วิตามินบี 3 ไนอาซิน Niacin
- Tab 1
- Tab 2
- Tab 3
- Tab 4
- Tab 5
วิตามินบี 3 หรือไนอาซิน (Niacin) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีสภาพคงทนกว่าวิตามินบี 1 และ บี 2 หลายเท่าตัว มีความทนทานต่อความร้อน แสงสว่าง กรด ด่าง ไนอาซินเป็นวิตามินตัวเดียวที่ร่างกายสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโน คือ ทริปโตฟาน (Tryptophan) โดยที่ทริปโตฟาน 60 มิลลิกรัม จะให้ไนอาซิน 1 มิลลิกรัม
ประโยชน์ต่อร่างกาย
- มีส่วนร่วมในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
- ช่วยควบคุมการทำงานของสมองและระบบประสาท
- ช่วยรักษาสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น และเนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร
- จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
แหล่งที่พบ
เนื้อสัตว์ เนื้อปลา เป็ด ไก่ ถั่ว เครื่องในสัตว์ มันฝรั่ง ธัญพืช นม ยีสต์ ไข่ ผักสีเขียว
ปริมาณที่แนะนำ
นิยมใช้คำว่า “niacin equivalent” ซึ่งรวมถึงปริมาณไนอาซินที่บริโภคในอาหาร และที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน คือ 6-19 มิลลิกรัม แตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และปัจจัยอื่นๆ
บางกรณีที่ร่างกายจะต้องการไนอาซินเพิ่มขึ้น เช่น การเจ็บป่วย ความเครียด เด็กในระยะกำลังเจริญเติบโต ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อถกเถียงเรื่องการใช้ไนอาซินระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากยังขาดการวิจัยทางด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่เพียงพอ
ผลของการขาด
การขาดไนอาซินจะทำให้เกิดโรคเพลลากรา (pellagra) จะมีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ผิวหนัง และระบบประสาท
- อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร คือ ปากและลิ้นอักเสบ แสบร้อนในคอ เบื่ออาหาร ท้องอืดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องเดิน
- อาการทางผิวหนัง คือผิวหนังอักเสบแบบเดียวกันทั้งสองข้างของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด ความร้อน เช่น ที่มือ แขน หน้า ลำคอ และเท้า ตอนแรกจะเป็นผื่นแดงคล้ายถูกแดดเผา ถ้าไม่รีบรักษาจะทำให้ผิวหนังอักเสบมากขึ้น มักจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ในรายที่เป็นเรื้อรังผิวจะหนา เป็นร่อง มีสีเข้มขึ้น แห้งแตกเป็นเกล็ด ลอก และมีสะเก็ดเป็นบริเวณกว้าง
- อาการทางระบบประสาท จะมีอาการปวด มึนศีรษะ หงุดหงิด นอนไม่หลับ กังวล ซึมเศร้า ความจำเสื่อมและสับสน มีอาการแบบประสาทหลอน หากเป็นมากอาจวิกลจริต หรือมีความพิการทางสมอง
ผลของการได้รับมากเกินไป
หากได้รับในปริมาณมาก คือ 100 มิลลิกรัม หรือมากกว่า จะมีผลข้างเคียง คือ ผิวหนังจะคันและแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง และหากได้รับในปริมาณสูงมากๆ จะทำให้เป็นพิษกับตับ ผู้ที่เป็นโรคตับไม่ควรรับประทานวิตามินบี 3 เสริม สำหรับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ก็จะทำให้อาการแย่ลง นอกจากนี้ ยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและกรดยูริกสูงขึ้น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและโรคเกาต์เช่นกัน สำหรับผู้ป่วยต้อหินควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
อาหารหรือสารต้านฤทธิ์
- ผู้ที่บริโภคข้าวโพดเป็นอาหารหลัก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพลลากรา เพราะข้าวโพดมีทริปโตฟานต่ำ และไนอาซินในข้าวโพดอยู่ในสภาพที่ไปรวมตัวกับสารอื่น ซึ่งร่างกายของคนไม่มีน้ำย่อยที่จะย่อยไนอาซินให้อยู่ในรูปอิสระเพื่อจะดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้
- ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ หรือเป็นโรคตับแข็ง จะทำให้ร่างกายดูดซึมไนอาซินได้น้อยลง
- ผู้ที่เป็นวัณโรคของลำไส้ โรคลำไส้อักเสบ และท้องร่วงเรื้อรัง จะทำให้มีการย่อยและดูดซึมไนอาซินน้อยลง
- ผู้ที่เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน นอกจากอาหารที่ได้รับจะมีไนอาซินและทริปโตฟานต่ำแล้ว การดูดซึมไนอาซินของร่างกายจะลดลงด้วย
วิตามินบี ๓
เป็นวิตามินลึกลับที่น่าสนใจ แม้จนทุกวันนี้เรายังไม่เข้าใจบทบาทของมันแจ่มชัดนัก รู้แต่ว่ามันสามารถบรรเทาโรคได้หลายชนิด
หมอโรคหัวใจจะจ่ายวิตามินบี ๓ ขนาดสูงให้คนใช้ลดระดับโคเลสเตอรอลและไขมันในกระแสเลือด
จิตแพทย์เชื่อว่า วิตามินบี ๓ ขนาดสูงช่วยบรรเทาอาการป่วยในคนไข้จิตเภท หรือสกิโชพรีเนีย(Schizophrinia) ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ที่ชัดเจน
บทบาทของวิตามินบี ๓ ปรากฎให้ชาวโลกเห็น ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อปรากฏโรคประหลาดระบาดในยุโยป
อาการคือผิวหนังหยาบแตก เป็นผื่นแดง โดยไม่มีใครรู้สาเหตุ จน ๒๐๐ ปีถัดมา ก็ยังค้นพบอาการเช่นว่าเหมือนกับเป็นโรคลึกลับ
มีผู้ตั้งชื่อโรคนี้ว่า เพลลากรา (Pellagral)
ในสมัยกระโน้นเช่อกันว่า เพลลากราเกิดจากเชื้อโรคบางชนิด สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้
หมอพื้นบ้านเชื่อว่าเพลลากราเกิดจากการกินข้าวโพดเน่า ขณะที่ชาวบ้านบางคนสังเกตเห็นว่าโรคชนิดนี้จะระบาดมากในฤดูใบไม้ผลิ ช่วงที่แมลงฟักตัว มันจึงน่าจะติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ
มีนักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัยว่า เพลลากราเป็นโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร เพราะสังเกตพบว่า มันมักจะระบาด ในหมู่เกษตรกร ที่ทำไร่ข้าวโพด และกินข้วโพดเป็นอาหารหลักแทนข้าว
คนที่ใส่ใจแนวคิดนี้เป็นพิเศษ คือคุณหมอโจเซฟ ไกลด์เบอร์เกอร์ เขาได้ทำการทดลองกับเด็ก ๑๓ คนในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ที่ป่วยเป็นโรคเพลลากรา กับอาสาสมัครนักโทษในคุกมิสซีสซิปปีอีก ๑๑ คน
หมอโจเซฟให้คนทั้งสองกลุ่ม เปลี่ยนอาหารจากข้าวโพดต้มเป็นเนื้อสัตว์ นม ไข่ ขนมปัง ปรากฏว่าอาการหายสนิทเป็นปลิดทิ้ง
การค้นพบเกิดในปีค.ศ. ๑๙๑๕ ซึ่งเป็นช่วงความรู้ทางโภชนาการยังไม่พัฒนา จึงมีคนหัวเราะเยาะผลงานของคุณหมอโจเซฟ
จนถึงปีค.ศ.๑๙๓๗ คอนราด เอลเวเฮน(Conrad Elvehjem) กับผู้ร่ามงาน ไดสกัดกรดนิโคตีก นำไปให้สุนัขที่มีอาการเพลลากรากิน ปรากฏว่าหายจากโรคได้
กรดนิโคตินิกคือรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี ๓ นั่นเอง
หลังจากนั้นเป็นต้นมา วงการแพทย์ก็ยอมรับว่า เพลลากราคือโรคอันเกิดจากการขาดวิตามินบี ๓ ซึ่งมีน้อยมากในข้าวโพด
บทบาทหน้าที่
วิตามินบี ๓ ช่วยเร่งการทำงานของเอนไซม์ในการผลิตพลังงาน และช่วยงานวิตามินบีอื่นๆ
เชื่อว่ามันยังมีบทบาทมากกว่านี้ แต่เรายังค้นไม่พบประโยชน์ที่แท้จริง
แหล่งวิตามินบี ๓ ในธรรมชาติ
แหล่งอุดมวิตามินบี ๓ มีมากมาย เช่น เมล็ดข้าวซ้อมมือ เนื้อสัตว์ ปลาและรำข้าว กาแฟสำเร็จรูปทั้งที่สกัดคาเฟอีนและยังไม่ได้สกัด ล้วนอุดมไปด้วยกรดนิโคตินิก
วิตามินบี ๓ มีน้อยในผักสดทั้งผักใบเขียวและพืชส่วนใหญ่ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนม
วิตามินบี ๓ คงทนต่อออกซิเจนในอากาศและทนทานต่อความร้อนในการหุงต้มได้ แต่เช่นเดียวกับวิตามินบี ๒ มันละลายเข้าไปอยู่ในน้ำที่ใช้ขบวนการสร้างและปรุงอาหาร
วิตามินบี ๓ มี ๒ รูปแบบ
-หนึ่ง คือรูปที่เป็นกรด เรียกนิโคตินิิก (Nicotinic Acid)
-สอง รูปที่เป็นสารนิโคตินาไมด์ (Nicotiinamideหรือไนอาซินาไมด์ก็เรียก)
