เลซิติน (Lecithin)

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3

เลซิติน เป็นสารไขมันที่ประกอบด้วย ฟอสฟาทิดิลโคลีน ฟอสฟอรัส โคลีน และกรดไขมันอีก 2 ชนิด ซึ่เง้จาเลซิตินนี้มีอยู่ในตัวเราเอง และอยู่ในอาหารต่างๆด้วย ถึงแม้เราจะพูดถึงเลซิตินซึ่งหมายถึง ประกอบด้วยสารหลายๆตัวเข้าด้วยกัน แต่เจ้าตัวสำมะคัญ หรือเป็นพระเอกของท้องเรื่องก็คือ โคลีนคร้าบ 

 โคลีนเป็นของเหลวข้น ไม่มีสี ละลายในน้ำ และแอกอฮอล์ ไม่คงตัวเมื่อถูกด่าง ในร่างกายจะอยู่ในรูปของ ฟอสฟอไลปิด หรือ อะเซทิลโคลีน 

 เชื่อกันว่าเจ้าโคลีนมีหน้าที่สำคัญหลากหลาย เรามาว่าในประการแรกก่อนก็แล้วกัน นั่นก็คือ โคลีนเป็น สารที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างเซลสมอง อะซิทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่าง เซลสมอง เพื่อช่วยความจำ และก็เป็นสารที่ช่วยให้ หนังเซลสมองและรอยเชื่อมต่อระหว่างเซลสมองด้วยกัน คงสภาพอยู่ได้ 

 นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ระดับของอะซิทิลโคลีนจะลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มคน ที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่เรารู้ๆกันคือ อัลไซเมอร์ จึงมีการใช้สารโคลีนเพื่อมารักษาโรคนี้ เพื่อหยุดยั้ง การเสื่อมโทรมของสมอง แต่อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ในส่วนนี้ยังไม่อาจถูกยืนยีนได้ถึง 100% 

 นอกจากนี้ เชื่อว่าประโยชน์อีกประการคือ โคลีนช่วยเร่งการสันดาปไขมันให้หมดเร็วขึ้น จึงเชื่อว่าจะทำให้ คอเลสเตอรอล ในกระแสเลือดลดลง แต่จากการศึกษาตลอดมายังไม่เคยมีหลักฐาน ที่เชื่อถือได้ว่า เลซิทินจะช่วยลดไขมัน ในเลือดหรือคอเลสเตอรอลได้จริง แต่กลับไปเพิ่มคอเลสเตอรอล แต่ขอโทษ เป็นคอเลสเตอรอลตัวดีที่เราเรียกว่า HDL 

 สรุปง่ายๆกว่า โคลีนซึ่งอยู่ในเลเซิตินนี้ มีผลต่อการทำงานของสมอง แต่ในส่วนของการละลาย คอเลสเตอรอลนั้นยังไม่มีผลงานวิจัย แสดงออกมาแน่ชัด 

Source :

ในปัจจุบัน ผู้บริโภคนิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากธรรมชาติเพื่อรักษาสุขภาพ ทําให้เลซิตินเป็นอาหารเสริมที่ได้รับความสนใจจาก กลุ่มคนที่เอาใจใส่ ดูแลสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อว่าเลซิตินจะช่วยบํารุงสมอง ป้องกันโรคความจําเสื่อม รวมทั้งช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดจึงเป็นเรื่องนาสนใจว่าเลซิตินคืออะไร มีความสําคัญ และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

สารเลซิติน คืออะไร

เลซิติน (lecithin) คือสารประกอบของไขมันและฟอสฟอรัส เรียกว่า ฟอสโฟลิปิด (phospholipid) มีสารสําคัญคือ ฟอสฟาทิดิล โคลีน (phosphatidyl choline) ฟอสฟาทิดิล เอทาโนลามีน (phosphatidyl ethanolamine) ฟอสฟาทิดิล อิโนซิตอล (phosphatidyl inositol) และกรดฟอสฟาทิดิก (phosphatidic acid) ผลิตภัณฑ์ของเลซิตินมีลักษณะทั้งที่เป็นของเหลว ข้น เหนียว และเป็นของแข็งซึ่งขึ้นกับปริมาณสารสําคัญทั้ง 4 ชนิดดังกล่าวข้างต้น

