ความฉลาดของบุคคล

ความเฉลียวฉลาด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ความฉลาดของบุคคล

พ่อแม่ทุกคนล้วนอยากให้ลูกฉลาดมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์
ปัจจุบันได้มี การเผยแพร่ความรู้ เรื่อง ความฉลาดของบุคคล ในแง่มุมต่างๆ ซึ่งทำให้ ผู้ปกครอง สามารถค้นหาแวว อัจฉริยะภาพ ของเด็กได้ หลากหลายรูปแบบ ไม่จำกัดเฉพาะแต่ ความสามารถใด ซึ่งในอดีตเรามักจะคุ้นเคยกับความฉลาดทางเชาว์นปัญญา ซึ่งเรียกว่า ระดับ ไอคิว ( I.Q. )
การวัดไอคิว เกิดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.๑๙๐๕ โดย นักจิตวิทยา ชาวฝรั่งเศส ที่ต้องการแยกบุคคล ปัญญาอ่อน ออกจาก คนปกติ เพื่อจะได้จัด การศึกษาให้อย่างเหมาะสม โดยใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ความสามารถที่ควรจะเป็นกับ อายุสมอง แล้ว คำนวณ ออกมา เป็นเปอร์เซ็นต์
ปัจจุบัน การวัดไอคิวมักใช้ แบบทดสอบ ของ เวล์คเลอร์ ที่เริ่มพัฒนามา ตั้งแต่ปีค.ศ.๑๙๓๐ โดยอาศัย งานวิจัย ของ นักวิชาการ และ นักการทหาร เป็นกลุ่มข้อทดสอบทั้งหมด ๑๑ กลุ่ม เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ ภาษาโต้ตอบ ๖ กลุ่ม ไม่ต้องใช้ภาษาโต้ตอบ ๕ กลุ่ม ดังนี้

๑. ข้อมูลทั่วไป เป็นคำถามเพื่อตรวจวัด ความสนใจ ความรู้รอบตัว
๒. ความคิด ความเข้าใจ
๓. การคิดคำนวณ
๔. ความคิดที่เป็นนามธรรม โดยให้หาความเหมือน
๕. ความจำระยะสั้น โดยใช้ การจำจาก ตัวเลข
๖. ภาษาในส่วนของการใช้คำ
๗. การต่อภาพ ในส่วนที่ขาดหายไป
๘. การจับคู่ โครงสร้าง โดยดูจาก รูปร่างหรือลวดลาย
๙. การเรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ
๑๐. การต่อภาพเป็นรูป ด้วยการต่อจิ๊กซอว์
๑๑. การหาความสัมพันธ์ของตัวเลขและสัญลักษณ์

โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) ศาสตราจารย์ทางการศึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้พัฒนาทฤษฎี ความฉลาดพหุมิติ (Multiple intelligence) ขึ้นเมื่อ ค.ศ.๑๙๘๓ ซึ่งนิยาม ความฉลาดนี้จะไม่จำกัด แค่เพียง ความฉลาดทางเชาว์นปัญญา แต่เป็น ความฉลาด ที่หลากหลาย ๘ ด้านได้แก่

๑. ความสามารถด้านภาษาศาสตร์
๒. ความสามารถเชิงตรรก คณิตศาสตร์
๓. ความสามารถด้านภาพ
๔. ความสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย
๕. ความสามารถด้านดนตรี
๖. ความสามารถด้านสังคม
๗. ความสามารถเข้าใจในตนเอง
๘. ความสามารถด้านธรรมชาติวิทยา

การวัดอีคิว เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ไม่มีแบบมาตรฐานที่แน่นอน เป็นเพียงการประเมินเพื่อให้ผู้วัดมองเห็น ความบกพร่องของ ความสามารถทางด้านอารมณ์ที่ต้องพัฒนาแก้ไข กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมิน ความฉลาดทางอารมณ์ โดยประเมินจาก ความสามารถด้านหลัก ๓ ด้านคือ ดี เก่ง สุข ซึ่งแยกเป็นด้านย่อยได้ ๙ ด้าน คือ

๑. การควบคุมตนเอง
๒. ความเห็นใจผู้อื่น
๓. ความรับผิดชอบ
๔. การมีแรงจูงใจ
๕. การตัดสินใจแก้ปัญหา
๖. สัมพันธภาพกับผู้อื่น
๗. ความภูมิใจในตนเอง
๘. ความพอใจในชีวิต
๙. ความสุขสงบทางใจ