ทั้งสองรูปแบบเป็นพวกพร้อมใช้งาน คือร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย
กับยังมีสารชื่อทริปโทแฟน พบในเนื้อสัตว์ทุกชนิด ร่างกายสามารถนำไปเปลี่ยนแปลงเป็นบี ๓ ใช้งานได้อีกเช่นกัน
วิตามินบี ๓ ร้อยตัวในร่างกายเรา ได้จากอาหารโดยตรง ๔๐ ตัว ได้จากการเปลี่ยนทริปโทแฟน ๖๐ ตัว ดังนั้นการกินอาหารครบหมู่หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ จะทำให้คุณไดรับวิตามินบี ๓ เพียงพอแน่นอน
ยกเว้นคุณเลือกกิน
อาจมีคนสงสัยว่าเอ๊ะ...แล้วทำไมเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดจึงป่วยเป็นโรคเพลลากรา
ปัญหาชาวไร่ข้าวโพดเกิด เพราะกินขาวโพดเป็นอาหารหลักมากเกินไปครับ
ชาวไร่ส่วนใหญ่ยากจนกินเนื้อสัตว์น้อย จึงได้รับวิตามินบี ๓ จากข้าวโพดเป็นหลัก
แต่เจ้ากรรมบี ๓ ในข้าวโพดอยู่ในรูปที่ดูดซีมยาก และยังขาดทริปโทแฟนที่เป็นหัวใจในการสร้างวิตามินบี ๓ อาการเพลลากราจึงปรากฏ
การขาด
แม้วิตามินบี ๓ จะมีในอาหารหลากชนิด แต่เพื่อนร่วมโลกหลายคนก็ยังมีโอกาสขาดบี ๓ เพราะกินข้าวขัดขาวที่๔กขัดวิตามินออกเกือบหมด และยังกินโปรตีนน้อยด้วยความยากจน ร่งกายจึงได้รับสารทริปโทแฟนไม่เพียงพอที่จะนำไปผลิตวิตามินบี ๓
การดื่มสุรามากเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดการขาดวิตามินบี ๓ เช่นกัน
นอกจากนี้ การขาดวิตามินบี ๓ อาจเป็นผลจากการใช้ยาประเภทซัลฟาและยาปฏิชีวนะอื่นๆ แบบเดียวกับเพนิซิลิน
หากคุณขาดวิตามินบี ๓ จนถึงขั้นเกิดโรค จะพบอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ไม่อยากอาหาร ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดพลาด ก่ออาการไม่สบายในช่องท้อง จนถึงปรากฏอาการเพลลากราเต็มรูปแบบ
การใช้ในขนาดสูง
วิตามินบี ๓ ขนาดสูงถึง ๕๐๐ มิลลิกรัม - ๔ กรัม ใช้ได้ผลในการลดโคเลสเตอรอล และไตรกรีเซอไรด์ ทำให้ลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจขาดเลือด
แพทย์อาจจ่ายกรดนิโคตินิก ๑๐๐ มิลลิกรัมหลังอาหาร แล้วค่อยๆเพิ่มเป็น ๑,๐๐๐ มิลลิกรัม
เมื่อเวลาผ่านไปประมาณสิบสี่วันหรือมากกว่านั้น ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดจะลดลงเฉลี่ยถึง ๒๖% หลังให้การรักษาเป็นเวลาหนึ่งปี
หมอบางคนจ่ายวิตามินบี ๓ ในขนาด ๑๕๐ มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อหลังผลขยายหลอดเลือด ทำให้อาการปวดศีรษะไมแกรนบรรเทาลง
วิตามินบี ๓ ที่ออกฤทธิ์ดังกล่าวข้างบนต้องอยู่ในรูปกรดนิโคตินิกเท่านั้น ในรูปของไนอาซินาไมด์จะไม่ได้ผลเช่นนี้
การใช้ขนาดสูงมีอันตรายไหม
วิตามินบี ๓ จัดเป็นสารที่ปลอดภัยสูงเมื่อเทียบกับยาที่ใช้ในปัจจุบัน แต่อาจพบผลข้างเคียงได้เช่นทำให้เส้นเลือดขยายตัว เกิดความรู้สึกคันจั๊กจี้ที่ผิว หน้าแดงถึงคอและไหล่ แต่ไม่มีอันตรายอะไร
ในคนบางคน วิตามินบี ๓ ในขนาดสูง อาจทำให้อาหารไม่ย่อย โรคกระเพาะ ตับอักเสบ และอาจเพิ่มระดับกรดยูริกและน้ำตาลในเลือด จนทำให้หมอวินิจฉัยโรคพลาด คิดว่าคุณเป็นโรคเกาต์หรือเบาหวาน
ขณะที่เรากำลังสร้างสิ่งใหม่ สิ่งเก่าๆที่ดีงามก็ถูกละเลยไปทีละเล็กละน้อย ข้าวซ้อมมือแทนที่ด้วยข้าวขัดขาว โรคร้ายเมื่อสองร้อยปีที่แล้ว อาจหวนกลับมาหามนุษยชาติอีกครั้ง
วิตามินบี 3 (Niacin)