แหล่งของเลซิติน

เลซิตินพบมากทั้งในไขแดง นม สมอง ตับ ไต ถั่วเปลือกแข็ง ปลา ธัญพืช น้ํามันพืช และสัตว์ต่างๆ ในไขแดงมีเลซิตินประมาณร้อยละ 6 - 8 สําหรับในพืช พบว่าถั่วเหลืองมีเลซิตินสูงที่สุดประมาณร้อยละ 1.1 - 3.2 ในข้าวโพดมี ร้อยละ 1.0 - 2.4 และในเมล็ดฝ้ายพบเพียงร้อยละ 0.7 เดิมการผลิตเลซิติน เพื่อการค้าจะผลิต จากไข่แดง เนื่องจากปริมาณสูง แต่มีปัญหาที่สําคัญคือ มีต้นทุนการผลิตสูงภายหลังพบว่า สามารถผลิตเลซิตินได้จาก อุตสาหกรรมน้ํามันถั่วเหลือง ทําให้มีต้นทุนการผลิตลดลงและเลซิตินที่ได้จากถั่วเหลืองมีคุณภาพดีกว่าจากไข่แดง เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ดังนั้นเลซิตินที่สกัดจากถั่วเหลือง จึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เลซิตินที่สกัดแยกออกจากน้ํามันถั่วเหลืองที่อยู่ในรูปของเหลว จะมีส่วนประกอบของไขมันประเภท ไตรกลีเซอไรดสูงถึงร้อยละ 37 และมีโคลีนอยู่ร้อยละ 15 ส่วนเลซิตินที่อยู่ในรูปผงได้มาจากเลซิตินในรูปของเหลวจึงมีโคลีนสูงถึงร้อยละ 23 และมีไตรกลีเซอไรดเหลือเพียงร้อยละ 3 สารเลซิตินสังเคราะห์ที่วางขายในท้องตลาดมี 3 รูปแบบคือแบบของเหลว แบบแคปซูลและแบบผงคุณภาพของเลซิตินที่ดีจะต้องมีสารประกอบอื่นๆ เช่น น้ํามัน คาร์โบไฮเดรต ปะปนมาในปริมาณน้อย แต่ต้องมีส่วนประกอบของฟอสโฟลิปิดในปริมาณสูงโดยเฉพาะฟอสฟาทิดิล โคลีน เลซิตินที่สกัดได้จะมีสีแตกต่างกัน ตั้งแต่สีเหลืองจนถึงสีน้ําตาล ถ้าต้องการเลซิตินสีอ่อนอาจใช้สารเคมี เช่น ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ ช่วยในการฟอกสี ให้ได้สีตามต้องการ

ประโยชน์ของเลซิติน

1. เลซิตินกับอุตสาหกรรม
เลซิตินถูกนํามาใช้อย่างกว่างขวางในอุตสาหกรรม เช่น
- ในอุตสาหกรรมการผลิตมาการีนจะมีการเติมเลซิตินลงไป เพื่อให้น้ําสามารถรวมตัวได้กับน้ํามัน และยังช่วยป้องกันการกระเด็นของน้ํามัน เมื่อใช้มาการีนทอดอาหาร
- ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มโกโก้ เลซิตินจะช่วยทําให้ส่วนผสมที่ไม่ค่อยละลายน้ํา ให้ละลายในน้ําได้เร็ว
- ในอุตสาหกรรมลูกกวาด โดยเฉพาะลูกกวาดที่มีความนุ่ม เช่น คาราเมล จะมีการเติมไขมันเพื่อลดความเหนียวแข็ง ทําให้ลูกกวาดนุ่มขึ้น และตัดเป็นชิ้นไม่ติดกัน

