การวางแผนการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย
รายจ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย
ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ซึ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ทุกคน พัฒนาการที่อยู่อาศัยของมนุษย์เกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ เช่น สภาพแวดล้อมของภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เทคโนโลยี ระเบียบและวัฒนธรรมประจำถิ่น ยิ่งสังคมมีการพัฒนามากขึ้นเท่าใด ที่อยู่อาศัยก็ยิ่งมีการพัฒนาควบคู่ไปด้วยมากขึ้นเพียงเท่านั้น จนเกิดเป็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยต่างๆ มากมาย เพื่อตอบสนอง ความต้องการพื้นฐาน และความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยให้ได้มากที่สุด แม้ว่าบุคคลทั่วไปจะมีความต้องการ ที่จะมีบ้านเป็นของตนเอง อันเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานก็ตาม แต่ข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณ รสนิยม ลักษณะอาชีพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และความต้องการความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ ทำให้บุคคลหลายคนมีความจำเป็น ในเรื่องที่อยู่อาศัยแตกต่าง กันไป อย่างไรก็ตามบุคคลส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี หมายถึงการมีที่อยู่อาศัยเหมาะสม กับความต้องการให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ ปัจจัยพื้นฐานในการเลือกที่อยู่อาศัย ผู้ซื้อไม่ได้ซื้อเพียงตัวบ้านเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงความพอใจในการอยู่อาศัยร่วมด้วย ซึ่งความพอใจที่ว่าคือ อรรถประโยชน์ที่ผู้ซื้อจะได้รับตามขนาดของบ้าน ความสะดวกสบาย เพื่อนบ้านรวมถึงสิ่งแวดล้อมอื่นใด ที่ผู้ซื้อต้องการเพื่อความสุขในการพักอาศัยและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว โดยนัยแล้วรูปแบบหลักของการมีที่อยู่อาศัย มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ การซื้อและการเช่า
ประเภทของที่อยู่อาศัย
1. บ้านเดี่ยว (Single – family home) เป็นแบบบ้านที่อยู่อาศัยที่มีคนนิยมมากที่สุด ลักษณะเป็นบ้านตั้งอยู่เดี่ยว ๆ มีเนื้อที่กว้างขวาง รั้วรอบขอบชิด ทำให้ผู้อาศัยมีความเป็นส่วนตัวได้มากและห่างไกลจากการรบกวนของเพื่อนบ้าน
นอกจากนั้นมีบ้านเดี่ยวยังเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เป็นเจ้าของด้วย เพราะบ้านแต่ละหลังมีขนาดใหญ่เล็กต่างกัน สามารถตกแต่งได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามฐานะและรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ
2. อาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว (Shop house) เป็นแบบบ้านที่นิยมกันมาก เพราะนอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังสามารถดัดแปลง ให้เป็น สถานที่ทำการค้า หรือธุรกิจได้ด้วย อาคารแบบนี้มักมีเนื้อที่แคบ จึงนิยมก่อสร้างกันหลาย
ๆ ชั้น
3. ทาวน์เฮาส์ (Townhouse) เป็นบ้านที่มีลักษณะเหมือนตึกแถว บ้านประเภทนี้มักตั้งอยู่ในเมือง ต่างกับตึกแถวตรง ที่มีบริเวณหน้าบ้าน จัดเป็นสวนขนาดย่อมและจอดรถได้ทาวน์เฮาส์ส่วนใหญ่มักเป็นแบบ 2 – 3 ชั้น ใช้เนื้อที่ค่อนข้างน้อย
เนื่องจากเป็นที่ในเมืองราคาแพง
4. แฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์ (Flat or apartment) เป็นที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะคล้ายอาคารพาณิชย์ คือมีหลาย ๆ ชั้นแบ่งเป็นหลัง ๆ มีไว้เพื่อให้เช่าที่อยู่อาศัยแบบนี้ ส่วนมากค่าเช่ามักจะสูงเพราะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีและมีสิ่งอำนวยความสะดวกปลอดภัยไว้ครบ
5. คอนโดมิเนียม (Condominium) หรืออาคารชุด เป็นอาคารที่มีหลายชั้นแต่ละชั้นแบ่งเป็นห้องชุดจำนวนมาก ซึ่งภายในห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ อาคารชุดแต่ละแห่งมักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน โดยทั่วไปแล้วอาคารชุดจะตั้งอยู่กลางในเมือง
หรือในที่ชุมชนที่มีการคมนาคมสะดวก อาคารชุดมีหลายประเภททั้งประเภทที่อยู่อาศัย (Apartment condominium) และประเภทสำนักงาน (Office condominium) ผู้ซื้ออาคารชุดจะมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของอาคารชุดของตนและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง
อันได้แก่ ห้องโถง ที่จอดรถ ลิฟต์ สนามและทางเดิน เป็นต้น ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทรัพย์สิน
6. สหกรณ์เคหสถาน (Cooperative housing) เป็นที่อยู่อาศัยแบบสหกรณ์ลักษณะเป็น อพาร์ตเม้นต์คอมเพล็กซ์ คล้ายคอนโดมิเนียม ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ เกิดขึ้นโดยผู้ต้องการที่อยู่อาศัยจะลงทุนซื้อหุ้นของสหกรณ์ และสหกรณ์จะนำเงินนั้นไปซื้อที่ดินและสร้างอาคารให้สมาชิกได้เช่าอยู่
สมาชิกต้องช่วยกันออกค่าบำรุงรักษา ซ่อมแซม ค่าภาษี สมาชิกแต่ละหน่วยมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการเลือกคณะกรรมการบริหาร
7. บ้านเคลื่อนที่ (Mobile home) เป็นบ้านที่สร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน และย้ายมาติดตั้งในทำเลที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ของบ้านเคลื่อนที่ ผู้เริ่มครอบครัวใหม่นิยมอยู่บ้านเคลื่อนที่เพราะราคาไม่แพงนัก บางคนก็ใช้บ้านเคลื่อนที่เป็นสำนักงานเคลื่อนที่เช่น
ผู้รับเหมาเวลาไปรับเหมาก่อสร้างตามแหล่งทีรับเหมาต่าง ๆ บ้านแบบนี้สามารถขับเคลื่อน หรือพ่วงกับรถคันอื่นได้ ลักษณะภายในมีเครื่องอำนวยความสะดวกเหมือนบ้านทั่วไป บ้านแบบนี้ในเมืองไทยยังไม่ค่อยนิยม เท่าที่มีในขณะนี้เป็นของดาราภาพยนตร์
หรือนักแสดงที่ต้องเดินทางเสมอก็จะซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่ ปรับปรุงภายในให้เป็นเหมือนบ้านคือ มีห้องนอน ห้องเตรียมอาหาร ห้องน้ำ เพียงแต่ละห้องมีขนาดเล็กเท่านั้น
8. บ้านที่แบ่งเวลาการพักอาศัย (Time – hare home) บ้านแบบนี้ตามชื่อก็บอกลักษณะให้ทราบว่า มีการแบ่งเวลา หรือหมุนเวียนกันเพื่อใช้ประโยชน์ ในบ้านพักอาศัยดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการพักผ่อน
เช่น บ้านพัก หรือเรือนรับรอง ที่อยู่ตามชายหาด หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยมีบุคคล บริษัท หรือโครงการจัดสรร เป็นเจ้าของใครต้องการไปพักผ่อนในช่วงไหน ก็เช่าใช้บ้านพัก ในช่วงนั้น ซึ่งจะมีการแบ่งเวลากันในระหว่างผู้ต้องการใช้มีตั้งแต่
1 สัปดาห์จนถึง 6 เดือนราคาเช่าก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า ระยะเวลาในการเช่า ขนาดของบ้าน ทำเลที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนฤดูกาลของการเช่าพัก ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมบางแห่ง ซึ่งได้ขายไปแล้ว ก็ยังให้บริการในลักษณะของ
Time sharing ด้วย คือขณะใดขณะหนึ่งที่เจ้าของไม่ได้อยู่เอง ก็มอบหมายให้ผู้จัดการคอนโดมิเนียมนั้น ดูแลให้โดยหาผู้ต้องการ พักผ่อนในช่วงดังกล่าว มาเช่าอยู่แทน ซึ่งทำให้เจ้าของมีรายได้ขณะที่ไม่ได้ใช่อยู่อาศัยเอง
เพียงแต่จ่ายค่าบริการดังกล่าวบ้างเท่านั้น
การซื้อบ้าน (Buying House)
ทุกคนย่อมใฝ่ฝันที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในชีวิต แต่การที่จะมีบ้านเป็นของตนเองนั้นย่อมต้องอาศัยเวลา ความมานะพยายาม ที่จะสะสมเงินทอง เพื่อซื้อหาให้มีบ้านดังกล่าว ดังนั้นการวางแผนซื้อบ้านควรกระทำโดยรอบคอบไม่ว่าจะเป็นการเลือกประเภทของบ้านที่อาศัย
การวิเคราะห์ราคาที่เหมาะสม การเสาะหาแหล่งเงินกู้มาช่วยสนับสนุน ตลอดจนการจัดทำหลักฐานสัญญาต่าง ๆ ให้ถูกต้องครบถ้วน
สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อจะซื้อบ้าน ในการซื้อบ้านควรที่พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
1.ทำเลที่ตั้ง (Location) ในซื้อบ้านการพิจารณาถึงทำเลที่ตั้งมีความสำคัญมาก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่อยู่อาศัยคนหนึ่งได้กล่าวว่า "เมื่อท่านซื้อบ้าน แท้จริงแล้วสิ่งที่ท่านต้องการซื้อ คือ เพื่อนบ้านนั่นเอง" เพราะถ้ามีเพื่อนบ้านดีมีความเข้าใจช่วยเหลือไหว้วานกันได้ ทุกคนที่อยู่ใกล้กันก็มีความสุขสบายใจ นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปควรจะดีพร้อมด้วย เช่น
- ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากตัวเมือง การคมนาคมสะดวก มีรถโดยสารผ่านหลายสาย
- มีสถานที่สำคัญ ๆ ตั้งอยู่ใกล้ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาดที่จะซื้อสิ่งของจำเป็นได้
- สภาพแวดล้อมร่มรื่นมีต้นไม้อยู่ทั่วไป
- ถนนหนทางสะดวก มีท่อระบายน้ำดี มีไฟถนนให้ความสว่าง
- บริการประปา มีโทรศัพท์ไปถึง
- หลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วม ผู้ซื้อบ้านควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มักเกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ ถนนใหญ่ที่จะเข้าไปโครงการบ้านจัดสรร ควรอยู่สูงกว่าระดับน้ำ และถนนภายในหมู่บ้านก็ควรอยู่ในระดับเดียวกันกับถนนใหญ่ทางเข้าโครงการ
2.ย่านที่ตั้ง (Zoning) บ้านทีเหมาะสมกับการอยู่อาศัย ควรเป็นบ้านเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริงดังนั้นจึงควรตั้งอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านสำคัญทางการค้า หรือย่านโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ควรเป็นสถานที่สงบเงียบ
ไม่มีการรบกวนในเรื่องเสียงอึกทึกครึกโครม หรือกลิ่นต่าง ๆ ซึ่งในเรื่องนี้หากเทศบาล หรือท้องถิ่นได้ออกกฎหมายกำหนดอย่างแน่นอนว่า ย่านใดกำหนดให้เป็น ย่านที่อยู่อาศัยก็ควรเลือกบ้าน ในโซนที่กำหนดไว้เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง
3.สนามหญ้า (Yard) ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกบ้านอยู่อาศัยที่มีบริเวณบ้าน หรือสนามอย่างเพียงพอเพื่อจะได้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เดินเล่น หรือ ออกกำลังได้ แต่เนื่องจากปัจจุบันมีราคาสูงมาก การที่จะมีสนามส่วนตัวอาจทำได้ยาก
ดังนั้นการเลือกซื้อควรเลือกโครงการที่มีสวนสาธารณะ หรือสถานที่พักผ่อนที่เป็นส่วนกลาง
