การวางแผนการเงินเพื่อยานพาหนะ

ปัจจุบันพาหนะเพื่อการเดินทางเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ของบุคคล เป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น ในธุรกิจการงาน การจับจ่ายซื้อของการพักผ่อนทัศนาจร ตลอดจนการติดต่อการค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ยานพาหนะที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคลมีหลายรูปแบบตั้งแต่ รถจักรยาน รถประจำทาง รถยนต์ส่วนตัวและพาหนะเครื่องบิน อย่างไรก็ตามชีวิตประจำวันของ คนส่วนใหญ่ ซึ่งต้องทำงานและสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ รถยนต์ ดังนั้นในบทนี้พูดถึงเฉพาะเรื่องของรถยนต์ โดยจะกล่าวถึงความจำเป็นของบุคคล ในการลงทุนซื้อรถ คุณสมบัติของรถยนต์ที่จะสามารถสนองความต้องการได้อย่างดี การวิเคราะห์ความจำเป็นและเหมาะสมในการซื้อรถยนต์ ควรซื้อรถยนต์ใหม่หรือ รถเก่าดี และควรมีการเจรจาต่อรองอย่างไรจึงจะได้รถยนต์ที่มีคุณภาพ และราคาที่เหมาะสมที่สุด

ความหมายของการวางแผนทางการเงิน

การวางแผนทางการเงิน คือ การกำหนดการใช้จ่ายเงินในกิจการต่างๆ ให้สอดคล้องกับโครงการและแผนงานที่จัดทำขึ้น นอกจากการใช้จ่ายเงิน ในกิจการต่างๆ แผนการเงินยังระบุถึงแหล่งที่มาของเงิน และการใช้จ่ายเงิน ในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการและแผนงานว่าใช้จ่ายไปอย่างไรบ้าง สำหรับในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นการวางแผนทางการเพื่อยานพาหนะ

ความหมายของยานพาหนะ

ยานพาหนะ : ตามความหมายในพจนานุกรมไทย ฉบับมหาวิทยาลัย หน้า 533 ระบุไว้ว่า
"ยานพาหนะ คือ เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ต้องเป็นสิ่งที่มีเครื่องยนต์"
การวางแผนทางการเงินเพื่อยานพาหนะ เงิน เป็นทรัพย์สิน (Asset) ที่ชัดเจนที่สุดของมนุษย์ทุกวันนี้ เพราะเงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน สามารถแปรเป็นอย่างอื่นได้ทันทีที่ต้องการ เงินจึงมีอำนาจในการซื้อ และอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมาก หากขาดเงินก็จะลำบาก ในความเป็นอยู่มาก คนที่มีทรัพย์สินอย่างอื่นมากมาย แต่ขาดเงินก็จะขัดสน อดอยาก ฝืดเคือง ความเป็นอยู่ยาก หากมีเงินไม่มีสินทรัพย์อื่นเลย ก็มีความเสี่ยงมาก เพราะเงินมีความแปรปรวนมากตามปัจจัยอื่นๆ มากมายและแปรเป็นอย่างอื่นได้ง่ายจึง สามารถหมดเร็วตาม อำนาจความอยาก ที่จะซื้อหาปัจจัย 4 มาดำรงชีพเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง ปัจจุบันยานพาหนะเป็นปัจจัยที่ 5 รองจาก อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เพราะยานพาหนะเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีพของมนุษย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุระกิจการงาน การจับจ่ายซื้อของ การทัศนาจร ล้วนจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะทั้งสิ้น และเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ยานพาหนะมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นการที่จะซื้อยานพาหนะเป็นของตัวเอง หรือการที่จะเดินทางด้วยยานพาหนะชนิดใดนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนทางการเงินเพื่อให้สามารถใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม ซึ่งการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรมีขั้นตอนดังนี้

1. การวางแผนทางการเงิน (Strategic Formulation)
2. การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation)
3. การติดตาม / ประเมินผล (Evaluation Control)

ลักษณะของยานพาหนะ

ลักษณะทางยานพาหนะที่มีใช้กันอย่าแพร่หลายในการเดินทางคือ

1. รถยนต์
2. รถจักยานยนต์
3. รถโดยสารประจำทาง

โดยในการศึกษาครั้งนี้จะนำลักษณะของยานพาหนะ คือ รถยนต์ และรถโดยสารประจำทางมาทำการศึกษาถึงการวางแผนทางการเงินเท่านั้น เนื่องจากรถจักรยานยนต์นั้น มีการวางแผนที่คล้ายคลึงกับรถยนต์จึงไม่นำมาศึกษา

จุดประสงค์ของการมียานพาหนะ

1. ต้องการลดเวลาในการในทางโดยเฉพาะเวลารีบเร่ง
2. ต้องการความสะดวกสบายในการเดินทาง
3. เพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง
4. ต้องการประหยัดและลดค่าใช้จ่ายบางส่วน
5. เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง
6. เพื่อให้ได้ประโยชน์ในทางธุรกิจ

ความจำเป็นในการใช้รถยนต์

ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจกับเงินงบประมาณไว้เพื่อใช้จ่ายในการซื้อหรือผ่อนชำระรถยนต์ รวมถึงรายจ่ายค่าประกันอุบัติเหตุนั้น ท่านควรถามตัวเอง ให้แน่ใจ เสียก่อนว่า ท่านมีความจำเป็นในการใช้รถยนต์และพร้อมที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์จริงๆ แล้วหรือยัง เพราะถ้าท่านมีความจำเป็น ในการใช้รถยนต์เพียง ครั้งคราว เช่น เพื่อการเดินทางไปพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือเพื่อทำกิจธุระใดโดยเฉพาะนานๆ ครั้ง ท่านอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินลงทุน เพื่อซื้อรถยนต์เป็นจำนวนมากเช่นนั้น แต่สำหรับสภาพแวดล้อมหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง อย่างในประเทศไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ดูจะมีแนวโน้มให้ประชาชน ในเมืองหลวงมีความจำเป็นจะต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวกันมากขึ้นด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ

