ประกันภัยเครื่องบิน Aviation Insurance

ประกันภัยเครื่องบิน

การประกันภัยเครื่องบิน (Aviation Insurance) เป็นการประกัน ตัวทรัพย์คล้ายกับการประกันภัยทางทะเล คือเป็นการประกันภัยตัวเครื่องบิน เครื่องร่อนเฮลิคอปเตอร์ รวมทั้งสินค้าที่บรรจุอยู่ในเครื่องบินนั้นด้วย ซึ่งอาจแยกเป็นกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าต่างหาก ไม่รวมกับตัวเครื่องบินก็ได้ เพราะการประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางเครื่องบิน มักกระทำกันเป็นรายเที่ยว จนกระทั่งสินค้าถึงปลายทาง ในลักษณะการคุ้มครองภัยทุกชนิด ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเครื่องบิน หรือจากสินค้าที่บรรทุกมาในเครื่องบินนั้น เป็นการประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดของเจ้าของเครื่องบิน หรือเจ้าของสินค้าแล้วแต่กรณี ไม่ใช่เป็นการประกันภัยเกี่ยวกับทรัพย์ หากแต่เป็นการประกันภัยความรับผิด (Liability Insurance)

การประกันภัยเครื่องบินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในธุรกิจการขนส่งทางอากาศ ซึ่งผู้ประกอบการต้องจัดทำประกันภัย เพื่อคุ้มครอง ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นผู้ดำเนินธุรกิจการขนส่งทางอากาศ จึงจำเป็นต้องจัดซื้อ ประกันภัย ประกันภัยเครื่องบินเครื่องบินอย่างครบถ้วน ตามระเบียบข้อบังคับของกรมการบินพาณิชย์ และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มิฉะนั้นแล้ว จะไม่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจการบิน และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาต

การประกันภัยเครื่องบิน สามารถแบ่งเป็นประเภทของความคุ้มครองหลักได้สองประเภท ดังนี้ คือ

1. การประกันภัยตัวเครื่องบินสำหรับความเสี่ยงภัยทุกประเภท ยกเว้นภัยสงคราม รวมทั้งภัยที่เกี่ยวเนื่อง และการรับผิดชดใช้ตามกฎหมาย อันเนื่องมาจากการรับขนส่งทางอากาศต่อการบาดเจ็บ การเสียชีวิต และ ความเสียหายของทรัพย์สินของผู้โดยสาร สัมภาระ สินค้า ไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งบุคคลที่สาม (Aviation Hull All Risks and Legal Liabilities Insurance) นอกจากนี้ยังมีความคุ้มครองชดใช้ต่อบุคคลที่สาม ที่ได้รับความเสียหายจากภัยสงคราม และภัยที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งรวมถึงการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรม การจี้เครื่องบิน การยึดเครื่องบินด้วยเช่นกัน (เงื่อนไข AVN52-War Liability to Third Party)

2. การประกันภัยตัวเครื่องบินประเภทภัยสงครามและภัยที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรม การจี้เครื่องบิน การยึดเครื่องบิน การจลาจล สงครามกลางเมือง และภัยที่เกิดจากการก่อความไม่สงบโดยหวังผลทางการเมือง (Aviation Hall War Risks and Allied Perils Insurance)

อากาศยานส่วนบุคคล

1. หลักการและเหตุผล
รัฐบาลเห็นสมควรให้เอกชนไม่ว่าจะเป็นบุกคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสามารถใช้อากาศยานส่วนบุคคลได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริม การพัฒนาขนส่งทางอากาศ และให้มีบุคลากรเกี่ยวกับการขอส่งทางอากาศมากขึ้น เป็นกำลังสำรองของประเทศ ที่อาจเรียกมาใช้ได้ เมื่อมีความจำเป็น แต่การให้เอกชน สามารถใช้อากาศยานส่วนบุคคลได้นั้น อาจมีผลกระทบไปถึง ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ จำเป็นจะต้องมีการควบคุมอย่างเคร่งครัด โดยบังคับให้เอกชนที่ประสงค์จะใช้อากาศยานส่วนบุคคล จะต้องขอรับใบอนุญาต ใช้อากาศยานส่วนบุคคล จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีมีดุลพินิจโดยเด็ดขาดที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต
2. คำนิยาม
“อากาศยานส่วนบุคคล” หมายความว่า อากาศยานซึ่งใช้หรือมุ่งหมายสำหรับใช้เพื่อ ประโยชน์ในกิจการอันมิใช่เพื่อบำเหน็จ เป็นทางค้า (มาตรา 4พ.ร.บ การเดินอากาศ พ.ศ 2497) ห้ามมิให้ผู้ใดใช้อากาศยานส่วนบุคคลในการเดินอากาศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตใช้ อากาศยานส่วนบุคคล จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม(มาตรา 29ทวิ พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ2497)
3. ประเภทอากาศยานที่อนุญาตให้ใช้เป็นอากาศยานส่วนบุคคล
3.1อากาศยานปีกแข็ง (Fixed Wing) ทางราชการมีนโยบายอนุญาตให้แก่หน่วยงานของรัฐ ( ได้แก่ กระทรวง ทบวงกรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมาย จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ) และเอกชน ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
3.2เฮลิคอปเตอร์ ( Helicopter ) ทางราชการมีนโยบายอนุญาตให้แก่ หน่วยงาน ของรัฐ (ได้แก่ กระทรวง ทบวงกรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือ นิติบุคคลที่มีกฎหมายจัด ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ) และเอกชนเฉพาะที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น
4. คุณสมบัติและลักษณะของผู้ขออนุญาต
4.1 เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่ง
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
(2) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
(3) ไม่เคยต้อโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดตามกฎหมายว่า ด้วยยาเสพติดหรือกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
4.2 เป็นกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มี กฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
4.3 เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
5. วิธีการและหลักเกณฑ์การขออนุญาต ผู้มีความประสงค์ที่จะใช้อากาศยานส่วนบุคคล ให้ขอรับแบบฟอร์มคำขอรับใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล พร้อมแบบฟอร์มรายละเอียดประวัติ ได้ที่ ฝ่ายเดินอากาศไทย กองควบคุม
กิจการเดินอากาศ กรมการบินพาณิชย์ เลขที่ 71 ซอยงามดูพลี ถนนพระรามสี่ แขวนทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 2868157 โทรสาร 2873139