2. เลซิตินกับสุขภาพ
จากคุณสมบัติของไขมัน หรือ คอเลสเตอรอลที่ไม่ละลายรวมกับน้ํา ทําให้คอเลสเตอรอลไม่ละลาย ในเลือดและจะจับตัวเป็นก้อนตกตะกอนอยู่ในเส้นเลือด เลซิตินจะช่วยทําหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ ให้ไขมัน หรือคอเลสเตอรอลและน้ํารวมตัวกันได้ ทําให้ไขมันหรือคอเลสเตอรอลไม่เกาะติดกับผนังเส้นเลือด และเกิดการอุดตัน นอกจากนั้นกรดไขมันที่พบในเลซิตินส่วนใหญ่จะเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จําเป็นต่อร่างกาย เช่น กรดไลโนลีอิก กรดไขมันดังกล่าวจะช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจได้อีกด้วย นอกจากนั้นเลซิตินยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ เช่น

- ช่วยสลายนิ่วที่เกิดจากสารคอเลสเตอรอลในถุงน้ําดีและป้องกันไม่ให้เกิดนิ่ว
- ช่วยเสริมสร้างสุขภาพของไต
- ช่วยบํารุงสมองและระบบประสาท
- ช่วยบําบัดโรคตับและช่วยป้องกันไม่ให้ตับทํางานผิดปกติ
- ลดการเสื่อมของหลอดเลือดแดง

3. เลซิตินกับการเป็นอาหารเสริม
สําหรับผู้ที่มีสุขภาพดี อาจเลือกรับประทานเลซิติน จากอาหารที่มีเลซิตินเป็นองคประกอบเช่น ไข่แดง พืชตระกูลถั่ว และธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสีเปลือกออกหมด ในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพข้างต้น อาจรับประทานเลซิตินเป็นอาหารเสริมควบคู่กับการรับประทานอาหารหลัก เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ประกอบกับการออกกําลังกาย ตลอดจนการมีอารมณ์ที่แจ่มใส จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ แม้ว่าเลซิตินจะมีประโยชน์หลายประการ แต่การรับประทานเลซิตินในปริมาณที่มากเกินไป อาจทําให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาจทําให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้ําลายหลั่งออกมาก เบื่ออาหารเหงื่อออกมาก ดังนั้นผู้บริโภคควรระมัดระวังในการใช้เลซิตินสังเคราะห์ ควรรับประทานอาหารที่มีเลซิตินตามธรรมชาติก็จะได้ประโยชน์ เช่นเดียวกัน
เลซิตินเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งกําหนดอยู่ในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 พุทธศักราช 2547 ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนการจําหน่าย ดังนั้นในการเลือกซื้อเลซิตินสังเคราะห์ ผู้บริโภคควรดูว่าสินค้ามีเครื่องหมาย อย. วันหมดอายุ ชนิด และปริมาณสารสําคัญในผลิตภัณฑ์หรือไม่

กระทรวงสาธารณสุข

เลซิตินเป็นสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน(Choline) และอินอสซิตอล (Inositol) เราสามารถพบเลซิตินได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ สำหรับร่างกายมนุษย์จะพบมากในอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ตับ ไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองมีเลซิตินเป็นส่วนประกอบถึง 30% ซึ่งเลซิตินจำเป็นต่อการควบคุมขบวนการต่างๆภายในเซลล์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วเราได้รับเลซิตินจากอาหารทั่วไปอยู่แล้ว แต่อาจไม่เพียงพอต่อร่างกาย