4.สิ่งก่อสร้างภายนอก (Exterior construction) ตัวบ้านควรมีความแข็งแรง คงทนถาวร แน่นหนาพอสมควร วัตถุที่ใช้ก่อสร้างต่าง ๆ ไม่ว่า อิฐ ไม้ ปูน การทาสีมีคุณภาพ ประกอบกับฝีมือการก่อสร้างก็ไม่หยาบ มีความละเอียดประณีตพอสมควร
กล่าวคือ เมื่อดูรวม ๆ แล้วมีความคงทนต่อแดดฝน ภาวะอากาศพอที่จะอยู่อาศัยไปได้อีกนาน ถ้าจะให้ดีควรมีที่จอดรถและรั้วรอบขอบชิดด้วย
5.สิ่งก่อสร้างภายในบ้าน (Interior construction) มีการตกแต่งอย่างเรียบร้อย การแบ่งห้องก็มีเพียงพอสมาชิกในครอบครัว การแบ่งสัดส่วนใช้สอยต่าง ๆ เป็นไปอย่างเหมาะสมไม่ว่าบันได ห้องน้ำ ห้องครัว ตลอดจนห้องโถง
หรือทางเดิน เป็นต้น
6. การบริหารส่วนกลาง
ผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่มักเลือกซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรรที่มีบริการงานบริหารส่วนกลาง โครงการบ้านจัดสรรที่ดี ควรให้บริการด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง บางโครงการอาจให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย เช่น ระบบคีย์การ์ด ระบบอินเตอร์คอม หรือกล้องวงจรปิด
- การดูแลรักษาความสะอาดในพื้นที่ส่วนรวมของโครงการ
- การจัดเก็บขยะ
- การบำรุงรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง
- บริการด้านอื่นๆ เช่น ไปรษณีย์ ซักรีด ดูแลสวน และบริการงานช่างต่างๆ
7. สิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไป
ผู้ซื้อบ้านไม่ควรเลือกบ้านโดยคำนึงถึงแต่เพียงคุณภาพของบ้าน แต่ควรพิจารณาถึงคุณภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งมีผลต่อราคาของบ้านด้วย โครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่มักมีทุนทรัพย์มาก จึงมักมีขีดความสามารถในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้ดีกว่าโครงการขนาดเล็ก สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานอื่นๆ ที่ควรพิจารณาได้แก่ สระว่ายน้ำ สวนหรือสนามเด็กเล่น และสโมสร บางโครงการอาจมีศูนย์ออกกำลังกาย สนามเทนนิส สนามบาสเก็ตบอล ร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น
การประเมินกำลังเงินในการซื้อบ้าน
โดยทั่วไปคนมักคิดว่า ผู้ที่มีกำลังเงินเพียงพอเท่านั้นจึงจะซื้อบ้านได้ แต่ในความ จริงแล้วจะเห็นว่า คนซื้อบ้านไม่ได้มีกำลังเงินเพียงพอเสมอไป หลายคนถึงกับยอมประหยัดการใช้จ่ายเก็บหอมรอบริบอยู่อย่างลำบากในช่วง
4 – 5 ปีแรก ทั้งนี้เพื่อให้ได้บ้านสักหลังได้อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง เพราะเขาถือว่ามีบ้านสักหลังไว้ไม่เสียหลาย เพราะนอกจากจะเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับครอบครัวแล้ว ยังเป็นการลงทุนที่ดีมากอีกทางหนึ่งเสียด้วย
หลักในการพิจารณาว่าคนเราควรจะมีเงินสักเท่าไรจึงเหมาะสมที่จะหาซื้อบ้านโดยไม่มีปัญหาทางการเงินเกิดขึ้น ได้มีผู้ให้แนวทางไว้ดังนี้
1. มูลค่าบ้านที่ซื้อ ไม่ควรเกินสองเท่าของรายได้ทั้งสิ้นของครอบครัว เช่น ถ้ารายได้ทั้งสิ้นของครอบครัวปีละ 250,000 บาท ก็ควรซื้อบ้านในราคาสูงไม่เกิน 500,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของการมีบ้าน (Total housing costs) จะต้องไม่เกินหนึ่งในสี่ของรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือน (Gross income) โดยพิจารณาถึงอัตราส่วนความสามารถในการจัดหาที่อยู่อาศัย หรือที่เรียกว่า
Affordability ratio ซึ่งเป็นการวัดความสามารถของบุคคล ที่กู้เงินซื้อบ้านว่าจะสามารถจะรับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการมีบ้านของเขาได้มากน้อยเพียงไร
การเลือกบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป
มีหลักพื้นฐานในการพิจารณาคือ ความสะดวกในการเดินทาง ความปลอดภัย ราคาค่าเช่า สิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณใกล้เคียง มลภาวะ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กั บปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ที่จะตัดสินใจว่า สิ่งใดเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด โดยอาจขอคำแนะนำจาก ข้าราชการที่เคย ปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนก็ได้ รวมทั้งอาจขอให้ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนเป็นธุระเรื่องการเลือกสรรบ้านพักไว้จำนวนหนึ่งเพื่อตัดสินใจเมื่อเดินทางไปถึง เหตุที่ต้องเตรียมการล่วงหน้าเนื่องจากระยะเวลาที่เข้าพักในโรงแรมมีเพียง ๑๐ วัน และขั้นตอนการเช่าบ้านที่เมืองลอสแอนเจลิส ผู้ให้เช่าจะใช้เวลาพิจารณาใบสมัครพอสมควร โดยหากเป็นบ้านที่มีผู้สนใจเช่าหลายราย การแข่งขันย่อมสูงขึ้นด้วย ในที่นี้มีคำแนะนำเรื่องหลักเกณฑ์การเลือกบ้าน ไว้ดังนี้
