หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ Six Thinking Hats
หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ Six Thinking Hats
"ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน" เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่อง Lateral Thinking (การคิดนอกกรอบ) และเป็นคนพัฒนาเทคนิคการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และได้พัฒนาเป็นแนวคิดที่เรียกว่า "Six Thinking Hats" ซึ่งเป็นวิธีคิดที่มีมุมมองแบบ "รอบด้าน" ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้บริหาร เพราะนอกจากจะช่วยสร้างสิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังช่วย ในการคิดค้นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่ง "เดอ โบโน" พบว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ ทุกคนมีอยู่ หรือสร้างขึ้นมาได้ แต่จะต้องมาฝึกกระบวนการสร้างความคิดดังกล่าว ในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน ทุกคนย่อมต้องมีการคิดในเรื่องต่างๆ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน จึงได้ให้เทคนิค “6 หมวกการคิด” เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมี ประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการดังกล่าวได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งบริษัทข้ามชาติอย่างเช่นบริษัท ไอบีเอ็ม และเซลส์ เป็นต้น หมวกแต่ละใบเป็นการนำเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ตามมุมมองต่างๆ ของปัญหา โดยวิธีการสวมหมวกทีละใบในแต่ละครั้ง เพื่อพลังของการคิดจะได้มุ่งเน้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ความเห็นและความคิดสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นได้ และยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว
Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ "เดอ โบโน" จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ
- White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น
- Red Hat หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ
- Black Hat หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น
- Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
- Green Hat หมวกสีเขียว สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
- Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด
นำทฤษฎีหมวก 6 ใบ ซึ่งเป็นกลยุทธ์เพื่อการตัดสินใจ ดังนี้ จะเรียกว่าสิ่งสุดท้ายของกระบวนการคิด และเป็นสิ่งที่สำคัญของการเป็นผู้บริหาร ที่ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ นั่นก็คือ "การตัดสินใจ" ซึ่งต้องกระทบต่อสิ่งอื่นด้วยความรอบคอบ เพราะการตัดสินใจใด ๆ อาจส่งผลกระทบทั้งใน ด้านบวกและด้านลบได้ เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงสามารถนำ เรื่อง "ทฤษฎีหมวก 6 ใบ" ของ ดร.เอดเวิร์ด เดอ โบโน มาประยุกต์ใช้โดยให้มีการพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ในหลายมุมมอง ตามหมวก 6 ใบ ที่มีสีสันต่าง ๆ กัน เพื่อแทนความคิดในมุมมองนั้น ๆ
Six thinking hats คือ เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้าน ๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก "การคิด" เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด...
- หมวกสีขาว (White Hat) หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะหมายความว่า ที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น โดยปกติเรามักจะใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิด เพื่อเป็นพื้นฐานของความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่เราก็ใช้หมวกขาวในตอนท้าย ของกระบวนการได้เหมือนกัน เพื่อทำการประเมิน อย่างเช่นข้อเสนอโครงการต่าง ๆ ของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่...
