การออมเงิน Saving

การออม

การออม คือ รายได้เมื่อหักรายจ่ายแล้วจะมีส่วนซึ่งเหลืออยู่ ส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ซึ่งไม่ได้ถูกใช้สอยออกไปนี้เรียกว่า เงินออม

Incomes-Expenses=Savings
โดยทั่วไป การออม จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีรายได้มากกว่าการจ่ายของเขา ทางที่จะเพิ่มเงินออมให้แก่ บุคคล อาจทำได้โดย การพยายามหาทาง เพิ่มรายได้ให้มากขึ้นด้วยการทำงานมากขึ้น ใช้เวลาว่างในการหารายได้พิเศษ หรือการปรับปรุงงาน ที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมีรายได้สูงขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้น การลดรายจ่าย ลงด้วยการรู้จักใช้จ่าย เท่าที่จำเป็น และเหมาะสมก็จะทำให้มีการออมเกิดขึ้นได้เหมือน

การออมเงิน (Saving) เป็นการยอมเสียสละเงินที่ต้องใช้จ่ายในปัจจุบัน เพื่อจะนำเงินจำนวนนี้ไปใช้ในอนาคตแทนโดยแบ่งเงินบางส่วนจากรายได้ เพื่อเก็บสะสมไว้ใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณอายุ หรือเมื่อยามเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะการดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา คือ การตกงาน เจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติตามธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าหากไม่มีเงินออมย่อมเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน หรือหลังจากอายุเกษียณ 60 ปีแล้ว เราจะมีรายได้จากที่ใดมาเป็นค่าใช่จ่ายในการดำรงชีวิตต่อไป

ความสำคัญของเงินออม

เงินออมเป็นปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายซึ่งบุคคลกำหนดไว้ในอนาคตบรรลุจุดประสงค์ เช่น กำหนดเป้าหมายไว้ว่า จะต้องมีบ้าน เป็นของตนเอง ในอนาคตให้ได้ เงินออมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดเป้าหมายที่วางไว้เป็นจริงขึ้นมาได้ นอกจากนี้เงินออม ยังใช้สำหรับแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนทางการเงิน ที่อาจเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงของบุคคลได้ด้วย ดังนั้นบุคคลจึง ควรมีการออม อย่างสม่ำเสมอในชีวิต

ประโยชน์ของการออมเงิน

การออมเงินเป็นเหตุผลสำคัญในการป้องกันปัญหาทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ดีที่สุดบุคคลจึงควรมีการออมเงินจำนวนหนึ่งไว้ใช้จ่ายในอนาคต ซึ่งไม่จำเป็นออมเงินจำนวนมากมายแต่ควรเป็นจำนวนเงินที่ท่านหรือครอบครัวมีไวพอพียงสำหรับแก้ปัญหาทางการเงินได้ การออมเงินมีประโยชน์สรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

  1. บุคคลมีเงินจำนวนหนึ่งเก็บไว้ใช้จ่ายซื้อสิ่งของที่ต้องการหรือใช้จ่ายในยามจำเป็นในอนาคต เช่น ใช้จ่ายเมื่อมีเหตุจำเป็นฉุกเฉิน เจ็บป่วย หรือยามชรา และหลังเกษียณ
  2. มีรายได้และผลตอบแทนเพิ่มจากเงินออมเพื่อชดเชยเงินภาวะเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เช่น ใช้เงินปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยรับจากบัญชีเงินฝาก ผลต่างจากราคาซื้อ-ขายทรัพย์สิน
  3. มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ครอบครัว โดยนำเงินออมมาซื้อทรัพย์สินขนาดใหญ่ ราคาแพงได้โดยไม่เป็นหนี้สินล้นพันตัว เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์
  4. มีเงินออมไว้สำหรับแผนการที่วางไว้ในอนาคต เช่น เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศการลงทุนเปิดกิจการทำธุรการเที่ยวรอบโลก เป็นต้น
  5. มีเงินออมไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน หรือเพื่อการบริจาคการกุศล หรือช่วยเหลือสังคม

