เช่น เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์
และเงินลงทุนระยะสั้นอื่นๆ บุคคลจำเป็นต้องมี สินทรัพย์สภาพคล่องให้เพียงพอต่อ การใช้จ่ายประจำวัน เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาเงินขาดมือ เท่าที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่นิยมถือ เงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอยกันมาก การเปิดบัญชีกระแสรายวัน โดยใช้เช็คสั่งจ่ายยังมีน้อย
ปัญหา และความขัดข้องทาง การเงินย่อมเกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว หากไม่มีการ เตรียมพร้อมไว้ย่อมนำ ความเดือดร้อนมาสู่คนใน ครอบครัวได้เสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกครอบครัวต้องมีเงินสดสำรองไว้จำนวนหนึ่ง
เงินสดสำรอง หมายถึง เงินที่ได้เก็บออมไว้ ซึ่งสามารหยิบฉวยมาใช้ได้ทันทีที่เกิดความจำเป็น เงินสดที่สำรองไว้นี้ จะไม่ก่อให้เกิด ประโยชน์อันใด ถ้าถือไว้เฉย ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาทางบริหารเงินสดสำรองจำนวนดังกล่าว ให้มีค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
เงินสด และกลยุทธ์การบริหารเงินสด ( Cash Management )
การบริหารเงินสดที่ดี คือ การที่บุคคลรู้จักกะประมาณเงินสดที่มีอยู่ในมือให้น้อยที่สุด ทั้งนี้โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาเงินสดขาดมือ การที่บุคคลมีเงินสด ในจำนวนที่เขาสามารถอยู่ได้โดยปลอดภัย กล่าวคือ ไม่มีปัญหาเงินขาดมือเกิดขึ้น
รายได้ส่วนบุคคล (personal income)
หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับจากแหล่งต่างๆ ในรอบปี ซึ่งบางส่วนได้รับเพราะเป็นผลตอบแทนจาก การผลิตหรือ มีส่วนร่วมใน การผลิต และบางส่วนได้รับในรูปของเงินโอน
ปัจจัยที่กำหนดรายได้ของบุคคล (Factors Affecting Personal Income)
- อายุ (Age) เรื่องของอายุมีความสัมพันธ์ต่อการหารายได้ของบุคคล บุคคลที่สูงวัย และหนุ่มสาวผู้เริ่มทำงานนั้นจะมีรายได้ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ใน วัยกลางคน ซึ่งมีอายุในระหว่าง 35- 55 ปีเพราะผู้อยู่ในวัยนี้โดยทั่วไปจะมีความสามารถในการหารายได้สูง
ทั้งนี้เนื่องจากอยู่ในวัยที่มีพละกำลัง ในการทำงาน
- การศึกษา (Education) ระดับการศึกษา จะเป็นเครื่องกำหนดรายได้ของบุคคล ผู้ที่สำเร็จปริญญาระดับสูง ๆ ย่อมมีรายได้สูงกว่าผู้มีการศึกษาต่ำหรือไม่ได้รับการศึกษา
- อาชีพ (Career) การเลือกอาชีพมีความสัมพันธ์กับการศึกษาของบุคคล มีอาชีพ บางอย่างที่ผู้ทำงานจะต้องผ่านการศึกษาทางด้านนี้มาโดยเฉพาะ เช่น พวกวิชาชีพอิสระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ นักกฎหมาย สถาปนิก หรือวิศวกร
ฯลฯ แต่มีอาชีพบางอย่าง ถึงแม้จะไม่เรียนมาในสายนั้นโดยตรง ก็สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้เช่น ผู้ที่เรียนมาในสายสังคมศาสตร์ อาจจะประกอบอาชีพได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ พนักงาน ธนาคาร
หรือการเป็นพนักงานในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจตลอดจนธุรกิจเอกชนต่างๆ