เลซิติน พบได้ตามธรรมชาติจาก 2 แหล่ง ที่สำคัญ คือ

ร่างกายมนุษย์ สามารถผลิต "เลซิติน" ขึ้นได้เองโดย "ตับ" สารตั้งต้นที่ร่างกายใช้ผลิตเลซิติน เช่น กรดไขมันจำเป็น วิตามินบี และสารอาหารสำคัญอื่นๆ หากร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆเหล่านี้ไม่เพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายสร้างเลซิตินได้ไม่เพียงพอ
แหล่งธรรมชาติ พบได้ทั้งในพืชและสัตว์ โดยจะพบมากในไข่แดง ถั่วเหลือง เมล็ด ทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี เป็นต้น ส่วนใหญ่อาหารเหล่านี้มักจะให้โคเลสเตอรอลสูงด้วย
การรับประทานเลซิตินเสริมจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันเลซิตินมักจะสกัดได้จาก ไข่แดง และถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองจะเป็นแหล่งที่ดีในการสกัดเลซิติน เพราะปราศจากไขมันโคเลสเตอรอล และยังอุดมไปด้วยโปรตีนที่มีคุณค่าต่อร่างกายมากกว่า ซึ่งร่างกายของเราต้องการเลซิตินวันละ 6 กรัม ส่วน Choline ต้องการวันละ 0.6-1 กรัม สมัยก่อนไม่ค่อยพบว่ามีการขาดสารเลซิติน แต่ปัจจุบันคนนิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ จึงอาจจะทำให้เกิดการขาดสารเลซิติน

เลซิติน...ช่วยเสริมความจำ ป้องกันสมองเสื่อม

จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ อเดลล์ เดวิส นักโภชนาการชาวสหรัฐ ได้รายงานว่าในร่างกายของคนที่มีสุขภาพดี จะมีสารเลซิตินอยู่ในสมองถึง 30% ของน้ำหนักทั้งหมด เลซิตินจึงมีความสำคัญต่อสมอง
ซึ่งในปี 1975 นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันเทคโนโลยี แมตซาจูเสต ค้นพบว่าโคลีนในเลซิติน เป็นสารจำเป็นที่ร่างกายจะนำไปใช้เพื่อสร้างสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่เรียกว่า อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งช่วยในการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมองแต่ละเซลล์ และระหว่างสมองกับการสั่งงานไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และช่วยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดข้อมูลและความรู้สึกเพื่อให้แสดงพฤติกรรมต่างๆ ได้ตามความต้องการของสมอง

นอกจากนั้น ปัจจุบันการรักษาทางการแพทย์ได้ใช้เลซิตินในการบำบัดโรคทางสมองต่าง ๆ เช่น Parkinson's Disease, Alzheimer's Disease, Tardive Dyskinesia ซึ่งเป็นโรคทางสมอง ที่เกิดจากเซลล์ประสาทขาดสาร Acetylcholine หรือคนชราที่ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม พบว่าบางคนอาจจะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับประทานเลซิติน วันละ 25 กรัม เป็นเวลาหลาย ๆ เดือนติดต่อกัน และการศึกษาในผู้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม (Alzheimer's Disease) ระยะเริ่มแรก พบว่าการให้โคลีนเป็นระยะเวลา 6 เดือนจะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีนร่วมกับยาที่ใช้รักษา (cholinesterase inhibitors) ก็ทำให้มีการพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำด้วย

และสำหรับสภาพสังคม ในปัจจุบันมนุษย์ส่วนใหญ่จะมีการเครียดสูง หลงลืม หงุดหงิด นอนไม่หลับ และอารมย์เสียง่าย ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคเส้นประสาทเสื่อม พบว่าอาการดังกล่าวอาจบำบัดได้โดยการรับประทานเลซิติน

เลซิติน...ช่วยบำรุงตับ ลดการทำลายเซลล์ตับ

สารสำคัญที่พบในเลซิติน คือ ฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็นสารที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย รวมทั้งเซลล์ตับ นอกจากนั้นฟอสฟาทิดิลโคลีน ยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติจากยา แอลกอฮอล์ สารเคมี สารพิษต่างๆ ที่มีส่วนในการทำลายตับ ดังนั้นฟอสฟาทิดิลโคลีน ในเลซิตินจึงมีบทบาทในการช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับได้