๑ ความปลอดภัย สังคมชาวต่างชาติในลอสแอนเจลิส จะรวมกลุ่มกันอยู่ในพวกของตนเอง เช่น ชุมชนคนขาว คนดำ คนแมกซิกัน/อเมริกาใต้ คนเกาหลี คนเวียดนาม คนญี่ปุ่น คนไทย รวมไปถึงชาติต่างๆ อีกมากมาย ในแต่ละชุมชนนั้น จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สถานที่ราชการ ยกเว้นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเท่านั้น ดังนั้น คนเหล่านี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปในย่านอื่น ปัจจุบันในเมืองลอสแอนเจลิส ยังมีแก๊งต่างๆ ซึ่งสามารถทำอันตรายต่อประชาชนทั่วไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อน ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อพิสูจน์ตัวเองให้ได้รับการยอมรับ แก๊งเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นคนดำ และคนแมกซิกัน/อเมริกาใต้ สำหรับชาวเอเชียก็มีแก๊งเช่นกันแต่ไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งในเรื่องนี้ก็มิได้หมายความว่าคนเชื้อชาติเหล่านี้ทุกคนไม่ดี จึงอยู่ในดุลยพินิจของข้าราชการที่มาปฏิบัติงานว่า ต้องการให้ครอบครัว มีความสุขในการดำเนินชีวิตมากน้อยเพียงใด ย่านที่คนผิวดำ และคนแมกซิกัน/อเมริกาใต้ อาศัยอยู่มาก ได้แก่ Compton, South LA, Inglewood เป็นต้น
๒ ความสะดวกในการเดินทาง เนื่องจากที่ตั้งของสำนักงานอยู่ใกล้กับสนามบิน LAX และหากว่าจะต้องเปลี่ยน FF คาดว่าก็จะยังคงอยู่ใกล้กับบริเวณเดิม เนื่องจากในบริวณนี้เป็นที่ตั้งของบริษัทที่รับดำเนินการเรื่อง FF โดยสังเกตจาก บริษัทที่เคยดำเนินการให้กับกองทัพไทยในอดีตก็อยู่ในบริเวณนี้ไม่ห่างไปมากเช่นกัน บริเวณที่อยู่อาศัยในรัศมีไม่เกิน ๑๐ ไมล์ จึงได้แก่ย่าน Westchester, Marina Del Ray, Inglewood, Hawthorne, El Segundo, Gardena, Manhattan Beach, Hermosa Beach, Lawndale เป็นต้น
๓ ประเภทบ้านพัก มีให้เลือกหลายแบบเช่น Apartment แบบเป็นสัดส่วน มีสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางเช่น สระว่ายน้ำ ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น, Apartment แบบธรรมดาที่ไม่มีส่วนกลาง, บ้านเดี่ยว, Studio, Town Home ซึ่งเท่าที่สังเกตจะเห็นว่า บ้านเดี่ยว และ Apartment จะได้รับความนิยมมาก แต่ Apartment อาจมีความเป็นส่วนตัวน้อยกว่า เรื่องเพื่อนบ้านข้างเคียง และอาจต้องระมัดระวังไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้านด้วย
๔ อัตราค่าเช่า ทางราชการสามารถสนับสนุนค่าเช่าที่พักได้อย่างพอเพียง ในทุกแบบที่ต้องการ
ชีวิตร่วมกับครอบครัว โดยนัยแล้วรูปแบบ หลักของการ มีที่อยู่อาศัยมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ การซื้อและการเช่า
เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่างการเช่าบ้านและซื้อบ้าน
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ Life style choices
การเช่าบ้าน (Renting)
มีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างสะดวกสบาย เพราะสถานที่ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในทำเลกลางเมือง สะดวกต่อการคมนาคม และ complex เช่น สโมสร สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส และมีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดให้
มีอิสระที่จะเลือกอยู่อย่างไรก็ได้ ตกแต่งหรือ ดัดแปลง อย่างไรก็ได้ ตามรสนิยมที่เราพอใจ
บ้านเช่าหรือห้องเช่าส่วนมาก จะอยู่ติดกันหรือใกล้กัน ทำให้สังคมกว้างขึ้น เพราะได้รู้จักคนมากขึ้นและมีโอกาสแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ความคิดเห็นกัน
การซื้อบ้าน (Buying)
มีบริเวณกว้างขวางที่จะให้ครอบครัวเด็กเล็กได้วิ่งเล่น
ผู้เช่าอาจไม่สะดวกในความเป็นอยู่มากนัก เพราะมีข้อห้ามข้อจำกัดต่าง ๆ จากผู้ให้เช่า เช่นการห้ามเลี้ยงสัตว์ ไม่รับเด็กเล็ก หรือห้ามแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
ความเป็นส่วนตัวและความภูมิใจ (Privacy and pride)
ผู้เช่ามักขาดความเป็นอิสระส่วนตัว เนื่องจากผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะเข้ามา ตรวจสอบดูแลห้องพักหรือบ้านเช่าได้เสมอ
มีอิสระและความเป็นส่วนตัวได้อย่างเต็มที่เพราะเป็นเหมือนบ้านของเราเอง เราเป็นผู้ครอบครองเสมือนหนึ่งเป็น King of the castle และจะไม่มีใคร มาจุกจิกกับเราอีก (โดยเฉพาะผู้ให้เช่า)
เกิดความภูมิใจในชีวิตนี้เรามีโอกาสได้เป็นเจ้าของบ้านกับเขาเหมือนกัน
การลงทุนซ่อมแซมและบำรุงรักษา (Investment and maintenance)
การเช่าบ้าน (Renting) | การซื้อบ้าน (Buying) |
ไม่ต้องหาเงินจำนวนมากมาเพื่อจะดาวน์บ้าน หรือซ่อมแซม ตกแต่งบ้าน เพียงแต่มีเงินจำนวนหนึ่ง ที่จะจ่ายค่าเช่าบ้านเท่านั้นพอ ค่าซ่อมแซมตกแต่ง ต่าง ๆ เป็นความรับผิดชอบ ของเจ้าของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น การเช่าจึงมีความเหมาะสมมาก ต่อคนหนุ่มสาวที่ยัง มีรายได้ไม่มากนัก และยังไม่แน่ใจว่าจะตั้งถิ่นฐานอยู่ใดแน่ |
|
การโยกย้าย (Mobility) | |
สัญญาเช่าส่วนมากเป็นสัญญาเช่าปีต่อปีผู้เช่า จะโยกย้ายไปอยู่ไหนก็จะง่าย เพราะไม่มีพันธะผูกพันอะไร และไม่ต้องวิตกในเรื่อง การจัดการขายทรัพย์สิน เหมือนกับการซื้อบ้าน | บ้านที่ได้ซื้อแล้วถ้าจำเป็นต้องโยกย้ายไปอยู่ที่อื่นและ ต้องการขายบ้าน การขายอาจทำได้ไม่ง่ายนักภาวะเศรษฐกิจไม่ดี อาจขายไม่ได้ตามราคาที่ต้องการทั้งยังต้องเสีย ค่านายหน้าในการขายอีกด้วย หรือมิฉะนั้นจะต้องถือไว้อย่างนั้นจนกว่า ราคาจะกระเตื้องขึ้น |
ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial risks) |
|
การเช่าบ้าน (Renting) | การซื้อบ้าน (Buying) |
|
|
1. กำหนดรูปแบบบ้านที่ต้องการ
เป้าหมายคือจุดเริ่มต้นของทุกเรื่องในโลกการเงิน ดังนั้นก่อนที่คุณจะซื้อบ้าน อันดับแรกคุณต้องกำหนดรูปแบบบ้านในฝันให้ชัดเจนเสียก่อน ทั้งนี้ต้องดูความต้องการที่แท้จริงและความเหมาะสมด้วย เริ่มจากตรวจสอบความต้องการของตัวเองว่า ต้องการบ้านแบบไหน บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด สามห้องนอน สองห้องน้ำ หรือแบบไหน Location จะเอาที่ไหนดี ทั้งนี้การออกสำรวจตัวอย่างบ้านในฝัน ก็จะช่วยให้ภาพของความต้องการของเราชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย
เมื่อได้ภาพของบ้านในฝันแล้ว ก็มากำหนดเป้าหมายในรูปตัวเงินว่า บ้านในฝันของคุณมีราคาเท่าไหร่ เพื่อวางแผนในการซื้อหาและครอบครองต่อไป
2. วางแผนดาวน์ และจดจำนอง
เมื่อได้เป้าหมายในรูปตัวเงินแล้ว ก็ต้องมากำหนดวงเงินกันว่าจะดาวน์เท่าไหร่ จะกู้เงินธนาคารเท่าไหร่ (ส่วนใหญ่คงไม่รอเก็บเงินตัวเองซื้อ) ตรงนี้อยากเตือนผู้ที่ตั้งใจจะมีบ้านว่าอย่าคิดแต่อยากจะได้บ้าน จนกู้เงินโดยไม่ลืมหูลืมตา บางคนคิดเอาว่ากู้ไปก่อน ยิ่งถ้าไม่ต้องดาวน์เลยยิ่งดี ตรงนี้เป็นความคิดที่ผิด ทั้งนี้เพราะการกู้เงินซื้อบ้าน โดยไม่ใช้เงินตัวเองดาวน์เลยนั้น อาจทำให้ท่านมีภาระการผ่อนชำระคืนที่สูงเกินไป และอาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในภายหลังได้
ดังนั้นคุณต้องคำนวณตัวเลขที่เหมาะสมว่าจะดาวน์เท่าไหร่ กู้เท่าไหร่ กู้นานเท่าไหร่ และอัตราดอกเบี้ยเท่าใด (อันนี้แล้วแต่โปรโมชันธนาคารแต่ละแห่ง) ทั้งนี้ควรชั่งน้ำหนักระหว่างค่าใช้จ่ายโดยรวม กับสภาพคล่องที่จะต้องชำระคืนในแต่ละเดือนให้เหมาะสม และที่สำคัญที่สุด ต้องไม่กู้จนทำให้อัตราผ่อนชำระคืนรายเดือนเกินกำลัง ซึ่งโดยปกติแล้วตัวเลขเงินผ่อนชำระบ้านที่ดี ไม่ควรเกิน 30-40% ของรายรับ (เช่น เงินเดือน 20,000 บาท ไม่ควรผ่อนบ้านเกิน 6,000 - 8,000 บาท)
นอกเหนือไปจากเรื่องของเงินดาวน์และเงินกู้แล้ว ผู้ที่จะซื้อบ้านยังต้องมองเลยไปถึงค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมต่างๆ อาทิ ค่าธรรมเนียมเงินกู้ ค่าโอน ค่าจดจำนอง ค่าอากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ทั้งหมดนี้สอบถามจากผู้ขาย หรือหาข้อมูลเบื้องต้นจากเว็บไซต์ธนาคารและกรมที่ดินได้) รวมถึงค่าตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่จะทำให้บ้านของคุณ เป็นบ้านในฝันอย่างแท้จริง
3. วางแผนชำระคืนอย่างชาญฉลาด
เมื่อได้บ้านมาครอบครองแล้ว หน้าที่ที่คนซื้อบ้านจะต้องทำก็คือ การวางแผนการชำระคืน คำถามมีอยู่ว่า ทำไมต้องวางแผนการชำระคืนด้วย ในเมื่อธนาคารเขาก็กำหนดค่างวดมาชัดเจนแล้วว่าต้องผ่อนชำระเดือนละเท่าไหร่ คำตอบก็คือ เพื่อให้เราสามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้เร็วกว่ากำหนด อันจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายยังไงหละ วิธีการก็สามารถทได้ง่ายๆ ดังนี้
3.1 ทำการชำระคืนเงินผ่อนชำระตามเงื่อนไขธนาคาร บวกด้วยเงินพิเศษ 10% ของค่างวด ตัวอย่างเช่น หากธนาคารกำหนดให้ท่านผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท ท่านอาจจะนำส่งเงินเพิ่มอีก 1,000 บาท รวมเป็นเดือนละ 11,000 บาท โดยให้แจ้งความประสงค์กับธนาคารให้ตัดเงินเดือนละ 11,000 บาท แทนที่จะเป็น 10,000 บาท ทุกเดือน (กรณีไม่แจ้ง แม้จะนำส่ง 11,000 บาท ธนาคารก็จะตัดเงินเพียง 10,000 บาทเท่านั้น) ด้วยวิธีการนี้ จะทำให้ท่านสามารถผ่อนชำระเงินกู้ซื้อบ้านหมดเร็วขึ้นราว 7-8 ปี เลยทีเดียว เพราะเงิน 1,000 บาทที่ท่านนำส่งเพิ่มจะไปตัดเงินต้นโดยตรง ทำให้เงินต้นลดลงเร็วขึ้นอีกนิด และช่วยให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำกว่าการส่งตลอดระยะเวลา 30 ปี ได้อีกมาก (ทดลองคำนวณระยะเวลาและค่าใช้จ่ายโดยรวมในการชำระเงินกู้ได้ที่ www.bankrate.com เลือก Calculator และ Mortgage Calculator)
3.2 หากท่านไม่ถนัดแบบแรก ก็อาจใช้วิธีการชำระเพิ่ม 1 งวดในทุกปีก็ได้ เช่น พอถึงเดือนธันวาคมแทนที่จะชำระหนี้แค่ 10,000 บาท ก็ให้เพิ่มเป็น 20,000 บาท (ต้องแจ้งธนาคารอีกเช่นกัน) แบบนี้ก็สามารถลดเวลาการผ่อนชำระได้ใกล้เคียงกันกับแบบแรก โดยท่านอาจรอให้ถึงช่วงโบนัส หรือรับคอมมิชชั่นพิเศษ ค่อยนำเงินไปทบกับเงินงวดผ่อนชำระก็ได้
กล่าวโดยสรุป การกู้ซื้อบ้านได้ยังไม่ถือเป็นการสิ้นสุดภาระของท่าน หากแต่เป็นเพียงการเริ่มต้นของคนที่ฝันอยากจะมีบ้าน ดังนั้นท่านจะต้องมีแผนการชำระเงินคืน เพื่อให้มั่นใจว่าบ้านที่ท่านซื้อในท้ายที่สุดจะได้เป็นบ้านของท่าน หรือของคนในครอบครัวท่านอย่างแท้จริง อีกประเด็นหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ การบริหารความเสี่ยงในระหว่างที่ยังมีภาระจดจำนอง ทั้งนี้ท่านควรทำประกันชีวิตครอบคลุมวงเงินกู้ของท่านไว้ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน บ้านจะยังตกเป็นทรัพย์สินของท่านอยู่
ข้อแนะนำก่อนกู้ซื้อบ้าน
อัตราดอกเบี้ย