หลักฐานหรือเอกสารที่ต้องยื่นแสดง
บุคคลธรรมดา
(1) คำขอใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล พร้อมสำเนา 2 ฉบับ
(2) รายละเอียดประวัติบุคคล พร้อมสำเนา 3 ฉบับ(สำหรับผู้มีสัญชาติไทย) และสำเนา 4 ฉบับ (สำหรับผู้มีสัญชาติอื่นๆ)
(3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(4) สำเนาทะเบียนบ้าน
(5) สำเนาหลักฐานการได้มาซึ่งสัญชาติไทย (ถ้ามี)
(6) สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล (ถ้ามี)
(7) หลักฐานอื่นๆ ที่กรมการบินพาณิชย์ให้แจ้งหรือให้ส่งเพิ่มเติม (ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องลงลายมือชื่อรับรองเป็นสำเนาเอกสารถูกต้องทุกฉบับด้วย)
5.2 นิติบุคคล
(1) คำขอใบอนุญาตใช้อากาศส่วนบุคคล พร้อมสำเนา 2ฉบับ
(2) รายละเอียดประวัติบุคคล พร้อมสำเนา 3ฉบับ(สำหรับผู้มีสัญชาติไทยและ สำเนา 4 ฉบับ (สำหรับผุ้มีสัญชาติอื่นๆ)
(3) เอกสารแสดงการจัดตั้ง การจดทะเบียน ขอบวัตถุประสงค์ ผู้แทนนิติบุคคล ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นของนิติบุคคล
(4) เอกสารแสดงคุณสมบัติ ของผู้แทนของนิติบุคคล และผู้จัดการของนิติบุคคล นั้น ตามข้อ 5.1 (2) (3) (4) (5) และ (6)
(5) หลักฐานอื่นๆ ที่กรมการบินพาณิชย์ให้แจ้งหรือให้ส่งเพิ่มเติม (ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องลงลายชื่อรับรอง เป้นสำเนาเอกสารถูกต้องทุกฉบับด้วย)
6. การพิจารณาและการอนุญาต
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต คุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอ อนุญาต อายุใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล การพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตใช้อากาศยาน ส่วนบุคคล แบบใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล และเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตใช้อากาศยานบุคคล
เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 32 (พ.ศ.2535) ให้ไว้ ณ วันที่ 12 มีนาคม 2535 โดยกระทรวงคมนาคมมีนโยบายเกี่ยวกับ ขนาด น้ำหนัก และจำนวนที่นั่งของอากาศยาน และจำนวน อากาศยาน ว่าจะพิจารณาอนุญาตให้ตามความจำเป็นของการใช้งาน เหมาะสมกับภารกิจการบิน และไม่มีผลกระทบต่อบริการของเที่ยวบินประจำ
7. การขออนุญาตนำอากาศยานเข้าราชอานาจักร เมื่อทางราชการ (รัฐมนตรีการกระทรวงคมนาคม) อนุญาตให้ใช้เป็นอากาศยานส่วนบุคคล แต่อากาศยานตามที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เป็นอากาศยานที่มีเครื่องหมายสัญชาติและ ทะเบียนต่างประเทศและยังอยู่ต่างประเทศ การนำอากาศยานทำการบินเข้ามาในราชอานาจักรนั้น จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี โดยยื่นคำขอตามแบบฟอร์มคำขอ ATD 2ต่อกรมการบิน พาณิชย์ (กองควบคุมกิจการเดินอากาศ ) ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3วัน (แต่หากเป็นอากาศยานที่มีน้ำหนัก สูงสุดเมื่อบินขึ้นไม่เกิน 5,700 กิโลกรัม และเฮลิคอปเตอร์ ต้องยื่นคำขอล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน)

วิธีการยื่นคำขอ สามารถจะมายื่นด้วยตนเอง หรือแจ้งทางโทรสาร 287-3139 หรือ Commercial Telex 72099 DEPAVIA หรือ AFTN –Aeronautical Fixed Telecommunication Network ที่อยู่ VTBAYAYD สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 286-8157
นอกจากนี้ การนำอากาศยานเข้ามาในราชอานาจักรดังกล่าว จะต้องทำการบิน ส่งมายังสนามบินศุลกากรเท่านั้น ได้แก่สนามบินดอนเมือง เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต เป็นต้น และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการตรวจคนเข้าเมือง และพิธีการศุลกากร (เช่น รายการอากาศ ยาน เข้า-ออกภายใน 24ชั่วโมง นับจากอากาศยานมาถึงสนามบิน จัดให้อากาศยานอยู่ในอารักขา ของศุลกากรทันทีที่มาถึงสนามบิน การเคลื่อนย้ายอากาศยานจะต้องแจ้งให้ศุลกากรทราบ และจะต้องชำระภาษีศุลกากรให้ถูกต้อง- เมื่อศุลกากรได้ตรวจปล่อยแล้ว ก็จะออกใบรับรองการนำเข้า(แบบที่ 32 ) เพื่อนำไปเป็นหลักฐานว่าได้ชำระอากรและผ่านการตรวจปล่อยจากศุลกากรโดยถูกต้อง )
8.การดำเนินการเพื่อรับใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล เมื่อนำอากาศยานเข้ามาในราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้ว ผู้รับอนุญาตให้ใช้อากาศ
ยานส่วนบุคคล เมื่อได้ดำเนินการ ดังนี้
8.1อากาศยานได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
8.2พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบอากาศยานแล้ว เห็นว่า สมควรให้ใช้เป็น
อากาศยานส่วนบุคคลได้
8.3จัดให้มีการประกันภัยอากาศยาน สำหรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิต
ร่างกายตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลที่สาม ตามเงื่อนไขและวงเงินประกันภัยที่ได้รับอนุมัติจากกรมการ
บินพาณิชย์ (ยกเว้นอากาศยานของส่วนราชการ ) และ
8.4 ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล ( ยกเว้นอากาศยานส่วนราชการ )
การยื่นคำขอจดทะเบียนอากาศยาน การเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน และการนำ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอากาศยาน ให้ติดต่อได้ที่กองความปลอดภัยในการเดินอากาศ กรมการบินพาณิชย์ ทั้งนี้ จะต้องนำหลักฐานเกี่ยวกับคู่มือการซ่อมบำรุง (General Maintenance Manual ) และคู่มือปฏิบัติการบิน (Flight Operation Manual ) มาแสดงด้วย อากาศยานดังกล่าว หากยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุกรณีฉุกเฉิน (Emergency Locator Transmitter-ELT ) ต้องติดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันแต่หากติดตั้งอุปกรณ์ ELT ไว้แล้วต้องซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้ ภายใน 90 วัน
การประกันภัยอากาศยาน ให้ยื่นหลักฐานต่อกองควบคุมกิจการเดินอากาศ กรมการบินพาณิชย์ แสดงการจัดทำประกันภัยอากาศยานสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลที่สาม ตามเงื่อนไขและวงเงินประกันภัยที่ได้รับอนุมัติจากกรมการบินพาณิชย์ซึ้งกำหนดวงเงินประกันดังนี้

