การเงินส่วนบุคคล Personal Financial

ความหมาย - การเงินส่วนบุคคล

  • การวางแผนรายได้และค่าใช่จ่ายในด้านต่างๆ ด้วยการจัดทำงบการเงิน
  • การวางแผนการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย
  • วางแผนการเงิน-ยานพาหนะ
  • การออม

แหล่งที่มาของรายได้และรายจ่าย

  • เงิน
  • การบริหารเงินสดและสินทรัพย์สภาพคล่องของบุคคล
  • การบริหารเงินสด และสินทรัพย์สภาพคล่องของบุคคล
  • ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อรายจ่ายของบุคคล
  • งบประมาณรายได้ส่วนบุคคล

การวางแผนรายได้และค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆด้วยการจัดทำงบการเงิน

  • ข้อมูลสำหรับการวางแผนทางการเงิน

การวางแผนการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย (Housing)

การวางแผนการเงินเพื่อยานพาหนะ

การบริหารสินเชื่อส่วนบุคคล

  • วงเงินสินเชื่อ
  • สินเชื่อเพื่อการบริโภค
  • สินเชื่อทางการค้า

การลงทุนส่วนบุคคล

 

ความเสี่ยงส่วนบุคคล

การบริหารการเงินส่วนบุคคล
1 การวางแผนการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance Planning)
2 งบประมาณการเงินส่วนบุคคล (Budgeting Personal Financial Standing)
3 การวัดฐานะการเงินส่วนบุคคล (Measuring Personal Financial)

การบริหารสินทรัพย์และเครดิต
4 การบริหารสินทรัพย์ส่วนบุคคล (Personal Assets Management)
5 การบริหารเครดิตส่วนบุคคล (Personal Credit Management)

การบริหารรายจ่าย
6 การบริหารรายจ่ายส่วนบุคคล (Personal Expense Management)
7 การวางแผนทางการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย (House Planning)
8 การวางแผนทางการเงินเพื่อรถยนต์ (Car Finance Planning)
9 การวางแผนภาษีเงินได้ (Tax Income Planning)

การบริหารการลงทุนและหลักประกันความมั่นคง
10 การบริหารการลงทุนส่วนบุคคล (Personal Investment Management)
11 ตลาดการเงิน (Financial Market)
12 แผนการประกันชีวิต (Life Insurance Planning)
13 การวางแผนเกษียณอายุ (Retirement Planning)

แหล่งที่มาของรายได้และรายจ่าย

จะเห็นได้ว่าแต่ละบุคคลจะมีและค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน ดังรายละเอียดขั้นต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งรายได้ของของบุคคลก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ คุณสมบัติเฉพาะตัว เป็นต้น ส่วนรายจ่ายก็มีปัจจัยหลายอย่างเช่นกัน เช่น การศึกษา อาชีพ อายุ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าปัญหาทางการเงินของบุคคลที่เกิดขึ้นบางปัญหาจะเกิดขึ้นเนื่องจากการที่บุคคลไม่มีการวางแผนในการบริหารเงินของ บุคคลเอง เช่น เงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือนเพราะมีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้รับ โดยไม่มีการวางแผนในการใช้เงินไว้ล่วงหน้า จึงทำให้ได้รับความเดือดร้อนทางการเงิน และจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยการกู้หนี้ยืมสิน ทำให้ต้องรับภาระหนี้สิน เป็นต้น ดังนั้นบุคคลควรจะมีการวางแผนและบริหารเงินเพื่อที่จะทำให้เราสามารถที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงิน และทำให้บุคคลไม่มีหนี้สิน และฉลาดในการแก้ปัญหาทางการเงิน เป็นนักบริหารการเงินที่ดีต่อไปได้

