เส้นใยอาหาร (Fiber)

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3
  • Tab 4
  • Tab 5

เส้นใยอาหาร (Fiber) คืออะไร

  เส้นใยอาหาร คือส่วนของโครงสร้างของพืช เช่น กิ่ง ก้าน เมล็ด เป็นส่วนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้มีอีกชื่อหนึ่งว่าเซลลูโลส ซึ่งมี 2 ชนิดคือ ไฟเบอร์ ชนิดที่ละลายน้ำได้ และ ไฟเบอร์ ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ไฟเบอร์ เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานใดๆ ถึงแม้ว่าโครงสร้างจะเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งก็ตาม เมื่อเรารับประทาน ไฟเบอร์ ซึ่งเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานเข้าไปในร่างกาย มันจะเข้าไปแย่งพื้นที่ในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้เรารู้สึกอิ่มได้เร็วและอิ่มได้นาน ช่วยลดความอยากอาหารลงไป เราสามารถลดพลังงานที่จะได้รับจากอาหารได้จึงส่งผลให้ลดน้ำหนักได้

แหล่งอาหารที่จะได้รับไฟเบอร์

เราสามารถได้จากพวกธัญพืช เช่น ข้าวซ้อมมือ ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) ผลส้มแขก เมล็ดแมงลัก

ไฟเบอร์กับการลดความอ้วน

1. ไฟเบอร์ ช่วยให้อาหารเดินทางเร็วขึ้นและมีเวลาอยู่ในระบบทางเดินอาหารสั้นลง จึงช่วยลดการดูดซึม  
2. ไฟเบอร์ ไปแย่งพื้นที่ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลดความอยากอาหารและรับประทานอาหารได้น้อยลง หากใช้ร่วมกับการควบคุมชนิดและปริมาณอาหาร และออกกำลังกายร่วมด้วยจะยิ่งให้ผลดีในการ ลดน้ำหนัก  
3. จากหลาย ๆ การทดลองพบว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มี ไฟเบอร์ อย่างน้อย 2 กรัมขึ้นไปช่วยให้น้ำหนักลดลงได้

หากไม่แน่ใจว่าจะสามารถรับประทาน ไฟเบอร์ ได้อย่างเพียงพอ ก็ควรจะรับประทานในรูปของ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และในการรับประทาน ไฟเบอร์ ก็ควรที่จะรับประทานน้ำให้มากอย่างเพียงพอในแต่ละวันด้วย

แต่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งว่า ไฟเบอร์ ไม่ใช่ยาระบาย ที่จะช่วยระบายของเสีย ดังนั้นหากท่านต้องการระบายโดยไม่ได้ต้องการคุณประโยชน์อื่นๆ ของ ไฟเบอร์ ก็น่าจะใช้ยาระบายน่าจะเหมาะสมกว่า

ประโยชน์อื่นๆ ของไฟเบอร์

ผลต่อ คลอเลสเทอรอล และ โรคหัวใจ  
จากหลายๆการศึกษาวิจัยพบว่า ไฟเบอร์ ชนิดที่ละลายน้ำได้เท่านั้นที่สามารถช่วยลดปริมาณ คลอเลสเทอรอล ได้ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะรับประทานแทนยารักษาได้ และยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดเช่นกัน อย่างไรก็ตามไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจ

ผลต่อโรค เบาหวาน
นอกจากนี้ยังมีงานวิจับพบอีกว่า ไฟเบอร์ ชนิดที่ละลายน้ำได้จะช่วยในด้านการลดระดับน้ำตาลในเลือด จนสามารถช่วยลดการใช้ปริมาณอินซูลิน ในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และยังค้นพบอีกว่าคนที่รับประทาน ไฟเบอร์มากๆ จะช่วยลดโอกาสการเป็น เบาหวาน

ผลต่ออาการท้องผูก-มะเร็งลำไส้

การรับประทาน ไฟเบอร์ ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ช่วยให้การเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น ส่งผลให้ร่างกายมีการขับถ่ายดีขึ้น ช่วยบรรเทาอาการ ท้องผูก อีกทั้งยังช่วยลดการเก็บกักของเสียในร่างกาย ลดการหมักหมมของเสียในลำไส้ ลดโอกาสการดูดซับสารพิษจากของเสียเข้าสู่ร่างกาย และที่สำคัญมันช่วยลดโอกาสในการเกิดโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเช่นกัน

