วิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิก (Folic Acid)
- Tab 1
- Tab 2
วิตามินบี 9
วิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิก (Folic Acid) เป็นวิตามินชนิดละลายในน้ำ และจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม ถูกทำลายได้ง่ายในแสงสว่างและที่ที่มีความร้อนสูง กรดโฟลิกเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะขาดบ่อยมากในอาหารธรรมดาของเรา แต่ถ้ามีมากก็จะถูกเก็บไว้ใช้เมื่อจำเป็น
ประโยชน์ต่อร่างกาย
ช่วยไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการสร้างเซลล์ สร้างภูมิต้านทานโรค การถ่ายทอดปัจจัยทางพันธุกรรม กระตุ้นถุงน้ำดีให้ผลิตน้ำดี ทำให้การย่อยและการดูดซึมกรดไขมันที่จำเป็นดีขึ้น และควบคุมการทำงานของสมองและอารมณ์ให้เป็นปกติ
แหล่งที่พบ
กรดโฟลิกมีมากที่สุดในผักสีเขียวเข้ม ผลไม้สด ตับ นอกจากนี้ยังพบได้ในมันฝรั่ง ฟักทอง แครอท ถั่ว รำข้าว และไข่แดง เป็นต้น
ปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน
สำหรับคนทั่วไปต้องการกรดโฟลิกวันละประมาณ 400 ไมโครกรัม ส่วนสตรีตั้งครรภ์และสตรีให้นมบุตร ความต้องการกรดโฟลิกจะเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ภาวะบางอย่างอาจทำให้ความต้องการกรดโฟลิกเพิ่มขึ้นเช่นกัน ได้แก่ การติดสุรา โรคตับ การฟอกไต โรคเลือดจาง ท้องร่วงเรื้อรัง โรคลำไส้ การผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน การเจ็บป่วยเรื้อรัง และความเครียดเรื้อรัง
สตรีมีครรภ์ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิก จะช่วยให้ทั้งแม่และเด็กในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ และช่วยให้ไม่เกิดโรคโลหิตจาง องค์การอนามัยโลกระบุว่าประมาณหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งของสตรีมีครรภ์ก่อนคลอด 3 เดือน จะเป็นโรคขาดกรดโฟลิก นอกจากจะทำให้แม่และเด็กไม่สมบูรณ์แล้ว ยังอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการ เพดานปากโหว่ สมองเสื่อม หรือปัญญาอ่อน
ผลของการขาด
อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ร่างกายขาดภูมิคุ้มกันโรค มีอาการท้องร่วงหรือเกิดอาการผิดปกติในลำไส้ นอกจากนี้อาจจะทำให้ร่างกายเติบโตไม่เต็มที่ ผมหงอกเร็ว เฉื่อยชา ขี้ลืม อ่อนเพลีย หงุดหงิด นอนไม่หลับ มีอาการทางประสาทอ่อนๆ เช่น มีความคิดสับสน
ผลของการได้รับมากเกินไป
โดยปกติแล้ว กรดโฟลิกมักจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ แต่หากมีอาการต่อไปนี้ ควรพบแพทย์โดยด่วน ได้แก่ เป็นไข้ อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ผิวหนังแดง หายใจสั้นๆ ผิวหนังเป็นผื่นหรือคัน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และหายใจมีเสียงดัง นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเลือดจางชนิดร้ายแรง (Pernicious Anemia) หากได้รับกรดโฟลิกอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้