สำหรับเครื่องบินปีกแข็ง (Fixed Wing )
-น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม วงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 5ล้านบาทต่อครั้ง
-น้ำหนักเกินกว่า500 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 2,700กิโลกรัมวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อครั้ง
-น้ำหนักเกินกว่า2,700กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 5,700กิโลกรัมวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 20ล้านบาทต่อครั้ง
-น้ำหนักเกินกว่า5,700กิโลกรัม วงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 50ล้านบาทต่อครั้ง สำหรับเฮลิคอปเตอร์ (Helicpter )
-น้ำหนักไม่เกิน 2,700กิโลกรัม วงเงินประกันไม่ต่ำกว่า20ล้านบาทต่อครั้ง
-น้ำหนักเกินกว่า2,700กิโลกรัม วงเงินประกันไม่ต่ำกว่า50ล้านบาทต่อครั้ง
การชำระเงินค่าธรรมเนียม ในการออกใบอนุญาตให้ใช้อากาศยานส่วนบุคคล ฉบับละ 5,000-บาท (ห้าพันบาทถ้วน )ต่อใบอนุญาต 1 ฉบับต่ออากาศยาน 1 ลำ โดยยื่นต่อกองควบคุม กิจการเดินอากาศ เพื่อยื่นต่อกองคลัง กรมการพาณิชย์ (ควรมายื่นก่อนเวลา 15.00 น )
เมื่อผู้รับอนุญาตได้ดำเนินการตาม 8.1 –8.4 เรียบร้อยแล้ว ทางราชการจะออกใบอนุญาตให้ใช้อากาศยานส่วนบุคคลให้ตามระเบียบต่อไป และส่งสำเนาใบอนุญาตให้ใช้อากาศยาน ส่วนบุคคลให้กระทรวงคมนาคมเพื่อทราบ
ใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกให้ สำหรับอากาศยานส่วนบุคคลลำใด ให้ใช้ได้เฉพาะอากาศยานส่วนบุคคลลำนั้น
ผู้รับใบอนุญาต ต้องปฏิบัติเงื่อนไขที่กำหนดไว้แนบท้ายใบอนุญาต และห้ามมิให้ผู้ใด นำอากาศยานส่วนบุคคลทำการบิน เว้นแต่จะมีใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลติดไปกับอากาศยานด้วย
การนำเข้าเครื่องวิทยุสื่อสารประจำอากาศยาน เนื่องจากอากาศยานที่นำเข้ามา ในราชอาราจักร ย่อมมีเครื่องวิทยุสื่อสารประจำอากาศยานด้วย ผู้นำเข้าอากาศยานต้องยื่นคำขออนุญาต เป็นหนังสือต่อกรมไปรษณีย์โทรเลข ถึงผู้อำนวยการกองใบอนุญาตวิทยุคมนาคม ขออนุญาตนำเข้าเครื่อง วิทยุคมนาคมที่ติดตั้งมากับอากาศยาน โดยระบุแบบ วัน เวลานำเข้า และเอกสารประกอบด้วย ดังนี้
( 1. )ใบสำเนาทะเบียนบ้าน
( 2 )ใบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
( 3 )หลักฐานการจดทะเบียนอากาศยานกับกรมการบินพาณิชย์
( 4 )ถ้ามอบให้ผู้อื่นมายื่นแทน ขอให้แนบใบมอบอำนาจมาด้วย รายละเอียด ติดต่อได้ที่ ฝ่ายกจิการทางน้ำและอากาศยาน กองใบอนุญาตวิทยุคมนาคม กรมไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ 271-0151-60 ต่อ 710
9.การขอต่อใบอนุญาต
เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะใช้อากาศยานส่วนบุคคลต่อไปอีก ให้ยื่นคำขอรับใบ
อนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล พร้อม รายละเอียดประวัติบุคคล ต่อการบินพาณิชย์ก่อนวันที่
ใบอนุญาตสิ้นสุดอายุไม่น้อยกว่าหกสิบวัน แบบฟอร์มคำขอ และแบบฟอร์มรายละเอียดประวัติบุคคล
ขอรับได้ที่ ฝ่ายเดินอากาศไทย กองควบคุมกจิการเดินอากาศ กรมการบินพาณิชย์
เลขที่ 71 ซอยงามดูพลี ถนนพระรามสี่ แขวนทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ 286-8157 โทรสาร 287-3139
10.หลักเกณฑ์ในการบินเดินทางภายในประเทศ
อากาศยานส่วนบุคคลของไทย ที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้เป็นอากาศยานส่วนบุคคลได้แล้วทั้งของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั่วไป สามารถทำการบินเดินทางภายในประเทศได้ดังนี้
10.1การบินเดินทางมายัง – ไปจากสนามบินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการบิน
พาณิชย์ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย กองทัพเรือ (เฉพาะสนามบินนานาชาติระยอง-อู่ตะเภา )
ให้ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ปฏิบัติการบินทำการบินได้โดยแจ้งแผนการบิน ( Flight plan ) ต่อหอบังคับการบิน
ณ สนามบินต้นทางล่วงหน้า อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนทำการบิน
10.2การทำการบินขึ้น-ลง สนามบินอื่นๆ นอกเหนือจาก ข้อ10.1 ที่ขึ้น-ลงชั่วคราวอื่นๆ
และสนามบินทหาร ให้ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ปฏิบัติการบินขออนุญาตทำการบิน (Flight permit)จากหน่วย
งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุม ดูแล สนามบินหรือที่ขึ้น-ลงชั่วคราวของอากาศยาน ซึ่งได้รับใบอนุญาต
ให้จัดตั้งเป็นที่ขึ้น-ลงสำหรับอากาศยานและใบอนุญาตยังมีผลใช้ได้อยู่ และจะต้องได้รับอนุญาตจาก
หน่วยงานนั้นๆก่อนแจ้งแผนการบิน (Flight Plan) ต่อหอบังคับการบิน ณ สนามบินต้นทางล่วงหน้า
อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนทำการบิน
11.หลักเกณฑ์ในการบินเดินทางไปต่างประเทศ
อากาศยานส่วนบุคคลของไทย ที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้เป็นอากาศยานส่วนบุคคลได้แล้วทั้งของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั่วไปสมารถทำการบินเดินทางไปต่างประเทศได้ดังนี้
11.1ยื่นคำทำการบินออกนอกราชอาณาจักร มายังกรมการบินพาณิชย์ โดยระบุ
-ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ได้รับอนุญาต และเลขที่ใบอนุญาต
-รายละเอียดอากาศยาน จำนวน แบบ เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน
-สมรรถนะของอากาศยาน (Flight Rule and Status)
-กำหนดการบิน (วัน เวลา เส้นทางบิน สนามบิน สนามบินสำรอง )
-ชื่อผู้ประจำหน้าที่ในอากาศยาน และชื่อผู้โดยสาร
-วัตถุประสงค์ในการบิน
-รายละเอียดการบินอื่นๆ เช่น ความเร็ว ระดับความสูงในการบิน เป็นต้น
โดยยื่นคำขอล่วงหน้ายังกรมการบินพาณิชย์ อย่างน้อย 3 วัน(หากบินแบบ VFRหรือ เป็นเฮลิคอปเตอร์
ให้ยื่นคำขอล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ) และได้รับอนุญาต ( Flight Permit ) จากกรมการบินพาณิชย์ก่อน
11.2การบินผ่าน และการบินแวะลง ประเทศอื่น ๆ ในการบินเดินทางออกไปต่างประเทศหากการบินนั้น จะต้องบินผ่านเหนือ หรือบินแวะลงในอาณาเขตของประเทศใด ผู้รับใบอนุญาต จะต้องขออนุญาตประเทศ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับอนุญาตให้บินผ่าน และอนุญาตให้บินแวะลง ในประเทศเหล่านั้นก่อนจะทำการบินออกจากประเทศไทย ระเบียบการขอบินผ่าน และระเบียบการขอ
บินแวะลง ในอาณาเขตของประเทศต่าง ๆ สมารถศึกษาได้จากเอกสาร AIP(Aeronautical lnformation Publication ) ของประเทศที่เกี่ยวข้อง file:hp-อากาศยานส่านบุคคลไทย