1.การสาธารณูปโภคในด้านการขนส่งมวลชนของเมืองหลวงยังมีการบริการที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การจราจรติดขัด เกิดความล่าช้า และไม่สะดวกในภาวะรีบเร่งในช่วงเวลาเช้าและเย็น จึงทำให้การใช้รถยนต์ส่านบุคคลมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคนจะมีความสะดวกในการเดินทางได้มากกว่า
2.การใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในปัจจุบันเป็นการใช้เพื่อจุดประสงค์ในทางธุรกิจมากกว่าจะเป็นการสร้างค่านิยมและความภูมิฐานเช่นในสมัยก่อน เนื่องจากแต่ละครอบครัวย่อมมีความจำเป็นในการเดินทางไปในที่ต่างๆ กันได้หลายแห่ง
3.การใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อความสะดวกสบาย นอกจากนั้นท่านยังสามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้แน่นอนกว่าการใช้บริการของรถประจำทางที่มีจดหมายเป็นเพียงป้ายรถประจำทางริมถนน และท่านยังต้องใช้เวลาเดินทางด้วยตนเองจนกว่าจะถึงที่หมายอีกด้วย

ที่มาของรายได้ที่จะใช้จ่ายเพื่อยานพาหนะ

รายจ่ายเพื่อยานพาหนะมีหลายอย่างเช่น รายจ่ายค่าน้ำมันรถ, รายจ่ายค่าจดทะเบียนรถ,ค่าภาษีรถ, ค่าบำรุงซ่อมแซมต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้แม้จะดูไม่มากนัก แต่ถ้าเราต้องจ่ายบ่อยๆ ทุกๆ เดือน ถ้ารวมเป็นปีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็มีมูลค่าสูงเช่นกัน ซึ่งแหล่งที่มาของรายได้ที่จะใช้จ่ายตรงส่วนนี้อาจได้แก่

1. เงินเดือน คือ เงินที่ได้รับทุกๆ เดือนหรือเรียกว่าเงินประจำ อาจได้มาจาก ภาครัฐบาลหรือภาคเอกชน ซึ่งก็แล้วแต่ว่า บุคคลเหล่านั้น ทำงานอะไร และได้เงินเดือนมากน้อยเพียงไร ซึ่งเงินตรงส่วนนี้อาจจะจัดแบ่งเป็นส่วน เช่น
ส่วนที่ 1 เก็บไว้สำหรับค่าน้ำ, ค่าไฟ
ส่วนที่ 2 เก็บไว้เป็นค่าอาหาร
ส่วนที่ 3 เก็บไว้เป็นเงินใช้ส่วนตัว
ส่วนที่ 4 เก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ
ส่วนที่ 5 เก็บไว้เป็นเงินออม
ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ว่าแต่ละบุคคลจะจัดสรรเงินอย่างไร
2. เงินออม คือ เงินที่เก็บสะสมเอาไว้ อาจจะเก็บไว้นานแล้ว หรือ นำเงินมาเพิ่มอีก อาจจะเก็บไว้ที่ธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยก็ได้
3. หนี้สินหรือเงินกู้ยืมต่างๆ คือ เงินที่บุคคลเป็นเจ้าของรถ กู้ยืมมาเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะอาจเป็นเงินที่กู้ยืมมาจากธนาคาร หรือ เจ้าหนี้ต่างๆ ซึ่งตรงนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยตามแต่เจ้าหนี้จะกำหนด หรืออาจเป็นเงินที่กู้ยืมมาจากญาติพี่น้อง ซึ่งอาจจะเสียดอกเบี้ยน้อยหรืออาจจะไม่เสียเลยก็ได้

รายจ่ายประจำของการใช้รถยนต์

รายจ่ายประจำหรือต้นทุนคงที่ในการใช้รถยนต์ หมายถึงรายจ่ายที่ท่านจะต้องจ่ายเสมอไม่ว่าท่านจะใช้รถยนต์เป็นเวลานานเท่าใด จำนวนไมล์สูงเพียงใดหรือมีรายจ่ายเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุกี่ครั้ง เพราะรายจ่ายประจำของรถยนต์ที่สำคัญก็คือรายจ่ายค่าเสื่อมราคารถยนต์ รายจ่ายค่าประกันอุบัติเหตุ รายจ่ายค่าผ่อนชำระและดอกเบี้ยเงินกู้ในการซื้อรถยนต์แบบผ่อนชำระ รวมถึงรายจ่ายในการทำใบขับขี่และการต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปีด้วย

รายจ่ายแปรได้ของการใช้รถยนต์

ค่าใช้จ่ายแปรได้ของการใช้รถยนต์ หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้รถยนต์หรืออาจเรียกว่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็ได้ ซึ่งรายจ่ายแปรได้ที่สำคัญของการใช้รถยนต์สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 หมวด คือ

1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ในการที่จะทำให้รถนั้นสามารถใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ รายจ่ายค่าน้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่อง และค่าบำรุงรักษา
2. ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษารถยนต์เพื่อให้รถยนต์อยู่ในสภาพที่ใช้การได้เสมอ