ในอดีต การวัดความฉลาด ของเด็กโดยใช้ แบบประเมิน ไอคิว เพียงอย่างเดียว หรือการทำข้อสอบ ซึ่งมักจะประเมิน ในลักษณะ อ่าน เขียนคำตอบ ทำให้เด็กที่มีปัญหา ด้านภาษา มีโอกาสชีวิตน้อยกว่า คนอื่นเมื่อต้องสอบแข่งขัน ด้วย ข้อสอบแบบเดียวกัน

การวิจัยในปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมของเด็กมีผลจากปัจจัย พันธุกรรม ของเด็กที่ได้จากพ่อแม่ การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง และ สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง สารอาหาร ที่หล่อเลี้ยงเด็ก รวมถึงการดูแลตั้งแต่ในครรภ์ ของมารดา พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกดี เด่น ดัง เป็นที่พึ่งของตนเอง และผู้อื่นได้ เรามักจะได้ยินคำว่า ไอคิว(IQ.)
อีคิว( EQ.) เอคิว(AQ.) เอ็มคิว( MQ.) ซีคิว( CQ.) พีคิว( PQ.) เอสคิว ( SQ.) ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ก็อยากจะให้ทุก คิว(Q) ที่กล่าวถึงดีไปหมด

IQ ย่อมาจาก Intelligence Quotient หมายถึง มาตรวัดปัญญา
EQ ย่อมาจาก Emotional Quotient หมายถึง มาตรวัดความสามารถจัดการควบคุมอารมณ์
AQ ย่อมาจาก Adversity Quotient หมายถึง มาตรวัดความสามารถในการควบคุมกำกับและเอาชนะปัญหาอุปสรรคได้
MQ ย่อมาจาก Moral Quotient หมายถึง มาตรวัดระดับความมีคุณธรรมจริยธรรม ใน จิตใจ
หรืออาจ ย่อมาจาก Motor Quotient หมายถึง มาตรวัดระดับความสามารถ ของการเคลื่อนไหวร่างกาย
CQ ย่อมาจาก Creativity Quotient หมายถึง มาตรวัดระดับความคิดริเริ่ม หรือ ความคิดสร้างสรรค์
PQ ย่อมาจาก Professional Quotient หรือ Play Quotient หมายถึง มาตรวัดระดับความสนใจ ของเด็กที่จะเกาะติดกับ กิจกรรมที่มีประโยชน์ แล้วจะ พัฒนาให้ดีมากขึ้นจนถึงที่สุด
SQ ย่อมาจาก Spiritual Quotient หมายถึง มาตรวัดระดับพัฒนาการ ทางจิตวิญญาณ

ในอันที่จะ เป็นผู้นำรักสถาบัน รักประชาชน รักประเทศชาติ ทำประ โยชน์เพื่อส่วนรวม

แต่ที่ดูจะมี ความสำคัญอย่างมาก และประชาชนให้ความสนใจได้แก่ ความฉลาดในด้าน ไอคิว(I.Q.) อีคิว ( E.Q. ) เอคิว (A.Q.)

จะเห็นได้ว่าคิว(Q) ต่างๆของ เด็กพัฒนาขึ้นได้ และความสามารถของเด็ก ที่จะพัฒนาขึ้น นอกจาก ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยทางพันธุกรรม แล้ว ที่สำคัญอีก 2 ประการ คือ สิ่งแวดล้อมใน การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง และ สารอาหารที่เด็กได้รับ ซึ่งจะได้กล่าว ในรายละเอียด ต่อไป

สิ่งแวดล้อมใน การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ที่มีผลต่อ พัฒนาการสมอง

บลูม (Benjamin S.Bloom.1964) ได้รายงาน การศึกษาพัฒนาการของเด็กแรกเกิด ถึง ๕ ปี ซึ่งเป็น ช่วงวัยที่สมอง มีพัฒนาการ ถึง ๓ ใน ๔ ของการเติบโตและพัฒนาการของสมองทั้งหมด พบว่า ตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา อย่าง มาก หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีได้แก่ เศรษฐี ฐานะดี พ่อแม่ผู้ปกครอง มีเวลาใส่ใจดูแล จะทำให้ ระดับ เชาว์นปัญญาของเด็กเหล่านี้ เหนือกว่า เด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ไม่ดีและมีความ ชะงักงัน ของพัฒนาการได้ถึง ๒๐ คะแนน ตามการวัดด้วยแบบประเมินไอคิว
ไว้ท์ (B.L.White.1975) ศึกษาพบว่า เด็กที่มีโอกาสได้รับ สิ่งเร้า หรือ ประสบการณ์ที่ดี จะมีพัฒนาการ ทางสติปัญญา เร็วกว่า เด็กที่ขาดโอกาส