สิ่งจูงใจในการออม

การที่คนเรามี "เป้าหมาย" อย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตกำหนดไว้อย่างชัดเจนแน่นอน ก็จะทำให้เกิดความกระตือรือร้น ที่จะเก็บออมมากขึ้น เป้าหมายของแต่ละบุคลอาจแตกต่างกัน แล้วแต่ความจำเป็นและความต้องการของเขา และยังขึ้นอยู่กับ ความหวังและความทะเยอทะยานในชีวิตของเขาด้วย ตัวอย่างเช่น บางคนอยากมีบ้านและที่ดินเป็นของตังเอง อยากจะมีการศึกษาสูง อยากมีชีวิตที่สุขสบายในยามปลดเกษียณ หรือหวังที่จะให้ลูกหลานมีหลักฐานมั่นคง ดังนั้นเป้าหมายในการออมแตกต่างกันนี้ จะเป็นสิ่งที่กำหนดให้จำนวนเงินออม และระยะเวลาในการออมแตกต่างกันไป

การปฏิบัติเกี่ยวกับการออมที่ดี

เงินสดส่วนบุคคลขึ้น ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแต่ละเดือนจะมีเงินคงเหลือเป็นเงินออมเท่าไหร่ ในทางปฏิบัติ เพื่อให้การออมได้ผลจริงๆ ควรจัดทำดังนี้
- ทางที่จะสามารถทราบล่วงหน้าได้ว่าจะมีการออมได้หรือไม่นั้นก็โดย การจัดทำงบประมาณการเงิน ทำงบประมาณรายได้ รายจ่าย เพื่อจะรู้ว่ามีเงินเหลือที่จะเก็บออมเท่าไร
- เมื่อทำงบประมาณและทราบได้ว่า จะสามารถเก็บออมได้เดือนละเท่าไหร่แล้วให้กันเงิน ออมส่วนนั้น (ก่อนที่จะจ่ายเป็นรายจ่ายออกไป ) แล้วนำไปฝากธนาคารทันที
รายได้ที่เกิดขึ้นจากเงินออม เช่น ดอกเบี้ยที่ได้รับ ควรนำไปลงทุนต่อทันที เพื่อให้เงินออมงอกเงยขึ้น ไปอีก การเก็บรักษาเงินออม ให้ปลอดภัย นั้นเงินออมการเก็บเงินไว้กับตนเองย่อมไม่ปลอดภัยและเป็นการสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ ดังควร เก็บรักษาไว้ ในที่ปลอดภัยและมีรายได้ด้วย โดยการฝากสถาบันการเงินบางแห่งไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ หรืออาจจะเก็บออม ในรูปของการซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารฯ ที่มีความมั่นคง ก่อให้เกิดรายได้ และสามารถเปลี่ยนมาเป็น เงินสดได้ง่ายมาถือไว้ เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน พันธบัตรออมทรัพย์ต่างๆ ตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่มั่นคง การซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวม หรือซื้อหุ้นของบริษัทที่มั่นคงถือไว้ ฯลฯ