วิตามินบี 3 ส่วนใหญ่นิยมเรียกไนอะซิน (Niacin) จัดเป็นวิตามินละลายในน้ำ เป็นวิตามินหนึ่งในกลุ่มวิตามิน บีรวม (B Complex) มีสภาพคงทนมากกว่า วิตามิน บีหนึ่ง และ บีสอง หลายเท่าตัว ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็น วิตามินบี 3 (Niacin) ได้โปรตีนเรียกว่า ทริพโตฟาน (Tryptophan) ซึ่งเป็นสารต้นตอจะถูกเปลี่ยนภายในตับ วิตามินบี 3 และทริพโตฟาน (Tryptophan)พบในเนื้อไม่มีมัน เป็ด ไก่ ปลา ตับ วัว กุ้งเจ่า ผลิตผลจากจมูกข้าวสาลี ข้าวสาลี ถั่วแห้ง ถั่วสด บริวเวอร์ ยีสต์ และผักสีเขียวต่าง ๆ โดยเฉพาะผักชะอม ผักกระถิน มะแว้ง ใบชะพลู ใบทองหลาง ใบยอ และเห็ด หน้าที่ต่อร่างกายช่วยน้ำย่อยในการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตและช่วยร่างกายในการใช้สิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ,ช่วยในการไหลเวียน ของโลหิตภายในร่างกาย ,ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในเลือด ,เป็นตัวสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบประสาท ให้ทำงานเป็นปกติ , วิตามินบี 3 ควบคุมรักษาสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น และเนื้อหนังใน ระบบการย่อย, เป็นตัวสำคัญในการสังเคราะห์ ฮอร์โมนสืบพันธุ์ (Reproductive Hormone) ไฮรอกซินและอินซูลิน ,ช่วยให้จุลินทรีย์ในลำไส้เจริญงอกงาม ถ้าขาด วิตามินบี 3 ผิวหนังอักเสบเป็นจ้ำ ๆ สีม่วง เรียกว่า เพลลากร้า (Pellagra) และเกิดการอักเสบของลิ้นมีอาการร้อนวูบวาบ และคันตามผิวหนัง การทำงานของกระเพาะลำไส้ไม่อยากรับประทานอาหาร อาหารไม่ย่อย และระบบประสาทผิดปกติ เมื่อย ปวดประสาท และปลายประสาทอักเสบ (Neuritis)รู้สึกอ่อนเพลีย ซึมเศร้า กล้ามเนื้อไม่มีแรง เหนื่อยง่าย หงุดหงิด นอนไม่หลับ หวาดกลัว ความจำเสื่อม คลุ้มคลั่ง เจ็บปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เป็นที่ แน่นอน น้ำหนักตัวลด ลิ้นเป็นฝ้า แผลเปื่อยเน่า ลมหายใจเหม็น ปวดศีรษะเรื้อรัง
* ข้อมูลทั่วไป
o ไน อาซินหรือ วิตามินบี 3 เป็นวิตามินตัวเดียวที่ร่างกายสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโน คือ Tryptophan ในอัตราส่วน Tryptophan 60 มก. ต่อไนอาซิน 1 มก. การคิดปริมาณไนอาซินในอาหารเรียกว่า Niacin equivalent ซึ่งนำเอาปริมาณ Tryptophan มาคิดด้วย
o ไนอาซินเป็นสารละลายในน้ำ ถ้าเป็นผลึกจะมีสีขาว ไม่มีกลิ่นมีรสขม สูตรของมันคือ C6H5O2N มีความทนทานต่อความร้อน แสงสว่าง กรด ด่าง และการออกซิไดส์ ไนอาซินจะละลายได้ 16 กรัมต่อน้ำ 1 ซีซี สารที่มีคุณสมบัติป้องกันและรักษาโรค เพลลากรามี 2 อย่างคือ กรดนิโคตินิก และนิโคตินาไมด์ ( Nicotinicid, Nicotinamide ) เพราะร่างกายนำไปใช้ได้เหมือนกัน นิโคตินาไมด์ ละลายน้ำ และแอลกอฮอล์ได้ดีกว่ากรดนิโคตินิก และละลายได้ในอีเทอร์ และไนอาซินทนต่อแสงและความร้อนได้ดี สูตรโครงสร้างของ Nicotinic acid และ Nicotinamide
o ประวัติ
+ คศ. 1730 มีการสังเกตุกันว่ามีโรคผิวหนังชนิดหนึ่งเรียกว่า Mal de la Rosa อาการที่ปรากฏคือ ผิวหนังแห้ง แตก มีสีเป็นสีแดงกุหลาบ จะพบมากในหมู่คนจน ประเทศสเปญ อเมริกาใต้ อิตาลี ซึ่งเป็นพวกที่กินทอร์ทิลาร์ ( tortila ) เป็นอาหารหลัก ( ทอร์ทิลาร์ คือข้าวโพดแช่ในน้ำด่าง เมื่อนิ่มแล้วเอาแต่กากขึ้นมาตีเป็นแผ่นกลมๆ ) แต่โรคนี้มีอาการเกิดเป็นฤดู
+ คศ. 1771 พบในอิตาลี อาการอย่างเดียวกันตั้งชื่อโรคนี้ว่า เพลลากรา( pellagra )
pella = ผิวหนัง
agra = หยาบ
+ คศ. 1795 เคอร์รี ( Cerri ) ทดลองกับคนที่เป็นโรคนี้มาแล้ว และนำมาทำให้เป็นโรคอีก คือ ให้กินอาหารข้าวโพด แล้วทำการรักษาให้หายโดยใช้อาหารผสม เขาได้ตั้งข้อสังเกตุว่าการเป็นโรคอาจเนื่องจาก เป็นโรคติดเชื้อหรือเป็นจากอาหารคือในข้าวโพดมีสารเป็นพิษหรือเป็นโรคที่ เป็นกันตามฤดูกาล
+ คศ. 1920 โกลด์เบอร์เกอร์ ( Goldberger ) และคณะแสดงให้เห็นว่า เพลลากรา ( pellagra) รักษาให้หายได้ด้วย อาหารเนื้อสัตว์ หรือน้ำสกัดจากยีสต์ ซึ่งไม่มีโปรตีนแสดงให้เห็นว่าโรคนี้เกิดจากการขาดสารอาหารอื่นที่ไม่ใช่ โปรตีนป้องกันได้ด้วยสารที่ใช้ป้องกัน เพลลากรา ( pellagra perventing factor , P.P. factor )
+ คศ. 1937 Elvehjem ประสบความสำเร็จในการสกัดไนอาซิน หรือ P.P. factor นี้จากตับ
