ความเสี่ยงส่วนบุคคล (Personal Risk)

คนเราทุกวันนี้ ล้วนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน และการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราไม่อาจคาดคะเนได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับเราในอนาคต เราต้องเสี่ยงกับความไม่แน่นอน และสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในทางดีหรือในทางร้าย เหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ดังกล่าวอาจเกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติ หรือจากการกระทำของผู้อื่น ซึ่งย่อมมีโอกาสส่งผลกระทบถึงเราได้เสมอ

ความเสี่ยง (Risk) คือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์หรือการกระทำใด ๆ ความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

ความเสี่ยงภัย (Risk) ในปัจจุบัน ยังไม่มีคำนิยามของคำว่า "ความเสี่ยงภัย" ให้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในทางทฤษฎีได้ให้ความหมายของคำว่า "ความเสี่ยงภัย" ไว้ต่างๆ กัน ดังนี้ 1. ความเสี่ยงภัย คือ โอกาสที่จะเกิดความเสียหาย (The Chance of Loss) 2. ความเสี่ยงภัย คือ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหาย (The Possibility of Loss) 3. ความเสี่ยงภัย คือ ความไม่แน่นอน (The Uncertainty) 4. ความเสี่ยงภัย คือ ความผันแปรของผลลัพธ์ที่แท้จริง จากผลลัพธ์ที่คาดไว้ (The Dispersion of Actual Results From Expected Results) 5. ความเสี่ยงภัย คือ ความน่าจะเป็นไปได้ของผลที่ออกมา แตกต่างไปจากสิ่งที่คาดไว้ (The Possibility of any outcome deferent from the one expected)

ภัย (Peril) หมายถึง สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย โดยทั่วไปเราสามารถที่จะจำแนก สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1. สาเหตุความเสียหายจากธรรมชาติ (Natural Perils) เป็นเหตุซึ่งอยู่นอกเหนือ ความสามารถที่มนุษย์จะควบคุมได้ เช่น ไฟไหม้ป่า, ลมพายุ, น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟระเบิด, การได้รับเชื้อโรคมะเร็ง ฯลฯ
2. สาเหตุความเสียหายจากบุคคล (Human Perils หรือ Man-Made Perils) เป็นการกระทำของมนุษย์ เช่น การลอบวางเพลิง, การโจรกรรม, การฆาตกรรม, การฆ่าตัวตาย, การจลาจล, การประมาทเลินเล่อ, การทุจริต, การยักยอกทรัพย์สินหรือเงินสดของนายจ้าง ฯลฯ
3. สาเหตุความเสียหายจากเศรษฐกิจ (Economic Perils or Business Perils) เกิดจากสภาพเศรษฐกิจ หรือสภาพธุรกิจของสังคม เช่น สภาพเงินเฟ้อ, สภาพเงินฝืด, การเปลี่ยนแปลงในรสนิยมของผู้บริโภค, ความเจริญก้าวหน้าในเทคโนโลยี ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถผลิตสินค้าที่มีขีดความสามารถ หรือประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น อย่างมาก แต่กลับมีราคาที่ถูกลง ทำให้ผู้ผลิตสินค้ารุ่นเก่าที่มีประสิทธิภาพน้อยหรือทำงานได้ช้า และมีราคาแพงประสบกับการขายสินค้าของตน ไม่ออก และต้องเลิกกิจการไปในที่สุดเป็นต้น

ความสูญเสีย (Loss) หมายถึง การลดลงหรือสูญเสียไปซึ่งมูลค่าอันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ที่ไม่แน่นอน

ประเภทของความสูญเสีย

เราสามารถแบ่งความสูญเสีย ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. การสูญเสียชีวิต หรือ การสูญเสียรายได้ของบุคคล ( Personal Loss ) เป็นการสูญ เสียที่เกิดจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเป็นบุคคลทุพพลภาพ การว่างงาน
2. การสูญเสียทรัพย์สิน ( Property Loss ) เป็นการสูญเสียไม่ว่าทางตรงหรือเป็นผลต่อ เนื่องจากภัยที่เกิดขึ้น
3. การสูญเสียทางการเงินอันเนื่องจากความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นตามกฏหมาย ( Legal Liability Loss ) เป็นความสูญเสียทางการเงินที่เป็น การรับผิดชอบ ของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือ ธุรกิจนั้นที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น

คนทุกคนกำลังเดินอยู่บนสะพานแห่งชีวิต ความผิดพลาดอาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าประมาทและขาดการวางแผนที่ดี ถึงแม้จะดำเนินชีวิตด้วย การวางแผนที่ดี และมีความรอบคอบเพียงใดก็ตาม แต่บางครั้งโชคไม่เข้าข้างก็อาจจะผิดพลาดได้เหมือนกัน เราคงเคยเห็นชมรมคนเคยรวย นักร้องตกยาก นักกีฬาตกอับ หรือดาราอับแสงกันอยู่บ่อยๆ คนบางคนถึงขั้นทำใจไม่ได้กับชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังเท้า บางคนต้องใช้เวลานานมากในการปรับตัว ให้เข้ากับสภาพของชีวิตที่ตกต่ำ ยิ่งคนไหนที่มีลักษณะที่เรียกกันว่า “จมไม่ลง” ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ให้ชีวิตสับสนมากยิ่งขึ้น เพราะสภาพแวดล้อม เปลี่ยนไปแล้ว แต่ใจยังทำใจให้ยอมรับไม่ได้
ถ้าสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเข้าเยือนชีวิตเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และสังคมรอบข้าง แต่คนเรามักจะไม่ค่อย ให้ความสำคัญกับมันมากนัก เพราะเราคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงที่มันเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยค่อยๆเป็นค่อยๆไป การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ และการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้กระทบต่อการดำรงชีพของเราโดยตรง เช่น ทุกวันมีคนเกิดและมีคนตาย แต่เราไม่มีความรู้สึกอะไร เพราะคนเหล่านั้นไม่ใช่ญาติพี่น้องเรา แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามการเกิดและการตายเข้ามาใกล้กับชีวิตของเรา ความรู้สึกต่อการเกิดและการตายของเราจะเปลี่ยนแปลงไป จากอารมณ์เฉยๆก็เปลี่ยนไปสู่อารมณ์ของการดีใจหรือเสียใจ หรือการตกงานมีให้เห็นทุกวันตามหน้าหนังสือพิมพ์ แต่เมื่อการตกงานเข้ามาถึงชีวิตของเรา เราก็จะรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว

ความเสี่ยงในชีวิตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จัดการได้ โดยการผ่อนหนักให้เป็นเบา ทำให้เกิดช้าลง ทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นน้อยลง เราคงจะเคยได้ยินคำว่า การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในเชิงธุรกิจกันมากบ้าง ยิ่งตอนนี้มีกฎหมายออกมาใหม่ให้สถานประกอบการ ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรงงานผลิตสารเคมีอันตราย โรงงานผลิตก๊าซอันตราย จะต้องมีการประเมินและจัดทำแผนบริหารจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ยังไม่เคยเห็นใครสอนเรื่องการบริหารความเสี่ยงในชีวิตเลย

ความเสี่ยงในชีวิตของคนเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

ความเสี่ยงในการดำรงชีวิต (Basic Risk) ความเสี่ยงประเภทนี้หมายถึง ความเสี่ยงต่อการอดข้าวอดน้ำ ไม่มีที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม การมีสังคม หรือปัจจัย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ ความเสี่ยงประเภทนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกสังคม คนส่วนมากสามารถบริหารและจัดการกับ ความเสี่ยงประเภทนี้ ได้ เพราะเป็นความเสี่ยงที่คนเราคุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด

ความเสี่ยงในการพัฒนาชีวิต ( Opportunity Risk) ความเสี่ยงประเภทนี้เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ชีวิตของคนดีขึ้นกว่าความเป็นมนุษย์ตามธรรมชาติ หรืออาจจะเรียกง่ายๆว่าเป็นความเสี่ยงแห่งโอกาสในการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น เช่น การเรียนรู้ก็จะมีความเสี่ยงที่จะมีการเรียนรู้ที่ผิดๆ หน้าที่การงานก็มีความเสี่ยงต่อความไม่ก้าวหน้าหรือก้าวหน้าช้ากว่าผู้อื่น ด้านการเงินก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้และเกิดภาวะขัดสน ด้านเกียรติยศชื่อเสียงก็มีความเสี่ยงต่อการเสื่อมเสีย

ความเสี่ยงประเภทนี้เองที่มักจะทำให้คนเสียศูนย์มามาก เพราะความเสี่ยงประเภทนี้ไม่ใช่เป็นความเสี่ยงที่ธรรมชาติมอบให้มา แต่เป็นความเสี่ยงที่คน แสวงหา กันเอาเอง เพราะคนต้องการให้ชีวิตดีขึ้น ต้องการความก้าวหน้า ต้องการความร่ำรวย ต้องการชื่อเสียงเกียรติยศ ต้องการเป็นผู้นำผู้อื่น เมื่อความต้องการเหล่านี้ก่อตัวกันมากขึ้นและนานขึ้น ประกอบกับการที่ไม่สามารถสลัดมันออกไปจากชีวิตได้ ความต้องการนี้ก็จะกลายเป็น “กิเลส” ที่จะคอยหลอกหลอนชีวิตของเราอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชีวิตของเราไปไม่ถึงดวงดาว

คนทั่วไปมักจะมีความรู้สึกว่าความเสี่ยงเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว เบื้องหลังของความเสี่ยงนั้นมีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีแฝงเร้นอยู่เสมอ เหมือนภาษาธุรกิจที่กล่าวว่า เบื้องหลังวิกฤตมักจะมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ ดังนั้น ผมจึงอยากให้ทุกคนลองมองความเสี่ยงในชีวิตให้เป็นโอกาส ลองมองความเสี่ยงเป็นโจทย์ของชีวิต ลองฝึกบริหารความเสี่ยงในชีวิตดูบ้าง

เพื่อให้ชีวิตเราพร้อมที่จะจัดการกับความเสี่ยงทุกประเภท จึงขอแนะนำขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงในชีวิตดังนี้

ประเมินความเสี่ยง ให้ลอง List ความเสี่ยงในชีวิตของเราดูว่ามีอะไรบ้าง เช่น เสี่ยงต่อการตกงาน เสี่ยงต่อการอกหัก เสี่ยงต่อการเป็นหนี้ เสี่ยงต่อการติดคุก เสี่ยงต่อโรคเอดส์ เสี่ยงต่อความแตกแยกในครอบครัว ฯลฯ เพื่อให้เราได้มองเห็นภาพว่าในความเป็นจริงแล้ว ชีวิตของเรามีความเสี่ยงอะไรบ้าง ด้านไหนของชีวิตที่มีความเสี่ยงสูง ด้านไหนที่มีความเสี่ยงน้อย

กำหนดทางเลือกในการบริหารความเสี่ยง ให้ลองกำหนดทางในเลือกเพื่อจัดการให้ความเสี่ยงในแต่ละเรื่องลดลง เช่น ถ้าไม่ต้องการเป็นหนี้ก็ควรจัดทำแผนการเงินไว้ล่วงหน้า ถ้าไม่ต้องเสี่ยงต่อการเป็นเอดส์ก็ไม่ควรไปเที่ยว หรือมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งในแต่ละความเสี่ยงอาจจะมีทางเลือกได้หลายทางเลือก แล้วค่อยพิจารณาว่าทางเลือกไหนจึงจะเหมาะสมมากที่สุดสำหรับลดความเสี่ยงในชีวิตในเรื่องนั้นๆ