- คุณสมบัติเฉพาะตัว (Personal Assets) บุคคลแต่ละคนจะไม่เหมือนกันโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวแล้วเช่น ในเรื่องของความสามารถ (Abilities) ความชำนาญ (skills ) บุคลิกภาพ ( Personality ) แรงกระตุ้น ( Drive ) ทัศนคติ (Aptitudes) ขวัญ และกำลังใจ ( Motivation ) ตลอดจนค่านิยมต่างๆ (Value systems)ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมี่อิทธิพลต่อการกำหนดระดับรายได้ของบุคคลได้ทั้งสิ้น เช่น คนที่มีความมุ่งมั่น และมีความทะเยอทะยานสูง โอกาสที่จะก้าวสู่ตำแหน่งสูง
- แหล่งรายได้ต่างๆ ของบุคคล (Sources of Personal Incomes) การทำงานของบุคคลแต่ละอาชีพย่อมมีผลตอบแทน อันได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง ตลอดจนสวัสดิการต่างๆ ไม่เหมือนกัน ในการพิจารณารายได้ของบุคคลนอกจากจะคำนึงถึงรายได้ที่เป็นตัวเงิน ซึ่งบุคคลได้รับ เช่น เงินเดือน ค้าจ้าง โบนัส ค่านายหน้า ฯลฯ แล้วยังต้องคำนึงถึงสวัสดิการหรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่มีให้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
- เงินเดือน เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากการทำงานประจำในหน้าที่การงานแต่ละสาขาอาชีพเป็นค่าตอบแทนรายงานของบุคคล เช่น เงินเดือนของหน่วยงานรัฐบาล เงินเดือนของรัฐวิสาหกิจ เงินเดือนของหน่วยงานเอกชน เงินเดือนในอัตราจ้างปกติ
เป็นต้น
- รายได้พิเศษ เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเงินเดือนซึ่งทุกคนสามารถมีรายได้พิเศษจากตรงนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ข้าราชการประจำ เนื่องจากรายได้ที่เกิดขึ้นนี้ทุกคนสามารถสร้างรายได้จากส่วนนี้ เช่น
นักศึกษาหารายได้พิเศษในช่วงซัมเมอร์โดยการเป็นพนักงานเสิร์ฟ อาจารย์สอนพิเศษ เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน เป็นต้น
- รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ เกิดจากการนำเงินที่เหลือหรือเงินที่แยกจากค่าใช้จ่ายจากเงินเดือนประจำ รายได้พิเศษ หรือจากงานอดิเรกต่าง ๆ ไปฝากตามเงื่อนไขด้านระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด เช่นทุก ๆ 3 เดือน ทุก
ๆ 6 เดือน ทุก ๆ 1 ปี เป็นต้น
- รายได้จากงานอดิเรก เป็นรายได้เสริมที่เกิดจากการทำกิจกรรมยามว่าง แล้วเกิดรายได้ขึ้นมาเช่น การต่อตัวต่อ การถักงานไหมพรม นักวาดภาพเหมือน รับจ้างแต่งเสียงโทรศัพท์ เป็นต้น
- รายได้สวัสดิการ เป็นผลตอบแทนต่อเนื่องจากเงินเดือน ทั้งนี้แล้วแต่นโยบายของบริษัทที่จะจัดสรรงบประมาณมาเป็นรายได้สวัสดิการ ตรงนี้ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ และเอกชนซึ่งเป็นผลประโยชน์สำหรับพนักงานเช่น ค่ารักษาพยาบาล
ค่าเล่าเรียนของบุตร ค่าประกันชีวิต รถประจำตำแหน่ง บ้านพักของข้าราชการ เป็นต้น
การวัดรายได้ส่วนบุคคล สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
รายได้ของบุคคลที่แต่ละคนสามารถ นำมาใช้สอยได้อย่างอิสระของแต่ละคน คือตัวเงินที่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ
1. วิธีการปรับรายได้ประชาชาติให้เป็นรายได้ส่วนบุคคล
รายได้ส่วนบุคคล = รายได้ประชาชาติ - รายได้ที่ตกถึงครัวเรือน + เงินเดือนที่ครัวเรือนได้รับ
2. วิธีการวัดรายได้ส่วนบุคคลโดยตรง เป็นการวัดผลรวมของรายได้เฉพาะที่ครัวเรือน ได้รับรวมกับ เงินโอนที่ครัวเรือนได้รับในรอบปีนั้น ๆ
รายได้สุทธิส่วนบุคคล
รายได้สุทธิส่วนบุคคล หมายถึง รายได้ส่วนบุคคลภายหลังที่ครัวเรือนจ่ายพันธะผูกพันต่างๆ ได้แก่ ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ธรรมดา เงินโอนจากครัวเรือนให้รัฐบาล และเงินจ่ายเข้ากองทุนเงินประกันสังคม