7.การขออนุญาตนำอากาศยานเข้าราชอาณาจักร
เมื่อทางราชการ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) อนุญาตให้ใช้เป็นอากาศยานส่วน บุคคลได้แล้ว แต่อากาศยานตามที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เป็นอากาศยานที่มีเครื่องหมายสัญชาติ และทะเบียนต่างประเทศ และยังอยู่ต่างประเทศ การนำอากาศยานทำการบินเข้ามาในราชอานาจักรนั้นจะต้องได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากรัฐมนตรี โดยยื่นคำขอตามแบบฟอร์ม คำขอ ATD 2ต่อกรมการบินพาณิชย์ (กองควบคุมกิจการเดินอากาศ) ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3วัน (แต่หากเป็นอากาศยานที่มี
น้ำหนักสูงสุดเมื่อบินขึ้นไม่เกิน 5.700 กิโลกรัม และเฮลิคอปเตอร์ ต้องยื่นคำขอล่วงหน้าไม่น้อยกว่า15วัน)
วิธีการยื่นคำขอ สามารถจะมายื่นด้วยตนเอง หรือแจ้งโทรสาร 287-3139 หรือ
Commerial Telex 72099 DEPAVIA TH หรือ AFTN-Aeronautical Fixed Telecommunication Network ที่อยู่ VTBYAYD สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรสาร 286-8157
นอกจากนี้ การนำอากาศยานเข้ามาในราชอาณาจักรดังกล่าว จะต้องทำการบินนำส่งมา ยังสนามบินศุลกากรเท่านั้น ได้แก่ สนามบินดอนเมือง เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต เป็นต้น และจะต้อง ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการตรวจคนเข้าเมือง และพิธีการศุลกากร (เช่น รายงานอากาศยานเข้า-ออก ภายใน 24ชั่วโมง นับจากอากาศยานมาถึงสนามบินืจัดให้อากาศยานอยู่ในอารักขาของศุลกากรทันที ที่มาถึงสนามบิน การเคลื่อนย้ายอากาศยานจะต้องแจ้งให้ศุลกากรทราบ และต้องชำระภาษีศุลกากร ให้ถูกต้อง เมื่อศุลกากรได้ตรวจปล่อยแล้วก็จะออกใบรับรองการนำเข้า(แบบที่32) เพื่อนำไปเป็นหลักฐาน
ว่าได้ชำระอากรและผ่าน การตรวจปล่อยจากศุลกากรโดยถูกต้อง)
8.การดำเดินการเพื่อรับใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล เมื่อนำอากาศยานเข้ามาในราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้ว ผู้รับอนุญาตให้ใช้อากาศยาน ส่วนบุคคล เมื่อได้ดำเนินการ ดังนี้