+ คศ. หนึ่ง. 1946 1947 มีผู้ค้นพบว่าทริปโทเฟน ถูกขับออกมาทางปัสสาวะจะพบ เอ็น-เมทิล-ไนอาซินนาไมด์ ( N-methyl niacinamide ) ออกมาด้วย จึงสรุปว่าสารสองสารนี้เกี่ยวข้องกันและสรุปต่อไปว่า สาเหตุของเพลลากรา คือ การขาดไนอาซิน และ ขาดสารแรกเริ่มของไนอาซิน
ประโยชน์ต่อร่างกาย
o เป็น ส่วนประกอบของเอนไซม์นิโคตินาไมด์อะดินินไดนิวคลีโอไทด์ ( nicotinamide adenine dinucleotidw , NAD ) และนิโคตินาไมด์ อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต ( Nicotinamide adenine dinucleotide phosphate , NADP ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาหลายอย่างในร่ากาย เช่น NAD เป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในกระบวนการไกลโคลิซีส (glycolysis ) และกระบวนการขนถ่ายอิเล็กตรอนในลูกโว่ของการหายใจของเซลล์ และ NADP เป็นโคเอไซม์ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์กรดไขมัน และคอเลสเทอรอล และเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนเฟนิลอะลานีนไปเป็นไทโรซีน
o ช่วยบำรุงสมองและประสาท
o ช่วยรักษาสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น และเนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร
o จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ
o ช่วยลดระดับ คอเลสเทอรอลในเลือด
แหล่งที่พบ
o แหล่งของไนอาซินในอาหาร มีในอาหารทั่วไปที่ได้จากสัตว์และพืช แหล่งที่มีมาก เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ถั่ว ข้าว เครื่องในสัตว์ แหล่งที่มีปานกลาง มันฝรั่ง ธัญพืช แหล่งที่มีน้อย น้ำนม ไข่ ผักและผลไม้ แต่น้ำนมและไข่มีทริปโทเฟน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกรดนิโคตินิกได้
o แบคทีเรียในลำไส้สังเคราะห์กรดนิโคตินิกได้ แต่เข้าใจว่าน้อยและไม่ได้เป็นแหล่งให้วิตามินที่สำคัญของร่างกาย
ปริมาณที่แนะนำ
o National Research Council แนะนำไว้ว่า ปริมาณที่ควรจะได้รับให้ยึดเอาปริมาณพลังงานและโปรตีนที่บริโภคเข้าไปมักจะ นิยมใช้คำว่า niacin equivalent ซึ่งรวมถึงปริมาณไนอาซินที่บริโภคในอาหารและที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ ซึ่งประมาณว่าควรที่จะบริโภค 6.6 มิลลิกรัมต่อ 1000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน และเนื่องจาก ทริปโทเฟนสามารถเปลี่ยนไปเป็นไนอาซิน ได้โดยที่ 60 มิลลิกรัมของ ทริปโทเฟน จะให้ไนอาซิน 1 มิลลิกรัม ดังนั้นปริมาณที่แนะนำให้บริโภคแต่ละวันคือ
ทารก 6 - 8 มิลลิกรัม / วัน
เด็ก 9 -18 มิลลิกรัม / วัน
ผู้ใหญ่ 13 -19 มิลลิกรัม / วัน
หญิงตั้งครรภ์ +2 มิลลิกรัม / วัน
หญิงให้นมบุตร +5 มิลลิกรัม / วัน
o เมื่อ การเมแทบอลิซึมภายในร่างกายเพิ่มขึ้น ความต้องการไนอาซินจะเพิ่มขึ้น เช่น เป็นไข้ บาดเจ็บ เด็ก ในระยะกำลังเจริญเติบโต และหลังจากออกกำลังกายเป็นต้น
ผลของการขาด
o การขาดไนอาซินจะทำให้เกิดโรคเพลลากรา ( pellagra ) เนื่องจากการขาดไนอาซินหรือได้รับไนอาซินน้อยเกินไป อาการของโรคในระยะแรกคือ จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย และต่อมาจะมีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ผิวหนังและประสาท
o อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร มีอาการเบื่ออาหาร ปาก ลิ้น อักเสบ ลิ้นแดงบวม ปวดท้อง ท้องเดิน ( diarrhea ) ความผิดปกติที่ปากและลิ้นคล้ายคนที่ขาดวิตามินบีสอง
o อาการทางผิวหนัง ( dermatitis ) คือผิวหนังอักเสบแบบเดียวกันทั้งสองข้างของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด ความร้อน เช่นที่มือ แขน หน้า ลำคอ และเท้า ตอนแรกจะเป็นผื่นแดงคล้ายถูกแดดเผา ถ้าไม่รีบรักษา ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แห้งแตกเป็นเกล็ดและลอก ถ้าถูกแสงแดด หรือถูกความร้อนจะทำให้ผิวหนังอักเสบมากขึ้น