ดำเนินการบริหารความเสี่ยง เมื่อมีการวางแผนในการบริหารความเสี่ยงไว้แล้ว เมื่อถึงเวลาที่เราต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงขอให้ตั้งสติให้ดี ใช้ปัญญาเอาชนะความกลัว ดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น เช่น ถ้าเราไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งอย่าเพิ่งท้อให้คิดว่าเราจะได้มีเวลาพัฒนาตัวเองเพิ่มมากขึ้น ถ้าเราจำเป็นต้องเป็นหนี้คนอื่น ขอให้คิดว่าเป็นหนี้ได้ก็ต้องหมดหนี้ได้ สิ่งสำคัญคืออย่าไปตื่นเต้นตกใจกับผลของความเสี่ยง ไม่ว่าผลนั้นจะดีหรือไม่ดี หน้าที่ของเราในตอนนี้คือทำใจให้ยอมรับผลของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นให้ได้

ประเมินผลการบริหารความเสี่ยง เมื่อความเสี่ยงในเรื่องนั้นๆผ่านไปแล้ว ให้ลองคิดทบทวนดูว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่ มีข้อผิดพลาดในการบริหารความเสี่ยงตรงไหนบ้าง แล้วนำผลไปใช้ในการบริหารความเสี่ยงด้านอื่นๆต่อไป

สรุป ชีวิตทุกชีวิตมีความเสี่ยง ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ ชีวิตใดไม่มีความเสี่ยงชีวิตนั้นไม่มีโอกาสแห่งความก้าวหน้า ดังนั้น คนที่รักความก้าวหน้าจึงต้องกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง โดยอาศัยเทคนิคและวิธีการในการบริหารจัดการกับความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

Resource : peoplevalue.co.th

ประเภทความเสี่ยงส่วนบุคคล (Personal Risk)

คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงกันแต่ความเสี่ยงของธุรกิจเอกชน หน่วยงานภาครัฐ หรือสถาบันการเงินทั้งที่ในความเป็นจริงยังมีความเสี่ยงอีกกลุ่มหนึ่ง ที่มีคนพูดถึงกันน้อยมาก นั่นคือ ความเสี่ยงส่วนบุคคล เมื่อพูดความเสี่ยงส่วนบุคคลหลายคนจึงนึกไม่ออก ความเสี่ยงส่วนบุคคลก็มีอยู่หลากหลายประเภทเหมือนกันประเภทของความเสี่ยงส่วนบุคคลที่สำคัญอันได้แก่ ความเสี่ยงอันเกิดจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การมีรายได้ไม่พอใช้ในยามเกษียณ การมีสุขภาพที่ไม่ดีหรือทุพลภาพ หรือความเสี่ยงภัยเนื่องจากการว่างงาน เป็นต้น

1. ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ( Relationship Risk)
2. ความเสี่ยงด้านหนี้สิน (Liability Risk)
3. ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย(Safety Risk)
4. ความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน (Property or Asset Risk)
5. ความเสี่ยงด้านการเงินหรือการลงทุน (Financial / Investment Risk)
6. ความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Health Risk)
7. ความเสี่ยงด้านอาชีพการงาน (Employment Risk)
8. ความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม(Environmental Risk)

1. ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น (Relationship Risk)

เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินชีวิตของบุคคลเป็นเรื่องของการดำเนินความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกภายใน ครอบครัวเดียวกัน วงศาคณาญาติและครอบครัวของวงศาคณาญาติ เพื่อนฝูงที่เคยอยู่ในกลุ่มหรือแวดวงเดียวกันที่ยังมีการคบหากัน เพื่อนร่วมงาน ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการหรือลูกค้า คนที่พบเห็นมีโอกาสสัมพันธ์กันเนื่องจากการติดต่อทางสังคม ในฐานะที่เป็นมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ในการดำเนินชีวิตของบุคคล มักจะบริหารจัดการความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นรายวัน เนื่องจากบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยอาจจะมีความแตกต่างกัน ออกไปในแต่ละวัน ซึ่งทำให้การจัดการความเสี่ยงประเภทนี้ต้องดำเนินการทันทีที่เผชิญหน้ากับความเสี่ยงและแตกต่างกันเป็นรายกรณี ตามความสัมพันธ์กับ บุคคลแต่ละคนที่เกี่ยวข้องด้วยในวันนั้นๆ และตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลมีอยู่ในการใช้เครื่องมือจัดการกับความเสี่ยง

ในชีวิตของเราต้องสัมพันธ์อยู่กับบุคคลหลายประเภท แต่ละประเภทล้วนมีปทัสถานใน การปฏิบัติต่างกันออกไป นักวิชาการได้จัดจำแนกประเภท ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยอาศัยระดับความสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ จากผิวเผินไปสู่ลึกซึ้ง การจัดประเภทเช่นนี้จะทำให้เรารู้ล่วงหน้าว่าจะ คาดหวังอะไรจาก กันและกันได้และจะเตรียมตัวติดต่อกันอย่างไรจึงจะไม่เกิดปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในที่นี้จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ

  1. คนรู้จัก คนรู้จักนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ผิวเผิน การสื่อสารกันมักเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและจาก ข้อเท็จจริงก็จะประเมินว่า ควรจะสร้าง ความสัมพันธ์ ในระดับต่อไปหรือไม่ คนรู้จักกันนั้นจะใช้ยุทธวิธีในการสื่อสารเพื่อหาข้อเท็จจริงจากกันและกันใน 3 ประเภท
    • เป็นการตั้งรับ หมายถึง ใช้การสังเกตการกระทำของคนอื่นแทนที่จะซักถามหรือเข้าไปร่วมในสถานการณ์
    • แบบรุก หมายถึง การเข้าไปจัดการกับสถานการณ์ทางสังคมเพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้น เช่น ใช้การคุย การถาม หรือการสัมภาษณ์
    • แบบปฏิสัมพันธ์ หมายถึง ใช้การสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นระหว่างกันและกัน ควบคู่กันไปกับการสังเกต (Berger,1978)
    จากข้อมูลที่ได้มาไม่ว่าจะโดยวิธีใด คนเราจะใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อกรองว่าเราจะสัมพันธ์กับคนผู้นั้นต่อไปในระดับใด ความสัมพันธ์อาจเป็นไป ในระดับเดิมหรือเพิ่มระดับไปสู่ความลึกซึ้ง หากข้อมูลที่รับมาก่อให้เกิดความพอใจ แต่หากข้อมูลที่รับมาเป็นข้อมูลที่ไม่น่าพอใจ เราก็อาจเลือกที่จะไม่พบกันต่อไปอีก
  2. เพื่อน คำว่าเพื่อนเป็นคำที่พูดง่ายแต่ให้ความหมายยาก เพราะเพื่อนเป็นบทบาทที่เกิดขึ้นได้ในคู่สัมพันธ์ทุกประเภท ตั้งแต่เพื่อน กับเพื่อนจริง ๆ เพื่อนในระหว่างสามีภรรยา นายกับลูกน้อง ครูกับศิษย์ หรือแม้แต่พ่อแม่กับลูก เมื่อเอ่ยถึงคำว่าเพื่อน นักมนุษยสัมพันธ์ได้เสนอว่า หมายถึงความสัมพันธ์ที่มีลักษณะพิเศษ ดังนี้ (Reardon, 1987)
    2 .1 เพื่อนมีสถานะพิเศษในชีวิต เป็นคนที่เราไว้ใจและเป็นที่ยอมรับ ยิ่งไปกว่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเป็น ความสัมพันธ์แบบ ไม่เอาเปรียบ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าคนเราจะ ไม่รับสิ่งใดจากเพื่อน แต่การได้สิ่งใดจากเพื่อนนั้นเป็นการได้มาโดยไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตน ถูกบังคับหรือขู่เข็ญ
    2 .2 เพื่อนมีฐานอยู่บนความเท่าเทียมกัน หมายถึงว่า ระหว่างเพื่อนไม่มีใครมีอำนาจหรือ อิทธิพลเหนือใคร แม้ว่าอีกคนหนึ่ง จะมีสถานภาพเหนือกว่า และตรงจุดนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บุคคลมีเพื่อนที่มีสถานภาพทางสังคมหรือเศรษฐกิจต่างจากตนเองมาก ๆ ได้ เนื่องจากอาจเกิดความขัดแย้งระหว่างบทบาทขึ้น
    2 .3 เพื่อนต้องยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งจะรู้ได้จากการสังเกตพฤติกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งว่าคล้อยตามกฎของความเป็นเพื่อนหรือไม่ กฎของความเป็นเพื่อนโดยทั่วไปประกอบด้วยเมื่อมีข่าวใด ๆ เกี่ยวกับความสำเร็จก็บอกให้เพื่อนรู้แสดงการสนับสนุนทางอารมณ์ เสนอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ พยายามทำให้มีความสุขเมื่ออยู่ร่วมกัน เสนอตัวทำงานแทนถ้าเพื่อนขาดไป อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางท่าน ได้สำรวจกฎดังกล่าว และเสนอว่ากฎเหล่านี้มาเพื่อให้รางวัลสำหรับความเป็นเพื่อน โดยพยายามหลีกเลี่ยง ความขัดแย้งซึ่งเป็นปรากการณ์ อีกด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในระหว่างเพื่อน สำหรับการที่ยอมรับใครเข้ามามีความสัมพันธ์ในระดับเพื่อนนั้น เป็นไปตามทฤษฎีการเกิดความสัมพันธ์และ สาเหตุการเกิดความสัมพันธ์ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
  3. ระดับลึกซึ้ง ความสัมพันธ์ในระดับนี้เป็น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เปิดตนเองต่อกันมาก ขึ้น ต่อกันและกันสูง มีเรื่องของอารมณ์เข้ามา เกี่ยวข้องมาก ความสัมพันธ์เช่นนี้ปรากฏอยู่ในสามี-ภรรยา พ่อแม่-ลูก พี่-น้อง เพื่อนสนิท คู่รัก หรือลักษณะอื่น ๆ มีข้อค้นพบที่น่าสนใจ สำหรับความสัมพันธ์ประเภทนี้ ดังนี้
    3.1 คู่สัมพันธ์ระดับลึกซึ้งมักคาดหวังจากกันและกันสูง เกินกว่าขอบเขตที่เป็นจริง เมื่อไม่เป็นไปตามที่คาดก็มักกล่าวโทษอีกฝ่ายหนึ่ง
    3.2 ความสัมพันธ์ระดับนี้มิได้ขึ้นอยู่กับคู่สัมพันธ์อย่างเดียว การสื่อสารจากคนอื่น ๆ ก็มี อิทธิพลต่อความสัมพันธ์นั้นด้วย
    3.3 ความสัมพันธ์ระดับลึกซึ้งที่เรียกว่าความรักนั้น จำแนกได้เป็น 3 ประเภทย่อยและแต่ละประเภทก็มีลักษณะต่างกัน ดังนี้
    3.3.1 รักแบบหลงใหล ซึ่งปรกติจะอยู่นอกเหนือการควบคุมเป็นเรื่องของอารมณ์แท้มากกว่าเหตุผล มักกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองอย่างฉับพลัน พฤติกรรมระหว่างคู่สัมพันธ์มักพยากรณ์ไม่ได้ และไม่เป็นฐานความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน การได้อยู่ร่วมกันเป็นประจำหรือการที่ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศสม่ำเสมอจะทำให้ความตื่นเต้นอันเกิดจากความหลงใหลลดลง
    3.3.2 รักแบบความจริง เป็นความรักที่พัฒนามาจากแบบแรก เกิดขึ้นทีละน้อยและอยู่ภายใต้การควบคุมของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง มีการตอบแทนกันและกัน มองความสัมพันธ์ในลักษณะสมดุล
    3.3.3 รักแบบเอื้ออาทร เป็นรักที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน ซึ่งจะมีส่วนเพิ่มชีวิตชีวาให้กับความรักแบบที่สอง
    3.4 พฤติกรรมที่สื่อให้เห็นความสัมพันธ์ลึกซึ้ง เป็นได้ทั้งภาษาถ้อยคำและท่าทาง ภาษาเหล่านี้ส่อให้เห็นว่า คู่สัมพันธ์มีความใกล้ชิดกัน ทั้งกายและใจ อาจเห็นได้จากการมองตา การใช้เวลาอยู่ร่วมกันมาก การยิ้ม การยืนใกล้กัน หรือการสัมผัส เป็นต้น

