คาร์นิทีน (Carnitine)
คาร์นิทีน
นับเป็นวิตามินที่พึ่ง ค้นพบชนิดล่าสุดจัดอยู่ในประเภทที่ละลายน้ำ เป็นสารจำเป็นในการเผาผลาญไขมัน ร่างกายได้คาร์นิทีน 2 ทาง คือ จากอาหาร ที่รับประทานซึ่งมีทั้งในเนื้อสัตว์ และพืช ( ในเนื้อสัตว์มีคาร์นิทีนมากกว่าในพืช ) และจากการสังเคราะห์ขึ้นเองของร่างกาย ( เปลี่ยนไลซีนเป็นคาร์นิทีน ) ในการสังเคราะห์ขึ้นเองนี้ วิตามินซีเป็นปัจจัยที่จำเป็นมากเพราะเป็นตัวช่วยในกระบวนการสร้าง แหล่งที่พบส่วนมากเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง จะมีคาร์นิทีนสูงด้วย ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ไข่ ปลา นม และอาหารที่ได้จากผลิตภัณฑ์นมหน้าที่สำคัญของ Carnitine ต่อร่างกาย ทำหน้าที่เป็นตัวนำ และเคลื่อนย้าย กรดไขมัน (Fatty Acid) ภายในร่างกายก่อนที่จะใช้ในการสร้างพลังงานการขาดคาร์นิทีนมักเกิดร่วมกับ การขาดโปรตีน คนไทยในชนบทรับประทานข้าวเป็นหลักทำให้ได้ คาร์นิทีนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ผู้อยู่ในภาวะเครียด และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วย ที่เป็นโรคติดเชื้อ จะเสี่ยงต่อการขาดคาร์นิทีนมาก เพราะมีการสูญเสียคาร์นิทีนที่สะสมไว้ในกล้ามเนื้อออกทางปัสสาวะมากกว่า ปรกติ ส่วนข้อมูลอื่นๆยังตั้งค้นคว้ากันต่อไป
* ข้อมูลทั่วไป
o คาร์นิทีน นับเป็นวิตามินที่พึ่งค้นพบชนิดล่าสุดจัดอยู่ในประเภทที่ละลายน้ำ เป็นสารจำเป็นในการเผาผลาญไขมัน ร่างกายได้คาร์นิทีน 2 ทาง คือ จากอาหารที่รับประทานซึ่งมีทั้งในเนื้อสัตว์ และพืช ( ในเนื้อสัตว์มีคาร์นิทีนมากกว่าในพืช ) และจากการสังเคราะห์ขึ้นเองของร่างกาย ( เปลี่ยนไลซีนเป็นคาร์นิทีน ) ในการสังเคราะห์ขึ้นเองนี้ วิตามินซีเป็นปัจจัยที่จำเป็นมาก
* ประโยชน์ต่อร่างกาย
o ทำหน้าที่เป็นตัวนำ และเคลื่อนย้ายกรดไขมัน (Fatty Acid) ภายในร่างกายก่อนที่จะใช้ในการสร้างพลังงาน
* แหล่งที่พบ
o อาหารที่มีโปรตีนสูงจะมีคาร์นิทีนสูงด้วย ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ไข่ ปลา นม และอาหารที่ได้จากผลิตภัณฑ์นม
* ปริมาณที่แนะนำ
เด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี 28 -54 มิลลิกรัม
วัยรุ่น และ ผู้ใหญ่ 24 - 81 มิลลิกรัม
* ผลของการขาด
o การ ขาดคาร์นิทีนมักเกิดร่วมกับการขาดโปรตีน คนไทยในชนบทรับประทานข้าวเป็นหลักทำให้ได้คาร์นิทีนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ผู้อยู่ในภาวะเครียด และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อจะเสี่ยงต่อการขาดคาร์นิทีนมาก เพราะมีการสูญเสียคาร์นิทีนที่สะสมไว้ในกล้ามเนื้อออกทางปัสสาวะมากกว่า ปรกติ
o สำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ เอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างคาร์นิทีน ยังมีไม่สมบูรณ์เต็มที่จึงเสี่ยงต่อการขาดวิตามินชนิดนี้ ถ้าเมื่อใดร่างกาย อยู่ในภาวะอาหารไม่เพียงพอหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้นจำเป็นต้อง ให้ความสนใจและระวังเป็นกรณีพิเศษ
o ทำให้เกิดไขมันคั่งในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ และกล้ามเนื้อ เป็นต้น
* ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ คาร์นิทีนที่เกินความต้องการจะถูกสะสมไว้ในกล้ามเนื้อ และตับ ส่วนที่ร่างกายไม่ต้องการแล้ว จะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
o อาหารหรือสารที่เสริมฤทธิ์
+ อาหารพวกโปรตีน วิตามินซี
แอล-คาร์นิทีน