o อาการทางประสาท ( newrologic symotoms ) จะมีอาการปวด มึนศรีษะ หงุดหงิด นอนไม่หลับ กังวล ซึมเศร้า ความจำเสื่อมและสับสน มีอาการแบบประสาทหลอนและถ้าเป็นมากอาจวิกลจริต ( dementia )
o การขาดไนอาซินอย่างมากนี้รวมเรียกว่า pellagra ซึ่งอาการที่ปรากฏรวมเรียกว่า 4 D S คือผิวหนังอักเสบนอกร่มผ้า ( dermatitis ) ท้องเสีย ( diarrhea ) อาการทางจิตและประสาท ( dementia ) และตาย ( death ) อาการเหล่านี้จะปรากฏภายหลังอาการแรกเริ่มประมาณ 5 เดือน
ผลของการได้รับมากไป
o ยัง ไม่ทราบผลที่แน่ชัดแต่ว่าถ้าได้รับในปริมาณมากคือ 100 มิลลิกรัม หรือมากกว่า จะมีผลข้างเคียง ( side effect ) เนื่องจากทำให้ฮีสตามีนออกมา คือ ผิวหนังจะคันและแดง แต่จะเป็นประมาณ 15 นาที อาการจะหายไป และการกิน Nicotinic acid วันละ 3 9 กรัม จะทำให้มีการใช้Glycogen ที่เก็บอยู่ในกล้ามเนื้อ ไขมันในซีรัมลดลง ลดการดึง Fatty acid จาก Adipose tissue มาใช้ และก่อให้เกิด Vascular dilation หรือ Flushing
* ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ การ ดูดซึมกรดนิโคตินิกและนิโคตินาไมด์ในอาหารจะถูกดูดซึมได้ง่ายที่ลำไส้เล็ก เมื่อเข้าไปในร่างกาย เนื้อเยื่อต่างๆ จะนำไปสังเคราะห์ นิโคตินาไมด์ อะอินีนไดนิวคลืโอไทด์ ( NAD ) และนิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต ( NADP ) ไนอาซินส่วนที่มากเกินความต้องการของร่างกายจะถูกกำจัดออกมาทางปัสสาวะในรูป ของ เอ็นเมทิลนิโคทินาไมด์และเอ็นเมทิลไพริโดน ( N-methyl nicotinamide and N- methypyridone )
+ ร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ไนอาซินได้เองจาก ทริปโทเฟน โดยที่ 60 มิลลิกรัมของ ทริปโทเฟน จะได้ไนอาซิน 1 มิลลิกรัม
+ ใน การเมแทบอลิซึมที่สมบูรณ์ของทริปโทเฟน ต้องใช้ไพริดอกซาลฟอสเฟต ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีวิตามินบี 6 เป็นองค์ประกอบ ช่วยน้ำย่อยในการเร่งปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมของทริปโทเฟนให้ดำเนินตามปกติ ถ้าขาดวิตามินบี 6 จะเกิดกรดแซนทูรินิก ( Xanthurunic acid ) แล้วขับออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ในการตรวจค่าวิตามินบี 6 และจะขาดไนอาซินตามมา
o อาหารหรือสารต้านฤทธิ์
+ การ บริโภคข้าวโพดหรือข้าวฟ่าง คนที่บริโภคข้าวโพดหรือข้าวฟ่างเป็นอาหารหลัก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพลลากรา เพราะข้าวโพดมีทริปโทเฟนต่ำ และไนอาซินในข้าวโพดอยู่ในสภาพที่ไปรวมตัวกับสารอื่น ซึ่งร่างกายของคนไม่มีน้ำย่อย ที่จะย่อยไนอาซินออกไปอยู่ในรูปอิสระเพื่อจะ ได้ไปดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนข้างฟ่างถึงแม้มีไนอาซินเพียงพอ และปริมาณทริปโทเฟนที่มีอยู่ไม่ต่ำ แต่ข้าวฟ่างมีลูซีนสูง เช่นเดียวกับข้าวโพด ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงไนอาซินเป็น NAD และ NADP ทำให้เกิดการขาดไนอาซินได้
+ การดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรังทำให้ร่างกายดูดซึมไนอาซินได้น้อยลง และมีโอกาสรับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย
+ การย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติ ผู้ที่เป็นวัณโรคของลำไส้ โรคลำไส้อักเสบ จะทำให้มีการย่อยและดูดซึมไนอาซินน้อยลง
+ การ เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน คนที่เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน นอกจากอาหารที่ได้รับจะมีไนอาซินและทริปโทเฟนต่ำแล้ว การดูดซึมไนอาซินของร่างกายจะลดลงด้วย รวมทั้งประสิทธิภาพในการเปลี่ยนไนอาซินไปเป็น NAD และ NADP ก็ลดลงเช่นกัน