2. ความเสี่ยงด้านหนี้สิน (Liability Risk)

เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากบุคคลทุกคนมีโอกาสที่จะมีหนี้สิน หรือภาระผูกพันในภายหน้ากันทั้งสิ้น ความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องสภาวะที่บุคคล ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือขาดความสามารถในการชำระคืนหนี้สิน หรือภาระผูกพัน เกิดการผิดนัดการชำระหนี้สินหรือการปฏิบัติตามภาระผูกพัน ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นความเสี่ยงด้านเครดิต หรือความเสี่ยงด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่เกิดกับบุคคล ในฐานะของบุคคลที่ไว้วางใจ หรือเชื่อถือไม่ได้การจัดการความเสี่ยงด้านหนี้สินมีอยู่หลากหลายแนวทาง แต่แนวทางหนึ่งคือการทำประกันภัยเพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงให้มีคนช่วยชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ เช่น หนี้สินที่มาจากการขอสินเชื่อเพื่อการเคหะ หรือซื้อที่อยู่อาศัย บุคคลจะทำประกันอัคคีภัยเพื่อป้องกันความเสียหายหากเกิดอัคคีภัยหรือการทำประกันเครดิต เพื่อนำเงินจากประกันภัยชดใช้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมแทน หรือการทำประกันชีวิตผู้กู้ยืมเพื่อนำเงินชำระคืนหนี้สิน หากเกิดกรณีเสียชีวิตระหว่างที่ยังคงมีภาระหนี้สิน
ประเด็นที่ใช้ในการจัดแบ่งสภาพคล่องด้านโครงสร้างหนี้สิน
1. ระยะเวลาของแหล่งเงินเป็นแหล่งเงินระยะสั้นระยะยาว
2. ต้นทุนทางการเงินของแต่ละแหล่งเงิน
3. ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินกรณีที่แหล่งเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ
4. เงื่อนไขในการชำระคืนหนี้หรือเรียกหนี้คืนก่อนกำหนด

ตัวอย่างความเสียงด้านหนี้สิน

  1. ความเสี่ยงจากหนี้เสีย (Default Risk) ความเสี่ยจากหนี้เสียเกิดขึ้นเนื่องจากความล้มเหลวในการชำระคืนหนี้เสียตามกำหนดในสัญญา การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากหนี้เสียจะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถระบุเหตุผลในการเกิดหนี้เสียกลุ่มลูกค้าที่กลายเป็นหนี้เสียและผลกระทบ ต่อรายได้ธุรกิจ โดยแยกออกเป็น
    - ลูกค้าที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
    - ลูกค้าที่สงสัยว่าจะสูญ
    - ลูกหนี้ที่เป็นหนี้สูญ
    ความเสี่ยงประเภทนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้และการลดหนี้บางส่วนให้แก่ลูกหนี้ที่มีปัญหาเพื่อให้ลูกหนี้ชำระคืนได้ตามความสามารถ ในการชำระหนี้ การชำระหนี้ ทำให้อัตราผลตอบแทนจริงของการให้สินเชื่อลดลงจากอัตราดอกเบี้ยที่ต้องการ(Reguired Rate) นอกจากนั้นความเสี่ยงด้านส่วนต่างยังมาจาก การที่สถาบันการเงินต้องปรับเปลี่ยนวิธีการรับรู้รายได้จากที่เคยรับรู้ได้ตามอัตราดอกเบี้ยค้างรับได้ 3 เดือน หลังเขาเกิดหนี้เสียเป็นการรับรู้ได้เฉพาะดอกเบี้ยที่รับเป็นเงินสดได้จริงเท่านั้น และยังมาจากการที่สถาบันการเงินต้องเพิ่มสำรอง เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หากกระแสเงินสดของลูกค้าไม่เป็นจริงตามสมมติฐาน และการไม่ให้มูลค่ากับหลักประกันบางประเภท
  2. ความเสี่ยงจากการที่คู่สัญญาผิดนัดชำระหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาทำให้บุคคลที่ลงทุนกับคู่สัญญารายนั้น ไม่ได้รับเงินส่วนที่ลงทุนคืนเต็มจำนวน หรือทั้งจำนวน
  3. ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อเกิดจากเงินที่ได้รับคืนจากการลงทุนในอนาคตมีอำนาจการซื้อสินค้าและบริการลดลง เนื่องจากผลของภาวะเงินเฟ้อ ที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้น
  4. ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นจากการที่บุคคลมีสินทรัพย์เป็นเงินตราต่างประเทศหรือลงทุนในเงินตราต่างประเทศ ซึ่งค่าเงินของเงินตราต่างประเทศสกุลนั้นลดลง เมื่อเทียบกับเงินบาททำให้แลกกลับเป็นเงินบาทได้จำนวนเงินบาทลดลง
  5. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเกิดจากการที่บุคคลไม่สามารถขายการลงทุนเพื่อแปลงการลงทุนกลับเป็นเงินสดได้ในเวลาที่ต้องการ เนื่องจากไม่มีใครประสงค์จะซื้อการลงทุนของบุคคล ณ ระดับราคาที่คาดหวังและหากมีความจำเป็นบุคคล อาจจะต้องถอนการลงทุน ในระดับราคาที่ขาดทุน
  6. ความเสี่ยงทางกายภาพอันเนื่องมาจากการสูญหาย ถูกลักขโมย หรือเสียหายโดยอัคคีภัย อุทกภัย
  7. ความเสี่ยงจากการสูญเสียโอกาสในการได้รับผลการตอบแทนโอกาสในการได้รับผลการตอบแทนจากการลงทุนน้อยลง เนื่องจากไปลงทุนผิด ประเภทไม่ได้ลงทุนในช่องทางที่ได้ผลตอบแทนสูงสุดจึงทำไห้เสียโอกาสในผลกำไรที่จะได้รับ

3. ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Risk)

ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยมีอยู่มากมายในระหว่างการดำเนินชีวิต และอาจจะกระทบต่อระดับความปลอดภัยของบุคคลได้ตลอดเวลา บุคคลจึงต้องหา เครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีที่จะรักษาความปลอดภัยอย่างน้อยตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่ควรจะเป็น หรือตามมาตรฐานความปลอดภัยที่มีการกำหนดขึ้น เพื่อช่วยเหลือบุคคล ในด้านของความปลอดภัยยกตัวอย่าง เช่น การทำประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นการประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ความปลอดภัยในระหว่าง การขับขี่รถยนต์ก็มีเครื่องมือช่วยหลายอย่างเช่น เข็มขัดนิรภัย ถุงลมแอร์แบคที่กางออกหากรถมีการกระแทกที่บริเวณคนขับ หรือคนนั่งข้างหน้ากระจก ที่แตกละเอียดไม่ทำอันตรายต่อคนในรถ โครงหลังคาที่เป็นเหล็กกล้า กันชนที่มีสมรรถนะในการหยุดการกระแทกของรถคันอื่น การล็อกรถและห้ามขับหากตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ในตัวผู้ขับขี่ การแสดงเส้นทางการขับล่วงหน้า การตั้งเวลาในการขับรถอัตโนมัติ สัญญาณกันขโมย ไฟถอยหลังที่มีเสียงเตือน เป็นต้น

ตัวอย่างแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการประกันภัยส่วนบุคคลที่สำคัญ

  1. กิจการประกันภัยได้เพิ่มความตระหนักในความสำคัญของการให้บริการอย่างมืออาชีพแก่ลูกค้ามากกว่าจะเน้นในการขายกรมธรรม์ประกันภัย เป็นหลักจึงมีส่วนในการจัดการความเสี่ยงในส่วนของบุคคลได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. ปัญหาและโอกาสในการแพร่ระบาดของโรคเช่น เอดส์ ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ทำให้กิจกรรมการประกันภัยและการบริการสาธารณะของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการจัดทำแนวทางและ มาตรการป้องกัน การเกิดโรคระบาดและการแพร่กระจายของโรคภัยมากกว่าการทำประกันภัยอย่างเดียว
  3. กิจการต่างๆ รวมทั้งกิจการประกันภัยและหน่วยงานภาครัฐถูกกดดันให้ต้อง เพิ่มการยอมรับในบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ซึ่งรวมถึงส่วนของบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของการดำเนินงาน จึงช่วย จึงช่วยให้แนวทางการจัดการความเสี่ยง ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ตามลำดับ
  4. การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและการรักษาสุขภาพในเชิงป้องกัน ตลอดจนกระบวนการบริหารด้านสุขภาพได้ช่วยลดความเสี่ยงในส่วนของบุคคล ได้อีกทางหนึ่ง
  5. บุคคลมีความตระหนักและเห็นความจำเป็นของการลงทุนเพื่อรองรับความไม่แน่นอนซึ่งทำให้งบประมาณที่จัดสรรเพื่อการนี้เพิ่มขึ้นตามลำดับ

4. ความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน (Property or Asset Risk)

เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากความจริงว่าบุคคลทุกคนย่อมมีทรัพย์สินของตนเองที่ครอบครองและเป็นเจ้าของอยู่ไม่มากก็น้อยแตกต่างกันไปตามสถานะทางเศรษฐกิจ จึงเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดความสูญเสีย เสียหายต่อทรัพย์สินส่วนบุคคล ตั้งแต่ความเสี่ยงจากการถูกลักขโมย โจรกรรม การถูกทำลาย เกิดความเสียหาย ของทรัพย์สินการจัดการความเสี่ยงในทรัพย์สินขนาดใหญ่ ที่มีสภาพติดตรึง หรือมีมูลค่าสูง มักใช้การทำประกันภัยเป็นทางเลือกหลัก แต่ในกรณีของทรัพย์สิน ขนาดเล็กหรือมูลค่าไม่มาก ไม่มีบริษัทประกันภัยที่รับประกันความเสี่ยงได้ บุคคลจะต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีการอย่างอื่นในการจัดการกับความเสี่ยง เป็นรายกรณีไป เช่น การเช่าตู้นิรภัยที่ธนาคารเพื่อจัดเก็บ บ้านถูกไฟไหม้ รถถูกชน หรือถูกโจรกรรม การซื้อตู้เซฟเพื่อจัดเก็บอย่างปลอดภัย โครงสร้างสินทรัพย์ สินทรัพย์เป็นแหล่งสภาพคล่องที่จัดแยกกลุ่มเป็นสินทรัพย์ที่พร้อมจะขายได้ทุกขณะ กับสินทรัพย์ที่ต้องถือครองจนครบวาระ และใช้ระยะเวลาสั้นยาวแตกต่างกันในการประเมินสภาพคล่อง และระดับราคาที่คาดว่าจะได้รับเมื่อขายสินทรัพย์นั้นออกไป ประเด็นที่ใช้ในการจัดแบ่งสภาพคล่องได้แก่