1. รายจ่ายค่าน้ำมันเบนซิน
ในปัจจุบันรถยนต์สามารถใช้น้ำมันดีเซล และแก๊สแทนได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าท่านมีรถที่มีประสิทธิภาพปนการประหยัดน้ำมันแล้ว ท่านจะมีรายจ่ายรายการนี้ลดลงเป็นอย่างมาก และรถยนต์ใหม่มักจะมีประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมันได้ดีกว่ารถยนต์เก่า
ผู้บริโภคที่ฉลาดมักไม่ใช้วิธีซื้อรถคันใหม่ เพียงเพื่อหวังที่จะมีการประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นเท่านั้น แต่เขาควรจะมีวิธีการใช้รถเก่าให้มีประสิทธิภาพ จะเป็นการกระทำที่ถูกต้องมากกว่า ซึ่งวิธีการใช้รถยนต์ที่จะทำให้เกิด การประหยัดน้ำมันมากขึ้น มีดังนี้

  1. ควรขับรถช้าๆ ในอัตราที่คงที่ คืออยู่ในระดับความเร็วประมาณ 50 ไมล์ต่อชั่วโมง จะเป็นอัตราที่ทำให้ท่านประหยัดน้ำมันได้มากที่สุด นอกจากนั้นท่านไม่ควรติดเครื่องรถยนต์ หรือมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วของรถอย่างรวดเร็ว เพราะการขับรถด้วยความเร็วสูง จะเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันมาก ทั้งยังทำให้รถสึกหรอเร็วขึ้นด้วย
  2. ไม่ควรขับรถช้าต่ำกว่าอัตรา 50 ไมล์ต่อชั่งโมง เพราะการขับรถในอัตราความเร็วที่ต่ำกว่าอัตราดังกล่าวแทนที่จะทำให้ท่านประหยัดน้ำมัน ได้มากขึ้น
  3. .เติมลมยางรถยนต์ของท่านให้สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ในคู่มือรถยนต์ เพราะการมียางรถยนต์ที่แข็งจะช่วยให้ท่านประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น
  4. ละเว้นการใช้เครื่องปรับอากาศในขณะที่ท่านขับรถในอัตราความเร็วต่ำ เพราะจะทำให้ทานประหยัดเชื้อเพลิงลงได้ ถึงประมาณร้อยละ 10-20 ทีเดียว แต่ในทางตรงข้ามที่ท่านกำลังขับด้วยความเร็วสูงการใช้เครื่องปรับอากาศจะทำให้ท่านสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่าการงดใช้เครื่องปรับอากาศ และทำการเปิดหน้าต่างรถยนต์แทน
  5. ในฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวเย็น ท่านจะสามารถเติมน้ำมันได้ในจำนวนที่มากกว่าการเติมน้ำมันในฤดูร้อนที่มีอากาศร้อย เนื่องจากน้ำมันมีการ ขยายตัว และเต็มถังได้เร็วกว่าการเติมน้ำมันในฤดูหนาว ซึ่งหมายความว่าฤดูกาลมีส่วนที่จะทำให้ท่านสามารถประหยัดน้ำมันได้เช่นกัน
  6. ไม่บรรทุกของสัมภาระที่หนักเกินไป เพราะจะทำให้รถมีน้ำหนักมาก และต้องใช้กำลังในการเคลื่อนสูงจึงมีการสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าที่ควร

2. รายจ่ายซื้อยางรถยนต์

โดยปกติโดยทั่วไปแล้วเจ้าของรถยนต์ควรมีการเปลี่ยนยางรถยนต์ เมื่อท่านได้ใช้รถยนต์ไปเป็นระยะทางประมาณ 40,000 ไมล์ หรือเป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี โดยเฉลี่ย ถ้ายางรถยนต์ของท่านเป็นยางคุณภาพดี แต่ถ้าท่านใช้ยางรถยนต์คุณภาพด้อยแล้ว อายุการใช้งานของยางรถยนต์ก็ใช้ได้เพียง จำนวนระยะทาง 15,000 – 25,000 ไมล์เท่านั้น ดังนั้นในระยะเวลา 4 ปี ที่ท่านต้องเปลี่ยนยางรถยนต์ แต่จะเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับ ชนิดของยางรถยนต์ที่ท่านเลือกใช้ด้วย
การใช้ยางรถยนต์ที่ดี จะช่วยให้ท่านสามารถประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นประมาณร้อยละ 3-5 ดังนั้นการเลือกใช้ยางรถยนต์ที่ดีจะช่วยให้ท่าน มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นได้ ท่านจึงควรซื้อยางรถยนต์จากร้านค้าที่ท่านคุ้นเคย โดยเฉพาะถ้าเป็นการเลือกซื้อจากผู้ขายที่มีชื่อเสียงด้วย จะช่วยให้ท่านมั่นได้ว่า ท่านจะได้ยางรถยนต์ตามที่ต้องการ ในการเลือกซื้อยางรถยนต์ท่านควรมีข้อพิจารณา

  1. ไม่ควรเลือกซื้อยางรถยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่ายางรถยนต์เดิม ที่มีมากับรถยนต์ในการซื้อครั้งแรก
  2. ใช้ยางรถยนต์ชนิดเดียวกับยางรถยนต์ที่ติดมากับรถครั้งแรก ถ้าท่านไม่มีความนำเป็นจะต้องเปลี่ยนชนิดของยาง เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เพื่อการให้เช่ารถ
  3. ควรใช้ยางรถยนต์ประเภทเดียวกันทั้ง 4 ล้อ อย่าใช้ยางรถยนต์หลายๆ ประเภทในรถคันเดียวกัน เช่น บางล้อเป็นยางรถยนต์แบบ Radian หรือบางล้อเป็นแบบ Belted bias ply และถ้าท่านมีงบประมาณเพียงพอท่านควรใช้ยางแบบ Radian ทุกล้อจะช่วยให้ท่านประหยัดรายจ่าย ในการซื้อยางยนต์ใหม่ได้มากขึ้น
  4. ในการขับรถโดยใช้ยางรถยนต์ใหม่นั้น สำหรับระยะทาง 50 ไมล์แรก ท่านควรขับด้วยความเร็วไม่เกินอัตรา 55 ไมล์ต่อชั่วโมง เพื่อปรับให้ยางเริ่มใช้งานได้เข้าที่กับรถยนต์ และควรตรวจสอบและเติมลมยางรถยนต์โดยไม่ให้ยางแฟบได้ เพื่อเป็นการยืดอายุยางรถยนต์ให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น