ในการซื้อบ้านสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินก้อนหลังจากการผ่อนดาวน์บ้าน ซึ่งเป็นจำนวนประมาณ 10-20% ของราคา บ้าน ส่วนที่เหลืออีก 80-90% จึงต้องพึ่งเงินกู้จากธนาคารโดยนำบ้านที่ซื้อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ในการกู้เงินซื้อบ้านนี้มีปัจจัยและเงื่อนไขที่ผู้กู้ควรพิจารณาก่อน เช่น
- จะกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่หรือลอยตัวดี
- วงเงินที่จะกู้
- ระยะเวลากู้
- ค่าใช้จ่ายในการกู้
- จำนวนเเงินงวดต่อเดือนที่ต้องผ่อนชำระ
- เงื่อนไขการให้บริการต่างๆของธนาคารนั้นๆ
เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้กู้ควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบระหว่างสถาบันการเงินแต่ละแห่ง แล้วจึงเลือกสถาบันการเงินที่ให้ประโยชน์กับคุณมากที่สุด ในส่วนของ อัตราดอกเบี้ย ที่จะเลือกใช้ก็เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อบ้านบางท่านอาจจะคิดไม่ตกว่าจะเลือกแบบไหนดี เพราะในปัจจุบันสถาบันการเงินแต่ละแห่งก็มีให้เลือกมากกว่า 1-2 ทางเลือก
อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเสนอในตลาดขณะนี้จะมีทั้งแบบ
1. อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating rate loan)
2. อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate loan)
3. อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่งและปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา (Rollover Mortgage Loan) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดมาแล้ว แต่จะไม่อยู่คงที่ตลอดระยะเวลากู้ ธนาคารสามารถปรับเปลี่ยนขึ้น-ลง ตามที่เห็นสมควร ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องในระบบการเงิน หรือตามต้นทุนการเงินของธนาคาร บางปีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอาจมีการปรับเปลี่ยนไปถึง 4-5 ครั้ง แต่บางปีก็แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยก็มี
แต่ในการคำนวณเงินงวดแม้ธนาคารฯ ส่วนใหญ่จะคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศจริง แต่มีบางธนาคารใช้วิธีการคำนวณเงินงวดต่อเดือนของลูกค้า โดยคิดเพิ่มจากอัตราดอกเบี้ยจริงบวกด้วย 1-3% ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้กู้ในกรณีดอกเบี้ยเพิ่มในภายหลัง หรือหากดอกเบี้ยไม่เพิ่มหรือลดลงเงินงวดที่ผู้กู้จ่ายเกินไว้ก็ จะไปตัดเงินต้นมากขึ้น และทำให้หนี้เงินกู้หมดเร็วขึ้นกว่าที่ระบุในสัญญากู้ เช่น กู้ 30 ปี อาจจะเหลือ 27- 28 ปี เป็นต้น
ส่วนอัตราดอกเบี้ยคงที่ ที่เสนอในตลาดในขณะนี้แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ ธนาคารจะกำหนดดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นๆ 1-5 ปี จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งอาจจะสูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่เดิมก็ได้ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ตลาดเงินและต้นทุนทางการเงินของธนาคารในขณะนั้น การปรับเปลี่ยน (อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว) นี้อาจจะส่งผลกระทบต่อเงินงวดที่ผู้กู้ชำระในแต่ละเดือนได้ โดยเฉพาะหากมีการปรับตัวสูงขึ้นในภายหลัง จนทำให้เงินงวดต่อเดือนที่ผู้กู้ผ่อนชำระกับธนาคารไม่พอ ชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น อาจจะต้องเพิ่มเงินงวดต่อเดือนในภายหลังจนเกินที่จะรับภาระไหว
ฉะนั้นผู้กู้เงินแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงต้องระวังในกรณีนี้ด้วย อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้ ธนาคารจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หรือตายตัวตาม ประกาศของธนาคารในขณะที่ขอกู้ โดยไม่ปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการ เงิน ดังนั้นเงินงวดที่ชำระในแต่ละเดือนก็จะคงที่ตลอดระยะเวลากู้ 5-10-15-20-30 ปี ตามแต่ผู้กู้จะเลือก
อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรกจากนั้นเป็นลอยตัว อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันไดในช่วงแรกจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จะกำหนด ดอกเบี้ยแบบคงที่ในระยะสั้นประมาณ 1-5 ปี แต่ในระหว่างนั้นอาจกำหนดคงที่แบบขั้นบันได เช่น คงที่ 4 ปี ปีแรก = 1%,ปีที่ 2 = 2.5%,ปีที่ 3 = 3.5%,ปีที่ 4 = 4.5% หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยเป็นต้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่งและปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา ธนาคารจะกำหนดดอกเบี้ยคงที่ ระยะหนึ่ง เช่น 3 ปี หรือ 5 ปี และจะปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี ตลอดระยะเวลาตาม สัญญากู้