ภาวะโภชนาการ ที่มีผลต่อ พัฒนาการสมอง

สารอาหาร และ ภาวะที่มีผลต่อ พัฒนาการสมอง และได้รับ การวิจัยยืนยัน ในปัจจุบัน ได้แก่

1. พบว่า ภาวะทุโภชนาการ ระดับรุนแรง ทำให้ทารกในครรภ์ และ ทารกแรกคลอด มีการแบ่งตัวของ เซลล์สมอง น้อยลง และ น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และส่งผลให้พัฒนาการ ของเด็กล่าช้า มีอาการสมองตอบสนองต่อสิ่งภายนอกลดลง ซึมหงอย ความตั้งใจน้อย ตอบสนองต่อสังคมภายนอกน้อย ร้องไห้บ่อยๆ เกาะติดผู้ดูแล ไม่ชอบเล่น ถดถอย ไม่สุงสิงกับใคร หากภาวะทุโภชนาการรุนแรงมาก ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ จะส่งผลให้เด็กพิการทางสมอง แต่หาก ภาวะทุโภชนาการ รุนแรงในช่วงท้าย ของการตั้งครรภ์ จะส่งผลให้เด็กเติบโตและพัฒนาการช้า

2. การที่มารดาติด สารเสพติด เด็กทารกแรกเกิดจะมี อาการติดยา และ อยากยา หากมารดาดื่มสุรา ทารกอาจพิการแต่กำเนิด ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า แต่ต่อมากลับ ตอบสนองไวเกินไป ปัญหาพฤติกรรมและการรับรู้ของเด็ก จะพบได้บ่อยกว่าปัญหา ทางร่างกาย หากมารดาสูบบุหรี่ ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวน้อย การควบคุมระบบ ประสาทอัตโนมัติ ทำได้ไม่เต็มที่ และ ระดับการได้ยิน ผิดปกติ มารดาที่ได้รับยา ระหว่าง การคลอด พบว่า ทารกแรกคลอดจะซึม และมี ปฏิสัมพันธ์ต่อ ภายนอกน้อยลงในช่วงแรก เขาอาจดูดนมน้อยลง ความสนใจมองลดลง ความตึงตัวของ กล้ามเนื้อลดลง เด็กบางคนอาจมีอาการถึง 4 วันแรกหลังคลอด

3.สารอาหารบางชนิดมีผลต่อ พฤติกรรมของเด็กทารกแรกเกิด เช่น
- เซโรโตนิน(Serotonin) ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการรับประทานอาหาร ที่มีสารทริปโตแฟน(Tryptophan) ทำให้เด็กนอนหลับ ได้ดี และ เร็วขึ้น อารมณ์คงที่ และลดความไวต่อการเจ็บปวด
- ธาตุเหล็ก และ ไอโอดีน มีผลต่อระดับปัญญาและการรับรู้
- ซุปไก่สกัด มีการศึกษา พบว่ามีผล ช่วยคลายความเครียด และคลายความเหนื่อยล้า ของสมอง ช่วยเพิ่ม อัตราการเผาผลาญ สารอาหารในร่างกาย และ การใช้พลังงาน การฟื้นฟูระบบโลหิต ช่วยเพิ่มการสร้างและหลั่งน้ำนมหลังคลอด
นอกจากนี้ วิตามินต่างๆ รวมทั้ง กรดโฟลิค สังกะสี วิตามินบี และ กรดไขมัน โอเมก้า 3 และ 9 ที่พบมากในปลาทะเล สาหร่ายทะเล และ น้ำนมแม่ ล้วนมีผลต่อ การเสริมสร้างเซลล์สมอง