Source : www.prd.go.th

"เส้นใยอาหาร"ใครคิดว่าไม่สำคัญ

กรรณิกา อาศัย
งานวิจัยเภสัชเคมีภัณฑ์

ในปัจจุบันพบว่าผู้คนในสังคมต่างมีชีวิตที่เร่งรีบ ส่งผลให้ผู้คนมีเวลาในการเลือกรับประทานอาหาร น้อยลง และอาหารที่รับประทาน ส่วนใหญ่มักจะเป็น อาหารที่มีปริมาณกากใยต่ำถึงแม้เส้นใยอาหารจะไม่ใช่ สารอาหารหลักก็ตาม แต่ก็จำเป็นต่อระบบการย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายของเสียออกจาก ร่างกายเพราะว่า ถ้าอุจจาระคั่งค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานและเกิดการบูดเน่าจนเกิดเป็นสารพิษซึ่งจะดูดซึมเข้าสู่กระแส เลือดและนอกจากนั้น ลำไส้อาจดูดน้ำจนเป็นกากอาหารและไม่สามารถขับถ่ายออกได้เป็นสาเหตุของริดสีดวง ทวารหนัก

เส้นใยอาหารมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ประเภทแรกคือ เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำซึ่งเป็นพวกคาร์โบไฮเดรต เชิงซ้อนที่ย่อยสลายยาก ได้แก่ เซลลูโลส เอมิเซลลูโลส ลิกนิน ซึ่งมีความสามารถดูดซับสารต่าง ๆ ได้น้อย แต่ทำให้มีมวลอุจจาระเพิ่มขึ้น เนื่องจากมันไม่สามารถถูกดูดซึม ในทางเดินอาหาร ของมนุษย์ มีผลช่วยลด อาการท้องผูก ประเภทที่สองคือ เส้นใยที่ละลายน้ำได้ เส้นใยชนิดนี้มักจะปนอยู่กับส่วนที่เป็นแป้งในพืช ได้แก่ เพคติน กัมและมิวซิเลส เป็นพวกที่มีความสามารถในการดูดซับอาหารหลายอย่าง ได้แก่ น้ำตาล โคเลสเตอรอลเ กลือแร่บางชนิด ดังนั้นจึงมีผลชะลอ และลดการดูดซึมของสารอาหารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย โดยเพคตินจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปเจลและจะเคลือบผนังลำไส้ทำให้มีการดูดซึมสารอาหารที่มีประจุ เช่น น้ำตาล เพราะฉะนั้นระดับน้ำตาลในเลือดจึงไม่สูงฉับพลัน ซึ่งมีผลต่อการควบคุมโรคเบาหวาน ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ต่างลงความเห็นว่า การที่เส้นใยจะมีผลต่อการบำบัดและป้องกันโรค ต่าง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ ได้แก่ ความสามารถในการอุ้มน้ำ เพิ่มความหนืดไม่ถูกย่อย ดูดซับจับ แลกประจุได้ กวาดล้างอนุมูลอิสระได้ เป็นต้น โดยละเอียดของคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ และการเพิ่มความ หนืดของเพคตินที่กล่าวไปแล้วข้างต้น และจากการที่อนุมูลของเพคตินและลิกนินมีประจุของกลุ่มกรดอิสระ สามารถที่จะแลกเปลี่ยนประจุอิสระที่สภาวะ pH เป็นกลาง กับสารอื่น ๆ ที่มากับอาหาร เช่น เหล็กและ แคลเซียม สามารถถูกยับยั้งด้วยพวก ascorbate, citrate, cysteine และ EDTA จึงเป็น ที่มาของการ รับประทานวิตามินซี ซึ่งจะช่วยให้มี การดูดซึมเหล็กดีขึ้น และเชื่อว่ากลไกการแลกเปลี่ยนประจุนี้ทำให้ปริมาณ ไขมันในเลือดลดลงโดยอัตโนมัติ อีกทั้งลิกนินและฟีนอล สามารถกำจัด อนุมูลอิสระ ได้และช่วยดึงเอาสารพิษ ที่ปนเปื้อนเข้าไปกับอาหาร ร่วมกับการที่เส้นใยลดความหมักหมมของกากอาหารในลำไส้ด้วย ทำให้ลดการ เป็นมะเร็งในลำไส้ ดังนั้นถ้าหากเราบริโภคเส้นใยมากไปก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ร่างกายขาดเกลือแร่ที่จำเป็นต่อ ร่างกาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี เป็นต้น จากคุณสมบัติต่าง ๆ ของเส้นใยอาหารข้างต้น ทางการแพทย์จึงได้มีการศึกษาและนำไปใช้ในการ ป้องกันรักษาผู้ป่วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวข้องกับปริมาณไขมันสูง เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีกันไว้ดีกว่าแก้ ควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณ 20 ถึง 25 กรัมต่อวัน และ เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุด จากคุณสมบัติ เส้นใยอาหารทั้ง 2 ชนิด เส้นใยที่ละลายน้ำและไม่ละลาย น้ำจะทำงานร่วมกัน วิธีที่ดีที่สุดคือการรับประทานอาหารหลายชนิดที่มีส่วนผสมของเส้นใย 2 ชนิดนี้ทุก ๆ วัน เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ เพื่อจะให้แน่ใจว่าร่างกายจะได้รับเส้นใยอาหารที่เพียงพอต่อการมี สุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้าง จะยากสำหรับวิถีการดำเนินชิวีตในปัจจุบันที่เราหันมาพึ่งพาอาหารสำเร็จรูป และอาหารฟาสต์ฟูตมากขึ้น ส่วนปริมาณและชนิดเส้นใยอาหาร ที่จะกินเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่ ทราบแน่นอน จะเห็นได้ว่าอาหารมีส่วนก่อให้เกิดมะเร็ง รวมทั้งโรคอื่น ๆ หรืออาหารป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะบริโภคสิ่งใด