  1. ธุรกิจหรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขอสินเชื่อ
  2. ระยะเวลาของการให้สินเชื่อ
  3. โครงสร้างของอัตราดอกเบี้ย เป็นแบบคงที่ตลอดระยะเวลาหรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว
  4. รูปแบบของการชำระเงินเป็นการทยอยจ่ายคืนเป็นรายเดือนหรือคืนเงินต้นก้อนเดียวในวันทีครบกำหนด
  5. ระดับการสำรองเงินสด(Cash Reserive Ratio)

5. ความเสี่ยงด้านการเงินหรือด้านการลงทุน (Financial / Investment Risk)

เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการนำเงินไปลงทุน หรือเป็นความเสี่ยงที่ทำให้สูญเสียตัวเงินหรือสิ่งที่ตีค่าออกมาเป็นเงินได้ อันเนื่องจากภาวะตลาด ทำให้ราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ทางการเงินลดลง หรือด้อยค่าลงจากเดิม ซึ่งหากจะนำสินทรัพย์ทางการเงินนั้นออกไปขาย ก็จะขาดทุนจากการลงทุน คือได้เงินต้นคืนไม่ครบตามจำนวนที่ลงทุน หรือไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนคุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการลงทุน หรือมูลค่าของเงินที่ได้รับคืนจาก การลงทุนมีอำนาจซื้อสินค้าและบริการต่ำลงกว่าเดิม หรือความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถถอนการลงทุนคืน ได้ตามเวลาที่กำหนด เนื่องจากตลาดขาด สภาพคล่อง ไม่มีคนสนใจซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่ลงทุนไว้

ความเสี่ยงจากการลงทุน คือ โอกาสที่จะสูญเสียเงินที่ลงทุนเราสามารถแบ่งความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม
2. ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด
3. ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด
4. ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ

กรอบความเสี่ยงของธุรกิจ (Business Risk Model Framework) นั้นจะช่วยให้หน่วยงานทุกระดับภายในบริษัทสามารถระบุถึงความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น โดยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัทนั้นอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

  • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)
    ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงานและการนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก (External Factor Risks) และความเสี่ยงจากปัจจัยภายใน (Internal Factor Risks)
  • ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ(Operational Risk)
    ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) เป็นความเสี่ยงที่ทุกธุรกิจจะต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใน การดำเนินงาน ของธุรกิจตามปกติ แต่ธุรกิจจะต้องหาวิธีการในการจัดการป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้น ถ้าหากธุรกิจปล่อยให้มีความเสี่ยง ในด้านปฏิบัติการเกิดขึ้นมาก ผลการดำเนินงานของธุรกิจอาจไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นของบริษัทลดลงด้วย
  • ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)
    ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) เป็นอีกประเภทของความเสี่ยงที่มีความสำคัญต่อบริษัทและองค์กรทั่วไป ความเสี่ยงด้านการเงินนี้ ประกอบด้วยความเสี่ยงในการบริหารเงิน (Treasury Risks) ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risks) และ ความเสี่ยงในการซื้อขายตราสารการเงิน (Trading Risks)
  • ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ (Information Risk)
    ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ (Information Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในด้านสารสนเทศหรือข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน การรายงานต่าง ๆ ทางการเงิน ความเสี่ยงด้านภาษี รวมไปถึงความเสี่ยงในด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งความเสี่ยงด้านสารสนเทศนี้สามารถแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 ประเภท คือ ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks) ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (Operational Risks) และ ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี (Technological Risks)

6. ความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Health Risk)

เป็นความเสี่ยงที่แตกย่อยออกจากความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอีกทีหนึ่ง หากแต่มีความแตกต่างด้านวัตถุประสงค์ของบุคคลจึงแยกออกมาต่างหาก เพื่อจะได้กำหนดแนวทางการจัดการความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือเป็นเรื่องที่บุคคลแต่ละคนต้องดำเนินการดูแลและห่วงใย บริหารสุขภาพ ของตนเองด้วยตนเอง ไม่มีคนอื่นจะช่วยดำเนินการได้อย่างครบถ้วน เพราะเป็นเรื่องของการกินอยู่ การใช้ชีวิต การกำหนดตารางเวลาการพักผ่อนนอนหลับ ที่เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องของการบริหารความเสี่ยงประจำวันและการวางแผนบริหารล่วงหน้า หน่วยงานภาครัฐในทุกประเทศได้เข้ามา ช่วยเหลือ เพื่อให้บุคคลสามารถจัดการกับความเสี่ยงด้านสุขภาพได้โดยมีค่าใช้จ่ายลดลง เช่น โครงการประกันสุขภาพดีทั่วหน้า โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลเข้าไปใช้ประโยชน์จากโครงการได้ หรือโครงการประกันสังคมเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน เมื่อเกิดภาวะเจ็บป่วย ด้านสุขภาพ
การบริหารความเสี่ยงส่วนบุคคลความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไปที่ใช้ชีวิตและดำเนินชีวิตตามครรลองตามปกติความเสี่ยงที่บุคคลมีโอกาสพบ ได้แก่
- ความเสี่ยงจากการที่จะเสียชีวิต
- ความเสี่ยงจากไฟไหม้หรือวิบัติภัยอื่นที่เกิดกับทรัพย์สิน
- ความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยเป็นต้น
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับบุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ
- อายุของบุคคล
- สถานที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงาน
- วิถีการดำเนินชีวิต
- บุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัว แวดวงการติดต่อ

7. ความเสี่ยงด้านอาชีพการงาน (Employment Risk)

เป็นความเสี่ยงกรณีเกิดความไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน อาจจะเป็นภาวะการตกงาน การถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่รายได้จากการทำงานไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ต่อเนื่อง การขาดสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการที่ดีที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพการงาน ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้อาจจะไม่สามารถคาดหมายได้ล่วงหน้า และแม้ว่าจะคาดหมายได้ล่วงหน้าก็ยากที่จะจัดการกับความเสี่ยงให้ได้รับเงินรายได้เพื่อการครองชีพเท่าเดิมได้นอกจากประเด็นของรายได้แล้ว อาชีพการงานยังเข้ามามีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความเสี่ยงประเภทอื่นๆด้วย การค้นหาและระบุความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องให้ความระมัดระวังและใช้มุมมองในวงกว้างเข้ามาประกอบการพิจารณา เพื่อให้การจัดการความเสี่ยงครอบคลุมความเสี่ยง ที่มีความสำคัญครบถ้วน เช่น พวกงานวิชาชีพ หรือการทำงานที่อาจต้องมีเรื่องการฟ้องร้องเข้ามาเกี่ยวข้อง

8. ความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม (Environmental Risk)

เป็นความเสี่ยงจากการที่สภาพแวดล้อมมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลให้เกิดภาวะไม่ปกติสุขผิดจากปกติ จึงกระทบต่อวัตถุประสงค์ในการมีชีวิต ของบุคคล

สภาพแวดล้อมที่สำคัญที่เป็นความเสี่ยงของบุคคล ได้แก่ สภาวะโลกร้อน ภาวะเรือนกระจก หรือ Green House Effect ภาวะมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และทางพื้นดิน ภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหว โคลนถล่ม น้ำท่วม หรือภัยจากการกระทำของมนุษย์ที่กระทบต่อสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ เช่น ผลของการตัดไม้ทำลายป่า การเผาหญ้าจนเกิดอากาศเสีย

นอกเหนือจากการจัดประเภทของความเสี่ยง ตามลักษณะของความสัมพันธ์ต่อ การดำเนินชีวิตของบุคคลแล้ว อาจจะแบ่งความเสี่ยงส่วนบุคคลออกตาม สถานะความไม่แน่นอนของความเสี่ยงเป็น 2 ประเภทได้แก่

1. ความเสี่ยงแท้จริงหรือความเสี่ยงที่เป็นผลทางลบ (Pure or Static Risk)

เป็นความเสี่ยงในเชิงประจักษ์ชัด ไม่ต้องมีการพิสูจน์หรือตีความว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ และเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อบุคคลอย่างแน่นอน ซึ่งผลกระทบทางลบนี้อาจจะเป็นการสูญเสีย ความเสียหาย ผลขาดทุนและไม่มีทางจะเป็นผลทางบวกต่อบุคคลได้ และกระทบต่อสภาวะปกติสุขของบุคคล
ความเสี่ยงที่อยู่ในลักษณะนี้ได้แก่
- ความเสี่ยงเรื่องทรัพย์สิน
- ความเสี่ยงด้านหนี้สินหรือคดีความ
- ความเสี่ยงด้านสุขภาพ

2. ความเสี่ยงที่อาจจะเป็นทั้งผลบวกและผลลบ หรือความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ (Speculative or Dynamic Risk)
เป็นความเสี่ยงที่หากเกิดขึ้นแล้วอาจจะเกิดผลดีหรือกำไร หรือเกิดผลเสียหรือผลขาดทุนก็ได้ ผลกระทบที่เกิดแต่ละครั้งที่ความไม่แน่นอน แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งความเสี่ยงที่อยู่ในลักษณะนี้ได้แก่ ความเสี่ยงด้านการเงินหรือการลงทุน ที่มีโอกาสทั้งได้กำไรหรือขาดทุน และวัตถุประสงค์ของการรับความเสี่ยงประเภทนี้ คือ ความคาดหวังว่าจะเกิดผลกำไรและไม่เกิดผลขาดทุนขึ้น หรือมีลักษณะเป็นการเก็งกำไรในด้านของการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าว จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ความเสี่ยงแท้จริง ความเสี่ยงที่อาจจะเป็นทั้งผลบวกและผลลบ
ผลที่ออกมามีด้านเดียวคือ ผลทางลบ
สามารถจัดเก็บข้อมูลเพื่อประมาณมูลค่า ของความเสียหาย ความสูญเสียได้
การประกันภัยเพื่อลดความเสี่ยง สามารถดำเนินการได้ เพราะบริษัทประกันภัยสามารถคำนวณค่าค่าธรรมเนียม ในการให้ความคุ้มครองแก่บุคคลได้ค่อนข้างชัดเจน
ผลที่ออกมามี 2 ด้าน คือผลทางลบหรือทางบวกไม่สามารถจัดเก็บข้อมูล เพื่อประมาณมูลค่าของความเสียหายความสูญเสียได้ชัดเจน เนื่องจากมีตัวแปรหรือเงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลทางลบ แตกต่างจากกรณีที่เกิดผลทางบวก ไม่สามารถใช้การประกันภัยเพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงออกไปจากบุคคลได้ 

นอกจากนั้นยังมีการจัดประเภทความเสี่ยงในลักษณะที่ 3 ด้วยการพิจารณาจากผลกระทบว่าเกิดกับปัจเจกชนรายเดียวหรือเกิดกับกลุ่มคน หมู่ประชาชนหลายคน เป็น 3 ประเภท

1. ความเสี่ยงพื้นฐาน (Fundamental Risk)
2 ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ (Economic Risk)
3. ความเสี่ยงเฉพาะเจาะจง (Particular Risk)

1. ความเสี่ยงพื้นฐาน (Fundamental Risk) เป็นความเสี่ยงที่การเกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือการกระทำของบุคคลในแต่ละครั้งมีผลกระทบต่อบุคคล จำนวนมาก เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม การก่อการร้าย/การก่อความไม่สงบ โรคระบาด
2. ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ (Economic Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและมีผลกระทบต่อบุคคลเป็นจำนวนมาก อาจจะไม่ไช่คราวเดียวกัน หากแต่ภายในช่วงเวลาที่เกิดสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีนั้น เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การทยอยเลิกจ้างพนักงานของสถานประกอบการเพื่อลดผลขาดทุน
3. ความเสี่ยงเฉพาะเจาะจง (Particular Risk) เป็นความเสี่ยงที่กระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น ถูกโจรกรรม เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นๆในสังคม
โดยทั่วไป หน่วยงานภาครัฐจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือบุคคลในการจัดการกับความเสี่ยงพื้นฐานและทางเศรษฐกิจเพราะเกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก และเกิดผลกระทบทางลบในวงกว้าง โดยใช้ระบบประกันสังคม โครงการประกันความเสี่ยงเฉพาะด้าน เงินชดเชยความเสียหาย การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

ประเภทของความเสี่ยงภัย

ความเสี่ยงภัยสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ความเสี่ยงภัยแท้จริงและความเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (Pure Risk & Speculative Risk)
2. ความเสี่ยงภัยต่อส่วนรวม และความเสี่ยงภัยจำเพาะ (Fundamental Risk & Particular Risk)
3. ความเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้ และความเสี่ยงภัยที่คงที่ (Dynamic Risk & Static Risk)
4. ความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยได้ และความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยไม่ได้ (Insurable Risk & Uninsurable Risk)
5. ความเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายวัดเป็นตัวเงินได้และความเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายวัดเป็นตัวเงินไม่ได้ (Financial Risk & Nonfinancial Risk )

1. ความเสี่ยงภัยแท้จริงและความเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (Pure Risk & Speculative Risk)

  • ความเสี่ยงภัยที่แท้จริง (Pure Risk)
    เป็นความเสี่ยงภัยที่มีโอกาสที่อาจจะเกิดความเสียหาย หรือไม่เกิดความเสียหายขึ้นถ้าไม่มีสาเหตุนั้นเกิดขึ้น (Loss or No Loss) เช่น
    - ความเสี่ยงภัยที่เกิดกับบ้าน มีหลายประการ เช่น อัคคีภัย, ฟ้าผ่า, แผ่นดินไหว, ลมพายุ, น้ำท่วม, และภัยธรรมชาติอื่นๆ ถ้าหากมีสาเหตุหนึ่งสาเหตุใดที่กล่าวมานี้บ้านทั้งหลังอาจจะพังหรือได้รับความเสียหายได้ แต่ถ้าหากไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น บ้านหลังนั้นก็จะยังคงอยู่ในสภาพเดิม โดยที่เจ้าของบ้านไม่ประสบความสูญเสียทางการเงินหรือได้รับกำไรจากการที่ไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
    - ผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางมีความเสี่ยงภัยต่อการที่อาจประสบอุบัติเหตุเพราะการห้อยโหนรถโดยสารประจำทางนั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น บุคคลนั้นอาจได้รับบาดเจ็บต้องเสียค่ารักษาพยาบาล แต่ถ้าหากไม่มีอุบัติเหตุใดๆ เกิดขึ้น เขาก็จะเดินทางถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ
    ตัวอย่างข้างต้น ถ้าเจ้าของบ้าน หรือบุคคลที่โดยสารรถประจำทางได้เอาประกันภัยนั้น ๆ ไว้ เขาก็จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย ไม่เกินความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่มีส่วนที่เป็นกำไรจากการประกันภัยนั้น
  • ความเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (Speculative Risk)
    เป็นความเสี่ยงภัยที่มีโอกาสขาดทุน, คุ้มทุน, หรือได้กำไร (Loss, Break Even or Gain) เช่น
    - ผู้เล่นการพนัน อาจจะประสบกับการขาดทุนเพราะแพ้พนัน เสมอตัว หรือได้กำไรจากการเล่นการพนัน
    - ผู้ที่ลงทุนในธุรกิจ อาจประสบกับภาวะขาดทุน, คุ้มทุน, หรือได้กำไรหากการลงทุนนั้นประสบผลสำเร็จ บริษัท ประกันภัยโดยทั่วไป จะรับประกันภัยเฉพาะความเสี่ยงภัยแท้จริง ( pure Risk ) เท่านั้น และโดยปกติไม่สามารถรับประกันความเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไรได้ (Speculative Risk)

2. ความเสี่ยงภัยต่อส่วนรวม และความเสี่ยงภัยจำเพาะ (Fundamental Risk & Particular Risk)

  • ความเสี่ยงภัยต่อส่วนรวม ( Fundamental Risk )
    เป็นความเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจพื้นฐานโดยส่วนรวม หรือต่อคนจำนวนมาก หรือกลุ่มคนจำนวนมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจ, สังคม,การเมือง หรือผลกระทบจากภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ, ภาวะเงินฝืด, การว่างงาน, สงคราม, แผ่นดินไหว, อุทกภัย ฯลฯ ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถควบคุมมิให้เกิดขึ้นได้
  • ความเสี่ยงภัยจำเพาะ (Particular Risk )
    เป็นความเสี่ยงภัย ที่มีผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหาย จำเพาะเจาะจงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น และบุคคลเหล่านั้น สามารถควบคุมการเกิดภัยดังกล่าวได้ เช่น การเกิดเหตุรถชนกัน ไฟไหม้บ้าน เป็นต้น
    ความเสี่ยงภัยจำเพาะนี้ เป็นความเสี่ยงที่เหมาะสำหรับธุรกิจประกันภัย ในขณะที่การเสี่ยงภัยต่อส่วนรวมควรเป็นภาระหน้าที่ของรัฐ โดยปกติบริษัทประกันภัยจะสามารถรับประกันภัยการเสี่ยงภัยต่อส่วนรวมได้ในขอบเขตอันจำกัดเท่านั้น

3. ความเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้ และความเสี่ยงภัยที่คงที่ (Dynamic Risk & Static Risk)

  • ความเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้ (Dynamic Risk)
    คือ ความเสี่ยงภัยที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ แล้วก่อให้เกิดความเสียหายในทางการเงินแก่เจ้าของทรัพย์สิน เช่น การเปลี่ยนแปลงในรสนิยมของผู้บริโภค ทำให้พ่อค้าบางรายประสบภาวะขาดทุนเพราะผลิตสินค้าออกมาแล้วจำหน่ายไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้า ซึ่งเมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นมากผู้บริโภคอาจจะไม่บริโภคสินค้าประเภทนั้น ความเจริญก้าวหน้าในเทคโนโลยี ทำให้ผู้ผลิตบางรายสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพคีขึ้น และมีราคาถูกลง ทำให้ผู้ผลิตอื่นๆ ซึ่งผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน แต่มีคุณภาพต่ำกว่าหรือราคาแพงกว่า ประสบกับปัญหาในการจำหน่ายสินค้านั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าขายไม่ได้ เป็นต้น
  • ควานเสี่ยงภัยที่คงที่ (Static Risk)
    คือ ความเสี่ยงภัยที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจ เช่น ภัยธรรมชาติต่างๆ ความไม่ซื่อสัตย์ของพนักงาน เป็นต้น

4. ความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยได้ และความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยไม่ได้ (Insurable Risk & Uninsurable Risk)

  • ความเสี่ยงภัยที่เอาประกันได้ (Insurable Risk)
    คือ ความเสี่ยงภัยที่มีลักษณะเป็นความเสี่ยงภัยแท้จริง (Pure Risk) เหมาะสมที่จะเอาประกันภัยได้ และเป็นความเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบ เฉพาะบุคคล (Particular Risk) เท่านั้น เช่น กรณีที่ไฟไหมบ้านหนึ่งหลัง หรือหลายหลังในละแวกเดียวกัน
    โดยหลักการแล้ว ความเสี่ยงภัยที่จะเอาประกันภัยได้ จะต้องมีลักษณะสำคัญหลายประการ จึงจะเกิดความเหมาะสมถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ที่จะเอาประกันภัยได้
  • ความเสี่ยงภัยที่เอาประกันไม่ได้ (Uninsurable Risk)
    ในการรับประกันภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจะไม่สามารถรับประกันความเสี่ยงภัยได้ทุกประเภท เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ
    - การขาดสถิติ การประกันภัยต้องอาศัยสถิติ ซึ่งรวบรวมจากประสบการณ์ในอดีตเป็นหลักในการพิจารณาการกระจายความเสี่ยงภัย ฉะนั้น ความเสี่ยงภัยที่ไม่อาจคำนวณจากข้อมูลในทางสถิติ จึงไม่สามารถเอาประกันภัยได้ เช่น ผู้ขายปลีกสินค้าเกี่ยวกับแฟชั่น ไม่อาจเอาประกันภัยต่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแฟชั่นโดยกะทันหันได้
    - ความเสี่ยงภัยที่ขัดต่อกฎหมาย หรือผลประโยชน์ของสาธารณชน เช่น ผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่สามารถเอาประกันภัยคุ้มครอง การเสียค่าปรับเมื่อกระทำผิดกฎจราจร หรือคนทุจริต ไม่สามารถเอาประกันภัยการกระทำผิดของตนได้
    - การไม่มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันได้ (Insurable Interest) ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสีย ในวัตถุที่เอาประกันภัย เขาจะไม่ได้รับความเสียหายจากการเกิดวินาศภัยนั้น แต่อย่างใด ฉะนั้นเขาจึงไม่สามารถเอาประกันภัยในสิ่งที่เขาไม่มีส่วนได้เสียได้
    - ความเสี่ยงภัยที่เป็นมหันตภัย (Catastrophic Risk) ในทางทฤษฎี เราอาจกำหนดเบึ้ยประกันขึ้นได้เสมอไม่ว่าความเสี่ยงภัยนั้นจะมากเพียงใด แต่ในทางปฏิบัตินั้นความเสี่ยงภัยที่เป็นมหันตภัย ถือว่าเป็นความเสี่ยงภัยที่ไม่อาจเอาประกันภัยได้ เช่น ภัยสงครามในบางกรณี

5. ความเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายวัดเป็นตัวเงินได้และความเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายวัดเป็นตัวเงินไม่ได้

  • ความเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายวัดเป็นตัวเงินได้ ( Financial Risk ) เช่น ไฟไหม้บ้าน รถชน เป็นต้น
  • ความเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายวัดเป็นตัวเงินไม่ได้ ( Nonfinancial Risk ) เช่น เรื่อง ของจิตใจ การเสียชีวิต เป็นต้น


ความหมายของความเสี่ยงภัยในทางปฏิบัตินั้นมีได้ 3 ประการ คือ
1. วัตถุที่เอาประกันภัย (Subject Matter of Insurance) เช่น บ้าน, รถยนต์, หรือชีวิตของคน ฯลฯ
2. ภัย ( Peril ) ต่าง ๆ เช่น ไฟไหม้, การระเบิด, การโจรกรรม, การกระทำของคนบ้า, จลาจล ฯลฯ
3. สภาวะที่ทำให้ทรัพย์สินหรือวัตถุนั้น มีความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้น หรือลดลง ( Hazard ) เช่น บ้านที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลังเป็น Risk ที่ไม่ดี, คนอ้วนมากเป็น Risk ที่ไม่ค่อยดีเมื่อเทียบกับคนที่มีร่างกายสมส่วน ฯลฯ
ในการพิจารณารับประกันภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องพิจารณาว่า วัตถุที่เอาประกันภัยนั้น (Subject Matter of Insurance) เป็นปัจจัยในการเสี่ยงภัย เพียงใด หรือ ภัย (Peril) ที่จะให้ความคุ้มครองนั้นเป็นภัยที่สามารถรับเสี่ยงได้หรือไม่ นอกจานั้น สภาวะที่ทำให้วัตถุที่เอาประกันภัยมีความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น (Hazard) อยู่ในสภาวะที่เขาควบคุมได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงภัยที่ผู้รับประกันภัยจะต้องพิจารณาในการรับประกันภัยทุกครั้ง



การจัดการความเสี่ยงความเสี่ยงส่วนบุคคล (Personal Risk)

การจัดการความเสี่ยง หมายถึง การจัดการความเสี่ยงทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์(en:risk analysis) ประเมิน (en:risk assessment) ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับ กิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident )
ความเสี่ยง (Risk) คือ การวัดความสามารถ ที่จะดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของงานประสบความสำเร็จ ภายใต้การตัดสินใจ งบประมาณ กำหนดเวลา และข้อจำกัดด้านเทคนิคที่เผชิญอยู่ อย่างเช่น การจัดทำโครงการเป็นชุดของกิจกรรม ที่จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ภายใต้กรอบเวลาอันจำกัด ซึ่งเป็นกำหนดการปฏิบัติการในอนาคต ความเสี่ยงจึงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน และความจำกัดของทรัพยากรโครงการ ผู้บริหารโครงการจึงต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้ปัญหาของโครงการลดน้อยลง และสามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

นิยามความเสี่ยง
ความเสี่ยงมีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น ความเสี่ยงคือ
1.โอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย (Chance of Loss)
2. ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ (Possibility of Loss)
3. ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Uncertainty of Event)
4.การคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ (Dispersion of Actual Result

ในการดำเนินชีวิตของบุคคลมักจะบริหารจัดการความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นรายวัน เนื่องจากบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยอาจจะมีความแตกต่างกัน ออกไปในแต่ละวัน ซึ่งทำให้การจัดการความเสี่ยงประเภทนี้ต้องดำเนินการทันทีที่เผชิญหน้ากับความเสี่ยงและแตกต่างกันเป็นรายกรณี ตามความสัมพันธ์กับบุคคลแต่ละคนที่เกี่ยวข้องด้วยในวันนั้นๆ และตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลมีอยู่ใน การใช้เครื่องมือจัดการ กับความเสี่ยง

องค์ประกอบหลักของการบริหารความเสี่ยง

องค์ประกอบหลักของการบริหารความเสี่ยงส่วนบุคคล มี 2 ส่วนคือ
1. การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
2. การถ่ายโอนความเสี่ยง

1. การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เป็นกระบวนการกิจการในการลดโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงทางลบ เช่น การล้างมือหลังจากออกไปสัมผัสสิ่งต่าง ๆ จากนอกบ้าน เป็นวิธีการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและโอกาสในการเจ็บป่วย การปรับพฤติกรรมให้เป็นคนที่หมั่นล้างมือบ่อย ๆ จึงเป็นการสร้างกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงส่วนบุคคลอย่างหนึ่งในบางกรณีการลดระดับความเสี่ยงอาจจะมาจากการตัดสินใจเลือกของบุคคล เช่น การเลือกซื้อบ้านในกรุงเทพฯแทนภาคใต้ จะช่วยลดโอกาสในการที่จะมีฤดูฝนยาวนาน 8 เดือน หรือโอกาสในการเกิดสึนามิ ซึ่งจะเห็นว่าโอกาสเกิดฝนตกยาวนาน หรือสึนามิ จะลดลงเกือบทั้งหมดบุคคลมิอาจกำจัดให้ความเสี่ยงหมดสิ้นได้ทั้งหมด เพราะการเลือกซื้อบ้านในกรุงเทพฯอาจจะลดโอกาสเกิดสึนามิ แต่อาจจะเพิ่มโอกาสเกิดน้ำท่วมเนื่องจากกรุงเทพฯ อยู่ในพื้นที่ต่ำและทรุดตัวลงเรื่อย ๆ นอกจากนั้น ยังมีความไม่แน่นอนที่อาจจะเป็นความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลอีกมากมาย

2. การถ่ายโอนความเสี่ยง
การถ่ายโอนความเสี่ยง การทำประกันภัย เป็นวิธีการลดผลกระทบจากความเสี่ยงให้มีผลกระทบที่รุนแรงน้อยลงต่อการดำเนินชีวิตของบุคคล ด้วยการได้รับเงินค่าสินไหมจากการทำประกันภัยชดเชยบางส่วนการกำหนดวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลที่เฉพาะเจาะจง เป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงส่วนบุคคล ที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน ซึ่งในระดับองค์รวมของวัตถุประสงค์ส่วนบุคคล คือเป้าหมายการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปที่ทุกคนอยากมีอยากเป็น ได้แก่ ความสุข พลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง และสติปัญญาที่ฉลาดปราชญ์เปลืองนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ในองค์รวม อาจจะมีบุคคลที่กำหนดวัตถุประสงค์ย่อยเป็นการเฉพาะเจาะจงลงไป เช่นจะลดน้ำหนักให้ได้ 5 กิโลกรัมภายใน 6 เดือนจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมในช่วงปิดภาคเรียนจะทำบุญทุกวันอาทิตย์จะหารายได้พิเศษไม่น้อยกว่า 30,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในช่วงปีใหม่
โอนความเสี่ยง ให้ผู้อื่นรับผิดชอบ เช่น การทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันภัย เป็นต้น
ตัวอย่างการวิเคราะห์ความเสี่ยง: นายเอ เป็นพนักงานบริษัท มีบ้านเป็นของตนเอง โดยยังจดจำนองอยู่กับธนาคาร ไม่มีรถยนต์ ขับรถยนต์ก็ไม่เป็น ดื่มเหล้าบ้าง แต่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ค่อยออกกำลังกาย พ่อแม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีเงินออมเลย จากข้อมูลดังกล่าว เรามาพิจารณาความเสี่ยงทีละประเภท ได้ดังนี้
กรณีเสียชีวิต: โอกาสในการเกิดปานกลาง เพราะนายเอ ดื่มสุรา ไม่ค่อยออกกำลังกาย แม้จะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม ส่วนงานที่ทำก็อยู่ในออฟฟิศ จึงมีโอกาสเสียชีวิตจากการใช้ชีวิตประจำวันไม่มาก สำหรับผลกระทบหากนายเอเสียชีวิต จะเห็นว่าจะกระทบต่อบ้านที่จดจำนองไว้เท่านั้น เพราะพ่อแม่ยังมีรายได้ดูแลตัวเองได้ ดังนั้นจึงถือว่ามีผลกระทบในระดับปานกลาง - กรณีนี้นายเอ อาจเลือกใช้การประกันความเสี่ยง โดยการประกันชีวิตคุ้มครองมูลค่าบ้านที่จดจำนองธนาคารไว้ หรือถ้าคิดว่าตายแล้วเสียบ้านไปไม่เป็นไร พ่อแม่ก็มีบ้านอยู่ ลูกเมียก็ไม่มี ก็อาจเลือกรับความเสี่ยงไว้เอง คือ ตายแล้วก็ให้บ้านธนาคารไป
กรณีเจ็บป่วย: โอกาสในการเกิดปานกลาง ผลกระทบสูง เพราะหากเจ็บป่วยหนัก แล้วไม่มีเงินออมเพื่อรักษา อาจทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสิน และส่งผลกระทบทางการเงินในระยะยาวได้ - กรณีนี้นายเอ อาจเลือกใช้วิธีลดความเสี่ยง โดยดื่มเหล้าให้น้อยลง ออกกำลังกายให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการทำประกันสุขภาพในกลุ่มโรคร้ายหรือเจ็บป่วยถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ โดยอาจเลือกรับความเสี่ยงไว้เองกรณีเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย
ความเสี่ยงภัยต่อทรัพย์สิน: นายเอ มีทรัพย์สินเพียงรายการเดียว คือ บ้าน ซึ่งอาจได้รับภัยบางอย่างได้ เช่น ไฟไหม้ หรือถูกโจรกรรม ทั้งนี้โอกาสในเกิดภัย อาจมองว่าต่ำ ส่วนผลกระทบนั้น หากเป็นไฟไหม้ก็ถือว่าสูง ส่วนกรณีโจรกรรม หากนายเอ มีทรัพย์สินไม่มาก ก็อาจเป็นผลกระทบระดับต่ำ-ปานกลาง - ในกรณีของบ้าน นายเอ อาจเลือกใช้ประกันอัคคีภัยในการบริหารความเสี่ยง ส่วนการโจรกรรมนั้น นายเอ อาจเลือกใช้วิธีรับความเสี่ยงไว้เอง เป็นต้น
ความเสี่ยงภัยต่อการรับผิด และความผิดพลาดของบุคคลอื่น: ไม่มี
เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์เหล่านี้ได้แล้ว ก็สามารถจัดกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมกับแต่ละวัตถุประสงค์ดังกล่าวต่อไป

กระบวนการบริหารความเสี่ยงส่วนบุคคล
ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงอย่างง่าย 5 ข้อ ได้แก่
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Establishment)
2. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)
3. การประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment)
4. การสร้างแผนจัดการ(Risk Management Planning)
5. การติดตามสอบทาน (Monitoring & Review)
การทำระบบบริหารความเสี่ยงให้ครบทั้ง 5 ขั้นตอนก็เปรียบเสมือนการก้าวขึ้นบันได ซึ้งต้องค่อยๆ ก้าวขึ้นไปทีละก้าว จนถึงขั้นสุดท้าย เราก็จะมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

1. กำหนดวัตถุประสงค์
จากความหมายของความเสี่ยงที่ได้ทราบกันแล้วว่า หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่อาจเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบกับวัตถุประสงค์ของเรา ดังนั้นในขึ้นตอนแรกเราจึงควรที่จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
Specific มีความเฉพาะเจาะจง
Measurable สามารถวัดได้เชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ
Attainable สามารถทำให้บรรลุผลได้
Relevant มีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หลัก
Timely มีกำหนดเวลา