3. รายจ่ายค่าบำรุงรักษารถยนต์
ถ้ารถยนต์ของท่านมีอายุการใช้งานมานานแล้ว หรือเป็นรถยนต์รุ่นเก่า ย่อมมีความต้องการที่จะได้รักการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น ในขณะที่รถยนต์ใหม่อาจ อยู่ในความคุ้มครองของบริษัทรับประหัน สำหรับรายการค่าซ่อมแซมที่ท่านจำเป็นต้องดูแลส่วนใหญ่มักเป็นการตั้งเบรคใหม่ การเปลี่ยนท่อน้ำใหม่ การเปลี่ยนโช้คอัพ เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้รถยนต์รวมทั้งหมด

ดังกล่าวแล้วว่าถ้ารถยนต์ของท่านเป็นรถเก่าที่มีอายุการใช้งานมานมาก ท่านย่อมมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และมีรายจ่ายค่าน้ำมันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารถยนต์ของท่านเป็นรถขนาดใหญ่ ก็ยิ่งจะมีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงสูงกว่ารถยนต์ขนาดเล็ก นอกจากนั้นรถยนต์ขนาดใหญ่ก็ยังมีราคาสูงกว่ารถยนต์ขนาดเล็ก และมีค่าเสื่อมราคาสูงกว่าอีกด้วย ประการสำคัญคือ มีรายจ่ายค่าซ่อมแซมดูแล เข่น ค่าอะไหล่รถยนต์ ค่ายางรถยนต์ ค่าแรงงาน ฯลฯ ที่มากกว่าเช่นกัน ซึ่งหมายความว่า รายจ่ายรวมทั้งหมดของการใช้รถยนต์ขนาดเล็ก จะมีน้อยกว่าการใช้รถยนต์ขนาดใหญ่ จากการศึกษาถึงรายจ่ายแต่ละประเภท ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายแปรได้ของการใช้รถยนต์ข้างต้น ท่านก็สามารถที่จะทราบรายจ่ายรวมทั้งหมดได้ โดยการทำเป็นกระดาษทำการแสดงการคำนวณรายจ่ายของการใช้รถยนต์ต่อปี ดังแสดง

กระดาษทำการแสดงการคำนวณรายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ประจำปี

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์
รายจ่ายประจำ
ค่าเสื่อมราคา ……………
การประกันอุบัติเหตุ ……………
ดอกเบี้ยเงินกู้จ่าย ……………
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ……………
รวมรายจ่ายประจำปี ……………..
รายจ่ายแปรได้
ค่าน้ำมัยเบนซิน ……………
ค่ายางรถยนต์ ……………
ค่าซ่อมแซมรถ ……………
รวมรายจ่ายแปรได้ ……………..
รวมค่าใช้จ่ายของรถยนต์ทั้งหมด ……………...

เมื่อทราบถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของการมียานพาหนะ แล้วก็สามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการวางแผนการเงิน แล้วทำตาม ขันตอนการวางแผน ดังนี้
1. การคำนึงถึงโอกาส เป็นการพิจารณาถึงโอกาสจากปัจจัยต่าง ๆ โดยถือเป็น จุดเริ่มต้นในการวางแผนที่ทุกคนควรจะเริ่มจากจุดนี้
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดถึงเป้าหมายของกิจกรรมที่จะต้องดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมาย
3. การวางแผนข้อสมมติฐานต่าง ๆ
4. การกำหนดทางเลือกต่าง ๆ เป็นการค้นหาและสำรวจทางเลือกต่าง ๆ ที่อาจจะปฏิบัติได้ในอนาคต
5. การประเมินทางเลือกต่าง ๆ
6. การเลือกทางเลือกที่จะใช้ในการกำหนดแผน
7. การกำหนดแผนสนับสนุน
8. การกำหนดตัวเลขต่าง ๆ ในการจัดทำแผนโดยการจัดทำงบประมาณ

กำหนดแนวทางในการซื้อ (Establishing guidelines)