เป็นตัวแทนของข้อเท็จจริง ซึ่งได้แก่ ตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ เพื่อหาข้อสรุปโดยไม่คำนึงถึงทัศนคติหรือความคิดเห็นใด ๆ - หมวกสีแดง (Red Hat) หมายถึง ความรู้สึกสัญชาตญาณและลางสังหรณ์ เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ หรือการตระหนักรู้ โดยฉับพลัน นั่นก็คือ เรื่องบางเรื่องที่เคยเข้าใจ ในแบบหนึ่ง อยู่ ๆ ก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการตระหนักรู้แบบนี้จะทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบ ก้าวกระโดด ความคิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที เป็นผลจาการใคร่ครวญอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์ เป็นการตัดสินใจที่ไม่อาจให้ รายละเอียด หรืออธิบายได้ด้วยคำพูด เช่นเวลาที่คุณจำเพื่อนคนหนึ่งได้ คุณก็จำได้ในทันที
เป็นตัวแทนของอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายเหตุผลใด ๆ... - หมวกสีดำ (Black Hat) หมายถึง ข้อควรคำนึงถึงสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจาการเสียเงิน และพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญาและผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมินสถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของเราเองและของผู้อื่นด้วย
เป็นตัวแทนของความระมัดระวัง ซึ่งจำเป็นต้องไตร่ครองและยับยั้งการดำเนินการ ถ้าอาจทำให้ความเสียหาย หรือล้มเหลวได้ ผู้บริหารจะใช้หมวกสีดำ เพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่จะทำนั้นเหมาะสมกับประสบการณ์และมโนธรรมที่เคยมีมา - หมวกสีเหลือง (Yellow Hat) หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์ เป็นการคิดที่ก่อให้ เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจาก ความผิดพลาด ความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การคิดเชิงบวกต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการและความกระหายที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นหรือไม่
เป็นตัวแทนของการแสงหาทางเลือกอย่างมีความหวัง พร้อมทั้งทดลองปฏิบัติเพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ - หมวกสีเขียว (Green Hat) หมายถึง ความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเกี่ยวข้องโดยตรงกับ การเปลี่ยนแปลงแนวคิด และมุมมอง ซึ่งปกติมักถูกกำหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิม และความคิดนอกกรอบนั้น จะอาศัยข้อมูลจาก ระบบของตัวเราเอง โดยเมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
เป็นตัวแทนของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ให้ความสดชื่น ผู้บริหารจะใช้หมวกสีนี้เมื่อมีความคิดใหม่ ๆ แตกต่างจากแนวทางเดิม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับการปรับปรุง สร้างสรรค์และพัฒนา - หมวกสีน้ำเงิน (Blue Hat) ...บางตำรา เรียกว่า "หมวกสีฟ้า"... หมายถึง การควบคุมและการบริหารกระบวนการ การคิดเพื่อให้เกิดความชัดเจน ในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดีและถูกต้องหมวกสีน้ำเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุปผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ อย่างไรก็ตามสมาชิก ก็สามารถสวมหมวกสีน้ำเงิน ควบคุมบทบาทของหัวหน้าได้เช่นกัน
เป็นตัวแทนของการควบคุมความคิดทั้งหมด หรือมุมมองในทางกว้างที่ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งซึ่งเปรียบเหมือนท้องฟ้า ผู้บริหารที่ใช้หมวกนี้จะต้องอาศัย ประสบการณ์เป็นอย่างมาก
พื้นฐานของเทคนิคหมวกความคิด 6 ใบ