2. การระบุความเสี่ยง
เมื่อเราทราบวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดของเรา ขั้นตอนต่อไปก็คือการค้นหาว่า จะมีความเสี่ยงอะไรเกิดขึ้นได้บ้างทั้งที่มาจากตัวบุคคลนั้นเอง และมาจากสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกยกตัวอย่างเช่น การระบุความเสี่ยงด้านอาชีพการงาน อาจจะพบว่า มีความเสี่ยงจากปัจจัยต่อไปนี้
- การถูกมอบหมายให้ทำงานใหม่ที่ต้องใช้เวลามากและสูญเสียพลังงานชีวิตไปหมดจนไม่มีพลังงานเหลือทำกิจกรรมอย่างอื่น เสียโอกาสในการทำกิจกรรมอื่น
- การลงทุนในการจ่ายเงินเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่สนใจแต่ไม่ได้พัฒนาความรู้หรือทักษะใหม่ตามที่คาดหมาย จึงรู้สึกสูญเปล่ากับเงินที่ลงทุนไป
- การตั้งสมมุติฐานของงานใหม่ไว้ก่อนค่อนข้างดี แต่พบว่า สภาพความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างที่คาดหวังไว้ จนทำให้ผิดหวัง ไม่อยากทำงานนั้น ๆ
- โอกาสในการแสวงหางานใหม่ลดลง เนื่องจากสภาพการถดถอยทางเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทห้างร้านต่าง ๆ มีความต้องการขยายงานและรับคนงานลดลง หรือไม่จ่ายค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นอย่างคุ้มค่า
- ขาดทักษะ ความรู้ความสามารถพิเศษที่จะย้ายไปทำงานในตำแหน่งงานที่ดีกว่าปัจจุบัน
- ขาดที่ปรึกษา ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ชักนำไปสู่ตำแหน่งงานใหม่ที่ดีกว่าเดิม


3. ประเมินความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยงจะช่วยให้ตอบคำถามข้างต้นได้ การบริหารความเสี่ยงโดยทั่วไปแล้วจะประเมินความเสี่ยงจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ จากความรุนแรง และโอกาสในการเกิดความเสี่ยง โดยการจัดกลุ่มระดับความเสี่ยง ดังนี้

โอกาสในการเกิดความเสี่ยง
บ่อย ไม่บ่อย
รุนแรง ก1
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วสร้างความเสียหายระยะสั้น เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน สร้างความเสียหายต้องแก้ไขโดยเร่งด่วนและมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยๆ
ก2
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วสร้างความเสียหายระยะสั้น เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่มีโอกาสในการเกิดขึ้นไม่บ่อย
ไม่รุนแรง ข1
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขั้นแล้วส่งผลในระยะยาว ความเสียหายอาจไม่รุนแรงในระยะต้น แต่บั่นทอนหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในอนาคตและมีโอกาส เกิดขึ้นบ่อย
ข2
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลในระยะยาว ความเมเสียหายอาจไม่ชัดเจน แต่บั่นทอนและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในอนาคต และมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อย

เมื่อได้ค่าระดับความเสี่ยงแล้ว เราควรนำความเสี่ยงที่มีความรุนแรงมากสามารถก่อให้เกิดความเสียหายได้มาก มีโอกาสในการเกิดสูง มาเร่งจัดการก่อนข้ออื่นๆ ส่วนความเสี่ยงที่ไม่รุนแรง มีโอกาสเกิดได้น้อย จะจัดเป็นความเสี่ยงที่ไม่ต้องดำเนินการใดๆ

4. การสร้างแผนการจัดการความเสี่ยง
การสร้างแผนการจัดการความเสี่ยง คือ การหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับจัดการแต่ละความเสี่ยงให้ลดความรุนแรงลง เกิดขึ้นได้น้อยลง หรือกำหนดมาตรการในการควบคุมดูแลไม่ให้เกิดระดับอันตราย เป็นต้น

กลยุทธ์จำง่าย ใช้ง่าย สำหรับจัดการความเสี่ยงมี 4 แบบ
1. การยอมรับความเสี่ยง(risk acceptance)
การยอมรับให้ความเสี่ยง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือสร้างระบบควบคุมอาจมีมูลค่าสูงกว่าผลลัพธ์ที่ได้ แต่เราก็ควรมีมาตรการติดตามและดูแล เช่น การกำหนดระดับของผลกระทบที่ยอมรับได้ เตรียมแผนการตั้งรับ/จัดการความเสี่ยงเป็นต้น
2. การลด/การควบคุมความเสี่ยง (risk reduction/control)
ทำได้โดยอาจลดจำนวนครั้ง ( frequency ) หรือลดความรุนแรง (severity) ของการเกิดภัย ซึ่งทำได้ 3 วิธี คือ
- การป้องกันการเกิดความเสียหาย ( Loss prevention ) โดยจะกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนสายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เก่า การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในโรงงาน การตรวจสอบสภาพรถยนต์อยู่เสมอ การติดตั้งเครื่องดับเพลิง การติดตั้งสัญญาณการเตือนภัยกันขโมย เป็นต้น
-การควบคุมความเสียหาย ( Loss control ) วิธีนี้จะทำการขณะ หรือ ภายหลังจากที่มีความเสียหายเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อควบคุมความรุนแรงของความเสียหายนั้นหรือลดความเสียหายลง เช่น การที่พนักงานดับเพลิงทำการดับเพลิงอย่างทันท่วงที การติดตั้งเครื่องพ่นน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ การที่ผู้เจ็บป่วยรีบไปหาหมอรักษา เพื่อไม่ให้มีอาการหนักมากขึ้น เป็นต้น
-การแยกทรัพย์สิน ( Separation ) วิธีนี้จะกระทำก่อนเกิดความเสียหาย เช่น การเก็บของมีค่าไว้คนละแห่ง เช่น บ้าน ธนาคาร การสร้างโรงงาน และโกดังไว้คนละแห่ง เมื่อเกิดไฟไหม้จะไม่เสียหายทั้งหมด หรือการแยกสินค้าไว้หลายๆโกดังเช่นกัน
3.การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk avoidance)
ทำได้โดยการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมหรืองาน ที่จะก่อให้เกิด ความเสี่ยงภัย นั้น เช่น
กลัวเครื่องบินตก ก็ไม่ไปนั่งเครื่องบิน ไม่กล้านำเงินไปลงทุนธุรกิจ เพราะกลัวขาดทุน ก็นำเงินไปฝากธนาคาร หรือลงทุนในธุรกิจ ที่มีความเสี่ยงภัยน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการหลีกเหลี่ยงความเสี่ยงภัยบางครั้งอาจให้ผลเสีย เพราะบางครั้งเราอาจปฏิเสธโครงการ ที่มีความเสี่ยงสูงแต่มีประโยชน์ต่อสังคมมาก เช่น โครงการโรงไฟฟ้าปรมาณู โรงงานอุตสาหกรรมแร่สำคัญต่างๆ ที่มีความเสี่ยงภัย ต่อการเกิดมลภาวะเป็นพิษ แต่มีคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้นในบางครั้งการจัดการการเสี่ยงภัย โดยวิธีนี้ควรเป็นวิธีสุดท้าย

4.การกระจาย /โอนความเสี่ยง (risk sharing /spreading)
เป็นวิธีการจัดการการเสี่ยงภัยที่นิยมมากในปัจจุบันนี้ โดยการโอนความเสี่ยงภัยที่จะ ก่อให้เกิด ความเสียหายทั้งหมด หรือ บางส่วน ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทน ซึ่งมีวิธีการกระทำได้ 2 วิธี
1.การโอนความเสี่ยงภัยไปให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย ( Non-insurance Transfer )
หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัย ไปให้บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัยโดยสัญญา ซึ่งในสัญญาบางประเภทคู่สัญญา จะได้รับการโอนความเสี่ยงภัย ในการปฏิบัติตาม สัญญานั้นไปด้วย เช่น การจ้างบริษัทมาทำความสะอาดภายนอกอาคารที่สูงๆ การทำสัญญาซื้อ- ขายสินค้าล่วงหน้าโดยการกำหนดราคา ที่แน่นอน ถึงแม้ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม ก็จะต้องซื้อ - ขายในราคาเดิม การให้มีการค้ำประกันการทำงานของพนักงาน
2.การโอนความเสี่ยงภัยในรูปของการประกันภัย ( Insurance Transfer )
หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัย ในรูปของการเอาประกันไว้กับบริษัทประกันภัย โดยการทำสัญญาประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้น แก่ผู้เอประกันภัย สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น และได้รับการคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยนั้น เช่น การทำประกันรถยนต์ เป็นการโอนความเสี่ยงภัยในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรถยนต์ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่าหากรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ เสียหาย บริษัทประกันภัยจะรับชดใช้ให้หรือ ซ่อมแซมให้ หรือ การทำประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันเห็นว่า หากตัวเองประสบอันตรายถึงชีวิต จะทำให้ครอบครัวลำบาก จึงโอนความเสี่ยงภัยนี้ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงบริษัทจะชดใช้เงิน จำนวนหนึ่งให้กับครอบครัวเป็นการบรรเทา ในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ขาดรายได้จากสามี ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยอันหนึ่งเช่นกัน

5.การติดตามสอบทาน
เพื่อให้เป็นระบบบริหารความเสี่ยงที่สมบูรณ์ เราจำเป็นจะต้องตามผลหลังกำเนินการตามแผน และทำการสอบทานดูว่าแผนจัดการความเสี่ยงใดมีประสิทธิภาพดีให้ดำเนินการต่อไป หรือแผนใดควรปรับเปลี่ยน โดยอาจกำหนดข้อมูลที่ต้องติดตาม จัดทำ check sheet และกำหนดความถี่เพื่อสอบทาน รายวัน รายเดือน ทุก 3 เดือน หรือ ทุกปี เป็นต้น
นอกจากนี้ควรกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อดูว่าความเสี่ยงใดอยู่ในระดับที่ยอมรับได้แล้ว หรือมีความเสี่ยงใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกหรือไม่ โดยอาจกำหนดเป็นแผนดำเนินงานรวมทั้งปี ดังตัวอย่าง

แผนการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง
ขั้นตอนการดำเนินงาน ม.ค ก.พ มี.ค เม.ย พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค
กำหนดวัตถุประสงค์
ระบุความเสี่ยง
ประเมินความเสี่ยงครั้งที่ 1
วางแผนจัดการความเสี่ยง
ดำเนินการตามแผน
ประเมินความเสี่ยง
ทบทวนและปรับเปลื่ยนแผน

 

จะเห็นได้ว่าการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงนั้น จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มีการตรวจสอบและติดตามเป็นระยะๆ จึงจะเกิดประโยชน์แท้จริง

ระบบการจัดการความเสี่ยงที่ดี
1.มีกระบวนการวางแผนและจัดการอย่างเป็นระบบ
2.หลังจากการประเมินความเสี่ยงขั้นต้นแล้วควรที่จะมีการทำซ้ำอีกตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อตรวจสอบความเสี่ยงเดิมและค้นหา ความเสี่ยงใหม่ๆ อยู่เสมอ
3.มีหลักการประเมินที่เป็นมาตรฐาน ครอบคลุมองค์ประกอบทุกส่วน
4.มีการจัดทำรายงานไว้เป็นรายลักษณ์อักษร