การวางแผนรายได้และค่าใช่จ่ายในด้านต่างๆ ด้วยการจัดทำงบการเงิน กระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดแหล่งที่มาของรายได้และการตัดสินใจกำหนดการใช้จ่ายภายวงเงินรายได้ที่มีอยู่ ซึ่งการกำหนดรายได้ก็เพียงเป็นการบันทึกรายรับรวมสุทธิทั้งหมดที่ท่านได้รับกลับบ้านมาจริง ๆ เท่านั้น โดยรายการรายได้ส่วนใหญ่มักเป็นค่าแรง เงินเดือน เงินปันผล ดอกเบี้ยเงินออม โบนัสและลาภลอยอื่น ๆ ในกรณีที่รายได้ของท่านไม่ได้รับสม่ำเสมอเป็นจำนวนแน่นอน ให้ท่านทำงบประมาณไว้ในจำนวนสูง และเมื่อท่านมีรายได้สูงขึ้นท่านสามารถจะปรับรายจ่ายของท่านได้ง่ายกว่า จากข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าครอบครัวที่มีรายได้ต่ำจะมีรายจ่ายค่าอาหารเป็นรายจ่ายหลัก ในขณะที่ครอบครัวที่มีรายได้สูงรายจ่ายจำนวนมากจะเป็นรายจ่ายเพื่อบ้านที่อยู่อาศัย ดังนั้นการทำงบประมาณประจำปีจึงเริ่มต้นจากการพิจารณารายจ่ายที่เกิดขึ้นในปีที่แล้วตามลักษณะการใช้จ่าย และทำการจัดหมวดหมู่ของรายจ่ายเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ หมวดค่าอาหาร บ้านที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รถยนต์ ทรัพย์สินภายในบ้าน ค่ารักษาพยาบาล เงินสำรองส่วนตัว เงินบริจาคการกุศล ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่าย เบ็ดเตล็ด และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รายจ่ายเหล่านี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ รายจ่ายประจำซึ่งเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นทุกเดือนรายจ่ายกึ่งประจำกึ่งแปรได้ซึ่งเป็นรายจ่ายไม่สม่ำเสมอ แต่ก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้และรายจ่ายแปรได้ซึ่งเป็นรายจ่ายที่สามารถเลื่อนกำหนดการใช้จ่ายไปได้ถ้ามีความจำเป็นอย่างไรก็ตาม ในการทำงบประมาณควรมีการตั้งเงินออม และรายจ่ายฉุกเฉิน เพื่อใช้จ่ายในกรณีที่เกิดรายจ่ายที่ไม่คาดหวังเกิดขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาลที่ไม่ใช่ค่ายาประจำบ้านหรือค่าตรวจรักษาประจำเดือน งบประมาณระยะสั้นเป็น งบประมาณแสดงรายละเอียดของ งบประมาณประจำปี วิธีการที่ง่ายที่สุดในการทำงบประมาณระยะสั้นคือ การทำกระดาษทำการแสดงรายละเอียดการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงทุกครั้ง ที่ท่านมีการใช้จ่าย เช่นอาจเป็นกระดาษทำการต่อวัน ต่อสัปดาห์ หรือต่อเดือน และเพื่อให้ทราบว่า ท่านได้มีการปฏิบัติตนใน การใช้จ่ายให้เป็นไปตาม งบประมาณที่วางไว้หรือไม่ ท่านสามารถกระทำได้โดยการตรวจสอบกระดาษทำการกับงบประมาณของท่าน และวิเคราะห์รายจ่ายที่เกิดขึ้นว่า ท่านมีรายจ่ายส่วนเกิน หรือรายจ่ายส่วนขาดจากเงินงบประมาณที่วางไว้ ผลของการตรวจสอบ จะทำให้ท่านสามารถปรับงบประมาณของท่าน โดยอาจมีการกันเงินงบประมาณไว้ให้มากขึ้น หรือน้อยลงในการทำงบประมาณในอนาคต และควบคุมการใช้จ่ายในลำดับต่อไป ไม่ให้มีความแตกต่างเกิดขึ้นมาก ในกรณีที่ทั้งท่านและคู่สมรสต่างมีรายได้ด้วยกัน การทำงบประมาณแยกจากกัน จะเป็นวิธีการที่ดี ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งเบาความรับผิดชอบในการใช้จ่ายออกไป เป็นการลดภาระในการควบคุมดูแลการใช้จ่าย ตามงบประมาณของผู้มีหน้าที่ประจำให้น้อยลง นอกจากนั้นยังช่วยให้เกิดการร่วมกัน ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีอีกด้วย

การวางแผนการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย

ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ซึ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคน พัฒนาการที่อยู่อาศัยของมนุษย์เกิดข้น จากปัจจัยต่างๆหลาย ประการ เช่น สภาพแวดล้อมของภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เทคโนโลยี ระเบียบและวัฒนธรรมประจำถิ่น ยิ่งสังคมมีการะพัฒนามากขึ้นเท่าใด ที่อยู่อาศัยก็ยิ่งมีการพัฒนาควบคู่ไปด้วยมากขึ้นเพียงเท่านั้น จนเกิดเป็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยต่างๆมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยให้ได้มากที่สุด แม้ว่าบุคคลทั่วไปจะมีความต้องการ ที่จะมีบ้านเป็นของตนเอง อันเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานก็ตาม แต่ข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณ รสนิยม ลักษณะอาชีพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และความต้องการความสะดวกสบายในด้านต่างๆทำให้บุคคลหลายคนมีความจำเป็นในเรื่องที่อยู่อาศัยแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม บุคคลส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี หมายถึงการมีที่อยู่อาศัยเหมาะสมกับความต้องการให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้นั่นเอง

ปัจจัยพื้นฐานในการเลือกที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ผู้ซื้อไม่ได้ซื้อเพียงตัวบ้านเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึง ความพอใจในการอยู่อาศัย ร่วมด้วย ซึ่งความพอใจที่ว่าคืออรรถประโยชน์ที่ผู้ซื้อจะได้รับตามขนาดของบ้าน ความสะดวกสบาย เพื่อนบ้านรวมถึง สิ่งแวดล้อมอื่นใด ที่ผู้ซื้อต้องการเพื่อความสุขในการพักอาศัยและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว โดยนัยแล้วรูปแบบหลักของการมีที่อยู่อาศัยมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือการซื้อและการเช่า ดังนั้นบุคคลทั่วไปจึงมักจะมีคำถามให้กับตนเองก่อนที่จะตัดสินใจมีที่อยู่อาศัยเสมอว่า เขาควรจะคิดลงทุนซื้อบ้าน เป็นของตนเองดีหรือจะทำการเช่าอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่โดยลักษณะของครอบครัวคนไทยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีบ้านเป็นของตนเอง เช่น การซื้อบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม แฟลต หรือการก่อสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองมากกว่าการเช่าอพาร์ทเมนท์ หรือบ้านเช่าทั่วไป ดังนั้นรายงานจะกล่าวถึงความแตกต่างในการมีที่อยู่อาศัยในรูปแบบของทั้งการซื้อและการเช่า เพื่อให้บุคคลทั่วไป สามารถเปรียบเทียบถึง ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของรูปแบบทั้งสองได้ชัดเจน

การซื้อบ้านเป็นของตนเองจะก่อให้เกิดข้อได้เปรียบและผลประโยชน์ต่อท่านมากมายหลายประการ ประการแรกคือ ผลประโยชน์ในการได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีของการซื้อบ้านแบบผ่อนส่งและผลประโยชน์ทางด้านจิตวิทยาคือ ความภูมิใจในการได้เป็นเจ้าของ ความมั่นคงในถิ่นที่อยู่และความยอมรับทางสังคม ผลเสียหรือข้อเสียเปรียบของการซื้อบ้านคือ การต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก อย่างน้อยต้องเป็นรายจ่ายเงินดาวน์ ค่าบำรุงรักษา และความลำบากในการย้ายที่อยู่