กุลยา ตันติผลาชีวะ (2546,หน้า15-16)กล่าวว่า EdwardDeBonoได้วิเคราะห์การคิดของคนว่า มีผลต่อการตัดสินใจด้วยสาเหตุสําคัญ เกิดจากอัตตาหรือความเป็น คนที่เกาะติดความคิดทิศทางเดียวหรือคิดอย่างเดียวแทนที่จะคิดทบทวน สวนไปมา เพื่อให้กระจ่างอย่างยุติธรรมซึ่งเรียกว่า การคิดคู่ขนาน ปัญหาจากลักษณะการคิดดังกล่าวนี้ทําให้เกิดการขัดแย้งกัน ทางความคิดการตัดสินใจหรือ การหามติที่ประชุมซึ่งทําให้เปลืองเวลา EdwardDeBono เห็นว่าหากคนมีแผนการคิดโดยเฉพาะการคิด “แก้ปัญหา” ที่เหมาะจะช่วยให้การคิดเป็นไปอย่างมีพลานุภาพ นอกจากนี้การคิดอย่างถูกทางและมีแบบแผนยังประหยัดเวลาในการคิดการตัดสินใจ เพราะผู้คิดเพิ่มการคิดหลายด้านคู่ขนาน
อุปสรรคของการคิดคือ จิตตน หรือ Ego ตามความหมายของจิตตนหมายถึง ส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่สัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อมภายใน และภายนอกของตน ที่คนใช่ควบคุมแรงขับดันภายใน ที่เกิดจากจิตหยาบ(Id)ให้ขับออกภายนอกในลักษณะที่สังคมยอมรับได้ ซึ่งมักอยู่ในรูปของกลจิตวิธานที่มีสติและจิตคุณธรรม (Superego) เป็นส้วนกํากับด้วยการแสดงออกของจิตตนนี้เกิดจากความจําเจตคติและการคิด จิตตนจะทําให้คนโอ้อวดและอหังการมีผลทําให้ตนโจมตีผู้อื่นอวดดีและต่อต้าน เกิดความคิดที่ขัดแย้งกันจนลงตัวไม่ได้งานหลายงานที่ไม่สําเร็จ หรือสําเร็จแต่ขาดประสิทธิภาพ มักเกิดจากมีกลุ่มคนที่มี“จิตตนสูง”อยู่ในผู้ร่วมงานนั้นมาก
ประโยชน์ของการคิดแบบหมวก 6 ใบ
พวงผกา โกมุติกานนท์ (2544, หนา 41) ได้สรุปประโยชน์ของการคิดแบบหมวก 6 ใบ ดังนี้
- ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้ และกระตุ้นความสนใจได้ดี การใช้หมวกจริงหรือ ภาพหมวกและสีสนัต่าง ๆ มีส่วนช่วยอย่างมาก
- ทำให้เหลือเวลาสำหรับความสร้างสรรค์อย่างแท้จริง
- ยินยอมให้แสดงออกในที่ประชุมได้อย่างถูกต้องเปิดเผยซึ่งความรู้สึกหรือสัญชาติญาณ โดยไม่ต้องเกรงใจว่าจะไม่เหมาะสมแต่อย่างใด
- ทำให้สามารถคิดแบบใดแบบหนึ่งได้อย่างเต็มที่โดยไม่สับสนปนเปกับความคิด หมวกสอนในเวลาเดียวกัน
- ทำให้สามารถเปลื่ยนแบบความคิดได้ง่ายและตรงไปตรงมาโดยไม่ล่วงเกินใครด้วย การเปลื่ยนสีหมวก
- ทำให้ผรวมระดมความคิดทุกคน สามารถใช้หมวกแตละสีได้ครบทุกสีแทนที่จะคิด แต่เพียงสีเดียวด้านเดียวตามปกติ
- เป็นการแยกทิฐิออกไป แล้วปล่อยความคิดใหม่อิสรภาพทจะขบคิดได้อย่างเต็มที่
- ทำให้สามารถจดลำดับการระดมความคิดให้เหมาะสมที่สุดกับหวข้อ
- ป้องกันมิให้เกิดการโต้เถียงกันไปมาในที่ประชุมเพื่อฝ่ายต่าง ๆ จะได้สามารถร่วมกัน คิดอย่างสร้างสรรค์
- ทำให้การประชุมสามารถผลิตผลงานออกมาดีขึ้น
แนวทางการประยุกต์ใช้งานสำหรับหลักการหมวกหกใบ
จากหลักการที่หมวกแต่ละใบแต่ละสีแทนลักษณะการคิดที่ต่างกัน ดังเช่นในกรณีการประชุมเพื่อตัดสินใจประเด็นสำคัญบางอย่าง ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดควรถอดความคิดเดิมออกก่อน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง บทบาทหน้าที่เดิม หรือควรถอดหมวกที่สวมอยู่เดิมออกก่อน และเลือกหยิบหมวกใบใหม่ที่เหมาะสมมาสวมแทน เช่น ถ้าเลือกใช้หมวกสีแดงก็แสดงว่าให้คิดพูดด้วยความจริงใจไม่เสแสร้ง เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น จะขอยกตัวอย่างการเลือกใช้หมวกแต่ละใบ ไว้พอสังเขปดังนี้
- หมวกสีแดง เหมาะกับงานที่ต้องการความจริงใจ เช่น งานแก้ปัญหาด้านสวัสดิการและเงินเดือน การแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในส่วนงาน การเข้าไปแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน งานด้าน CSR เป็นต้น
- หมวกสีดำ เหมาะกับงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ความสูญเสีย การเตือนให้ระวังภัย การวิเคราะห์ด้านความขัดข้อง (Failure Analysis) ซึ่งโดยมากในเบื้องต้นจะไม่ยอมอ่อนข้อให้ใคร คือมองในแง่ร้ายไว้ก่อนเพื่อป้องกันปัญหา หรือหาสาเหตุที่เป็นปัญหาให้ได้สำหรับทำการแก้ไขต่อไป