แอล-คาร์นิทีน เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเรานี่เอง โดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโน 2 ตัว คือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนีน (methionine) และแอล-คาร์นิทีนในร่างกายของเราก็ถูกใช้ไปในหน้าที่ต่างๆ หลายอย่าง เช่น เข้าไปช่วยเพิ่มกระบวนการใช้ไขมัน (fat) โดยการขนส่ง กรดไขมัน (fatty acid) เข้าไปในไมโทคอนเดรีย (ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการสร้างพลังงานของเซลล์) หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ แอล-คาร์นิทีน ช่วย ให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมัน ไปเป็นพลังงานนั่นเอง ซึ่งพลังงานที่ได้มานี้ส่วนใหญ่ก็จะถูกใช้สำหรับ การทำงานของกล้ามเนื้อทั่ว ร่างกายเรา นั่นเอง จากหน้าที่การทำงานพื้นฐานของสารชนิดนี้ทำให้สื่อโฆษณานำมาใช้เป็นประเด็น หลักในการสร้างโฆษณาในเห็นว่า "เมื่อกินแล้วคุณจะอยู่นิ่งไม่ได้นะ แบบว่าพลังงานมันเยอะจัด"
แอล-คาร์นิทีนถูกสร้างขึ้นภายในตับและไต และนำไปเก็บไว้ในกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle) ตัวอย่าง ก็เช่น กล้ามเนื้อตามแขน ขา ของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในหัวใจ สมอง และสเปิร์ม (ทำให้สเปิร์มเคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม เพราะแอล-คาร์นิทีน จะไปเร่งให้ไมโทคอนเดรีย เปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงานนั่นเอง) สำหรับในอาหารก็จะพบแอล-คาร์นิทีน ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผลอะโวคาโด (Avocado) ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วหมัก (tempeh)
จะเกิดภาวะการขาดแอล-คาร์นิทีนได้อย่างไร
คนที่ทานมังสะวิรัชอาจจะเกิดภาวะการขาดแอล-คาร์นิทีนได้ในบางครั้ง เนื่องจากแอล-คาร์นิทีน พบได้ในเนื้อสัตว์ นม และถั่วหมัก หรือในผู้ป่วยบางราย ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมของระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงในกรณีที่มีผู้ป่วยที่ขาดแอล-คาร์นิทีน (ซึ่งพบน้อยมาก) ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของยีน หรือตับ หรือไต หรือกินอาหารที่มีกรดอะมิโนไลซีน และเมไทโอนีนน้อย ก็จะมีอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอก เจ็บกล้ามเนื้อ แขนขาล้าอ่อนแรง ความดันเลือดต่ำ และอาจจะมีอาการมึนงงสับสนร่วมด้วย เป็นต้น
รูปแบบของคาร์นิทีนที่มีการนำมาใช้
คาร์นิทีนที่ถูกนำมาใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริม จะมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่ใช้กันแพร่หลายมีอยู่ 3 รูปแบบ
รูปแบบแรกก็คือ แอล-คาร์นิทีน (LC) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีราคาถูกที่สุด
รูปแบบที่สอง คือ แอล-อะซิทิลคาร์นิทีน [L-acetylcarnitine (LAC)] เป็นเพียงรูปแบบเดียวที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคแอลไซเมอร์ (Alzheimer) และโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสมองโรคอื่นๆ
รูปแบบสุดท้าย คือ แอล-โพรพิโอนิลคาร์นิทีน [L-propionylcarnitine (LPC)] ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาอาการเจ็บหน้าอก และโรคที่เกี่ยวข้องกับ โรคหัวใจ และใช้ได้ผลดีกับโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดตามแขนขาอีกด้วย (peripheral vascular disease - PVD)
การดูดซึมคาร์นิทีนของร่างกาย
ถ้าเรากินเข้าไป การดูดซึมของแอล-คาร์นิทีนจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้คาร์นิทีนกับ ผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือด และโดยการกิน
10 เหตุผลที่ควรรู้ก่อนเลือกกินคาร์นิทีน (Carnitine)
- คาร์นีทีนทำให้เราแก่ช้าลง แค่เหตุผลแรกก็ชวนให้เราหลงใหลใคร่อยากที่จะกินคาร์นิทีน กันแล้วสิ ที่คาร์นิทีนทำ ให้แก่ช้าลงได้ ก็เพราะเหตุผลที่ว่า เซลล์ในร่างกายของเราทุกๆ เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง เซลล์จากระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์จากหัวใจ หรือเซลล์จากที่อื่นๆ ในร่างกาย ทั้งหมด จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อ ได้รับพลังงานเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเซลล์แต่ละชนิด และคาร์นิทีนนี่เองที่เข้าไปช่วยทำให้เซลล์มีอายุยืนนานขึ้น