8.1 อากาศยานได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
8.2 พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับตรวจสอบอากาศยานแล้ว เห็นว่า สมควรให้ใช้เป็นอากาศยานส่วนบุคลได้

ข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน
ฉบับที่ ๔๓ เรื่อง อากาศยานเบาพิเศษ
เนื่องจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนมีความประสงค์ จะใช้อากาศยานเบาพิเศษทำการบินภายในประเทศ เพื่อภารกิจของทางราชการ และ ประโยชน์ด้านการกีฬา สมควรกำหนดมาตราการควบคุมด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติการบินอากาศยานเบาพิเศษ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อากาศยานและสาธารณชน
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๑๕ มาตรา ๒๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๔(๓) มาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ คณะกรรมการการบินพลเรือน โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกข้อบังคับเกี่ยวกับอากาศยานเบาพิเศษไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในข้อบังคับนี้
“อากาศยานเบาพิเศษ” หมายความว่า อากาศยานหนักกว่าอากาศซึ่งได้รับแรงยกในการบินส่วนใหญ่จากแรงพลวัตของอากาศ และมีน้ำหนักสูงสุด เมื่อบินขึ้นตาม ที่ระบุไว้ในคู่มือการบินไม่เกิน ๕00 กิโลกรัม
“ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน
ข้อ ๒ อากาศยานเบาพิเศษแบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
(๑) ประเภทไม่มีกำลังขับเคลื่อน ต้องมีน้ำหนักตัวเปล่าไม่เกิน ๗๕ กิโลกรัม
(๒) ประเภทมีกำลังขับเคลื่อน ๑ ที่นั่ง ต้องมีน้ำหนักตัวเปล่า โดยไม่รวมทุ่นหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีไว้ใช้ในสภาวะอันตรายไม่เกิน ๑๖๐ กิโลกรัม ความเร็วสูงสุดไม่เกิน ๕๕ น๊อต ความเร็วร่วงหล่นไม่เกิน ๒๔ น๊อต และมีถังเชื้อเพลิงที่มีความจุไม่เกิน ๒๐ ลิตร
(๓) ประเภทมีกำลังขับเคลื่อน ๒ ที่นั่ง ต้องมีน้ำหนักตัวเปล่า โดยไม่รวมทุ่นหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีไว้ใช้ในสภาวะอันตรายไม่เกิน ๒๕๐ กิโลกรัม ความเร็วสูงสุดไม่เกิน ๙๐ น๊อต ความเร็วร่วงหล่นไม่เกิน ๔๕ น๊อต และมีถังเชื้อเพลิงที่มีความจุไม่เกิน ๕๐ ลิตร
ข้อ ๓ อากาศยานเบาพิเศษ ให้ใช้ทำการบินได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเพื่อการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและการฝึกบินเท่านั้น
ในกรณีที่สมาคมหรือมูลนิธิใดประสงค์จะใช้ทำการบินเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจการของสมาคมหรือมูลนิธิจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กรมการบินพาณิชย์ก่อน
ผู้ที่จะทำการบินกับอากาศยานเบาพิเศษ ที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ นอกจากจะต้องได้รับใบอนุญาตนักบินแล้ว จะต้องเป็น สมาชิกหรือ เจ้าหน้าที่ของสมาคมมูลนิธิ หรือชมรมที่กรมการบินพาณิชย์เห็นชอบในระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับ การบินแล้ว
อากาศยานเบาพิเศษให้ใช้ทำการบินได้ภายในห้วงเวลา พื้นที่ ความสูงตามเงื่อนไขและกฎการบินที่กรมการบินพาณิชย์กำหนด
ข้อ ๔ เครื่องหมายสัญชาติและเครื่องหมายการจดทะเบียนสำหรับอากาศยานเบาพิเศษให้เป็นไปตามข้อบังคับ ฉบับที่ ๖ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๐ เว้นแต่เครื่องหมายสัญชาติที่เขียนไว้บนอากาศยานเบาพิเศษให้ใช้ตัวอักษรโรมัน ตัว 1 นำหน้าเครื่องหมาย การจดทะเบียนและเครื่องหมายการจดทะเบียนให้ประกอบด้วยตัวอักษรโรมันหนึ่งตัวและหมู่เลขอารบิคสองตัวตาม ที่กรมการบินพาณิชย์กำหนด
ข้อ ๕ ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตแก่ผู้ประจำหน้าที่ผู้ขออนุญาตเป็นนักบินส่วนบุคคลประเภทอากาศยานเบาพิเศษจะต้องมีอายุ สุขภาพร่างกาย ความรู้และความชำนาญ ดังต่อไปนี้
(๑) อายุไม่ต่ำกว่า ๑๗ ปีบริบูรณ์