รายได้ส่วนที่เหลือ จึงเป็นรายได้สุทธิส่วนบุคคลที่ประชาชน (ครัวเรือน) สามารถนำไปใช้จ่ายส่วนบุคคลส่วนหนึ่งเพื่อการบริโภค การชำระค่าดอกเบี้ยหนี้บริโภคของครัวเรือน จ่ายเป็นเงินโอนให้ต่างประเทศ และอีกส่วนหนึ่งเก็บออมไว้เป็นการออมส่วนบุคคล
(personal savings)
รายได้สุทธิส่วนบุคคล (disposable personal income) หมายถึง รายได้ส่วนบุคคลภายหลังที่ครัวเรือนจ่ายพันธะผูกพันต่างๆ ได้แก่ ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดา เงิน โอนจากครัวเรือนให้รัฐบาล
และเงินจ่ายเข้ากองทุนเงินประกันสังคม รายได้ส่วนที่เหลือจึงเป็นรายได้สุทธิส่วนบุคคลที่ประชาชน (ครัวเรือน) สามารถนำไปใช้จ่ายส่วนบุคคลส่วนหนึ่งเพื่อการบริโภค การชำระค่าดอกเบี้ยหนี้บริโภคของครัวเรือน
และจ่ายเป็นเงินโอนให้ต่างประเทศ และอีกส่วนหนึ่งเก็บออมไว้เป็นการออมส่วนบุคคล (personal savings)
รายได้ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทางเลือกในการบริโภคมากที่สุด เนื่องจากรายได้เป็นสิ่งที่แสดงถึง ความสามารถใน การซื้อของผู้บริโภค เช่น คนที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งเคยรับประทานอาหารที่หาได้ตามธรรมชาติในท้องถิ่น
ทางเลือกที่เขาอาจจะทำได้ เมื่อมีเงินเพิ่มขึ้นก็เพียงแค่ซื้อปลากระป๋องมารับประทาน
นอกจากรายได้จะเป็นตัวกำหนดให้แต่ละบุคคลมีทางเลือกในการบริโภคสินค้า และบริการต่าง ๆ แต่ละชนิดไม่เหมือนกันแล้ว แม้แต่สินค้าชนิดเดียวกัน ความแตกต่างของรายได้ก็ทำให้ผู้บริโภคทางเลือกที่ต่างกันได้
เช่น ในการหาที่อยู่อาศัย ทางเลือกของคนอาจอยู่วัด อาศัยเพื่อนฝูง หรือหาห้องเช่าเล็ก ๆ อยู่
การวัดรายได้สุทธิส่วนบุคคล
จากความหมายของรายได้สุทธิส่วนบุคคลข้างต้น เราสามารถวัดรายได้สุทธิส่วนบุคคลจากรายได้ส่วนบุคคล ได้ดังนี้
รายจ่าย
การใช้เงินที่ได้จากรายได้ถือว่าเป็นรายจ่ายของบุคคล หรือครอบครัวการจัดทำรายจ่ายของแต่ละบุคคล จำเป็นต้องมีรายได้ ที่เพียงพอต่อความต้องการ มากมายของบุคคล หรือครอบครัวการใช้จ่ายครอบครัวแบ่งออกเป็น
3 ด้านคือ
1. ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยง เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่างวดบ้าน ค่างวดรถ ค่าประกันชีวิต ค่าประกันรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าว ผู้วางแผนต้องกันไว้ตอนทำงบประมาณ การวางแผนการใช้จ่าย จึงต้องเตรียมการล่วงหน้า
ให้ครอบคลุม ค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆที่กล่าวมาให้หมด เช่น อาจเตรียมเงินเดือนไว้เดือนละ 15,000 บาท สำหรับค่างวดบ้าน และอีก 12,000 บาท สำหรับค่างวดรถยนต์
2. การออม สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการความมั่นคงปลอดภัยหลังจากวัยทำงานจะต้องมีการวางแผนการออมไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อใช้จ่ายหลังจากที่ทำงานไม่ไหว หรือในกรณีที่มีเงินบำเหน็จ หรือบำนาญรออยู่แล้ว ก็ยังจะต้องการออมเพื่อการท่องเที่ยว
สร้างสาธารณะประโยชน์ ใช้ในเทศกาลต่าง ๆ หรืออื่น ๆ และอย่างน้อยที่สุดที่บุคคลต่างๆ ควรจะมีการออมไว้เผื่อเหตุฉุกเฉิน เช่น ได้รับอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือตกงานกะทันหัน เป็นต้น
3. ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารเสื้อผ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน และค่าใช้จ่ายของสมาชิก ในครอบครัว ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเป็นส่วนของรายได้ที่เหลือจากค่าใช้จ่ายประจำ และการออมของครอบครัว
และเป็นส่วนที่จะนำไปจัดสรร ให้กับสมาชิก และส่วนกลางในครัวเรือน
การบริหารเงินสด และสินทรัพย์สภาพคล่องของบุคคล
ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อรายจ่ายของบุคคล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดค่ารายจ่ายอาหาร
1.จำนวนรายได้ของครอบครัวรวมทั้งหมด จะเป็นปัจจัยที่สามารถใช้ในการกำหนดงบประมาณรายจ่ายค่าอาหารไว้ว่า ครอบครัวนั้นจะมีรายจ่ายเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด
2.อายุของสมาชิกในครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายมาก เช่นกัน กล่าวคือ ในครอบครัวที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเติบโต ย่อมจะมีรายจ่ายค่าอาหารประเภทเนื้อ นม ไข่ ผัก และผลไม้มากกว่าครอบครัวที่มีลูกกำลังเล็ก หรืออยู่ในวัยทารก
3.รูปแบบ และประเภทอาหารของแต่ละครอบครัวที่รับประทาน เช่น บางครอบครัวอาจชอบรับประธานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม เนย ซึ่งมีราคาแพงกว่าการรับประทานอาหารแบบไทย
4.ระดับราคาอาหาร และการวางแผนการในการซื้ออาหารของท่านได้ ในกรณีที่ท่านทราบถึงระดับราคาสินค้าที่ต้องการจะซื้อในแต่ละครั้ง รวมถึงการวางแผนการซื้อไว้โดยเรียบร้อยว่าท่านควรจะซื้อสินค้าใดบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด
ท่านก็จะสามารถไปยังแหล่งที่ขาย และเลือกซื้อสินค้าไว้โดยเรียบร้อยว่าท่านควรจะซื้อสินค้าใดบ้าง โดยมีงบประมาณเตรียมไว้อย่างพร้อมเพรียง เช่น ผัดผัก แกงต่าง ๆ
รายจ่ายค่าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรายจ่ายค่าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
1. ฤดูกาล ท่านอาจจะมีรายจ่ายค่าเสื้อผ้าน้อยลง เช่น ในฤดูหนาวท่านอาจจะใช้เสื้อกันหนาวเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นท่านจึงอาจมีการใช้จ่ายเกี่ยวกับเสื้อผ้าลดลง
2. อาชีพ อาชีพของท่านก็อาจเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เสื้อผ้าได้เช่นกัน เช่น ถ้าท่านเป็นพนักงานธนาคาร ทหาร ตำรวจ นางพยาบาล ครู พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานขายของตามห้างร้าน ที่ต้องแต่งเครื่องแบบทำงาน
ท่านอาจมีความจำเป็นในเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายน้อยกว่าผู้ที่มีอาชีพนางแบบ และพนักงานในบริษัทเอกชน
3.อายุ และวัย เป็นปัจจัยหนึ่งในการใช้เสื้อผ้าเพราะในวัยทารก และวัยเด็กที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การใช้เสื้อผ้ามากชุดย่อมไม่เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และเกิดการการสูญเสียทางเศรษฐกิจได้มากเพราะเด็กเติบโตเร็วในบางครั้งไม่ทันกับเสื้อผ้าที่มีอยู่ และต้องหาซื้อใหม่บ่อยขึ้น
4. สมัยนิยมที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเสื้อผ้ามากขึ้น เพราะถ้าท่านยังคงใช้เสื้อผ้าตัวเก่าอยู่ ก็ทำให้ท่านมองดูหล้าสมัยในสังคม และทำให้ท่านขาดความมั่นใจในตัวเองได้มาก จึงจำเป็นที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการแต่งกายให้เป็นไปตามสมัยนิยม