ผลการทดสอบวิจัยโดย Joe Z. Tien พบว่า จากการปรุงแต่งพันธุกรรม ของหนู ทำให้หนูมีความจำดีขึ้น และ ฉลาดขึ้นใน การแยก สีเอง ซึ่งคาดว่า จะสามารถนำมาอธิบาย ปรากฏการณ์ในมนุษย์ และจะสามารถคิดค้นยา เพิ่มความจำในมนุษย์ ได้ในโอกาสต่อไป นอกจากนี้อาจเป็นไปได้ว่า มนุษย์ในอนาคต อาจจะได้รับ การปรุงแต่ง ทางพันธุกรรม และ มีความจำ เฉลียวฉลาดขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของการเลี้ยงดู และการส่งเสริมพัฒนาการ ยังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย โดยพบว่า เซลล์สมอง ซึ่งมีประมาณ แสนล้านเซลล์ หรือ 1011 เซลล์ มีอัตราการเจริญเติบโต จนน้ำหนักสมองได้ร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่เมื่ออายุ 3 ขวบปีแรก และที่สำคัญ ยังมี จุดเชื่อมต่อระหว่าง เซลล์ประสาท ซึ่งมีมากถึง 10 3 – 10 4 จุดต่อเซลล์ประสาท หนึ่งเซลล์ ซึ่งจุดเชื่อมต่อและ การเจริญเติบโต ของ เซลล์ประสาท เหล่านี้เกิดขึ้นได้ ตลอดเวลา นอกจากจะได้มาจาก อาหารที่หล่อเลี้ยง แล้ว ยังเกิดจาก ภาวะแวดล้อม ได้แก่ การเลี้ยงดูสัมผัส การสร้างบรรยากาศในครอบครัว และ การส่งเสริมพัฒนาการร่วมกันไปด้วย ซึ่งการส่งเสริม พัฒนาการเด็ก นั้น เกิดขึ้นจาก การเล่น เช่น เล่นกับพ่อแม่ หรือ ผู้ดูแล เล่นหรือศึกษาอวัยวะของตนเอง โดยการพูดคุย หรือ เล่านิทาน ให้เกิด จินตนาการ และ โดย การเล่นตามวัฒนธรรม หรือ ของเล่น พื้นเมือง ท้องถิ่นนั้นๆ
ปัจจุบันพบว่า สมองของมนุษย์ มีความสามารถพิเศษ ทางความคิดและการเรียนรู้แตกต่างกัน ได้แก่

สมองซีกซ้าย

สมองซีกขวา
• เป็นคำพูด เป็นขั้นเป็นตอน
• เป็นช่วงของเวลา
• เป็นจำนวนตัวเลข
• เป็นตรรกวิทยาการวิเคราะห์
• ความเป็นเหตุ เป็นผล
• แนวคิดตะวันตก
• ไม่เป็นคำพูด เป็นทัศนปริภูมิ
• การร้องเพลงเป็นไปพร้อมๆกับปรภูมิ
• เป็นการเปรียบเทียบและอารมณ์ขัน
• เป็นการหยั่งรู้และการสังเคราะห์
• เป็นสัญชาตญาณ
• แนวคิดตะวันออก


คุณลักษณะข้างต้นข้อที่จัดไว้ตามลำดับต้นๆ เป็นสิ่งที่ค้นพบตาม พื้นฐานของ หลักการทดลอง ส่วนข้อรองลงมานั้นเป็นการคาดคะเนมากกว่า

ปัจจุบันมีความพยายามให้การเรียนรู้หรือส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็ก ให้เกิดขึ้นพร้อมกันไปของสมองทั้งสองข้าง สำหรับเด็กนั้นการเล่นและการฟังนิทาน เป็นหนทางสำคัญให้เกิดพัฒนาการด้านต่างๆทั้งสองซีกสมอง

ความสำคัญของการพัฒนาไอคิว อีคิวและเอคิว (IQ ,EQ ,AQ)

ปัจจุบันพบว่าคนที่มี ไอคิวดีเพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเท่าที่ควร ไอคิวสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ จึงมีผู้ให้ ความสำคัญกับไอคิว มาโดยตลอด เด็กที่เรียนเก่ง จะมีแต่คนชื่นชม พ่อแม่ครูอาจารย์รักใคร่ ต่างจาก เด็กที่เรียน ปานกลาง หรือ เด็กที่เรียนแย่ มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจ หรือถูกดุว่า ทั้ง ๆ ที่เด็กเหล่านี้ อาจจะมี ความสามารถทางด้านอื่น เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพียงแต่ไม่มีความถนัดเชิงวิชาการเท่านั้นเอง