o การประเมิน
+ ไน อาซินถูกสังเคราะห์ขึ้นได้ในร่างกายจากกรดอมิโนจำเป็น trytophan การสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับ ปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมน และสารอาหารอื่นๆเมื่อร่างกายขาดวิตามินบีหกและวิตามินบีสองจะทำให้การ สังเคราะห์ไนอาซินเกิดขึ้นได้น้อยลง ไนอาซินมีใน่ซลล์ร่ากายทุกๆเซลล์ มีเซลล์เพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่สามารถเก็บไนอาซินไว้ใช้ได้ทั้ง nicotinic acid และ nicotinamide รวมทั้ง metabolite อื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง N-methynicotinamide และ 2-pyridone จะถูกขับถ่ายออกมาในปัสสาวะ
+ ระดับ coenzyme NAD และ NADP ในเลือดจะไม่เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของวิตามินไนอาซินเพราะความเข้มข้นของ NAD และ NADP จะลดลง เนื่องจากการเจ็บป่วยอื่นๆด้วย ซึ่งไม่กี่ยวกับไนอาซินที่ได้รับจากอาหาร การประเมินจึงหันมาใช้ metabolite ของไนอาซินในปัสสาวะแทน metabolite ที่นิยมวัดในปัสสาวะมากที่สุดคือ N-methylnicotinamide ( NMN ) เมื่อพบระดับในปัสสาวะต่ำจะแปลผลได้ว่ามีการขาดไนอาซิน
+ การวิเคราะห์ปริมาณ NMN ในปัสสาวะ นิยมใช้วิธีการเก็บปัสสาวะในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น 3 ชั่วโมง 6 ชั่วโมงเป็นต้นขณะเดียวกันก็วิเคราะห์ปริมาณ เครอาตินินด้วย และแปลผลโดยการเปรียบเทียบกับค่าเครอาตินิน ( NMN/creatinine; mmol NMN/mol creatinine ) ส่วน metabolites ในปัสสาวะอีกชนิดหนึ่งคือ 2-pyridone ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะวิธีการที่ใช้ วิเคราะห์ยังทำได้ยากและไม่น่าเชื่อถือ นัก นักวิจัยบางคนจะใช้สัดส่วนของ metabolites 2 ชนิดนี้ ในการแปลผลภาวะโภชนาการ ของไนอาซิน ในปัจจุบันนี้สามารถวิเคราะห์ metabolites ของไนอาซินในปัสสาวะได้อย่างถูกต้องแม่นยำโดยใช้เครื่องมือ High performance liquid chromatography
โรคต่อมไทรอยด์
โรคไทรอยด์เป็นสาเหตุใดเนื่องจากขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือฮอร์โมนไทรอยด์เกิน (Hyperthyroidism) มีสองส่วนใหญ่เหตุผลที่พิจารณาว่าไนอาซินสามารถรักษาโรคต่อมไทรอยด์มี
ประการแรก B3 วิตามินเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เนื่องจาก, triiodothyronine ฮอร์โมนไทรอยด์ (T3) และไทรอกซีน (T4) จะได้มาจากกรดอะมิโน tyrosine และ Vitamin B3 (ไนอาซิน) จะต้องผลิต tyrosine ในร่างกาย ขาดของไทโรซีนอาจทำให้พร่อง ดังนั้น tyrosine จำเป็นสำหรับการทำงานที่เหมาะสมของต่อมไทรอยด์ tyrosine สามารถสังเคราะห์ในร่างกายจากกรดอะมิโนอื่น phenylalanine ที่ใช้ง่ายในที่สุดแหล่งอาหาร เพื่อให้การใช้ phenylalanine ร่างกายต้องการวิตามิน B3 (ไนอาซิน) นอกจากวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ดังนั้นควรมีปริมาณเพียงพอ B3 วิตามินสำหรับไทรอยด์ให้ทำงานตามปกติ ร่างกายยังต้องการวิตามิน B3 แปลง tyrosine ถึงสารอื่น ๆ รวมทั้งเมลานิน, เม็ดสีผิว
เหตุผลก็คือว่าโรคไทรอยด์มีการเชื่อมโยงกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ในความเป็นจริงบางโรคไทรอยด์เช่นของโรค Hashimoto, เป็นเพียงความผิดปกติของภูมิคุ้มกันชนิด สาเหตุของการพร่องได้รับมักจะเป็นระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นที่นี่ที่ B วิตามินมีบทบาทสำคัญมาก ทั้งหมดวิตามินบีเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างมากที่มีประสิทธิภาพในการสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง นอกจากนี้วิตามิน B3 (ไนอาซิน) ยังรับผิดชอบในการซึมของโปรตีนและการเจริญเติบโตของเซลล์ทั้งหมดที่มีความ สำคัญต่อการเจริญเติบโตของการมีสุขภาพระบบภูมิคุ้มกันและระบบภูมิคุ้มกันมี สุขภาพดีหมายถึงมีสุขภาพธัยรอยด์ แม้ว่าการศึกษาต่อการทดสอบได้แสดงให้เห็นได้ชัดว่าการรักษาวิตามินเป็นวิธี ที่มีประสิทธิภาพการประกันสุขภาพต่อมไทรอยด์