- คาร์นิทีนทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglycerides) อยู่ในระดับที่ต่ำ และช่วยเพิ่มระดับ HDL-คลอเรสเตอรอล ในเลือด
- นอกจากนี้ คาร์นิทีนยัง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โดยมีผลทำให้สุขภาพโดยรวมของหัวใจดีขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย (ซึ่งเป็น 1/3 ของสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคหัวใจตาย)
- คาร์นิทีนช่วยทำให้น้ำหนักลด โดยเฉพาะถ้าใช้ร่วมกันวิธีการที่เราลดอาหารจำพวกแป้งลงในอาหารแต่ละมื้อ
- คาร์นิทีนช่วย เพิ่มระดับพลังงานของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ ค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายใดๆ กับร่างกาย เหมือนกันที่พบในสารสกัดจากพืชสกุล Ephedra (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงอาหารและยาของอเมริกา ในเอกสารอ้างอิงครับ)
- และยังพบอีกว่าคาร์นิทีนช่วย ให้ความสามารถในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น มีความทนทานมากขึ้น และป้องกันเนื้อเยื่อ ไม่ให้เกิดความเสียหา ยอันเนื่องมาจากปริมาณออกซิเจนใน เซลล์ไม่เพียงพอ
- ทั้งคาร์นีทีน และ อะซีทิล-แอล-คาร์นิทีน (Acetyl-L-carnitine) ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
- อะซีทิล-แอล-คาร์นิทีนช่วยลดความเสียหายของเซลล์ประสาทอันเนื่องมาจากความเครียด และอาจจะมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ด้วย แต่ได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ทำให้อาการของโรคไม่เป็นไปมากกว่านี้
- อะซีทิล-แอล-คาร์นิทีน มีผลต่อสุขภาพจิตในทางบวก และลดภาวะความเครียดได้
- คาร์นิทีนช่วยในการทำงานของตับ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของเราด้วย
ข้อควรระวังในการใช้แอล-คาร์นิทีน
สำหรับคนที่คิดจะซื้อแอล-คาร์นิทีนมาใช้ควรต้องระวังเพราะอาจจะมีผลข้างเคียงต่างๆ เกิดขึ้นกับร่างกายได้ และอาจจะเข้าทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่กินร่วมกัน ดังนั้น ในการใช้แต่ละครั้ง ควรต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์จะปลอดภัยกว่า
ข้อควรจำให้ขึ้นใจก็คือ สสารทุกอย่าง มีทั้งประโยชน์และโทษในตัวเอง ขึ้นกับปริมาณและช่วงจังหวะเวลาของการใช้ ถึงแม้ว่า แอล-คาร์นิทีน จะไม่ปรากฏผลข้างเคียงใดๆ ที่เด่นชัดมากนัก แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าถ้ากินเข้าไปมากขนาด 5 กรัมต่อวัน หรือมากกว่า อาจจะทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียนได้ (ต้องอย่าลืมว่าเราได้แอล-คาร์นิทีนจาก อาหารประเภทเนื้อสัตว์และนมอยู่แล้วด้วย ซึ่งเราไม่สามารถทราบปริมาณที่แน่นอนได้) ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจจะพบได้บ้างก็เช่นมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัว และเกิดมีผื่นแดง และในนักกีฬาหรือคนที่กินแอล-คาร์นิทีน เสริมสำหรับการเล่นกีฬาเพื่อช่วยในการสลายไขมันและช่วยทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น ก็ควรจะต้องหยุดใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้าง อย่างน้อยเดือนละ 1 อาทิตย์ คือไม่ควรใช้ต่อเนื่องติดต่อกันไปเป็นเวลานานๆ
สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่ออาหารโปรตีน เช่น ไข่ นม หรือข้าวสาลี ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริมแอล-คาร์นิทีนเป็นอันขาด รวมไปถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับ ตับและไต เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ครับ