เมื่อได้กำหนดวัตถุประสงค์และพิจารณาคุณค่าของการใช้สอยแล้ว ต่อไปก็ควรกำหนดแนวทางที่จะซื้อโดยมีขั้นตอนดังนี้
1. หาแผ่นพับโฆษณาของเครื่องใช้ที่จะซื้อมาศึกษาดู โดยเลือกจากหลายแบบหลายยี่ห้อ เพื่อจะได้ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวให้มากที่สุด แผ่นพับเหล่านี้สามารถขอได้จากร้านจำหน่ายทั่วไป หรือจากร้านตัวแทนจำหน่ายสินค้านั้น
2. พูดคุยกับเพื่อนฝูงที่เคยใช้มาแล้วว่าเป็นอย่างไร คำแนะนำของผู้ที่เคยใช้มาแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
3. ตัดสินใจวางแนวทางของตนเองว่าเราจะซื้ออะไร มีขนาดและกำลังการใช้มากน้อยแค่ไหน(Load capacity) จำนวนกี่ชุดจะวางไว้ที่ห้องไหน สีสันอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับห้องหรือสถานที่ของเรา
4. กำหนดงบประมาณที่จะซื้อ เมื่อเลือกสิ่งที่เราต้องการแล้วต้องคำนึงว่าสิ่งนั้นอยู่ภายในงบประมาณที่เราสามารถหาซื้อได้ด้วย ในเรื่องงบประมาณนี้ต้องครอบคลุมถึงเรื่องของค่าใช้จ่ายด้วย ข้อคิดที่ควรคำนึงถึงคือ อย่าซื้อของที่คิดว่าราคาถูกที่สุดในขณะนี้ เพราะของที่ราคาถูกที่สุดในขณะนี้ในระยะยาวแล้วอาจจะกลายเป็นของที่ราคาแพงที่สุดก็ได้ เพราะถ้าเราซื้อของใช้คุณภาพไม่ดี ราคาถูก เสียบ่อย ต่อไปก็ต้องเสียค่าซ่อมบำรุงอยู่เรื่อย
5. เลือกจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อ เครื่องใช้บางอย่างที่วางแผนซื้อในช่วงที่เขาลดราคา หรือไม่ใช่ช่วงฤดูของการใช้จะซื้อได้ถูกลง เช่น การซื้อแอร์คอนดิชั่น ในช่วงหน้าหนาวราคาจะถูกกว่าช่วงหน้าร้อน หรือถ้าซื้อช่วงที่มีการลดราคาประจำปี ร้านค้าจะตั้งราคาต่ำมากกว่าช่วงเวลาปกติ
6. เมื่อจะตัดสินใจเลือกซื้อชนิดใดรูปแบบใดแล้ว ให้สอบถามราคาจากร้านที่มีชื่อเสียงอย่างน้อย 3 ร้าน เพื่อเปรียบเทียบกัน โดยเปรียบเทียบกันในเรื่องราคาและดูว่าผู้ขายมีศูนย์การให้บริการกระจายอยู่ทั่วไปหรือไม่ สัญญาการรับประกันสินค้าเป็นอย่างไร

การเลือกซื้อ (Shopping for appliances)

เมื่อได้วางแผนเรียบร้อยและกำหนดแนวทางในการซื้อของตนแล้ว ต่อไปก็ไปดูจากหลาย ๆ ร้านที่เลือกไว้แล้ว ดูว่าในสินค้าแบบเดียวกัน คุณภาพและบริการเหมือนๆกันนั้น ร้านไหนที่สามารถต่อรองราคาได้มากที่สุดก็ซื้อจากร้านนั้น โดยทั่วไปแล้วการซื้อของใช้ราคาแพงเหล่านี้ราคามักจะต่อรองได้เสมอ คือ สามารถซื้อได้ในราคาต่ำกว่าราคาที่ติดป้ายไว้ เพราะราคาที่ติดป้ายไว้เป็นราคาเต็ม ซึ่งได้รวมค่าคอมมิชชั่นที่พนักงานขายได้รับไว้ด้วย ซึ่งถ้าพนักงานขายจะลดราคาให้ต่ำลง โดยยอมรับค่าคอมมิชชั่นให้น้อยลงก็ย่อมทำได้ ในการซื้อควรสอบถามให้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งของ ในทางปฏิบัติเมื่อได้ตกลงซื้อแล้วก็ควรให้จัดส่งของโดยทันที เพื่อผู้ซื้อจะได้ทดลองใช้และดูว่าเครื่องทำงานดีหรือไม่ เหมาะกับการใช้ในบ้านของเราอย่างไร ใช้กับระบบไฟในบ้านได้ดีหรือไม่ หรือจะต้องแก้ไขให้เหมาะสมอย่างไร เพื่อผู้ขายจะได้ให้บริการโดยครบถ้วนและถูกต้องดังกล่าว ในการชำระเงินถ้ามีเงินสดเพียงพอก็ชำระเป็นเงินสดเพราะจะซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาเงินผ่อนมาก แต่ถ้ามีเงินสดไม่เพียงพอผู้ขายก็จะมีบริการชำระเป็นเงินผ่อน ซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ย ในการซื้อเงินผ่อนนี้ควรต้องคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงด้วย

การซื้อรถยนต์ใหม่ (Buying a new car)

ถ้าท่านกำลังคิดที่จะซื้อรถยนต์ใหม่สักคันหนึ่ง ท่านควรมีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ในด้านต่างๆให้ดี เพื่อที่ท่านจะได้สามารถเลือก ซื้อรถยนต์ได้ ตามความต้องการ โดยมีการลงทุนที่ต่ำที่สุดด้วย สำหรับขั้นตอนพื้นฐานประการแรกในการเลือกซื้อรถยนต์ใหม่ คือ ท่านต้องตัดสินใจว่า รถยนต์ชนิดใด ที่ท่านต้องการและท่านมีวงเงินที่สามารถจ่ายซื้อได้เป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ในขั้นตอนนี้ท่านสามารถขอคำแนะนำได้จาก ผู้มีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ ที่ท่านรู้จัก หรือขอคำแนะนำได้จากตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และแหล่งหาความรู้ที่ดีที่สุดอีกแหล่งหนึ่งก็คือ จาการอ่านนิตยสารเกี่ยวกับรถยนต์
ภายหลังจากที่ท่านสามารถตัดสินใจได้แน่นอนแล้วว่า ท่านต้องการรถยนต์ชนิดใด ขั้นตอนต่อไปที่ท่านต้องการทำการตัดสินใจก็ คือ ระยะเวลาในการใช้รถยนต์ว่าท่านมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้รถยนต์คันใหม่เป็นเวลานานเท่าใด เช่น ถ้าท่านคิดว่าจะใช้รถยนต์เพียงระยะ 2-3 ปี แล้วจะทำการแลกเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่อีกครั้งหนึ่ง ย่อมหมายความว่าท่านควรจะมีสภาพรถที่ไม่ทรุดโทรมมากนักภายในระยะเวลาอันสั้น เพื่อที่ท่านจะได้สามารถแลกเปลี่ยนได้ในราคาที่ค่อนข้างสูงพอสมควร ดังนั้นรูปแบบของรถยนต์ควรเป็นรูปแบบรุ่นใหม่ และไม่ดูล้าสมัยภายในเวลา 2-3 ปี ซึ่งหมายความว่าราคาของรถยนต์จะได้ไม่ตกลงไปมากนัก
ในทางตรงกันข้ามที่ท่านตัดสินใจว่าจะใช้รถยนต์คันใหม่ของท่าน ไปจนกว่ารถยนต์จะหมดสภาพการใช้งานอย่างจริงๆแล้ว ท่านควรใช้เงินลงทุนในการซื้อรถยนต์ในจำนวนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากท่านไม่ได้สนใจถึงรูปแบบของรถมากไปกว่าราคา ดังนั้นท่านจึงควรใช้เวลาคอยสักเล็กน้อยเพื่อให้รถรุ่นใหม่ตกเข้ามา และถ้าผู้ขายมีความต้องการจะระบายรถยนต์รุ่นเก่าออกไปมากเท่าใด ท่านก็จะสามารถซื้อรถยนต์คันใหม่ได้ในราคาที่ถูกลงเท่านั้น และถ้าท่านซื้อรถยนต์โดยมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกน้อยที่สุด เช่น ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่มีเกียร์อัตโนมัติ ไม่มีระบบกระจกไฟฟ้า ฯลฯ ท่านก็จะมีการลงทุนกับรถยนต์มากยิ่งขึ้น เพราะการเพิ่มเติมเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆเหล่านั้น ท่านสามารถจัดการเพิ่มเติมได้ภายหลังทีละรายการตามกำลังงบประมาณที่ท่านพอมีอยู่
เนื่องจากรถยนต์ใหม่มีราคาค่อนข้างแพง จึงควรใช้ความระมัดระวัง และพิถีพิถันเป็นพิเศษ การซื้อรถยนต์ใหม่ควรให้ความสนใจในเรื่องของ