ฉะนั้นผู้กู้แต่ละรายที่กู้ต่างเวลากันหรือในช่วงต่อครั้งที่ 2,3,4 ฯลฯ อัตราดอกเบี้ยจึงไม่เท่ากันอาจจะต่ำหรือสูงกว่า เป็นต้น ในส่วนของผู้กู้แนะนำให้รวบรวมอัตราดอกเบี้ยและประเภทเงินกู้ของสถาบันการเงินหลายๆ แห่ง เมื่อรวบ รวมประเภทเงินกู้แบบต่างๆ ของแต่ละสถาบันการเงินแล้ว ผู้กู้ก็นำอัตราดอกเบี้ยจริงมาเปรียบเทียบว่าที่ ไหนให้เท่าใด สูงต่ำกว่ากันอย่างไร ซึ่งหลักโดยทั่วไปหากเป็นเงินกู้ประเภทเดียวกัน ดอกเบี้ยต่ำที่สุดก็จะ เป็นประโยชน์กับผู้กู้มากที่สุด เพราะดอกเบี้ยที่ต่ำจะทำให้เงินงวดรายเดือนที่ผ่อนชำระต่ำไปด้วย
วงเงินสินเชื่อ
โดยทั่วไปแล้วผู้ขอสินเชื่อจะขอวงเงินสินเชื่อตามที่ตนเองต้องการใช้ในขณะนั้น ซึ่งบางท่านอาจจะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในการขอวงเงินสินเชื่อ ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจในการขอวงเงินสินเชื่อ จึงขอจำแนกปัจจัยต่างๆ พอสังเขป ดังนี้
วัตถุประสงค์ในการกู้
ปกติแล้วสถาบันการเงินจะพิจารณาวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อของผู้ขอสินเชื่อก่อนเป็นหลักสำคัญ เนื่องจากจะนำมาใช้กำหนดโครงสร้าง หรือประเภทการขอสินเชื่อ เช่น เป็นวงเงินหมุนเวียน, วงเงินระยะสั้น, วงเงินระยะยาว ฯลฯ เช่นถ้าผู้ขอสินเชื่อต้องการวงเงินเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นวงเงินระยะยาว (10-40 ปี) เพื่อให้เงินผ่อนชำระต่องวดต่ำ ไม่เป็นภาระแก่ผู้ขอวงเงินสินเชื่อมากเกินไป ถ้ากู้ยืมเพื่อใช้จ่าย เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่ก็จะเป็นวงเงินระยะสั้น – ปานกลาง (3 – 5 ปี) ถ้าจะใช้เป็นเงินหมุนเวียน ส่วนใหญ่จะเป็นเงินกู้ระยะสั้น (1 – 3ปี) เป็นต้น
รายได้ของผู้ขอสินเชื่อ
โดยปกติทั่วไปสถาบันการเงินจะใช้เกณฑ์พิจารณาวงเงินสินเชื่อจากรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ประกอบไปกับภาระค่าใช้จ่าย ภาระหนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ของวงเงินสินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้จากการสัมภาษณ์ และเอกสารประกอบที่ผู้ขอสินเชื่อจัดเตรียมให้
ภาระค่าใช้จ่าย และภาระหนี้ส่วนตัวของผู้ขอสินเชื่อ
สถาบันการเงินมักจะคำนวณเงินผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อในเบื้องต้น โดยกำหนดให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนของผู้ขอสินเชื่อไม่ควรเกินร้อยละ 35 ของรายได้รวมของผู้ขอสินเชื่อ (กรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัย) เมื่อกำหนดภาระผ่อนชำระต่อเดือนในเบื้องต้นได้แล้ว จะนำภาระผ่อนต่อเดือนดังกล่าวใช้ในการคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่ออีกครั้ง โดยจะนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ (รวมทั้งค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว)ของผู้ขอสินเชื่อ มาหักภาระหนี้ทั้งหมดของผู้ขอสินเชื่อ (รวมทั้งเงินผ่อนชำระที่คำนวณได้ในเบื้องต้น) ซึ่งจะต้องเพียงพอ (ไม่ติดลบ) จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ในเบื้องต้น
จำนวนปี(ระยะเวลา)ที่ผ่อนชำระ
ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมของวงเงินสินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ) ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อว่า ถ้าระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อยาวนาน จะมีผลให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนก็จะลดต่ำลง ซึ่งธนาคารจะสรุปปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลต่อการกำหนดวงเงินเป็นตารางอย่างง่ายๆ ดังตารางข้างล่าง
วงเงินสินเชื่อ |
ค่าผ่อนชำระ |
อายุ |
ระยะเวลากู้ |
รายได้สุทธิ |
ภาระหนี้ |
สูงขึ้น |
สูงขึ้น |
น้อย |
มาก |
มาก |
น้อย |
ลดลง |
มาก |
มาก |
น้อย |
น้อย |
มาก |
จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า การกำหนดวงเงินสินเชื่อมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวกำหนด แต่ข้อสำคัญที่สุดคือ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม และการประมาณการที่เหมาะสมของผู้ขอสินเชื่อเองว่าตนเองจะสามารถผ่อน ชำระได้เดือนละเท่าไร ซึ่งควรเป็นอัตราผ่อนชำระที่มีการกำหนดส่วนเผื่อเหลือเผื่อขาดในกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย และเมื่อท่านมีภาระหนี้ก็ควรจะมีการวางแผนการเงิน ต้องเผื่อค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเป็นเงินก้อนในแต่ละปีไว้ด้วย เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
ระยะเวลากู้
การกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหมาะสม
โดยทั่วไปแล้วผู้ขอสินเชื่อจะขอสินเชื่อตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งบางท่านอาจจะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในการกำหนดระยะเวลาในการผ่อนชำระ ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความเหมาะสมในการขอระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อ จึงขอจำแนกปัจจัยต่างๆ พอสังเขป ดังนี้
วัตถุประสงค์ในการกู้