รายจ่ายค่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรายจ่ายค่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
1. ราคา
2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
3. รายจ่ายค่าบริการ
4. อายุการใช้งานของเครื่องใช้นั้น ๆ
5. การดูแลบำรุงรักษา
6. การซ้องแซมภายหลังการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
7. การประเมินอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
รายจ่ายประจำของการใช้รถยนต์
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรายจ่ายของการใช้รถยนต์ของบุคคล รถยนต์ไม่ว่าแบบใดก็ตาม ย่อมมีอายุการใช้งานที่มีความจำกัดแตกต่างกัน ซึ่งแล้วแต่ ราคา และคุณภาพ รถที่มีราคาแพงย่อมมีความคงทนมากกว่ารถที่มีราคาถูกกว่า
แต่เมื่อเกิดความชำรุด ค่าซ่อมบำรุงก็จะแพงกว่า รถยนต์ทั่ว ๆ ไป ในทางตรงกันข้ามรถยนต์ที่ราคาในระดับกลางค่าซ่อมบำรุงก็จะถูกกว่า แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกที่จะใช้รถยนต์แบบใดนั้น ก็จะต้องคำนึงถึง รายได้ของตนว่า มีความเหมาะสมกับรถยนต์ในระดับใด
ค่าประกันอุบัติเหตุ ก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ และค่าใช้จ่ายของบุคคล การประกับอุบัติเหตุเป็นไปตาม เงื่อนไขของผู้ขายเพื่อผ่อนปรน ภาระค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทประกันเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น โดยเจ้าของรถยนต์มีหน้าที่จ่ายค่าเบี้ยประกัน ให้แก่บริษัทประกัน ตามเงื่อนไขของผู้ขาย
เพื่อผ่อนปรนภาระค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทประกันเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น
สำหรับผู้ที่ไม่มีรถยนต์ ก็จะไม่มีรายจ่ายในส่วนรถยนต์ที่กล่าวมาแต่จะเป็นรายจ่ายค่าเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง หรือรถรับจ้างต่างเป็นปัจจัยด้านรายรับรายจ่ายก็จะมีความแตกต่างไปจากผู้ที่มีรถยนต์ส่วนตัวซึ่งอาจจะประหยัดกว่าด้วยซ้ำไป
กระบวนการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล
กระบวนการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การกำหนดที่มาของรายได้ส่วนบุคคลทั้งหมดว่า รายได้ของครอบครัว เหล่านั้น ได้มาอย่างไร จนถึงขั้นตอนในการตัดสินใจจัดการกับรายได้จำนวนดังกล่าว
ซึ่งขั้นตอนพื้นฐานในกระบวนการ จัดทำงบประมาณ ส่วนบุคคล มีอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนจะเป็นการทำความเข้าใจถึงวิธีการจัดทำงบประมาณ รวมถึงการดำรงชีวิต อยู่ภายในแนวทางของงบประมาณตามที่ได้วางไว้
งบประมาณส่วนบุคคลจึงไม่ดูว่าเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนยุ่งยากมากนัก เพราะถ้าครอบครัวใดมีการจัดทำงบประมาณไว้เป็นระบบที่ดีแล้ว จะสามารถช่วยในการจัดการทางการเงินไม่ให้เกิดความขาดแคลน หรือขัดสนได้มาก
ดังแสดงขั้นตอนสำคัญในกระบวนการทำงบประมาณไว้ใน
แสดงกระบวนการในการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล
แนวทางเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการทำงบประมาณส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการเกิดความขัดสนทางการเงินมี 4 ประการคือ
1. ในการตัดสินใจว่าจะจัดการรายได้ที่มีอยู่ของท่านต่อไปอย่างไร แต่ก่อนจะตัดสินใจว่าจะทำ การจัดสรรร่ายจ่ายชนิดใดชนิดหนึ่ง ไปเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น ควรต้องคำนึงถึงรายจ่ายอื่นๆ ที่ท่านจะต้องใช้จ่ายจากเงินรายของท่าน