มาในช่วงหลัง ๆ ความเชื่อมั่นในไอคิว เริ่มสั่นคลอน เมื่อมีการตั้ง ข้อสังเกต เกี่ยวกับการวัด และความสำคัญของไอคิว จนในที่สุดเมื่อ ๑๐ ปีที่ผ่านมาจึงยอมรับกันว่า แท้จริงแล้ว ในความเป็นจริง ชีวิตต้องการทักษะและความสามารถในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ที่นอกเหลือไปจาก การจำเก่ง การคิดเลขเก่ง หรือการเรียนเก่ง ความสามารถเหล่านี้ อาจจะช่วยให้คน ๆ หนึ่งได้เรียน ได้ทำงานในสถานที่ดี ๆ แต่คงไม่สามารถเป็น หลักประกัน ถึงชีวิตที่มี ความสุขได้
ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ในรัฐแมสซาซูเสท สหรัฐอเมริกา ที่ศึกษาความสัมพันธ์ของ ไอคิว กับความสำเร็จในชีวิต โดยติดตาม เก็บข้อมูลจาก เด็ก ๔๕๐ คน นานถึง ๔๐ ปี พบว่า ไอคิวมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อย กับความสามารถในการทำงานได้ดี หรือกับ การดำเนินชีวิต และพบว่า ปัจจัยที่สามารถจะ ทำนายถึง ความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ดีกว่า กลับเป็น ความสามารถด้านต่าง ๆ ในวัยเด็กที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ไอคิว เช่น ความสามารถในการจัดการ กับ ความผิดหวัง การควบคุมอารมณ์ และการเข้ากับบุคคลอื่น ๆ ได้ดี
ตัวอย่างงานวิจัยอีกเรื่องหนึ่ง คือ การติดตามเก็บข้อมูล จากผู้ที่จบ ปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ ๘๐ คน ตั้งแต่ตอน ที่ยังศึกษาอยู่ ไปจนถึง บั้นปลายชีวิตในวัย ๗๐ ปี พบว่า ความสามารถทางด้านอารมณ์ และสังคม มีส่วน ทำให้ ประสบความสำเร็จ ในวิชาชีพ และ มีชื่อเสียง มากกว่า ความสามารถ ทางเชาวน์ปัญญา หรือ ไอคิว ถึง ๔ เท่า จึงได้มี ความพยายามฝึกเพิ่มเติม ในด้าน อีคิว และ เอคิว กันทั่วโลก

ความหมายของ อีคิวได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ นั้น นิยาม ตามกรมสุขภาพจิต มีลักษณะดังนี้

  1. ดี เป็นการพัฒนาความพร้อม ทางอารมณ์ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น
    ดี - การรู้จักอารมณ์ และการควบคุมตนเอง
    ดี - การมีน้ำใจ ใส่ใจ และเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น
    ดี - การรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด และการยอมรับผิด
  2. เก่ง เป็นการพัฒนาความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ความสำเร็จ
    เก่ง - แรงจูงใจ
    เก่ง - การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวต่อปัญหา
    เก่ง - การกล้าพูดกล้าบอกและกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
  3. .สุข เป็นการพัฒนาความพร้อมทางอารมณ์ของบุคคลที่ทำให้เกิดความสุข
    สุข - ความพอใจ
    สุข - ความอบอุ่นใจ
    สุข - ความสนุกสนานร่าเริง

เอคิว ( AQ. ) คืออะไร ?

มีคำกล่าวว่า อย่าเพิ่งวัดความสูงของภูเขา จนกว่า คุณจะได้ไปถึงยอดเขา และเมื่อนั้นคุณถึงจะรู้ว่า คุณยังอยู่ในระดับต่ำ อยู่อีกมากเพียงใด
Dag Hammarskjold

A.Q. หรือ adversity quotient เป็นศักยภาพที่ บุคคลสามารถเผชิญกับปัญหา และพยายาม หาหนทางแก้ไข อย่างไม่หยุดหย่อนด้วย พลังจิตใจ ที่จะพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
สตอลต์ (Paul G.Stoltz, Ph.D.) เป็นผู้เสนอ แนวความคิด และ แนวทางพัฒนาสามารถเผชิญกับปัญหา และพยายาม หาหนทาง แก้ไขอย่างไม่หยุดศักยภาพด้านเอคิว( A.Q.)ขึ้น เขาได้แบ่งลักษณะของบุคคล เมื่อเผชิญปัญหา โดยเทียบเคียงกับ นักไต่เขา ไว้ ๓ แบบคือ