- การเลือกรถยนต์
- การพิจารณาราคาที่เหมาะสม
- การต่อรองกับผู้ขาย

1. การเลือกรถยนต์ (Selecting the make of car)

ในการพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์ใหม่ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ควรให้ความสนใจ เช่น ความเชื่อถือได้ของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ (Reliability record) การรับประกันรถยนต์ (Warranty offered) ระบบเครื่องแบบธรรมดาหรือมีให้เลือกพิเศษ (Standard and optimal equipment available) ตลอดจนราคาขายต่อของรถที่ซื้อ (Resale value) รวมทั้งเรื่องการทดลองขับดู (Test drive)
1. 1. ความเชื่อถือได้ รถยนต์แต่ละยี่ห้อเป็นที่กล่าวถึงของผู้ซื้อต่าง ๆ กัน บางยี่ห้อเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นรถมีคุณภาพดี ไม่เสียง่าย ไม่ต้องซ่อมบ่อย ซึ่งในการเลือกซื้อรถก็ควรดูคุณสมบัติเหล่านี้ เพราะรถถ้าจะสวยอย่างเดียวแต่คุณภาพไม่คงทน ต้องเข้าอู่ซ่อมอยู่เรื่อยแล้ว ก็เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งควรจะได้ศึกษาข้อมูลเหล่านี้เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อด้วย
1.2. การประกันรถ การซื้อรถใหม่ในช่วงปีแรกหรือใน 20,000 กิโลเมตรแรก บริษัทรถยนต์มักจะให้การรับประกันว่า ถ้าเสียจะให้บริการซ่อมฟรี ในช่วงที่รถอยู่ในระหว่างการรับประกันของบริษัทค่าใช้จ่ายจึงมีน้อย ดังนั้นการซื้อรถจึงควรพิจารณาด้วยว่า รถยี่ห้อใดให้การรับประกันในเรื่องใดบ้าง มากน้อยเพียงไร
1.3. ระบบเครื่องแบบธรรมดาหรือมีให้เลือกเป็นพิเศษ รถยนต์แต่ละยี่ห้อจะมีระบบเครื่องที่แตกต่างกัน บางยี่ห้อจะมีเฉพาะระบบอัตโนมัติเท่านั้น แต่บางยี่ห้อก็มีให้เลือกทั้งระบบอัตโนมัติ และแบบธรรมดา ซึ่งผู้ซื้อสามารถเลือกได้ตามความประสงค์ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องราคาด้วย เพราะรถที่มีระบบอัตโนมัติราคาจะสูงกว่าแบบธรรมดา
1.4. ราคาขายต่อ รถยนต์บางยี่ห้อเวลาขายออกไปราคาจะตกมากกว่ายี่ห้ออื่น ราคาของรถมือสองจะเปลี่ยนไปทุก ๆ ปี วารสารยานยนต์หรือหนังสือพิมพ์ต่างๆ จะรายงานราคาของรถมือสองยี่ห้อต่างๆให้ผู้บริโภคทราบอยู่เสมอ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ที่จะทราบว่ารถยี่ห้อใด รุ่นใดที่ราคาตกมากหรือน้อยในเวลาขาย สิ่งที่ควรสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ รถที่มีขนาดต่างกันเวลาขายออกไปราคาจะตกไม่เหมือนกัน
1.5. การทดลองขับ ก่อนซื้อรถใหม่ควรทดลองขับให้แน่ใจจนเป็นที่พอใจเสียก่อน เนื่องจากรถแต่ละยี่ห้อระบบเครื่องยนต์ พวงมาลัย ระบบเกียร์ น้ำหนักรถ รูปทรง ประตู หน้าต่าง กระจก จะต่างกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลให้ผู้ขับขี่มีความรู้สึกว่านั่งสบายขับได้เหมาะมือหรือไม่ อย่าซื้อรถที่เมื่อทดลองขับแล้วรู้สึกไม่สะดวกสบายหรือคล่องตัวเป็นอันขาด
2. การทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ใหม่
ดังกล่าวแล้วว่าถ้าท่านมีข้อตกลง ในการเพิ่มเติมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายน้อยอย่าง ท่านก็จะมีการลงทุนในงบประมาณการซื้อรถยนต์ได้ลดลง ซึ่งอาจเป็นประมาณถึงร้อยละ 10-30 ของราคารถยนต์ที่ตกลงกันทีเดียว สำหรับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ผู้ซื้อสนใจจะได้รับ ได้แก่ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ การเปลี่ยนพวงมาลัยเป็นแบบ power การเปลี่ยนใช้เบรค ABS เป็นต้น