พร้อมทั้งอธิบายการเกิดรายจ่าย และการจัดการรายจ่ายนั้นๆ ไว้อย่างชัดเจนเพื่อที่ท่านจะได้สามารถจัดทำงบประมาณส่วนไปได้ด้วย
2. ควรมีการกำหนดเงินสำรองรายจ่ายส่วนบุคลขึ้นไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในจำนวนที่ท่านทั้งคู่สมรสเห็นว่าเหมาะสม
3. รายการรายจ่ายที่กำหนดไว้ในงบประมาณ ในทางปฏิบัติไม่ได้หมายความว่า ครอบครัวทั้งหลายจะต้องมีการดำเนินการ ให้เป็นไปตาม งบประมาณ โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางในการใช้จ่ายได้เสียเลย เช่น ในกรณีที่ท่านกำหนดรายจ่ายค่าอาหารไว้ประมาณสัปดาห์ละ
1,000 บาท แต่หากในวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ท่านอาจมีรายการชื้ออาหารเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เช่น ร้านขายเนื้อที่ท่านเป็นลูกค้าประจำ แนะนำเนื้อวัวคุณภาพดีให้ท่านทดลองรับประทานแทนการรับประทานเนื้อหมู หรือเนื้อปลาคุณภาพปานกลางซึ่งมีราคาถูกกว่า
4. ควรมีการเก็บรักษาบันทึกทางการเงินทั้งที่เป็นส่วนของรายได้ และส่วนที่เป็นรายจ่ายไว้เป็นอย่างดี เพราะรายการรายจ่าย บางรายการ อาจเป็นรายการที่ควรทราบ เช่น รายการการเสียภาษีก็ควรมีการแยกรายการละเอียดไว้ตางหากโดยเฉพาะ
งบประมาณรายได้ส่วนบุคคล
ขั้นตอนแรกในการทำงบประมาณส่วนบุคคลคือการจัดหมวดหมู่ของแหล่งที่มาของรายได้ทั้งหลายภายในครอบครัวเข้าไว้ด้วยกัน ตัวอย่างการบันทึกของรายได้สามารถจัดทำได้ดังตารางตาราง แสดงงบประมาณรายได้รวมทั้งหมดของครอบครัวประจำปี พ.ศ….
แหล่งที่มาของรายได้ |
ม.ค. |
ก.พ |
มี.ค. |
เม.ย. |
พ.ค |
มิ.ย. |
ก.ค. |
ส.ค. |
ก.ย. |
ต.ค. |
พ.ย. |
ธ.ค. |
เงินเดือนค่าแรง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เงินเดือนค่าแรงของคู่สมรส |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โบนัส |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ค่าเช้า |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เงินปันผล |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รายได้พิเศษ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รายได้พิเศษของคู่สมรส |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รายได้อื่นๆ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รายได้รวม ทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข้อแนะนำบางประการในการคำนวณ รายได้ของครอบครัวที่มีประโยชน์ และสามารถติดตามค้นหา รายการรายได้ได้ครบถ้วนและถูกต้อง คือ
1.คำนวณผลรวมเฉพาะรายได้สุทธิที่ท่านได้รับอยู่จริงเท่านั้น กล่าวคือ ท่านอาจมีรายได้ตามบัญชีเงินเดือนเป็นเดือนละ 10,000 บาท แต่รายได้ที่ท่านได้รับจริงๆเป็นเพียง 9,200 บาทเท่านั้น ซึ้งส่วนแตกต่าง 800 บาท
นี้เป็นรายได้ที่นายจ้างหักไว้เป็นค่าภาษี 350 บาท ค่าเงินสวัสดิการต่าง ๆ ภายในสถานที่ทำงาน 150 บาท และเงินสะสมเพื่อโครงการเกษียณอายุอีก 300 บาท ดังนั้นจำรายได้ที่ท่านจะใส่ไว้ในงบประมาณจะเป็นเพียงจำนวน 9,200
บาท
2.ถ้าท่านไม่แน่ใจว่ารายได้ที่ท่านได้รับเป็นจำนวนที่แน่นอนเท่าใดแล้ว ให้ท่านประมาณวงเงินใน จำนวนเงินที่น้อยที่สุดที่ท่านคิดว่า จะได้รับไว้ก่อน
3.คำนวณตัวเลขรายได้จำนวนใหม่ขึ้นมาเมื่อถึงรอบระยะเวลาการขึ้นเงินเดือนประจำปี