(๒) สุขภาพร่างกาย มีความสามารถในการมองเห็น การได้ยิน และโครงสร้างร่างกายสมบูรณ์เพียงพอ ที่จะทำการบินกับ อากาศยานเบาพิเศษ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับอากาศยานเบาพิเศษ ในเรื่องดังต่อไปนี้
ก. ทฤษฎีการบินพื้นฐาน เครื่องวัดประกอบการบิน กฎการบินและอุตุนิยมวิทยา
ข. โครงสร้าง เครื่องยนต์ ระบบควบคุม สมรรถนะและข้อจำกัดต่างๆ ของอากาศยานเบาพิเศษ
ค. การถอดประกอบ และการซ่อมบำรุงรักษาขั้นพื้นฐานต่างๆ ตามที่กำหนดในคู่มือของอากาศยานเบาพิเศษ
ง. กฎและระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ถือใบอนุญาตนักบินเครื่องบินส่วนบุคคลประเภทอากาศยานเบาพิเศษ
จ. การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยและวิธีปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินซึ่งรวมทั้งการปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลอื่น
(๔) ความชำนาญ
ก. ประเภทไม่มีกำลังขับเคลื่อน ได้รับการฝึกบินภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่กรมการบินพาณิชย์หรือครูการบินที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๖ และสามารถทำการบินได้ หรือแสดงให้เห็นว่าสามารถทำการบินได้
ข. ประกาศกระทรวงคมนาคมประเภทมีกำลังขับเคลื่อนได้รับการฝึกบิน ภายใต้การควบคุมดูแลของ เจ้าหน้าที่กรมการบินพาณิชย์ หรือครูการบิน ที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๖ และมีชั่วโมงบินไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง โดยมีชั่วโมงบินเดี่ยวไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง และจะต้องทำการบินขึ้นลงไม่น้อยกว่า ๔๕ เที่ยว
ข้อ ๖ ผู้ถือใบอนุญาตนักบินหรือผู้ถือใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคลประเภทอากาศยานเบาพิเศษ ที่จะทำหน้าที่เป็น ครูการบินอากาศยานเบาพิเศษ จะต้องสามารถสอนความรู้เกี่ยวกับอากาศยานเบาพิเศษตามข้อ ๕(๓) และมีประสบการณ์ในการบิน กับอากาศยานเบาพิเศษประเภทนั้นๆ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ ชั่วโมง
ข้อ ๗ สิทธิและหน้าที่ของผู้ถือใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล ประเภทอากาศยานเบาพิเศษ ให้เป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับ การออกใบอนุญาตแก่ผู้ประจำหน้าที่และมีสิทธิทำการบิน ถอดประกอบ ซ่อมบำรุงรักษา รับรองการตรวจ การบำรุงรักษา และการบริการตามปกติของอากาศยานเบาพิเศษ แต่จะใช้สิทธินี้ไม่ได้ ถ้าหากผู้ถือใบอนุญาตมิได้ศึกษาให้ทันสมัยซึ่งข่าวสาร คำแนะนำและคู่มือทั้งปวงเกี่ยวกับการบำรุงรักษา และความสมควรเดินอากาศของอากาศยานเบาพิเศษ
ข้อ ๘ ผู้ถือใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคลประเภทอากาศยานเบาพิเศษ ต้องปฏิบัติตามวินัย ดังต่อไปนี้
(๑) จะต้องบันทึกรายการในสมุดปูมเดินทางตามแบบที่กรมการบินพาณิชย์เห็นชอบทุกครั้งที่ทำการบิน และจะต้องเก็บรักษาไว้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
(๒) จะต้องทำการบินภายในห้วงเวลา บริเวณพื้นที่ ความสูง และเงื่อนไขที่กรมการบินพาณิชย์กำหนดไว้โดยเคร่งครัด หากไม่แน่ใจในแนวเขตให้สอบถามให้ชัดเจน และให้ถือแนวในสุดที่แน่ใจสำหรับการทำการบิน
(๓) จะต้องไม่ทำการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น
(๔) จะต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายในระยะเวลา ๘ ชั่วโมงก่อนทำการบิน
ข้อ ๙ ผู้ถือใบอนุญาตนายช่างภาคพื้นดินประเภทสอง มีสิทธิตามข้อบังคับเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเป็น นายช่างภาคพื้นดิน และสิทธิของผู้ถือใบอนุญาตนายช่างภาคพื้นดินและมีสิทธิถอด ประกอบ ซ่อมบำรุงรักษา รับรองการตรวจการบำรุงรักษา การบริการตามปกติ และการดัดแปลงเล็กน้อย ที่ไม่กระทบกับ สมรรถนะการบินของอากาศยานเบาพิเศษ หรือตามที่ได้รับ อนุญาตไว้แล้ว แต่จะใช้สิทธินี้ไม่ได้ ถ้าผู้ถือใบอนุญาตมิได้ศึกษาให้ทันสมัย ซึ่งข่าวสารคำแนะนำ และคู่มือทั้งปวงเกี่ยวกับ การบำรุงรักษาและความสมควรเดินอากาศยานเบาพิเศษ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๙