ทางเลือก  การใช้จ่ายที่ เพิ่มขึ้น โดยประมาณ  ข้อดี  ข้อเสีย
รถที่มีระบบการขับเคลื่อนโดย อัตโนมัติ เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ที่มีกำลังสูง เช่นแบบ 8 สูบ  3-5% 5% ขับง่ายโดยเฉพาะในถนนที่มีการ จราจรติดขัด เพราะสามารถ หยุดเครื่องได้ง่ายกว่า มีการทำงานดีกว่า และสามารถรับน้ำหนัก บรรทุกได้มากกว่า สิ้นเปลืองค่าน้ำมันหรือแก๊สอีกประมาณ ร้อยละ 10-15 สิ้นเปลืองน้ำมัน เพราะทำให้มีการใช้น้ำมันต่อไมล์ ในอัตราที่สูงขึ้น
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ  10% มีอากาศเย็นสบายโดยเฉพาะในช่วง การจราจรติดขัด และในฤดูร้อนผู้ขับจะไม่รู้สึกหงุดหงิด ราคาติดตั้งค่อนข้างสูงและ อาจทำให้รถใช้กำลังมาก จนเครื่องยนต์มีความร้อนสูงเกินไปได้
พวงมาลัย power  4-6% ง่ายในการบังคับเพราะ พวงมาลัยไม่หนัก สามารถเลี้ยวรถ หรือจอดรถได้สะดวกขึ้น ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพใน การขับรถ ให้แก่ผู้ขับได้ ถ้าผู้ขับรถไม่ใช่ ผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง
กระจกไฟฟ้า  3% สะดวกในการเปิดและปิด เพราะสามารถผ่อนแรงได้ดี เสียง่ายและต้องมีการซ่อมบ่อยครั้ง
เบาะหุ้มรถใหม่  1% มีความสวยงามเป็นการรักษาหนัง ไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ในการจอดรถในที่ร้อนบ่อยครั้ง ราคาแพงและสิ้นเปลืองเวลาใน การทำความสะอาด และต้องเปลี่ยนบ่อยครั้ง

3. การซื้อรถยนต์ที่ใช้แล้ว (Buying a used cars)

เนื่องจากรถยนต์ใหม่ในปัจจุบันมีราคาแพงขึ้นมาก ผู้บริโภคบางรายจึงหันมาพิจารณาซื้อรถยนต์ที่ใช้แล้ว สาเหตุที่ซื้อเพราะคิดว่าราคารถที่ใช้แล้วถูกกว่ารถใหม่ ซึ่งพอที่จะลงทุนซื้อหาได้ การซื้อรถยนต์ที่ใช้แล้วค่าใช้จ่ายในการลงทุนถูกกว่าก็จริง แต่ก็มีข้อเสียบางประการ เช่น มีข้อจำกัดในเรื่องการเลือกสีและแบบ นอกจากนั้นผู้ซื้ออาจเจอปัญหา "Lemon" ถูกย้อมแมวขาย คือสภาพรถเมื่อดูภายนอกแล้วดูใหม่ สีสันสวยงาม เครื่องยนต์ดูสะอาด แต่เมื่อซื้อไปแล้วยังมีปัญหาตามมาอีกคือ เป็นรถที่กินน้ำมันและยังจะต้องจ่ายค่าซ่อมอีกมาก ดังนั้นการพิจารณาซื้อรถยนต์ที่ใช้แล้ว ไม่ใช่เพียงแต่ว่ารถที่สามารถขับไปไหนมาไหนได้เท่านั้น แต่ต้องดูว่าค่าน้ำมันและตลอดจนค่าดูแลรักษา จะถูกกว่าจริงด้วยหรือไม่
จะสรุปได้ถึงข้อพึงปฏิบัติในการเลือกซื้อรถยนต์ที่ใช้แล้วไว้ 7 ประการด้วยกัน ดังนี้