- หมวกสีเหลือง เหมาะกับงานที่ต้องการความร่วมมือสูง ต้องการให้คนอยากทำ ตั้งใจทำ ต้องมีการปลุกเร้า ชักชวน จูงใจ ชี้ข้อดี อ้างผลประโยชน์ ผลสำเร็จที่ดีมาสนับสนุน เช่น งานด้านยุทธศาสตร์ งานการลด Duration หรือขยาย Interval ของ Maintenance Outage เป็นต้น ซึ่งต้องยกข้อดี ประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อให้น่าทำ น่าสนุกในการทำ และเล็งเห็นถึงผลสำเร็จที่ชัดเจน
- หมวกสีเขียว เหมาะกับงานที่ต้องการความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิม เช่น การพัฒนางาน การปรับปรุงงาน การทำงานใหม่ที่ต้องการผลดีกว่าเดิม การหาวิธีการใหม่ๆ การปรับรื้อกระบวนการทำงาน เป็นต้น
- หมวกสีขาว เหมาะกับงานประเภทที่ต้องวิเคราะห์และมีข้อมูล หลักฐาน สถิติ หรือข้อเท็จจริงสนับสนุน เช่น งานวิจัยและพัฒนา การตัดสินใจเลือกดำเนินการในสิ่งที่สำคัญๆ มีค่าใช้จ่ายสูงๆ หรือต้องใช้เงินลงทุนสูงๆ งานวิเคราะห์หารากของปัญหา (Root Cause Analysis - RCA) งานทบทวนและปรับปรุงงานบำรุงรักษา (Reliability Centered Maintenance - RCM) งานวิเคราะห์และประเมินด้านความเสี่ยง (Risk Assessment & Analysis) เป็นต้น
- หมวกสีฟ้า เหมาะกับงานประเภทต้องมองภาพรวมออกและสามารถสรุปประเด็นสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถควบคุมและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเด็ดขาด หรือสามารถติดตามประเด็นของงานและหาข้อสรุปให้ได้อย่างทันท่วงที เช่น งานของผู้บริหาร งานของประธานในที่ประชุม งานของหัวหน้างาน งานของหัวหน้าโครงการ เป็นต้น
ขั้นตอนในการนำหลักการหมวกหกใบมาใช้แก้ปัญหาหรือตัดสินใจ
- ให้เลือกนำปัญหาหรือหัวข้องานที่ต้องการตัดสินใจมาพิจารณา
- ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือหัวข้อที่นำมาพิจารณา โดยอาจมีการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อ่านและศึกษาก่อน (ถ้าข้อมูลพร้อม)
- ให้ทุกท่านเข้าร่วมกันคิด โดยขอให้นั่งในตำแหน่งที่เห็นหน้ากันและสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างทั่วถึง จากนั้นให้เริ่มต้นด้วยการหยิบหมวกสีขาวมาสวมก่อน (เน้นเรื่องข้อมูล) ให้แสดงความคิดทุกท่านจนครบ
- ในขั้นต่อไป เมื่อทุกท่านมีข้อมูลที่ควรรู้พอประมาณเท่าเทียมกันแล้ว ให้เลือกหมวกสีแดง (เน้นความจริงใจไม่บิดบัง) หมวกสีเหลือง (ข้อดีผลสำเร็จ) หมวกสีดำ (ข้อเสียวิเคราะห์ข้อบกพร่อง) มาใช้ โดยหากคิดไม่ออกให้ลองใช้วิธีคิดแบบเชื่อมโยงคือให้ลองพิจารณาดูว่าเรื่องที่กำลังคิดเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ อะไรอีกบ้าง หรือสุ่มหยิบหัวข้อหรือคำศัพท์อะไรก็ได้จากข้อมูลในข้อ 3. ขึ้นมา แล้วจับโยงไปโยงมาก็อาจทำให้เห็นประเด็นอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ได้
- ขั้นต่อไปให้หยิบหมวกสีเขียวขึ้นมาคิด คือให้คิดสร้างสรรค์หาทางเลือกใหม่ วิธีใหม่ๆ มีปัญหาหรือประเด็นใหม่เพิ่มเติมหรือไม่
อาจเป็นการลองคิดนอกกรอบดูบ้าง โดยให้แต่ละท่านแสดงความคิดจนครบ ถ้าไม่ครบก็ให้ทำตามแบบข้อ 4. คือลองคิดเชื่อมโยง สุ่มคำในข้อมูลหรือจากหนังสือ จาก internet ประเด็นคือให้คิดมากๆ คิดให้ได้มากๆ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ไม่ขี้เกียจคิด ถ้าเหนื่อยหรือล้าก็เปลี่ยนอิริยาบถไปล้างหน้า ฟังเพลง พักผ่อน หรือทำอะไรก็ได้ให้เพลิดเพลิน แล้ววิธีการคิดแบบหมวกสีเขียวจะดีเอง เพราะหมวกสีเขียวต้องการความสดชื่นเหมือนต้นไม้ ต้องการการผ่อนคลาย ความสนุกสนาน และความเพลิดเพลิน - ขั้นตอนสุดท้าย คือให้หาข้อสรุปด้วยหมวกสีน้ำเงิน มองภาพรวมให้ครอบคลุม จับประเด็นสำคัญ หาข้อสรุปที่ลงตัว และการตัดสินใจที่เหมาะสม