วันมูหะมัด นอร์ มะทา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ประธานคณะกรรมการการบินพลเรือน

หลักเกณฑ์ วิธีการ การขออนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล (อากาศยานเบาพิเศษ : Very Light Aircraft)
คำนำ
เนื่องจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2534 รัฐบาลอนุญาตให้เอกชนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสามารถใช้อากาศยานส่วนบุคคลได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาการขนส่งทางอากาศและให้มีบุคลากรเกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศและให้มีบุคลากรเกี่ยวกับ การขนส่งทางอากาศมากขึ้น เป็นกำลังสำรองของประเทศที่อาจเรียกมาใช้ได้เมื่อมีความจำเป็น แต่การให้เอกชน สามารถใช้อากาศยานส่วนบุคคลได้นั้น อาจมีผลกระทบไปถึงความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมอย่างเคร่งครัด โดยบังคับให้ผู้ใดที่ประสงค์จะใช้อากาศยานส่วนบุคคล จะต้องขอรับใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีมีดุลยพินิจโดยเด็ดขาด ที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ต่อมามีหน่วยงานของรัฐ และเอกชนทั่วไป มีความประสงค์จะใช้อากาศยานขนาดเบาพิเศษ ทำการบินภายในประเทศ เพื่อภารกิจของทางราชการและประโยชน์ด้านการกีฬา จึงสมควรกำหนดมาตรการควบคุม ด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติการบินของอากาศยานเบาพิเศษ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อากาศยานและสาธารณ
1. คำนิยาม
“ อากาศยานเบาพิเศษ” หมายความว่า อากาศยานหนักกว่าอากาศ ซึ่งได้รับแรงยกในการบินส่วนใหญ่จาก แรงพลวัตของอากาศ และมีน้ำหนักสูงสุดเมื่อบินขึ้นตามที่ระบุไว้ในคู่มือการบิน ไม่เกิน 500 กิโลกรัม อากาศยานเบาพิเศษ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
(1) ประเภทไม่มีกำลังขับเคลื่อน ต้องมีน้ำหนักตัวเปล่าไม่เกิน 75 กิโลกรัม
(2) ประเภทมีกำลังขับเคลื่อน 1 ที่นั่ง ต้องมีน้ำหนักตัวเปล่าโดยไม่รวมทุ่นหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีไว้ใช้ในสภาวะอันตรายไม่เกิน 160 กิโลกรัม มีความเร็วสูงสุดไม่เกิน 55 น๊อต ความเร็วร่วงหล่นไม่เกิน 24 น๊อต และถังเชื้อเพลิงมีความจุไม่เกิน 20 ลิตร
(3) ประเภทมีกำลังขับเคลื่อน 2 ที่นั่ง ต้องมีน้ำหนักตัวเปล่าโดยไม่รวมทุ่นหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีไว้ใช้ในสภาวะอันตรายไม่เกิน 250 กิโลกรัม มีความเร็วสูงสุดไม่เกิน 90 น๊อต และถังเชื้อเพลิงมีความจุไม่เกิน 50 ลิตร
2. ความมุ่งหมาย วัตถุประสงค์
อากาศยานเบาพิเศษให้ใช้ทำการบินได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเพื่อการกีฬา การผักผ่อนหย่อนใจ และการฝึกบินเท่านั้น
ในกรณีที่สมาคมหรือมูลนิธิใดประสงค์จะใช้ทำการบินเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจการของสมาคม หรือมูลธินิจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากกรมการขนส่งทางอากาศ (กรมการบินพาณิชย์) ก่อน
3. การขออนุญาต
ผู้มีความประสงค์จะใช้อากาศยานเบาพิเศษในการเดินอากาศให้ขอรับแบบพิมพ์คำขออนุญาตพร้อมแบบพิมพ์การสอบประวัติบุคคลได้ที่ กรมการขนส่งทางอากาศ (สำนักกำกับกิจการขนส่งทางอากาศ) ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัทพ์ 0-2286-8157 โทรสาร 0-2287-3139
4. หลักเกณฑ์ และวิธีการขออนุญาต
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาต คุณสมบัติ และลักษณะของผู้ขอใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ การเพิกถอนใบอนุญาต แบบใบอนุญาตและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 32 (พ.ศ.2535) ลงวันที่ 12 มีนาคม 2535 ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 9 ) พ.ศ.2534
5. คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
(ก) บุคคลธรรมดา ซึ่ง
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
(2) ไม่เป็นผู้มีพฤติการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
(3) ไม่เคยต้องโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(4) จะต้องได้รับใบอนุญาตนักบินและเป็นสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม มูลนิธิ หรือชมรมที่กรมการขนส่งทางอากาศ (กรมการบินพาณิชย์) เห็นชอบในระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบินแล้ว
(ข) เป็นสมาคม หรือมูลนิธิ ซึ่งผู้แทนสมาคม หรือมูลนิธิ มีคุณสมบัติตามข้อ (ก) และกรมการขนส่งทางอากาศเห็นชอบในระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบินแล้ว
(ค) กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การของรัฐบาลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
6. เอกสารที่ต้องยื่นประกอบการพิจารณา
นอกจากที่ยื่นแบบพิมพ์คำขออนุญาตพร้อมแบบพิมพ์รายละเอียดประวัติบุคคลที่กรมการขนส่งทางอากาศ กำหนดแล้ว ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นเอกสารหรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(ก) บุคคลธรรมดา
(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
(2) สำเนาทะเบียนบ้าน
(3) สำเนาใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคลประเภทอากาศยานเบาพิเศษ
(4) สำเนาหลักฐานที่แสดวงว่าเป็นสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม มูลนิธิ หรือชมรมที่กรมการขนส่งทางอากาศเห็นชอบในระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบินแล้ว
(5) สำเนาหลักฐานการได้มาซึ่งสัญชาติไทย หรือหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล (ถ้ามี)
(6) หลักฐานอื่นๆ ที่กรมการขนส่งทางอากาศให้แสดงหรือจัดส่งเพิ่มเติม
(ข) มูลนิธิ สมาคม หรือชมรม
(1) หลักฐานแสดงคุณสมบัติของผู้แทนสมาคม มูลนิธิ ตามข้อ (ก) (1)-(2)
(2) หลักฐานแสดงการจัดตั้ง การจดทะเบียนของสมาคม มูลนิธิ
(3) ระเบียบ ข้อบังคับของสมาคม หรือมูลนิธิ
(4) ข้อบังคับว่าด้วยการบินของสมาคม หรือมูลนิธิ
(5) หลักฐานอื่นๆ ที่กรมการขนส่งทางอากาศขอให้แจ้งหรือส่งเพิ่มเติม (ถ้ามี)
7. หลักเกณฑ์การพิจารณาและอนุญาต
โดยที่การอนุญาตให้มีและใช้อากาศยานส่วนบุคคล (อากาศยานเบาพิเศษ) เป็นดุลพินิจโดยเด็ดขาดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และการพิจารณาเป็นไปตามนัยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2534 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2535) และข้อบังคับคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 43 เรื่อง อากาศยานเบาพิเศษ
8. การออกใบอนุญาตให้ใช้อากาศยานส่วนบุคคล (อากาศยานเบาพิเศษ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ใช้อากาศยานส่วนบุคคล (อากาศยานเบาพิเศษ) แล้วผู้รับอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตให้ใช้อากาศยานส่วนบุคคล เมื่อได้ดำเนินการดังนี้
(1) อากาศยานได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ (certificate of registration .0. very light aircraft)
(2) อากาศยานได้รับใบสำคัญสมควรเดินอากาศแบบพิเศษ (special airworthiness certificate)
(3) จัดให้มีการประกันภัยจากอากาศยานเบาพิเศษ โดยผู้ขอจะต้องทำเป็นหนังสือยื่นรายละเอียดและเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ ชีวิต ร่างกาย ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลที่สามเพื่อขอความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางอากาศ และห้ามมิให้นำอากาศยานเบาพิเศษทำการบินในระหว่างเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นอายุและกำหนดวงเงินประกันไว้ ดังนี้
(ก) อากาศยานซึ่งมีน้ำหนักตัวเปล่าไม่เกิน 75 กิโลกรัม โดยไม่รวมทุ่นหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีไว้ใช้ในสภาวะอันตราย กำหนดวงเงินประกันภัยไม่ต่ำกว่า 500,000 บาทต่อครั้ง
(ข) อากาศยานซึ่งมีน้ำหนักตัวเปล่าเกินกว่า 75 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 250 กิโลกรัม โดยไม่รวมทุ่นหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีไว้ใช้ในสภาวะอันตราย กำหนดวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อครั้ง
(ค) อากาศยานซึ่งมีน้ำหนักตัวเปล่าเกินกว่า 250 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 500 กิโลกรัม โดยไม่รวมทุ่นหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีไว้ใช้ในสภาวะอันตราย กำหนดวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาทต่อครั้ง
(4) การชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้อากาศยานเบาพิเศษ ฉบับละ 5,000 บาท และใบอนุญาต 1 ฉบับต่ออากาศยานเบาพิเศษ 1 ลำ และมีกำหนด 5 ปี
ความใน (3) และ (4) มิใช้บังคับแก่อากาศยาน(เบาพิเศษ)ของส่วนราชการ