๑. ผู้ยอมหยุดเดินทาง เมื่อเผชิญปัญหา ( Quitters ) มีลักษณะ

  • ปฏิเสธความท้าทายอย่างสิ้นเชิง
  • ไม่คำนึงถึง ศักยภาพที่ตนมีอยู่ ที่จะจัดการกับปัญหาได้
  • พยายามหลบหลีกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทุกวิถีทาง
  • ไม่มีความทะเยอทะยาน ขาดแรงจูงใจ
  • เป็นตัวถ่วงในองค์กร


๒. ผู้หยุดพักพิงเมื่อได้ที่เหมาะ ( Campers ) มีลักษณะ

  • วิ่งไปข้างหน้าบ้างและแล้วก็หยุดลง
  • หาพื้นที่ราบซึ่งจะได้พบกับปัญหาอุปสรรคเพียงเล็กน้อย
  • ถอยห่างจากการเรียนรู้ สิ่งน่าตื่นเต้น การเติบโต และความสำเร็จที่สูงขึ้นไป
  • ทำในระดับเพียงพอที่จะไม่เป็นที่สังเกตได้ ได้แก่พยายามไม่ทำให้โดดเด่นเกินหน้าใคร

๓.ผู้ที่รุกไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง ( climbers ) มีลักษณะ

  • อุทิศตนเองเพื่อมุ่งไปสู่จุดที่ดีขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
  • ไม่เคยรู้สึกพอใจ ณ จุดปัจจุบันเสียทีเดียว
  • สร้างสิ่งใหม่ๆให้ตนเองและองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง และสร้างวินัยแก่ตนเอง
  • สนุกกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ

สตอลต์ (Stoltz ) เปรียบชีวิตเหมือน การไต่ขึ้นภูเขา ผู้ที่ประสบความสำเร็จ นั้นจะ อุทิศตน ก้าวต่อไป ข้างหน้า ไต่ขึ้นไปยัง จุดสูงขึ้น อย่างไม่หยุดหย่อน บางครั้งช้าบ้างเร็วบ้าง เจ็บปวดบ้างก็ยอม ความสำเร็จ นั้นหรือก็เป็นเพียง จุดๆหนึ่งของชีวิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จากนั้นก็ก้าวต่อไปตลอดชีวิต แม้ว่าจะมี อุปสรรคเพียงใด พบว่า ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ทำประโยชน์ ให้สังคมโลกอย่าง ไม่หยุดหย่อน แม้กระทั่งภายหลังลงจาก ตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐ แล้วก็ตาม และพบว่า ผลงานที่มีต่อ สังคมโลก ของท่านในช่วงหลังจาก ลงจากตำแหน่งแล้ว ยังจะมีมากกว่า เมื่อตอนรับตำแหน่งอยู่เสียอีก เนื่องจาก ท่านไม่เคยหยุด อยู่กับที่เลย
แม้ว่า แนวคิดด้านเอคิว( AQ. ) จะได้รับ การพัฒนา มาหลังจาก ไอคิว( IQ. ) และ เอคิว( EQ. ) แต่ด้วย ความสำคัญ และ ประโยชน์ ต่อ การพัฒนาตนเอง องค์กร และสังคม ทำให้บริษัทชั้นนำ ขนาดใหญ่ใน ประเทศสหรัฐอเมริกา นำแนวคิด นี้มา พัฒนาการ ดำเนินงาน และ หน่วยงานด้านการจัดการศึกษา แก่ เด็กนักเรียนใน ประเทศสิงคโปร์ ได้นำแนวคิดนี้ ไปบรรจุใน แผนการสอน ในโรงเรียน

ความเข้าใจแนว ความคิดด้านเอคิว ( A.Q.) ทำให้เข้าใจถึง วิธีที่บุคคลตอบสนอง ต่อ อุปสรรค หรือสิ่งท้าทาย ตลอดทุกแง่ มุมของ ชีวิต ด้วยวิธี การค้นหาว่า ตนเอง ณ จุด ใดของงานนั้นๆ จากนั้นจึง วัดและพัฒนางานนั้น ให้ดีขึ้นตลอด