ในทางตรงข้ามท่านที่เช่าบ้านอยู่ท่านก็จะมีรายจ่ายเกี่ยวกับการลงทุนในที่อยู่อาศัยที่ยืดหยุ่นได้ตามรายได้ที่ท่านมีอยู่ คือ ถ้าท่านมีรายได้สูง ท่านก็เลือกเช่าบ้านราคาแพง แต่ถ้าท่านมีความจำเป็นในรายจ่ายด้านอื่น ท่านก็อาจลดค่าเช่าบ้านลงได้ ข้อเสียเปรียบของการเช่าบ้านคือ การขาดความอิสระ และความเป็นส่วนตัว การมีรายจ่ายที่ถือเป็นการลงทุนที่ดี ดังนั้น ถ้าท่านตัดสินใจซื้อบ้านเพื่อการลงทุนแล้ว จำนวนเงินที่ท่านควรกำหนดไว้ในการลงทุน สามารถกำหนดได้โดยการใช้กฎทางการเงิน 2 กฎคือ กฎมาตรฐาน และกฎรายได้เบื้องต้น

ในการเลือกซื้อบ้านที่ถูกใจท่านอาจใช้บริการของนายหน้า นอกเหนือจากเลือกซื้อด้วยตนเองการพิจารณาแหล่งที่ตั้งรูปแบบของบ้าน ราคาบ้าน และการเปรียบเทียบสิ่งแวดล้อมรอบบริเวณบ้าน สำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อ ระหว่างบ้านเก่า และบ้านใหม่ท่านจะมีข้อได้เปรียบ และเสียเปรียบต่างกัน คือ บ้านใหม่จะเป็นบ้านที่ก่อสร้างใหม่ทุกอย่าง ทั้งระบบไฟฟ้า ประปา ภายในบ้าน การตกแต่งบ้าน ได้ตามที่ท่านพอใจ ซึ่งต่างจากบ้านเก่าที่ท่านพอใจตามสภาพที่เป็นอยู่ แต่บ้านเก่าก็จะมีราคาถูกกว่าบ้านใหม ่และไม่ต้องรอปลูกต้นไม้ให้โต หรือใช้เวลามากกว่า การมีบ้านใหม่

การซื้อบ้านด้วยวิธีการผ่อนชำระจะเป็นวิธีการที่ผู้ซื้อนิยมปฏิบัติกันมากในสภาพปัจจุบันเนื่องจากราคาบ้านเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูงมากดังนั้น ท่านควรเลือกสถาบันการเงินที่ยินยอมให้ท่านกู้เงินไปจ่ายค่าซื้อบ้านกับผู้ขายที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดและมีระยะเวลาในการผ่อนมากน้อย ตามที่ท่านสามารถรับภาระได้

เมื่อท่านสามารถชำระหนี้สินได้ครบถ้วนท่านจะมีกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดิน ที่ท่านซื้อทันทีโดยการโอนกรรมสิทธิ์กัน ณ กรมที่ดินพร้อมกับจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนตามที่รัฐบาลกำหนด

รายจ่ายสำคัญในการซื้อบ้านด้วยวิธีการผ่อนชำระคือ รายจ่ายค่าประกันอัคคีภัย ซึ่งท่านสามารถเลือกรูปแบบ และวงเงินทุนการประกันได้ ตามเกณฑ์ ที่ท่านต้องการแต่ไม่ควรเกินมูลค่าของทรัพย์สิน และสิ่งปลูกสร้างรวมกับมูลค่าของทรัพย์สินบางประเภทภายในบ้าน ซึ่งท่านจะได้รับการยินยอมให้ประกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างที่ท่านได้ระบุไว้ในสัญญาอย่างไรก็ตาม การประกันอัคคีภัยก็เป็นเพียงการทดแทนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝันจากการเกิดไฟไหม้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการป้องกันการสูญเสียไม่ให้เกิดขึ้นได้แต่อย่างใด