ปัจจัยสำคัญในการออม

  1. ผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับจากการออม หมายความว่าถ้ายิ่งผลตอบแทนในการออมเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้บุคคลมีการออมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เช่น ในภาวะที่รัฐบาล กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์ ทุกแห่งลดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ ทุกประเภทลง ทั้งยังเก็บดอกเบี้ยภาษีเงินฝากอีก จึงทำให้ระดับเงินออมของธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก
  2. มูลค่าของอำนาจซื้อของเงินในปัจจุบัน ผู้ออมจะตัดสินใจทำ การออมมากขึ้นภายหลังจาก การพิจารณาถึง อำนาจซื้อของเงิน ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่า จะมีความแตกต่างจากมูลค่าของเงินใน อนาคตมักหมายความว่าจำนวนเงิน 1 บาท ซื้อสินค้าและบริการ ได้ในจำนวนใกล้เคียง หรือเท่ากับการใช้เงิน 1 บาทซื้อสินค้าหรือบริการในอีก 2-3 ปีข้างหน้าหรือมากกว่านั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าท่านว่าการเก็บเงินออมไว้โดยไม่ยอมซื้อสินค้าขณะนี้ ท่านอาจจะสูญเสียความพอใจ ที่ควรได้รับจาก การซื้อสินค้า ในปัจจุบัน มากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจาก การออม ทั้งยังเสียเวลาคอยที่จะซื้อสินค้าในอนาคต ที่อาจมีราคาสูงมากกว่า อัตราผลตอบแทน ที่ได้รับอีกด้วย ดังนั้นถ้าท่านพอใจทีจะซื้อสินค้าในวันนี้มากกว่าการหวังผลตอบแทนที่จะได้รับเพิ่มขึ้นในอนาคต ท่านก็จะมี การออมลดลง
  3. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ ผู้ที่มีรายได้คงที่แน่นอนเป็นประจำทุกเดือนในจำนวนที่ไม่สูงมากนักเช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชนระดับต่ำ จำนวนเงินออมที่กันไว้อาจเป็นเพียงจำนวนน้อยตามอัตราส่วนของรายได้ที่มีอยู่ ซึ่งต่างจากจำนวนเงินออมของผู้บริหารระดับสูง หรือนักการเมืองที่จะมีเงินเหลือออมได้มากกว่า นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงรายได้เนื่องจาก การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายงานการถูกปลดออกจากตำแหน่งหน้าที่การงาน ที่มีผลต่อระดับการออมเช่นกัน คือ อาจทำให้มีการออมเพิ่มมากขึ้น หรือลดลงไปจากระดับเดิมได้ ดังนั้นในระหว่างที่ท่านมีรายได้มากกว่าปกติ หรือในขณะที่ท่านมีความสามารถ หารายได้ได้ อยู่จึงควรจะมี การออมไว้เพื่อป้องกัน ปัญหาทางการเงิน อันอาจเกิดขึ้นได้ดังกล่าวแล้ว
  4. ความแน่นอนของจำนวนรายได้ในอนาคตหลังการเกษียรอายุ ถ้าผู้มีรายได้ทุกคนทราบได้แน่นอนว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านไม่มีความสามารถ หารายได้ได้อีกต่อไป ท่านก็จะไม่มีปัญหาทางการเงิน เกิดขึ้น หรือถ้ามีก็ไม่ใช่ปัญหาที่รุนแรงมากนัก เนื่องจากหน่วยงานที่ท่านเคยทำงานอยู่ มีนโยบายช่วยเหลือ ท่านในวัยชราหลัง เกษียรอายุ หรือภายหลังออกจากงานก่อนกำหนด เช่น นโยบายการให้บำนาญ บำเหน็จ เงินชดเชย เป็นต้น ดังนั้นผู้ออมอาจมีการออมลดลง เพื่อกันเงินไว้ใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่ทำให้จำนวนเงินรวมในอนาคตกระทบกระเทือนแต่ประการใด
    เงินออมควรเก็บรักษาอย่างไรจึงจะปลอดภัย การเก็บเงินไว้กับตนเองย่อมไม่ปลอดภัยและเป็นการสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ ดังนั้นเงินออมควรเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยและมีรายได้ด้วย โดยการฝากสถาบันการเงินบางแห่งไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ หรืออาจเก็บออมในรูปของการซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารฯ ที่มีความมั่นคง ก่อให้เกิดรายได้และสามารถเปลี่ยน มาเป็นเงินสดได้ง่ายมาถือไว้ เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน พันธบัตรออมทรัพย์ต่าง ๆ ตั๋วสัญญาของบริษัทเงินทุนที่มั่นคง การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบริษัทที่มั่นคงถือไว้ ฯลฯ

รูปแบบของการออมเงิน

การออมเงินในครัวเรียนมีการออมอยู่ 2 รูปแบบคือ

  • การออมแบบเก่า เก็บการออมที่เก็บเงินไว้ที่บ้านในครัวเรือนของตน เช่น เก็บซ่อนเงินไว้ที่ใดที่หนึ่งของบ้าน หรือซื้อทองรูปพรรณเก็บไว้ เป็นต้น การออมแบบนี้ไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจเพราะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจขาดแคลนเงินทุน นอกจากนี้ยับเป็นการออมที่เสี่ยงต่อการสูญหายหรือถูกจี้ปล้นและไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนกลับคืนมา
  • การออมแบบใหม่ เป็นการออมเงินที่นำเงินไปผากไว้ที่สถาบันการเงิน จะมีความปลอดภัยกว่า นอกจากนี้ยังได้รับผลประโยชน์กลับคืนมา ในรูปเงินปันผล ดอกเบี้ย หรือกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ การออมเงินแบบนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ ที่ช่วยระดมเงินทุนเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจ ที่ช่วยระดมเงินทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจก่อให้เกิดการลงทุนการผลิต การจ้างงานเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจด้วย