เมื่อผู้รับอนุญาตได้ดำเนินการตามนัย (1) (2) (3) และ (4) เรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางอากาศจะดำเนินการออกใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล (อากาศยานเบาพิเศษ)ต่อไป
9. การปฏิบัติการบิน
โดยที่อากาศยานส่วนบุคคลประเภทเบาพิเศษ ( Very Light Aircraft ) มีคุณสมบัติ
ต่างไปจากอากาศยานส่วนบุคคลทั่วไป และจำกัดความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการใช้อากาศยานเบาพิเศษให้เป็นไปเพื่อภารกิจของราชการ และประโยชน์ด้านการกีฬา การพักผ่อน
หย่อนใจและการฝึกบินเท่านั้น ดังนั้น จึงกำหนดมาตรการควบคุมด้านความปลอดภัยและการ
ปฏิบัติการบินของอากาศยานเบาพิเศษไว้ เพื่อให้การปฏิบัติการบินเป็นไปโดยความปลอดภัย
ได้แก่
(1) บริเวณ พื้นที่ที่จะใช้อากาศยานเบาพิเศษจะต้องได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งที่ขึ้นลง
ชั่วคราวของอากาศยานและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งใบอนุญาตจัดตั้งฯ
(2) การทำการบินจะต้องอยู่ในห้วงเวลา บริเวณ ระยะความสูง ทิศทาง วงจรการบิน
(3) การออกประกาศนักบิน ( NOTAM ) หรือมาตรการควบคุมด้านความปลอดภัยอื่น
ที่กรมการขนส่งทางอากาศกำหนด เป็นต้น

ข้อควรระวัง
ตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497
มาตรา 4 อากาศยานส่วนบุคคล หมายความว่า อากาศยานซึ่งใช้หรือมุ่งหมายสำหรับใช้เพื่อ
ประโยชน์ในกิจการอันมิใช่เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้า
มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดนำอากาศยานทำการบิน เว้นแต่มีสิ่งเหล่านี้อยู่กับอากาศยานนั้น คือ
(1) ใบสำคัญการจดทะเบียน
(2) เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน
(3) ใบสำคัญสมควรเดินอากาศ
(4) สมุดปูมเดินทาง
(5) ใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่แต่ละคน
(6) ใบอนุญาตเครื่องวิทยุสื่อสาร ถ้ามีเครื่องวิทยุสื่อสาร
ความในมาตรนี้ไม่ใช้บังคับแก่
(1) อากาศยานที่ทำการบินทดลองภายใต้เงื่อนไขซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
(2) อากาศยานทหารต่างประเทศ
มาตรา 29 ทวิ วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ผู้ใดใช้อากาศยานส่วนบุคคลในการเดินอากาศ เว้นแต่จะได้รับใบ
อนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลจากรัฐมนตรี
มาตรา 29 ทวิ วรรคสอง ผู้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แนบท้าย
ใบอนุญาต
มาตรา 29 เบญจ ห้ามมิให้ผู้ใดนำอากาศยานส่วนบุคคลทำการบิน เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามมาตรา16 และมีใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลติดไปกับอากาศยาน ด้วย
มาตรา 68 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา16 มาตรา29 เบญจ หรือมาตรา 62 ต้องระวางโทษปรับไม่
เกินสี่พันบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 68 ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา26 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสน
บาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 68 ตรี ผู้รับใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
ไว้แนบท้ายใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล ตามมาตรา 29 ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทและในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องกันให้ปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

กฎกระทรวงฉบับที่ 32 ( พ.ศ. 2535 )
ข้อ 5 เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะใช้อากาศยานส่วนบุคคลต่อไป ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหกสิบวัน
ข้อ 9 (12) ผู้รับใบอนุญาตต้องไม่จำนำ ให้เช่า ให้ยืมอากาศยานตามใบอนุญาตนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี

สำนักกำกับกิจการขนส่งทางอากาศ ( ส่วนการเดินอากาศภายในประเทศ )
โทร. 0-2286-8157
โทรสาร. 0-2287-3139
นาย มณี ขึ้นเอื้อย นักวิชาการขนส่ง 6 ว.


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 081-6895711 สมพจน์ Fax 02-7048660 E-mail sompoj@srp-consult.com