การวางแผนการเงินเพื่อยานพาหนะ

ปัจจัยเบื้องต้นในการกำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ก็คือค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์จะสูงมากใน 3 ปีแรกของการใช้รถ เนื่องจากเจ้าของรถยนต์จะสามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ได้มากในช่วงเวลานั้น การผ่อนชำระท่านจำเป็นจะต้องมีการประกันอุบัติเหตุ ในช่วงเวลาผ่อนชำระด้วย ซึ่งความคุ้มครองของการประกันอุบัติเหตุจะรวมถึงการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ท่าน สมาชิกในครอบครัว และบุคคลที่สาม การชดใช้ค่ารักษาพยาบาลให้ในรายที่บาดเจ็บซึ่งเกิดจากการรถชน หรือความเสียหายอื่นตามข้อตกลงรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เป็นรายจ่ายประจำ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการตัดสินใจซื้อรถยนต์ แต่สำหรับสถาบันการเงินที่ยินยอมให้ท่านกู้เงินมักจะมีวิธีการคำนวณค่าผ่อนชำระแบบวิธีบวกเพิ่ม จึงทำให้มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงสูงกว่าอัตราที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ นอกจากนั้นภายหลังจากที่ท่านซื้อรถยนต์แล้ว ท่านยังมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ ค่าภาษีรถ คาจอดรถ ค่าทางด่วน และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ค่าน้ำมันเบนซิน รวมทั้งค่าซ่อมแซมรถยนต์

ในการคำนวณรายจ่ายรวมทั้งหมดของการใช้รถ ท่านจำเป็นจะต้องพิจารณาทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายแปรได้ที่เกิดจากการใช้รถ สำหรับรถยนต์ใหม่ที่ท่านตัดสินใจจะซื้อ ควรพิจารณาถึงรูปแบบที่ท่านต้องการและทางเลือกในการเพิ่มอุปกรณ์ความสะดวกสบายบางประการดังนั้น จึงควรที่จะหาข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์

ส่วนรถยนต์ที่ใช้แล้วก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ท่านสามารถตัดสินใจได้เพราะราคาต่ำกว่าแต่เนื่องจากรถยนต์เก่าถูกใช้งานมาแล้ว ดังนั้นท่านจึงจำเป็นจะต้อง มีความรอบคอบมากขึ้นตั้งแต่การตรวจสอบดูสภาพทั้งภายในและภายนอกรถ จนถึงการทดลองขับ เพื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพของรถที่มีอยู่ ท่านจะได้ตัดสินใจลงทุนได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

More : วางแผนการเงิน-ยานพาหนะ

การบริหารการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล

ในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องสินเชื่อนั้น ธุรกิจไม่เพียงแต่ต้องประเมินจากลูกค้าเพื่อตัดสินใจว่าควรให้หรือไม่ควรให้สินเชื่อเท่านั้น แต่ธุรกิจยังต้องประเมินลูกค้าเพื่อกำหนดวงเงินสินเชื่อ เพื่อที่จะให้แก่ลูกค้าอีกด้วย และกำหนดวงเงินสินเชื่อเป็นงานสำคัญที่ผู้บริหารต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ และจัดทำขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ทั้งนี้เพราะหากธุรกิจไม่กำหนดวงเงินสินเชื่อให้แก่ลูกค้าแต่ละรายแล้ว ลูกค้าที่ได้รับอนุมัติให้สินเชื่อรายใดรายหนึ่งอาจทำการซื้อเชื่อมากเกินความจำเป็น หรือกู้เงินเกินความสามารถในการชำระหนี้ได้ นอกจากนี้ยังเป็นการตัดโอกาสลูกค้าที่ต้องการให้สินเชื่อรายอื่นๆ ที่มาทีหลังเนื่องจากธุรกิจมีทรัพยากรอันจำกัด จึงกล่าวได้ว่าการให้สินเชื่อโดยไม่จำกัดวงเงินสินเชื่อก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงแก่ผู้ให้สินเชื่อ