การใช้เลซิตินในการบรรเทาโรคตับชนิดต่างๆ

โรคตับจากแอลกอฮอล์ จากรายงานทางการแพทย์ของ Lieber และคณะในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นการศึกษาทั้งหมด 20 ศูนย์ในอเมริกา โดยมีผู้ป่วยเข้าร่วม การศึกษาทั้งหมด 789 ราย โดยผู้ป่วยจะได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน จากผลการตรวจชิ้นเนื้อของตับที่ 24 เดือน หลังจากการรักษาพบว่า ผู้ป่วยโรคตับจาก แอลกอฮอล์ที่ได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน มีแนวโน้มที่ดีและค่าเอมไซม์ของตับดีขึ้น
โรคตับจากยา จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่ามีการศึกษาการป้องกันตับอักเสบในผู้ป่วยที่รับยาต้านวัณโรค จำนวนคนไข้ 340 คน โดยได้รับยาต้านวัณโรค ร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน 900 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน พบว่ากลุ่มคนไข้ที่ได้รับ ยาต้านวัณโรคร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน ไม่พบค่าความผิดปกติของค่าเอมไซม์ของตับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน กลับพบว่าค่าค่าเอมไซม์ของตับสูงขึ้นกว่าปกติ

โรคตับจากภาวะไขมันพอกตับ

เซลล์ตับปกติ เซลล์ตับที่มีไขมันพอก
ไขมันพอกตับหรือที่เรียกว่า Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) หมายถึงภาวะที่มีไขมัน อยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มสุรา เซลล์ไขมันนี้จะไม่ก่อนให้เกิดการเสียหายหรืออักเสบกับตับในระยะแรก แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่ไขมันทำให้เกิดการอักเสบของตับ จนในที่สุดก็จะเป็นตับแข็ง (Cirrhosis) ซึ่ง

เลซิตินช่วยลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้เพราะ

โคลีนในเลซิตินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ตับ พบว่าหากขาดโคลีนจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้
โคลีนจะมีผลในการเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ ทำให้ไขมันถูกนำไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น
เลซิตินมีผลในการช่วยลดไขมันในเลือด โดยเฉพาะไขมันโคเลสเตอรอลที่เป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ดังนั้นการรับประทานเลซิตินจะทำให้ลดโอกาสเกิดภาวะไขมันพอกตับได้
เลซิติน...ช่วยลดไขมันโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด

เนื่องจากคุณสมบัติของไขมันโคเลสเตอรอลที่ไม่ละลายรวมตัวกับน้ำ ทำให้ไขมันโคเลสเตอรอลไม่ละลายในเลือด แต่จะจับตัวเป็นก้อนตกตะกอนอยู่ตามผนังเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน และโรคสมองและหัวใจขาดเลือดตามมาได้ในที่สุด ซึ่งเลซิตินจะมีคุณสมบัติช่วยทำให้ไขมันโคเลสเตอรอลและน้ำรวมตัวกันได้ดีขึ้น ส่งผลให้ไขมันโคเลสเตอรอลไม่เกาะติดกับผนังเส้นเลือดจนเกิดการอุดตัน และช่วยเพิ่มระบบไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น นอกจากนั้นเลซิตินช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด โดยช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมันของตับ ส่งผลให้ร่างกายมีการนำไขมันไปใช้เป็นพลังงานได้ดี

นอกจากนั้นเลซิตินยังมีส่วนช่วยลดการดูดซึมและเพิ่มการขับถ่ายไขมันโคเลสเตอรอลทางอุจจาระ และช่วยเพิ่มสัดส่วนของไขมันเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol) ที่เป็นไขมันชนิดดี ที่มีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังเส้นเลือดกลับไปทำลายที่ตับ ส่งผลในการช่วยลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลได้อีกทางหนึ่ง