เส้นใย อาหารเพื่อคุณภาพชีวิต

เส้นใยเป็นส่วนของอาหารที่ได้จากพืช ซึ่งไม่ถูกย่อยโดยเอนไซม์ของคนเรา สารที่ประกอบเป็นเส้นใยประเภทที่ไม่ละลายน้ำได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน เส้นใยอีกพวกหนึ่งละลายน้ำได้ เช่น เส้นใยที่ได้จากถั่ว จากเม็ดธัญพืชและสารพวกเพคติน คุณสมบัติของเส้นใย

1. ช่วยให้ไม่อ้วนและถ่ายคล่องอาหารที่มีเส้นใยจะให้แคลอรีน้อยกว่าในขณะที่ 100 กรัมของน้ำมันพืชให้ 84 กิโลแคลอรี น้ำตาลให้ 385 กิโลแคลอรี แป้งสาลีขาวให้ 352 กิโลแคลอรี นอกจากนี้อาหารที่มีเส้นใยสูงจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว และอิ่มทนกว่าอาหารที่มีเส้นใยต่ำเพราะการย่อยใช้เวลานานกว่า และการดูดซึมก็เป็นไปอย่างช้าๆ เส้นใยช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระจึงกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานดีขึ้น

2. ช่วยให้โรคเบาหวานทุเลาในคนเป็นเบาหวาน เมื่อให้อาหารที่มีเส้นใยสูง โดยเฉพาะเมื่อร่วมกับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะ ทำให้ความทนทานต่อ อาหารคาร์โบไฮเดรต ดีขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง และสามารถลดปริมาณยาที่ใช้ลงได้

3. ช่วยลดระดับไขมันในเลือด การกินอาหารที่มีเส้นใยมากจะช่วยลดไขมันในเลือดทั้งคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ยังช่วยลด อุบัติการณ์ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ

4. ลดอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มคนที่กินอาหารเส้นใยมากจะเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าพวกที่กินเส้นใยต่ำกว่าถึง 4 เท่า โดยอาศัยกลไก ที่ช่วยลดระดับไขมันในเลือดช่วยลดระดับอินซูลินในเลือด ช่วยลดแรงดันเลือดลงเล็กน้อย และไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการแข็งตัวของเลือด

5. ช่วยลดความดันโลหิตสูงลงได้ อาหารเส้นใยมีผลต่อแรงดันเลือดในพวกมังสวิรัติ ซึ่งบริโภคเส้นใยมากกว่าคนปกติ 2 เท่า มีความดันเลือดโดยเฉลี่ย ต่ำกว่าคนอื่นๆ และปรากฏว่าทั้งในคนที่มีความดันเลือดในเกณฑ์ปกติและคนที่มีความดันเลือดสูง เมื่อกินอาหารเส้นใยเพิ่มขึ้น ความดันเลือดจะลดลง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การกินอาหารเส้นใยสูงควรทำควบคู่กับการลดไขมันในอาหาร มีการควบคุมปริมาณอาหารและเกลือ ที่กินร่วมกับมีการออก กำลังกาย สม่ำเสมอ จะช่วยลดความดันเลือดถ