วงเงินสินเชื่อ ก็คือ จำนวนสูงสุดของหนี้สินที่ธุรกิจยอมให้แก่ลูกค้าอันเกิดจากการให้สินเชื่อในรูปของสินค้า บริการ หรือเงินสด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารและควบคุมสินเชื่อของผู้บริหาร รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำหนดความเสี่ยงและเป็นแนวทางในการส่งเสริมสินเชื่อแก่ธุรกิจด้วย ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อประโยชน์อันเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่ายนั้นเอง โดยวงเงินสินเชื่อประกอบไปด้วย 2 ประเภทคือ (1) วงเงินสินเชื่อเกี่ยวกับสินเชื่อทางการค้า และ (2) วงเงินสินเชื่อเกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อการบริโภค ซึ่งปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการกำหนดวงเงินสินเชื่อคือวัตถุประสงค์ ความสามารถในการชำระคืนและการป้องกันความเสี่ยง

เงื่อนไข ก็คือ ข้อความที่กำหนดไว้เพื่อบังคับตามกรณี ดังนั้น เงื่อนไขเกี่ยวกับสินเชื่อ หมายถึง ข้อความที่ผู้ให้สินเชื่อกำหนดไว้ในการให้สินเชื่อ เพื่อบังคับตามกรณี เงื่อนไขที่กำหนดของสินเชื่อแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันบ้างและเหมือนกันบ้าง จะจำแนกตามเงื่อนไขตามประเภทสินเชื่อออกเป็น เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคที่ให้โดยธุรกิจการค้าและสถาบันการเงิน เงื่อนไขสินเชื่อทางการค้าของธุรกิจการค้า และเงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน

สินเชื่อเพื่อการบริโภค เป็นสินเชื่อที่อาจจะให้ในรูปเงินสดหรือสินค้าก็ได้ โดยผู้ขอสินเชื่อจะนำเงินสดหรือสินค้านั้นไปบริโภคเอง โดยทั่วไปแล้วสินเชื่อเพื่อการบริโภคที่ให้ในรูปเงินสดมักจะให้โดยสถาบันการเงิน ส่วนธุรกิจการค้าจะให้สินเชื่อเพื่อการบริโภคในรูปสินค้า สินเชื่อเพื่อการบริโภคที่ให้โดยสถาบันการเงินและธุรกิจการค้าจะมีเงื่อนไขบางเงื่อนไขที่เหมือนกันและบางเงื่อนไขที่ต่างกัน

สินเชื่อทางการค้า เป็นสินเชื่อที่ให้ตามประเพณีของธุรกิจการค้า โดยผู้ให้สินเชื่อคือพ่อค้า และผู้รับสินเชื่อก็คือพ่อค้า สินเชื่อจะให้ในรูปของสินค้าเพื่อให้ผู้รับสินเชื่อนำสินค้าไปขายต่อ โดยในการให้สินเชื่อจะมีการตกลงเกี่ยวกับเอกสารสินเชื่อ การชำระเงินและการปฏิบัติเมื่อชำระหนี้เกินกำหนด

สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ เป็นสินเชื่อที่ให้ในรูปของธุรกิจ ผู้ให้สินเชื่อคือสถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ โดยในการให้สินเชื่อจะมีการตกลงเกี่ยวกับหลักประกันสินเชื่อ การชำระหนี้และการปฏิบัติเมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามสัญญาสินเชื่อ

ปัจจัยที่ใช้กำหนดเงื่อนไขสินเชื่อแต่ละประเภท จะพิจารณาฐานะการเงินของผู้ขายฐานะการเงินของผู้ซื้อ สภาพและลักษณะสินค้า การปฏิบัติของคู่แข่งขันและประเพณีนิยมทางปฏิบัติ สำหรับเงื่อนไขที่กำหนดอาจจะเข้มงวดหรือไม่เข้มงวด ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายสินเชื่อของกิจการนั้น และในการตัดสินใจว่าจะกำหนดนโยบายสินเชื่ออย่างไรนั้น จะพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างกำไรส่วนเพิ่ม (MR) และค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม (MC) ที่เกิดจากการมีลูกหนี้เพิ่ม