อาหารหรือสารเสริมฤทธิ์ ได้แก่
วิตามินบีรวม วิตามินซี ไบโอติน
อาหารหรือสารต้านฤทธิ์ ได้แก่
ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดจะรบกวนการดูดซึมของกรดโฟลิก
สุรา ยาระงับประสาท และยาแก้ชักสำหรับรักษาลมบ้าหมู อาจต้านฤทธิ์กับกรดโฟลิก
วิตามินบี 9 (Folic Acid)
วิตามินบี 9 ส่วนมากรู้จักกันในชื่อ กรดโฟลิค ( Folic Acid ) วิตามินชนิดนี้ละลายในน้ำ (Watersoluble) และจัดอยู่ในเครือของวิตามินบีรวม และบางครั้งเราเรียกว่า โฟเลท โฟลาซิน หรือเทอโรอิลกลูทาเมท กรดโฟลิค หรือ วิตามินบี 9 กรดโฟลิคเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่พบว่า มักจะขาดบ่อยมาก ในอาหารธรรมดาของเรา แต่ถ้ามีมากจะถูกเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น มีมากที่สุดในผักสีเขียวจัด หน้าที่ของ วิตามินบี 9 ต่อร่างกายที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ กรดโฟลิคช่วยร่างกายในการสร้างเม็ดเลือด แดง โดยที่จะไปช่วยไขกระดูก ( Bone Marrow ) ให้ผลิตเม็ดเลือดแดง และควบคุมการทำงานของสมอง และอารมณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปกติสมบูรณ์ ทำให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้นและยังช่วยในการเผาผลาญ RNA ( Ribonucleic Acid ) และ DNA ( Deoxyribonucleic Acid ) ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนของการสร้างโลหิต สร้างเซลล์ และการถ่ายทอดปัจจัยทางพันธุกรรม และทำหน้าที่ร่วมกับ วิตามิน บี12 รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานโรคในต่อมไธมาส ( Thimas ) ให้แก่เด็กเล็ก และเด็กเกิดใหม่ความต้องการของร่างกาย จะต้องการเพิ่มมากขึ้น ในช่วงตั้งครรภ์ ดังนั้นสตรีมีครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิค จะช่วยทั้งแม่และเด็กในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ กับทั้งยังเป็นหลักประกันได้ว่า ไม่เกิดโรคโลหิตจางที่เรียกว่า เมกกาโลบลาสติค ( Megaloblastic Anamia ) เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกต ิและรูปร่างไม่เท่ากัน และเม็ดเลือดแดงนั้นๆ อายุสั้นตายก่อนกำหนดพบบ่อยในผู้หญิงตั้งครรภ์ อีกด้วยองค์การอนามัยโลก มีบันทึกเป็นหลักฐานว่าประมาณหนึ่งในสาม ถึงครึ่งหนึ่งของสตรีมีครรภ์ก่อนคลอด 3 เดือน จะเป็นโรคขาดกรดโฟลิค ถึงนอกจากจะทำให้แม่และเด็กไม่สมบูรณ์แล้วยังอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการ เพดานในปากโหว่ สมองเสื่อมได้อีกด้วยขาดเกิดภาวะโลหิตจาง ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน เกิดแผลที่มุมปากชนิดที่เรียกว่า ปากนกกระจอก
ข้อมูลทั่วไป
o วิตามินบี 9 ส่วนมากรู้จักกันในชื่อ กรดโฟลิค ( Folic Acid ) วิตามินชนิดนี้ละลายในน้ำ ( Watersoluble ) และจัดอยู่ในเครือของวิตามินบีรวม และบางครั้งเราเรียกว่า โฟเลท โฟลาซิน หรือเทอโรอิลกลูทาเมท กรดโฟลิค หรือ วิตามินบี 9 นี้ จะถูกทำลายได้ง่ายในแสงสว่าง และเมื่ออยู่ในสภาพที่มีความร้อนสูง 32 องศาเซลเซียสหรือทิ้งไว้นานๆในห้อง โฟลิคก็จะถูกทำลาย
o กรดโฟลิคเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่พบว่ามักจะขาดบ่อยมากในอาหารธรรมดาของเรา แต่ถ้ามีมากจะถูกเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น
ประโยชน์ต่อร่างกาย
o กระตุ้น ถุงน้ำดีให้บีบตัวแรงขึ้น เพิ่มพลังผลิตน้ำดีทำให้การย่อยไขมัน และการดูดซึมไขมันดีขึ้น โดยเฉพาะกรดไขมันที่จำเป็นเช่น แคโรทีน และวิตามินเอ ดี อี และวิตามินเค
o การใช้น้ำตาล และกรดอะมิโน ร่างกายจำเป็นต้องมีกรดโฟลิคช่วยในกระบวนการนี้
o กรดโฟลิคช่วยร่างกายในการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยที่จะไปช่วยไขกระดูก ( Bone Marrow ) ให้ผลิตเม็ดเลือดแดง
o ทำหน้าที่คล้ายน้ำย่อยทำงานร่วมกับวิตามินบี12 และวิตามินซี เผาผลาญโปรตีน และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
o เป็น ตัวสำคัญในการสร้าง Nucleic Acid ซึ่งจำเป็นสำหรับขั้นตอนในการเจริญเติบโตของร่างกาย และสร้างเซลล์ทั้งหลายให้กับร่างกายอย่างถูกต้องและเหมาะสม
o ควบคุมการทำงานของสมอง และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดีของสมอง และอารมณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปกติสมบูรณ์
o ทำให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น
o กระตุ้น การผลิตกรดไฮโดรคลอริค ( Hydrochloric Acid ) ซึ่งช่วยในการป้องกันตัวกาฝากในลำไส้และป้องกันอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ยังช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของตับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
o ช่วยในการเผาผลาญ RNA ( Ribonucleic Acid ) และ DNA ( Deoxyribonucleic Acid ) ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนการสร้างโลหิต สร้างเซลล์ และการถ่ายทอดปัจจัยทางพันธุกรรม และการทำหน้าที่ร่วมกับวิตามิน บี12 รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานโรคในต่อมไธมาส ( Thimas ) ให้แก่เด็กเล็ก และเด็กเกิดใหม่
* แหล่งที่พบ
o มี มากที่สุดในผักสีเขียวจัด ตับ และบริวเวอร์ยีสต์ นอกจากนี้ยังพบได้ในผลไม้สด ฟักทอง ถั่ว และเมล็ดต่างๆ อะโวคาโด แป้งข้าวสาลีทั้งเม็ด ( Whole Wheat) แป้งข้าวไรน์ แตงแคนตาลูป แครอท ไต ไข่แดง
* ปริมาณที่แนะนำ
ปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน
ทารกแรกเกิด 0-1 ปี 0.03 - 0.045 มิลลิกรัม
เด็กเล็ก 1 - 10 ปี 0.1 - 0.3 มิลลิกรัม
เด็กโต 11 - 18 ปี 0.4 มิลลิกรัม
ผู้ใหญ่ 4.0 มิลลิกรัม
o สำหรับ สตรีมีครรภ์ ควรเพิ่มอีก 0.4 มิลลิกรัม และสตรีที่อยู่ในระหว่างการในนมเด็ก ควรเพิ่มอีก 0.2 มิลลิกรัม ผู้ที่รับประทานยาแอสไพริน ( ASPIRIN ) หรือวิตามินซีมากๆ ควรรับประทานกรดโฟลิคเพิ่ม
* ผลของการขาด
o โลหิตจาง เพราะขาดกรดโฟลิค ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตแดงและจำนวนเม็ดโลหิตขาวต่ำ
o ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน หรือต่อต้านโรคเนื่องจากไม่อยากรับประทานอาหาร
o มีอาการลิ้นแดง ท้องร่วง และเกิดอาการผิดปกติในลำไส้
o สตรี ที่ขาดกรดโฟลิคในขณะตั้งครรภ์ จะมีผลทำให้เด็กในครรภ์มีความคิดที่ผิดปกติ ( ในบ้านเราเด็กที่มีความคิดเช่นนี้จำนวนสูง ) จิตใจของเด็กไม่เติบโตเท่าที่ควร ปัญญาอ่อน
o ทำให้ร่างกายเติบโตไม่เต็มที่ ผมหงอกเร็ว เฉื่อยชา เกียจคร้าน ขี้ลืม แก่เร็ว
o เกิดแผลที่มุมปากชนิดที่เรียกว่า ปากนกกระจอก
o เพลีย เหนื่อยอ่อน หงุดหงิด นอนไม่หลับ มีอาการทางประสาทอ่อนๆ เช่น มีความคิดสับสน
* ข้อมูลอื่นๆ
o อาหารหรือสารเสริมฤทธิ์
+ วิตามินบีรวม ( B Complex)
+ วิตามินบี12 โฟลิคจะทำงานได้ต้องอาศัยวิตามินบี 12 วึ่งคอยช่วยผลักดันกรดโฟลิคเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวของภูมิคุ้มกัน
+ ไบโอติน ( Biotin )
+ กรดแพนโทเธ็นนิค ( Pantothenic Acid )
+ วิตามินซี ช่วยป้องกันไม่ให้ถูกทำลายในปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจน
+ กรดโฟลิคเมื่อรับประทานรวมกับพาบา และกรดแพนโทเธ็นนิค ( วิตามินบี 5 ) จะช่วยป้องกันผมหงอก
+ สตรี มีครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิค จะช่วยทั้งแม่และเด็กในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ กับทั้งยังเป็นหลักประกันได้ว่าไม่เกิดโรคโลหิตจางที่เรียกว่า เมกกาโลบลาสติค ( Megaloblastic Anamia ) เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติและรูปร่างไม่เท่ากัน และเม็ดเลือดแดงนั้นๆ อายุสั้นตายก่อนกำหนดพบบ่อยในผู้หญิงตั้งครรภ์อีกด้วย
+ องค์การอนามัยโลก มีบันทึกเป็นหลักฐานว่าประมาณหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งของสตรีมีครรภ์ก่อน คลอด 3 เดือน จะเป็นโรคขาดกรดโฟลิค ถึงนอกจากจะทำให้แม่และเด็กไม่สมบูรณ์แล้วยังอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการ เพดานในปากโหว่ สมองเสื่อมได้อีกด้วย
o อาหารหรือสารต้านฤทธิ์
+ ถ้าวิตามินบี2 หรือ RIBOFLAVIN อยู่ร่วมกับกรดโฟลิคขณะมีแสงสว่างมากระทบ จะทำให้กรดโฟลิคถูกรบกวนหรือถูกทำลาย
+ ถ้ารับประทานกรดโฟลิคจำนวนมาก และใช้เวลานานอาจทำให้มีการสูณเสียวิตามินบี12 ออกจากร่างกาย
+ ยาซัลฟา ( SULFA ) อาจจะรบกวนแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งทำหน้าที่ผลิตกรดโฟลิค
+ แอมมิโนฟิริน ( AMINOPHERIN ) และสเตรพโตไมซิน ( STREPTOMYCIN ) ทำลายกรดโฟลิค
+ โรค ต่างๆ ที่มีอาการ อาเจียน ท้องร่วง และโรคสปรู ( โรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีอาการท้องเสีย อาหารไม่ย่อย ปากคอเจ็บ อุจจาระร่วง น้ำหนักลด และโลหิตจาง ) จะกระทบกระเทือนการดูดซึมอาหารเข้าร่างกาย จะมีผลทำให้ร่างกายขาดกรดโฟลิคได้
+ ยาคุมกำเนิดอย่างเม็ด จะรบกวนการดูดซึมของกรดโฟลิคเช่นกัน
+ สุรา ยาระงับประสาท ( ANTICONVULSANTS ) และยาแก้ชักสำหรับรักษา ลมบ้าหมู ( PHENOBARBITAL ) อาจไปต้านฤทธิ์กับโฟลิคเมื่อไปพบแพทย์ควรบอกให้แพทย์ทราบ