กลไกที่ทำให้เส้นใยในอาหารมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งของลำไส้ใหญ่ ได้แก่

1. การช่วยดูดซึมสารพิษที่เป็นตัวก่อกำเนิดมะเร็งและหรือช่วยเจือจางสารพิษนั้น เป็นเหตุให้สารพิษมีโอกาสสัมผัสกับผิวของลำไส้ใหญ่น้อยล
2. ร่นเวลาการขับถ่ายของอุจจาระ ซึ่งช่วยให้สารพิษมีโอกาสสัมผัสผิวของลำไส้ใหญ่ น้อยลง
3. มีฤทธิ์ต่อต้านสารพิษ ทั้งที่ทำให้เกิดมะเร็งโดยตรงและโดยอ้อม

ตัวอย่างอาหารที่มีเส้นใยสูง

ข้าว โดยเฉพาะข้าวกล้อง (ข้าวซ้อมมือ ข้าวแดง) ข้าวเหนียวดำ ข้าวโพด ลูกเดือย
ผักต่างๆ เช่น ผักกาด ผักคะน้า ผักกะหล่ำ ต้นหอม ยอดกระถิน ผักบุ้ง ชะอม ดอก และใบขี้เหล็ก หน่อไม้ ใบตำลึง
ผลไม้บางอย่าง เช่น ฝรั่ง มะม่วง สับปะรด พุทรา มะขาม นอกจากนี้ยังมีมากในถั่วต่างๆ มันฝรั่ง มันสำปะหลัง แห้ว เมล็ดแมงลัก

ตัวอย่างอาหารที่มีเส้นใยต่ำ

แป้ง และอาหารที่ทำจากแป้ง เช่น ก๋วยเตี๋ยว หมี่ บะหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น ขนมปัง (ขาว) ขนมปังกรอบ ขนมเด็ก ขนมต่างๆ ที่ทำจากแป้งและน้ำตาล
เนื้อสัตว์ และเครื่องในสัตว์ต่างๆ รวมทั้งสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง ปู หอย
นม และอาหารนม เช่น นมเปรี้ยว เนย ไอศกรีม
ไข่ และขนมที่ทำจากไข่
ผลไม้บางอย่าง เช่น กล้วย ส้ม ชมพู่ ลำไย

กินอาหารกากใยสูงช่วยให้อารมณ์ดี

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณมีความสุขและมีกำลังในการทำงานมากขึ้น
กินอาหารกากใยสูงช่วยให้อารมณ์ดี
ในภาวะเศรษฐกิจที่คุณต้องเผชิญความเครียดอยู่เกือบตลอดเวลาอย่างทุกวันนี้ มีหลายวิธีที่จะช่วยคุณให้คลายเครียด มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ หรือทำกิจกรรมโปรดที่คุณชื่นชอบ ล่าสุดยังมีผลการวิจัยจากต่างประเทศระบุว่า การรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เป็น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้เผยแพร่ผลการวิจัยของ ศ.แอนดริว สมิธ แห่งมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟ สหราชอาณาจักร ได้เขียนไว้ในวารสารด้านโภชนาการ Appetite ว่า การรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงนั้น มีความสัมพันธ์กับการลดลงของความเหนื่อยล้าและอารมณ์ทุกข์โศก อีกทั้งยังมีผลต่อความจำดีขึ้นด้วย
ศ.สมิธ และทีมวิจัยพบว่า เมื่อคนบริโภคธัญพืชจากข้าวสาลีที่ไม่ขัดสีบ่อยๆ สามารถส่งผลดีต่ออารมณ์ของคนนั้นได้ และพบว่าคนที่ชอบ รับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์สูงนั้น จะมีความเครียดน้อยกว่า และสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วกว่า คนที่รับประทานอาหารกากใยต่ำ
การทดลองทำโดยการเปรียบเทียบอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 30-80 ปี เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยให้อาสาสมัครจำนวนครึ่งหนึ่งรับประทานธัญพืช ที่มีกากใยสูงวันละ 40 กรัม ขณะที่อาสาสมัครกลุ่มที่เหลือให้รับประทานอาหารเช้าปกติ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่รับประทานธัญพืช หรือซีเรียลจะมีความจำดีกว่า และมีความกดดันทางอารมณ์น้อยกว่ากลุ่มควบคุม หรือกลุ่มที่รับประทานอาหารเช้าปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าผลของอาหารกากใยสูงนี้ยังมีส่วนช่วยลดความเหนื่อยล้าลงได้ราว 10%
ใครที่กำลังมองหา วิธีคลายเครียดอยู่ อาจลองนำวิธีนี้ไปปฏิบัติดูบ้างก็ไม่ว่ากันนะคะ


ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today

เส้นใยอาหาร คือสารจากพืชผัก ผลไม้ที่เรากินเข้าไปแล้ว น้ำย่อยไม่สามารถย่อยได้ มีคุณสมบัติ สฃคือ สามารถอมน้ำและพองตัวขึ้นกว่าเดิมได้ถึง 4-5 เท่า ทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น กินอาหารได้น้อยลง เส้นใยอาหาร จะทำหน้าที่ ดูดไขมัน น้ำตาล สารพิษ สารก่อมะเร็ง และขับออกนอกร่างกาย

เส้นใยอาหารแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. เส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ เป็นโครงสร้างของพืชที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน พบมากในอาหารประเภทธัญพืช เช่น เมล็ดถั่วต่างๆ ถั่วเหลือง ลูกเดือย ถั่วเหลือง ถั่วแดงหลวง ถั่วดำ ถั่วลิสง งา และรำข้าว เป็นต้น

ประโยชน์ ช่วยในการป้องกันมะเร็ง ป้องกันท้องผูก และทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น

2. เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำ มักจะปนอยู่กับส่วนที่เป็นแป้งในพืช ได้แก่ เปกติน กัม มิวซิเลจ มีลักษณะเป็นวุ้น ซึ่งจะซับเอาไขมัน น้ำตาลและแบคทีเรีย ขับออกนอกร่างกาย ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าในกระแสเลือดได้น้อย พบมากในอาหารจำพวกผักและผลไม้

ประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเลือด ลดคอเลสเตอรอล และ สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดี ลดน้ำตาลในเลือดของคนที่เป็นโรคเบาหวานได้

ปริมาณเส้นใยอาหารในอาหารต่างๆ

1.อาหารที่มีสารเส้นใยสูง มีสารเส้นใยตั้งแต่ 19-28 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ได้แก่ เมล็ดถั่วต่างๆ เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วดำ ถั่วแดงหลวง งา ข้าวกล้อง รำข้าว

2. อาหารที่มีสารเส้นใยปานกลาง มีสารเส้นใยตั้งแต่ 4-19 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ได้แก่ หัวปลี แครอท มะเขือพวง สะเดา ใบชะพลู ละมุด ฝรั่ง มะม่วงดิบ เป็นต้น

3. อาหารที่มีสารเส้นใยต่ำ มีสารเส้นในน้อยกว่า 4 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ได้แก่ ผักและผลไม้ ต่างๆ เช่น ผัก แตงโม สับปะรด เป็นต้น

อาหารจำพวก เมล็ดธัญพืช และถั่ว จะมีเส้สนใยอาหารสูงสุด ส่วนผักและผลไม้ มีเส้นใยอาหารน้อยกว่า โดยเฉพาะผลไม้ที่มีน้ำมาก ก็จะยิ่งมีเส้นใยอาหารน้อยลงด้วย

การกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ในระยะแรกจะรู้สึกมีลมในท้องมาก แต่จะเป็นอยู่ไม่กี่วันอาการต่างๆก็จะหายไปเอง และควรกินสารเส้นใยในรูปของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่นข้าวกล้อง และควรกินในรูปของอาหารธรรมชาติ

สำหรับการกินสารเส้นใยในรูปเม็ดหรือแคปซูล ที่มีวางจำหน่ายโดยทั่วไปนั้น จะทำให้ร่างกายได้รับแต่เพียงสารเส้นใยแต่เพียงอย่างเดียว โดยจะไม่ได้รับวิตามินและเกลือแร่อื่นๆที่จำเป็นต่อร่างกาย และที่สำคัญการกินอาหารเส้นใยอัดเม็ด ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