ประเภทการออมเงิน

การเก็บออมเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายชีวิตบุคคลควรเก็บออมเงินไว้บัญชีเงินฝากธนาคารแต่ละธนาคารหรือบัญชีเงินฝากตามเป้าหมายชีวิตหรือ ตามประเภทของเงินออมเพื่อจะได้เห็นยอดเงินออมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น บัญชีเงินฝากเพื่อสร้างบ้าน บัญชีเงินฝากเพื่อการศึกษา เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างกำลังใจและความภาคภูมิใจและความภาคภูมใจในตนเอง (Self Esteem) เงินอมแบ่งเป็น 3 ประเภท (มณทานี ตันติสุข .251,2549)

  • เงินออมเพื่อความมั่นคง คือการออมเงินเพื่อใช้จ่ายกรณีฉุกเฉินเป็นเงินออมที่เก็บไว้ใช้เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น เช่น การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ การตกงาน การซ่อมแซมรถยนต์ ฯลฯ เงินออมประเภทนี้จะทำหน้าที่ช่วยให้บุคคลดำรงชีวิตได้ตามปกติ ได้ไม่เดือดร้อน เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
  • เงินออมเพื่อเกษียณ คือ การเก็บสะสมเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในยามเกษียณซึ่งผู้ที่เกษียณอายุจะมีรายได้ลดลง ถ้ามีเงินออมประเภทนี้จะทำให้การใช้ชีวิตยามเกษียณอายุมีอิสรภาพทางการเงินเพราะชีวิตที่ต้องพึ่งพาคนอื่น นอกจากขาดอิสรภาพแล้วยังขาดความภาคภูมิใจในตนเองด้วย
  • เงินออมเพื่อการลงทุน เป็นการสะสมเงินออมเพื่อนำเงินไปลงทุนทำธุรกิจหรือลงทุนในหลักทรัพย์ เช่น ลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุนหรือซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อโดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีผลตอบแทนเพิ่มมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการออมเงินไว้ที่ธนาคาร ซึ่งเงินออมประเพทนี้จะทำให้บุคคลมีอิสรภาพทางการเงินมากขึ้นโดยไม่ต้องรอรายได้จากการทำงานอย่างเดียววิธีนี้เรียกง่าย ๆ ว่า “จงให้เงินทำงานให้เรา ให้มีเงินงอกเงยเพิ่มขึ้น”

เป้าหมายในการออมเงิน

การกำหนดเป้าหมายทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้รู้ว่าจะเก็บออมเงินเพื่ออะไร จำนวนเท่าไร ใช้เวลาแค่ไหนซึ่งเป้าหมายออมเงินของผู้บริโภคแตกต่างกัน ดังนี้

  • ออมเงินไว้เพื่อการศึกษาให้สูงขึ้น
  • ออมเงินไว้เพื่อการจัดงานแต่งงาน
  • ออมเงินไว้เพื่อสร้างบ้านและตกแต่งบ้าน
  • ออมเงินไว้เพื่อซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกในครอบครัว หรือตนเอง เช่น ซื้อรถยนต์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • เก็บอมเงินไว้เพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เช่น ยามว่างงาน ค่ารักษาพยาบาล คำซ่อมแซมบ้าน ค่าซ่อมแซมรถยนต์ เป็นต้น
  • เก็บออมเงินเพื่อซื้อประกันชีวิตและประกันภัย
  • เก็บออมเงินเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อหาประโยชน์จากเงินออมให้งอกเงย เช่น ซื้อตั๋วเงินคลังรัฐบาล การซื้อสลากออมสิน การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อหุ้นสามัญในบริษัทต่าง ๆ เป็นต้น
  • เก็บออมเงินไว้ใช้จ่ายในวัยหลังเกษียณอายุทาน

เมื่อบุคคลกำหนดเป้าหมายทางการเงินไว้แล้วย่อมเป็นสิ่งจูงใจให้เขามีความมานะ พยายามที่จะเริ่มเก็บออมเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หลังจากนั้นให้วางแผนการออมว่าจะออมเงินที่ไหนดีที่มีความมั่นคงและมีผลตอบแทนที่ดี มีความเสี่ยงน้อย และเมื่อมีข้อมูลจากแหล่งออมเงินพอสมควรก็เริ่มตัดสินใจออมโดยเริ่มจากการสร้างวินัยในการออมให้เกิดขึ้นกับตนเองก่อน

การสร้างวินัยการออมเงิน

การออมเงินเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก เพราะการใช้จ่ายเงินตามความพอใจของตนเพื่อหาความสุขในปัจจุบันให้แก่ตนเองง่ายกว่าการประหยัดเงินเพื่อให้เหลืองเงินเก็บออม นั่นเป็นเพราะการไม่มี “วินัยในการออม” ซึ่งการไม่มีวินัยในการอมถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการออมเงินอย่างยิ่ง