Vitamin B3 และหน่วยความจำ
สมองเสื่อม (AD) เป็นสาเหตุพื้นฐานในสองในสามของผู้ป่วยที่เป็นโรคโดย dementia AD เป็นโรคที่มักมาพร้อมกับ advancing ปี
คาดว่า 5 ล้านอเมริกันกลัวโดย AD ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 20 ล้านโดย 2040 โดยวันที่ 80 ล้านจากทั่วโลกจะประสบโรค
Six พื้นที่ทางปัญญาได้รับการระบุว่าได้รับผลกระทบโดยทั่วไปในผู้ป่วยที่เป็นโรค โดยสมองเสื่อม เหล่านี้ : การสูญเสียของหน่วยความจำทำลายการบริหารความยากลำบากในภาษาบกพร่องปฏิบัติ visuospatial, โรคความสนใจและมีผลต่อ อาการสำคัญและ commonest แรกของโรคคือการสูญเสีย neurodegenerative ของหน่วยความจำที่ดำเนินการข้อสรุปแน่นอน สมองปกติรับผลกระทบจากโรคเสื่อมสามารถเรียกคืนที่ประสบการณ์ที่ผ่านมาจะหรือ กิจกรรมในชีวิตของเขา ปรากฏการณ์ที่รู้จักกันในศัพท์ทางการแพทย์ซึ่งเป็นหน่วยความจำฉากที่บกพร่อง ในผู้ป่วยทุกข์ทรมานจากการเสื่อม การศึกษาอินได้รับการดำเนินการในปีล่าสุดที่มีผลต่อการโฆษณาในพื้นที่เฉพาะ ของหน่วยความจำฉากกับเส้นทางจิตและประสาทที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจความผิดปกติเพื่อนำไปสู่การค้นหารักษาต่อสู้ใหม่และ ข้อ จำกัด ของพวกเขา สูญเสียความทรงจำที่เกี่ยวข้องยังเป็นผลข้างเคียงของ Pellagra
การศึกษาได้ดำเนินการที่กรม Neurosciences ที่ University of California เพื่อศึกษาผลของการ B3 วิตามินในสัตว์ สัตว์หนูโดยเฉพาะมีผู้ควบคุมปริมาณของตลับสูตรที่มีวิตามิน B3 . ผลพิสูจน์ conclusively ที่รักษาสัตว์ได้รับการคุ้มครองจากการสูญเสียความทรงจำ
มีการศึกษาพบว่าระดับสูงของวิตามินบีได้มีผลประโยชน์ในการสูญเสียความทรงจำ ในฉากและล่าช้าในการโจมตีของสมองเสื่อมและจึงสมองเสื่อม โดยทั่วไปความต้องการของร่างกายวิตามินบีอย่างเพียงพอจะพบกับอาหารก้ำกึ่ง ปกติ แต่ถ้าไม่พอเสริมมี แต่ผลของการเสริมในการสูญเสียความจำฉากไม่ขึ้นเต็ม
Vitamin B3 และสมองเสื่อม
มีการศึกษาดำเนินการที่ภาควิชาศัลยกรรมที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในสัตว์ใช้ตลับสูตรที่มีวิตามิน B3
ผลที่ได้พิสูจน์ว่าสัตว์ได้รับการคุ้มครองจากการสูญเสียความปกติของสภาพคล้ายกับสมองเสื่อม
การศึกษาจนถึงขณะนี้ได้ดำเนินการส่วนใหญ่ในหนูโดยการละลายจำนวนนาทีของตลับ ในน้ำได้ ศึกษาได้ในระยะเวลาสี่เดือนหลังจากที่หนูได้ภายใต้การทดสอบต่างๆ . เหล่านี้ด้วยการทดสอบที่กำหนดได้รับการออกแบบเพื่อยืนยันความสามารถในการคิด ของตนก่อนและหลังการรักษา พบว่าหน่วยความจำระยะสั้นของพวกเขาดีขึ้นและสัญญาณของการเสื่อมสภาพ, ทั่วไปของเสื่อม, ถูกจับกุม
นักวิจัยสรุปว่าตลับมีผลต่อโปรตีนซึ่งก่อรอยโรคในลักษณะของสมองเสื่อม ตลับยังช่วยเสถียรภาพของนั่งร้านในสมองตามที่สัญญาณเดินทางนั้น ตลับต่อการป้องกันการสูญเสียการยอมรับแพร่หลายในหนูแล้วทรมานจากการเสื่อม
เพื่อให้ได้ผลเดียวกันเทียบเท่าเป็นมนุษย์จะต้องนำจะเป็น 2 กรัมต่อวัน FDA กำหนด 500 mg ว่าเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุด ปริมาณเกิน 10 กรัมขึ้นไปมีผลข้างเคียงพบความเสียหายรุนแรงรวมทั้งตับ
การศึกษาอย่างต่อเนื่องมีการดำเนินการที่มนุษย์ แต่เป็นวันที่ไม่มีหลักฐานสรุปสามารถปรับ B3 วิตามินในการรักษาเสื่อม
ปริมาณต่ำของ B3 วิตามินที่เรียกว่าเป็นกรด nicotinic หรือไนอาซินพบในธัญพืช, มันฝรั่ง, ถั่ว, ถั่ว, ไก่, เนื้อและปลา . นอกจากนี้ยังสามารถเลือกวิตามินเสริม