4.ถ้าอาชีพของท่านก็ให้เกิดรายได้ที่ไม่แน่นอน เช่น อาชีพนักร้อง นักแสดง นักเขียน นักมวย พนักงานขาย นายหน้า สถาปนิก ฯลฯ รายได้ของท่านจะได้รับไม่สม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือนเหมือนที่ท่านเป็นข้าราชการประจำ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงาน ในบริษัทห้างร้านต่างๆ เพราะแม้ว่าท่านจะทำงานเสร็จสิ้นแล้วแต่ท่านก็ยังไม่ได้รับเงินค่าจ้างทันที
งบประมาณรายจ่ายส่วนบุคคล
เพื่อที่จะควบคุมการใช้จ่ายจากเงินรายได้ที่มีอยู่ให้เกิดความสมดุลขึ้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ การจดจำว่า รายการรายจ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งหมดของท่านมีรายการใดบ้าง และเป็นรายจ่ายประเภทใด จำนวนเท่าใดพร้อมจัดประเภทของรายจ่ายต่าง
ๆ ไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น กลุ่มรายจ่ายประจำ กลุ่มรายจ่ายผันแปรได้ หรือกลุ่มรายจ่ายกึ่งประจำกึ่งแปรได้ เพราะรายจ่ายกลุ่มผันแปรได้ จะเป็นรายจ่ายที่ท่าน ควรให้ความสนใจมากกว่ารายจ่ายประเภทอื่น
เนื่องจากท่านสามารถ เลื่อนกำหนด การใช้จ่ายไปได้มากกว่า การเป็นรายจ่ายประเภทประจำ หรือรายจ่ายกึ่งประจำกึ่งผันแปรได้ภายหลังจากที่ท่านได้แจกแจงและจัดกลุ่มประเภทรายจ่าย ขั้นต่อไปคือ การหาขั้นร้อยละของรายจ่ายทุกรายการว่ารายจ่ายต่าง
ๆ เหล่านั้นมีการใช้จ่ายคิดเป็นร้อยละเท่าใดของของรายได้ที่มีอยู่
ตารางแสดงร้อยละของรายจ่าย ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ กัน
รายการงบประมาณ (บาท) | งบประมาณรายได้ ระดับต่ำต่อปี | งบประมาณรายได้ ระดับกลางต่อปี | งบประมาณรายได้ ระดับสูงต่อปี | ระดับรายได้ต่อเดือน (10,000บาท) | งบประมาณสำหรับ รายได้ประจำปี (120,000 บาท) |
ค่าอาหารในบ้าน ค่าอาหารนอกบ้าน ที่อยู่อาศัย (รวมเครื่องตกแต่งบ้าน) ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเครื่องนุ่งห่ม ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าภาษีเงินได้ | 26.7 4.4 19.1 14.3 8.0 4.4 9.3 6.9 4.3 2.6 |
20.6 8.0 22.4 20.9 6.0 2.1 5.7 5.0 4.3 5.0 |
15.6 4.4 25.6 22.8 8.0 2.0 4.1 5.6 3.9 16.8 |
2,060 800 2,240 2,090 600 210 570 500 430 500 |
24,720 9,600 26,880 25,080 7,200 2,520 6,840 6,000 5,160 6,000 |
รวม | 100 | 100 | 100 | 10,000 | 120,000 |
ประโยชน์ของงบการเงิน
งบการเงินของบุคคลซึ่งประกอบด้วยงบดุล และงบรายได้ค่าใช้จ่ายดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เป็นการทำให้ทราบ ฐานะการเงิน ว่าขณะนี้เป็นอย่างไร เพื่อจะได้หาแนวทางว่าต่อไปเราควรทำอย่างไร จึงจะทำให้ฐานะการเงินดีขึ้น
อันจะนำไปถึง จุดหมายทาง การเงินที่วางไว้
งบการเงินนอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับบุคคลดังได้กล่าวแล้วยังเป็นประโยชน์สำหรับ ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่จะใช้ประเมิน ฐานะของผู้มาขอกู้เงินด้วย เพื่อใช้ดูว่า ผู้กู้มีความเสี่ยงทางการเงินเพียงใด
เหมาะสมจะให้กู้ยืมหรือไม่ ซึ่งธนาคาร จะเอาตัวเลขจาก รายการต่างๆ ในงบการเงินนี้มาประเมินหาอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อจะวิเคราะห์ถึง ความมั่นคงความอ่อนแอ ทางการเงิน ตลอดจน ความสามารถในการชำระหนี้คืนในอนาคตของบุคคลนั้น