เลซิติน.....ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อสุขภาพ

ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ในผู้ที่มีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
เลซิตินเป็นองค์ประกอบของเยื่อบุผิวของเซลล์ เพราะร่างกายจะนำเลซิตินไปใช้ในการสร้างเยื่อบุผิวเซลล์ต่างๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือด เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ผิวหนัง รวมถึงเซลล์ของอวัยวะต่างๆ
ช่วยในกระบวนการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดีขึ้น การรับประทาน Lecithin จะช่วยให้ร่างกายสามารถนำวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และ เค ดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกาย เพราะเลซิตินจะช่วยทำให้ไขมันกระจายตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่แขวนลอยในน้ำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันโคเลสเตอรอลได้ดีขึ้น

เลซิตินที่ดี ต้องปลอดสารฟอกสี

ปัจจัยสำคัญในการเลือกสารอาหารจากธรรมชาติ คงต้องคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยที่จะได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งการเลือกเลซิตินที่บริสุทธิ์สกัด จากถั่วเหลือง เป็นวัตถุดิบเกรดเอที่ปราศจากการสารฟอกสี การแต่งสี แต่งรส เนื่องจากสารฟอกสีเป็นสารที่มักจะนิยมใช้ในขบวนการการผลิตเลซิติน ซึ่งเป็นอันตรายก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบ และตับแข็งได้ถ้ารับประทานต่อเนื่องในระยะยาว

ดังนั้นจึงควรเลือกเลซิตินที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยา ระดับสากล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก

GMP ของประเทศไทย
BfArm ของประเทศเยอรมัน
TGA ของประเทศออสเตรเลีย
ทำให้มั่นใจในคุณภาพของเลซิตินว่าได้ผ่านการคัดสรรและขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐาน จะทำให้สามารถมั่นใจในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการรับประทาน และลดความเสี่ยง มั่นใจว่าได้รับเลซิตินที่บริสุทธิ์ ปราศจากการสารฟอกสี สารแต่งกลิ่น และรส เพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและความปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาว

ขนาดการรับประทานที่เหมาะสมของเลซิติน / รับประทานวันละ

เพื่อเสริมความจำ ป้องกันสมองเสื่อม / 1,200-3,600 มิลลิกรัม

เพื่อบำรุงตับ ลดการทำลายเซลล์ตับ / 1,200-3,600 มิลลิกรัม

เพื่อลดไขมันโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด / 3,600-7,200 มิลลิกรัม

เอกสารอ้างอิง

Medical Progress CME, February 2007
G.B.Arsell., The neuropharmacology of lecithin and its metabolites, Lecithin and Aemlthcare, 1985, 247-255
Balch, Jame F, Prescription for Nutritional Healing, 1993, PP.43-44
Murray, Michael T., Encyclopedia of Nutritional Supplement, 1996 PP. 137-141
National Research Council (U.S.) Committee on Diet and Health; Implications for reducing chronic disease Risk., 1989, pp. 216-217
Effect of dietary polenylphosphatidylcholine of metabolism of cholesterol and triglycerides in hypertriglyceridemic patients, The Am. J. of Clinical Nutrition 43: January 1986, pp 101
Clinical Nutrition 43: January 1986, pp 101
7. Wurtman, J. Sources of choline and lecithin in the Diet Choline and Lecithin in Brain Disorders, Barbeau, A. Growdon, J.D., Wurtman, R.J.,cds, Raven Press, New York 1979
Toouli J.,et al Gallstone dissolution in man using choline acid and lecithin. Lancit 2:1124,1975
Etienne, P. et.al. Alzheimer's Disease and Clinical Effect of Lecithin Treatment In Choline and Lecithin in Brain Disorder. Barbeau.A., Growdon J.H., and Wurtman, R.J. eds. Raven Press, New York, 1979
hristie J.E., et al Effect of choline and Lecithin of CSF choline levels and on Cognitive funciton in Patients with Presenile Dementia of the Alzheimer Type. In choline and Lecithin in Brain Disorders. Barbeau.A. Growdon, J. H. and Wurtman R. J., eds, Raven Press, New York, 1979
www. Lanna-net.info เรื่องเลซิตินเพื่อสุขภาพ.