“วินัย” (Discipline) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวเราซึ่งถูกปลูกฝังมาเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นนิสัย และไม่ได้เกี่ยวข้องกับคนอื่นเลย การออมเงินควรเริ่มต้นตั้งแต่เดี๋ยวนี้เพราะถ้าไม่เริ่มต้นการออมเงินจะมีความยุ่งยากและลำบากเมื่อถึงวัยชราหรือเมื่อได้รับความเจ็บป่วยหรือตกงานสิ่งสำคัญ ในการอมเงินคือต้องตระหนักว่าการออมเงินไม่ใช่สิ่งที่จะกระทำได้เมื่อเงินเหลือใช้หากแต่เป็นการกันเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินออมมาจากรายได้ก่อนแล้ว นำเงินส่วนที่เหลือไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หากคิดว่ารอให้มีเงินเหลือใช้ก่อนจึงออมเงินให้เป็นนิสัยคือ ต้องทำทุก ๆ วันให้เป็นกิจวัตรประจำวันได้เท่าไรยิ่งดีกับตัวเราเท่านั้น

การออมเงินจะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องอาศัยการมีวินัยในตนเองมากที่สุด วินัยในตัวเอง คือความสามารถที่นะทำให้เราทำในสิ่งต้องทำ ณ เวลาที่ควรทำไม่ว่าสิ่งนั้นเราอยากทำหรือไม่อยากทำก็ตาม

แนวทางการสร้างวินัยการออมเงิน สามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้

  • กำหนดเป้าหมายการออมว่า ต้องการออมเงินเพื่ออะไร จำนวนเท่าใด และต้องใหช้เวลาภายในระยะเวลาเท่าใด
  • ปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการออม จากการออมเงินเมื่อมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายเปลี่ยนเป็นการออมเงิน ต้องกันเงินบางส่วนออกจากรายได้ก่อน เหลือเท่าไรจึงนำไปใช้จ่ายและต้องใช้จ่ายอย่างพอเพียงกับเงินที่มีอยู่ คือ มีเท่าไรใช้จ่ายเท่านั้น ไม่ฟุ่มเฟือย
  • ให้ทบทวนไตร่ตรองให้ดีทุกครั้งก่อนจะจ่ายเงินซื้อสิ่งของตามต้องการให้ถามตัวเองทุกครั้งครั้งว่าสิ่งที่จะซื้อนั้นมีความจำเป็นสำหรับเรา มากน้อยเพียงใด
  • การเริ่มต้นการออมเงินให้เริ่มต้นจากการออมที่ละน้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับเหมาะสมกับตนเองโดยฝึกฝนให้เกิดเป็นนิสัย ด้วยวีการต่อไปนี้
    1 หักเงินไว้ร้อยละ 10 ของรายได้เป็นเงินออม และให้คิดว่าเงินที่หักอมนี้เป็นการให้รางวัลตัวเองก่อนและนำเงินร้อยละ 10 นี้ เข้าบัญชีธนาคาร แยกต่างหาก จะทำให้เห็นขึ้นจะกลายเป็นนิสัยออมเงินที่ดีต่อไป
    2 เมื่อเริ่มหักเงินออมร้อยละ 10 ของรายได้ครบ 6 เดือนแล้วให้เพิ่มเงินออมเพิ่มเป็นร้อยละ 15 ร้อยละ 20 แล้วให้แบ่งเงินออมออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งออมเพื่อฉุกเฉินร้อยละ 10 อีก ส่วนหนึ่งที่เหลืออีกร้อยละ 10 ให้ออมเงินเพื่อความมั่งมี
    3 เมื่อหักเงินออมร้อยละ 20 ของรายได้จนเป็นนิสัยแล้ว ให้เริ่มหัดออมเงินเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ของรายได้เพื่อการลงทุนแล้วเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ต่อไป ขั้นนี้ทำได้ยากกว่าข้อที่แล้วเพราะต้องอาศัยความอดทนและตั้งใจอย่างมากแต่เป็นนิสัยสร้างเศรษฐีอย่างแท้จริง
  • จัดสรรเงินออมให้กับเป้าหมายต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับชีวิตตนเอง ซึ่งอาจทำได้โดยแยกบัญชีเงินฝากตามเป้าหมายชีวิตที่กำหนดไว้หลาย ๆ บัญชี และเลือกวิธีการเก็บออมเงินซึ่งเบิกถอนได้ยาก
  • เริ่มเก็บออมให้เร็วที่สุดจะทำให้มีเงินออมมาก เพราะการเริ่มต้นเร็วยิ่งมีเงินออมมากกว่าคนที่เริ่มต้นช้า ดังตัวอย่างข้างล่างนี้
  • จดบันทึกรายรับรายจ่าย จดให้ละเอียดทุกรายการว่าในแต่ละวันหรือแต่ละเดือนนั้น ๆ มีรายรับเท่าไหร่ และได้จ่ายอะไรไปล้างการจดบันทึก จะช่วยให้เรามองเห็นสถานะการเงินที่แท้จริงของตนเองว่า อะไรไม่ควรจ่ายให้ตัดออกไป จะได้มีเงินเหลือออมเพิ่มขึ้น
  • ควบคุมการใช้บัตรเครดิตเพื่อสร้างวินัยการเงินในตนเอง หรือเพื่อบริหารการใช้เงินในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงไม่ควรใช้จ่ายเงินผ่าน บัตรเครดิตเพราะถ้าเราไม่เตรียมเงินไว้ใช้จ่ายชำระหนี้บัตรเครดิตแล้ว เราก็จะเป็นหนี้บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าร้อยละ 18 ต่อปี
  • จัดเก็บเอกสารทางการเงินอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หรือเพื่อไว้ยืนยันยอดหนี้ที่ได้ชำระล้า หรือเพื่อเป็นหลักฐานขอลดหย่อนภาษี เป็นต้น
  • ใช้หนี้เก่าให้หมดและยุติการก่อหนี้ใหม่ หากที่ผ่านมาเคยก่อหนี้ไว้และก็ควรตั้งต้นใหม่โดยวางแผนจัดการชำระหนี้ที่มีอยู่ให้หมดสิ้นโดยเร็ว และที่สำคัญต้องไม่ก่อหนี้เพิ่มด้วย
  • ยึดหลักความพอเพียง เป็นการจัดการเงินที่ยืนอยู่บนความพอดีพอเพียงไม่มากเกินไป ด้วยการสร้างสมดุลให้ชีวิตก็จะทำให้เรามีความสุข กับชีวิตปัจจุบัน ได้แก่ การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้แก่ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี

อุปสรรคของการออมเงิน

อุปสรรคสำคัญของการออมเงิน คือ การขาดวินัยในการออมที่ทำให้การออมเงินไม่สำเร็จตามเป้าหมายนอกจากนี้ยังมีอุปสรรคสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาอีก 3 ประการ คือ

  1. เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้อำนาจซื้อและมูลค่าของเงินออมลดลงจึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างขิ่งที่จากภาวะเศรษฐกิจที่ควบคุมไม่ได้ด้วยตัวผู้ออมเงินเอง มีแนวทางแก้ไข คือการหาแหล่งเงินออมที่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าภาวะเงินเฟ้อ ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายการออมเพื่อดาวน์รถยนต์โดยกำหนดไว้ว่าภายใน 5 ปีต้องได้เงิน 180,000 บาท แต่เมื่อครบเวลาตามที่ตั้งเป้าหมายไว้พบว่า ราคารถยนต์แพงขึ้นบริษัทจำต้องเพิ่มวงเงินดาวน์ เป็น 200,000 บาท อย่างนี้ เป็นต้น ที่ทำให้เป้าหมายการออมคาดเคลื่อน
  2. ความโลภหรือกิเลส (Greedy) คือความอยากมีอยากได้สิ่งที่พบเห็นทุกอย่างจนลืมคิดถึงการออมเงินเพื่อสำหรับใช้ในอนาคต ซึ่งความอยากมีอยากได้นี้ทำให้แผนการออมเงินล้มเหลว “ความโลภ” เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ขาดวินัยการออมได้ทันที ดังนั้นจึงต้องฝึกฝนตนเองให้รู้จักคำว่า “พอเพียง” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  3. เหตุการณ์ที่ไมคาดฝัน (Unexpected Event) คือเหตุการณ์ที่ไม่ได้กำหนดไวล่วงหน้าว่าจะเกอดขึ้นเมื่อใด ทำให้ชีวิตเราตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน มักจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น อุบัติเหตุ ตกงาน เจ็บป่วย ซ่อมรถยนต์ ฯลฯ จึงส่งผลต่อการนำเงินที่ออม อยู่มาใช้ซึ่งนับว่า เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเป็นอุปสรรคที่เราไม่รู้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใดจึงต้องวางแผนป้องกันเอาไว้แต่เนิ่น ๆ เช่น การทำประกันชีวิตประกันภัยไว้เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สมการการออมเงิน

1 แนวคิดเดิมของการออมเงินในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าการออมเงินเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ที่ไม่ได้ใช้หมดไปกับการบริโภค ผู้บริโภคจะมีเงินออมมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับรายได้และค่าใช้จ่ายถ้ารายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย เราก็สามารถเก็บออมได้มากขึ้น จากแนวคิดดังกล่าว เขียนเป็นสมการการออมได้ดังนี้

รายได้ – รายจ่าย = เงินออม

จากสมการดังกล่าวข้างต้นถ้าต้องการเงินออมมาก ๆ บุคคลต้องรู้จักประหยัด หรือใช้จ่ายน้อยลง หรือหาวิธีการให้รายได้มีมากขึ้นวิธีการนี้เป็น การปฏิบัติตามสมการง่าย ๆ ข้างต้นแต่เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากบุคคลจะมีค่าใช้จ่ายตลอดเวลาจึงทำให้ออมเงินไม่ได้เลย

2 ปรับแนวคิดเกี่ยวกับสมการการออมเงินให้เปลี่ยนทัศนคติการออมจากเดิมจะออมเงินได้เมื่อสะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นฉุกเฉินหรือในวัยเกษียณจึงต้อง กำหนดเงินออมไว้ล่วงหน้าว่ารายได้ที่ได้รับเข้ามาจะหักเงินเก็บออมไว้เท่าไรก่อน เหลือจากการเก็บอมแล้ว จึงใช้จ่ายซึ่งเป็นการลดจำนวนเงิน ในกระเป๋าแล้วใช้จ่ายแบบ “พอเพียง” ดังนั้น สมการการออมแบบแนวคิดใหม่นี้จึงเขียนเป็นสมการดังนี้

รายได้ – เงินออม = รายจ่าย

สมการให้ใหม่นี้เท่ากับสมการเดิมแต่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติได้มากกว่าแบบเราเพื่อให้มีเงินออมมาก ๆ บุคคลควร “อดออม” คำว่า “อด” ในที่นี้ หมายถึง อดทนต่อกิเลสหรือสิ่งยั่วเย้าต่าง ๆ เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับการออม มิใช่ อด หมายถึง การงดค่าใช้จ่าย ไม่ยอมทานอาหาร ที่มีคุณภาพใช้ชีวิต แบบอดอยาก ทำให้ตนเองหิวโหยทนทุกข์ทรมาน

การออมตามแนวคิดนี้ให้คิดว่าการออมเงินที่หักจากรายได้ก่อนนี้ให้คิดว่าเป็นการให้รางวัลตนเองก่อนเหลือเงินเท่าไรค่อยนำมาใช้จ่ายจะทำให้เรามีกำลังใจ ที่จะออมมากขึ้นและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง (Self Esteem)

ข้อแนะนำในการออมเงิน

การออมเงินจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับความพยายามละความตั้งใจของแต่ละบุคคล ถ้าหากตั้งใจและฝึกฝนจนเป็นนิสัยการออมจะประสบความสำเร็จโดยมีข้อแนะนำ ดังนี้

  • ใช้จ่ายอย่างประหยัด การประหยัด คือ การทำสิ่งเล็กน้อยที่สุดให้เกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อจะใช้จ่ายซื้อสินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องคุ้มค่ามากที่สุด
  • การอมเป็นหน้าที่ของสามาชิกทุกคนครัวเรือน สมาชิกในครอบครัวควรได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักประหยัดกินประหยัดใช้
  • ให้นึกถึงการออมทุกครั้งที่ใช้จ่ายเงิน ทุกครั้งที่จะจ่ายเงินออกไปควรคำนึงถึงการใช้จ่ายอย่างประหยัด และทุกครั้งที่จะจ่ายเงินออกไปควรกันเงินออมไว้จำนวนหนึ่งเสมอ
  • ควรแยกบัญชีเงินออมเพิ่มขึ้นชัดเจนกว่าการฝากบัญชีเดียวและยังเป็นป้องกันการใช้จ่ายเกินตัวจนไม่มีเงินออม