  1. ควรพิจารณาดูเข็มไมล์ที่ใช้ในการวัดระยะทางของรถให้ถี่ถ้วน ว่ารถยนต์คันที่ท่านสนใจมีคนใช้งานมาแล้วเป็นระยะทางเท่าใด เพราะระยะทางที่ใช้งานจะสามารถบอกถึงความทรุดโทรมและสึกหรอของรถได้
  2. ตรวจสอบสภาพภายนอกของรถยนต์อย่างรอบคอบ ซึ่งเวลาที่ใช้ในการสำรวจควรเป็นเวลากลางวันที่ฝนไม่ตก เพื่อที่ท่านจะได้เห็นถึงข้อบกพร่องได้ชัดเจนขึ้น เช่น สนิมรถ สีด้านหรือสีกะเทาะ รอยขีดข่วนและรอยรั่วต่างๆ
  3. ตรวจสอบยางรถยนต์ จากจำนวนระยะทางที่แสดงในเครื่องวัดระยะทาง จะเป็นข้อมูลที่ใช้พิจารณาประกอบกับความสึกหรอของยางได้ เพราะถ้ายางรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานประมาณ 40,000 ไมล์ หรือเป็นระยะเวลา 4 ปี ย่อมหมายความว่า รถยนต์ที่ยังคงใช้ยางรถยนต์เส้นเก่า ท่านจะต้องมีรายจ่ายค่าเปลี่ยนยางรถยนต์เพิ่มขึ้นเมื่อซื้อรถยนต์คันนั้นไป
  4. ตรวจสอบสภาพภายในของรถยนต์ เช่น ผ้าหุ้มเบาะรถยนต์ ตัวเบาะรถยนต์ว่ามีรอยฉีกขาดหรือไม่ รวมถึงอุปกรณ์ภายในรถทุกชนิด
  5. พิจารณาดูรอยรั่วภายในรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบๆ หน้าต่างทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพราะในฤดูฝนท่านอาจมีความลำบากในการใช้รถ พร้อมทั้งมีรายจ่ายในการซ่อมแซมหลังคารถใหม่อีกด้วย
  6. ทดลองเดินเครื่องเพื่อสังเกตว่ารถยนต์มีสภาพของเครื่องยนต์ที่ดีอยู่หรือไม่ การติดต่อเครื่องทำได้ง่ายหรือไม่ เสียงเครื่องยนต์ผิดปกติหรือไม่ ท่อไอเสียอยู่ในสภาพดีหรือไม่ เพราะข้อบกพร่องทุกอย่างย่อมหมายถึง รายจ่ายค่าซ่อมแซมที่เพิ่มขึ้นของท่านทั้งสิ้น
  7. ทดลองขับรถยนต์ในระยะทางสั้นๆ เพื่อดูถึงสภาพการใช้รถในขณะขับเคลื่อนนับตั้งแต่การใช้พวงมาลัยรถ อัตราเร่งของรถยนต์ กำลังของรถ และเสียงของเครื่องยนต์ ในเวลาขับ ตลอดจนความสมดุล ความพอเหมาะ และความสะดวกสบาย ที่ได้รับในระหว่างการขับขี่

การเช่าซื้อ

การเช่าซื้อนั้นจะเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อยานพาหนะใหม่ หรือ ที่ใช้แล้ว ดังนั้นการเช่าซื้อจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกวิธีในการเป็นเจ้าของยานพาหนะ ซึ่งในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นการที่จะเช่าซื้อยานพาหนะนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ เพื่อที่ในแต่ละงวดจะมีพอจ่ายให้กับผู้เช่า

หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า

1. การส่งมอบทรัพย์สินให้เช่า จากลักษณะของสัญญาเช่าทรัพย์ ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์ให้เช่าแก่ผู้เช่า เพื่อให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่านั้นตามสัญญา ดังนั้นตามกฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าอยู่ในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว ผู้ให้เช่ายังต้องส่งมอบเรือยนต์ที่เหมาะสมในการขับขี่ไปในทะเลด้วย เช่น ต้องมีน้ำมันและห่วงชูชีพพร้อม เป็นต้น
2. การจัดให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าตลอดระยะเวลาการเช่า นอกจากหน้าที่ในประการแรก ผู้ให้เช่ายังต้องมีหน้าที่ดูแลผู้เช่าสามารถได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่านั้น ตลอดระยะเวลาการเช่าด้วย กล่าวคือ ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดูแล บำรุงรักษา และซ่อมแซมที่มีกฎหมายหรือจารีตประเพณีกำหนดให้ผู้เช่าเป็นผู้ซ่อมแซมเอง
กรณีที่กฎหมายกำหมายกำหนดให้ผู้เช่าเป็นผู้ดูแลซ่อมแซมเอง ได้แก่การบำรุงรักษาตามปกติ และการซ่อมแซมเล็กๆน้อยๆ เช่นเช่าบ้านอยู่อาศัย กระเบื้องปูพื้นแตก 2-3 แผ่น หรือมุ้งลวด ประตูหน้าต่าง ฉีกขาดไป ดังนี้เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ผู้เช่าต้องมีหนาที่ซ่อมแซมเอง

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เช่า

1.หน้าที่ในการชำระค่าเช่า จากลักษณะของสัญญาเช่าทรัพย์ ผู้เช่าเป็นลูกหนี้ มีหน้าที่ในการชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าเป็น การตอบแทนการที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่ให้เช่า
2.หน้าที่ในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่านั้นเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินขอตนเอง ตามสัญญาเช่า ผู้เช่า มีสิทธิ์ได้ครอบครองใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าตลอดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า และเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืน เพราะกรรมสิทธิ์มนทรัพย์สินที่เช่านั้นยังคงเป็นของเจ้าของอยู่ ดังนั้นในการครอบครองและใช้ทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ใช้ต้องใช้ความระมัดระวังบางประการ เช่น
- ในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่านั้น ผู้เช่าต้องใช้ตามที่กำหนดไว้ตามสัญญาที่เช่านั้น เช่น เช่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่นำไปบรรทุกทราย ดังนี้ เป็นการใช้ทรัพย์สินที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา และไม่เป็นไปตามกฎประเพณีในการเช่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล
- ในการใช้ทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าต้องสงวนรักษาทรัพย์สินนั้นเสมือนกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง
3.หน้าที่ในการคืนทรัพย์สินผู้เช่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้เช่ามีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า แต่มีข้อยกเว้นหากเป็นการเช่าที่นา และสัญญาได้ครบกำหนดลงในขณะที่ผู้เช่าได้เพาะปลูกขาวแล้ว ผู้เช่าก็มีสิทธ์ที่จะครอบครองใช้ประโยชน์ในนานั้นต่อไปจนกว่าจะเก็บเกี่ยวเสร็จ แต่ทั้งนี้ผู้เช่าก็ต้องชำระค่าเช่าในระหว่างนั้นด้วย
3. ความจำเป็นในการเช่าซื้อ
1. เนื่องจากไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะซื้อยานพาหนะใหม่หรือยานพาหนะที่ใช้แล้ว
2. เพื่อความสะดวกในการเดินทาง
3. เพื่อความรวดเร็ว
4. อื่นๆ