ประโยชน์ของการจัดการความเสี่ยงส่วนบุคคล

1. เพื่อรับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยง
2. เพื่อควบคุมผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากความเสี่ยง
3. เพื่อลดโอกาสและปริมาณผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยง
4. สามารถที่นำจะนำมาปรับให้ในชีวิตประจำวันได้

ความเสี่ยงกับการประกันชีวิตและสุขภาพ (Risk Management with Life and Health Insurance)

ความสำคัญและความหมายของความเสี่ยง

ความเสียงคือโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งนำความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น และอาจวัดมูลค่าออกมาทางเศรษฐกิจ และเป็นตัวเงิน lความเสี่ยงมีหลายอย่าง เช่น ความตาย ความพิการ ความสูญเสียทรัพย์สินและรายได้ lไม่มีใครสามารถขจัดความเสี่ยงได้ แต่มีหนทางที่ป้องกัน

ประเภทของความเสี่ยง Pure Risk Speculative Risk Property Risk Liabillity Risk Personal Risk เป็นความเสี่ยงที่อาจ มีทั้งได้ และเสีย อาจเกิดโอกาสสูญเสียทรัพย์สิน เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่คิด เป็นการที่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหาย ทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคล

4 กลยุทธ์การลดความเสี่ยง

  1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างง่ายที่สุด คือการไม่ไปเกี่ยวข้องใน เหตุการณ์ที่จะเกิด ความเสียหายแก่เรา อย่างไรก็ตามภัยบางอย่างก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ความตาย
  2. การลดความเสี่ยง โดยการเพิ่มความป้องกันความปลอดภัยเข้าไป และในบ้างครั้งอาจทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้นระดับของความต้องการรักษาความปลอดภัยก็จะแตกต่างไปตามแต่ความจำเป็นของแต่ ละบุคคล
  3. การคงไว้ซึ่งความเสี่ยง กรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นได้ หรือต้องยอมรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น เจ้าของบ้านไม่สนใจในเรื่องการทำประกันอัคคีภัย หากเกิดไฟไหม้เขาก็ต้องยอมรับกับความเสี่ยงทั้งหมด
  4. การโอนความเสี่ยง โดยการโอนความเสี่ยงให้แก่สถาบันอื่น เช่นบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับภาระแทน

ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยง

lจำแนกลักษณะของภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวรวมถึง ประเมินความเสียหายหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น lเลือกกลยุทธ์ในการป้องกันแก้ไขความเสี่ยงนั้นให้เหมาะสม

การควบคุมและติดตามผล

ประกันชีวิตคืออะไร .. ประกันทำไม .. เพื่อใคร
lประกันชีวิต –เป็นแผนการออมทรัพย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ผลประโยชน์กว่าการออมทรัพย์ โดยปกติเพราะจะได้ ทั้งเงินออม และความคุ้มครอง
ประกันทำไม – คนเราต้องเผชิญกับภัยอันตรารอบด้าน และเรามาสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไร เวลาใด
lเพื่อใคร –จะช่วยเหลือผู้เอาประกันและครอบครัวของผู้เอาประกัน


แบบของประกันชีวิต

  1. การประกันแบบชั่วระยะเวลา
  2. การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
  3. การประกันแบบสะสมทรัพย์
  4. การประกันแบบเงินได้ประจำ
  5. การประกันชีวิตแบบอื่นๆ


การวางแผนทางการเงินเพื่อการทำประกันชีวิตที่ดี

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
  2. วางแผนการซื้อประกัน
  3. การประเมินผลและควบคุมอะไรคือความต้องการ .. และเหมาะสมกับเงินออมที่มีอยู่หรือไม่ ปรับปรุงกรมธรรม์ให้เหมาะสมกับความต้องการของครอบครัวอยู่เสมอ จัดสรรเงินออมอย่างเหมาะสม โดยปกติคนทั่วไปมักเก็บเงิน
    10 –15% เพื่อทำประกันชีวิต

ประโยชน์ทางการเงินของการประกันชีวิต เป็นแหล่งเงินออมที่สามารถ กู้ยามฉุกเฉินได้ เป็นการลงทุนให้เกิดดอกผล สามารถนำไปหักลดหย่อน ในการเสียภาษีเงินได้

การประกันสุขภาพ lการประกันสังคม lกองทุนเงินชดเชย lการประกันสุขภาพกลุ่ม lโครงการประกันสุขภาพของศูนย์สุขภาพ lการประกันสุขภาพรายบุคคลของบริษัทประกัน lบัตรประกันสุขภาพ สถาบันที่ให้ความคุ้มครองทางด้านสุขภาพของบุคคล

เอกสารที่เกี่ยวข้อง lแผนการตลาด –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ lงบประมาณ –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ lโพสท์มอร์เท็ม (Post mortem) –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ lที่ติดต่อสอบถาม –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ

การบริหารการเสี่ยงภัย หมายถึง กระบวนการวางแผนและประเมินผลความเสี่ยง โดยการเลือกภัยวิธีที่ดีสุด ในการจัดการความสูญเสีย และผลต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยงภัย มีดังนี้ คือ

  1. การวิเคราะห์ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
  2. การหาวิธีการในการจัดการความเสี่ยงภัย
  3. การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด
  4. การปฏิบัติตามแผนหรือวิธีการที่ได้เลือกไว้
  5. ตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไป

วิธีการจัดการความเสี่ยงภัย ทำได้หลายรูปแบบดังนี้

1. การหลีกเหลี่ยงความเสี่ยงภัย ( Risk avoidance ) ทำได้โดยการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมหรืองาน ที่จะก่อให้เกิด ความเสี่ยงภัย นั้น เช่น กลัวเครื่องบินตก ก็ไม่ไปนั่งเครื่องบิน ไม่กล้านำเงินไปลงทุนธุรกิจ เพราะกลัวขาดทุน ก็นำเงินไปฝากธนาคาร หรือลงทุนในธุรกิจ ที่มีความเสี่ยงภัยน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการหลีกเหลี่ยงความเสี่ยงภัยบางครั้งอาจให้ผลเสีย เพราะบางครั้งเราอาจปฏิเสธโครงการ ที่มีความเสี่ยงสูงแต่มีประโยชน์ต่อสังคมมาก เช่น โครงการโรงไฟฟ้าปรมาณู โรงงานอุตสาห-กรรมแร่สำคัญต่างๆ ที่มีความเสี่ยงภัย ต่อการเกิดมลภาวะเป็นพิษ แต่มีคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้นในบางครั้งการจัดการการเสี่ยงภัย โดยวิธีนี้ควรเป็นวิธีสุดท้าย

 2. การลดความเสี่ยงภัย ( Risk Reduction ) ทำได้โดยอาจลดจำนวนครั้ง ( frequency ) หรือลดความรุนแรง (severity) ของการเกิดภัย ซึ่งทำได้ 3 วิธี คือ

  • การป้องกันการเกิดความเสียหาย ( Loss prevention ) โดยจะกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนสายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เก่า การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในโรงงาน การตรวจสอบสภาพรถยนต์อยู่เสมอ การติดตั้งเครื่องดับเพลิง การติดตั้งสัญญาณการเตือนภัยกันขโมย เป็นต้น
  • การควบคุมความเสียหาย ( Loss control ) วิธีนี้จะทำการขณะ หรือ ภายหลังจากที่มีความเสียหายเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อควบคุมความรุนแรงของความเสียหายนั้นหรือลดความเสียหายลง เช่น การที่พนักงานดับเพลิงทำการดับเพลิงอย่างทันท่วงที การติดตั้งเครื่องพ่นน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ การที่ผู้เจ็บป่วยรีบไปหาหมอรักษา เพื่อไม่ให้มีอาการหนักมากขึ้น เป็นต้น
  • การแยกทรัพย์สิน ( Separation ) วิธีนี้จะกระทำก่อนเกิดความเสียหาย เช่น การเก็บของมีค่าไว้คนละแห่ง เช่น บ้าน ธนาคาร การสร้างโรงงาน และโกดังไว้คนละแห่ง เมื่อเกิดไฟไหม้จะไม่เสียหายทั้งหมด หรือการแยกสินค้าไว้หลายๆโกดังเช่นกัน

 3. การรับการเสี่ยงภัยไว้เอง ( Risk retention ) คือ การที่เรายินยอมรับภาระความเสียหายไว้เองหากมีภัยเกิดขึ้น โดยจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และอาจจะรับภาระนี้ไว้ทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ การจัดการการเสี่ยงภัยวิธีนี้มีเหตุผล คือ

  • ภัยที่เกิดขึ้นนั้นก่อให้เกิดความเสียหายน้อยมาก พอที่จะรับภาระได้ เช่น ภัยที่เกิดจากปากกาสูญหายซึ่งราคาไม่แพง
  • ความเสี่ยงภัยนั้นไม่สามารถโอนไปให้ผู้อื่นได้ เช่น การที่ผู้ส่งออกหรือผู้ลงทุนในต่างประเทศต้องยอมรับความเสี่ยง ที่ทรัพย์สินของตนจะถูกรัฐบาลต่างประเทศยึด หรือ อายัด ด้วยสาเหตุต่างๆ
  • ได้พิจารณาแล้วว่า วิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

 4. การโอนความเสี่ยงภัย ( Risk Transfer ) เป็นวิธีการจัดการการเสี่ยงภัยที่นิยมมากในปัจจุบันนี้ โดยการโอนความเสี่ยงภัยที่จะ ก่อให้เกิด ความเสียหายทั้งหมด หรือ บางส่วน ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทน ซึ่งมีวิธีการกระทำได้ 2 วิธี

  • การโอนความเสี่ยงภัยไปให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย ( Non-insurance Transfer ) หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัย ไปให้บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัยโดยสัญญา ซึ่งในสัญญาบางประเภทคู่สัญญา จะได้รับการโอนความเสี่ยงภัย ในการปฏิบัติตาม สัญญานั้นไปด้วย เช่น การจ้างบริษัทมาทำความสะอาดภายนอกอาคารที่สูงๆ การทำสัญญาซื้อ- ขายสินค้าล่วงหน้าโดยการกำหนดราคา ที่แน่นอน ถึงแม้ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม ก็จะต้องซื้อ - ขายในราคาเดิม การให้มีการค้ำประกันการทำงานของพนักงาน
  • การโอนความเสี่ยงภัยในรูปของการประกันภัย ( Insurance Transfer ) หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัย ในรูปของการเอาประกันไว้กับบริษัทประกันภัย โดยการทำสัญญาประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้น แก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น และได้รับการคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยนั้น เช่น การทำประกันรถยนต์ เป็นการโอนความเสี่ยงภัยในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรถยนต์ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่าหากรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ เสียหาย บริษัทประกันภัยจะรับชดใช้ให้หรือ ซ่อมแซมให้ หรือ การทำประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันเห็นว่า หากตัวเองประสบอันตรายถึงชีวิต จะทำให้ครอบครัวลำบาก จึงโอนความเสี่ยงภัยนี้ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงบริษัทจะชดใช้เงิน จำนวนหนึ่งให้กับครอบครัวเป็นการบรรเทา ในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ขาดรายได้จากสามี ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยอันหนึ่งเช่นกัน