การออม

หลักการตัดสินใจลงทุนส่วนบุคคลเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรงหรือทางอ้อมผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีเป้าหมายในการลงทุนที่เด่นชัด เพื่อให้การลงทุนประสบผลสำเร็จตามที่วางไว้ได้ง่ายเป้าหมายหรือปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนสำคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยเฉพาะตัวของผู้ลงทุนเอง ซึ่งได้แก่ อายุ สุขภาพ ผู้อยู่ในอุปการะ ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน เวลาในการติดตามผลการลงทุน และระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้ กับปัจจัยทางด้านการเงินที่ผู้ลงทุนต้องการ ซึ่งได้แก่ผลตอบแทนที่จะได้รับนั่นเอง

ส่วนหลักพื้นฐานของการตัดสินใจลงทุนส่วนบุคคล โดยเฉพาะการลงทุนทางอ้อม ซึ่งเป็นการลงทุนผ่านสถาบันการเงินต่างๆ ผู้ลงทุนควรมีองค์ประกอบในการตัดสินใจลงทุนเพื่อใช้พิจารณาว่า การนำเงินออมไปลงทุนโดยให้สถาบันการเงินอื่นใดรับผิดชอบการดำเนินงานนั้น ท่านควรต้องพิจารณาถึงปัจจัยใดบ้างเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ อุปนิสัยของผู้ลงทุนว่าจะสนใจการลงทุนมากน้อยเพียงไร ขนาดของจำนวนเงินที่จะลงทุนตามข้อกำหนดของแต่ละสถาบัน ผลตอบแทนจากการลงทุนระดับความเสี่ยงและสภาพคล่องของการลงทุนนั้น ๆ ทางเลือกในการตัดสินใจในการลงทุนทางอ้อม ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่เขายอมรับได้ ซึ่งสามารถแยกได้เป็น 3 ระดับ คือการลงทุนในระดับความเสี่ยงต่ำ การลงทุนในระดับความเสี่ยงปานกลาง และการลงทุนในระดับความเสี่ยงสูง การลงทุนในระดับความเสี่ยงต่ำได้แก่ การลงทุนในสถาบันการเงินของรัฐบาลและของเอกชน ส่วนการลงทุนในระดับปานกลาง ได้แก่ กางลงทุนซื้อทองคำ การลงทุนซื้อที่ดิน และทรัพย์สินมีค่าอื่นใด เช่น เพชรพลอย เครื่องลายคราม ฯลฯ สำหรับการลงทุนในระดับความเสี่ยงสูงก็ได้แก่ การลงทุนในหลักทรัพย์ การลงทุนในตลาดเงินนอกระบบ เช่น การเล่นแชร์ การปล่อยเงินกู้ เป็นต้น

ผู้ออมที่สนใจการลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความกล้าเสี่ยงของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการกำหนดจำนวนเงินลงทุน การเลือกสถาบันการเงินที่จะลงทุนร่วมด้วย และความพอใจในความสะดวกสบายจากการลงทุน นอกจากนั้นสภาพคล่องของเงินลงทุนก็มีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะถ้าผู้ลงทุนมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินอย่างรีบด่วนเกิดขึ้นแล้ว สภาพคล่องของเงินลงทุนจะมีความสำคัญมากอีกประการหนึ่งกระจายเงินลงทุนในระดับความเสี่ยงต่างๆกัน จะช่วยให้ผู้ลงทุนมีอัตราการเสี่ยงและมีความปลอดภัยของเงินลงทุนมากขึ้น ภายหลังจากที่ผู้ลงทุนใช้หลักการเพิ่มทุนในการตัดสินใจลงทุนมาร่วมพิจารณาเพื่อการลงทุนแล้วขั้นต่อไปผู้ลงทุนควรทำการศึกษาถึงผลดีและ ผลเสียในการลงทุนในแต่ละสถาบัน ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุนด้วย เพราะการใช้วิจารณญาณที่รอบคอบและลึกซึ้งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้แก่เงินลงทุนได้มากยิ่งขึ้น