ปกติแล้วสถาบันการเงินจะพิจารณาวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อของผู้ขอสินเชื่อก่อนเป็นหลักสำคัญ เนื่องจากจะนำมาใช้กำหนดโครงสร้าง หรือประเภทการขอสินเชื่อ เช่น เป็นวงเงินหมุนเวียน, วงเงินระยะสั้น, วงเงินระยะยาว ฯลฯ เช่นถ้าผู้ขอสินเชื่อต้องการวงเงินเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นวงเงินระยะยาว (10-40 ปี) เพื่อให้เงินผ่อนชำระต่องวดต่ำ ไม่เป็นภาระแก่ผู้ขอวงเงินสินเชื่อมากเกินไป
อายุของผู้ขอสินเชื่อ
สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะพิจารณาระยะเวลาที่ให้สินเชื่อกับผู้ขอสินเชื่อโดยพิจารณาจากอายุ และอาชีพเป็นองค์ประกอบ เช่นถ้าผู้กู้ต้องการวงเงินสินเชื่อ ระยะยาว ธนาคารจะพิจารณาว่าผู้กู้จะทำงานหรือมีรายได้จนอายุประมาณเท่าไร ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ที่ 60 – 65 ปี (ตามแต่นโยบายของ สถาบันการเงิน นั้นๆ) แล้วนำมาหักออกจากอายุปัจจุบันของผู้กู้ ก็จะได้ระยะเวลากู้
รายได้ของผู้ขอสินเชื่อ
โดยปกติทั่วไปสถาบันการเงินจะใช้เกณฑ์พิจารณาระยะเวลาการผ่อนชำระวงเงินสินเชื่อจากรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ประกอบไปกับภาระค่าใช้จ่าย ภาระหนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสมของวงเงินสินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้จากการสัมภาษณ์ และเอกสารประกอบที่ผู้ขอสินเชื่อจัดเตรียมให้
ภาระค่าใช้จ่าย และภาระหนี้ส่วนตัวของผู้ขอสินเชื่อ
สถาบันการเงินมักจะคำนวณเงินผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อในเบื้องต้น โดยกำหนดให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนของผู้ขอสินเชื่อไม่ควรเกินร้อยละ 35 ของรายได้ รวมของผู้ขอสินเชื่อ (กรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัย) เมื่อกำหนดภาระผ่อนชำระต่อเดือนในเบื้องต้นได้แล้ว จะนำภาระผ่อนต่อเดือนดังกล่าวใช้ในการคำนวณ ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่ออีกครั้ง โดยจะนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ (รวมทั้งค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว)ของผู้ขอสินเชื่อ มาหักภาระหนี้ทั้งหมดของผู้ขอสินเชื่อ (รวมทั้งเงินผ่อนชำระที่คำนวณได้ในเบื้องต้น) ซึ่งจะต้องเพียงพอ (ไม่ติดลบ) จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ในเบื้องต้น
จำนวนปี (ระยะเวลา) ที่ผ่อนชำระ
ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมของวงเงินสินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ) ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อว่า ถ้าระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อยาวนาน จะมีผลให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนก็จะลดต่ำลง ซึ่งได้สรุปปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลต่อการกำหนดวงเงินเป็นตารางอย่างง่ายๆ ดังตารางข้างล่าง
ระยะเวลากู้ |
ค่าผ่อนชำระ |
อายุ |
วงเงินกู้ |
รายได้สุทธิ |
ภาระหนี้ |
มาก |
น้อย |
น้อย |
มาก |
มาก |
น้อย |
น้อย |
มาก |
มาก |
น้อย |
น้อย |
มาก |
จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า การกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวกำหนด แต่ข้อสำคัญที่สุดคือ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม และอายุของผู้กู้
ควรจะเลือกระยะเวลากู้ยาวๆ หรือสั้นๆ ดี เมื่อต้องการซื้อบ้านเงินผ่อน
ก่อนอื่นต้องพิจารณาจากเงื่อนไขของสถาบันการเงินก่อนว่ากำหนดไว้อย่างไร เช่น
- สถาบันการเงิน A มีข้อกำหนดว่าสามารถชำระเงินกู้ได้ตามที่ผู้ขอสินเชื่อต้องการ โดยไม่มีค่าปรับ ยกเว้นกรณี Refinance ( กู้บุคคลอื่น มาชำระเงินกู้คืนให้ธนาคาร ) ภายใน 3 ปี ปรับ 3%
- สถาบันการเงิน B มีข้อกำหนดถ้าชำระก่อน 3 ปี จะมีค่าปรับ 3% และชำระค่างวดได้ไม่เกิน 2 เท่าของค่างวดที่กำหนดไว้ หากชำระเกินจะมีค่าปรับ
บางครั้งสถาบันการเงินหลายแห่ง จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยปีแรกไว้ต่ำๆ เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อสนใจว่าดอกเบี้ยถูก แต่ส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนดว่า ห้ามชำระเกินกว่าค่างวดที่กำหนดไว้ หรือห้ามชำระเกินกว่ากี่เท่าของค่างวด ดังนั้นผู้ขอสินเชื่อควรจะพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากระยะเวลากู้เป็น องค์ประกอบสำคัญในการกู้ยืมระยะยาว (โดยเฉพาะการกู้ซื้อบ้าน) เงื่อนไขที่ดีที่สุด คือเงื่อนไขแบบ สถาบันการเงิน A เนื่องจากผู้กู้สามารถชำระมากกว่า ค่างวด เท่าใดก็ได้ไม่มีข้อจำกัด ซึ่งถ้าผู้ขอสินเชื่อชำระมากก็จะลดดอกเบี้ยที่จ่ายให้ธนาคารได้มาก โดยเฉพาะผู้ขอสินเชื่อที่ทำงานประจำ เนื่องจากในปัจจุบันถ้าผู้กู้สามารถรับภาระผ่อนชำระได้ในอนาคตเมื่อรายได้สูงขึ้นผู้ขอสินเชื่อก็สามารถชำระเพิ่มขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้ขอสินเชื่อเอง หรือถ้าผู้ขอสินเชื่อมีเงินที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินเข้ามาเป็นเงินก้อนก็สามารถนำมาชำระหนี้ได้ทันที โดยในเบื้องต้นควรขอสินเชื่อให้มี ระยะเวลาสูงสุดไว้ก่อน จะทำให้ค่างวดต่อเดือนที่ต้องชำระต่ำ แต่สามารถชำระมากกว่าค่างวดที่กำหนดไว้ได้เสมอ