บันไดในการกำหนดเป้าหมาย และ การไปให้ถึงได้แก่

ขั้นที่หนึ่ง คือ การจินตนาการ ความเป็นไปได้ ที่ดีกว่าที่คาดหมายว่า จะเกิดขึ้นในอนาคต ( Dream the Dream )
ขั้นที่สอง คือ แปลงสิ่งที่จินตนาการ ให้เป็น วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ( Making the Dream the Vision )
ขั้นที่สาม คือ การคงสภาพวิสัยทัศน์ ที่ชัดเจนนั้นจนกว่าจะ ดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย ( Sustaining the Vision )
อย่าลืมว่า หัวใจของเอคิว ( AQ. ) คือ ดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง ไม่ท้อถอย ดังเช่น โธมัส เอดิสัน ใช้เวลาถึง ๒๐ ปี ทำการทดลอง ผลิตแบตเตอรี ต้นแบบที่เบาทนทาน ด้วยการทดลอง ห้าหมื่นกว่าครั้ง มีผู้สงสัยว่า เขาอดทนทำเช่นนั้น ได้อย่างไร เขาตอบว่า การทดลองทั้ง ห้าหมื่นครั้ง ทำให้เขาเรียนรู้ ความล้มเหลว ตั้งห้าหมื่นกว่าแบบ เป็นเหตุให้เขา ประสบความสำเร็จ ดังกล่าวได้
มิได้หมายความว่า คนที่มีเอคิว( AQ. ) ดี ซึ่งเปรียบได้กับ คนที่พยายามไต่เขาต่อไป ไม่หยุดหย่อน จะไม่รู้สึกเหนื่อยอ่อน จะไม่รู้สึก ลังเลใจ ที่จะทำต่อไป จะไม่รู้สึกเหงา แต่เป็นเพราะ เขารู้จักที่จะ ให้กำลังใจตนเอง สู้ต่อไป เติมพลังให้ตนเอง ตลอดเวลา ที่ทำให้ เขาแตกต่างจากคนอื่น และ กัดฟันสู้อยู่ไม่ถอย สิ่งที่เขาต้องการ มิใช่ ส่วนแบ่งการตลาด ของ สินค้า ที่บริษัทเขาผลิตอยู่ มิใช่ต้องการ เงินเดือนขั้นพิเศษเป็นผลตอบแทน เพราะนั่นเป็นเพียงผลพลอยได้ สิ่งที่เขาต้องการแท้ที่จริงคือ เป้าหมายของงาน ที่ดีขึ้น อย่างไม่หยุดหย่อน มาถึงตอนนี้ คงจะเห็นได้แล้วว่า เอคิว( AQ. ) นั้น มีประโยชน์ต่อสังคมโลกอย่างใด และ หากเด็กได้รับ การพัฒนาความคิด ดังกล่าวจะ เป็นประโยชน์ต่อ เด็กและสังคม อย่างมาก จึงไม่น่าแปลกใจ ที่รัฐบาล ประเทศสิงคโปร์ ถึงให้ความ สำคัญต่อสิ่งนี้อย่างมาก ได้มีการศึกษาถึง อานิสงค์แห่งการคงไว้ซึ่ง เอคิว( AQ. )ใน ๓ ลักษณะคือ

๑.ทำให้บุคคลนั้น มีความคล่องตัวอยู่เสมอ ไม่เหี่ยวเฉา การฝึกสมองอยู่ตลอดเวลาทำให้เซลล์สมองพัฒนาการเชื่อมโยง เซลล์ประสาท ตลอดเวลาทำให้มี ความคิดความจำที่ดีอยู่ตลอด
๒.เป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอ มาติน เซลิกมาน ( Martin Seligman ) ได้ศึกษาตัวแทนประกันชีวิตเป็นเวลา ๕ ปี พบว่าผู้มองโลกในแง่ดี มีผลงานขายประกันสูงกว่า ผู้มองโลกในแง่ร้ายถึง ร้อยละ ๘๘
๓.งานวิจัยด้านระบบจิตประสาทภูมิคุ้มกัน( psycho- neuroimmunology ) พบว่า วิธีการตอบสนองต่อ อุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางตรงกับ สุขภาพกาย และ สุขภาพจิต ผู้ที่มีจิตใจต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อ ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อ ความเจ็บป่วยดีขึ้น เช่น ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด จะพบว่าแผลผ่าตัดฟื้นหายเร็วขึ้น มีอายุที่ยืนยาวกว่า